- แจ้งความ จำหน่ายหนังสือ นรางกุโรวาท
- คำปรารพภ์
- ข้อแนะผู้ใหญ่ผู้จะเลี้ยงเด็ก
- นรางกุโรวาท สำหรับทารก (อายุระหว่าง ๑ ขวบครึ่งถึง ๒ ขวบ)
- นรางกุโรวาทสำหรับเด็ก ชั้นที่ ๑ (อายุระหว่าง ๗ ขวบถึง ๘ ขวบ)
- ชั้นที่ ๒ (อายุระหว่าง ๘ ขวบถึง ๙ ขวบ)
- ชั้นที่ ๓ (อายุระหว่าง ๙ ขวบถึง ๑๐ ขวบ)
- ชั้นที่ ๔ (อายุระหว่าง ๑๐ ขวบถึง ๑๑ ขวบ)
- ชั้นที่ ๕ (อายุระหว่าง ๑๑ ขวบถึง ๑๒ ขวบ)
- ชั้นที่ ๖ (อายุระหว่าง ๑๒ ขวบถึง ๑๓ ขวบ)
- ชั้นที่ ๗ (อายุระหว่าง ๑๓ ขวบถึง ๑๔ ขวบ)
- คาถาสำหรับกราบหมอนเมื่อจะนอนทุกทิวาราตรี (รจนาใหม่)
- มูลประสงค์นรางกุโรวาท
ชั้นที่ ๒ (อายุระหว่าง ๘ ขวบถึง ๙ ขวบ)
๏ เด็กชั้นสอง,คนองเล่น,เต้นกลางแดด ระหว่างแปด,เก้าขวบ,ใม่อวบอ้วน น่าโอวาท,แปดข้อ,ก่อนพอควร อย่าเพ่อด่วน,สอนเฝือ,เหลือนิยม ๚
ภาคที่ ๑ ความสอาด
๏ (ข้อ ๑ ในบ้าน) จงรักงาม,ความสอาด,สมวาศนา อยู่เคหา,อย่าพวัก,เหมะหมักหมม ช่วยกวาดปัด,จัดให้,ไกลโสมม อย่าเที่ยวถ่ม,อย่าเที่ยวทิ้ง,เที่ยววิ่งโยน ๚
๏ (ข้อ ๒ ในโรงเรียนสนามแลถนน) ในโรงสอน,ตอนสนาม,ตามสนน สงวนตน,สงวนสอาด,อย่าฟาดโข้น ยามเล่นๆ,อย่าเล่นเต้น,เผ่นกระโจน ผกโผนโดน,หกกลิ้ง,ฤๅทิ้งเดน ปอกผละไม้,เปลือกอย่าได้,เที่ยวโยนกลาด เศษกระดาษ,ทิ้งตะกร้า,อย่าพาเพ่น อย่าหักกิ่ง,ไม้โยน,เหนี่ยวโอนเอน จำจนเจน,ใจสอาด,ฉลาดรแวง ๚
ภาคที่ ๒ กิริยา
๏ (ข้อ ๑. พูดอ่อนน้อมแลชัดเจน) ยามพูดจา,จงสัมมา,คาระวะ อย่าอุอะ,มะเทิ่ง,เหลีงแสลง พูดคำไหน,ให้ชัด,อย่าดัดแปลง เห็นเก๋แผลง,พลิกสำเนียง,เสียงวอวา ๚
๏ (ข้อ ๒ ไว้ท่าเรียบร้อยตามถนน) วางกิริยา,ให้น่า,สรรเสริญ เมื่อยามเดีน,ตามถนน,อย่ารนร่า อย่าชล่า,รักษายศ,หลีกรถม้า ไว้สง่า,พอควร,สงวนนาม ๚
๏ (ข้อ ๓ อย่าเงอะงะ) ท่านสอนให้,ใช้สรอย,คอยขวนขวาย การง่ายๆ,อย่าเคอะ,เงอะงุ่มง่าม จงแคล่วคล่อง,ไข่กบท้อง,นะใม่งาม วานบอกความ,ตามใคร,ไปพลันๆ ๚
ภาคที่ ๓ ความซื่อตรง
