- แจ้งความ จำหน่ายหนังสือ นรางกุโรวาท
- คำปรารพภ์
- ข้อแนะผู้ใหญ่ผู้จะเลี้ยงเด็ก
- นรางกุโรวาท สำหรับทารก (อายุระหว่าง ๑ ขวบครึ่งถึง ๒ ขวบ)
- นรางกุโรวาทสำหรับเด็ก ชั้นที่ ๑ (อายุระหว่าง ๗ ขวบถึง ๘ ขวบ)
- ชั้นที่ ๒ (อายุระหว่าง ๘ ขวบถึง ๙ ขวบ)
- ชั้นที่ ๓ (อายุระหว่าง ๙ ขวบถึง ๑๐ ขวบ)
- ชั้นที่ ๔ (อายุระหว่าง ๑๐ ขวบถึง ๑๑ ขวบ)
- ชั้นที่ ๕ (อายุระหว่าง ๑๑ ขวบถึง ๑๒ ขวบ)
- ชั้นที่ ๖ (อายุระหว่าง ๑๒ ขวบถึง ๑๓ ขวบ)
- ชั้นที่ ๗ (อายุระหว่าง ๑๓ ขวบถึง ๑๔ ขวบ)
- คาถาสำหรับกราบหมอนเมื่อจะนอนทุกทิวาราตรี (รจนาใหม่)
- มูลประสงค์นรางกุโรวาท
ชั้นที่ ๕ (อายุระหว่าง ๑๑ ขวบถึง ๑๒ ขวบ)
๏ เด็กสิบเอ็จ,สิบสองขวบ,จวบเวลา เป็นชั้นห้า,แปดข้อ,พอจะสอน ให้รู้สูง,จูงปัญญา,ปรีชากร ควรบิดร,มารดา,พยายาม ๚
ภาคที่ ๑ ความเคยตัว
๏ (ข้อ ๑ สาเหตุเคยตัว) เหตุใดหนอ,ชลอเลย,ให้เคยตัว ชั่วก็ชั่ว,ดีก็ดี,เหลือที่ห้าม ค่อยเป็นค่อยไป,ใครใม่ทัด,คอยดัดปราม คุ้นสุดด้าม,เลยๆ,ก็เคยตัว ๚
๏ (ข้อ ๒ เคยตัวชั่วแลดี) ทำไฉน,จะฝึกให้,เคยตัวถนัด ทำไฉน,จะใคร่หัด,ให้ตัดชั่ว เคยตัวดี,น่าทวี,ที่เคยตัว เคยตัวชั่ว,เช่นจะว่า,น่าเกียจกัน เช่นครูดๆ,สูดจมูก,แยงจมูก น่าห้ามลูก,หูไช,ฃนไก่ปั่น ต่อหน้าคน,สับปะดน,ซนแกะฟัน เกากายคัน,เสยผม,ถ่มเขละ แกะบาทา,ปาแปะ,แกะผิวปาก แคกๆฃาก,เสลดเรี่ย,เสียสวยสะ ฤๅกัดเล็บ,แลบชิวหา,น่ามานะ หัดให้ละ,เคยตัว,ชั่วอย่าชิม ๚
๏ (ข้อ ๓ เด็กสูบบุหรี่) ยังเป็นเด็ก,เล็กอยู่,ดูไม่ดี สูบบุหรี่,อย่างหนุ่ม,ทำกรุ้มกริ่ม ยิ่งผู้หญิง,ละ ยิ่งแอ๊,เหลือแลยิ้ม,ดูริมๆ,เกือบจะว่า,นางกาลี ๚
ภาคที่ ๒ กิริยา
๏ (ข้อ ๑ สัมมาคาระวะ) ประพฤติตน,ให้เป็นคน,พ้นอุอะ จ่ายสัมมา,คาระวะ,อย่าตระหนี่ ต่อทุกคน,จนชั้นบ่าว,เราก็ดี กลับจะมี,รัศมี,คนดีชม ๚
๏ (ข้อ ๒ ขอโทษแลขอบใจ) ถ้าเผลอตัว,กรายหัว,ฤๅมัวโผน,สดุดโดน,ท่านผู้ใด,อย่าได้ร่ม จงขอโทษ,โอษฐ์อ่อน,หยอนคารม ใครนิยม,ให้อไร,ขอบใจพลัน ๚
