เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๕๒

วันที่รัชกาล ๘๑๒๖ วัน ๒ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๔ โมงเสศโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจักรพงษ์ภูวนารถ เสด็จไปเลี้ยงพระสงฆ์ ๒๐ รูป ที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยตามเคย มีพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระปวเรศรวริยาลงกรณ์นำเปนประธาน

เวลาทุ่มเสศเสด็จออกเสวยโต๊ะตรุศจีนตามเคย ที่พระที่จักรกรีมหาปราสาท องค์ด้านตะวันออก พร้อมพระบรมวงษานุวงษ์ แลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ประทับโต๊ะเสวยจนเวลายามเสศ เสวยแล้วเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๘๑๒๗ วัน ๓ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนางตามเคย พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกเมืองอ่างทอง ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๑๐๙ ว่ามีตราขึ้นไปให้เอาเงินค่านาจัดซื้อเข้าจ่ายกอง กรมหมื่นสรรพสิทธิ แลพระยาสุรศักดิ์ พระเจ้าโสณบัณฑิตย์ สิ้นเข้าเปลือก ๗ เกวียน เปนเงิน ๒ ชั่ง ๑๓ ตำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง

ฉบับ ๒ บอกเมืองฉเชิงเซา ลงวันที่ ๖ มกราคม ๑๐๙ ว่าขุนนากรมการกับราษฎรขอที่ผูกพัฒเสมา วัดสว่างสัรธาวาศ ยาว ๑๕ วา กว้าง ๑๐ วา

ฉบับ ๓ บอกเมืองสุพรรณบุรี ลงวันที่ ๖ มกราคม ๑๐ช ว่าเจ้าอธิการพลับวัดโบด ขอที่ผูกพัฒเสมาวัดโบด ยาว ๗ วา ๒ ศอก กว้าง ๕ วา

พระวิจารณอาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๗ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกเมืองสงขลา ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้จัดต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาปี ๑๐๙ ต้นไม้ทองหนักต้นละบาท ๖ ต้นไม้เงินหนักต้นละบาท ๖ ต้น เทียนพนมเล่มละบาทพันเล่ม ผ้าขาวยาว ๕๐ ศอก ๒๐ พับ กระเบื้องปูพื้น ๒๐๐๐ แผ่น เสื่อลวด ๑๕ ลวด มอบให้กรมการคุมเข้ามา

ฉบับ ๒ ว่าเงินส่วยแทนกระดานปี ๑๐๘ ๘๗ ชั่ง ๑๔ ตำลึงบาท ส่วยสัพเหตุ เงิน ๒ ชั่ง ๙ ตำลึง รวมเปนเงิน ๙๐ ชั่ง ๓ ตำลึงบาท พระยาวิเชียรได้เบิกเงินทำทางใหม่ไปเมืองไทรบุรี ๙๐ ชั่ง ขอหักเงินสองรายนี้ไว้

ฉบับ ๓ ว่าได้มอบเลขส่วยไม้กระดานสามสิบสามคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองไชยา ส่งให้พระยาไชยาเอาไว้สำหรับรักษาสายโทรเลขตามท้องตราแล้ว

ฉบับ ๔ ว่าเก็บทองคำส่วยจากตัวเลข ปี ๑๐๘ เปนทองหนัก ๑๗ ตำลึง ๒ สลึง ๑ เฟื้อง มอบให้กรมการคุมลงมาส่ง

ฉบับ ๕ ว่ารอเบิกเงินอีก ๔๑ ซึ่งทำถนนตพานไปเมืองไทรบุรี ที่หักเงินส่วยไว้ครั้งก่อนหาพอไม่

ฉบับ ๖ ว่าเงินค่านาจำนวนปีชวดสัมฤทธิศก ๘๐๐๑ เหรียนปี ๑๐๘ สามพันแปดร้อยเหรียน มอบให้กรมการคุมมาส่ง

ฉบับ ๗ ว่าโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกหนังสือสัญญาที่พระยาตานีกับเมืองรามัญ เมืองยิ่ริง เมืองยลา เมืองหนองจิก เมืองเทพาว่าผู้ใดพาโคกระบือเรือไปมาให้มีคู่มือ พระยาวิเชียรคีรีได้ส่งหนังสือสัญญาเข้ามากรุงเทพแล้ว

จึงดำรัสสั่งให้พระยามนตรีตรวจหนังสือสัญญาว่าข้อใดที่ไม่เข้าในกฎหมายก็ให้ดัดแปลงเสีย แล้วมีท้องตราส่งนำคืนออกไป จึ่งรับสั่งว่าครั้งเสด็จพระราชดำเนินเมืองตานี พระยาตานีก็มากราบทูลว่าเมืองหนองจิกไม่ประพฤติตามหนังสือสัญญาเพราะเปนการสัญญากันเอาเองหาใช่ท้องตราไม่

แล้วพระยาศรีสิงหเทพ นำพระยาศรีธรรมศุกราชผู้ว่าราชการเมือง ๑ หลวงอภัยภูธรยกรบัตร ๑ เมืองสุโขไทย ๒ พระยาสุจริตรักษาผู้ว่าราชการเมืองตาก ๑ หลวงรักษาบุรีผู้ว่าที่พระเชียงทอง ๑ พระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองอุไทยธานี ๑ พระแม่กลองภูผาผู้ว่าราชการเมืองแม่กลอง ๑ กราบถวายบังคมลาขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง มีพระบรมราโชวาทแลพระบรมราชโองการด้วยตามสมควร เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๑๒๘ วัน ๔ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนางตามเคย พระศรีเสนานำศุภอักษรเมืองนครเชียงใหม่ขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้จัดให้เจ้าราชวงษ์กับนายแก้วบุตรพระเจ้านครเชียงใหม่ คุมแหวนทับทิมวง ๑ กล่องเงินใหญ่สลักโปร่งหนัก ๑๘๙ รูเปีย ลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๒ ขอนายแก้วเปนที่เจ้าราชภาคินัยเมืองนครเชียงใหม่

พระวิจารณ์อาวุธนำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองหลังสวนลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๑๐๙ ขออินสุลิคเตอร์ออกไปซ่อมแซมโรงสเตอร์แซนที่เกิดลมพยุพัดหัก

ฉบับ ๒ ว่าได้เก็บภาษีขาเข้าออก ตั้งแต่ปีรกาสัปตศก ถึงปี ๑๐๘ เงิน ๑๕๘ บาท ได้มอบให้กรมการคุมเข้ามาส่ง

ฉบับ ๓ บอกเมืองกาญจนบุรี ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๑๐๙ ว่าพระพลสงครามจางวางด่าน ขึ้นไปตั้งอยู่ด่านมขามเตี้ย วันที่ ๓๐ ธันวาคม มีอ้ายคนร้ายเอาปืนยิงพระพลถึงแก่กรรม แล้วพระยาศรีสิงหเทพ นำเจ้าราชวงษ์ ๑ นายแก้วบุตรพระเจ้าเชียงใหม่ ๑ นายน้อยบัววงษ์ ๑ เมืองนครเชียงใหม่เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท พระเจ้านครเชียงใหม่จัดได้เงิน ๕๓๓๓ รูเปีย เจ้าราชวงษ์จัดได้เงิน ๒๐๐๐ รูเปีย สมโภชโสกันสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีพระราชดำรัสไต่ถามถึงพระเจ้านครเชียงใหม่ แลเจ้าราชวงษ์ตามสมควร

แล้วนำเจ้าอุปราชเมืองนครลำพูน ๑ พระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ๑ พระโบราณบุรานุรักษ์ปลัดขวากรุงเก่า ๑ กราบถวายบังคมลาขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง

