ชั้นที่ ๔ (อายุระหว่าง ๑๐ ขวบถึง ๑๑ ขวบ)

๏ เด็กสิบขวบ,จวบสิบเอ็ด,นิ่เผ็ดร้อน ควรจะสอน,แปดข้อ,พอจำจด จัดเป็นคั่น,ชั้นสี่,มีพยศ น่าจะกด,กันกำเรีบ,เตีบตะเวน ๚

ภาคที่ ๑ กิริยา

๏ (ข้อ ๑ ให้แช่มชื่น) วางกิริยา,ให้หน้า,ชื่นตาบาน อย่าบูดบึ้ง,ขึ้งคร้าน,ปานพวกเขน ยิ้มใม่เป็น,เข็ญแต่เง้า,เจ้ากรรมเวร กลายเป็นเดน,นรกเกิด,กำเนิดปน ๚

๏ (ข้อ ๒ จู้จี้ใม่ดี) การจู้จี้,พิถีพิถัน,นั่นน่าชัง อุตส่าห์รวัง,ตัวให้ดี,อย่าขี้บ่น หัดเลี้ยงง่าย,สบาย ถนัด,กว่าหัดตน ให้เป็นคน,เลี้ยงยาก,ลำบากใจ ๚

๏ (ข้อ ๓ การอวดดีแลขี้อายใม่ดี) น่าอดสู,รู้ศึกขยะ,จักระดี้ การอวดดี,ขี้อาย,ร้ายและไพร่ เที่ยวยกตน,ข่มท่าน,นั่นจรรไร ใม่มีใคร,ชอบเฉียด,เกลียดอาการ ๚

๏ (ข้อ ๔ ควรเสงี่ยมเจียมตน) รู้ศึกเสงี่ยม,เจียมตัว,กลัวนินทา เข้าทีกว่า,เหิมเห่อ,เผยอผล้าน หยิ่งยกหัว,ให้เขากลัว,นั่นตัวพาล ให้สงสาร,ดอกจึงดี,มี่เกรงใจ ๚

๏ (ข้อ ๕ วางตนให้ควร) วางตนไว้,ให้ควร,สงวนศักดิ์ อย่าหงองนัก,หยิ่งหนัก,ชักหมั่นไส้ ยศถาศักดิ์,หลักฐาน,ตนปานใด วางตนให้,สมหน้า,ชมว่าดี ๚

ภาคที่ ๒ รักมนุษย์ะชาติ

๏ (ข้อ ๑ สำแดงพยานที่ควรรัก) เกิดเป็นคน,พ้นเป็นสัตว์,ควรหัดตน ให้เป็นคน,สมเป็นไทย,ไว้ราศรี เป็นมนุษย์,นั่นมงกุฎ,มนุษย์มี คือกรุณา,สามัคคี,ปรานีมนุษย์ อยู่ลำพัง,ตั้งตน,พ้นพิไสย ควรรักใคร่,เพื่อนร่วม,สรวมมงกุฎ เลิกริศยา,พยาบาท,อาฆาฎคุด บรรดาฉุด,ชักตัว,ให้ชั่วทราม วโรวาท,ให้รักชาติ,ศาสนา พระมหา,กษัตริย์เรา,ชาวสยาม แต่นักปราช,ฉลาดโลก,ยังโยกความ ให้อุตส่าห์,พยายาม,ตามเมตตา ทุกมนุษย์,ที่สุด,เดรฉาน ทุกจักระวาฬ,น้ำดิน,ทั่วถิ่นหล้า เราเป็นไทย,รักแต่ไทย,ใม่นำพา ต่างภาษา,ต่างชาติ,นักปราชค้าน ว่าคิดชั่ว,เห็นแก่ตัว,กลั้วโมหันต์ ควรรักกัน,ทั่วพิภพ,จบทุกด้าน ชีวิตไทย,ใช่ชีวิต,พิศดาร เอกวิถาร,ผิดปลาด,ต่างชาติมี เพราะฉนั้น,ท่านจึงสอน,สังหรณ์ชัก ให้เรารัก,มนุษย์ปอง,ฉันน้องพี่ การรักกัน,นั่นใม่ห้าม,เป็นความดี พระชินะศรี,โลกะนารถ,ประกาศชม ทั้งนักปราช,ทุกๆชาติ,ฉลาดเดิน ก็สรรเสริญ,รักมนุษย์,ว่าสุดสม ควรที่ไทย,ไพร่ผู้ดี,จะนิยม ที่สุดบรม,ะกษัตริย์,รัฐบาล ยังแผ่เผื่อ,เกื้อนุกูล,ประยูรมนุษย์ ทั้งบุรุษ,นารี,ปรานีสมาน ตั้ง โรงเรียน,โรงบ้า,เป็นสาธารณ์ ทานะสถาน,อุณาโลม,กระโจมไฟ กองดับเพลิง,เชีงช่วย,ป่วยพิการ ก็มีโรง,พยาบาล,ประทานให้ ทุพละภาค,ยากจน,คนเข็ญใจ ก็พอได้,พึ่งเพียง,เลี้ยงชีวิต ถ้าการรัก,ชักมนุษย์,ฉุดต่ำช้า ไฉนจะพา,กันคลั่ง,ใม่ยั้งผิด รักทุกชาติ,ศาสนา,นานาทิศ ก็เพราะคิด,ควรรัก,จึงชักนำ ๚