๏ (ข้อ ๓ รั้งใจตน) หัดรั้งกมล,ตนเอง,เกรงความชั่ว รู้ศึกกลัว,โทษา,อย่าก๋ากั่น ต่อหน้า คน,อายคน,อย่าทนดัน ลับหลังคน,เถอะจนชั้น,แมงวันอาย อายผีสาง,เทวดา,รักษาศิริ เป็นคติ,โบราณสอน,ข้อนดีหลาย ต่อหน้าพลับ,ลับหลัง,อย่าหวังร้าย พลับก็พลับ,อย่ากลับกลาย,เป็นตะโก ๚
ภาคที่ ๓ ความรักชาติ
๏ (ข้อ ๑ เชิดชูผู้มีพระคุณ) รักพ่อแม่,แลญาติ,ชาติ์ตระกูล หวังเพิ่มพูล,ปถัมภก,ยกยโส โรงเรียนตัว,กลัวนินทา,ใครพาโล ดีอโข,เชิดชู,ครูอาจารย์ เจ้านายตัว,ถวายตัว,อย่ามัวเมิล มุ่งสรรเสิญ,เกียรติคุณ,พึ่งบุญท่าน จงหวังดี,ทวียิ่ง,ยศศฤงฆาร ชั้นเพื่อนบ้าน,เพื่อนเรียน,เพียรผูกใจ บัณฑิตยชาติ,ทุกๆชาติ,ฉลาดเฉลียว ชมปะเตรียว,ติซั่ม,แนะนำให้ มนุษย์ประพฤติ,ยึดถูก,ปลูกน้ำใจ ไทย์รักไทย์,ร่วมชาติ,ฉันท์ญาติมิตร์ ๚
๏ (ข้อ ๒ ปราถนาดีต่อแดนเกิด) เราเกิดมา,น่าที่,อารีสมาน ใจเพื่อนบ้าน,เพื่อนนิคม,สนมสนิท บ้านแลแขวง,ตำแหน่งตน,ทุกคนคิด ช่วยให้เดิน,เจริญผิด,กว่าเคยมา คอยหวังดี,ถ้าแม้นมี,โอกาศไฉน ควรจะให้,แขวงนั้น,สุขหรรษา ทำไม่ไหว,ให้ถวิล,จินตนา จะช่วยเหลือ,เกื้อกว่า,จะหมดแรง ๚
๏ (ข้อ ๓ เชิดชมแดนตน) บางคนมัก,ปรักปรำ,ทิ่มตำติ อย่าดำริห์,เยี่ยงอุบาทว์,ขยาดแขยง สิ่งมีคุณ,อุดหนุน,คุณสำแดง ต่อเขตร์แขวง,สรรเสิญ,เจริญไชย ถิ่นของตน,เกิดผล,ตนก็รับ มีส่วนกับ,เพื่อนแขวง,แหนงใม่ไหว จงปราถนา,รักษาประโยชน์,โภชน์ผลใน แขวงของตน,ตนจะได้,ประโยชน์ ทวี ๚
ภาคที่ ๔ ความยุติธรรม
๏ (ข้อ ๑ ต่อมนุษย์แลสัตว์ทั่วไป) เป็นมนุษย์,ยุติธรรม,แลสำคัญ ใจจงมั่น,ยุติธรรม,ประจำที่ ต่อหญิงชาย,เด็กผู้ใหญ่,ไพร่ผู้ดี แต่เศรษฐี,กะทั่งคน,จนจัณฑาล อย่าริศยา,ศาสนา,นาๆชาติ มั่นมุ่งมาท,จนสัตว์,เดรัจฉาน ทั้งที่เชื่อง,ที่เถื่อน,เฝื่อนสันดาน ให้สงสาร,สมานใจ,ทั่วไกวัล ๚