แล้วพระยานรินทร์ราชเสนี นำพระยาอภัยบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองพัทลุง ๑ พระยารัตนเสรฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง ๑ พระยาอัศฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี ๑ พระยาจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน ๑ พระยารัษฎานุประดิฐ ผู้ว่าราชการเมืองตรัง ๑ พระเรืองฤทธิรักษาราษฎ์ ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า ๑ จีนคอยุโซมหาดเล็ก ๑ จีนลิมง่าน ล่ามเสมียนอังกฤษ ๑ พระมหาสิงคิคุณ ผู้ว่าราชการเมืองกำเนิดนพคุณ ๑ กราบถวายบังคมลาออกไปรักษาราชการบ้านเมือง มีพระบรมราโชวาทแลพระบรมราชโองการตามสมควร

แล้วนำหลวงอาวุธอัคนีกรมพระกระลาโหม กราบถวายบังคมลาออกไปเร่งเงินส่วยเมืองชุมพร

แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร กับข้าราชการ ๒ นาย ให้หมื่นแสดงกลอนวินิจ เปนขุนวิจารณ์วรรณมาลา ปลัดกรมขวากรมอักษรพิมพ์การ ถือศักดิ์นา ๖๐๐

เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้นจากที่ประทับออกขุนนาง แล้วเสด็จประทับที่องค์ด่านตวันออก ด้วยเจ้าพนักงานจัดพระสงฆ์สามเณร รวม ๑๐ รูป มีพระสุเมธาจาริย์นำเปนประธาน ทรงถวายไตรแลเครื่องบริกขาร จัดปัดจัยสามชั่งแก่พระอริยมุนี ๑ พระปลัด ๑ พระอันดับ ๒ สามเณร ๒ ที่จะขึ้นไปจำพรรษาอยู่เมืองอุบลราชธานี แล้วถวายไตรเครื่องบริกขารกับจัตุปัจจัย ๒ ชั่ง แก่พระสงฆ์รามัญซึ่งมาจากเมืองมรแมน แล้วพระสงฆ์ก็ถวายอดิเรก ถวายพระพรลาแล้วเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๘๑๒๙ วัน ๕ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๕ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระพิศณุเทพ ข้าหลวงที่สองประจำหัวเมืองฝ่ายลาวตวันออก ลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๑๐๙ ว่าได้ทราบความตามท้องตราที่เจ้านครจำปาศักดิ์ ว่าจะตั้งการพิธีโสกันต์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้พร้อมกันจัดเงิน ๙ ชั่งมอบให้พระยามหาอำมาตย์เข้ามาสมโพชด้วยแล้ว

ฉบับ ๒ บอกพระพิเรนทรเทพข้าหลวงประจำหัวเมืองลาวกลาง ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๑๐๙ ขอหีบศิลาน่าเพลิงเผาศพพระฤทธิฤๅไชย

ฉบับ ๓ ว่าในแขวงเมืองนครราชสีห์มาฝนตกน้อยหาทั่วกันไม่ ข้าหลวงขอรับพระราชทานพระคันทาธิราชวงษ์หนึ่ง สำหรับจะได้ตั้งพิธีฝนต่อไป

ฉบับ ๔ ว่าได้แต่งให้พระสุวรรณ์ภักดีกรมการ มาขอเบิกปัศตันเรนรี ๓๐๐ ปัศตันสำหรับรักษาบ้านเมือง

ฉบับ ๕ บอกเมืองสุพรรณ์บุรี ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๑๐๙ ว่าเจ้าอธิการปั้นวัดจันกับราษฎร ข้อที่ผูกพัฒเสมาวัดจันทาราม กว้าง ๘ วายาว ๑๖

จึ่งดำรัสสั่งกรมมหาดไทยกระลาโหมว่า ตั้งแต่คราวนี้ต่อไปซึ่งจะมีท้องตราออกไปให้หาเจ้าเมืองกรมการ ฤๅเมืองประเทศราชก็ดีในการสิ่งอันใด ให้มีไปถึงข้าหลวงฉบับ ๑ เพราะข้าหลวงในทุกวันนี้ก็ประจำอยู่หลายเมือง ถ้าจะมีท้องตราขึ้นไปหาแต่เจ้าเมืองกรมการเท่านั้น ถ้าข้าหลวงอยากจะรู้ความก็ต้องไปขอดูที่เจ้าเมืองข้าหลวงกลับรู้ความน้อยกว่าเจ้าเมือง เหมือนบอกตอบเงินส่วยก็เหมือนกัน ให้บอกถึงเจ้าเมืองฉบับหนึ่ง ถึงข้าหลวงเก็บไว้เปนกลางฉบับหนึ่ง การเรื่องนี้ก็ได้ดำรัสสั่งไว้นานแล้ว พากันไม่เอื้อเฟื้อครั้งนี้ให้มหาดไทยกระลาโหมจำไว้

แล้วพระยานรินทรราชเสนี นำพระปริยันตเกษตรานุรักษ์ ผู้ว่าราชการปเหลียน ๑ พระพิไชยชะนะสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองศรีสวัสดิ ๑ กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง

แล้วพระยาศรีสิงหเทพ นำพระยาสุรบดินทรสุรินทฦๅไชย ผู้ว่าราชการเมืองไชยนาท ๑ พระศรีพนมมาศ เจ้าเมืองทุ่งยั้งขึ้นเมืองพิไชย ๑ กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานถาดหมากคนโทเงินแลผ้าพรรณนุ่งห่ม แก่พระศรีพนมมาศ เจ้าเมืองทุ่งยั้งตามสมควร เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๑๓๐ วัน ๖ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ โมงเสศโปรดเกล้า ฯ พระเจ้าบรมวงษเธอ พระองค์เจ้าหญิงแม้นเขียนเสด็จไปเลี้ยงพระสงฆ์ ๑๐๙ รูป ที่วัดอรุณราชวราราม มีพระราชมุนีนำเปนประธาน รับพระราชทานฉันแล้ว ถวายผ้าจำพรรษาของหลวง ๒๐ รูปตามเคย

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระยานรินทรราชเสนี นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๕ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาศรีสรราชภักดี ข้าหลวงหัวเมืองฝ่ายทเลตวันตก ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้พร้อมกับจ่าห้าวยุทธการ เร่งเงินภาษีอากรเมืองถลาง ๑๕๙ ชั่ง ๓๙ บาท ๒๔ สลึง มอบให้จ่าห้าวยุทธการกุมเข้ามาส่ง

ฉบับ ๒ ว่าพระยาเสนานุชิต ได้จัดเงินภาษีอากรเมืองตะกั่วป่า ปี ๑๐๘ ฝากแบงก์เมืองปินัง ๓๐๐๐ เหรียญแล้ว

ฉบับ ๓ ว่าพระยารัตนเสรฐีได้จัดเงินภาษีอากรเมืองระนองจำนวนปีชวดสัมฤทธิศก ๓๐๐๐ เหรียญฝากแบงก์เมืองปินังแล้ว

ฉบับ ๔ ว่าพระยารัตนเสรฐ ได้จัดเงินภาษี ๕ อย่างเมืองระนองจำนวนปีชวดสัมฤทธิศก ๓๐๐๐ เหรียญ ปี ๑๐๘ สี่หมื่นแปดพันเหรียญ รวมเปนเงิน ๗๘๐๐ เหรียญฝากแบงก์เมืองปินังแล้ว

ฉบับ ๕ ว่าผู้รักษาเมืองคีรีรัตนนิคม ได้จัดเงินภาษีอากร ปี ๑๐๙ หกพันเจดสิบสองเหรียญ ฝากแบงเมืองปีนังแล้ว