๏ (ข้อ ๑ รู้จักใช้ของคนอื่น) เมื่อจำใช้,ของๆใคร,ให้รู้จัก ถนอมรัก,ปกป้อง,ปานของขวัญ อย่าปรันปลุก,ฉุกละหุก,สมบุกสมบัน กระแทกกระทั้น,ประคับประคอง,ต้องให้ดี ๚
๏ (ข้อ ๒ ทำของเขาหาย) ทำของเขา,เสียหาย,นี่ร้ายใหญ่ ต้องคิดใช้,ให้คุ้ม,อย่าสุ่มหนี มักบาดใจ,ใครใม่ว่า,ก็ราคี เหมือนเป็นนี่,น่าอาย,ติดตายตัง ๚
๏ (ข้อ ๓ เอาธุระสงวนของ) จงรักษา,สิ่งของ,ห้องที่อยู่ สิ่งของครู,โรงเรียน,ต้องเวียนหวัง ของ สนาม,ของสวน,ควรรวัง อย่าหันหลัง,ถือว่าใม่,ใช่ของกู, ๚
๏ (ข้อ ๔ ทำงานอย่าคดโกง) เพลาเรียน,เขียนคำบอก,ฤๅออกงาน อย่าคิดอ่าน,อุบายบิด คิดอดสู เลขคำบอก,อย่าลอก,อย่าลักดู แม้นใครรู้,เขาก็ลือ,เสียชื่อโกง ๚
ภาคที่ ๔ ความยุติธรรม
๏ (ข้อ ๑ ต่อมิตร์) จงรักษา,ยุติธรรม,ประจำจิตร์ คำนึงคิด,ยำเยง,อย่าเฉงโฉง เพื่อนเล่นเพื่อนบ้าน,สมานสมัค,มิตร์ชักโยง ทั้งเพื่อนโรง,เรียนรัก,ให้พรักพร้อม ๚
๏ (ข้อ ๒ ต่อผู้เคราะห์ร้าย) คนเคราะห์ร้าย,ควรหมาย,อำนวยพร เช่นคนอ่อน,แอท้อ,บอด,บออ่าง ฤๅพิการ,แก่หงำ,อย่าอำพราง ล้อเล่นอย่าง,เพื่อนเล่น,ใม่เห็นดี ๚
ภาคที่ ๕ ความสัตย์
๏ (ข้อ ๑ นัดเพลาแลความลับ) สงวนสัตย์,นัดใคร,จงให้มั่น รักษาสัญ,ญาสนิท,อย่าบิดหนี รู้จักปิด,มิดความ,ปรามวะจี ความลับที่,คนเขาเอื้อ,เพราะเชื่อตัว เป็นมนุษย์,สุดอาย,น่าขายหน้า ก็ที่กล้า,ฆ่าสหาย,แสนร้ายชั่ว ความลับเขา,เอาขยาย,เหมือนควายงัว เหลือน่ากลัว,หน้าเนื้อ,ใจเสือตรง ๚
ภาคที่ ๖ ความกล้า
๏ (ข้อ ๑ เอาอย่างที่ดี) กล้าเอาอย่าง,ตัวอย่าง,ทางที่ดี อย่าเอาอย่าง,ทางที่,มีพิศสง อย่าครั่นคร้าม,มิใยหยาม,ยามทนง ทำดีองค์,อาจฉนี้,ยอดดีนัก ๚
๏ (ข้อ ๒ สาระภาพ แลบอกกล่าว) ล่วงโทษา,รวังสา,ระภาพผิด ถึงจะติด,ขังควร,สงวนศักดิ์ เกิดเหตุร้าย,สหายก่อ,ทรลักษณ์ บอกผู้หลัก,ผู้ใหญ่พลัน,อย่าครั่นใคร ๚
๏ (ข้อ ๓ ยามอับจนให้เชื่อใจตัว) ยามอาภัพ,อับจน,เชื่อตนเกิด ไหนประเสริษฐ,ทำนั่น,อย่าหวั่นไหว เมื่อเคราะห์ร้าย,ตายไหน,ก็ตายไป อย่าเหลวไหล,เวียนวก,ใม่ตกลง ๚