๏ (ข้อ ๒ แผ่เมตตาจิตร์) มาทหมายมอง,ช่องทนุ,อุประถัมภ์ เทอดยุติธรรม,สโมธาน,ประมาณมั่น จิตร์โอบอ้อม,อารี,ทวีวัน อย่าเดียดฉัน,แช่งใคร,ให้ไภยเบียฬ ๚
๏ (ข้อ ๓ ศาลเป็นตัวยุติธรรม) การทำนุก,สุขสงวน,มวญมนุษย์ สำคัญสุด,ยุติธรรม,นำเฉนียน ศาลอาญา,ศาลแพ่ง,แหล่งจำเนียร เหมือนส่องเทียน,เวียนดู,ตาชูทอง ศาลใม่มี,ฤๅแม้นมี,ใม่ดีฉนั้น ยุติธรรม์,หันถลา,น่าสยอง บาปอไร,ยากจะให้,คล้ายทำนอง ผู้ปกครอง,ศาลเพลี่ยง,ลำเอียงโอน ผู้พิพาก,ษากิจ,พินิจฉัย เหมือนเทพะไทย,ทิพะญาณ,ปานขุนโหร ถ้าทำผิด,คิดร้าย,กลายเป็นโจร เป็นคนโข้น,ชาติมนุษย์,ให้ซุดเซ แม้นศาลดี,มีผล,คนเป็นสุข เทอดทำนุก,ยุติธรรม์,ไม่หันเห ท่านเที่ยงตรง,จงนับถือ,ลือทำเล ถ้าท่านชั่ว,อย่ากลัวเฮ,กันเวยวาย สมเกิดกาย,หญิงชาย,เฉลีมชาติ รักอำนาจ,ยุติธรรม,คำกฎหมาย แม้นหัวหด,ขดเป็นขิง,นิ่งดูดาย ก็สิ้นสาย,ยุติธรรม,โดยจำเป็น ๚
ภาคที่ ๕ ความสัตย์
๏ (ข้อ ๑ คนย่อมมีความเห็นต่างกัน) จงรู้ศึก,ตรึกเลศ,เห็นเหตุผล นิไสยคน,หลายอย่าง,ต่างความเห็น ร่วมก็มี,บางทีแหวก,แตกประเด็น ไม่เหมือนเช่น,เรานึก,กึกถองเมือง เราว่างาม,เขาว่าทราม,ตามความเห็น ใช่จะเล่น,ตัวแกล้ง,แผลงนอกเรื่อง ความเห็นแตก,แปลกตรงๆ,อย่าหลงเคือง จำเป็นเครื่อง,เตือนจิตร์,อยู่ติดใจ ๚
๏ (ข้อ ๒ ใคร่ทราบสิ่งจริง) จงแสวง,แจ้งจริง,ทุกสิ่งสรรพ จงคอยตรับ,ความจริง,ทุกสิ่งใหม่ อย่าดึงดื้อ,ถือทิฐิ,ดำริห์ไว้ พบสิ่งใด,จริงกว่าเดา,จะเอาคำ ๚
๏ (ข้อ ๓ มีคนยอมสละผลเพื่อทราบความจริงอันประสรบใหม่) ควรจะรู้,คนผู้,เป็นครูคน เคย ยอมผละ,สละผล,ตนตกต่ำ เพื่อแสวง,แจ้งจริง,สิ่งแม่นยำ ใม่ยืนย้ำ,หัวเห็ด,ด้วยเข็ดเคย ถึงทีเขา,เราเห็นเขา,เข้าใจผิด ทีเราคิด,พลาดก็เป็น,เช่นเฉลย ใช่กายะสิทธิ์,ดังอิศวร,มิควรเลย จะร่มเกย,หาดแห้ง,หัวแข็งดัน ๚
ภาคที่ ๖ ความศรัทธา
