เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๕๒

วันที่รัชกาล ๗๘๙๕ วัน ๒ ๘ ค่ำ ปีขานโทศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๓ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาทุ่มเศษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมาประทับอยู่ที่น่าพระทวารกลางบนพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ พระองค์เจ้าสวัสดิโศภน พระบริบูรณ์โกษากร นำพระภิรมย์ภักดี กรมท่าซ้ายฝ่ายพระราชวังบวร ทูลเกล้า ฯ ถวายเครื่องโต๊ะลายคราม ประทับทอดพระเนตรอยู่จนเวลา ๒ ทุ่มเสด็จขึ้น

เวลายามเศษเสด็จออกขุนนางตามเคย หลวงจินดารักษ์นำใบบอกในกรมมหาดไทยขึ้นกราบบังคมทูล ๖ ฉบับ ๆ ที่ ๑ บอกพระอินทราธิบาลข้าหลวงเมืองนาครนายก ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๑๐๘ ว่าได้แต่งให้ขุนหมื่นกรมการออกสืบจับอ้ายผู้ร้าย รายปล้นราษฎร ๔ ตำบลนั้นแล้ว แล้วหลวงนาผู้รักษาเมืองมาแจ้งความว่า วันที่ ๗ เมษายน ๑๐๙ เวลาเช้า ๔ โมงเศษ มีอ้ายผู้ร้าย ๖ คน ยิงปืนโห่ร้องเข้าตีปล้นเรือจีนเลงฮัว ตำบลบางกะจิกแขวงเมืองนครนายก อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงถูกจีนเลงฮัว ตำบลบางจีนหลิมเจ็บป่วย แล้วเก็บเอาเงินตรา ๑๓ ชั่ง ๓ สลึง ๖๐๐ ไพ กับทรัพย์สิ่งของไป

รายหนึ่งวันที่ ๙ เมษายน เวลาดึกสองยามเศษ มีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๒๐ คน ยิงปืนโห่ร้องปล้นกระบือในคอกของนายคง อำแดงปุกตำบลหนองปราจิณแขวงเมืองนครนายก อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงถูกนายกลีบบุตรนายคงขาดใจตาย แต่กระบือนั้นอ้ายผู้ร้ายเอาไปหาได้ไม่ พระอินทราธิบาลได้แต่งให้กรมการออกสืบจับยังหาได้ตัวไม่

ฉบับ ๒ บอกพระยาสุนทรสงครามเมืองสุพรรณบุรี ลงวันที่ ๑๘ ๑๙ } เมษายน ๑๐๙ ว่า มีอ้ายผู้ร้าย ๑๓ คน เข้าแย่งชิงกระบือ ๒๐ กระบือ ม้า ๕ ม้า ของจีนกันกับพวกไป จีนกันกับพวกตามอ้ายผู้ร้ายไปทันเอาปืนยิงอ้ายผู้ร้ายตายคนหนึ่ง แต่พวกเพื่อนทิ้งกระบือวิ่งหนีไป จีนกันจับได้ตัวอ้ายจีนหงอ จีนโต } มาส่ง พระยาสุนทรสงครามได้เอาตัวอ้ายจีนหงอ จีนโต } มาถามให้การสารภาพรับเป็นสัตย์ ซัดถึงพวกเพื่อนต่อไป

ฉบับ ๓ ว่าจีนโพฟ้องว่า วันที่ ๑๘ มีนาคม ๑๐๘ เวลาทุ่มเศษ อ้ายจร อ้าย จู } เข้าไปด้อมมองเอาปืนยิงเข้าไปในเรือนถูกจีนพันที่ต้นขาซ้ายทะลุตลอดไปถูกอีดีทาษจีนโพที่ไต้รักแร้ขาดใจตาย พระยาสุนทรสงครามได้ให้กรมการไปเอาตัวอ้ายจร อ้ายจู } ยังหาได้ตัวไม่

ฉบับ ๔ บอกพระยาพไชยสุนทร เมืองอุทัยธานี ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๑๐๙ ว่า ได้เอาเงินค่าตอไม้ขอนสักของหลวง ๑๐ ชั่ง ซื้อไม้จ้างช่างทำศาลากลาง ยาว ๖ วา ๒ ศอก กว้าง ๔ วา ๒ ศอก เครื่องบนไม้จริงมุงกระเบื้องถือปูนเสร็จแล้ว คิดค่าจ้างไม้แลปูน รวมเป็นเงิน ๑๑ ชั่ง ๑ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง พระยาพิไชยสุนทรได้ออกเงินอีก ๑ ชั่ง ๑ ตำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ขอยกทูลเกล้า ฯ ถวาย

ฉบับ ๕ บอกพระยาวิเศษฦๅไชยเมืองฉเชิงเทรา ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๑๐๘ ว่า วันที่ ๑๖ มีนาคม เวลาดึกสองยามเศษ มีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๓๐ คนเศษ ปล้นเรือนแพอำแดงเจียว อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงจีนม้วยขาดใจตาย อ้ายผู้ร้ายจุดคบเพลิงสว่าง อำแดงเจียวจำหน้าได้ คืออ้ายคล้าย อ้ายกล่อม อ้ายบาง อ้ายพุก แล้วเก็บทรัพย์สิ่งของไปทางเมืองปราจิณบุรี พระยาวิเศษฦๅไชยได้แต่งให้กรมการออกสืบจับ ได้ตัวอ้ายกล่อม อ้ายบาง อ้ายพุก อีแย้มภรรยากับขุนศุภมาตราเจ้าสำนัก เอาตัวมาถามให้การประฏิเสธหารับไม่

ฉบับ ๖ บอกราชบุตรเจ้าเท้าเพี้ยเมืองนครพนม ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๑๐๙ ว่า พระพนมนครานุรักษ์ เจ้าเมือง ป่วยเปนโรคชรา ถึงวันที่ ๑๖ มกราคม พระพนมนครานุรักษ์ถึงแก่กรรม ขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงเผาศพ

มีพระบรมราชโองการ ตรัสถามพระยานรินทรราชเสนีว่า อาการที่เจ้าพระยาพลเทพที่สมุหกรมพระกระลาโหม ป่วยเป็นโรคประการใด พระยานรินทรราชเสนีกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เป็นโรคลมให้เวียนศีศะอย่างที่เคยเป็น

แล้วดำรัสถามพระยาภาสกรวงษ์ ถึงฝนในกรุงเทพฯ นี้ ตกมากน้อยเท่าใด พระยาภาสกรวงษ์ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าตกมาก แล้วมีพระราชดำรัสว่า ในคราวเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ถูกฝนชุกมากที่เมืองภูเก็ต

แล้วดำรัสสั่ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช ในการสายโทรเลขหัวเมืองฝ่ายตวันตกที่ยังค้างอยู่นั้น ให้จัดคนรีบไปทำเสียให้แล้ว

แล้วดำรัสสั่งพระยานรินทร์ราชเสนีว่า การที่จะทำทางสายโทรเลขในแขวงเมืองชุมพรนั้น ให้นำพระอัษฎงคตทิศรักษาไปหาเจ้าพระยาพลเทพ ให้จ้างทำเอาเหมือนอย่างเมืองกระบุรี

แล้วดำรัสถามพระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ว่าน้ำฝนต้นเข้าในแถวกรุงเก่าปีนี้ราษฎรไถหว่านได้ดีฤๅฝนตกมากไป พระยาไชยวิชิตกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า น้ำฝนในเดือนพฤษภาคม ๑๐๙ มากกว่าน้ำฝนในเดือนพฤษภาคม ๑๐๘ แล้วดำรัสถามพระยาไชยวิชิตถึงช้างเผือกที่มาจากเมืองนครจำปาศักดิ์มาพักอยู่ที่บ่อโพงนั้น บอบช้ำเจ็บป่วยเป็นประการใดบ้าง พระยาไชยวิชิตกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เป็นการสบายดี แล้วดำรัสว่าถ้าว่างราชการจะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปทอดพระเนตร เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๗๘๙๖ วัน ๓ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๔ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้เป็นวันพระไม่เสด็จออกขุนนาง ไม่มีราชการ

