นรางกุโรวาท สำหรับทารก (อายุระหว่าง ๑ ขวบครึ่งถึง ๒ ขวบ)

๏ ทารกประจวบ,ขวบครึ่ง,จึ่งพอสอน เปรียบเหมือนป้อน,เข้ากล้วย,ช่วยถนอม ทำของเล่น,เป็นท่อนๆ,อักษรพร้อม ทาสีสัน,หว่านล้อม,ซ้อมให้จำ จงหาเหตุ,ให้สังเกต,ประเภทของ เรียกใรต้อง,มิให้ยาก,ถลากถลำ ล่อให้ชี้,สีแสง,ว่าแดงดำ เล่นลูกประคำ,คลำลูกปัด,หัดประเมีล ๚

๏ สองขวบแล้ว,แคล่วคล่อง,ต้องหาเลศ ให้รู้เหตุ,ผลแท้,แต่เผีนเผีน เช่นรู้ช้อน,ป้อนเข้า,เรากินเพลีน ไฟร้อนเกิน,จับได้,อย่าใกล้กราย หัดนับหนึ่ง,สองสาม,ตามสดวก หัดลบบวก,เทียบเคียง,เพียงง่ายง่าย ชวนให้คัด,ลูกปัดสี,อธิบาย ทั้งลองทาย,อักษรสกด,กระถดไป ๚

๏ ได้สามขวบ,รู้จักควบ,พยัญชนะ กับสระ,เชี่ยวชาญ,พออ่านได้ ร้อยลูกปัด,หัดเขียน,เพียรตามใจ รู้จักใช้,สิ่งของ,ที่ต้องการ ให้รู้กลัว,ชั่วช้า,ฆ่ามดบี้ ฤๅทุบตี,แมวหมา,น่าสงสาร ของของเขา,อย่าเข้าปอง,เป็นพ้องภาร เลีกคิดอ่าน,พูดเท็จ,เข็ดอาญา ให้เอื้อเฟื้อ,เผื่อแผ่,แก่ใครใคร มีอไร,ให้ปัน,หัดหันหา ห้ามส่อเสียด,เกียจกัน,ก่อฉันทา ยั่วปราถนา,นิยมอย่าง,ทางที่ดี ๚

๏ สี่ขวบถ้วน,ควรอ่าน,หนังสือออก ให้หัดลอก,เขียนหนังสือ,ฤๅภาพสี ล่อทำงาน,อย่าให้คร้าน,เบื่องานลี้ เล่นเครื่องเล่น,เห็นวิธี,ในทางเรียน ๚

๏ ถึงห้าขวบ,รวบรัด,หัดให้คล่อง พอจัดห้อง,จัดให้,คล้ายเสมียน แขวนรูปหรู,น่าดู,ชูความเพียร ตั้งโต๊ะเขียน,หนังสือไว้,ให้นิยม ทั้งกระดาษ,ดินสอสี,มีต่างๆ จะได้ร่าง,จะได้เขียน,เรียนขรม ตู้สมุด,ชุดนิทาน,อ่านตบม รูปภาพสม,ฝีมือเด็ก,เล็กลอกลาย ให้ปลื้มปลุก,สนุกสนาน,การศึกษา จูงสมัค,รักวิชา,อย่าเสียหลาย ถึงเล่นซน,ผละเล่น,เป็นอุบาย รู้แยบคาย,แต่ข้างหนุน,คุณวิชา ๚

๏ หกเจ๊ดขวบ,จวบไสมย,ไปโรงเรียน ต้องฝึกเพียร,ประหยัดตัว,กลัวโทษา เข้าหลักสอน,ตอนต่ำ,ตามตำรา ทารกอา,ยุควร,เหมือนพรวนดิน แลโรยปุ๋ย,คุ้ยร่วน,สงวนถูก ถึงจะปลูก,พืชเภาะ,ก็เหมาะสิ้น คงงอกงาม,ตามเฉลย,เชยวารินทร์ ชุ่มธรณินทร์ ,โอชารศ,สดสมงาม ถึงยามออก,ดอกผล,ต้นสมบูรณ์ ก็พีพูล,ภิญโญ,โตอร่าม เช่นหัดเด็ก,กระหายวิชา,พยายาม ต้องมีความ,รู้กล้า,ปรีชาชาญ ๚

