ข้อแนะผู้ใหญ่ผู้จะเลี้ยงเด็ก

๏ พี่เลี้ยงแล,แม่พ่อ,มีข้อห้าม อย่าอยาบหยาม,เป็นอย่าง,เด็กทั้งหลาย ๚

๏ (ข้อ ๑) ห้ามดุด่า,มุสาสัมผับ,พูดหยาบคาย กล่าวคำร้าย,สบถลำเลีก,เบีกกะเชอ ทั้งเทลาะ,เบาะแว้ง,ฤๅแช่งชัก ชกต่อยผลัก,โกรธขึ้ง,หยิกทึ้งเย่อ ทำกิริยา,ท่าทาง,อย่างเอ้อเร้อ ให้เด็กเจอ,จำเอา,เห็นเข้าที ๚

๏ (ข้อ ๒) เด็กทำผิด,คิดประสงค์,จะลงโทษ อย่าทำโกรธ,ยิ้มย่อง,จึ่งต้องที่ ให้รู้ศึก,โทษา,โดยปรานี ใช่จะมี,พยาบาท,อาฆาฎแค้น ๚

๏ (ข้อ ๓) อย่าให้เด็ก,เล็กรับ,บังคับใช้ ถือบ่าวไพร่,เป็นทาษ,ชั่วชาติแสน คบผู้ใหญ่มิให้หลู่,และดูแคลน ให้ถือแม้น,ป้าน้า,น่าปรานี ๚

๏ (ข้อ ๔) อย่าปล่อยให้,ใช้เงิน,เลินเล่อง่าย ฤๅจับจ่าย,ซื้อหา,ประสาประสี ให้รู้ศึก,เงินทอง,เป็นของดี เห็นใช่ที่,ตัวยังเยาว์,เอาเป็นภาร ๚

๏ (ข้อ ๕) การเมียผัว,ยั่วยวน,มิควรเล่น ให้เด็กเห็น,เช่นประกาศ,อุจาดจ้าน กิจผู้ใหญ่,เด็กอย่าให้,เป็นกงการ ประจารด้าน,ด่วนนิยม,ใม่สมควร ๚

๏ (ข้อ ๖) ผู้ใหญ่พูด,กับผู้ใหญ่,มิให้สอด ฤๅด้อมดอด,ดูแล,แสร่เกินส่วน ห้ามยุยอน,บอนทเล้น,เล่นสำนวน ต่อผู้ใหญ่,ไว้ขบวน,เทียมบ่ากัน ๚

๏ (ข้อ ๗) การสิ่งใด,ผู้ใหญ่เล่น,เห็นเด็กอยาก เช่นกินหมาก,สูบบุหรี่,ทีขบขัน ฤๅดื่มเหล้า,เมาซาน,การพนัน อย่าหวลหัน,เห็นเป็น,น่าเอ็นดู ๚

๏ (ข้อ ๘) เดีมไทยเจ๊ก,ปล่อยเด็กเล่น,เป็นผู้ใหญ่ ไสมยใหม่,ให้รู้ศึก,นึกอดสู้ อย่าชวนเด็ก,นอนดึก,ฝึกเป็นครู ชวนตื่นตรู่,ดูจะชอบ,รบอบเอย ๚

เบญจไวย (คือ ๑ ทารก ๒ เด็ก ๓ หนุ่ม ๔ ผู้ใหญ่ แล ๕ ผู้เถ้า)

