เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๕๒

วันที่รัชกาล ๘๐๖๗ วัน ๖ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๒ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเกือบย่ำค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทางประตูพรหมโสภา แล้วทรงรถพระที่นั่งออกประตูพิมานไชยศรี วิเศษไชยศรี } เลี้ยวป้อมเผด็จดัษกร ไปถนนบำรุงเมืองแล้วเลี้ยวลงถนนน่าศาลโบรีสภาไปถนนเจริญกรุงออกประตูสามยอดไปประทับตึกรับแขกเมืองที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม แล้วเสด็จไปประทับออเรียนตัลโฮเตล แล้วเสด็จไปทางถนนวัวลำพองมาทางถนนน่าวัดเทพศิรินธราวาศ ลงถนนบำรุงเมืองกลับเข้าพระบรมมหาราชวังเวลาทุ่มเศษ

มีการประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จออกขุนนาง พระวิจารณ์อาวุธนำหนังสือบอกพระยาศรีธรรมราช ผู้ว่าราชการเมืองนครศรีธรรมราชฉบับ ๑ บอกพระยาสุนทรานุรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองสงขลาฉบับ ๑ กราบบังคมทูลพระกรุณา

บอกพระยาศรีธรรมราช ความว่า ต้นไม้ทองเงิน } เครื่องราชบรรณาการ จำนวนรัตนโกสินทร๒๓ศก ๑๐๙ ได้จัดทำตามธรรมเนียม เปนจำนวนต้นไม้ทอง ๖ ต้น เงิน ๖ ต้น } หนักต้นละ ๑ บาทเท่ากัน เทียนพนมหนักเล่มละ ๑ บาท พันเล่ม ผ้าขาวยาว ๕๐ ศอก ๒๐ พับ เสื่อลวด ๑๕ เสื่อ ได้มอบให้หมื่นชำนาญกรรมการคุมมา ขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย

บอกพระยาสุนทรานุรักษ์ความว่า พระยาสุริยสุนทร เมืองสายบุรี บอกมาว่า พระพิทักษ์ธานีผู้ช่วยราชการป่วยเปนโรคชราถึงแก่กรรม พระยาสุริยสุนทรกับญาติพี่น้องได้ทำการศพตามธรรมเนียมอย่างมลายูประเทศ แลได้ส่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยาม กับเครื่องยศพระพิทักษ์ธานีมา ณ เมืองสงขลาแล้ว พระยาสุนทรานุรักษ์ได้ให้หลวงเทพมาลา นำเข้ามาส่งแล้ว

มีพระราชดำรัสกับพระยาศรีสิงหเทพว่า เจ้าพระยารัตนบดินทร์ขึ้นไปชำระพระพรหมาภิบาลข้าหลวงชำระความผู้ร้าย ณ เมืองนครสวรรค์เปนอย่างไร พระยาศรีสิงหเทพ, กราบบังคมทูลว่า ราษฎรได้เข้าชื่อกันยื่นเรื่องราวกล่าวโทษพระพรหมาภิบาลว่าชำระความไม่เปนยุติธรรม เฆี่ยนตีแลลงเอาเงินราษฎรหลายราย แล้วกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์นำฎีกานายจงภักดีฉบับ ๑ นายเขียวฉบับ ๑ กล่าวโทษพระพรหมาภิบาล ทูลเกล้า ฯ ถวาย โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระยาศรีให้มีตรา ส่งฎีกาขึ้นไปให้เจ้าพระธารัตนบดินทร์ชำระเปนความแยกเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง แล้วให้เร่งเงินพระพรหมาภิบาลคืนให้ราษฎร แลให้ถอดจากยศ เฆี่ยน ๖๐ ที จำตรวนส่งลงมาจำคุก พรรคพวกนอกนั้นให้ส่งมาชำระที่กรุงเทพ ผู้ร้ายที่ยังหลบหลีกไม่ได้ตัวให้บนบาลสืบจับให้จงได้ เจ้าพระยารัตนบดินทร์นั้นถ้าจะกลับลงมาไม่ต้องมีท้องตราให้หา เวลา ๕ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๖๘ วัน ๗ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๓ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำหนังสือบอกพระพิเรนทรเทพข้าหลวงประจำหัวเมืองลาวกลาง ฉบับ ๑ บอกพระยาสุจริตรักษาผู้ว่าราชการเมืองตาก ฉบับ ๑ กราบบังคมทูลพระกรุณา

บอกพระพิเรนทรเทพ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๑๐๙ ความว่า มีตราโปรดเกล้าฯ ให้พระภักดีนุชิตเปนข้าหลวงขึ้นไป เดินประเมิลนาเมืองนครราชสีห์มาแลเมืองขึ้น จำนวน รัตนโกสินทร์๒๒ศก ๑๐๘ ครั้นวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๑๐๙ พระภักดีนุชิตป่วยถึงแก่กรรม พระพิเรนทรเทพ กับกรมการแลญาติพี่น้องพร้อมกันจะได้เผาศพพระภักดีนุชิตในเดือนธันวาคม ๑๐๙ ขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงขึ้นไปเผาศพพระภักดีนุชิต

บอกพระยาสุจริตรักษาผู้ว่าราชการ เมืองตาก ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ร,ศ, ๑๐๙ ความว่าเจ้าอธิการขำกับนายท่อ อำแดงเผือก } มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถวัดใหม่แขวงเมืองตาก โดย กว้าง ๑๐ วา ยาว ๑๓ วา } ขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสิมาสำหรับพระสงฆ์จะได้ทำสังฆกรรม

แล้วพระวิจารณ์อาวุธ นำบอก พระยาเดชานุชิต พระยาพิพิธภักดี } เมืองกลันตัน กราบบังคมทูลพระกรุณาฉบับ ๑ ความว่า พระยาเดชานุชิต พระยาพิพิธภักดี พระโยธีประดียุทธ } ได้ทราบเกล้าฯ ว่า ณ เดือนมกราคม ร,ศ, ๑๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีการพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร พระยาเดชานุชิต พระยาพิพิธภักดี พระโยธีประดียุทธ } แต่งให้ หลวงราชานุมัติบริบาล ดาโต๊ะเลหลาสเตีย } เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ในการพระราชพิธีโสกันต์

มีพระราชดำรัสกับพระยามนตรีสุริยวงษ์ว่า พวกที่พระยาเดชานุชิตให้เข้ามานั้นพักอยู่ที่ไหน พระยามนตรีกราบบังคมทูลว่าพักอยู่วังพระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์ มีพระราชดำรัสว่า ควรจะจ่ายสเบียงอาหารให้ แล้วเสด็จขึ้นเวลาเกือบ ๕ ทุ่ม วันนี้มีประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย

วันที่รัชกาล ๘๐๖๙ วัน ๑ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๔ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกพระอินทราธิบาลข้าหลวง พระยาพิบูลย์สงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครนายก กราบบังคมทูลพระกรุณาฉบับ ๑ ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ความว่า จีนแชบิดาจีนเมี่ยง อำแดงบัว } บุตร ไว้ความให้นายน้อยฟ้อง ให้เรียกอ้ายพรม อ้ายคำ } อ้ายปั้น อ้ายหลอดอ้ายอุด ผู้ร้าย กับนายเงิน นายมี } นายบุน นายจัน } ปลัดกองเยาะ อำแดงดวง } เจ้าสำนักผู้ร้าย มาพิจารณา ความว่า วันที่ ๘ กันยายน ร,ศ, ๑๐๙ เวลาเช้า จีนแช จีนเมี่ยง } หาบทรัพย์สิ่งของ ผ้าพรรณนุ่งห่มไปจำหน่ายบ้านตะกรังแขวงเมืองนครนายก มีอ้ายผู้ร้าย ๕ คน เข้าตีปล้นฟันแทงจีนแชมีบาดแผลหลายแห่ง อ้ายผู้ร้ายแย่งเอาทรัพย์สิ่งของกับเงินตรา ๑๐ ตำลึง ไปเกาะได้ตัวอ้ายพรม มาถามให้การสารภาพรับเปนสัตย์ซัดถึงอ้ายหลอด อ้ายคำ } อ้ายอุด อ้ายปั้น } บ้านหนองตะกูฏเขาใหญ่ แขวงเมืองนครราชสีห์มา อ้ายพรมกับพวกเพื่อนไปพักอาไศรยบ้านนายจันอำแดงดวง แล้วเอาทรัพย์สิ่งของแบ่งปันกัน ได้ตัวอ้ายหลอด อ้ายคำ } อ้ายอุกอ้ายปั้นผู้ร้าย กับนายเงิน นายมี } นายบุน นายจัน } หมื่นต้น ปลัดกองเยาะ } อำแดงดวงเจ้าสำนัก มาถาม อ้ายคำ อ้ายอุก } อ้ายปั้น ให้การซัดถึง อ้ายโห้ อำแดงเพ็ง } นายจัน อำแดงดวง } ว่าเปนเจ้าสำนักผู้ร้าย ได้ตัวนายโห้ อำแดงเพ็ง นายจัน อำแดงดวง } มาถามให้การรับสมคำอ้ายอุกผู้ร้ายซัด แต่ หมื่นด้น ปลัดกองเยาะ } นายบุน นายมี } นายเงินให้การปฏิเสธ ว่าไม่ได้เปนเจ้าสำนัก แต่จีนแชป่วยบาดแผลอยู่ได้ ๑๖ วัน ขาดใจตาย นายจัน อำแดงดวง } เจ้าสำนักกับอ้ายคำผู้ร้าย ป่วยเปนอหิวาตกะโรคตาย ปลัดกองเยาะนายบุน นายมี } นายเงินนั้น นายน้อยโจทว่าได้ตัวผู้ร้ายแล้วไม่ติดใจว่าความ จึงได้ทำคำหา คำให้การ กับตัวนายน้อยโจทย์ อ้ายปั้น อ้ายอุก } อ้ายพรม อ้ายหลอด } ผู้ร้าย นายโห้ หมื่นด้น อำแดงเพ็ง } เจ้าสำนัก มอบให้ขุนจ่าเมืองกรมการคุมลงมาส่งแล้ว

พระยานรินทรราชเสนีนำบอกพระยาประสิทธิ์สงครามผู้ว่าราชการเมืองกาญจนบุรี กราบบังคมทูลพระกรุณาฉบับ ๑ ความว่าพระยาประสิทธิสงครามแต่งให้หลวงศรีโยธากรมการนำพระศรีสุวรรณคีรีผู้ว่าราชการเมือง หลวงพลสงคราม หลวงตระเวน } หลวงหิมเวดไพรสาณฑ์ ขุนแพ่ง } ขุนจ่าก้างเกรี่ยงเมืองสังขละบุรี คุมเทียนใหญ่สูง ๑ ศอก ๘ นิ้ว ๒ เล่ม ช่อดอกไม้เงินยอดเทียน ๒ ช่อ } ผ้าห่มเกรี่ยง ๒๐ ผืน ฟัดแพวแดง ๘ ชลอม } เครื่องราชบรรณาการเข้ามา ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย กับพระศรีสุวรรณคิรี จัดได้หมี่ผู้มาถวายด้วยหมี ๑

กับหลวงศรีโยธากรมการนำ พระศรีสุรรรณคิรี หลวงพลสงคราม หลวงตระเวน หลวงหิมเวดไพรสาณฑ์ ขุนแพ่งขุนจ่าก้าง รวม ๗ นาย เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทมีพระราช - - - - ดำรัสด้วยพอสมควร เวลา ๕ ทุ่มเศศ เสด็จขึ้น

มีประชุมปฤกษาข้าราชการข้างในด้วย

วันนี้เวลา ๑๑ ทุ่ม ๕๕ นาที พระเจ้าบวรวงษ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ ธำรงสวัสดิ์สิ้นพระชนม์ พระชนม์ได้ ๔๖ พรรษา หมอว่าเปนวรรณโรคภายใน

มีประชุมปฤกษาข้าราชการข้างในด้วย

วันที่รัชกาล ๘๐๗๐ วัน ๒ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๕ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้าเจ้าพนักงานได้จัดการจะได้เลี้ยงพระสงฆ์ในพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย เปนวันจะได้พระราชทานเบี้ยหวัดแก่พระบรมวงษานุวงษ์ที่ทรงผนวชแลพระช่างเขียน รวม ๑๗ รูป เวลาเช้า ๔ โมงเศษโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จออกเลี้ยงพระสงฆ์ ๑๔ รูป แต่หม่อมเจ้าพระจุ้ย ๑ พระช่างเขียน ๒ } รูป ไม่ได้รับพระราชทานฉัน

เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ขุนสาราบรรจงอ่านประกาศตามธรรมเนียม แล้วทรงถวายแผ่นประมาณนิยมบัตรแก่พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมพระปวะเรศวริยาลงกรณ์เปนต้นไป แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานแจกเบี้ยหวัดแก่กับปิยการกของพระสงฆ์แล กรมโหร พราหมณ์ ราชบันฑิตย์ ช่างทหารใน ช่าง ๑๐ หมู่ จนหมดงบที่ ๑ เวลา ๔ โมงเศษเสด็จขึ้น

เวลาวันนี้พระราชทานน้ำสรงพระศพ แลพระโกษโถ ประกอบพระศพแลไตร ๑๕ ไตร สดับปกรณ์พระเจ้าบวรวงษ์เธอกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ที่สิ้นพระชนม์

วันที่รัชกาล ๘๐๗๑ วัน ๓ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาย่ำค่ำเศษเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ประทับที่ออกขุนนางแล้ว พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองลพบุรี ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๑๐๙ ว่า อ้ายปลวกเอาปืนยิงอ้ายอุ่มผู้ร้ายขาดใจตาย ได้ส่งตัวคำหาให้การลงมาแล้ว

ฉบับ ๒ บอกเมืองพิศณุโลกย์ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๑๐๙ ว่า อ้ายพรม อ้ายเจียม } เปนผู้ร้ายแย่งชิงเอาสายสร้อยสายหนึ่ง ทองหนัก ๒ ตำลึง ของน้องสาวจีนแสงไป เกาะได้ตัวมาถามให้การสารภาพเปนสัตย์

พระวิจารณ์อาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๔ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาศรีสรราชภักดี ข้าหลวงหัวเมืองฝ่ายทเลตวันตกว่า อากรดีบุกเมืองภูเก็จ มี ๑๐๙ ได้ส่งห้างโกวานจำหน่าย ๑๙๑๗ ปีก เงิน ๓๘๗๘๙ ๗๔ } เหรียญ ส่งหลวงทวีปสยามกิจฝากแบงก์แล้ว

ฉบับ ๒ ว่าได้จ่ายเงินค่าเหมาทำครัว ๑๒๕ เหรียญ เงินเดือนโปลิศ ๑๑ ๘๐ } เหรียญ

ฉบับ ๓ ว่าเรือรบชื่อเมดา ออกมาส่งทหารที่เมืองภูเก็จ ๑๐๗ คน ข้าหลวงได้มอบทหารเก่า ๕๔ คนกลับเข้ามากรุงเทพแล้ว

ฉบับ ๔ ขอถวายพระราชกุศล ในการฉลองพระชนม์พรรษา ปี ๑๐๙ แล้วดำรัสสั่งพระยาอนุชิตชาญไชยว่า จมี่นราชามาตย์เคยเปนข้าหลวงชำระผู้ร้ายแลทำการเรียบร้อยดี บัดนี้พระพรหมาภิบาลข้าหลวงเมืองนครสวรรค์ทำการเหลวไหลมาก ให้จมี่นราชามาตย์ขึ้นไปเปนข้าหลวงเมืองนครสวรรค์แลเมืองไชยนาทเจ้าพระยารัตนบดินทร์ก็ได้สะสางไว้บ้างแล้ว ให้รีบขึ้นไปต่อกับข้าหลวงเก่าที่จะกลับ

แล้วพระยานรินทร์ราชเสนีนำตนกูปัตรอพระนัคเรศ ๑ ตนกูยุโสบ ๑ ตนกูอัปดล ๑ ตนกูหมุด ๑ เมืองกลันตัน ๔ นาย เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชปฏิสัณฐารไต่ถามด้วยตามสมควร

แล้วนำพระทรงสุรเดช ซึ่งเปนข้าหลวงออกไปชำระความ เจะวันสนี ณ เมืองรามัญ กลับเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชดำรัสไต่ถามตามสมควร

แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรแก่ข้าราชการ ๔ นาย ให้นายน้อยหน่อเมือง เมืองนครเชียงใหม่ เปนเจ้าราชภาติกวงษ์เมืองนครเชียงใหม่ ให้นายจันทราชาเมืองนครเชียงใหม่เปนเจ้าไชยสงรามเมืองนครเชียงใหม่ ให้นายหนานหมื่นแก้ว เมืองนครลำพูน เปนพระยาราชสัมพันธวงษ์เมืองนครลำพูน

ให้นายหนานไชยเทพ เมืองนครลำพูน เปนพระยาอุตรการโกศล เมืองนครลำพูนแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเบี้ยหวัดตามงบที่ ๒ สิ้นเงิน ๑๓๙ ชั่ง ๑๒ ตำลึง

เวลาทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๗๒ วัน ๔ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๗ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาย่ำค่ำเสด็จออกพระราชทานเบี้ยหวัด ประทับที่ออกขุนนางแล้ว พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกหลวงอนุรักษ์ภูเบศรข้าหลวงเมืองตาก ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๑๐๙ ว่า ได้ชำระลาว ๕๔ ครัว ซึ่งทั้งไปรสนีย์กล่าวโทษพระยาตากว่าเก็บเงินปีละ ๘๐ ๙๐ } รูปีย์ เอาตัวเลขมาถามพร้อมกัน ให้การหารับไม่

ฉบับ ๒ ว่าราษฎร ๑๐ คน เข้าชื่อกันกล่าวโทษพระยาตากว่า กดขี่ซื้อเข้าแก่ราษฎรสามสัต ๑๑ รูปีย์ ข้าหลวงได้ให้หาคนมีชื่อ ๑๐ คน ก็หาได้ตัวไม่

พระวิจารณ์อาวุธนำบอก กรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๓ ฉบับๆ ๑ บอกเมืองกาญจนบุรี ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่า พระสุวรรณคิรีเมืองสังขละบุรี รับปืนสะไนเดอร์แลดาบกันซิบเครื่องปืนของหลวงขึ้นไปสำหรับตรวจคนไปมาเข้าออก บัดนี้ปืนตกน้ำหายไปสองบอกดาบเล่ม ๑ แลกันซิบก็ขาดยับเยินไป กับเครื่องแต่งตัวโปลิศยังหามีไม่

ฉบับ ๒ บอกเมืองตรัง ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่า มีอ้ายผู้ร้าย ๑๐ คน ปล้นเรือนนายเมือง ปล้นเรือจีนหงินฆ่าจีนชินตาย เอาตัวอ้ายนุ่มมาถาม ให้การเปนสัตย์ซัดถึงอ้ายมีชื่อเมืองนครศรีธรรมราช

ฉบับ ๓ ว่า ได้จัดโปลิศ ๘๘ คน เงินเดือน ๆ ละ ๑๕๑ เหรียญ เข้าสารเดือน ๑๗๔ สำหรับรักษาเมือง

พระยาสุรินทร์เสนีนำบอก กรมพระกระลาโหมฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ บอกเมืองพังงา ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่าเงินอากรดีบุกจำนวนปีจออัฐศก ๒๐ ภารา ๆ ละชั่งเงิน ๒๐ ชั่ง คิดชั่งละ ๔๔ เหรียญ เงิน ๙๖๐ เหรียญ มอบให้หลวงอินทร์ภักดีคุมเข้ามาส่ง

แล้วพระศรีเสนานำหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ข้าหลวงซึ่งขึ้นไปชำระความตัวเลขเมืองตากกลับลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท จึ่งดำรัสถามพระยาศรีว่า เรื่องราวที่ตัวเลขมาร้องกล่าวโทษพระยาตากนั้นใครเปนผู้มาร้อง พระยาศรีกราบบังคมทูลว่าทิ้งมาทางไปรสนีย์ จึ่งดำรัสสั่งพระยาศรีว่า ให้เปนการเลิกแล้วกัน แล้วดำรัสสั่งพระยานรินทร์ว่าให้บอกพระยามนตรี ให้มีตราขึ้นไปต่อว่าเมืองกาญจนบุรี ไม่ต้องรักษาให้ของหลวงตกน้ำแลชำรุดไป แล้วดำรัสถามพระยานรินทร์ว่าไปตกน้ำที่ไหน พระยานรินทร์กราบทูลว่า ตกที่เมืองสังขละบุรี แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเบี้ยหวัดตามงบที่ถวายใน เงิน ๒๑๘ ชั่ง ๗ ตำลึง

เวลา ๒ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๗๓ วัน ๕ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๘ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาย่ำค่ำเศษเสด็จออกพระราชทานเบี้ยหวัด ประทับที่ออกขุนนางแล้ว พระวิจารณ์อาวุธกรมพระกระลาโหมนำใบบอกเมืองประทุมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๕ ฉบับ

ฉบับ ๑ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๑๐๙ ว่าได้เก็บเงินค่านา จำนวนปีชวดสัมฤทธิศก ปีฉลู รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ ได้เงิน ๓๐ ชั่ง ค่าใบจอง ๕ ชั่ง รวม ๓๕ ชั่ง มอบให้กรมการคุมมาส่ง

ฉบับ ๒ ว่า ขอพระบรมราชานุญาตขุดคลองบางโพเหนือ ใต้ } บางหลวงไหว้พระรวมสามคลอง

ฉบับ ๓ ว่ามีตราโปรดขึ้นไปว่า เขตรแดนเมืองประทุมธานีเมืองนนท์บุรี ให้แบ่งเขตรแดนเพียงคลองบางโพ พระยาพิทักษ์ได้ประกาศให้ราษฎรทราบทั่วกันแล้ว

ฉบับ ๔ ว่า ได้ส่งเงินค่านา จำนวนปีจออัฐศกครั้งก่อน ๑๒๒ ชั่ง ๑๙ ตำลึงสองสลึง ครั้งนี้อีก ๑๘ ชั่งสลึง มอบให้กรมการคุมมาส่ง

ฉบับ ๕ ว่า ตราสแตมป์เรียกเงินค่านา ปี ๑๐๙ ยังหาพอไม่ ขอเบิก ๓๑๒๑ ดวง คิดเปนเงิน ๒๐ ชั่ง

แล้วพระยาศรีนำจมื่นราชามาตย์ ปลัดกรมพระตำรวจในขวากราบถวายบังคมลา ขึ้นไปเปนข้าหลวงชำระผู้ร้ายเมืองไชยนาท แลเมืองนครสวรรค์ จึ่งมีพระบรมราโชวาทแก่จมื่นราชามาตย์ด้วยตามสมควร

แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ ๕ นาย ให้ขุนราชแพทยา เปนขุนเทวพรหมา ปลัดกรมหมอยาขวา ถือศักดินา ๘๐๐

ให้หมื่นคุณแพทย์พิทยากร เปนขุนราชแพทยาปลัดทูลฉลองหมอศาลา ถือศักดินา ๖๐๐

ให้หมื่นทรพิศม์พิมาศเปนขุนสิทธิแพทธ ปลัดกรมหมอฝี ถือศักดินา ๔๐๐

ให้นายพรม เปนขุนเทพกุมาร มีตำแหน่งราชการในกรมหมอกุมาร ถือศักดินา ๔๐๐

ให้นายชมอาจาริย์ เปนขุนอนุกูลวิธาร มีตำแหน่งราชการในกรมศึกษาธิการ ถือศักดินา ๕๐๐

แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเบี้ยหวัดตามงบสี่ที่ถวาย สิ้นเงิน ๓๑๘ ชั่ง ๓ ตำลึง

เวลาทุ่มเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๗๔ วัน ๖ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๙ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เป็นวันพระไม่เสด็จออกไม่มีราชการอไร.

