- คำนำ
- พระประวัติสมเด็จพระมณีวงศ
- พระราชพิธีราชาภิเษก
- คำรบ ๑ ไถงศุกร ๓ เกิดแขทุติยาษาฒ คือไถง ๒๐ แขสูเยต
- คำรบ ๒ ไถงเสาร์ ๔ เกิดแขทุติยาษาฒ คือไถง ๒๑ แขสูเยต
- คำรบ ๓ ไถงอาทิตย์ ๕ เกิดแขทุติยาษาฒ คือไถง ๒๒ แขสูเยต
- คำรบ ๔ ไถงจันทร์ ๖ เกิดแขทุติยาษาฒ คือไถง ๒๓ แขสูเยต
- คำรบ ๕ ไถงอังคาร ๗ เกิดแขทุติยาษาฒ คือไถง ๒๕ แขสูเยต
- คำรบ ๖ ไถงพุธ ๘ เกิดแขทุติยาษาฒ คือไถง ๒๕ แขสูเยต
- กบวนพิธีขึ้นพระที่นั่งมหามนทีรในพระบรมราชวัง
- กบวนรำลึกพระมหากษัตรซึ่งทรงพระราชาภิเษก
- เครื่องไทยทาน
- กบวนแห่พระกรุณาเปนเจ้าชีวิตเลอหัว
- ลงคำสั่ง
กบวนรำลึกพระมหากษัตรซึ่งทรงพระราชาภิเษก
โส มหาสตฺโต สีเนโร อธิฏฺานกายํ ปฺจาภิเสกํ อธิฏฺาสิ
อันพระมหากษัตรซึ่งได้ราชาภิเษกเป็นเอกราชแล้ว พึงอวยอธิษฐานพระองค์ว่า พระองค์เรานี้ คือภนมพระสุเมรุราช อันตั้งเนาจาริกพระธรณีในปฤถพีดล อันพระเนตรของเราข้างสดำคือพระอาทิตย์ พระเนตรเราข้างเฉวียงคือพระจันทร อันฉลุแสงสว่างโลก ให้สว่างรุ่งเรืองแจ้งโปร่งอยู่ในพระราชหฤทัย อันจะตัดซึ่งทุกข์ภัยในมนุษย ให้ปรากฏในพระอุเบกชา บริญัติ ที่ร้อนก็ให้ร้อน ที่เย็นก็ให้เย็น ตามประเพณีดุจกัน พระหัตถ์เฉวียงสดำกับพระบาททั้งสองนั้น คือทวีปทั้ง ๔ เศวตฉัตร ๖ ชั้นนั้น คือฉกามาวจรทั้ง ๖ อธิษฐานพระโองการกชับ มิได้ไหวหวั่นในพระราชหฤทัย พระมหามกุฎนั้นโสด คือยอดวิมานพระอินทร พระขรรคนั้นคือพระปรัชญาอันจะตัดมนทิลความในมนุษย์ให้เห็นแจ้งสรรพโลกธาตุ ฯ
อันเครื่องประดับ คือพระภูษารัตตกัมพลนั้น คือภนมคันธมาทน์อันรันดับภนมพระสุเมรุราช ฯ
อันองค์พระมหากษัตรนั้น คือพระวินัยธร ซึ่งดำรงราษฎร์ประศาสน์ไห้ปรากฎสว่างรุ่งเรืองทั่วทั้งชมพูทวีป สุพรรณบาทนั้นคือแผ่นดินอันเป็นที่รองภนมพระสุเมรุราช กับเป็นที่อาศัยแห่งอาณาประชานุราษฎร์ทั้งหลาย สรรพแดนขอบขัณฑสีมา แล้วลือลบือโดยพระยศพระเดชของพระมหากษัตร์นั้นผอง๑ ฯ
ทส ปฺตฺติโย มหาสตฺต อปฺปกายา ปฺตฺติโย อปฺปมาติ
มีในคัมภีร์พระบาลีพระโลกบัญญัติ๒ สำหรับพระบรมกษัตรซึ่งจะรักษาพระองค์ให้ละออรุ่งเรือง คืออย่าให้เมียงพระเนตรทอดเมิลพระอาทิตย์ ๑ อย่าให้ผทมกระทั่งแต่พระอาทิตย์ระเลิงมา ๑ อย่าให้เสวยพระสิทธรสขุ่น พระสิทธรสมีฝ้า พระสิทรสเซาะร่อง๓ ๑ อย่าให้เสวยปลาเนื้อซึ่งคาวด้วยมัน ๑ อย่าให้เสวยพระโอสถซึ่งแพทย์ผสม มิควรจะเสวย๔ ๒ อย่าให้เสวยของด้วยแทะด้วยกัด ๑ อย่าให้เสพกามคุณกับสตรีมีอายุ ๔๐ ฉนำ ๕๐ ฉนำ ๑ อย่าให้ทรงพระภูษามีเนื้อห่างครุคระหยาบมิละออ ๑ ทั้ง ๑๐ ประการนี้ มิควรดลพระบรมกษัตรเลย ฯ
----------------------------
-
๑. คำอธิษฐานนี้มาแต่ปทุมชาดก มีอยู่ในตำราไทยเรื่องปัญจราชาภิเษก ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ ↩
-
๒. หนังสือโลกบัญญัตินี้ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎกในประเทศนี้ แต่หอพระสมุดสำหรับพระนครได้ทราบว่าในประเทศพม่ามีอยู่ จึงได้หาฉะบับได้มา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นอักษรพม่ามี ๑๑๖ ใบลาน แต่มีข้อที่ตรงกันน้อย ↩
-
๓. พระสิทธรสเซาะร่อง คือน้ำที่ไหลลงห้วย หรือจะว่าน้ำในท้องร่องก็ควร ↩
-
๔. อย่าให้เสวยพระโอสถซึ่งแพทย์ผสม ต้องกับประเพณีของเราแต่ก่อน ซึ่งมีกรมหมอกับกรมพระเครื่องต้นแยกกัน เวลาทรงประชวรหมอตรวจพระอาการแล้วประชุมปรึกษากัน ทำฎีกาถวายว่าเป็นพระโรคอย่างนั้น ควรเสวยพระโอสถผสมอย่างนั้น ถ้าทรงพระราชดำริเห็นชอบ ก็ตรัสสั่งพนักงานเครื่องต้นผสมตามฎีกาตั้งถวายเสวย เป็นการหลีกทางประทุษร้ายอย่างหนึ่ง พนักงานเครื่องต้นนั้นทรงเลือกตั้งคนที่ไว้วางพระราชหฤทัย ↩