นรางกุโรวาทสำหรับเด็ก ชั้นที่ ๑ (อายุระหว่าง ๗ ขวบถึง ๘ ขวบ)

๏ เด็กชั้นหนึ่ง,เจ๊ดขวบถึง,แปดขวบขนาด น่าโอวาท,เจ๊ดข้อ,พอตัวก่อน ควรพ่อแม่,แลครู,ผู้อาทร จะผันผ่อน,สอนนำ,ให้ทำตาม ๚

ภาคที่ ๑ ความสอาด

๏ (ข้อ ๑ สงวนกาย) สงวนตน,พ้นชั่ว,กลั้วลามก สกกะปรก,น่าเกลียด,รังเกียจหยาม เมื่อตื่นนอน,ตอนเช้า,อย่าเบาความ จงรักงาม,รักสอาด,ฉลาดรวัง ล้างหูตา,นาสิกคิ้ว,นิ้วหน้าผาก สีฟันด่วน,บ้วนปาก,ให้เปล่งปลั่ง หวีผมเผ้า,เกล้าเกษา,อย่าอำปลัง ให้เกรอะกรัง,ท้าวมือ,ฤๅเล็บตัว แม้นเปื้อนเปรอะ,เลอะเหงื่อ,เมื่อไหนมั่ง จงรวัง,ดังกล่าว,ท้าวจนหัว สอาดเอี่ยม,เรี่ยมพร้อม,ใม่มอมมัว เพราะเกลียดชั่ว,กลัวฉิน,ชังนินทา, ๚

๏ (ข้อ ๒ สงวนเสื้อผ้า) นอกจากตัว,ยังต้องกลัว,โสโครกป้าย เครื่องแต่งกาย,ต้องเอื้อ,จนเสื้อผ้า ถุงรองท้าว,ขาวดำ,ด่วนนำพา หมวกเช็ดหน้า,อย่าให้เปื้อน,รู้เอือนอาย ๚

ภาคที่ ๒ กิริยา

๏ (ข้อ ๑ การกินดื่ม) อย่ากินดื่ม,ลืมภูม,ทำมูมมาม ฤๅตะกลาม,ปามคว้า,สวาหาย ปากอย่าเปรอะ เลอะแฟะ,เคี้ยวแหยะคาย สำรวมกาย,อย่างผู้ดี,อารีรวัง ๚

๏ (ข้อ ๒ เวลาซักแลตอบ) เพลาซัก,ปัณหา,เพลาตอบ จงชื่นชอบ,อย่าบึ้ง,ทลึ่งทลั่ง พูดอ่อนหวาน,หว่านว่า,ให้น่าฟัง ขืนตึงตัง,ฤๅเฮี่ยเฮี่ย,เอี้ยข้างทราม ๚

๏ (ข้อ ๓ เสงี่ยมใม่เสือกรู้จักคอย) จงรักษา,ท่าทาง,อย่างเสงี่ยม สงวนเจียม,ดีกว่าเจ๋อ,ทำเห่อ ห่าม อย่าริเสือก,เถลือกถลน,รนหาความ รู้จักห้าม,ใจพัก,รู้จักคอย ๚

๏ (ข้อ ๔ ทันเวลา) อย่าเฉื่อยชา,จงรักษา,เวลามั่น ถึงให้ทัน,ท่านกำหนด,อย่างดหง่อย ตื่นให้ทัน,ไปให้ทัน,ทุกวันทอย เลิกอ้อยสร้อย,ทั้งในบ้าน,สถานเรียน ๚

ภาคที่ ๓ โอบอ้อมอารี

๏ (ข้อ ๑ แก่สหายเพลาเล่น) อารีรัก,สมัคสมาน,แม้การละเล่น อย่าเขี้ยวเข็ญ,มิตร์ลเมียด,กระเบียดกระเษียร โอบอ้อมเอา,ใจสงวน,ชวนพากเพียร อย่าพาเหียร,หึงหวง,ล่วงบีฑา ๚

๏ (ข้อ ๒ ต่อสัตว์เลี้ยง) สังเวชสัตว์,หัดเห็น,เช่นทารก ทั้งหนูนก,เลี้ยงแล้ว,จนแมวหมา อย่าข่มเหง,คเนงร้าย,หมายเมตตา เกรงครหา,ว่าอยาบ,ใจบาปเบียฬ ๚

๏ (ข้อ ๓ ต่อสัตว์อันหาอันตรายมิได้) จงปรานี,สัตว์ไม่มี,อันตราย อันตอมต่าย,ตามบ้าน,คลานป้วนเปี้ยน เช่นแมงวัน,บินโหว่ง,ในโรงเรียน จิ้งจกเพียร,ใต่ผนัง,อย่ารังแก จนไส้เดือน,เฉือน ดิน,อย่ายินร้าย สมเป็นชาย,หญิงสยาม,ที่งามแง่ เราก็จิตร์,มันก็ใจ,ใยตอแย มันเดือดร้อน,เราก็แย่,แม้ใครเบียฬ ๚