วันที่รัชกาล ๘๐๗๕ วัน ๗ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๐ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท องค์ด้านตวันออก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทววงษ์วโรประการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ นำมิศเตอร์เคมอรอน ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน (แมมเบอออฟปาลิเมน) ณ กรุงลอนดอน เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชดำรัสปฏิสัณฐารไต่ถามด้วยตามสมควร กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ ก็นำแคเมอรอนออกมาจากที่เฝ้า แล้วนำมิศเตอสมิทกงสุลเยเนอราลสยามที่เมืองนิวยอก เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ถวายกระจกรูป ๑ แผ่น สมุดแผนที่สามเล่มมีพระราชปฏิสันฐารไต่ถามตามสมควร แล้วกรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ ก็นำมิศเตอสมิท ออกมาจากที่เฝ้าเวลาทุ่มเศษเสด็จขึ้น

เวลา ๒ ทุ่มเศษ เสด็จออกประทับที่ออกขุนนางตามเคย พระวิจารณ์อาวุธนำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๖ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองนครเขื่อนขันธ์ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๑๐๙ ว่า อ้ายผู้ร้าย ๙ ๑๐ } คน ปล้นเรือนอำแดงดีคลองมนาว อำแดงดีกับนายแปลกยิงอ้ายผู้ร้ายตายคน ๑ อ้ายผู้ร้ายพากันหนีไป ยังสืบจับหาได้ไม่

ฉบับ ๒ บอกเมืองระนอง ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๑๐๙ ว่า ภาษีฝิ่น สุรา } ผลประโยชน์เมืองรนอง ปี ๑๐๙ สี่ร้อยชั่ง ครบงวด ๑๐๐ ชั่ง ได้นำเงินส่งหลวงทวีปสยามกิจฝากแบงก์ปินังแล้ว

ฉบับ ๓ ว่า ภาษี ๕ อย่าง กับค่าตีตราดีบุก จำนวนปีชวดสัมฤทธิศก เงิน ๓๓๘๔๑ ๙๕ } เหรียญ หักจ่ายราชการแล้วคงส่งเงิน ๒๔๘๔๑ ๙๕ } เหรียญ คงค้างเงิน ๖๐๐๐ เหรียญ ได้นำเงินฝากแบงต์แล้ว

ฉบับ ๔ ขอถวายพระราชกุศลในการเฉลิมพระชนม์พรรษา ปี ๑๐๙

ฉบับ ๕ ว่าได้รับหนังสือของดิปุติ กอมมิชเนอร์เมืองมริด มีความขอบใจเรื่องชำระความนายแดง

ฉบับ ๖ บอกเมืองราชบุรี ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๑๐๙ ส่งเงินค่านาตราจอง จำนวนปีชวดสัมฤทธิศก ๒๐๐ ชั่ง จำนวนปี ๑๐๘ เก้าสิบชั่ง รวม ๒ ปี เงิน ๒๙๐ ชั่ง แล้วดำรัสถามพระยามนตรีว่าอ้ายแดงนั้นเมืองไหน พระยามนตรีกราบทูลว่าเมืองระนอง

แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเบี้ยหวัดตามงบที่ ๕ สิ้นเงิน ๑๗๖ ชั่ง ๑๘ ตำลึง

เวลายามเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๗๖ วัน ๑ ๑๐ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๑ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษเสด็จออกประทับที่ออกขุนนาง พระยาศรีนำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองปราจิณบุรี ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๑๐๙ ว่า มีอ้ายผู้ร้ายปล้นราษฎรเมืองวัฒนานคร เมืองอรัญประเทศ รวม ๔ ราย เมืองปราจิณบุรีจะแต่งให้หลวงบันเทาทุกขราษฎร์เป็นกรมการออกไปเมืองวัฒนานคร เมืองอรัญประเทศ } พร้อมด้วยกรมการเมืองศรีโสภณเมืองพระตบองออกสืบจับอ้ายผู้ร้าย

ฉบับ ๒ บอกเมืองสุพรรณบุรี ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๑๐๙ ว่าน้ำท่าในราษีตุล ปี ๑๐๙ น้อยกว่า ปี ๑๐๘ ศอกเก้านิ้ว ผู้รักษาเมืองกรมการราษฎรช่วยกันปิดทำนบคลอง ขังน้ำไว้ รวม ๑๖ ตำบล

พระวิจารณ์อาวุธนำบอกในกรมพระกระลาโหม ขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ บอกเมืองพังงา ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่า มีตราโปรดเกล้าฯ ออกไปถึงเมืองพังงา ให้เข้ามาเฝ้าในการพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระยาบริรักษ์ภูธรป่วยจักษุเข้ามาหาได้ไม่ ได้แต่งให้พระเทพภักดีศรีพิไชยสงครามรามกำแหงปลัด เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

พระยาสุรินทร์เสนีกรมพระกระลาโหมฝ่ายพระราชวังบวรฯ นำบอกเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๑๐๙ ว่า เครื่องราชบรรณาการจำนวนปี ๑๐๙ เทียนพนมหนักเล่มละบาท พันเล่ม ผ้าขาวยาว ๕๐ ศอก ๑๐ พับ เสื่อลวด ๑๕ ลวด มอบให้กรมการคุมเข้ามาส่ง แล้วดำรัสสั่งกับพระยาศรีว่าที่พระยาปราจิณจัดให้หลวงบันเทาทุกขราษฎร์ไปเปนตระลาการชำระผู้ร้ายนั้น เห็นจะไม่ตลอดไปได้ แล้วจะทรงคิดจัดให้ใหม่

แล้วพระวิจารณ์อาวุธ นำพระเทพภักดีศรีพิไชยสงครามปลัดเมืองพังงาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทมีพระราชดำรัสไต่ถามถึงพระยาบริรักษภูธร เมืองพังงาด้วยตามสมควร

แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเบี้ยหวัดตามงบที่ ๑ ฝ่ายพระราชวังบวรฯ สิ้นเงิน ๙๐ ชั่ง ๑๐ ตำลึง แล้วเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๗๗ วัน ๒ ๑๑ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๒ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๒ ทุ่มเศษเสด็จออกประทับที่ออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาสุริยเดช ข้าหลวงเมืองหนองคาย ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๐๙ ถวายพระราชกุศลในการเฉลิมพระชนม์พรรษา

ฉบับ ๒ ถวายพระราชกุศล ในการเฉลิมพระชนม์พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี

ฉบับ ๓ บอกเมืองศุโขทัย ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ร.ศ. ๑๐๙ ถวายพระราชกุศลในการเฉลิมพระชนม์พรรษา แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเบี้ยหวัดงบที่ ๒ ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ สิ้นเงิน ๙๐ ชั่ง ๕ ตำลึง

เวลายามเศษเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๘๐๗๘ วัน ๓ ๑๒ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๓ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้เจ้าพนักงานจัดการที่พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมขปราสาท ในการยกยอดพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เวลา ๒ ทุ่มเศษโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ เสด็จไปจุดเทียนเครื่องนมัสการ พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ มีพระธรรมไตรโลกาจาริย์นำเปนประธาน

เวลาทุ่มเศษเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์ด้านตวันออก พระยามนตรีสุริยวงษ์นำพระยาฤทธิสงครามรามภักดี พระยาไทรบุรี ๑ ตนกูมหมุตน้องพระยาไทรบุรี ๑ เข้าไปเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชปฏิสัณฐารไต่ถามด้วยตามสมควร แล้วพระยามนตรีสุริยวงษ์ ก็นำพระยาไทร แลตนกูออกมาจากที่เฝ้า แล้วเสด็จมาประทับที่ออกขุนนางตามเคย พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยามหาอำมาตย์ข้าหลวงหัวเมืองลาวฝ่ายตวันออก ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๑๐๙ ว่ามีตราโปรดเกล้า ฯ ขึ้นไปให้พระพิศณุเทพ เปนข้าหลวงที่สอง เปลี่ยนพระยามหาอำมาตย์กลับเข้ามากรุงเทพ ฯ ได้จัดการผลัดเปลี่ยนเรียบร้อยแล้วได้ออกจากเมืองนครจำปาศักดิ์วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๑๐๙

ฉบับ ๒ บอกเมืองเพชรบูรณ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๑๐๙ ว่า ได้มอบเงินค่านาจำนวนปีกุนนพศก ๑๙ ชั่ง ๗ ตำลึงกึ่งสองสลึงเฟื้อง ให้เสนากรมการคุมลงมาถึงแก่งนางชีแขวงเมืองบัวชุม มีอ้ายผู้ร้ายปล้นเก็บเอาเงินค่านาแลทรัพย์สิ่งของเสนากรมการไป จับได้ตัวอ้ายฮำ อ้ายเกิด } มาถามให้การสารภาพเปนสัตย์ซัดถึงอ้ายมีชื่อ อยู่แขวงเมืองหล่มศักดิ์ ได้มีสตูณรายถือไปถึงผู้รักษาเมืองหล่มศักดิ์ หาส่งตัวมาไม่

