- คำนำ
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๒
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๓
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔-๕-๖
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๗
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๘
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๙
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๐
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๑
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๒
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๓
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๔
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๕
จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๕
ตทา ราชา ลวนครารัก์ข เทวตา มโตติ สุต๎วา ชยเภรึ นทาเปต๎วา มหาอุก์กุฏ์ฐสัท์เทหิ ติก์ขัต์ตํุ อุก์กัฏ์ฐาเปสิ.
ในกาลนั้นพระเจ้าอาทิตยราชได้ทรงสดับว่า เทพยดาผู้รักษาพระนครละโว้จุติแล้ว จึงให้บันฦๅชัยเภรีให้โห่ร้องขึ้นสามลาด้วยเสียงโห่ใหญ่
ปุนทิวเส มหัน์ตํ ปูชาสัก์การํ ปฏิยาเทต๎วา สัก์การานํ ปูชัญ์จ นครารัก์ขเทวพลิกัม์มัญ์จ อกาสิ ยาว สัต์ตเม ทิวเส มหาอุส์สเว การาเปสิ.
ครั้นรุ่งขึ้นเปนวันใหม่ จึงให้ตกแต่งเครื่องบูชาสักการะใหญ่ แล้วได้กระทำการบูชาแก่ผู้ควรบูชา แลกระทำพลีกรรมแก่เทพยดาผู้รักษาพระนคร ครั้นถึงวันที่ ๗ ก็ให้กระทำการมโหรศพใหญ่
นาคราปิ หัฏ์ฐัป์ปหัฏ์ฐา นัจ์จัน์ตา คายัน์ตา อิโต ปัฏ์ฐาย อัม๎หากํ ราชา นานากรณัน์ติ อิโต ทานิ อัม๎หากํ รัญ์โญ ปฏิสัต์ตุ นาม นัต์ถีติ อาหํสุ.
ชาวพระนครก็พากันรื่นเริงบันเทิงใจฟ้อนรำขับร้องว่า จำเดิมแต่นี้ไป พระราชาเราทั้งหลายจะกระทำการต่างๆ แต่นี้ไปขึ้นชื่อว่าข้าศึกศัตรูของพระราชาเราทั้งหลายไม่มีแล้ว
ตโต ปัฏ์ฐาย สา ปุริ หริปุญ์เชย์ยสุขินี สมิท์ธา สัพ์พโสต์ถีหิ อเวรา จ อเวริกา.
แท้จริง จำเดิมแต่กาลนั้นมา เมืองหริปุญไชยนั้นก็มีศุข สำเร็จโดยสวัสดีทุกประการ ไม่เปนเวรแก่พระนครใด แลไม่มีพระนครใดมาเปนเวรด้วย
ตโต ปิ ราชา ทิต์ตราชนามโก กาเรติ จัณ์ฑาฆรํ นวกัม์มิโก ตัต์ถาปิ เทโส ชินธาตุฏ์ฐานโก อชานโต โส สกมุต์ตํ ฉัฑ์เฑตํุ คัน์ต๎วาน โส ราชวโร อาฬิน์เท สุก์เกน กาเกน ฐปิตกาโก อากาสตเลน โอปัต์ติมาโน สิรัส๎มึ รัญ์โญ ปฏิปาฏิ คูธํ ราชา กิมิทัน์ติ มุขํ วิวริ อุท์ธํ วิโลกิ มุก์ขปุรเมกํ ราชา ถุน์นิตํ อสุจึ สเขฬํ หัต์เถน ปุญ์ช สกมุก์ขสีสํ อติกุท์โธว ภุชคิน์ทนาโค นังคุฏ์ฐหโต อัย์ยกูฏภารา วิรุช์ฌิปัต์โต ตนุกัม์ปมาโน ปฏินิวัต์โต ตัต์ตโก สราชา ปุนาปิ กาลัน์ตรปติก์กมิต๎วา ฉัฑ์เฑตุกาโม มุต์ตมัต์ตโน โส คัน์ต๎วา อาฬิน์เท มัช์ฌโก กาเล กากาคโต สีสํ รัญ์โญ ปหโต ราชาปิ ตัต์เถว ปฏินิวัต์โต ตติยวาเรปิ กโรติเอว ราชาปิ กุท์โธ อมัจ์โจ สเสเน ปยุญ์ช ชีเวน เหตํุ กากํ.