แล้วพระยาศรีสิงหเทพ หลวงมนีรจนาเจ้าภาษีบ่อพลอยเมืองพระตะบองกราบถวายบังคมลาขึ้นไปบ้านเมือง จึ่งดำรัสสั่งพระยาศรีสิงหเทพว่าให้เบิกโต๊ะถมกาถม พระราชทานให้แก่หลวงมนีรจนา แล้วเสด็จขึ้น

วันนี้มีประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย

วันที่รัชกาล ๘๑๓๑ วัน ๗ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๔ โมงเสศโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าราชวรวงษเธอ พระองค์เจ้าหญิงบุตรีเสด็จไปเลี้ยงพระสงฆ์ ๕๒ รูป วัดราชโอรสาราม มีพระปรากรมมุนีนำเปนประธาน รับพระราชทานฉันแล้ว ถวายผ้าจำพรรษาของหลวง ๑๐ รูปตามเคย

เวลาบ่าย ๕ โมงเสศเสด็จทรงรถพระที่นั่ง ไปตามถนนถึงสระปทุมวัน เวลาทุ่มเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จขึ้นจากประชุมปฤกษาราชการข้างในแล้วเสด็จออกขุนนางตามเคย พระยานรินทรราชเสนีนำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองตรัง ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๑๐๙ ว่าได้จัดเงินภาษีอากร ปี ๑๐๙ งวดที่ ๓ เงิน ๑๖๓๒๐ เหรียญ ฝากแบงก์เมืองปีนังแล้ว

ฉบับ ๒ ว่าขอปฤกษาโทษอ้ายผู้ร้าย ๗ เรื่องปล้นแลฆ่ากันตาย

จึ่งดำรัสสั่งให้พระยานรินทรส่งไปให้ลูกขุนปฤกษาโทษ แล้วโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรกับข้าราชการ ๒ นาย ให้หลวงพิพิธสุนทรในกรมมหาดไทยเปนพระเกรียงไกรกระบวนยุทธปลัดฝ่ายไทยเมืองฉเชิงเซา ถือศักดิ์ ๘๐๐

ให้หลวงบันเทาทุกข์ราษฎ์ เมืองฉะเชิงเซาเปนหลวงบุรีพิทักษ์ยกรบัตร เมืองฉเชิงเซา ถือศักดินา ๖๐๐ เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๑๓๒ วัน ๑ ๒ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๕ โมงเสศโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช เสด็จไปเลี้ยงพระสงฆ์ ๒๗ รูป สามเณร ๘ รูป ที่วัดราชประดิฐ มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจาริย์นำเปนประธาน รับพระราชทานฉันแล้ว ถวายผ้าจำพรรษาของหลวงพระ ๕ เณร ๘ รวม ๑๓ รูป

เวลา ๒ ทุ่มเสศเสด็จออกแขกเมืองที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระยาศรีสิงหเทพ นำพระยาอุตรการเมืองนครลำพูน ซึ่งคุมต้นไม้ทองเงิน } เครื่องราชบรรณาการลงมากราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานถาดหมากคนโทเงินแลผ้าพรรณนุ่งห่มตามสมควร แล้วมีพระราชปฏิสันฐานแลอวยพรไปถึงเจ้านครลำพูน แล้วเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๘๑๓๓ วัน ๒ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้า ๔ โมงเสศเสด็จด้วยกระบวนข้างใน ไปประทับวัดราชบพิธ ทรงถวายอาหารบิณฑบาตรพระสงฆ์ ๒๙ รูป สามเณร ๑๕ รูป รวม ๔๔ รูป พระวรวงษ์เธอพระองค์อรุณนิภาคุณากรนำเปนประธาน รับพระราชทานฉันแล้วถวายผ้าจำพรรษาของหลวง พระสงฆ์ ๕ สามเณร ๑๕ พระสงฆ์สัพพีแล้ว เวลาเที่ยงเสศเสด็จกลับ.

วันที่รัชกาล ๘๑๓๔ วัน ๓ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๖ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระภักดีรณรงค์ ข้าหลวงประจำหัวเมืองฝ่ายตวันออกเฉียงเหนือ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้จัดให้ท้าวพระศรี ผู้ว่าที่พระอมรอำนาจกับท้าวพศรี จัดได้เงินหนึ่งชั่งลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แลขอท้าวพศรีเปนที่พระอมรอำนาจ ผู้ว่าราชการเมืองอำนาจเจริญ

ฉบับ ๒ ว่าอ้ายลุม จ้างอ้ายจันทมาตเปนเงินสามตำลึง เอาปืนยิงท้าวบุญธิสารตาย เอาตัวมาถามให้การสารภาพรับเปนสัตย์

ฉบับ ๓ ว่าพระยาวิเสศภักดีเมืองศีศะเกษ แต่งให้พระสุนทรบริรักษ์ ผู้ว่าที่พระพรหมภักดียกรบัตรกับกรมการจัดได้เงินตรา ๖ ชั่งลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กับขอพระสุนทรบริรักษ์ เปนที่พระพรหมภักดียกรบัตรเมืองศีศะเกษ

ฉบับ ๔ บอกราชวงษ์ท้าวเพี้ยเมืองภูแล่นช้าง ว่าได้จัดเงินแทนส่วยผลเร่วส่งกับพระยาราชเสนา ๙ จำนวน เปนเงิน ๖๒ ชั่ง ๑๑ ตำลึง กึ่งกับราชวงษ ราชบุตร } จัดได้เงิน ๑ ชั่ง มอบให้ราชบุตรท้าวขัติย์คุมลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๕ บอกเมืองพิไชย ลงวันที่ ๔ มกราคม ๑๐๙ ว่าพระศรีอรรคฮาดผู้ว่าราชการเมืองเชียงคาน ป่วยลงมาหาได้ไม่ มอบเงินสามชั่งให้กับพระยาพิไชย ๆ แต่งให้หลวงอินทรมนตรีคุมเงินสามชั่งลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๖ บอกอุปฮาดผู้รักษาเมืองชนบท ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๑๐๙ ว่าได้พร้อมกันจัดเงินสามชั่ง มอบให้ท้าวขัติยคุมลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พระวิจารณอาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหม ขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ เมืองระนอง ลงวันที่ ๖ มกราคม ๑๐๙ ว่ากอมมิตชันเนอร์เมืองมลิวัน คุมตัวอ้ายริคผู้ร้ายมาส่ง ว่าปล้นเรือนขุนพรหมชูบ้านขุนกระทิงแขวงเมืองชุมพร เอาตัวมาถามให้การหารับไม่

ฉบับ ๒ ว่าได้รับหนังสือของกอมมิตชันเนอร์เมืองมลิวัน ส่งตัวผู้ร้าย ๓ คน เอาตัวมาถามให้การหารับไม่

จึ่งดำรัสถามพระวิจารณ์อาวุธ ผู้ร่ายที่ส่งเข้ามานั้น พระยารัตนเสรฐีเข้ามากรุงเทพ แล้วฤๅยังอยู่ที่เมืองระนอง พระวิจารณ์กราบบังคมทูลว่าเข้ามาอยู่กรุงเทพแล้ว

จึ่งพระศรีเสนา นำท้าวพรศรีว่าที่พระอมรอำนาจเมืองอำนาทเจริญ ๑ พระสุนทรบริรักษ์ ว่าที่พระพรหมภักดียกรบัตรเมืองศีศะเกษ ๑ ราชบุตร ๑ ท้าวขัติย์ ๑ เมืองชนบท ๒ รวม ๖ นายเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท จึ่งมีพระราชดำรัสสั่งให้พระยาศรี สั่งกรมพระอาลักษณ์ ทำสัญญาบัตรพระราชทานให้ตามที่บอกขอลงมา

แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรทหารนาย ๑ ให้พระยาสุเรนทรราชเสนา เปนนายพันตรี แล้วพระราชทานสัญญาบัตรต่อไป ๗ นาย

๑ ให้นายทัดมหาดเล็กเวรเดช บุตรพระวรรณ์การโกศล เปนขุนศาลแพทย์ ปลัดกรมหมอผี ถือศักดิ์นา ๔๐๐

๒ ให้พระสุริย จางวางเมืองแพร่ เปนพระยาราชวงษ์เมืองแพร่

๓ ให้นายน้อยบุญศรีเมืองแพร่ เปนพระยาราชบุตรเมืองแพร่

๔ ให้นายน้อยมหาอินทรเมืองแพร่ เปนพระสุริยจางวางเมืองแพร่

๕ ให้นายน้อยเทพ เปนพระทุติยรัฐบุรินทร เจ้าเมืองสวงขึ้นเมืองแพร่

๖ ให้หลวงบำรุงกรมการเมืองสวรรคโลกย์ เปนพระเพชรสงคราม พระพลเมืองสวรรคโลกย์ ถือศักดิ์นา ๑๐๐๐

๗ ให้เจ้าสุริยวงษ์เมืองน่าน เปนเจ้าราชวงษ์เมืองน่าน

๘ ให้หลวงต่างตาราษฎ์มหาดไทย เปนพระศิริสมารังคบุรี ผู้ว่าราชการเมืองศรีสำโรง ขึ้นเมืองอุไทยธานี ถือศักดิ์นา ๑๐๐๐

แล้วพระยาศรีนำ นายพันตรี พระยาสุเรนทรราชเสนา ๑ นายร้อยเอกนายเจ๊ก ๑ นายร้อยตรี นายจำปา ๑ นายพันตรี ขุนศาลชาญพลไกร ๑ นายร้อยตรี นายพุด ๑ นายร้อยเอก นายเชย ๑ นายร้อยตรี นายปลั่ง ๑ นายร้อยเอก นายบุตร ๑ นายร้อยตรี นายร้อย ๑ กราบถวายบังคมลาออกไปจับโจรผู้ร้ายตามท้องตรา แลคำสั่งพระยาสุรศักดิมนตรี

จึ่งดำรัสด้วยพระยาสุเรนทรราชเสนาว่า ให้ออกไปรับราชการตัวใหม่

แล้วพระยาศรีนำ พระยาวิสุทธิธรรมธาดา ผู้ว่าราชการเมืองลพบุรี ๑ พระวิชิตภักดี ผู้ว่าราชการเมือง ๑ พระกำแหงสงครามปลัด ๑ พระทิพยรักษายกรบัตร ๑ เมืองสวรรค์โลกย์ ๓ พระตรอนตรีศิลป์ ผู้ว่าราชการเมืองตรวน ๑ กราบถวายบังคมลาขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง แล้วเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๑๓๕ วัน ๔ ๑๐ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนางตามเคย พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาวิเสศฤๅไชย พร้อมด้วยพระยาพิพิธโพไคยข้าหลวงออกไปชำระความยิงกันตายรายจับน้ำสุราเถื่อนที่โรงสีไฟ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๑๐๙ ว่าจีนหลงจู๊เขียวนำหลทหาร ๑๑ คนไปจับน้ำสุราที่จีนติดโป๊จีนตั้วว่าต้มกลั่นน้ำสุราเถื่อน จีนต่อสู้พลทหารยิงจีนตายคนหนึ่ง แต่จีนติดโป๊หามีเครื่องมือต้มกลั่นน้ำสุราไม่ ข้าหลวงได้ปล่อยตัวไปแล้ว แต่จีนตั้วนั้นมีเครื่องมือต้มกลั่นแล้วมีน้ำสุราเถื่อน จึ่งเอาตัวส่งเข้ามากรุงเทพแล้ว

ฉบับ ๒ ว่าพระยาพิพิธ พระยาวิเสศ พระยาสมุทบุราณุรักษ์ ได้พร้อมกันปฤกษาทำหนังสือสัญญาสำหรับที่จะตรวจจับน้ำสุรายาฝิ่น ๑๓ ข้อ ข้อ ๑ ว่าเจ้าภาษีสุรายาฝิ่น } จะไปจับแห่งใด ให้มีกรมการผู้ใหญ่รู้จักผิดชอบ } ไปด้วย ข้อ ๒ ว่ากรมการที่จะไปได้ใน ๔ คน คือหลวงเมืองหลวงวังขุนจ่าวังขุนวัง ข้อ ๓ ว่าจะไปจับที่แห่งใดให้กรมการตรวจตราหลงจู๊จีนเตงแลผู้รับสินบน อย่าให้เอาสุรายาฝิ่น } เถื่อนเข้าไปใส่ ข้อ ๔ ว่าจะไปจับที่แห่งใดให้บอกกับเจ้าของโรงฤๅผู้จัดการเสียก่อน ข้อ ๕ ห้ามมิให้ไปจับในเวลากลางคืน ข้อ ๖ ห้ามมิให้เจ้าภาษีผู้นำจับถือเครื่องสาตราวุธ ข้อ ๗ ห้ามมิให้เจ้าภาษีทุบตีคนที่ต้องจับ ข้อ ๘ ว่าจะไปจับที่แห่งใด ให้บอกเจ้าของโรงฤๅผู้จัดการแล้วอย่าให้หน่วงช้าเกิน ๑๕ มินิต ข้อ ๙ ว่าจะไปตรวจจับที่แห่งใดต้องให้กรมการตรวจผู้นำจับต่อหน้าเจ้าของโรง ข้อ ๑๐ ว่าเจ้าของโรงฤๅผู้จัดการหน่วงให้ช้าเกิน ๑๕ มินิต ให้กลับมาแจ้งความกับผู้ว่าราชการเมือง ข้อ ๑๑ ว่าเจ้าภาษีนำกรมการไปจับสุรายาฝิ่น } เถื่อนที่แห่งใด ห้ามมิให้เจ้าของโรงฤๅผู้จัดการแย่งชิงของกลางแลผู้ที่ต้องจับไว้ ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ทหารแลผู้ที่ไปตรวจจับใช้อาวุธปืนเว้นแต่ต่อสู้ ข้อ ๑๓ ว่าเจ้าเมืองกรมการแลเจ้าภาษีหลงจู๊ เจ้าของโรงฤๅผู้จัดการไม่ทำตามข้อบังคับต้องมีโทษตามพระราชกำหนดกฎหมาย

จึ่งดำรัสด้วยพระยาพิพิธโภไคยสวรรย์ว่า ข้อบังคับที่ทำไว้นี้กลัวจะไม่สำเหร็จ เพราะเจ้าภาษีแลเจ้าของโรงฤๅผู้จัดการจะหน่วงกันไว้ช้าๆ เรวๆ เพราะมีวิธีที่จะทำได้หลายอย่าง พระยาพิพิธกราบบังคมทูลว่าโรงใดผู้ใดจัดต้องเขียนหนังสือปิดไว้น่าโรงเปนสำคัญ จึ่งดำรัสสั่งว่าให้ลองทำไปดูก่อน

แล้วพระวิจารณอาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๓ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองไชยา ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๑๐๙ ส่งเงินค่านาจำนวนปีชวด ๓๐ ปี ๑๐๘ ๕๐ ชั่ง รวมเปนเงิน ๘๐ ชั่ง ฉบับ ๒ บอกเมืองราชบุรี ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๑๐๙ ส่งเงินค่านาจำนวนปีชวด ๑๐๙ ชั่ง จำนวนปี ๑๐๘ เงิน ๑๐๕๐ ชั่ง ฉบับ ๓ บอกเมืองชุมพร ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๑๐๙ ส่งเงินค่านา จำนวนปีชวด ๑๐ ชั่ง จำนวนปี ๑๐๘ เงิน ๑๐ ชั่ง