จึ่งดำรัสถามพระยาศรีว่า ขุนพรพิทักษ์ที่ถือท้องตราขึ้นไปถึงพระยามหาอำมาตย์นั้นเห็นจะคลาศเสียแล้ว ได้ออกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันใด พระยาศรีกราบบังคมทูลว่าได้ออกเรือในวันที่ ๑๑ ธันวาคม แล้วดำรัสสั่งกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ว่า ทำสัญญาบัตรให้พระศรีโลหผู้ช่วยราชการเมืองรนอง เปนพระยาอัศฎงคตทิศรักษาผู้ว่าราชการเมืองกระ แล้วโปรดพระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ ๑ นาย ให้นายแย้มมหาดเล็กเวรเดชเปนหลวงกำจัดไพรินทร์ ปลัดกรมกองแก้วจินดา ถือศักดินา ๔๐๐

แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเบี้ยหวัดตามงบที่สาม ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ สิ้นเงิน ๑๖๖ ชั่ง ๑๔ ตำลึง

เวลายามเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๗๙ วัน ๑ ๑๓ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๔ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๔ โมงเศษ โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคนทิฆัมพรออกมาเลี้ยงพระสงฆ์ที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกปราสาท พอพระฤกษ์ได้เวลา ๕ โมงเศษโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เสด็จออกมายกยอดพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เวลา ๒ ทุ่มเศษเสด็จออกประทับที่ออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองฉเชิงเทรา ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๑๐๙ ว่า ขอแรงราษฎรปิดทำนบคลองขังน้ำไว้เข้าทุ่งนา ๗ ตำบลแล้ว

ฉบับ ๒ บอกขอทหารเมืองฉเชิงเทรา รักษาด่าน ๒ ตำบล ๑๐ คน แต่เงินเดือนเบี้ยเลี้ยงหลงจู๊เจ้าภาษียาฝิ่นเตาสุราจะออกให้

จึ่งดำรัสสั่งให้พระยาศรีส่งบอกเมืองฉเชิงเทราที่ขอทหารไป ปฤกษากรมยุทธนาธิการแล้วดำรัสถามพระยาภาสกรวงษ์ที่เกษตราธิการว่า นาในแขวงกรุงเก่าได้มากน้อยเท่าใด พระยาภาสกรวงษ์กราบบังคมทูลว่าได้ประมาณสามส่วน เสียประมาณส่วนหนึ่ง แล้วดำรัสถามพระยามหามนตรีว่า การที่ยืนชิงช้าปีนี้รู้ตัวแล้วฤๅยัง พระยามหามนตรีกราบบังคมทูลว่าได้ทราบเกล้า ฯ แล้วดำรัสว่า เพราะคนที่ยังไม่ได้ยืนชิงช้านั้น ก็ถูกแห่เปนคู่เคียงโสกันต์

แล้วพระยานรินทร์นำพระพิไชยชลสินธุ์ ผู้ว่าราชการเมืองประจวบคิรีขันธ์ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทถวายเข้าสาร ๕๐ ถัง น้ำตาลโตนด ๕๐๐ หม้อ มีพระราชดำรัสไต่ถามด้วยตามสมควร แล้วนำตนกูมหมุดน้องพระยาไทรบุรีถวายตัวเป็นมหาดเล็ก รับราชการอยู่ในกรุงเทพ ฯ จึ่งดำรัสกับพระยามนตรีสุริยวงษ์ ให้บอกกับพระยาไทรว่า ซึ่งให้น้องชายเข้ามารับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ นั้น เป็นการดี เกิดราชการอันใดขึ้นที่เมืองไทรจะได้พูดกันง่าย แล้วดำรัสสั่งกับพระยามนตรีว่า คนที่มาจากเมืองไทรนั้น ถ้าป่วยไข้ก็เรียกหมอหลวงมารักษา เพราะเวลานี้การไข้เจ็บก็ชุกชุม แล้วดำรัสสั่งกับกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ว่า ถ้าพระยาไทรจะต้องการที่ของหลวงทำบ้านตรงไหนให้กรมหมื่นนราพร้อมกับพระยามนตรีดูให้ตามชอบใจ

แล้วพระยาศรีนำเจ้าไชยสงคราม เจ้าราชภาติกวงษ์เมืองนครเชียงใหม่ กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานพานเงินเครื่องในพร้อม ๑ คนโทเงินถมดำ ๑ กะโถนเงินถมทอง ๑ แลผ้าพรรณนุ่งห่ม เครื่องยศเหมือนกันทั้งเจ้าไชยสงครามแลเจ้าราชภาติกวงษ์ แล้วดำรัสถามว่าในการพระราชพิธีโสกันต์ครั้งนี้ เมืองนครเชียงใหม่ใครจะลงมา พระยาศรีถามเจ้าทั้งสองได้ความแล้วกราบบังคมทูลว่า เจ้าราชวงษ์จะลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

เวลายามเศษเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๘๐ วัน ๕ ๑๔ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๕ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

ไม่เสด็จออก.

วันที่รัชกาล ๘๐๘๑ วัน ๖ ๑๕ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๖ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เป็นวันพระไม่เสด็จออก.

วันที่รัชกาล ๘๐๘๒ วัน ๗ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๗ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเศษเสด็จออกขุนนางตามเคย พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระอินทราธิบาลข้าหลวงเมืองนครนายก ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๑๐๙ ว่าเวลาดึกประมานยามเศษ มีอ้ายผู้ร้ายยิงนายเผือกอาจาริย์วิปัสสนาทางธรรมถึงแก่กรรม ข้าหลวงกรมการยังสืบจับเอาตัวหาได้ไม่

ฉบับ ๒ บอกเมืองสระบุรีลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๑๐๙ ว่า โปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้าไตรกฐินให้นำทอดวัดสมุหประดิษฐ์ วัดเขาแก้ว ได้ทอดแล้ว ขอถวายพระราชกุศล

แล้วดำรัสถามพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ว่า รัติไฟเมืองนครเชียงใหม่นั้น กรมหลวงพิชิตปรีชากรตั้งฤๅพระองค์โสณบัณฑิตย์ตั้ง กรมหลวงพิชิตกราบบังคมทูลว่ากรมหลวงพิชิตตั้งไว้ จึงดำรัสถามพระองค์โสณ์ว่าเก็บกันอย่างไร พระองค์โสณ์กราบบังคมทูลเก็บปีละ ๒๐๐ รูเปีย สามปี ๖๐๐ รูเปีย จึ่งดำรัสกับกรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการว่า ที่เขตรแตนที่ต่อเมืองคำมวนออกไปนั้นพระยอดเมืองขวางแลมิสเตอปาวีก็ได้ไปทำแผนที่ในการเขตรแดนที่วิวาทกันกับฝรั่งเศสในรวางวิวาทกันอยู่จะยังไม่เก็บสร่วยด้วยกันทั้งสองข้าง บัดนี้ฝ่ายข้างฝรั่งเสศไปบอกกับพระยอดเมืองขวางว่าการตกลงกันแล้ว ไปขอเรียกส่วยกับตัวไพร่ ควรจะสืบความให้ชัดแล้วมีหนังสือต่อว่าไปถึงฝรั่งเสศ

แล้วดำรัสถามพระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่าว่า ราษฎรในแขวงกรุงเก่าปีนี้ทำนาได้มากฤๅเสียมาก พระยาไชยวิชิตกราบบังคมทูลว่า กะประมาณ ๕ ส่วน เสีย ๒ ส่วนได้สามส่วน

แล้วเสด็จขึ้น วันนี้เวลา ๑๐ ทุ่มเศษทรงเครื่องใหญ่

วันที่รัชกาล ๘๐๘๓ วัน ๑ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๘ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาบ่าย ๕ โมงเศษเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์ด้านตวันออก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการเสนาบดีว่าการต่างประเทศ นำมิสเตอกุดซัดกงซุลออสเตรียเข้าไปเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชปฏิสัณฐานด้วยตามสมควร กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการนำกงซุลออสเตรียออกมาจากที่เฝ้า แล้วนำมิสเตอคเมลาเวฮยุล่ ผู้ว่าการแทนกงซุลฮอลันดา เข้าไปเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชปฏิสัณฐารด้วยตามสมควร กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการก็นำกงซุลฮอลันดาออกจากที่เฝ้า เสด็จขึ้น

วันนี้ไม่เสด็จออกขุนนาง

วันที่รัชกาล ๘๐๘๔ วัน ๒ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๙ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการไทยจีนจัดเครื่องโต๊ะเข้าไปตั้งในพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร จนถึงพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลางในการเฉลิมพระชนม์พรรษาพระนางเจ้าพระวรราชเทวี

วันนี้ไม่เสด็จออก.