๏ (ข้อ ๑ ศรัทธาแลพิริยะ สำหรับสู้สิ่งยาก) การยากเข็ญ,ที่จะเต้น,ไปต่อสู้ ก็ต้องรู้,จักถือ,เครื่องมือมั่น ของยากๆ,หากจะทำ,จำประจัน จิตร์บากบั่น,ให้สำเร็จ,อย่าเข็ดใคร เครื่องมือต่อ,สู้ต้อง,มีสองอย่าง อย่างหนึ่งอ้าง,อย่าเสื่อม,ผูกเลื่อมไส อย่างหนึ่งออก,แรงเพียร,เวียนเอาไชย สิ่งประเสริษฐ์,เลิศไฉน,ตรองให้รู้ ๚
๏ (ข้อ ๒ ศรัทธาผิดมีโทษ) ความเลื่อมไส,ใช้ผิด,ติดจะร้าย เช่นเมามาย,ศาสนา,กล้าลบหลู่ หลงหลับตา,ศรัทธาตบม,งมวิญญู ไม่ฟังหู,ไว้หู,เพราะหูเบา เลยปรักปรำ,ถลำหลอก,ใม่ฟอกเฟ้น คล้ายจับเส้น,ผมชู,บังภูเขา เพราะศรัทธา,ชล่าส่ง,ชักงงเงา จำหนะเจ้า,เลื่อมไส,ในที่ควร ๚
๏ (ข้อ ๓ ศาสนาแท้จริง) ทุกนักปราช,ศาสนา,ว่าพระเจ้า สร้างโลกเรา,ตัวเรา,เหมาเสียถ้วน เราทำบาป,พระเจ้าปราบ,ลงโทษล้วน เราทำชอบ,รบอบขบวน,ด่วนอวยพร เราสุขทุกข์,ทุกขณะ,เพราะพระเจ้า รวมลงเค้า,แปลกแต่นาม,ฤๅคำสอน พระคฤสโต,ยะโฮวา,ประชากร คฤษเตี้ยน,เวียนวอน,เชื่อสอนตาม พระอิศวร,นารายน์พรหม,อุดมเดช พวกพราหมณ์เทศ,ถือเตชะ,พระทั้งสาม พระมหะหมัด,ถนัดโก้หร่าน,นั่นอิสะลาม ล้วนสอนความ,สุจริต,สิทธิ์สำแดง แต่พระพุท,ธศาสนา,แปลกท่าโยก บอกว่าโลก,เป็นเอง,ตามเพลงแต่ง เจริญงาม,แล้วก็ทราม,ก็เปลี่ยนแปลง หวลพลิกแพลง,แผลงรหัด,ตามปัจจัย เกิดเพราะเหตุ,ดับเพราะเหตุ,เพศมนุษย์ ก็สมมุติ,โมหาพิชา,พาหลงไหล ความสุขโศก,โลกนี้,ใม่มีใคร ล้วนประไลย,สูญปล่า,อย่าเขลายึด จะทุกข์สุข,ทุกคน,เพราะผละกรรม ที่ตัวทำ,เองหนะเออ,อย่าเพ้ออึด ความบริสุทธิ์,ยุติธรรม,นำประพฤติ ล้างมึดทึด,มฤฉาทิษฐิ,ลุนิรพาน สยัมภู,ตรัสรู้,เอ็นดูนำ บัณฑูรธรรม,ะจักร์แท้,ให้แผ่ผ้าน สงฆ์สืบศา,สนะธรรม,นำพยาน เป็นไตรยรัตน์,นมัศการ,เกิดศรัทธา ข่มจิตร์ยึด,ประพฤดิชอบ,ตอบผลสุข นฤทุกข์,นฤโทษ,โสตถิ์หรรษา เหตุนี้ไทย,เลื่อมไส,ใช้ปรีชา ถือพระพุท,ธศาสนา,ดีกว่าใด ๚
ภาคที่ ๗ งาน
๏ (ข้อ ๑ การทำงานนั้นประเสรีษฐ์) การทำงาน,ภารธุระ,นั่นประเสริษฐ์ เป็นกิจเลิศ,คุณะวิชา,จะหาไหน สำหรับมนุษย์,บุรุษสัตรี,ศรีชาติ์ไทย จะจงใจ,เรียนร่ำ,มาทำงาน ๚