แล้วพระยาศรีสิงหเทพ นำพระยาวิเสศฤๅไชยผู้ว่าราชการ ๑ พระเกรียงไกรกระบวนยุทธปลัด ๑ หลวงสุนทรพิทักษ์ยกรบัตร ๑ เมืองฉเชิงเซา ๓ พระยาอุไทยมนตรีผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี ๑ พระภักดีเดชเจ้าเมืองจันตะคาม ๑ พระกำแหงมหิมาเจ้าเมืองกระบิลบุรี ๑ หลวงลำเลียงนิกรปลัดเมืองวัฒนานคร ๑ พระเหี้ยมใจหาญเจ้าเมือง ๑ หลวงชำนาญวิไชยยุทธปลัด ๑ เมืองอรัญประเทศ ๒ พระยาพนมพินิจเจ้าเมือง ๑ พระประสิทธิสมบัติปลัด ๑ เมืองพนมศก ๒ พระพิทักษ์บุรีทิศเจ้าเมืองศรีโสภณ ๑ พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม ๑ พระสุนทรพิพิธเจ้าเมืองโกสุมพิไสย ขึ้นเมืองมหาสารคาม ๑ พระไตรสิงหนาทเจ้าเมืองภูเขียว ๑ รวม ๑๕ นายกราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานถาดหมากคนโทเงินก้าไหล่ทอง แลผ้าพรรณนุ่งห่มแก่พระเกรียงไกรกระบวนยุทธปลัดเมืองฉเชิงเซา ๑ พระพิทักษบุรีทิศเจ้าศรีโสภณ ๑ พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม ๑ แล้วมีพระบรมราโชวาทแลบรมราชโองการด้วยตามสมควร แล้วพระยาพิพัฒโกษา นำพระยาวุฒิการบดี ๑ พระยาศรีสิงหเทพ ๑ พระชลยุทธโยธิน ๑ หลวงสรยุทธโยธาหาร ๑ หลวงธนผลพิทักษ์ ๑ นายร้อยโทนายมลิ ๑ รวม ๖ นายกราบถวายบังคมลาตามเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เชิญลายพระราชหัดเลขาออกไปพระราชทาน คราวปรินสประเทศรัศเซียที่เมืองสิงคโปร์ จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำสังข์แลทรงเจิม กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ

แล้วดำรัสสั่งพระยามหาอำมาตยาธิบดี ว่าพระยาศรีสิงหเทพไปราชการใครที่จะเปนผู้ใหญ่มานั่งที่ศาลาเวรไม่มี ให้พระยามหาอำมาตยมานั่งกำกับที่ศาลาแทนพระยาศรี แล้วทรงดำรัสต่อไปว่าราชการในกรมมหาดไทยก็มาก ผู้ที่จะจำราชการไว้ได้ทุกบ้านเมืองนั้นก็ยาก อยากจะให้พระยามหาอำมาตย์แยกการเปนแผนกลาว เพราะพระยามหาอำมาตย์เคยจัดการในฝ่ายลาว จึ่งดำรัสถามว่าจะให้แต่งศุภอักษรไปเมืองเชียงแขง เดิมคราวต้นเหมือนอย่างเมืองน่านแต่แล้วให้แยกกันไปคนละความจะทำได้ฤๅไม่ได้ พระยามหาอำมาตย์กราบบังคมทูลว่าทำได้ แล้วดำรัสสรรเสริญพระยาศรีว่า การที่จะมีศุภอักษรไปถึงเมืองเชียงแขงนั้นทรงลืมแล้ว พระยาศรีเอื้อเฟื้อทำหนังสือกราบบังคมทูลขึ้นนั้นจัดเอาเปนความดีได้ แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรกับข้าราชการ ๓ นาย

ให้ขุนสกลมณเฑียรปลัดกรมซ้าย เปนหลวงเสพสุนทรเจ้ากรมวังนอกซ้ายฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดิ์นา ๑๕๐๐

ให้พระยศภักดียกรบัตรเมืองภูเก็จ เปนพระยาณรงค์เรืองฤทธิสิทธิสงครามนิคมตามบริรักษ์สยามพิทักษ์พักดี ผู้ว่าราชการเมืองถลางขึ้นเมืองภูเก็จ ถือศักดิ์นา ๓๐๐๐

ให้หลวงนากรมการเมืองภูเก็จ เปนพระยศภักดียกรบัตรเมืองภูเก็จ ถือศักดิ์นา ๖๐๐

เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

มีการประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย

เวลา ๑๐ ทุ่มเสศ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แลผู้ที่กราบถวายบังคมลาตามเสด็จด้วยมาลงเรือไฟมกุฎราชกุมาร ที่ท่าตำหนักแพพร้อมกัน

วันที่รัชกาล ๘๑๓๖ วัน ๕ ๑๑ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

ไม่เสด็จออกขุนนางมีแต่การประชุมปกษาราชการข้างใน.

วันที่รัชกาล ๘๑๓๗ วัน ๖ ๑๒ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้พระสงฆ์จะได้เจริญพระพุทธมนต์ ๑๐ รูป ที่ตำหนักเจ้าจอมมารดาแส มีพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ นำเปนประธานในการสมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงซึ่งประสูตรในที่ ๑๗ มกราคม ๑๐๙

วันนี้มีการประชุมปฤกษาราชการข้างในไม่เสด็จออกขุนนาง.

วันที่รัชกาล ๘๑๓๘ วัน ๗ ๑๓ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลาเช้าเจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป ที่เจริญพระพุทธมนต์ในเวลาวานนี้ มารับพระราชทานฉันแล้ว ถวายของเครื่องไทยทานตามสมควร

เวลา ๒ ทุ่มเสศเสด็จลงที่ตำหนักเจ้าจอมมารดาแส พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่เข้าไปเฝ้าในที่สมโภชด้วย เจ้าพนักงานแต่งพระองค์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงตามขัติยราชประเพณีเสร็จแล้ว แลการสมโภชก็เหมือนกันกับพระเจ้าลูกเธอที่กล่าวมาแล้ว แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระนามพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าหญิงทิพยาลังการ เวลายามเสศเสร็จการสมโภชเสด็จขึ้น

วันนี้มีการประชุมปฤกษาราชการข้างในไม่เสด็จออกขุนนาง.

วันที่รัชกาล ๘๑๓๙ วัน ๑ ๑๔ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองฉเชิงเซา ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๑๐๙ ว่าวันที่ ๑๑ มกราคม เวลาบ่าย ๓ โมงเสศมีอ้ายผู้ร้ายลาว ตองซู เขมร ไทย ประมาณ ๓๖ คน ปล้นเรือนจีน หวังไล จีนจู จีนหมง จีนคุยลง ตำบลบ้านเกาะขนุน แขวงเมืองสนามไชยเขตร อ้ายผู้ร้ายยิง จีนหัว จีนคุยลง } ตาย เก็บเอาทรัพย์สิ่งของไปรวมเปนราคา ๖๐ ชั่ง แล้วยิงขุนด่านหมื่นด่านตาย ปลัดเมืองสนามไชยเขตรได้แต่งกรมการออกไปจับอ้ายผู้ร้าย ได้ตัวอ้ายอ่ำผู้ร้ายมาคนหนึ่งส่งมาเมืองฉเชิงเซา เอาตัวอ้ายอ่ำมาถามให้การสารภาพเปนสัตย์