วันที่รัชกาล ๘๐๘๕ วัน ๓ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๓๐ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาทุ่มเศษเสด็จออกพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป ที่จะได้เจริญพระพุทธมนต์ มีพระอริยมุนีนำเป็นประธาน พระนางเจ้าพระวรราชเทวีทรงถวายไตรแพรพระสงฆ์ ๕ รูป แล้วก็ออกมาครองเสร็จกลับเข้านั่งตามลำดับ ทรงจุดเครื่องนมัสการ แล้วเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ โหรว่าสรพัญญสลับกันกับพระสงฆ์จนจบ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้กอมมิตตีเข้ามาตรวจตัดสินเครื่องโต๊ะตามเคย เวลา ๘ ทุ่มเศษเจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญพระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการบันดาที่เข้ามาตั้งเครื่องโต๊ะนั้น เสวยแลรับพระราชทานเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินตรวจเครื่องโต๊ะต่อไปจนสว่าง

วันที่รัชกาล ๘๐๘๖ วัน ๔ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๓๑ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๓ โมงเศษโปรดเกล้า ฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป เข้ามารับพระราชทานอาหารบิณฑบาตแล้ว พระนางเจ้าพระวรราชเทวีทรงถวายเครื่องบริขาร พระสงฆ์ก็ถวายอนุโมทนากลับ เวลาเช้า ๔ โมงเศษเสด็จขึ้น

เวลา ๒ ทุ่มเศษเสด็จออกพระที่นั่งสถิตย์บรมราชมโหฬาร เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ ๒๙ รูป ที่จะได้เจริญพระพุทธมนต์ มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสนำเปนประธาน พระสงฆ์รับไตรออกมาครองเสร็จแล้วกลับเข้ามานั่งตามลำดับ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการ เวลา ๔ ทุ่มเศษเจริญพระพุทธมนต์จบ โปรดเกล้า ฯ ให้กอมมิตตีตรวจเครื่องโต๊ะจนเวลา ๒ ยามเศษ โปรดเกล้า ฯ ให้เชิญพระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการผู้ที่มาตั้งเครื่องโต๊ะเสวยแลรับพระราชทานเสร็จแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ตรวจเครื่องโต๊ะต่อไปจนสว่าง

วันที่รัชกาล ๘๐๘๗ วัน ๕ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๒ ทุ่มเสศเสด็จลงพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร โปรดเกล้า ฯ ให้นิมนต์พระธรรมวโรดมเข้ามาถวายเทศนามงคลวิเสศกัณฑ์หนึ่ง จบแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าภาพถวายไตรแลเครื่องบริกขารตามสมควร เวลา ๔ ทุ่มเสศ โปรดเกล้า ฯ ให้กอมมิตตีเข้ามาตรวจเครื่องโต๊ะตามเคย จนเวลา ๒ ยามเสศ โปรดเกล้า ฯ ให้เชิญพระบรมวงษานุวงษแลข้าราชการตั้งโต๊ะเสร็จแล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้กอมมิตตีตรวจเครื่องโต๊ะต่อไป จนเวลาเช้า ๒ โมงเสศ เสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๘๐๘๘ วัน ๖ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๒ ทุ่มเสศ เสด็จลงพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ทรงทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะอยู่จนเวลายามเสศ จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ ๒๐ รูป ที่จะได้เจริญพระพุทธมนต์มีหม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา เปนประธาน เปนการบำเพญพระราชกุศลของพระบวรราชเทวี ในพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลพระอัฐิกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย ครั้นพระสงฆ์เข้ามาพร้อมแล้วทรงถวายไตรแด่พระสงฆ์ทั้ง ๒๐ รูปทั่วแล้ว พระสงฆ์ออกมาครองไตรแล้วกลับเข้ามานั่งตามลำดับ เวลา ๕ ทุ่มเสศ เจริญพระพุทธมนต์จบ พระสงฆ์ถวายอติเรกพระพรลากลับ โปรดเกล้า ฯ ให้กอมมิตตีตรวจเครื่องโต๊ะแลตัดสินรางวัล จนเวลา ๗ ทุ่มเสศ โปรดเกล้า ฯ ให้เชิญพระบรมวงษา แลข้าราชการเสวยแลรับพระราชทานเสร็จแล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้ตรวจตัดสินเครื่องโต๊ะต่อไป จนเวลาเช้า ๓ โมงเสศ เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์นั่งตามลำดับ คือแบ่งรับพระราชทานฉันเปนสองแห่ง ในพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ๑๐ รูป ที่พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทด้านตวันตก ๑๐ รูป รับพระราชทานฉันแล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้เข้าไปสดัปกรณ์พระบรมอัฐิ แลพระอัฐิพร้อมกัน แล้วถวายของเครื่องไทยทานตามสมควร แล้วมีสดัปกรณ์ราย ๑๐๐ วัดสุทัศน์เทพวราราม แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานรางวัลโต๊ะจนเวลาบ่ายโมงเสศเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๘๙ วัน ๗ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๓ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศ เสด็จลงพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร โปรดเกล้า ฯ ให้พระพรหมมุนีถวายเทศนากตัญสูตรกัณฑ์หนึ่ง จบแล้วเจ้าภาพถวายไตรแลเครื่องบริขานตามเคย แล้วโปรดพระราชทานรางวัลเครื่องโต๊ะจนเวลา ๒ ยามเสศ โปรดเกล้า ฯ ให้เชิญพระบรมวงษานุวงษแลข้าราชการเสวย แลรับพระราชทานเสร็จแล้ว ทรงพระราชทานรางวัลเครื่องโต๊ะต่อไป จนเวลา ๑๐ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๘๐๙๐ วัน ๑ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๔ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันที่ ๔ ไม่เสด็จออก.

วันที่รัชกาล ๘๐๙๑ วัน ๒ ๑๐ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๕ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเสศเสด็จออกขุนนาง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ แลผู้ซึ่งตามเสด็จไปราชการเมืองมันตะเลกลับมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชดำรัสไต่ถามตามสมควร แล้วพระศรีเสนานำศุภอักษรฉบับหนึ่งบอกฉบับหนึ่งขึ้นกราบบังคมทูล ในศุภอักษรเจ้านครหลวงพระบาง ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้ราชวงษ์คุมต้นไม้ทองต้นหนึ่ง ทองหนัก ๙ ตำลึง ๓ บาท ต้นไม้เงินต้นหนึ่งสูงต่ำเท่าต้นไม้ทองเงินหนัก ๘ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๒ บอกเมืองพิจิตร ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่ามีตราส่งผ้าไตรกฐินขึ้นไปทอดวัดขะมังนั้น ได้ทอดแล้วขอถวายพระราชกุศล พระวิจารณอาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นกราบบังคมทูล ๗ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองชุมพร ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่า วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ เวลา ๒ ยามเสศเกิดลมหยุหพัดกล้าเสาโทรเลขหัก ๙ ต้น ล้ม ๕ ต้น ขอน้ำกรตออกไปต่อสายโทรเลข

ฉบับ ๒ บอกเมืองตรัง ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่ามีอ้ายผู้ร้าย ๓ คนปล้นเรือนนายย้อยนายสงตำบนบ้านทุ่งเกวียน อ้ายผู้ร้ายเก็บเอาทรัพย์สิ่งของไปยังสืบจับตัวหาได้ไม่

ฉบับ ๓ บอกเมืองกาญจนบุรี ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ร,ศ, ๑๐๙ ส่งเงินเลขส่วยทองปี ๑๐๘ หกสิบห้าคม ทองหนัก ๘ ตำลึง ๑ สลึง ส่งเงินแทนบาทละ ๑๖ เงิน ๖ ชั่ง ๙ ตำลึง พระราชทานสิบชักสองคงส่ง ๕ ชั่ง ๕ ตำลึง ฉบับ ๔ บอกเมืองรนองลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ร,ศ, ๑๐๙ อนุญาตสร้างโต๊ะ แลเก้าอี้ ตู้กระจก แลโคมแขวนโคมตั้งที่ศาลากลางเปนเงิน ๔๐๙ เหรียญ