๏ (ข้อ ๔ ต่อนกแลรัง) อย่าเที่ยวจับ,ลูกนก,แลฉกรัง รู้ศึกสัง,เวชจำ,เนื้อคำเขียน แม้นรู้ไว้,ไม่แสวง,เสียแรงเรียน กลับพาเหียร,กว่าผู้,ใม่รู้ความ ๚

ภาคที่ ๔ ความกตัญญู

๏ (ข้อ ๑ ต่อบิดามารดาพระมหากษัตริย์แลครู) คิดบุญคุณ,กรุณา,ครูอาจาริย์ บิดามาร,ดาถัด,กระษัตริย์สยาม จงจิตร์มั่น,กตัญญ,อย่าวู่วาม ข้อใดห้าม,จงประหยัด,อย่าขัดคำ แม้นเราใม่,ขอบใจ,ใครช่วยเหลือ ใครจะเอื้อ,ชูชุบ,อุบ,ระถัมภ์ เป็นทารก,ท่านใม่ยก,หกคมำ ได้ท่านบำ,รุงพึ่ง,จึ่งเป็นตัว ๚

ภาคที่ ๕ ความยุติธรรม

๏ (ข้อ ๑ ห้ามมักได้ ยิ่งในเวลาแจกของ ฤๅใครเคราะห์ดี) อย่าลโมบ,โลบมาก,อยากมักได้ ยิ่งยามให้,ของแจก,อย่าแหวกชั่ว น้อยใจคิด,ริศยา,โกรธานัว เขย่งยั่ว,ให้เขาหยัน,เท่านั้นเอง ใครโชคเหมาะ,เคราะห์ดี,มีประโยชน์ ช่วยปราโมทย์,ปลื้มเคราะห์,ที่เหมาะเหมง ตัวควรได้,ได้คล่องคล่อง,ใม่ต้องเกรง ทำโฉงเฉง,เสือก,แสร่,เสียแก่ตัว ๚

ภาคที่ ๖ ความสัตย์

๏ (ข้อ ๑ พูดถูกต้องแม่นยำใม่ยืดความ) พูดอไร,ให้คำ,แม่นยำถ้อย อย่าต่อสร้อย,เสริมจริง,เป็นสิ่งชั่ว เหมือนตัวฆ่า,วาจาสัตย์,รมัดกลัว จะกลายสั่ว,สัมผับ,สับปลับพลั้ง ๚

๏ (ข้อ ๒ ท่าทางเรียบใม่ภูมก้าวร้าว) ไว้สง่า,/* 40*/ท่าทาง,อย่างเรียบ ๆ อย่าเห่อเฉียบ,ฉุนโฉ่,คลั่งโอหัง อูมพะยูม,ภูมนัก,คนมักชัง ขำคมตั้ง,แต้มคู,ดูพองาม ๚

ภาคที่ ๗ ความกล้า

๏ (ข้อ ๑ ทนใจดีเมื่อเจ็บฤๅใม่สดวก) จงอดทน,เยี่ยงคน,ถือขันตี ชาติใจดี,ควรประเดีม,เฉลีมสยาม ป่วยนิดหน่อย,ค่อยสกด,อดพลูมพลาม ฤๅถูกความ,ใม่สดวก,เพราะพวกพ้อง ฤๅรำคาญ,นานนั่ง,ฟังสั่งสอน อย่าขี้อ้อน,อึดอัด,ตุปัดตุป่อง มิใช่ไทย,ใจเสาะ,เฆาะคนอง ก็ด่วนร้อง,ด่วนโกรธ,ด่วนโดดดาย ๚

๏ (ข้อ ๒ ฟ้องต่อเมื่อควร) อย่าขี้ฟ้อง,ร้องฎีกา,บ้าขี้แย ควรฟ้องแต่,ฟ้องเขี่ย,ข้อเสียหาย ช่วยเดือดร้อน,ผู้อ่อนแอ,แก้อันตราย หวังผลภาย,หน้าปราบ,ให้หลาบคร้าม ๚

๏ (ข้อ ๓ ผจญหน้าต่อสัตว์ที่เด็กมักกลัว) เด็กทุกคน,ผจญหน้า,ต่อหมาแฮ่ ตุ๊ดตู่ตุ๊กแก,แลแมงมุม,ตีนยุ่มย่าม ด้วงมพร้าว,แมวหง่าวงู,ขู่คุกคาม เด็กมักขาม,ขยาดตื่น,จงฝืนใจ ทำกล้าหาญ,ต้านต่อ,อย่าท้อโทษ ควรโดดโดด,ดูดู,สู้สู้ไหว เยี่ยงเหล็กเพชร์,เด็ดอุดม,สมเป็นไทย ยามเพลีงไหม้,คโมยขึ้น,บึกบึนเอย ๚

----------------------------

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