ฉบับ ๒ บอกพระยาสมุทบุรานุรักษ์ ข้าหลวงเมืองฉเชิงเซา ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๑๐๙ ว่าตัวอ้ายผู้ร้ายปล้นจีนมีชื่อตามบอกเมืองฉเชิงเซา ได้แต่งให้หลวงภักดีกรมการคุมไพร่ออกสืบจับยังหาได้ตัวไม่

พระวิจารณอาวุธนำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล

ฉบับ ๑ บอกเมืองราชบุรี ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๑๐๙ ว่าวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ เวลา ๒ ยามเสศ มีอ้ายผู้ร้าย ๒๐ คนปล้นเรือนจีนกุยตำบลบ้านปากบาง อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงจีนกุยตาย เก็บเอาทรัพย์สิ่งของกับเงินตรา ๑ ชั่ง ๑ ตำลึง ๒ บาท แล้วหนีไปยังสืบจับตัวหาได้ไม่

แล้วดำรัสถามพระยาไทรบุรีว่า ขึ้นไปดูเกาะบางปอินแล้วพักอยู่กี่วัน พระยานรินทรกราบบังคมทูลว่าไปพักอยู่สองคืน แล้วดำรัสถามต่อไปว่าได้ไปเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ์แล้วฤๅยัง พระยานรินทรกราบบังคมทูลว่า พระยาไทรบุรียังหาได้ไปเฝ้าไม่ แต่ได้ทำแผนที่ส่งไปถวายแล้ว

แล้วพระยาศรีเสนา นำพระพิไชยสงครามปลัดเมืองสูตนิคม กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการเมือง

แล้วเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๑๔๐ วัน ๒ ๑๕ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันนี้เปนวันตั้งการพระราชพิธีจัตุรงค์สันนิบาตมาฆะบูชา ที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาศดารามตามเคย เวลาเช้า ๔ โมงเสศโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าชายอาภาภรณ์เกียรติวงษ์ เสด็จไปเลี้ยงพระสงฆ์ราชาคณถานานุกรม ๓๐ รูป มีหม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดานำเปนประธาน

เวลายามเสศโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจักรพงษ์ภูวนารถ เสด็จไปจุดเทียนเครื่องนมัสการพระสงฆ์ ๓๐ รูป จะได้เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พระกิติสารมุนี ถวายเทศนาจาตุรงค์สันนิบาตตามเคย.

วันที่รัชกาล ๘๑๔๑ วัน ๓ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๗ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระภักดีณรงค์ ข้าหลวงที่ ๒ ประจำหัวเมืองฝ่ายตวันออกเฉียงเหนือ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้ท้าวราชสัมพันธวงษ์ผู้ช่วยเมืองเขมราช จัดเงิน ๑ ชั่ง ลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กับขอท้าวราชสัมพันธวงษ์ เปนที่ราชวงษ์เมืองเขมราช

ฉบับ ๒ บอกเมืองขรแก่น ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้ท้าวสุริยวงษ์ ผู้ว่าที่ราชวงษ์ คุมเงิน ๖ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๓ บอกจมื่นราชามาตย์ ข้าหลวงเมืองนครสวรรค์ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ ๑๐๙ ว่าจีนบั่นไหลอุทธรณ์กล่าวโทษพระยานครสวรรค์กรมการว่าลงเอาเงินแล้วปล่อยตัวอ้ายผู้ร้ายไป ได้เอาตัวพระยานครสวรรค์กรมการมาถามให้การไม่รับจึ่งบอกส่งลงมากรุงเทพ

ฉบับ ๔ ว่ารายผู้ร้ายปล้นหลวงพิจารณาซึ่งอ้ายเพิ่มพรหมมาชำระค้างไว้ ได้เอาตัวอ้ายมีชื่อมาสอบถามให้การสารภาพรับเปนสัตย์ ได้เร่งของกลางส่งให้เจ้าของไป แต่ตัวอ้ายผู้ร้ายนั้นได้ส่งลงมากรุงเทพ

ฉบับ ๕ ว่าได้เอาตัวอ้ายผู้ร้ายปล้นจีนหลีบ้านพยุหแดน ปล้นจีนปักเต้าบ้านท่าน้ำอ้อยแขวงเมืองพยุห ที่อ้ายเพิ่มชำระเปนสัจค้างไว้ อ้ายผู้ร้ายกลับคำว่าทนอาญาผู้คุมไม่ได้ ข้าหลวงจึ่งได้ตัวพวกผู้ร้ายส่งลงมากรุงเทพแล้ว

ฉบับ ๖ ว่าสืบจับอ้ายวาดผู้ร้ายปล้นเรือนหลวงนาวา อ้ายวาดให้การสารภาพเปนสัจซัดอ้ายมีชื่อ เกาะได้ตัวอ้ายมีชื่อมาถามให้การหารับไม่ แต่อ้ายวาดแหกตรางหนีไป จึ่งได้เอาตัวอ้ายมีชื่อที่วาดซัดส่งลงมากรุงเทพ

ฉบับ ๗ ว่าซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ขึ้นไปชำระผู้ร้ายเมืองนครสวรรค์ แลเมืองหยุหคีรี ที่อ้ายเพิ่มพรหมมาชำระค้างไว้เสร็จสิ้นสำนวนแล้ว จมื่นราชามาตย์ขอกลับลงมารับราชการกรุงเทพ

จึ่งดำรัสสั่งพระศรีเสนาว่า อ้ายผู้ร้ายก็แตกตื่นไปหมดแล้วให้มีตราหากลับก็ได้

แล้วพระวิจารณอาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๑ ฉบับ บอกเมืองคีรีรัฐนิคม ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าภาษีอากรปี ๑๐๙ งวดที่สองเงิน ๑๔ ชั่งส่งหลวงทวีปสยามกิจ ฝากแบงก์เมืองปินังแล้ว

แล้วพระศรีเสนา นำท้าวราชสัมพันธวง ผู้ว่าที่ราชวงษ์เมืองเขมราษ ๑ ท้าวสุริยวงษ์ ผู้ว่าที่ราชวงษ์เมืองขรแก่น ๑ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

แล้วนำพระยาราชวงษ์ ๑ พระยาราชบุตร ๑ พระสุริยจางวาง ๑ เมืองแพร่ ๗ พระทุติยรัฐบุรินทรเจ้าเมืองสวงขึ้นเมืองแพร่ ๑ พระเพชรสงครามพลเมืองสวรรคโลกย์ ๑ พระศรีสมารังเจ้าเมืองศรีสัมโรง ขึ้นเมืองสุโขไทย ๑ รวม ๖ นายกราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานพานถมเครื่องในพร้อม ๑ คนโทถม ๑ กะโถนถม ๑ แลผ้าพรรณนุ่งห่มแก่พระยาราชวงษ์ พระยาราชบุตรเหมือนกันถาดหมากคนโทเงินแลผ้าพรรณนุ่งห่ม แก่พระสุริยจางวางเมืองแพร่ ๑ แก่พระทุติยรัฐบุรินทรเจ้าเมืองสวง ๑ พระเพชรสงครามพลเมืองสวรรค์โลกย์ ๑ ถาดหมากทองแดงกาไหล่ทอง ๑ คนโททองแดงกาไหล่ทอง ๑ แลผ้าพรรณนุ่งห่ม แก่พระศรีสมารังเจ้าเมืองศรีสำโรง ๑ เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น.