ฉบับ ๕ บอกเมืองไทรยบุรี ว่าพระยาสุรพลพิพิธได้ไปตรวจเขตรแดนเมืองไทรยกับเมืองปลิศพร้อมกับพระยาศรีสรราชภักดีข้าหลวง

ฉบับ ๖ ว่าพระยาสุรพลพิพิธได้มอบหอยสังข์ซึ่งได้มาจากปังลิมาแขวงเมืองสตูน มอบให้พระยาไทรยบุรีส่งเข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวาย

ฉบับ ๗ บอกเมืองตรังกานู ว่าได้แต่งให้ ตนกูโนะ ๑ กุรังกายอเลลาวังษา ๑ เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทในการพระราชพิธีโสกันต์สมเดจพระบรมโอรสาธิราช

แล้วพระศรีเสนา นำเจ้าราชวงษเมืองหลวงพระบาง ๑ พระยาศรีธรรมศุภราชผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัย ๑ พระยาอุไทยมนตรีผู้

วันที่รัชกาล ๘๐๙๒ วัน ๓ ๑๑ ๑ ค่ำ ปีขานโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๖ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลายามเสศเสด็จออกขุนนางตามเคย พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นกราบบังคมทูล ๔ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยามหาอำมาตยข้าหลวงหัวเมืองลาวฝ่ายตวันออก ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่าเลขสมกรมการทาษในพระบรมมหาราชวัง แลฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งไปรับราชการอยู่กับพระยามหาอำมาตยป่วยถึงแก่กรรม รวมนายไพร่เก่าใหม่ ๑๗๖ คน

ฉบับ ๒ บอกพระยาสุรเดชปลัดข้าหลวงหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่าพระนิเวศพิสุทธิข้าหลวงเมืองเชียงขวาง มีหนังสือบอกมาว่าพลทหารซึ่งขึ้นไปรักษาราชการเมืองเชียงขวาง ป่วยเปนไข้พิศม์ถึงแก่กรรม ๔ คน

ฉบับ ๓ บอกหลวงมลโยธานุโยคข้าหลวงเมืองวังคำ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่าได้พร้อมกันกับเจ้าเมืองอุปฮาดราชวงษ ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาใน วันที่ ๒๘ กันยายน ร,ศ, ๑๐๙ ตามพระราชพิธีสารทแล้ว

ฉบับ ๔ บอกเมืองสุโขทัย ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่ามีตราโปรดเกล้า ฯ ส่งผ้าไตรกฐินขึ้นนำไปทอดวัดราชธานีนั้นได้ทอดแล้ว ขอถวายพระราชกุศล

พระวิจารณอาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ

บอกเมืองปลิด ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้พระสุนทรรายาผู้ช่วยเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แล้วพระยาปลิดจัดได้กฤษซันปานูโงะทองฝังเพชรทับทิม ๑ ต้น ไม้ทองฉนิดเมืองยี่ปุ่น ๒ ต้น ทองแผ่นกระดาษหนัก ๕๐ เหรียญ เข้ามาสมโภชในการพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

แล้วพระยาศรีสิงหเทพนำพระยาพิศณุโลกเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แล้วนำพระรามรณรงค์สงครามผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร ถวายช้างพลายสูง ๕ ศอก ๕ นิ้วช้าง ๑ มีพระราชดำรัสไต่ถามตามสมควร

แล้วพระยาพิพัฒนโกษานำพระยาวิทธยาธิบดีผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรี ๑ พระกำแหงฤทธิรงค์ผู้ช่วยราชการ ๑ พระพิไชยชลธีผู้ว่าราชการเมืองประจันตคีรีเขตร ๑ รวม ๓ นาย เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท พระยาจันทบุรี จัดได้แหวนบุศราคำหนึ่งวง พระกำแหงฤทธิรงค์ จัดได้แหวนบุศราคำหนึ่งวง พระพิไชยชลธี จัดได้ผ้าพื้น ๒๐ ผืน กระวานหนัก ๖ ชั่งจีน เขี้ยวปลาพยูน ๒ เขี้ยว เขี้ยวเม่น ๑ เขี้ยว ดีงูเหลือม ๑ ดี ดีจรเข้ ๑ ดี ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วพระยาจันทบุรี พระกำแหงฤทธินำแหวนเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวายต่อพระหัตถ์

วันที่รัชกาล ๘๐๙๓ วัน ๔ ๑๒ ๑ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๗ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๔ โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทางประตูพรหมโสภา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้พระฤกษเช้า ๔ โมงกับ ๑๐ นาที ทรงชักสายยกพระมหาเสวตรฉัตร พระสงฆ์สวดถวายไชยมงคล ชาวประโคมก็ประโคมฆ้องไชย แตรสังข์พิณพาทย์ตามธรรมเนียมเสร็จแล้ว ทรงประเคนอาหารบิณฑบาตรแก่พระสงฆ์ ๑๐ รูปที่สวดมนต์เมื่อคืนนี้ มีพระธรรมไตรโลกาจาริย์เปนประธาน พระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว เสด็จขึ้น

เวลายามเสศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกพระพลัษฎานุรักษ์ข้าหลวงเมืองหลวงพระบางฉบับ ๑ บอกพระยาไกรโกษาข้าหลวงรักษาราชการ ๕ หัวเมือง ณ เมืองนครเชียงใหม่ฉบับ ๑ บอกพระภิรมราชาข้าหลวงพระยาวิเสศไชยชาญผู้ว่าราชการเมืองอ่างทองฉบับ ๑ บอกพระยาอุไทยมนตรีผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรีฉบับ ๑ บอกพระยาพิสุทธิธรรมธาดาผู้ว่าราชการเมืองลพบุรีฉบับ ๑ รวม ๕ ฉบับ กราบบังคมทูลพระกรุณา

บอกพระพลัษฎานุรักษ์ข้าหลวง ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙ ว่าเจ้านครหลวงพระบางให้เจ้านายท้าวพระยามาหาฤๅต่อพระพลัษฎานุรักษว่า มีศุภอักษรโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าประเทศราชซึ่งเปนข้าขอบขันธสีมาลงไปเฝ้าทูลลออง, ในการพระราชพิธีโสกันต์นั้น ได้ปฤกษาพร้อมกันว่าเจ้านายผู้ใหญ่ ที่เมืองหลวงพระบางมีแต่เจ้าราชวงษเปนผู้ใหญ่สมควรที่ะลงมาเฝ้าทูลลออง, จึ่งได้ให้เจ้าราชวงษแลเจ้านายบุตรหลานนายไพร่รวม ๖๐ คนลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

บอกพระยาไกรโกษาข้าหลวง ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่า เจ้าอนันต์วรฤทธิเดชเจ้านายบุตรหลานนครเมืองน่านมีหนังสือมาฉบับ ๑ ว่าเจ้าสุริยวงษผู้ว่าที่เจ้าราชวงษ นายน้อยบัวเลียวบุตรขึ้นไปจัดราชการแลชี้แจงต่อเจ้าเมืองเชียงแซงที่เมืองสิงเมืองนัง } เสร็จราชการแล้วๆ นำท้าวพระยากับเครื่องราชบรรณาการของเจ้าเมืองเชียงแซงมาพักอยู่ที่นครเมืองน่าน กำหนดเจ้าสุริยวงษ นายน้อยบัวเลียวกับเจ้านายท้าวพระยาจะได้นำ พระยาราชไมตรี ราชพรหมฦๅ แสมราชวงษ } นายไพร่รวม ๑๒ คน กับเครื่องราชบรรณาการออกจากนครเมืองน่าน ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๙

บอกพระภิรมราชาข้าหลวง พระยาวิเสศไชยชาญผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง ลงวันที่ ๑ มกราคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้กรมการขุนหมื่นข้าหลวงอำเภอกำนันตรวจจับโจรผู้ร้ายและได้ชำระผู้ร้ายเก่า ใหม่ } รับเปนสัตย ความที่ไม่ฉกรรจก็ว่ากล่าวเปรียบเทียบ โจท จำเลย } ทำยอมเลิกแล้วแก่กัน โจรผู้ร้ายแลความที่จะฟ้องร้องกันขึ้นใหม่ก็เบาบาง พระภิรมราชาข้าหลวงขอรับพระราชทานกลับลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แต่นักโทษผู้ร้ายที่รับเปนสัตยนั้น จะแต่งให้กรมการคุมลงมาครั้งหลัง

บอกพระยาอุไทยมนตรีผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี ลงวันที่ ๑ มกราคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่า พระเหี้ยมใจหาญผู้ว่าราชการ หลวงชาญพิไชยยุธปลัด } เมืองอรัญประเทศถึงแก่กรรมมานานแล้ว พระยาอุไทยมนตรีได้ปฤกษากรมการพร้อมกัน เห็นว่าหลวงรุธภักดียกรบัตร หลวงพลบุตรหลวงชาญพิไชยยุทธปลัด ได้รับราชการมานานแลเปนคนสัจซื่อมั่นคง ขอรับพระราชทานหลวงรุธภักดียกรบัตรเปนที่พระเหี้ยมใจหาญ หลวงพลเปนที่หลวงชาญพิไชยยุทธปลัด ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ } สืบไป

บอกพระยาพิสุทธิธรรมธาดาผู้ว่าราชการเมืองลพบุรี ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ร,ศ, ๑๐๙ ว่า เจ้าอธิการเอมวัดยางกับนายขาวนายรุ่ง}มีศรัธาสร้างพระอุโบสถวัดยางหลังหนึ่ง ขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสีมาโดย กว้าง ๖ ยาว ๘ } วา สำหรับพระสงฆ์ทำสังฆกรรมต่อไป

แล้วพระยาศรีสิงหเทพกราบบังคมทูลนำ หลวงรุธภักดี หลวงพล } เมืองอรัญประเทศเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาททูลเกล้า ๆ ถวายขี้ผึ้งหนักหาบหนึ่ง

พระยานรินทร์ราชเสนีกราบบังคมทูลนำพระมหาสิงคิคุณผู้ว่าราชการเมืองกำเนิดนพคุณเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ทูลเกล้า ฯ ถวายผ้าพื้นสีต่างๆ ๔๐ ผืน ผ้าซับอาบ ๒๐ ผืน ผ้าซับปาก ๒๐ ผืน มีพระราชดำรัสแก่ผู้ที่มาเฝ้าทูลลออง, พอสมควร แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ ๓ นาย

ให้ขุนโยธาพิทักษ์ เปนหลวงพิไชยเสนาปลัดทูลฉลองขวากรมพระสุรัศวดีกลาง ถือศักดินา ๘๐๐

ให้ขุนศรีท่อง เปนขุนทองสื่อมีตำแหน่งราชการในกรมท่าซ้ายถือศักดินา ๖๐๐

ให้นายชะแล่มมหาดเล็กเวรศักดิ์ บุตรหลวงพิศณุเสนีเปนขุนรามเภรี ปลัดกรมกลองชะนะซ้ายถือศักดินา ๖๐๐

แล้วดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานแจกเบี้ยหวัดกรมมหาดเล็ก ตั้งแต่จางวางจนมหาดเล็กวิเสศ เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วันนี้มีการประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย

วันที่รัชกาล ๘๐๙๔ วัน ๕ ๑๓ ๑ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาบ่ายวันนี้เจ้าพนักงานจัดการตกแต่งอู่เรือทหารแลในบริเวณนั้นด้วย พระสงฆ์ ๒๐ รูปจะได้สวดมนต์ในการพิธีเบิกอู่เรือที่ฝั่งฟากข้างโน้น

เวลายามเสศเสด็จออกขุนนาง มีพระราชดำรัสแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช ด้วยเรื่องที่จะเปิดอู่เรือนั้นจะทำอย่างไรกันเมื่อเวลาจะเปิดให้น้ำเข้าอู่ กราบบังคมทูลว่า ถ้าเสด็จพระราชดำเนินไปแล้วต้องไขกุญแจเปิดให้น้ำเข้าเต็มอู่แล้ว เจ้าพนักงานจักเอาเรือเข้าพอเปนฤกษ์ แล้วจะได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการต่างๆ ในบริเวณนั้น ก็เปนการตกลงว่าจะเสด็จพระราชดำเนินเวลาบ่ายพรุ่งนี้ แล้วพระยานรินทร์ราชเสนี กราบบังคมทูลนำพระยาเสนานุชิตผู้ว่าราชการ พระเรืองฤทธิรักษาราษฎร์ผู้ช่วยราชการ พระสมบัติยานุรักษ์จางวางคลัง } เมืองตะกั่วป่า ๓ } พระสุนทรวรนารถราชภักดี ผู้รักษาเมืองคิริรัฐนิคม ๑ พระยศภักดียกรบัตร ผู้รักษาเมืองถลาง ๑ พระบริสุทธิโลหภูมินทราธิบดี ผู้ว่าราชการตะกั่วทุ่ง ๑ รวม ๖ นาย เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชดำรัสแก่ผู้ที่มาเฝ้าทูลลออง, พอสมควรแล้ว ดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานแจกเบี้ยหวัดแก่พระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายน่า เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๐๙๕ วัน ๖ ๑๔ ๑ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๙ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้าเจ้าพนักงานจัดสำรับเลี้ยงพระสงฆ์ ๒๐ รูป ที่อู่เรือทหารที่สวดมนต์เวลาวานนี้

เวลาบ่าย ๓ โมงเสศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับพระราชยานแต่เกยพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท พร้อมด้วยข้าราชการ ตำรวจทหาร เสด็จไปประทับเกยที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย แล้วเสด็จประทับเรือพระที่นั่งกราบไปประทับท่าตะพานน่าโรงหล่อฝั่งฟากข้างโน้น พระวรวงษเธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์คอยเฝ้าอยู่ที่นั้น เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งทรงพระราชยานไปประทับพลับพลาข้างอู่เรือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช แลเจ้านายหลายพระองค์ทั้งข้าราชการแลราชทูตกงซุลผู้แทนคอเวอนแมนต์ต่างประเทศทั้งปวง ซึ่งกรมทหารได้เชิญมาในการนี้ ได้เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท มีพระราชดำรัสปราไสครู่หนึ่ง เสด็จไปทรงเปิดน้ำเข้าอู่ทหารทำเพลงแตรสรรญเสิญพระบารมี แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงทำปัสตัน แลหลอมเหล็ก กลึงเหล็ก กลึงปืน แลทำเครื่องเรือกลไฟต่างๆทั่วทุกโรง ซึ่งตั้งอยู่ติดๆ กันในบริเวณนั้น เวลาย่ำค่ำเสด็จประทับโต๊ะเสวยที่ออฟฟิศทหารเรือ พร้อมด้วยเจ้านายแลข้าราชการทั้งผู้แทนคอเวอนแมนต์ต่างประเทศทั้งปวงนั้น เจ้าพนักงานได้จัดเลี้ยงที่ห้องเก็บสาตราวุธ แลมีแตรเป่าเมื่อเวลาเลี้ยงนี้ด้วย

ที่พลับพลาแลออฟฟิศทหารเรือนั้น ได้ตกแต่งผูกใบไม้แลชักธง เวลาค่ำจุดโคมยี่ปุ่น ซึ่งแขวนตามต้นไม้แลโคมหิ้วแขวนตามน่าต่างโรงทหาร ทั้งเรือรบเรือพระที่นั่งทุกลำชักธงจุดโคมไฟสว่างเปนทิวแถว ครั้นเสร็จการเลี้ยงแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรที่อู่ ซึ่งกำลังเปิดให้น้ำเข้าอู่ยังไม่เต็ม เวลาทุ่มเสศเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง เสด็จขึ้นทางประตูพรหมโสภา

เวลา ๒ ทุ่มเสศ เสด็จออกทางประตูพรหมโสภา ประทับรถพระที่นั่งเสด็จออกประตูพิมานไชยศรี วิเสศไชยศรี } เลี้ยวป้อมเผด็จดัษกร ไปประทับวังบุรพาภิรมในการเฉลิมพระชนม์พรรษา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช พระชนม์บรรจบรอบ ๓๒ พรรษา แลได้ทรงจัดตั้งเครื่องโต๊ะจีนมีกอมมิตตีตัดสินผูกผ้าแดงด้วยเปนการครึกครื้น เวลา ๕ ทุ่มเสศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากวังบุรพาภิรม มาประทับรถพระที่นั่งน่าโรงหวยทอดพระเนตรขุนบาลออกหวย แล้วเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง เวลา ๒ ยามเสด็จขึ้นทางประตูพรหมโสภา

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