๏ ไวยมนุษย์,บุรุษสัตรี,มีห้ายุค เหมือนกันทุก,ชาติชั้น,ผันใม่ไหว แบ่งเป็นสาม,ตามนิยม,ปฐมะไวย แรกเกิดใหม่,จนประจวบ,เจ๊ดขวบควร เรียกทารก,หมกมุ่น,วุ่นแต่เล่น กินนอนเห็น,แก่สนุก,คลุกคลีง่วน แต่เจ๊ดปี,จนสิบสี่,นี่ใคร่ครวญ เรียกเด็กส่วน,กุมารสนุก,เชิงซุกซน แต่สิบสี่,ถึงยี่,สิบห้านั้น เรียกหนุ่มสาว,คราวฉกรรจ์,กระศัลผล ยี่สิบห้า,หาหกสิบ,ไหวพริบทน ท่านเรียกคน,ผู้ใหญ่อิ่ม,มัชฌิมะไวย หกสิบเศษ,เข้าเฃตร์,เป็นคนแก่ ผู้เถ้าแท้,ย่ำปัจฉิม,ะไวยไสมย อันนราง,กุโรวาท,นุศาสน์ไว้ สำหรับใช้,สอนเด็ก,แต่เล็กมา ส่วนสาวหนุ่ม,กระชุ่มกระชวย,รวยความรู้ ควรไปสู่,โรงเรียน,เพียรศึกษา ต่ออาจาริย์,ท่านผู้รู้,เป็นครูบา สอนสรรพะกิตย์,พิทยา,ศาสตราคม คนแรกรู้,มักจะกู่,ความรู้ลอด รู้ตลอด,ยอดวิญญู,ขู่ขรม ติความรู้,หลู่ผู้อื่น,ตื่นตบม เห่อนิยม,ยกตน,เอกคนเดียว ขืนโต้แย้ง,เหมือนยิ่งแกล้ง,ให้ดูหมิ่น อย่าต่อลิ้น,ฟังเล่น,เห็นเฉลียว ปล่อยนักปราช,ศาสดา,ว่ากันเปรียว พิชาเหนี่ยว,เหลียวหลัง,หวลยั้งเอง อายุมาก,สติมาก,รู้มากลึก คงรู้ศึก,พยศหย่อน,อ่อนกาจเก่ง กลับรู้น้อย,ถอยทนง,ลงตามเพลง มิพักเกรง,เคว้งเขว,เฉเสียคม ส่วนผู้ใหญ่,นั้นมิใคร่,ชอบใครสอน แม้ถึงหย่อน,คุณะวิชา,หาสะสม เชื่อเป็นผู้,รู้ทุกอย่าง,วางอารมณ์ ตามนิยม,ตนเห็น,ว่าเป็นดี จะสั่งสอน,ก็ต้องต้อน,อุบายเบี่ยง พูดเลียบเคียง,ปรองดอง,ให้ต้องที่ ยกทำเนียบ,เปรียบปฤกษา,ชักวาที ประหนึ่งตี,ความเป็น,เห็นเองล้วน ยิ่งผู้เถ้า,ถึงจะเขลา,เบาปัญญา ไม่ปราถนา,หาครู,รู้เสียถ้วน ชอบแต่ยอ,หล่อล้อม,อ้อมค้อมควร ชวนให้หวน,เห็นชอบ,ตอบตามใจ คนหัวเก่า,ฤๅที่เขา,คนองคาด ว่าฉลาด,ช่ำชอง,สมองใหม่ มิลักขู,รู้ดี,ซีวิไลศ์ ก็ตามใจ,ใครจะคิด,ไม่ผิดกัน หัวข้อมี,สี่ประเภท,สังเกดเถิด ทารกเกิด,มาเป็นเด็ก,ยังเล็กนั่น ควรสั่งสอน,ต้อนปลูก,ให้ถูกธรรม์ หนุ่มสาวนั้น,ปล่อยอาจาริย์,ท่านหัดเป็น ส่วนผู้ใหญ่,เห็นไถล,หลงไขว้เขว ต้องอุปะเทห์,ท้วงทัด,ดัดความเห็น โดยอ้อมค้อม,ล้อมคลำ,ด้วยน้ำเย็น แม้นขู่เข็ญ,ข่มนัก,มักหมางใจ แต่ผู้เถ้า,เมายอ,ออระเหว ถึงเหลวเป๋ว,สามาน,สักปานไหน ใครสั่งสอน,ข้อนจะเคือง,ทุกเรื่องไป ชอบแต่ให้,โลมล่อ,เชิงยอจูง คนฉลาด,อาจจะต้อน,สอนได้หมด เด็กผู้ใหญ่,ใม่ลด,จนยศสูง ควรขู่ขู่,ยอยอ,ล่อพยุง สุดแต่จูง,ขึ้นถึงห้อง,ที่ปองเอย ๚

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