ในลำดับนั้น พระราชาทรงพระนามพระเจ้าอาทิตยราช โปรดให้กระทำเรือนจัณฑ์เพิ่งแล้วลงใหม่ๆ พระเจ้าอาทิตยราชผู้ประเสริฐนั้นเสด็จไปที่ระเบียงเพื่อจะถ่ายพระบังคนเบาของพระองค์ เพราะไม่ทรงทราบว่า ประเทศที่ตั้งเรือนจัณฑ์นั้น เปนที่บังเกิดพระธาตุของพระชินสีห์เจ้า มีกาตัวหนึ่งอันกาขาวตั้งไว้ให้พิทักษ์รักษา ก็บินลงมาโดยพื้นอากาศ ทำคูถให้ตกลงบนพระเศียรของพระเจ้าอาทิตยราช พอพระเจ้าอาทิตยราชอ้าพระโอษฐ์ตรัสว่า นี่อะไรดังนี้แล้ว ทอดพระเนตรไปข้างบน คูถก้อนหนึ่งก็ตกลงมาเต็มพระโอษฐ์ พระเจ้าอาทิตยราชก็ถ่มของไม่สอาดทั้งน้ำพระเขฬะออกเสีย แล้วก็เช็ดพระโอษฐ์เช็ดพระเศียรของพระองค์ด้วยพระหัตถ์ ทรงพระพิโรธอย่างยิ่ง ประดุจดังพระยาภุชคินทรนาคราช มีขนดหางต้องประหารด้วยฆ้อนเหล็กอันหนัก ทรงพระพิโรธจนพระกายสั่นเสด็จกลับจากที่นั้น พระเจ้าอาทิตยราช มีพระประสงค์จะเสด็จกลับไปถ่ายพระบังคนเบาของพระองค์ในกาลอื่นอิก ก็เสด็จไปที่ระเบียงในเวลากลางวัน กาก็บินมาจิกพระเศียรพระเจ้าอาทิตยราช ฝ่ายพระเจ้าอาทิตยราชก็เสด็จกลับเสียในที่นั้น แม้ในวาระที่สามกาก็กระทำอยู่อย่างนั้น ส่วนพระเจ้าอาทิตยราชทรงพระพิโรธ จึงตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งเสนาให้ดักกาอันก่อเหตุ ด้วยการดักให้มีชีวิตอยู่
ตทา อมัจ์จา กุสลา สัช์ชัน์ตา อุเฑน์ติ ปาสาทิชุต์ตา อุส์สหา.
ในกาลนั้นอำมาตย์ผู้ฉลาด ก็อุตสาหะตระเตรียมดักกาดาดาษไปด้วยเครื่องดักมีบ่วงเปนต้น
อิโต จ เอโต จ นุธาวมานา รุก์ขสุสิเรปิ จ คุม์พคัจ์เฉ กากํ ปัส์สิตํุ น สัก์โกน์ติ สัพ์เพ นิวัต์ตยัน์ตา อมัจ์จา สเสนา กากํ ปัส์สิตํุ น สัก์โกมิ เทวาติ.
บันดาคนทั้งปวงก็แล่นติดตามไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้างในโพรงไม้บ้าง ในพุ่มไม้บ้าง แลกอไม้บ้าง ก็ไม่สามารถจะเห็นกาได้ อำมาตย์พร้อมทั้งเสนา จึงพากันกลับมากราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะเห็นกาได้
เตสํ ตํ วจนํ สุต๎วา ราชา วิม๎หยมาโน จิน์เตสิ ยัน์นุนายํ ยัก์โข วา เทโว วา มัย๎หํ ชีวิตัน์ตรายํ ปัส์สิต๎วา ปุพ์พนิมิต์ตํ ทัส์สิโต ยทิ เม สุสลสัม์ภารา ภวัน์ติ มาริมํ กิลมตุ อิมํ กากํ สุลัพ์ภตูติ เทวานํ นมัส์สมาโน อธิฏ์ฐาสิ.