ภาคที่ ๓ เกียรติยศ

๏ (ข้อ ๑ ต่อผู้อื่น ให้เข้าใจได้) ตั้งใจจริง,ทิ้งเสนียด,รักเกียรติยศ ให้ปรากฎ,เกียรติ์นิยม,คุณคมขำ,จนท่านไว้,ใจเกรง,แลเยงยำ ถือสัตย์ธรรม,เที่ยงตรง,ใม่หลงเลว ๚

๏ (ข้อ ๒ ต่อตัวเอง วางตัวให้สม) ตั้งใจจริง,ทิ้งเสนียด,รักเกียรติยศ ให้ปรากฎ,แก่ตน,ใช่คนเหลว วางตัวให้,สมตัว,เป็นหัวเอว อย่าเหลาะแหละ,เหลวเป๋ว,เป็นเปลวเพลิง ๚

๏ (ข้อ ๓ อย่าบ้ายศ เห่อทรัพย์) อย่าหยิ่งเย่อ,เฟ้อฟู้,คู่ขนด ทำบ้ายศ,บ้าสมบัติ,ซัดเหลิงเจิ้ง บ้ารู้หลัก,นักปรูช,ฉูดกระเจิง จะเสียเชิง,เสียเช่น,เป็นบ้าบอ ๚

ภาคที่ ๔ ความยุติธรรม

๏ (ข้อ ๑ ต่อผู้อื่น เช่นรวังโรคติด) ยุติธรรม,ค้ำชู,ต่อผู้อื่น อย่ามัวตื่น,เข้าแก่ตัว,มัวแต่ป๋อ ตัวเป็นโรค,ติดได้,ปลงใจฅอ อย่าให้ต่อ,ติดต้อย,ใครพลอยเป็น ๚

๏ (ข้อ ๒ อย่าอมหิทธิ์ต่อเดรฉาน) อย่าริทำ,อัมหิทธิ์,อวดฤทธิ์เดช จงสังเวช,เดรัจฉาน,อย่าหาญเล่น เอาอย่างใคร,ใจร้าย,ควรวายเว้น เหมือนอย่างเช่น,ชนไก่,ไล่กัดปลา กัดจิ้งหรีด,นอกรีดเผา,แข่งเต่าแกง ฤๅผูกสัตว์,มัดแกล้ง,เสียแข้งขา ทั้งทุบตี,ขี่ฅอ,ทรมา จับอีกา,ติดหงอน,ต้อนให้ชน ๚

๏ (ข้อ ๓ ผู้ใหญ่ลงโทษเพื่อปรามให้ดี) ผู้ใหญ่ห้าม,ปรามให้ยำ,โดยทำโทษ หวังประโยชน์,ยุติธรรม,เพื่อนำผล ท่านขังตี,มิใช่โกรธ,จองโทษตน ฤๅทั้งวน,แต่ตั้ง,จะรังแก ทำเพราะหวัง,ขังเอ็ด,ให้เข็ดหลาบ ประหยัดบาป,หยาบหยาม,ให้งามแง่ ควรขอบคุณ,มากกว่าฉุน,มุ่นตอแย ทำท้อแท้,โหยลห้อย,ฤๅน้อยใจ ๚

ภาคที่ ๕ ความสัตย์

๏ (ข้อ ๑ ให้ถูกถ้อยอย่าหาความอย่าปากบอน) เวลาเล่า,ข่าวอไร,ให้ถูกต้อง เลิกฟ้องร้อง,หาความ,ลามเหลวไหล ฤๅปากบอน,ย้อนยนต์,ใส่กลใน เขารู้ไส้,กลายเป็นเหี้ย,เสียทุกตอน ๚

