- คำนำ
- คำอธิบาย โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย
- โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย
- คำอธิบาย บุณโณวาทคำฉันท์
- บุณโณวาทคำฉันท์
- บันทึกสอบเทียบ บุณโณวาทคำฉันท์ฉบับพิเศษ กับ ฉบับสมุดไทย ๑๐ ฉบับและฉบับพิเศษ
- คำอธิบาย โคลงนิราศพระพุทธบาท
- โคลงนิราศพระพุทธบาท
- คำอธิบาย กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก
- กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก
- คำอธิบายกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
- กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
- คำอธิบาย นิราศพระบาทของสุนทรภู่
- นิราศพระบาท
- คำอธิบาย โคลงนิราศวัดรวก
- โคลงนิราศวัดรวก
- คำอธิบาย นิราศพระบาท สำนวนนายจัด
- นิราศพระบาท สำนวนนายจัด
- คำอธิบาย โคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาท
- โคลงลิลิตดั้นตำนานพระพุทธบาท
- บรรณานุกรม
คำอธิบาย โคลงนิราศพระพุทธบาท
โคลงนิราศพระพุทธบาท ผลงานของ พระมหานาค วัดท่าทราย เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ต้นฉบับพบรวมอยูในหนังสือสมุดไทย เรื่อง “โคลงกวีโบราณ” สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นคราวเดียวกับ บุณโณวาทคำฉันท์ แต่พบคำประพันธ์เพียง ๒๕ บทและไม่จบเรื่อง ข้อความข้างท้ายขาดหายไป
โคลงนิราศพระพุทธบาท ประกอบด้วยโคลง ๔ สุภาพ จำนวน ๒๕ บท เนื้อหาพรรณนาการเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เริ่มด้วยบทพรรณนาถึงความเศร้าโศกที่ต้องจากนางผู้เป็นที่รัก กวีได้เข้าขอพรที่วัดตองปุ จากนั้นจึงเดินทางผ่านบ้านกระทุ่ม หนองคนที บ้านท้ายพิกุล บางโขมด และบ้านแม่ลา ระหว่างทางเมื่อกวีผ่านสถานที่ หรือพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ก็จะนำมาแต่งเป็นโคลงพรรณนาความคิดถึงที่มีต่อนาง ตามต้นฉบับสมุดไทยบทประพันธ์สิ้นสุดเมื่อกวีเดินทางมาถึงบ้านพิศ ตอนท้ายกวีกล่าวเปรียบเทียบว่า นางมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ เนตรคมดุจศร เสียงไพเราะ และมีรูปโฉมที่สามารถผลาญบุรุษได้ เข่นเดียวกับศร ๓ เล่มที่พระรามใช้สังหารยักษ์