พระเจ้าอาทิตยราช ได้สดับคำของชนเหล่านั้น ก็เกิดพิศวงในพระไทยจึงทรงดำริห์ว่า ถ้ากะไรกานี้จะเปนยักษ์หรือเปนเทพยดา จะเห็นอันตรายชีวิตจะมีแก่เรา จึงได้สำแดงบุรพนิมิตรให้ปรากฏแก่เรา ถ้าว่ากุศลสมภารของเรามีอยู่ ขอข้าศึกศัตรูอย่าได้ทำเราให้เหน็ดเหนือย ขอจงได้กานี้โดยง่ายเถิด ครั้นทรงพระราชดำริห์ดังนี้แล้ว ก็นมัสการเทพยดาทั้งหลายทรงอธิฐาน
ตัส๎มึ ขเณ กาโก เทวตา วิคหิโต หุต๎วา อากาเสนาคัน์ต๎วา อมัจ์จมัณ์ฑเล โอตริ.
ในขณะนั้น เทพยดาก็ดลบันดาลใจกา ให้บินมาโดยอากาศ แล้วก็บินลงไปในมณฑลที่ประชุมของอำมาตย์
ตํ ทิส๎วา อมัจ์จา ตํ ตุริเตน คเหต๎วา รัญ์โญ ทัส์สึสุ.
ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายได้เห็นกานั้นแล้ว ก็จับกานั้นไปถวายพระเจ้าอาทิตยราชโดยเร็ว
ราชา ตํ ทิส๎วาว อัต์ตโน ปัจ์จัต์ถิกานํ ลภิต๎วา จ ตุฏ์ฐจิต์โต หุต๎วา ปสาริตหัต์เถ สหัส์สถวิกํ ฐเปน์โตวิย ชาติทลิท์โท เต มาเรตุกาโม เอวมาห มหามัจ์จ อยํ มํ นิรุป์ปราธํ ทุติยํ ตติยํ โทสํ กโรติ อิทานาหํ ทุโจรํ ลภิต๎วา ตํ มาริส์สาม กึ นุ มัญ์ญสีติ.
พระเจ้าอาทิตยราช ได้ทอดพระเนตรเห็นกานั้นแล้ว ก็ดีพระไทยว่าได้ข้าศึกของพระองค์แล้ว เปนประหนึ่งว่าชนชาติทลิทกขัดสน มีคนวางถุงเต็มไปด้วยทรัพย์พันตำลึงลงในมือที่เหยียดออกไว้ฉนั้น พระองค์มีพระราชประสงค์จะให้ฆ่ากาเสีย จึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูกรมหาอำมาตย์ กาตัวนี้กระทำเราผู้ไม่มีความผิด ให้เกิดโทสะถึงสองครั้งสามครั้ง เดี๋ยวนี้เราได้โจรร้ายมาแล้ว จะฆ่ามันเสียท่านจะสำคัญอย่างไรฤๅ
อถามัจโจ เทวตาวิคหิโต หุต๎วา ราชานํ เอวมาห มา ตํ เทว มาเรหิ สเจ ตํ มาเรต๎วา เอโก อัน์ตราโย ตุม๎หากํ นิสํสโย ภวิส์สตีติ สเจ มํ น สัท์ทหถ พ๎ราห๎มณาจาเร ปัก์โกสาเปต๎วา ปุจ์ฉถาติ อาห.
ครั้งนั้นเทพยเจ้าเข้าดนใจอำมาตย์ จึงกราบทูลพระเจ้าอาทิตยราชอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า พระองค์อย่าให้ฆ่ากาเสียเลย ถ้าฆ่ากาเสียแล้ว อันตรายจักมีแก่พระองค์สักอย่างหนึ่งโดยไม่สงไสย ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อข้าพระบาท ขอพระราชทานโปรดเกล้าให้หาพราหมณาจารย์เข้ามาไต่ถาม
ตํ สุต๎วา ราชา โหราจารพ๎ราห๎มเณ ปัก์โกสาเปต๎วา สัก์การํ กัต๎วา ปุจ์ฉิ.