๏ (ข้อ ๒ วิชาเลี้ยงชีพมีหลายประเภท) ลักษณะวิชา,หาเลี้ยง,ชีวิตนั้น มีต่างกัน,ต่างๆ,อย่างวิถาร คนตระกูล,พูลฉลาด,รับราชะการ เป็นทหาร,พ่อเรือน,เพื่อนแผ่นดิน ช่วยพิทักษ์,นัครา,ประชาราษฎร์ ทรงอำนาจ,พิฆาฎศัตรู,ใม่ดูหมิ่น ทั้งภายนอก,ภายใน,ไร้ไพรินทร์ ตั้งทำมา,หากิน,ตามถิ่นควร กันพิพาท,ตั้งพระราช,ะอัยะการ ตั้งโรงศาล,พินิจฉัย,และไต่สวน ให้อยู่เย็น,เป็น สุข,ปลุกใจชวน ชื่นชมสงวน,ชีวิตทรัพย์,ประคับประคอง ร่วมรับผิด,รับชอบ,รอบคอบทั่ว เสมอหัว,ชาติ์ชนก,คอยปกป้อง สิ้นกระษัตริย์,รัฐบาล,สมานครอง ไพร่ฟ้าต้อง,แตกกัน,เกีดอันเป็น คนสันโดษฐ์,โขยดนิยม,เป็นสมะณะ หวังประสะ,บริสุทธิ์,ให้ผุดเผ่น ทรงศุภศาสตร์,โอวาทเลือก,ให้เยือกเย็น สอนให้เว้น,ชั่วแว้ง,แสวงดี บ้างก็เป็น,พานิช,คิดค้าขาย เหมือนอย่างนาย,หน้าสนอง,ให้ต้องที่ บ้างเป็นช่าง,สร้างสรรพ์,อัญะมนี ของใม่มี,ประโยชน์ให้,กลับใช้การ พวกปลูกเภาะ,เสาะสงวน,สวนไร่นา รับงานข้าง,สร้างภักษา,ผลาหาร พวกกุลี,มีแต่แรง,ขันแข็งงาน ก็แบกหาม,ตามกาล,ให้เกีดคุณ พวกคนชั่ว,มั่วสุม,ขลุมคร้านเขลา ก็มึนเมา,เสเพล,เนระถุน เหมือนป้ายชี้,ดีชั่ว,ตัวทารุน ใม่เห็นบาป,ทราบบุญ,ได้ฉันใด ทุกคณะ,ตละกิตย์,รับผิดชอบ ต่างประกอบ,โทษคุณ,หนุนไสมย แก่คณา,สมาคม,นิกรมไทย ตามน้อยมาก,ภาคไหน,ตามใครทำ ๚
ภาคที่ ๘ การเขม็ดแขม่
๏ (ข้อ ๑ การใช้เงินถูกแลผิด) การใช้เงิน,ใช้ทอง,นี่ของยาก ใช้ผิดหาก,เกีดโทษ,ประโยชน์ด่ำ ใช้ถูกเป็น,คุณูประการ,บำนาญนำ ควรต้องดำ,ริห์ใช้,ให้เป็นคุณ ที่จริงเงิน,เป็นคแนน,แทนบาญชี ทั้งความดี,ความชั่ว,ขานตัวหุ่น มันขลาดนัก,มักทลึ่ง,ไปพึ่งบุญ แอบอบอุ่น,อยู่ที่มาก,ยอมฝากกาย มันมีปีก,หลีกลี้,หนีนักเลง ด้วยมันเกรง,ยุบยับ,ถูกจับจ่าย รักมันนัก,มันมักนำ,ให้ทำร้าย กลัวเกือบตาย,แม้นใครขึง,บึ้งกะมัน ตัวสอพลอ,ล่อให้เหลีง,เชีงสนุก ป้อยอสุข,ให้พอดู,เป็นคู่ขัน