ชั้นต้น

ภาคที่ ๑ ความสอาด

๏ (ข้อ ๑ สงวนมือหน้าเสื้อผ้าสอาด) จงรักษา,มือหน้า,เสื้อผ้าผม ชังโสมม,สมชาติ,สอาดสอ้าน เด็กสกกะปรก,ลามกหมัก,มักจันฑาล เหมือนเดรฉาน,น่าชัง,รวังตัว, ๚

๏ (ข้อ ๒ ใช้ห้องเล็กให้ดี) ใช้ห้องเล็ก,เด็กดี,ราศรีสงวน อย่าโดดด่วน,โสกกะโดก,ส่อโชคชั่ว เช็ดชำระ,สอาดเลอียด,รังเกียจกลัว จะพามัว,หมองฉวี,อับปรีอาย ๚

ภาคที่ ๒ ความเรียบร้อย

๏ (ข้อ ๑ ในบ้านโรงเรียนแลถนน) อยู่ในบ้าน,ไปสถาน,โรงเรียนตน ฤๅเดีนทาง,กลางถนน,อย่าซนสร่าย จงเรียบร้อย,ชม้อยลม่อม,ถนอมกาย สมเป็นชาย,หญิงสยาม,ทรงความดี ๚

๏ (ข้อ ๒ ส่วนตัว) ในบ้านช่อง,ฤๅในห้อง,โรงเรียนคอย ให้เรียบร้อย,รวังนิยม,สมราศรี ช่วยเก็บกวาด,สอาดอร่าม,ตามวิธี ทำไขหู,ใม่รู้ใม่ชี้,กาลีเลว ถนนสนาม,ยามรเบียบ,ใม่เรียบร้อย ตั้งจิตร์พลอย,ช่วยอุตส่าห์,อย่าชาเหลว ปล่อยให้เขา,เหมาเก๊ก,เด็กเลวเกว น่าโห่เฮ้ว,คนอับ,ปมงคล ๚

๏ (ข้อ ๓ ถนอมของใช้) ถนอมเรื่อง,เครื่องชุด,สมุดสมา เครื่องตุ๊กกระตา,เครื่องเล่น,ให้เป็นผล ทั้งเครื่องใช้,เครื่องประดับ,สำหรับตน อย่าให้หม่น,หมองประดาษ,อุจาดใจ ๚

ภาคที่ ๓ กิริยา

๏ (ข้อ ๑ พูดที่บ้านแลโรงเรียน) อยู่บ้านเรา,ฤๅไปเข้า,โรงเรียนรวัง สงวนยั้ง,กิริยา,อัชฌาไศรย สมเป็นเด็ก,ไทยผู้ดี,ซีวิไลศ์ พูดจาไพ,เราะล้วน,ควรสำรวม ๚

๏ (ข้อ ๒ เวลากิน) จะกินอยู่,รู้ศึก,สำนึกคร้าม อย่ามูมมาม,ตะกลามตะกละ,ฤๅหละหลวม ให้หมดจด,งดทำ,เปรอะกำกวม เคี้ยวกร้วมๆ,จ๊วบจ๊าบ,ล้วนหยาบคาย ๚

๏ (ข้อ ๓ ทันเวลา แลทมัดทแมง) กำหนดไฉน,ไปให้ทัน,ท่านกำหนด อย่าเซ่อซด,ขยดเขยื้อน,ให้เคลื่อนหมาย ฝืนใจหัด,ทมัดทแมง,แข็งแรงกาย อย่าย่องย้าย,อย่างจีน,ตีนตื่ดกาว ๚