พระเจ้าอาทิตยราช ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงให้หาพราหมณโหราจารย์เข้ามา กระทำสักการะแล้วตรัสถาม
ตทา เนมิต์ตกา พ๎ราห๎มณา โหราจารา จ ตํ ทิวสํ นัก์ขัต์ตัญ์จ กาลัญ์จ นิมิต์ตํ วิจาเรต๎วา ราชานํ เอวมาหํสุ มาจิน์ตยิต์ถ มหาราช อัช์ช ทิวเส มังคลนัก์ขัต์ตยุต์เต กาลัญ์จ นิมิต์ตัญ์จ อติวิย สุฏ์ฐุตรํ อิทํ ตุม๎หากํ นิมิตตํ โสต์ถิภาวํ อุป์ปัช์ชิส์สตีติ ยทาจายํ มนุส์สภาสํ ภาสติ ตทา ตุม๎หากํ ปากฏยโส โหติ อิมัส์ส ปมาทํ อกัต๎วา สุฏ์ฐุรัก์ขํ กโรถาติ.
ในกาลนั้น พราหมณ์โหราจารย์ผู้ชำนาญทำนายนิมิตร ก็พิจารณาฤกษเวลานิมิตรวันนั้นแล้ว จึงกราบทูลพระเจ้าอาทิตยราชอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าได้ทรงพระปริวิตกเลย ในวันนี้ประกอบด้วยฤกษเปนมงคล ทั้งเวลาแลนิมิตรก็ดีวิเศษยิ่งนัก นิมิตรสิ่งนี้จักบังเกิดความสวัสดีแก่พระองค์ ก็กาตัวนี้พูดภาษามนุษย์ได้เมื่อใด อิศริยยศก็จะปรากฏแก่พระองค์เมื่อนั้น ขอพระองค์กระทำการรักษาให้ดีอย่ากระทำความประมาทแก่กาตัวนี้เลย
เตสํ ตํ วจนํ สุต๎วา ราชา ปีติภริตหทโย หุต๎วา สาธุรัก์ขิส์สามีติ วัต๎วา เต อุย์โยเชสิ.
พระเจ้าอาทิตยราช ได้สดับถ้อยคำของสมณะพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว ก็มีพระทัยทราบซ่านไปด้วยปิติ จึงดำรัสว่า เราจะรักษาให้ดี แล้วก็ส่งสมณพราหมณ์เหล่านั้นไป
เตสุ คตมัต์เตสุเยว ราชา สุวัณ์ณกาเร ปัก์ดกสาเปต๎วา ตัส์ส วสนัต์ถาย สุวัณ์ณปัญ์ชรํ กาเรสิ นิฏ์ฐิตมัต์เตเยว กากํ ตัต์ถ นิวาสาเปต๎วา สัก์กัจ์จํ โภชนาหาเรหิ รัก์ขาเปสิ.
พอสมณพราหมณ์เหล่านั้นไปแล้ว พระเจ้าอาทิตยราชก็โปรดให้หาช่างทองมา แล้วให้กระทำกรงทองให้กาอยู่ ครั้นทำกรงทองสำเร็จแล้ว ก็ให้กาอยู่ในกรงนั้น ให้เลี้ยงรักษาด้วยโภชนาหารโดยเคารพ
ตัส๎มึ รัต์ติภาเค ปฐมยาเม ราชา ปวรราชปัล์ลังเก อลังกฏสิริสยเน นิป์ปัช์ชิต๎วา กทา กาโก มนุส์สภาสํ ภาสิส์สตีติ จิน์ตยมาโน นิปัช์ชิ.