๏ (ข้อ ๒ ทำจริงใจอย่าลวง) ทำอไร,น้ำใส,ใจจริงออก อย่ากลับกลอก,หลอกเขา,เอาร่อนๆ เดี๋ยวจับโน่น,ซนนี่,กาลีบอน เรื่องลวงหลอน,ล่อล้วน,ใม่ควรทำ ๚

๏ (ข้อ ๓ คิดเอาแต่จริง) คิดสิ่งใด,ใคร่ประวัติ,สัตย์แสวง อย่าบัดซบ,ตลบแตลง,แถลงถลำ ทนตรำกรึ้ง,ถึงจะช้า,เวลาคลำ คิดแล้วจำ,คิดดู,ให้รู้จริง ๚

๏ (ข้อ ๔ อย่าหลบยากด้วยเป็นทีว่าทราบแล้ว) ยากแสนยาก,บากบั่น,อย่าหันหลบ พูดประจบ,ประแจงก๋า,มารยาหยิ่ง เป็นที่เรา,เข้าใจ,ใม่ประวิง วายทราบสิ่ง,มุ่งหมาย,ได้แต่โว ๚

ภาคที่ ๖ การคิดเผื่อ

๏ (ข้อ ๑ คิดก่อนจึ่งพูดจึ่งทำ) คิดเสียก่อน,อย่าเพ่อร้อน,สำนวนเพ้อ หลงลเมอ,งมงาย,ขยายโง่ ทำอใร,ใคร่ครวญ,อย่าด่วนโช้ เห่อแผนโก้,กลายเป็นโซด,โทษกว่าคุณ ๚

๏ (ข้อ ๒ อย่าตะกลาม) อย่าตะกลาม,กินดื่ม,ปลื้มอาหาร ตะกลามงาน,ตะกลามสนุก,ขลุกหมกมุ่น งานเหลือบ่า,ม้างัว,ตัวยังซุน ลเลิงนัก,มักจะหมุน,รุนล้มครืน ๚

ภาคที่ ๗ ความกล้า

๏ (ข้อ ๑ กล้าดีแต่อย่าเกกมะเหรกฤๅมุทลุ) สำคัญหนา,กล้าแกล้ว,แก้วมงกุฎ ของมนุษย์,ชายหญิง,ยิ่งกว่าอื่น แต่มุทลุ,อุอะ,นะใม่ฟื้น ล้มทั้งยืน,เกกมะเหรก,คงเงกทราม, ๚

๏ (ข้อ ๒ มีสติ) กุมสติ,ต่างโล่ห์,ราโชวาท คงองค์อาจ,เอาไชย,ในสนาม เช่นมีไภย,ไฟใหม้,ใคร ตูมตาม อย่าวู่วาม,ตึงตัง,ยับยั้งไว้ ๚

ภาคที่ ๘ งาน

๏ (ข้อ ๑ ปลื้มงานที่ดี) ทำสิ่งใด,สำเร็จได้,โดยบรรจง ลเอียดลออ,พอจำนง,สิ้นสงไสย ควรปรีดา,อย่าลืม,ปลื้มหัวใจ รู้ศึกได้,ดังนี้,แลดีนัก ๚

๏ (ข้อ ๒ รู้จักใช้เวลาว่าง) สำเหนียกให้,รู้จักใช้,เวลาว่าง นี่เป็นทาง,เข้มข้น,สำคัญหนัก เด็กจะเงี่ย,เสียงาม,ก็ยามพัก เป็นช่องชัก,เชือนเฉ,เสเพลเพลีน เหมือนสังเวียน,สี่แพร่ง,ทแยงยั่ว ทางหนึ่งชั่ว,ทางหนึ่งดี,สุดหนีเหีน ทางหนึ่งใม่,ชั่วดี,ทีสเทีน ทางหนึ่งเดีน,ดึ่งไป,ไภยมีจริง ควรจะเอื้อ,เมื่อนี่,ฮอบบี้เรียก ชวนสำเหนียก,สนุกมุ่ง,กระจุ้งกระจิ๋ง เช่นถ่ายรูป,วาดเขียน,เวียนประวิง ชอบเก็บสิ่ง,ควรเล่น,เช่นสแตมป์ ของเด็กเล่น,เช่นผู้ใหญ่,เล่นลายคราม ที่ชาชาม,เทวะรูป,สรูบแถม เล่นไม้ดัด,ไม้ดอก,ออกใบแกม เศรษฐีแหลม,เล่นเม็ด,พลอยเพชร์เอย ๚

----------------------------

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