๏ (ข้อ ๔ อย่ากลัวพายุฟ้าร้องฟ้าแลบ) ยามพายุ,บุแคม,ไว้แต้มตัว อย่าตื่นกลัว,โพยไภย,เพ้อไหลหลง ถึงฟ้าแลบ,ฟ้าร้อง,ต้องอาจองค์ ทำทนง,ปืนไฟ,ก็ใม่คร้าม ๚
ภาคที่ ๗ บังคับใจตัว
๏ (ข้อ ๑ บริโภคอาหารสอาดแลใม่แสลง) หัดบังคับ,ใจตน,จนสิทธิ์ขาด รู้จักประมาณ,อาหาร สอาด,โอวาทห้าม ของแสลง,แย้งอย่างไร,ก็ใม่ตาม ของค้างข้าม,คืนขนม,หมักหมมเมีล ๚
๏ (ข้อ ๒ ใม่เล่นการละเล่นที่เป็นโทษ) อยากจะเล่น,แต่ว่าเห็น,เล่นเป็นโทษ เสียประโยชน์,เสียเพลา,พาตะเพิ่น ฤๅขัดต่อ,ข้อบังคับ,ถึงจับเพลีน รู้จักเดิน,จิตร์รงับ,บังคับงด ๚
(ข้อ ๓ ใม่ดื้อใม่ขี้อ้อนใม่มุทลุใม่หน้านิ่วคิ้วขอด โมโหร้ายพาลเกกมะเหรก) บังคับใจ,ให้กลับ,บังคับกาย ใม่เวยวาย,ดื้อถ่อ,ทรหศ ใม่ขี้อ้อน,เสออะน้ำตา,บ้าพยศ ถอยกระถด,มุทลุ,เลิกดุดัน ใม่หน้านิ่ว,คิ้วขอด,อิดออดบ่น ขู่คำรน,โมโหร้าย,โกรธหมายมั่น พาลเทลาะ,เกกมะเหรก,โหยกเหยกครัน บังคับกลั้น,ใจสู้,ให้อยู่มือ ๚
๏ (ข้อ ๔ เลิกผรุสวาทหมิ่นแลชิงพูด) ยามพูดจา,อย่าให้ผุด,ผรุสวาท ใครฟังบาด,หูสดับ,สิ้นนับถือ ฤๅดูถูก,ลูกคน,จนเขาลือ ฤๅดันดื้อ,ชิงกล่าว,ข่าวเละละ ฤๅเย้ยเยาะ,เฆาะขาน,ประจารปิ้ง ฤๅเย่อหยิ่ง,ทอยทัก,กักขะละ ฤๅพูดมาก,ปากพล่อย,ปล่อยเฟะฟะ ฉลาดฉะ,ใจเฉลียว,เหนี่ยวสำเรา ๚
๏ (ข้อ ๕ คิดกันความคิดร้าย) ขณะคิด,กันจิตร์,คิดร้ายๆ ออกอุบาย,พยาบาท,อาฆาฎเขา ชักให้คิด,สุจริต,สนิทเนา แม้นคิดเดา,หัดเดา,เค้าควรเป็น ๚
ภาคที่ ๘ งาน
๏ (ข้อ ๑ ช่วยงานบ้าน) คำโบราณ,เข้าบ้านท่าน,อย่าดูดาย ปั้นงัวควาย,ให้ปัน,ลูกท่านเล่น ยามอยู่บ้าน,แม่พ่อ,ขออย่าเว้น ช่วยวิ่งเต้น,ยิ้มต๋า,อาษางาน ๚
๏ (ข้อ ๒ ผลดีการหมั่น) หัดสอนใจ,ให้ประดล,ผละเพียร หมั่นชักโยง,โรงเรียน,ง่วนเขียนอ่าน ใช่ยามเล่น,เป็นขณะ,จะเอาการ ถึงอาจาริย์,ท่านมิเตือน,อย่าเชือนเอย ๚
----------------------------