ในคืนวันนั้นพอได้ปฐมยาม พระเจ้าอาทิตยราช บรรทมอยู่เหนือพระแท่นที่สิริไสยาศน์อันอลงกฎบนพระบวรราชบัลลังก์ ทรงคำนึงในพระไทยอยู่ว่า เมื่อไรกาจะพูดภาษามนุษย์ได้ แล้วบรรทมหลับไป
อถ มัช์ฌิมยาเม อัฑ์ฒรัต์ติกสมเย เทวตา อาคัน์ต๎วา สุปินนิมิต์เตน ราชานํ ปวัก์ขติ สเจ ต๎วํ มหาราช อิทํ อจิเรน ชานิตํุ อิจ์ฉสิ มาตุกุจ์ฉิตสํชาตทารกํ สัต์ตทิวสํ กากัส์ส ปัญ์ชรสมีปํ นิปัช์ชาเปต๎วา ทิวเส ทิวเล กากสัท์ทํ สุณาติ กากภาสํ ชานิส์สติ.
ครั้นถึงมัชฌิมยามได้เวลาครึ่งคืน เทพยดาก็มาทูลพระเจ้าอาทิตยราชด้วยนิมิตรฝันว่า ถ้าพระองค์ประสงค์จะทรงทราบเหตุนี้เร็วๆ ก็จงให้ทารกที่คลอดจากครรภ์มารดาได้ ๗ วันนอนอยู่ที่ใกล้กกรงกานี้ ทารกจะได้ยินเสียงกาทุกๆ วัน ก็จะรู้จักภาษากา
ยทา จ ทารโก ฉาตตสิโต ตทา มาตรันตํ อัป์ปเนต๎วา โภเชต๎วา น๎หาเปต๎วา ถัญ์ญํ ปาเปต๎วา ปุน ตํ ตัต์ถ นิป์ปัช์ชาเปต๎วา.
ก็เมื่อใดทารกหิวแล้วจึงพรากทารกมายังมารดา ให้บริโภคให้อาปให้ดื่มถัญ แล้วจึงให้ทารกนอนในที่ใกล้กรงกาอิก
เต อุโภปิ วิเวเก ฐิตัต์ตา อัญ์ญมัญ์ญํ ภาสิส์สัน์ติ อัญ์ญมัญ์ญํ ปวัก์ขิส์สัน์ติ.
เขาทั้งสองนั้นจักพูดจักบอกเล่ากัน เพราะเขาอยู่ในที่สงัด
เอวํ กเต ตติยสํวัจ์ฉเร อิทํ กากนิมิตตํ ชานิส์สสีติ เอวํ วัต๎วา สา อัน์ตรธายิ.
เมื่อทำได้อย่างนี้สักสามปี ท่านก็จะรู้นิมิตรเหตุของกานี้ เทพยดานั้นทูลอย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานหายไป
ปุน ทิวเส ราชา อมัจ์เจ อาณาเปต๎วา สัต์ตทิวสัญ์ชาตทารเก อาหราเปต๎วา มหาตเล นิป์ปัช์ชาเปต๎วา ลัก์ขณปาถเก พ๎ราห๎มเณ ปัก์โกสาเปต๎วา เตสุ อายุญ์จ ชวนรูปลัก์ขณสัม์ปทัญ์จ วิจาเรสิ.
ครั้นรุ่งขึ้นวันใหม่ พระเจ้าอาทิตยราช ก็บังคับอำมาตย์ให้พาเอาทารกที่คลอดได้ ๗ วันมานอนอยู่ที่พระลานใหญ่ แล้วให้หาพราหมณ์ทายลักษณะมาพิจารณาในหมู่เด็กทั้งหลายนั้น เลือกเอาแต่เด็กที่มีอายุยืนแลที่สมบูรณ์ไปด้วยชวนะแลรูปแลลักษณะ
อถ ลัก์ขณปาถกา พ๎ราห๎มณา อิเมสุ เตสุ อยํ ทารโก ปุพ์พกุสลสัมปัต์ตญาณชวนสัม์ปัน์โนว วิญ์ญัต์ติปฏิพโล จ ทีฆายุกตโร จ โหตีติ วทึสุ.