วันที่รัชกาล ๘๑๔๒ วัน ๔ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๖ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกเมืองโพนพิไสย ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้ท้าวศรีวรราชผู้ช่วย คุมเงิน ๓ ชั่งลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๒ บอกเมืองหนองหาญ ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้ราชบุตรท้าวสุวรรณ์สารคุมเงิน ๓ ชั่ง ๗ ตำลึง ลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๓ บอกเมืองกมลาไสย ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๑๐๙ ว่า ได้แต่งให้ท้าวขัติยวงษ์เมืองสหัศขันธ์ คุมเงิน ๓ ชั่งลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๔ ขอท้าวขัตยวงษ์ เปนที่พระประชาบาลเจ้าเมืองสหัศขันธ์ขึ้นเมืองกมลาไสย

ฉบับ ๕ บอกเมืองฉเชิงเซา ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๑๐๙ ขอหลวงวิสูตรจีนชาติ เลื่อนเปนพระวิสูตรจีนชาติปลัดจีน ขุนสมานจีนประชา เลื่อนเปนหลวงสมานจีนประชาเมืองฉเชิงเซา

ฉบับ ๖ บอกเมืองปราจีณบุรี ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๐๙ ว่าเจ้าเมืองยโสธร นำเอาช้างพลายมาให้พระยามหาอำมาตย์ช้างหนึ่ง ได้สั่งให้หมอควานเมืองสุรินทร์รับปรนปรือเลี้ยงไว้ ครั้นพระยามหาอำมาตย์จะกลับเข้ามากรุงเทพ ถึงเมืองสุรินทรเห็นช้างปลายงามีสีแดงปลาดกว่าช้างตามธรรมเนียม ต้องลักษณช้างพลายจุมประสาท จึ่งสั่งให้ปลัดเมืองสุรินทรคุมลงมาถวาย

พระวิจารณอาวุธ นำบอกกรมพระกระลาโหมขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๕ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาศรีสรราชภักดี ข้าหลวงหัวเมืองฝ่ายทเลตวันตก ลงวันที่ ๒๑ มกราคม ๑๐๙ ว่ากรมการออกตรวจจับได้ฝิ่นเถื่อนกับจีนมีชื่อ ๖ คน เอาตัวมาถามให้การสารภาพรับเปนสัตย์ซัดถึงผู้ต้มจึ่งปรับไหมผู้ต้ม ๒๕ ชั่ง คนขายคน ๒ คน ๆ ละ ๕ ชั่ง รวมเปนเงิน ๓๕ ชั่ง แต่อีก ๔ คนนั้นยังหามีเงินไม่ ได้เอาตัวจำตรางไว้ ๒ เดือนตามบัญญัติ แต่เงิน ๓๕ ชั่งนั้นนำฝากแบงก์เมืองปินังแล้ว

ฉบับ ๒ ว่าได้เก็บภาษีคอเวอนแมนต์เมืองภูเก็จ ปี ๑๐๙ ตั้งแต่มิถุนายนรวม ๕ เดือน เงิน ๑๔๙๖๗ ๗๓ } เหรียญ หักจ่าย ๒๗๙๒ ๓ } เหรียญ คงเหลือ ๑๒๑๗๕ ๗๐ } เหรียญ นำฝากแบงก์เมืองปินังแล้ว

ฉบับ ๓ ว่าตรางพิมพ์สินค้าเข้าออก กรมศุลภากรหมดแล้วรอเบิกตั๋วฎีกาตรางพิมพ์ออกไปใช้ต่อไป

ฉบับ ๔ ว่าพระอนุรักษ์โปราได้มอบเงินกับขี้ผึ้ง ซึ่งพระเสนานุวงษภักดี ส่งเงินภาษีผลประโยชน์เมืองคีรีรัฐนิคม จำนวนปีรกาสัปตศก เงิน ๑๓๐๐ ๔ } เหรียญ กับขี้ผึ้งอากรเมืองกาญจนดิฐ หนัก ๔ บาท ๙๕ สลึง ได้นำเงินฝากเมืองปินังแล้ว

ฉบับ ๕ ว่าได้เก็บเงินภาษีฝิ่นคอเวอนแมนต์ จำนวนเดือนพฤศจิกายน ๑๐๙ เงิน ๑๕๒๘๖ ๙๒ } เหรียญ หักจ่ายราชการ ๑๘๓๓ ๘๗ } เหรียญ คงส่ง ๑๑๔๕๓ ๕ } เหรียญ นำฝากแบงก์เมืองปินังแล้ว จึ่งดำรัสถามพระยามหาอำมาตย์ว่าช้างนั้นงาแดงเข้ามาสักกี่มากน้อย พระยามหาอำมาตย์กราบบังคมทูลว่า สีแดงเข้ามายาวสามนิ้วแต่งาข้างซ้ายนั้นแดงเข้ามายาวสองนิ้ว แล้วดำรัสถามพระยาไทรบุรี แม่น้ำเมืองไทรนั้นจะเข้าไปถึงที่แคบประมาณสักกี่มากน้อย พระยานรินทรกราบบังคมทูลแทนว่าประมาณสักแปดไมล์ จึ่งดำรัสถามต่อไปว่าที่แคบนั้นประมาณสักกี่วา พระยานรินทรกราบบังคมทูลว่าประมาณแปดวา

พระยาศรีเสนานำหลวงศรีวรวงษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองโพนพิไสย ๑ ราชบุตรเมืองหนองหาร ๑ ท้าวขัติยวงษ์ผู้ว่าที่พระประชาชลบาลเมืองสหัศขันธ์ ๑ ท้าวสุริยวงษ์ผู้ว่าที่ราชวงษ์ เมืองสหัศขันธ์ ๑ อุปฮัดเมืองเสละภูม ๑ รวม ๕ นายเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

แล้วพระยานรินทร นำพระยาณรงค์เรืองฤทธิ ผู้ว่าราชการเมืองถลาง ๑

นายยศภักดียกรบัตรเมืองภูเก็จ ๑ กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานถาดหมากคนโทเงินกาไหล่ทองลูกประคำทอง แลผ้าพรรณนุ่งห่มแก่พระยาณรงค์เรืองฤทธิ ผู้ว่าราชการเมืองถลาง ๑ แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรกับข้าราชการ ๖ นาย ให้หม่อมราชวงษ์สำเริง บุตรหม่อมเจ้าเปียกเปนหม่อมอนุวงษ์วรพัฒน์ ราชนิกูล ถือศักดิ์นา ๘๐๐

ให้หม่อมราชวงษ์จิตร บุตรหม่อมเจ้าอลงกรณ์ เปนหม่อมอนุวัติวรพงษ์ราชนิกูล ถือศักดิ์นา ๘๐๐ ให้หลวงสุนทรพิทักษ ผู้ช่วยราชการเมืองนครสวรรค์เปนหลวงประสิทธิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองอุไทยธานี ถือศักดิ์นา ๖๐๐ ให้หลวงพิไชยปลัด เปนพระนรินทรภักดี ศรีสุริยสงครามผู้ว่าราชการเมืองไชยบาดาลขึ้นเมืองวิเชียวคีรี ถือศักดินา ๑๐๐๐ ให้พระสุนทรบริรักษ์ เปนพระพรหมภักดียกรบัตรเมืองศีศะเกษ ถือศักดิ์นา ๕๐๐ ให้ท้าวศรีผู้ว่าที่พระอมรอำนาจเจริญ เปนพระอมรอำนาจเจริญ เจ้าเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นเมืองเขมราช เวลา ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๑๔๓ วัน ๕ ๓ ค่ำ ปีขาลโทศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๒ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระพิเรนทรเทพ ข้าหลวงประจำหัวเมืองลาวกลางเมืองนครราชสีห์มา ลงวันที่ ๓ มกราคม ๑๐๙ ว่ามีอ้ายผู้ร้าย ๔๐ คน จับเอาหญิงบ้านพังเทียมไป ๓ คนหนีกลับมาได้คนหนึ่ง นายร้อยโทนายช่วงกับราษฎรพากันไปตามจับ ทันอ้ายผู้ร้ายทหารเอาปืนยิงอ้ายผู้ร้ายตายคนหนึ่ง แล้วตามอ้ายผู้ร้ายไปถึงบ้านห้วยตะพานหินแขวงเมืองบำเน็จณรงค์หาทันอ้ายผู้ร้ายไม่