วันที่รัชกาล ๗๘๙๗ วัน ๔ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๕ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้ไม่เสด็จออกขุนนาง แต่พระสงฆ์ ๑๒ รูปมาคอยเฝ้าเป็นการเยี่ยม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากเมืองฝ่ายตวันตก เวลา ๔ ทุ่มเศษ โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แลพระยาวุฒิการบดี นำพระสงฆ์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ๑ พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร ๑ หม่อมเจ้าพระพุทธูปบาทปิลันทน์ธรรมเจดีย์ ๑ สมเด็จพระพุทธโฆษาจาริย์ ๑ สมเด็จพระพุฒาจาริย์ ๑ พระธรรมวโรดม ๑ พระพรหมมุนี ๑ พระธรรมไตรไลกาจาริย์ ๑ พระเทพโมฬี ๑ พระอมรเมธาจาริย์ ๑ พระวิสุทธิสมาจาริย์ ๑ พระวินัยมุนี ๑ เข้าไปเฝ้าข้างใน

วันที่รัชกาล ๗๘๙๘ วัน ๕ ๑๐ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๖ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษเสด็จออกขุนนาง พระยาศรีสิงหเทพนำใบบอกในกรมมหาดไทยขึ้นกราบบังคมทูล ๔ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาไชยวิชิต ผู้รักษากรุงเก่า ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๑๐๙ ว่า มีตราพระราชสีห์ โปรดเกล้า ฯ ขึ้นไปถึงพระยาไชยวิชิตแลพระยาเกษตรรักษาข้าหลวงเสนา ให้จัดการพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาที่ทุ่งขวันตามธรรมเนียม พระยาไชยวิชิต พระยาเกษตรรักษาได้ทราบความตามท้องตราทุกประการแล้ว วันที่ ๒๙ เมษายน ได้นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นวันที่ ๓๐ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ได้ทำการพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาเสร็จแล้ว ขอถวายพระราชกุศล

ฉบับ ๒ ว่า เจ้าอธิการวัดสถางกับนายโตนายอุ่น ขอที่ผูกพัฒเสมาวัดจงกลนีแขวงกรุงเก่าโดยกว้าง ๔ วา ๓ ศอก ยาว ๘ วา

ฉบับ ๓ บอกพระพิเรนทรเทพข้าหลวง เมืองนครราชสีห์มา ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๑๐๙ ว่า ได้รับสิ่งของพระราชทาน หีบศิลาน่าเพลิง เงิน ๕๐ เฟื้อง ผ้าขาวพับ ๑ ร่ม ๑๐ คัน รองเท้า ๑๐ คู่ ขึ้นไปทำบุญเผาศพนายพิศาลยุทธกิจเสร็จแล้ว ขอถวายพระราชกุศล

ฉบับ ๔ บอกพระอินทร์ประสิทธิศร เมืองอินทร์บุรี ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๑๐๙ ว่า ที่โรงพยาบาลเมืองอินทร์บุรี หมอได้ไห้ยาแก่ราษฎรชายหญิง เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม รวม ๒ เดือนเป็นคน ๒๕๖ คน ขอถวายพระราชกุศล

พระยานรินทร์ราชเสนีนำ ใบบอกในกรมพระกระลาโหมขึ้นกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระขยันสงครามปลัดผู้รักษาเมืองนครเขื่อนขันธ์ว่า ตำแหน่งที่หลวงยศโยธี หลวงศรีสิทธิเดชผู้ช่วยราชการว่างอยู่ พระขยันสงครามเห็นว่านายโชด นายแจ้ง น้องพระยาดำรงราชพลขันธ์ พอจะรับราชการได้ ขอนายโชดเป็นที่หลวงยศโยธี นายแจ้งเป็นที่หลวงศรีสิทธิเดช ผู้ช่วยรับราชการต่อไป

ฉบับ ๒ บอกหลวงพิทักษ์คิรียกบัต เมืองกาญจนบุรี ว่ามีตราพระคชสีห์โปรดเกล้า ฯ ขึ้นไปถึงหลวงพิทักษ์คิรียกบัต ใจความว่า หลวงพรหมเสนาสัศดีทำเรื่องราวร้องกล่าวโทษ พระยาประสิทธิสงครามผู้ว่าราชการเมือง พระอร่ามคิรีรักษ์ ปลัด แลคนมีชื่อ รวม ๒๓ คนว่า กดขี่ฉ้อราษฎร์บังเอาพระราชทรัพย์ของหลวงไว้เป็นเนื้อความ ๘ ข้อ แจ้งอยู่ในเรื่องราวนั้นแล้ว จึ่งมีตราโปรดเกล้า ฯ ให้พระวิจารณ์อาวุธเป็นข้าหลวงไปชำระนั้น บัดนี้ชำระสิ้นข้อความแล้วพระวิจารณ์อาวุธ ได้คุมตัวหลวงพรหมเสนาสัศดีโจทย์ พระอร่ามคิรีรักษ์ปลัด จำเลยกับคำหาให้การลงมาด้วยแล้ว

แล้วพระยานรินทรราชเสนีนำ พระวิจารณ์อาวุธ นายโชดผู้จะเป็นที่หลวงยศโยธี นายแจ้งผู้จะเปนที่หลวงศรีสิทธิเดช เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

มีพระบรมราชโองการดำรัสถามพระวิจารณ์อาวุธ ด้วยเรื่องความที่ขึ้นไปชำระเมืองกาญจนบุรี พระวิจารณ์อาวุธนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ความเรื่องนี้เห็นจะเป็นรองโจทย์

แล้วดำรัสสั่งพระยานรินทรราชเสนี ให้ส่งข้อความไปให้เจ้าพระยาพลเทพที่สมุหพระกระลาโหม เรียงคำตัดสินขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย แล้วดำรัสถามพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ ว่าพระยาดำรงราชพลขันธ์จะออกไปเมืองนอกเมื่อไร กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ กราบบังคมทูลว่า พระยาดำรงราชพลขันธ์ ยังป่วยเป็นไข้จับอยู่

แล้วดำรัสถามพระอัษฎงคตทิศรักษา ซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนินเข้ามาจากทเลด้วย ว่าเข้ามาพักอยู่บ้านใคร พระอัษฎงคตทิศรักษากราบบังคมทูลว่า มาพักอยู่ที่บ้านเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี เวลา ๔ ทุ่มเศษ เสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๗๘๙๙ วัน ๖ ๑๑ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๗ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๕ โมงเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช กับพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์เป็นเอดเตอกง พระวรวงษ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นไปรเวตสิเกรตารี พระยาสีหราชเดโชไชย เป็นเอดติงเยเนราล หลวงไพศาลศิลปสาตร เป็นเสมียนในพระองค์ ออกไปราชการเมืองยี่ปุ่น พร้อมกันมาลงเรือนฤเบนทร์บุตรีที่ท่าราชวรดิฐ แล่นออกจากกรุงเทพ ฯ

เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกห้องไปรเวต พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์ด้านตวันออก

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ นำเซบ เวลีเวอเตอร์ เฮอดูวอก กงซุลเยเนราลฮอลันดา เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมลาออกไปจากกรุงเทพ ฯ

มีพระราชปฏิสัณฐารไต่ถามถึงทุกข์ศุขที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ โดยสมควร แล้วกงซุลเยเนราลฮอลันดา ก็ถวายคำนับออกมาจากที่เฝ้าแล้วเสด็จขึ้น วันนี้มีประชุมปฤกษาราชการข้างใน ไม่เสด็จออกขุนนาง