กับไตรยลักษณ์,จักร์สี,หนีตบัน บางทีคั้น,ฅอพระธรรม,ลงตำดิน ใช้มันถูก,ปลูกประโยชน์,ปราโมทย์จิตร์ ใช้มันผิด,ล้างผลาญ,พาลดูหมิ่น ที่แท้มัน,ก็คแนน,แม้นตรองชิน ใม่ควรยิน,ดีเพลีน,ให้เกีนงาม ตื่นมันนัก,ละมันมัก,จะเป็นหมัน กระโชกกระชั้น,มันมักหนี,กะผลีกะผลาม ผสมให้ถูก,ลูกมันดก,อย่างกตะกลาม และอย่าตาม,ใจมัน,รันลงรู ๚
๏ (ข้อ ๒ เลี้ยงทรัพย์ให้ได้ผลดีที่สุด) ควรศึกษา,วิชารัษ,ฐนิติศาสตร์ รู้อำนาจ,จำแนกทรัพย์,กันขับขู่ จะเลี้ยงทรัพย์,ขยับขยาย,แยบคายดู ให้ชอบลู่,ชอบทาง,อย่างผ่อนปรน ให้ได้ดี,ที่สุด,สุดจะได้ สมที่ใช้,ทรัพย์ประเสรีษฐ์,ให้เกีดผล อย่าแรงเกีน,อ่อนเกีน,เพลีนลุกลน จะยากจน,จะเศรษฐี,เพราะนี่เอง ๚
๏ (ข้อ ๓ รู้เก็บรู้หอม) อย่าจ่ายเงิน,เลินเล่อ,เฟ้อฟุ้งๆ รู้จักมุ่ง,เขม็ดแขม่,แต่เหมาะเหมง อย่าจับจ่าย,สุรุ่ยสุร่าย,สร่ายตามเพลง เห่อนักเลง,ละลมละลาย,จะร้ายงอม ใม่ควรเปลือง,เปลืองเปล่า,ลงเค้าฉิบ ควรเก็บหอม,รอมริบ,หยิบจ่อมๆ เพียงพอดี,ตระหนี่นัก,ชักจอมปลอม ควรออมๆ,อารีอารี,และ ดีจริง ๚
๏ (ข้อ ๔ ทาน) การทำทาน,จานเจือ,เพรื่อประโยชน์ ปราชอุโฆษ,คุณฉนี้,ว่าดียิ่ง เป็นมนุษย์,การุญมนุษย์,ยุดพึ่งพิง ยอมเป็นสิ่ง,น่าชม,สมควรทำ แต่ขายผ้า,เอาหน้ารอด,ทอดทานอวด ตัวเองชวด,จนจ๊อก,ก็ออกขำ เอาแต่หน้า,ก๋าเจ๊สัว,ตัวระกำ อย่าเหลาะแหละ,แนะนำ,ทำพลอมแพลม จะทำทาน,ให้ทาน,ตัวการก่อน ต่อทุนรอน,เหลือพอ,จึงต่อแต้ม ช่วยมนุษย์,อุดหนุน,ทำคุณแกม ความสุขแถม,ชาติไทย,ได้บุญพอ อย่าให้ทาน,คนขอทาน,เกียจคร้านบิด ฉกรรจ์ล่ำ,มิทำกิจ,คิดแต่ขอ ใม่ใช่บุญ,หนุนให้ชั่ว,ยั่วให้ท้อ ผลป้อยอ,ส่อไทย,ให้เกียจคร้าน ให้ทานคน,อนาถา,ชราโรค ฤๅเคราะห์โศก,โชคพิรุธ,สุดสงสาร ตกลำบาก,ยากจน,คนพิการ โรงเรียนโรง,พยาบาล,เป็นทานดี ถาวรสถาน,ถนนสพาน,ศาลสระคลอง สาธารณ์สนอง,คุณะผดุง,ชาวกรุงศรี ซ่อมสถูป,พุทธรูป,ปรางค์เจดีย์ กุฎีที่,โบถวิหาร,กาญจน์เปรียญ ถวายจตุ,ปัจจัยทนุ,ภิกษุสงฆ์ ชินะวงษ์,คุโณวาท,นุสาสน์เสถียร ชวนก่อบุญ,คุณะพิชา,ศึกษาเพียร ช่วยแหล่งเรียน,ดรุณะกุมาร,เป็นทานตรง ๚