ฉบับ ๒ ว่ามีผู้ร้าย ๑๐ คนปล้นเรือนขุนรักษ์อำแดงขลิบบ้านหินโคน แขวงเมืองนางรอง รายหนึ่งมีอ้ายผู้ร้าย ๑๑ คนปล้นเรือนนายฉิมอำแดงอุ่นบ้านละลมแขวงเมืองนางรอง อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงพระสงฆ์ที่มาช่วยตายองหนึ่ง เจ้าเมืองนางรองกับกรมการออกสืบจับตัวยังหาได้ตัวไม่

จึงดำรัสถามพระยามหาอำมาตย์ ว่าพระยาราชเสนานั้นลงมาถึงเมืองไหนแล้ว พระยามหาอำมาตย์กราบบังคมทูลว่าได้ลงมาถึงเมืองนครราชสีห์มาแล้ว จึงดำรัสถามว่าได้มีหนังสือบอกลงมาฤๅเปล่า พระยามหาอำมาตยกราบบังคมทูลว่ายังหาได้มีบอกลงมาไม่ แล้วดำรัสถามถึงหวกเมืองเชียงแขงว่า ตายไปเสียอีกคนหนึ่งแล้วไม่ใช่ฤๅ พระยามหาอำมาตย์กราบบังคมทูลว่า ถึงแก่กรรมไปอีกคนหนึ่งแล้วรวมเปนสองคนด้วยกัน จึ่งดำรัสสั่งว่าให้คิดพากันเข้ามาทูลลาเสีย เพราะเครื่องยศที่จะพระราชทานนั้น ได้สั่งไปกับกรมหมื่นประจักศิลปาคมแล้ว แล้วเสด็จขึ้น

วันที่รัชกาล ๘๑๔๔ วัน ๖ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

วันที่ ๒๗ ไม่เสด็จออก

วันที่รัชกาล ๘๑๔๕ วัน ๗ ๓ ค่ำ ปีขาลโท๒๓ศก ๑๒๕๒

วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓)

เวลา ๔ ทุ่มเสศเสด็จออกขุนนาง พระศรีเสนานำบอกในกรมมหาดไทยขึ้นอ่านกราบบังคมทูล ๗ ฉบับ

ฉบับ ๑ บอกพระยาสุรเดชข้าหลวงประจำหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ กับพระยาปะทุมเทวาธิบาลเจ้าเมืองหนองคาย ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๑๐๙ ความต้องกันว่าได้แต่งให้ท้าวไชยกุมาร ผู้ว่าที่ราชวงษ์เมืองหนองคาย ท้าวขาวผู้ว่าราชบุตรเมืองทุระคมหงษสถิตย์ คุมเงิน ๒๔ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ลงมาสมโภชโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๒ ว่าพระยาสุรเดช จัดได้ม้าผู้สีดำ แดง } สูงสองศอก ๒ นิ้ว ๒ ม้า มอบให้ท้าวไชยกุมารผู้ว่าราชบุตรเมืองหนองคายคุมลงมา ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๓ ขอท้าวไชยกุมาร เปนที่ราชวงษ์เมืองหนองคาย ท้าวชาวเปนที่ราชบุตรเมืองทุระหงษ์สถิตย์เมืองขึ้นเมืองหนองคาย

ฉบับ ๔ บอกเมืองกมุทาไสย ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าได้แต่งให้ราชวงษ์ท้าวเพี้ยคุมเงิน ๑ ชั่ง ลงมาสมโภชโสกันต์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ฉบับ ๕ บอกเมืองพิไชย ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๑๐๙ ว่าพระวิชิตคีรีเจ้าเมืองด่านนางพูนเมืองขึ้น หาได้เคยรับพระราชทานสัญญาบัตรถาดหมากคนโทเครื่องยศไม่ เปนแต่หมายตั้งของผู้ว่าราชการเมืองพิไชย บัดนี้พระยาพิไชยขอให้มีสัญญาบัตรแลถาดหมากคนโทเครื่องยศเหมือนกันกับเมืองขึ้นทุกเมือง

ฉบับ ๖ มีตราพระราชสีห์ขึ้นไปว่า ขุนสรกาลสวัสดิ์คุมเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงจะขึ้นจ่ายทหารนายไพร่เมืองหนองคาย ให้จัดช้างขึ้นไปส่งพระยาพิไชย ได้จัดช้าง ๘๔ ช้างจ่ายเสบียงอาหารให้นายไพร่ส่งขึ้นไปเสร็จแล้ว

จึ่งดำรัสถามพระศรีเสนาว่า พระวิชิตรคีรีเจ้าเมืองด่านนางพูนนั้นตัวเข้ามาเฝ้าด้วยฤๅเปล่า พระศรีเสนากราบบังคมทูลว่าเข้ามาเฝ้า จึ่งดำรัสสั่งให้พระศรีเสนานำตัวเข้ามาถวายแล้วดำรัสถามพระวิชิตคีรีเจ้าเมืองด่านนางพูนว่า ชาวเมืองนั้นเปนลาวฤๅไทย พระยามหาอำมาตย์กราบบังคมทูลแทนว่าเปนลาวมาก แล้วดำรัสถามว่าพระวิชิตคีรีนี้เปนลาวฤๅไทย พระยามหาอำมาตย์กราบบังคมทูลว่าเปนบุตรไทย แล้วดำรัสว่าที่ไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแลเครื่องยศนั้น เหนจะเปนที่ผู้ว่าราชการเมืองไม่ได้ขอลงมาตำแหน่งเดิมคงจะมีสัญญาบัตร แล้วพระศรีเสนานำท้าวไชยกุมารผู้ว่าที่ราชวงษ์เมืองหนองคาย ๑ ท้าวชาวผู้ว่าราชบุตรเมืองหนองคาย ๑ เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ท้าวไชยกุมารจัดได้ขี้ผึ้งหนัก ๑ สลึง ท้าวชาวจัดขี้ผึ้งหนัก ๕๐ สลึง ขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย แล้วโปรดเกล้า ฯ สัญญาบัตร ๔ นาย ให้นายมงคลมหาดเล็กสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช บุตรพระยาณรงคเรืองฤทธิสิทธิสงครามปลัดเมืองพระตะบอง เปนพระเสนาพิพิธ มีตำแหน่งราชการในกรมมหาดไทยฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา ๕๐๐ ให้นายกระจ่างมหาดเล็ก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช บุตรพระยาณรงค์เรืองฤทธิสิทธิสงครามปลัดเมืองพระตะบองเปนหลวงสุนทรกิจวิจารณ์ มีตำแหน่งราชการในกรมมหาดไทยฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา ๔๐๐ ให้นายเจริญมหาดเล็กเวรเดช บุตรพระยาณรงค์เรืองฤทธิสิทธิสงคราม ปลัดเมืองพระตะบองเปนพระขจรศักดาเดช ผู้ช่วยราชการเมืองพระตะบอง ถือศักดินา ๘๐๐ ให้นายเชยมหาดเล็กเวรเดช บุตรพระยาคธาธรธรณินทร เปนหลวงกำโพชพิทักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองพระตะบอง ถือศักดินา ๘๐๐

แล้วพระศรีเสนานำหลวงประสิทธิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองอุไทยธานี ๑ ราชวงษ์เมืองภูแล่นช้าง ๑ ท้าวสุรยว่าที่ราชวงษ์เมืองขรแก่น ๑ รวม ๓ นาย กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง

แล้วเสด็จขึ้น.

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