วันที่รัชกาล ๗๙๐๐ วัน ๗ ๑๒ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๘ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษเสด็จออกขุนนาง พระยาศรีสิงหเทพนำใบบอกในกรมมหาดไทย ขึ้นกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ศุภอักษรฉบับ ๑ ใบบอกฉบับ ๑ บอกพระยาอุไทยมนตรี เมืองปราจิณบุรี ลงวันที่ ๑๓ เมษายน ๑๐๙ ว่าเจ้าอธิการวัดโพธิญาณกับราษฎร ขอที่ผูกพัฒเสมาวัดโพธิญาณบ้านเด็ด กว้าง ๖ วา ยาว ๙ วา เป็นที่วิสุงคามสิมา

ฉบับ ๒ บอกพระพิเรนทรเทพ ข้าหลวงเมืองนครราชสีห์มา ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๑๐๘ ว่าพระฤทธิฦๅไชยเจ้าเมืองบำเหน็จณรงค์ป่วยเปนโรคชรา วันที่ ๑ เดือนมกราคม ถึงแก่กรรม อายุได้ ๘๗ ปี ขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงเผาศพ

ศุภอักษรเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านายบุตรหลานแสนเท้าพระยานครเมืองน่าน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๑๐๘ ว่า เจ้าอนันตวรฤทธิเดช จัดได้นรมาต ๒ ยอดหนัก ๒ ชั่ง แต่งให้นายน้อยบรม นายน้อยบุญเลิศ นายหนานมหาวงษ์ ท้าวพระยาคุมลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย กับขอนายบรมเป็นที่เจ้าบุรีรัตน แลเจ้าอนันตวรฤทธิเดช อายุได้ ๘๔ ปี เดินไปทางไกลหาได้ไม่ ขอรับพระราชทานแคร่ขึ้นไปขี่พอเปนเกียรติยศต่อไป

แล้วพระยาศรีสิงหเทพ นำนายน้อยบรม นายน้อยบุญเลิศ นายหนานมหาวงษ์ พระยาไชยราศ พระยาไชยศาล หลวงพรหมศาล เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท จำนวนคนนายไพร่ที่ลงมาครั้งนี้ ๕๐ คน

มีพระราชปฏิสัณฐาร ถึงเจ้าอนันตวรฤทธิเดช แลเจ้านายบุตรหลานแสนเท้าพระยา ซึ่งมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทครั้งนี้ทั่วกัน

พระสุรินทรามาตย์นำบอกในกรมพระกระลาโหม ขึ้นกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระยาสุรินทร์ฦๅไชย เมืองเพชรบุรี ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๑๐๘ ว่า ได้แต่งให้กรมการคุมเรือเข้าเปลือกฉางหลวง เมืองเพชรบุรี จำนวน ปีกุญนพศก ๑๒ เกวียน จำนวนบีชวดสัมฤทธิศก ๓๐ เกวียน รวมเปนเข้าเปลือก ๔๒ เกวียน คิดค่าจ้างเรือ คน } เกวียนละ ๕ บาท เป็นเงิน ๒ ชั่ง ๕๐ บาท กับขอเบิกค่าจ้างเรือ คน } ด้วย

ฉบับ ๒ บอกพระยาพิทักษ์ทวยหาร เมืองประทุมธานี ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๑๐๘ ว่าพระครูนนตมุนี วัดสังลาน อาพาธิเป็นไข้แต่เดือนพฤษภาคม ๑๐๘ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ถึงแก่มรณภาพ ขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงเผาศพ

ฉบับ ๓ บอกพระอนุรักษ์โยธา ข้าหลวงหัวเมืองฝ่ายทเลตวันตก ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๑๐๘ ว่าพระครูวิสุทธิวงษาจาริย์ญาณมุนีวัดไชยธาราม ตำบลบ้านฉลองแขวงเมืองภูเก็จ ขอที่ผูกพัฒเสมาวัดบ้านราไวย กว้าง ๙ วา ยาว ๑๒ วา ๒ ศอก เป็นที่วิสุงคามสิมา

พระยาสุรินทรราชเสนี ทำใบบอกในกรมพระกระลาโหม ฝ่ายพระราชวังบวร ขึ้นกราบบังคมทูลกระกรุณา ๑ ฉบับ คือบอกพระยาเสนานุชิต เมืองตกัวป่า ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๑๐๘ ว่าพระยาเสนานุชิต ได้จัดต้นไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการ ฝ่ายพระราชวังบวร จำนวนปีรกาสัปตศก ทองคำใบแทนต้นไม้ทองเงินหนัก ๕ บาท อำพันหนัก ๓ ตำลึงจีน ส่งเงินแทนตำลึงละ ๕ เหรียญ เทียนพนมหนักเล่มละบาท ๕๐๐ เล่ม ผลจันทร์เทศหนักสิบห้าชั่งจีน อำพันแดงหนัก ๒๐ ชั่งจีน มอบให้กรมการคุมเข้ามาส่ง มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยยันตมงคล ให้ทำแคร่พระราชทานเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน

แล้วดำรัสสั่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ให้ทำสัญญาบัตรพระราชทานให้พระบันฦๅสิงหนาท เปนพระยาบันฦๅสิงหนาท

แล้วดำรัสสั่งพระยาราชวรานุกูล ให้ส่งนรมาตสองยอดไปถวายพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิตไว้ในมิวเซียม เวลา ๔ ทุ่มเศษ เสด็จขึ้น

วันนี้มีประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย

วันที่รัชกาล ๗๙๐๑ วัน ๑ ๑๓ ๘ ค่ำ ปีขานโทศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๙ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเศษ เสด็จออกขุนนาง พระยาศรีสิงหเทพนำใบบอกในกรมมหาดไทยขึ้นกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาราชเสนาข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๑๐๘ ว่า นายร้อยตรีนายดำ ซึ่งไปราชการเมืองตโปนป่วยเปนไข้พิศม์ พอ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม นายร้อยตรีนายดำถึงแก่กรรม นายร้อยเอกขุนพิสณฑ์ยุทธการ จัดการไว้ศพตามธรรมเนียม

ฉบับ ๒ ว่า พระยาพิไชยพญณรงค์ เจ้าเมืองเกษมสีมา เมืองขึ้นเมืองอุบลราชธานีป่วยเปนโรคชรามาช้านาน ถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๑๐๘ ถึงแก่กรรม บุตรภรรยาญาติพี่น้องได้ต่อหีบไว้ศพแล้ว

ฉบับ ๓ บอกพระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๑๐๙ ว่า วันที่ ๑๒ เมษายน พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราษีเมศ ถึงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๓๑ วันฝนตก ๙ ครั้ง รองน้ำฝนได้ ๔๙๗ เซ็น น้อยกว่าน้ำฝนในราษีเมศ ๑๐๘ สองร้อยสามสิบเซ็น วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราษีพฤศภ ถึงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๓๒ วัน ฝนตก ๑๑ ครั้ง รองน้ำฝนได้ ๖๙๑ เซ็น มากกว่าน้ำฝนในราษีพฤศภ ๑๐๘ เจ็ดสิบแปดเซ็น น้ำท่าในราษีเมศ ๑๐๙ มากกว่าน้ำท่าในราษี ๑๐๘ คืบสองนิ้ว น้ำท่าในราษีพฤศพ ๑๐๙ มากกว่าน้ำท่าในราษีพฤศภ ๑๐๘ ศอกคืบแปดนิ้ว ต้นเข้าราษฎรหว่านก่อนสูง ๙ ๑๐ } นิ้วบ้าง ราคาเข้าเปลือกตวงถ้วยสัด ๓๐ ทนาน เกวียนละ ๖ ตำลึง ๓ บาท