ภาคที่ ๔ โอบอ้อมอารี

๏ (ข้อ ๑ รักบิดามารดา อ่อนน้อมแขกแลญาติ) รักบิดา,มารดา,คณาญาติ อย่าบังอาจ,ดันดื้อ,ให้ชื่อฉาว เอื้ออ่อนน้อม,ถนอมแขก,อย่าแตกร้าว ผู้ใหญ่คราว,ป้าน้า,อย่าอุทธะลุม ๚

๏ (ข้อ ๒ ต่อเด็กด้วยกัน) เด็กด้วยกัน,หันหา,ประสาเด็ก อย่าเกกมะเหรก,รังแก,ทั่งแก่หนุ่ม ที่ บ้านช่อง,ฤๅที่ห้อง,เรียนประชุม ฤๅชุมนุม,ไหนอุตส่าห์,เอื้อมอารี ๚

๏ (ข้อ ๓ เมตตาสัตว์) เมตตาสัตว์,เลี้ยงเล่น,เช่นแมวหมา อย่าทรมา,ข่มเหงสัตว์,เสียรัศมี มดแมงวัน,ชั้นลูกปลา,จงปรานี เอาเยี่ยงยักษ์,ขมูขี,ควรที่เว้น ๚

ภาคที่ ๕ ความยุติธรรม

๏ (ข้อ ๑ รู้จักของเขาของเรา) ของเรารัก,จงรู้จัก,รักของเขา อย่าแย่งเอา,ของของใคร,มาใช้เล่น เราดูถูก,เขาก็ลูก,คนเป็นเป็น เราเขี้ยวเข็ญ,เขาก็แค้น,คงแผ้นเรา ๚

๏ (ข้อ ๒ อย่าเกี่ยง) อย่าเกี่ยงงอน,หย่อนยอม,โดยพร้อมจิตร์ อย่าขืนคิด,บิดตะกูด,พูด เขลาเขลา เหมือนอุบาย,อ้างงั่ง,ชังใม่เบา ควรคอยเข้า,สามัคคี,ประนีประนอม ๚

ภาคที่ ๖ ความสัตย์

๏ (ข้อ ๑ พูดจริง) อย่ารางหยาว,กล่าวปด,คดสับปลับ พูดสัมผับ,ทับแถม,กะแล่มกะล่อม ฤๅมูลน้อย,ฝอยมาก,หลากหว่านล้อม ชักอ้อมค้อม,เบ็ตเหล็ด,เท็จปนจริง ๚

๏ (ข้อ ๒ ไว้ใจบิดามารดาแลครู) จงไว้ใจ,พ่อแม่,แลครูบา อย่ามุสา,เบือนบิด,ปกปิดกริ่ง สาระภาพ,ผิดพลั้ง,หวังประวิง ใช่ท่านชิง,ชังเมื่อใร,อยากให้ดี ๚

ภาคที่ ๗ ความกล้า

๏ (ข้อ ๑ เมื่ออยู่คนเดียว) อย่าหวาดเสียว,อยู่คนเดียว,ลำพังตัว ใม่ต้องกลัว,ปิสาจทูต,ฤๅภูตผี ถือองค์อาจ,ชาติสยาม,คร้ามใครมี เราชาวศรี,อยุทธยา,กล้าตบึง ๚

๏ (ข้อ ๒ มืดๆเงาแลของแปลก) อย่าหน้าจืด,อยู่มืดมืด,อึดทึดท้อ ควรป่องป๋อ,ก้อร่อร่า,กล้าขังขึง อย่ากลัวเงา,เขลาครั่น,หลงพรั่นพรึง เสียงตังตึง,กรากแกรก,แปลกอย่าเกรง ๚

๏ (ข้อ ๓ คำขู่หลอก) ใครหลอกขู่,ใช่ครู,ใช่พ่อแม่ เขาเย้าแหย่,หยันเยาะ,ใม่เมาะเหมง ฟังพิลึก,กึกกือ,อย่าถือเพลง ใจตัวเอง,กล้าตรอง,หยองใยเอย ๚

----------------------------

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