๏ (ข้อ ๕ ตัวอย่างรัษฐนิติศาสตร์) ทรัพย์สินนั้น,คืออันใด,น่าใคร่แจ้ง อย่าระแวง,เงินว่าทรัพย์,จะกลับหลง แร่เงินทอง,ดองในดิน,ถิ่นป่าดง ก็ยังคง,เป็นแม้น,ทรัพย์แผ่นดิน สิ่งใดชอบ,ประกอบตรง,ครบองค์สาม จึงเรียกนาม,ตามตำหรับ,ว่าทรัพย์สิน (๑) สิ่งโอนเจ้า,ของได้,ดังใจจินต์ เช่นกะชิ้น,ชามปืน,ยกยื่นลอง ฤๅที่บาน,ที่สวน,ควรขายซื้อ ด้วยหนังสือ,บริคณห์,โอนกันคล่อง (๒) มีกำหนด,หมดใม่เฝือ,จนเหลือปอง (๓) และเป็นของ,มีคุณ,หนุนนิยม เช่นอากาศ,ดาษไป,ก็ใช่ทรัพย์ พอสูดผับ,เดียวเท่านี้,ก็มีถม ครั้นเข้าถ้ำ,ดำนัที,ใม่มีลม อากาศสม,ควรเป็นทรัพย์,กลับต้องการ สติปัญญา,กำลังวิชา,หาใช่ทรัพย์ ด้วยส่งรับ,กันมิได้,ใช่ธนะสาร สิ่งใดตรง,องค์สาม,ตามตำนาญ ท่านขนาน,นามทำนอง,ทรัพย์ของคน มีทรัพย์ไว้,หวังใช้,บำเรอสุข แลทำนุก,ทรัพย์สืบ,ให้คืบผล ปลูกทรัพย์เภาะ,นุเคราะห์หวัง,เป็นกังวน ก็ใม่พ้น,พยายาม,สามประการ (๑) คือที่ดิน,ถิ่นทาง,แหล่งสร้างทรัพย์ (๒) แรงสำหรับ,คราดไถ,ไว้ให้หว่าน (๓) ทุนเที่ยวซื้อ,เครื่องมือ,ถือทำงาน ฤๅอาหาร,เลี้ยงชีวี,ให้มีแรง ที่ แรง ทุน,นี่แลหนุน,ทรัพย์ประสิทธิ์ รัษฐนิต,ติศาสตร์แจก,จำแนกแถลง ทุกเขบ็จ,เขม็ดแขม่,แลแยกแย้ง ดัดแปลงแสดง,แสวงประโยค,พูลโภคทวี โดยเหนื่อยน้อย,พลอยสบาย,แต่ได้หลาย มิควรจ่าย,มิให้ใช้,ใช่ตระนี่ ปรองดองกัน,ฉันท์เมตตา,สามัคคี โดยประนี,ประนอมมโนช,ประโยชน์ยืน ทำไฉน,จะให้มนุษย์,สุดเศรษฐี ไฉนดี,จึงจะพ้น,คนจนดื่น ไฉนเมือง,จะรุ่งเรือง,รีบเฟื่องฟื้น ไฉนจะสุข,สนุกครื้น,ชื่นเชื้อวงษ์ อธิบาย,ขยายวิธี,มีตำหรับ ทุกอย่างสรรพ,ะพิทยา,น่าพิศวง ยามเด็กรู้,ครูช่วย,เปลื้องงวยงง เรียนแล้วคง,ทราบตำรา,ว่านี้เอย ๚
----------------------------