พระสุรินทรามาตย์นำบอกในกรมพระกระลาโหม ขึ้นกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระยาตรังคภูมาภิบาลเมืองตรัง ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๑๐๘ ว่าได้เก็บเงินค่านาจำนวนปีกุนนพศก เงิน ๓๖ ชั่ง ๔ ตำลึง สองสลึงเฟื้อง กับดวงตราจุลจอมเกล้า ๑๒๘๖ ดวง เสร็จสิ้นจำนวนนาเงิน แล้วได้มอบเงินค่านาให้ขุนประมูลเสนาข้าหลวง ขุนโภชนากรมการคุมเข้ามาส่ง

ฉบับ ๒ ว่า พระยาตรังคภูมาภิบาล ได้แต่งให้กรมการออกเดินประเมิลนาของราษฎรพร้อมด้วยนายสวิงมหาดเล็กข้าหลวงกรมนา จำนวนปีชวดสัมฤทธิศก เก็บเงินได้ ๓๐ ชั่ง ๒ ตำลึง จึงแต่งให้กรมการคุมเข้ามาส่งครั้งหนึ่งก่อน

มีพระบรมราชโองการดำรัสถามพระยาศรีสิงหเทพว่า พระมนตรีพจนกิจที่จะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเมืองไชยนาทนั้น ได้ขึ้นไปแล้วฤๅยัง พระยาศรีสิงหเทพกราบบังคมทูลว่า ได้ขึ้นไปแล้ว

แล้วดำรัสถามว่า พระภิรมย์ราชาที่จะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเมืองไหนนั้น ได้ขึ้นไปแล้วฤๅยัง พระยาศรีสิงหเทพกราบบังคมทูลว่า จะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเมืองอ่างทองได้ขึ้นไปแล้ว

แล้วดำรัสถามพระยาศรีสิงหเทพว่า พระภักดีณรงค์จะขึ้นไปเมืองอุบลราชธานีเมื่อไร พระยาศรีสิงหเทพกราบบังคมทูลว่า พระภักดีณรงค์ยังป่วยอยู่

แล้วดำรัสสั่งพระยาศรีสิงหเทพว่า ให้ถามพระภักดีณรงค์ว่าจะขึ้นไปได้เมื่อไร ถ้ายังช้าอยู่ให้ส่งท้องตราขึ้นไปเสียก่อน เวลา ๕ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันนี้มีประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย

วันที่รัชกาล ๗๙๐๒ วัน ๒ ๑๔ ๘ ค่ำ ปีขานโทศก ๑๒๕๒

วันที่ ๓๐ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้เสด็จลงประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย หาเสด็จออกขุนนางไม่

วันที่รัชกาล ๗๙๐๓ วัน ๓ ๑๕ ๘ ค่ำ ปีขานโทศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท มาทรงรถพระที่นั่งเปนกระบวนข้างใน ออกประตูพิมานไชยศรี วิเศษไชยศรีไปประพาศสวนใหม่ที่ตึกดิน ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้ายาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจเปนผู้สร้างขึ้น หยุดรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปทอดพระเนตรประทับอยู่จนเวลาย่ำค่ำเศษเสด็จกลับมาประทับสวนสราญรมย์จนเวลา ๕ ทุ่มเศษเสด็จกลับ

วันนี้เปนวันพระไม่มีราชการอะไร

วันที่รัชกาล ๗๙๐๔ วัน ๔ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้นจากที่ประชุมปฤกษาราชการข้างใน แล้วเสด็จออกขุนนางตามเคย พระยาศรีนำบอกในกรมมหาดไทย ขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกจ่าเร่งงานรัดรุดข้าหลวงเมืองพิไชย ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๑๐๙ ว่า พระยาสุรศักดิ์มีหนังสือลงมาว่า ให้จัดเข้าขึ้นไปส่งฉางบ้านปากลาย จ่าเร่งได้ตรวจเข้าในฉางเมืองพิไชย มี ๒๐ เกวียน หาพอจ่ายราชการไม่ ขอเอาเงินหลวงขึ้นไปจัดซื้อเพิ่มเติมไว้

ฉบับ ๒ บอกพระยามหาอำมาตย์ข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์ ลงวันที่ ๒ กันยายน ๑๐๘ ว่าเจ้าเมืองเชียงแตง มีบอกมาว่าปีชวดราษฎรทำนาไม่ได้ผล เจ้าเมืองเชียงแตง เจ้าเมืองธาราบริวัตรออกเงินซื้อเข้าจ่ายราษฎรก็หาพอไม่ พระยามหาอำมาตยได้เอาเงินภาษีฝิ่น ๓ ชั่งมอบให้เจ้านครจำปาศักดิ์ จัดแสนท้าวพระยาลาวไปซื้อเข้าเมืองศีศะเกษ

ฉบับ ๓ บอกพระพิเรนทรข้าหลวงเมืองนครราชสีมา ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๑๐๘ ว่า มีตราขึ้นไปให้เอาเงินส่วยจัดซื้อเข้าขึ้นไปส่งพระยาสุริยเดช ข้าหลวงเมืองหนองคาย ได้จัดเอาเงินแทนทองคำส่วยเมืองไชยภูม ๑๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึงกึ่ง ชื้อเข้าได้ ๙๒๖๐ ถัง แล้วได้ความว่าเมืองหนองคายเข้าพอจ่ายแล้ว จึ่งเอาเข้าออกจ่ายให้กองตระเวน แลข้าหลวงที่ไปมาราชการสิ้นเข้า ๙๒๖๐ ถัง แล้วยืมเงินค่านาปีชวด ๑๐ ชั่ง ซื้อเข้าได้ ๘๐๐๐ ถังไว้จ่ายต่อไป

พระสุรินทรามาตย์นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๔ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองนครเขื่อนขันธ์ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๑๐๘ ว่า วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน เวลาสองยามเศษ จีนครนอนอยู่ที่โรงตำบลบ้านปากคลองเจ๊ก อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงจีนครขาดใจตายยังสืบจับตัวไม่ได้

ฉบับ ๒ ว่านายอู๊ดบุตรอำแดงบัวไปซื้อยาฝิ่นที่โรงจีนยุ่งตำบลบางพโขนง นายแย้มถือดาบมาฟันนายอู๊ดที่ขาซ้ายเข่าขวาฦกถึงกระดูก เวลาสามยามนายอู๊ดขาดใจตาย ได้ให้เอาตัวนายแย้มพิจารณา

ฉบับ ๓ ว่าวันที่ ๒๖ มีนาคม ๑๐๘ เวลาดึก ๒ ยามเศษมีอ้ายผู้ร้าย ๒๐ คนเข้าปล้นเรือนอำแดงพุ่มตำบลบางพึ่ง อ้ายผู้ร้ายเอาผ้าคลุมอำแดงพุ่มไว้ แล้วเก็บเอาทรัพย์รวมเป็นราคา ๗ ชั่ง กับเงินตรา ๑ ชั่ง แล้วอ้ายผู้ร้ายลงเรือขึ้นมาทางกรุงเทพ ฯ ยังสืบจับตัวหาได้ไม่

ฉบับ ๔ ว่าวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๑๐๘ อำแดงโหมดบุตรอำแดงหงิน เก็บเอาทรัพย์สิ่งของเครื่องแต่งตัวกับเงินตรา ๑๐ บาทแล้วหายไป วันที่ ๕ มีนาคม อำแดงหงินไปพบศพอำแดงโหมดถูกฟันศีศะสามแผลนอนตายอยู่ที่โรงนานายเฟื่อง ช่องนนทรี ยังสืบจับเอาตัวผู้ฟันหาได้ไม่

จึ่งดำรัสด้วยกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ ว่าอ้ายผู้ร้ายเหล่านี้มันเดินไปมาถึงกันกับกรุงเทพ ฯ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ จึ่งกราบบังคมทูล ว่าบัดนี้จับอ้ายคล้ายครูใหญ่ได้คนหนึ่ง รับเป็นสัตย์ว่าได้ปล้นมา ๙ ตำบลแล้ว

เวลา ๕ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๗๙๐๕ วัน ๕ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

ประชุมปฤกษาราชการข้างใน ไม่เสด็จออกขุนนาง.

วันที่รัชกาล ๗๙๐๖ วัน ๖ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๔ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษเสด็จขึ้นจากประชุมปฤกษาราชการข้างใน แล้วเสด็จออกขุนนางตามเคย

พระยาศรีนำบอกในกรมมหาดไทย ขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๗ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระยามหาเทพผู้แทนข้าหลวงเมืองนครเชียงใหม่ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๑๐๙ ว่า ได้พร้อมกันกับพระเจ้าเชียงใหม่ตรวจเก็บเงินค่าตอไม้ รัตนโกสินทร์๒๒ศก ๑๐๘ รวมเปนเงิน ๘๑๕๐๐ รูเปีย ได้ฝากไว้คลังเมืองนครเชียงใหม่แล้ว

ฉบับ ๒ บอกเมืองศุโขทัย ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๑๐๙ ว่าพระพรหมสงครามพระพลอายุ ๒๖ ปี กราบถวายบังคมลาอุปสมบท

ฉบับ ๓ บอกเมืองฉเชิงเซา ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๑๐๙ ว่าขุนรักษาจีนภักดี อายุได้ ๒๙ ปี กราบถวายบังคมลาอุปสมบท

ฉบับ ๔ บอกพระยามหาอำมาตย์ข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์ ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๑๐๙ ว่า เจ้าเมืองทองคำใหญ่ เก็บเงินส่วยได้ ๕๐ ชั่ง ๘ ตำลึง แต่งให้ท้าวอินทร์ธิสารท้าวพิมเสนคุมมาส่ง

ฉบับ ๕ บอกขอท้าวอินทร์ธิสารเปนที่อุปฮาด ท้าวพิมเสนเปนที่ราชบุตรเมืองคำทองใหญ่ราชวงษ์เป็นที่พระอินทรศรีวิลาศเจ้าเมืองสพาด

ฉบับ ๖ บอกเมืองคำทองใหญ่ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๑๐๘ ว่า ได้มอบถาดหมากคนโทเงินเครื่องยศอุปฮาดผู้ถึงแก่กรรม ให้เท้าพิมเสนท้าวอินทร์ธิสารคุมมาส่ง

ฉบับ ๗ บอกผู้รักษากรุงเก่า ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๑๐๙ ว่า จีนพึ่งอำแดงขำ ขอที่ผูกพัทธสิมาวัดอู่ทองแขวงนครใหญ่กรุงเก่า ยาว ๖ วา ๒ ศอก กว้าง ๔ วา ๒ ศอก

พระสุรินทรามาตย์นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกหลวงราชเสนีข้าหลวง นายช่างทำโรงสะเตแช่นสายโทรเลขเมืองเพ็ชรบุรี ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๑๐๘ ว่าได้ตั้งโรงสเตแช่น ตั้งแต่เมืองเพชรบุรี ถึงปรานบุรีมีโรงสะเตแช่น ๕ โรง ออฟพิศโรง ๑ กับได้ตั้งข้อบังคับไว้สำหรับผู้รักษาสายโทรเลข ๖ ข้อ ข้อ ๑ ว่า ให้ตรวจตัดกิ่งไม้แลเถาวัลที่จะพันสาย ข้อ ๒ ว่าสายขาดฤๅเสาหักให้เร่งทำ ข้อ ๓ ว่าให้ตรวจไปมาถึงกันอย่าให้ขาด ข้อ ๔ ว่าเห็นเสาฤๅสายชำรุดให้เร่งทำ ข้อ ๕ ว่า ต้นไม้ใหญ่เล็กเอนจะทับเสาฤๅสายให้ตัดเสีย ข้อ ๖ ว่าเห็นที่เสาฤๅสายมีสิ่งไรจะเปนเชื้อเพลิงให้กำจัดเสีย

แลได้ตั้งผู้รักษานาย ๑ ไพร่ ๕ เสร็จแล้ว

ฉบับ ๒ ว่าได้ตั้งโรงสะเตแช่นเมืองปรานบุรีออฟฟิศหลัง ๑ โรงสแตเช่น ๒ หลังรวม ๓ หลังเสร็จแล้ว แต่คนซึ่งจะรักษายังหามีไม่

แล้วพระยาศรีนำท้าวอินทร์ธิสารผู้ว่าที่อุปฮาด ท้าวพิมเสนผู้ว่าที่ราชบุตรราชวงษ์ผู้จะเปนที่พระอินทรศรีวิลาศ เจ้าเมืองสพาด เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทถวายขี้ผึ้งหนัก ๕๐ ชั่งจีน

แล้วนำขุนรักษาจีนภักดีเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท กราบถวายบังคมลาอุปสมบท

จึงดำรัสถามว่า จะบวชในกรุงเทพ ฯ ฤๅจะไปบวชเมืองฉเชิงเทรา พระยาศรีกราบบังคมทูลว่าจะกลับออกไปบวชเมืองฉเชิงเซา

แล้วดำรัสด้วยพระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรีว่า ซึ่งทำหนังสือทูลเกล้า ฯ ถวาย ขอผูกภาษีอากรกลางปีที่เมืองตรังนั้นเปนการตกลงได้ แต่ให้ปฤกษากับเจ้าพระยาพลเทพที่สมุหพระกระลาโหม แลหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้เปนการตกลงกัน

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๗๙๐๗ วัน ๗ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๕ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษ เสด็จจากที่ประชุมปฤกษาราชการข้างใน แล้วเสด็จออกขุนนางตามเคย

พระยาศรีนำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกเมืองสุพรรณบุรีลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๑๐๙ ขอเจ้าอธิการวัดอู่ทองเปนพระครูเจ้าคณะรองฝ่ายลาว เจ้าอธิการโชดวัดนางบวชเปนพระครูเจ้าคณะรองฝ่ายไทย

ฉบับ ๒ บอกพระขัตติยวงษาเมืองร้อยเอ็จ ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๑๐๘ ว่า ได้ส่งเงินแทนผลเร่ว จำนวนปีกุนนพศก จำนวนปีชวดสัมฤทธิศก เลข ๑๒๖๘ คน เงินปีละ ๓๑ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๒ ปีรวมเปนเงิน ๒๓ ชั่ง ๘ ตำลึง

ฉบับ ๓ บอกขอท้าวไชยแสนเปนที่อุปฮาด หลวงศรีวรราชผู้ช่วยราชการเปนที่ราชวงษ์ ท้าวสุริยเปนที่ราชบุตร

พระสุรินทรามาตย์นำบอกในกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกเมืองนครศรีธรรมราช ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๑๐๙ ว่าได้จัดช้างแลรถมาคอยรับเสด็จที่เมืองชุมพร แลตามเสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองกระบุรี แล้วกลับมาคอยรับเสด็จอยู่ที่เกาะสมุยจนเสด็จกลับ ได้ส่งของเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย มะพร้าว ๑๒๐๐ ผล นกเขา ใหญ่ ๑๕ เล็ก ๓๐ } รวม ๔๕ นก

ฉบับ ๒ บอกหลวงราชเสนา ข้าหลวงตรวจทางสายโทรเลขเมืองประจวบคิรีขันธ์ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๑๐๘ ว่า ได้จัดตั้งโรงสะเตแช่น ๔ โรง ออฟฟิศโรง ๑ แลได้จัดคนมารักษาตามข้อบังคับแล้ว

พระยาศรีสิงหเทพนำท้าวไชยเสนผู้จะเป็นที่อุปฮาด หลวงศรีวรราชผู้จะเป็นที่ราชวงษ์ ท้าวสุริยผู้จะเป็นที่ราชบุตร เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ถวายผ้าไหมศรีต่างๆ ๑๐ ผืน

แล้วนำพระศรีเทพบาลเมืองพิไชย ซึ่งไปราชการเมืองหลวงพระบางกลับลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

มีพระบรมราชโองการ ด้วยพระศรีเทพบาลถึงเรื่องที่ไปทำความดีความชอบในราชการแลทรงไต่ถามถึงอายุแลทรงสรเสริญที่ไปทำการได้เรียบร้อยตลอดไป

แล้วนำพระยาไกรโกษา พระยาสุนทรนุรักษ์หลวงนายชาญภูเบศร จมื่นสิทธิแสนยารักษ์ นายราชาภักดี กราบถวายบังคมลาขึ้นไปเป็นข้าหลวงเมืองนครเชียงใหม่

พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่พระยาไกรโกษาว่า ซึ่งจะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเมืองนครเชียงใหม่ครั้งนี้ ให้จัดการตามเจ้าพระยาหลเทพที่สมุหพระกระลาโหมจัดลงไว้ เว้นแต่เจ้าพระยาพลเทพจัดการที่ข้อไรยังไม่ตกลง เจ้าพระยาพลเทพจะต้องนำความลงมาปฤกษาในกรุงเทพฯ ถาตกลงกันอย่างไรจึ่งจะมีตราบังคับขึ้นไปต่อภายหลัง

แล้วโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้า ฯ แก่พระยาไกรโกษา แลพระราชทานสัญญาบัตรแก่ขาราชการ ๕ นาย

ให้เลื่อนพระบันฦๅสิงหนาท เปนพระยาบันฦๅสิงหนาท จางวางทหารปืนใหญ่น่าฝ่ายพระราชวังบวร ฯ คงถือศักดินา ๕๐๐

ให้พระณรงค์วิชิตเจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ฝ่ายพระราชวังบวรเปนพระยาพิบูลย์สงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก ถือศักดินา ๓๐๐๐

ให้ขุนสุภาทิพย์ เปนหลวงดำรงธรรมสาร หัวน่าตระลาการศาลแพ่งกลาง ถือศักดินา ๖๐๐

ให้นายโชค เปนหลวงยศโยธี ผู้ช่วยราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ถือศักดินา ๕๐๐

ให้นายแจ้ง เปนหลวงศรีสิทธิเดช ผู้ช่วยราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ถือศักดินา ๕๐๐

เวลา ๔ ทุ่มเศษ เสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๗๙๐๘ วัน ๑ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๖ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เสด็จลงที่ประชุมปฤกษาราชการข้างในไม่เสด็จออกขุนนาง.

วันที่รัชกาล ๗๙๐๙ วัน ๒ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๗ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้นจากประชุมข้างในเสด็จออกขุนนางตามเคย

พระยาศรีนำศุภอักษรเจ้านครเมืองน่าน ๒ ฉบับ บอกเมืองสวรรคโลกย์ ๔ ฉบับ รวม ๖ ฉบับ ขึ้นอ่านกราบบังคมทูลพระกรุณา

ในศุภอักษรเจ้านครเมืองน่าน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๑๐๘ ว่าได้ให้เจ้าสุริยวงษ์แม่ทัพยกขึ้นไปตั้งอยู่เมืองหลวงภูคา ฟ้าเชียงแขงแลท้าวพระยาเมืองขึ้น ได้พร้อมกันกระทำสัตยานุสัตย์แล้ว

ฉบับ ๒ ว่าด้วยป่าไม้เมืองน่านวิวาทกับมองคุณด้วยผิดดวงตรา มีศุภอักษรขึ้นไปให้ยอมแพ้กับมองคุณ ครั้นจะคัดขึ้นไปกลัวจะได้ความลำบาก

ฉบับ ๓ บอกเมืองสวรรคโลกย์ ว่าด้วยส่งเงินไพร่ส่วยไม้เกณฑ์คัดคนละ ๖ บาท เลข ๑๗๕๒ คน จำนวนปีรกาสัปตศกเงิน ๙๐ ชั่ง ๓ ตำลึง จำนวนปีจอฉศก เงิน ๙๔ ชั่ง ๘ ตำลึง รวมเงิน ๑๗๔ ชั่ง ๑๒ ตำลึง

ฉบับ ๔ ว่าได้ส่งเงินค่าพระโยมสงฆ์เกณฑ์ทำวัดพระเชตุพล ไพร่คนละ ๔ ตำลึง ๒ บาท ทาษหนึ่ง คน ๑ ตำลึง ๑ บาท ไพร่ ๒๒ คน ทาษ ๑ รวมเปนเงิน ๕ ชั่ง ๕ บาท

ฉบับ ๕ ว่าได้เก็บค่าตอไม้ขอนสักปี ๑๐๘ ไม้ ๓๔๓๕ ต้น เงิน ๓๐ ชั่ง ๖ บาทสลึง

ฉบับ ๖ ขอหลวงเทพนรินทร์อินทรราชเสนามาตย์มหาดไทย เลื่อนเปนพระนรินทร์อินทราช ฯ

พระวิจารณ์อาวุธนำบอกในกรมกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ บอกหลวงราชเสนีข้าหลวงตรวจทางสายโทรเลขแลตั้งโรงสเตแช่นเมืองกำเนิดนพคุณ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๑๐๘ ว่าตรวจเสาสายโทรเลขตั้งโรงออฟฟิศโรงหนึ่ง โรงสแตแช่นโรง ๑ รวม ๒ โรงแลได้จัดคนมารักษาเสร็จแล้ว

แล้วพระยาศรีนำหลวงนรินทร์อินทรราชเสนามาตย์มหาดไทยเฝ้าถวายมโหรธึกใหญ่ ๘ กำคู่หนึ่ง ผ้าแดงยอ ๔๐ ผืน

แล้วดำรัสถามว่ามโหรธึกซื้อขายกันราคาคู่ละเท่าไร พระยาศรีกราบบังคมทูลว่าคู่หนึ่งเปนเงิน ๑๐๐ แถบ

พระยานรินทร์นำบาญชีของพระยากลันตันส่งเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย ดาบฝักดั้มทองคำ ๑ เล่ม กฤชฝักดั้มทองคำ ๑ เล่ม หอกปลอกทองคำ ๒ คู่ แต่ของส่วนให้เจ้าพระยาพลเทพที่สมุหพระกระลาโหมนั้น กฤชฝักทองคำ ๑ เล่ม ทองคำซายหนัก ๑๕ ตำลึงแขก ของที่เจ้าพระยาพลเทพตอบแทนออกไป เงินสลึง ๑๐๐๐ สลึง เงินเฟื้อง ๑๐๐๐ เฟื้อง แล้วรับสั่งว่าเคยได้รับของส่วนมรฎกด้วยเสมอ แล้วตรัสสั่งพระยานรินทร์ให้ทำตราตอบออกไป

แล้วรับสั่งกับกรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการว่า ความเรื่องมองคุณกับเมืองน่านยังออดแอดอยู่ว่าตราไม่ใช่เปนของเจ้านครเมืองน่าน แล้วรับสั่งกับพระยาศรีว่าให้ส่งต้นบอกไปถวายกรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ

เวลา ๕ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๗๙๑๐ วัน ๓ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๘ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เสด็จประชุมปฤกษาราชการข้างใน ไม่เสด็จออกขุนนาง.

วันที่รัชกาล ๗๙๑๑ วัน ๔ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๙ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เปนวันพระไม่เสด็จออกขุนนาง ไม่มีราชการอไร.

วันที่รัชกาล ๗๙๑๒ วัน ๕ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๐ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาบ่าย ๕ โมงเศษเจ้าพนักงานกรมธรรมการจัดพระสงฆ์ในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองรวม ๑๓ รูป ที่จะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรวันนี้ มาคอยอยู่ที่พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์ด้านตวันออก มีพระราชาคณะผู้ใหญ่นำ คือพระธรรมไตรโลกย์แลเจ้าคณะรวม ๑๐ รูป

เวลา ๕ ทุ่มเศษเสด็จขึ้นจากประชุมปฤกษาราชการข้างใน เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปประทับองค์ด้านตวันออก พระราชทานสัญญาบัตรไตรตาลิปัตรพัชรองแลบริขารเปนเครื่องยศกับผ้าขาวพับพระคลังใน ให้พระมหาจันทาโค เปรียญ ๕ ประโยควัดราชาธิวาศ เปนพระญาณรักขิตที่พระราชาคณะ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔ ตำลึง

ให้พระครูศีลขันธ์สุนทรวัดนางชี เปนพระสังวรวิมลที่พระราชาคณะไปอยู่วัดราชโอรสาราม มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๓ ตำลึง

ให้พระครูธรรมาภินันท์วัดสัมพันธวงษ์ เปนพระพินิตย์วินัยที่พระราชาคณะ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๓ ตำลึง

ให้พระสมุห์ตาควัดนาคกลาง เปนพระครูศีลขันธ์สุนทรไปอยู่วัดนางชี มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง

ให้พระปลัดชูวัดประยุรวงษาวาศ เปนพระครูสังฆวราธิคุณช่วยราชการในวัดประยุรวงษาวาศ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๑ ตำลึง ๒ บาท

ให้พระมหาจันทคิรี เปรียญ ๓ ประโยควัดพิไชยญาติการาม เปนพระครูวิจิตรธรรมภาษีเจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง

ให้เจ้าอธิการโตวัตเสาธงหิน เปนพระครูธรรมโกศลเจ้าคณะรองเมืองนนทบุรี มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๑ ตำลึง ๒ บาท ให้เจ้าอธิการแจ้ง วัดนิมมานรดี เปนพระครูทิวากรคุณ, ให้เจ้าอธิการวุด วัดโพธิญาณเป็นพระครูธรรมจินดามหามุนีโคตมวงษ์ เจ้าคณะใหญ่เมืองกุขันธ์, ให้เจ้าอธิการทอง วัดชุมพลสุทธาวาศเปนพระครูวิมลศีลพรต เจ้าคณะใหญ่เมืองสุรินทร์, ให้พระวินัยธรรมเคลือบนอกราชการ วัดหนองโว้ง เปนพระครูโยคาภิรมย์เจ้าคณะใหญ่เมืองยม, ให้เจ้าอธิการโชติ วัดนางบวช เปนพระครูโภธาภิรัติเจ้าคณะรองเมืองสุพรรณบุรี, ให้เจ้าอธิการกัณหา วัดอู่ทอง เป็นพระครูวิญญานุโยค เจ้าคณะรองฝ่ายลาว เมืองสุพรรณบุรี

แล้วพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรทั้ง ๑๓ รูปออกมาครองไตรเสร็จแล้ว กลับเข้าไปนั่งตามลำดับ แล้วพระสงฆ์ราชาคณะก็ถวายยะถาสัพพีอติเรกจบแล้วถวายพระพรลา เวลาย่ำสองยามเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๗๙๑๓ วัน ๖ ๑๐ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษเสด็จขึ้นจากประชุมปฤกษาราชการข้างในแล้วออกขุนนางตามเคย

จึ่งหลวงจินดารักษ์นำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระพรหมาธิบาลข้าหลวงเมืองพธุหคิรี ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๑๐๙ ว่าด้วยความผู้ร้าย ๕ ราย ราย ๑ จับได้คัว อ้ายโต อ้ายปิ๋ว } ผู้ร้ายลักกระบือรับเป็นสัตย์ รายหนึ่งจับได้ตัวอ้ายจ๋อง อ้ายพลาย } อ้ายแต้ม อ้ายดี } อำแดงบัวตัวจำนำ อ้ายบุญส่งไปให้จมื่นไชยภูษาข้าหลวงเมืองพิจิตรตามท้องตราแล้ว ราย ๑ อำแดงพุ่มกับหญิงมีชื่อ ๗ คน ชาวเมืองนครราชสีห์มา พากันมาซื้อผ้าไตรมีอ้ายผู้ร้าย ๒๐ คน เข้าฉุดคร่าเอาอำแดงพุ่มกับหญิง ๗ คนไป จับได้ตัวอ้ายโหมดมาถามรับเปนสัตย์ ราย ๑ มองซินตองซู่ ๓ คน ถือหาบปืน ไม่มีหนังสือเดินทางจึ่งจับตัวจํำตรวนไว้ ราย ๑ อ้ายบุญ อ้ายพรับ } ปล้นเรือนหลวงพิจารณาเมืองนครสวรรค์ ยิงเจ้าของทรัพย์ตายคนหนึ่งยังหาได้ตัวไม่

ฉบับ ๒ บอกพระภิรมย์ราชาข้าหลวงเมืองอ่างทอง ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๑๐๙ ว่า ได้รับสาระบบความผู้ร้ายเก่าใหม่รวม ๓๕๐ เรื่อง ได้ชำระไปแล้ว ๒๗ เรื่อง

พระสุรินทรามาตย์นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ คือใบบอกหลวงราชเสนีข้าหลวง ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๑๐๘ ว่าได้ตรวจทางสายโทรเลขแลตั้งโรงสเตแช่น ๓ โรง ออฟฟิศโรง ๑ ที่เมือหลังสวนกับได้เลขมารักษาเสร็จแล้ว

จึ่งดำรัสสั่งพระยาศรีให้ทำตราตอบขึ้นไปถึงพระพรหมาภิบาล รายจับตองซู่ ๓ คนไว้นั้น ให้เอาตัวมาทำหนังสือสัญญาทานบนไว้แล้วปล่อยตัวไป แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรหัวเมือง ๔ นาย ให้นายน้อยบรมเปนที่เจ้าบุรีรัตนเมืองน่าน

ให้ท้าวไชยแสน เปนที่อุปฮาดเมืองร้อยเอ็ด ให้หลวงศรีวรราชผู้ช่วยเป็นที่ราชวงษ์เมืองร้อยเอ็ด ให้ท้าวสุริยวงษ์ เปนที่ราชบุตรเมืองร้อยเอ็ด

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๗๙๑๔ วัน ๗ ๑๑ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้ไม่เสด็จออกขุนนาง ไม่มีราชการอไร.

วันที่รัชกาล ๗๙๑๕ วัน ๑ ๑๒ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษเสด็จจากประชุมปฤกษาราชการข้างในแล้วเสด็จออกขุนนางตามเคย พระยาศรีนำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๕ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองลพบุรี ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๑๐๙ ว่าในวันที่ ๓๐ เมษายน ๑๐๙ ได้ทำพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาเสร็จแล้วขอถวายพระราชกุศล

ฉบับ ๒ บอกเมืองสุพรรณบุรี ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๑๐๙ ว่าในวันที่ ๓๐ เมษายน ๑๐๙ ได้ทำพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาเสร็จแล้วขอถวายพระราชกุศล

ฉบับ ๓ บอกพระยาศุโขทัยข้าหลวงเมืองพิไชย ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๑๐๘ ว่าเงินที่พระราชทานไว้จ่ายราชการ ๕๐ ชั่ง ได้ซื้อเสบียง เรือ } จ้างคนขนเสบียงขึ้นไปส่งเมืองหลวงพระบาง สิ้นเงิน ๕๐ ชั่งแล้ว

ฉบับ ๔ ว่าได้รับผ้า ๓๑ กุลีกับ ๖ ผืน ผ้าขาวเทศ ๒๖ พับ พระราชทานให้เจ้านครหลวงพระบางแจกบุตรหลานท้าวพระยา พระยาศุโขทัยได้จ่ายไปแล้ว คงเหลือผ้าลาย ๘๗ ผืน ผ้าขาว ๓ พับ

ฉบับ ๕ ว่าได้รับหนังสือพระพลัษฎาฉบับ ๑ ใจความว่าขอฝากเจ้าเมืองด่านนางพูนแลหลวงปลัดเมืองอุตรดิฐซึ่งจะต้องเร่งเงินส่วยให้ผัดรอไปก่อน ในคำร้องหลวงปลัดนั้นว่าเงินส่วย ๑๐ ชั่ง เก็บมาจากตัวเลขยังหาทันจะบอกส่งลงมาไม่ แล้วหลวงปลัดต้องถูกเกณฑ์ขึ้นไปรับราชการกับพระยาราชวรานุกูลแลพระยาสุรศักดิ์ ๗ ปี เงินส่วยนั้นได้จับจ่ายใช้การเสียแล้ว จะขอส่งต่อครั้งหลัง

ดำรัสสั่งพระยาศรีให้มีตราขึ้นไปถึงพระยาศุโขทัย ยกเงินส่วย ๑๐ ชั่ง พระราชทานเป็นรางวัลให้หลวงปลัดเมืองอุตรดิฐ

พระสุรินทรามาตย์นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกเมืองกาญจนบุรี ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายนว่า ผู้ร้ายปล้นในแขวงเมืองกาญจะนบุรีชุกชุมมาก ขอทหารไว้สำหรับรักษาราชการบ้านสักสามโหล

ฉบับ ๒ บอกเมืองนครเขื่อนขันธ์ ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๑๐๙ ว่า วันที่ ๔ กรกฎาคม เวลากลางคืนมีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๖ ๗ } คน ปล้นเรือนนายอ้นอำแดงจีนบ้านบางผึ้งเก็บเอาทรัพย์สิ่งของรวมราคา ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง แล้วลงเรือภายขึ้นมาตามลำน้ำ ยังสืบจับตัวไม่ได้

จึงดำรัสถามกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ว่า ทหารเมืองราชบุรีมีมากน้อยเท่าใด จะแบ่งให้ขึ้นไปเมืองกาญจนบุรีสามโหลจะได้ฤๅไม่ กรมหมื่นสรรพสิทธิกราบบังคมทูลว่า เห็นจะไม่พอจะต้องจัดเอาทหารกรุงเทพ ฯ ขึ้นเพิ่มเติมบ้าง

แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร ๕ นาย ให้ขุนผลาญไพรีรณปลัดกรมเปนหลวงศรีรณรงค์เจ้ากรมไพร่หลวงกองกลางขวา ถือศักดินา ๘๐๐

ให้หลวงรวดเร็วจัด เปนพระมนตรีบวรเจ้ากรมเรือดั้งขวา ฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา ๕๐๐

ให้ท้าวอินทร์ธิสาร เปนอุปฮาดเมืองทองคำใหญ่ ให้ท้าวพิมเสนเปนราชบุตรเมืองทองคำใหญ่ ให้ราชวงษ์เมืองสพาด เปนพระอินทร์ศรีวิไชยเจ้าเมืองสหาด ขึ้นเมืองทองคำใหญ่

แล้วพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้นที่ ๔ แก่หม่อมเจ้าประภากร ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราปปรปักษ์

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๗๙๑๖ วัน ๒ ๑๓ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

ไม่เสด็จออกขุนนาง ไม่มีราชการอไร.

วันที่รัชกาล ๗๙๑๗ วัน ๓ ๑๔ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้นจากประชุมปฤกษาราชการข้างใน แล้วเสด็จออกขุนนางตามเคย

จึ่งพระยาศรีนำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ คือใบบอกพระกำภุชภักดีผู้ว่าที่พระพิทักษ์เจ้าเมืองศรีโสภนบุรีทิศลงวันที่ ๕ เมษายน ๑๐๙ ขอหลวงณรงค์สงครามเปนที่หลวงสกลกำแหงยกรบัต นายต่วนเปนที่หลวงอนุรักษ์อักษรผู้ช่วยราชการเมืองศรีโสภณ

จึ่งดำรัสถามพระยาศรีว่า พระกำภุชภักดีผู้ว่าที่พระพิทักษ์บุรพ์ทิศเจ้าเมืองศรีโสภณนี้คนเก่าฤๅคนใหม่ พระยาศรีกราบบังคมทูลว่าคนเก่า แล้วดำรัสถามว่าคนเก่าทำไมจึ่งไม่เข้ามารับสัญญาบัตรฤๅหมายใจว่ารับตราตั้งเท่านั้นภอแล้ว แล้วดำรัสต่อไปว่าพระกำภุชคนนี้ ได้ว่าที่เจ้ามืองศรีโสภณแต่ครั้งเสด็จพระราชดำเนินออกไปเมืองปราจิณบุรี

แล้วพระยาศรีนำหลวงณรงค์ผู้จะเป็นที่หลวงสกลกำแหงยกรบัต นายต่วนผู้จะเปนหลวงอนุรักษ์อักษรผู้ช่วยราชการ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ถวายผ้าไหมสีต่างๆ ๖ ผืน

พระสุรินทรามาตย์นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระยาศรีสรราชภักดี พระนราธิราชภักดี ข้าหลวงหัวเมืองฝ่ายทเลตวันตก ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๑๐๙ ว่า ได้กราบถวายบังคมลาจากกรุงเทพฯ วันที่ ๑๙ เมษายน ถึงเมืองภูเก็จแล้ว

ฉบับ ๒ ว่า พระอนุรักษ์โยธาหาได้คัดบาญชีเจ้าภาษีนายอากรที่เงินค้างมายื่นต่อพระยาศรีสรราชภักดี พระนราธิราชภักดีข้าหลวงตามท้องตราไม่

จึ่งดำรัสสังพระสุรินทรามาตย์ ให้มีตราออกไปถึงพระยาศรีสรราชภักดี ให้เกาะตัวพระอนุรักษ์โยธามาเร่งเอาบาญชี

แล้วดำรัสถามพระสุรินทรามาตย์ว่า เงินค้างเจ้าภาษีนายอากรมากน้อยเท่าใด พระสุรินทร์กราบบังคมทูลว่า ค้าง ๔ จำนวนเป็นเงิน ๑๐๗๕ ชั่ง ๔๒ บาท ๒๐ อัฐิ

แล้วดำรัสถามพระยามนตรีสุริยวงษ์ ถึงอาการเจ้าคุณเป้ามารดา ป่วยทุเลาฤๅยังพระยามนตรีกราบบังคมทูลว่า อาการทุเลาแล้ว

แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรกับข้าราชการ ๓ นาย ให้ขุนแสนพลรักษ์ปลัดกรมขวา เปนหลวงสิทธิโยธารักษ์เจ้ากรมพระสุรัศวดีขวา ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ถือศักดินา ๑๕๐๐

ให้ขุนรามรักษา เปนหลวงวิเศษโยธาบาล ปลัดจางวางกรมพระสุรัศวดีขวา ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ถือศักดินา ๔๐๐

ให้ขุนพรหมเสนี เปนขุนแสนพลรักษ์ ปลัดกรมขวา ฝ่ายพระราชวังบวรฯ ถือศักดินา ๕๐๐

แล้วดำรัสด้วยกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ว่าชื่อตำแหน่งขุนนางวังหลวงกับวังน่าพ้องกันหลายชื่อ ถ้าเกิดราชการอันใคขึ้นในน่าที่อันเดียวกัน จะไม่ทรงทราบว่าใครอยู่วังหลวงฤๅวังน่าขอให้คิดเปลี่ยนแปลงชื่อเสียใหม่

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๗๙๑๘ วัน ๔ ๑๕ ๘ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เปนวันพระไม่เสด็จออกขุนนาง ไม่มีราชการอไร.

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