ในกาลนั้น พราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะทั้งหลาย กราบทูลว่าในทารกเหล่านี้นั้น ทารกคนนี้สมบูรณ์แล้วด้วยญาณแลชวนะ อันถึงพร้อมแล้วด้วยกุศลแต่ป่างก่อนด้วย มีกำลังปัญญาอันรู้เหตุแจ้งชัดด้วย มีอายุยืนด้วย
อถ ราชา คุณปุญ์ญลัก์ขณสัม์ปัน์นทารกํ คเหต๎วา อัต์ตโน สัน์ติเก ธาติคเณ โปสาเปต๎วา ตัส์ส มาตาปิตูนํ จ ยสํ อทาสิ ตัส์ส ญาติกุลพัน์ธวานัญ์จ วัต์ถาลังการาทีนิ ทาเปสิ อวเสสานํ ทารกานํ อคุณยุต์ตานํ เตสํ มาตาปิตูนํ อทาสิ.
ในกาลนั้น พระเจ้าอาทิตยราช ก็ให้รับทารกที่บริบูรณ์ด้วยคุณแลบุญลักษณะนั้นไว้ในสำนักของพระองค์ จัดหาพี่เลี้ยงนางนมให้เลี้ยงรักษา แล้วก็พระราชทานยศแก่มารดาบิดาของทารกนั้น แล้วพระราชทานสิ่งของต่างๆ มีผ้านุ่งห่มแลเครื่องประดับเปนต้น แก่ตระกูลที่เปนญาติแลพวกพ้องเผ่าพันธุ์ของทารกนั้น แล้วพระราชทานแก่มารดาบิดาของทารกทั้งหลาย ที่ไม่ได้ประกอบด้วยคุณที่เหลืออยู่นั้น
อถ เต ญาติคณา ตํ โภเชต๎วา น๎หาเปต๎วา ถัญ์ญํ ปาเยต๎วา น๎หาเปต๎วา อลังกริต๎วา อลังกฏสิริสยเน สยาเปต๎วา กากัส์ส ปัญ์ชรสมีเป นิปัช์ชาเปต๎วา เอวํ วุต์ตนเยน ทิวเส ทิวเส นํ กัต๎วา ยาว สัต์ตสํวัจ์ฉรานิ สัต์ตมาสาธิกานิ สัต์ตทิวสานิ จ.
ในกาลนั้น หมู่ญาติเหล่านั้นก็ให้ทารกบริโภคแลให้อาบน้ำให้ดื่มนมแล้วประดับตกแต่ง ให้นอนในที่สิริไสยยาศน์อันอลงกฎ แล้วให้วางไว้ในที่ใกล้กรงกานั้น กระทำทารกนั้นทุกวันๆ โดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ จนถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน
โส ทารโก สัพ์พกากภาสํ ชานาติ.
ทารกนั้นก็รู้ภาษากาทั้งสิ้น
ยํ กาเกน วุต์ตํ ทารโก ตํ วัต๎วา มนุส์สภาสํ ภาสิตํุ สัก์โกติ.
คำใดที่กาพูดแล้ว ทารกก็พูดคำนั้นได้ อาจพูดเปนภาษามนุษย์ได้
ตทา อาทิจ์จราชา ทารกํ ปัก์โกสาเปต๎วา อาห กุมาร ต๎วํ กากภาสํ สัจ์จํ ชานาสีติ.
ในกาลนั้น พระเจ้าอาทิตยราช ก็ให้หาทารกมาแล้วตรัสว่า ดูกรกุมารท่านรู้ภาษากาจริงฤๅ
อาม มหาราชาติ.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าทราบเกล้าจริง
สาธุ กุมาร เตนหิ ต๎วํ กุมาร วิส์สาสิกภาวํ วัต๎วา มม วจเนน ตํ ปุจ์ฉาหิ ปฐมทิวเส มยิ อาลิน์เท คัจ์ฉัน์เต เกน กาโก มํ สีสํ คูถปิณ์ฑํ ปาเตต๎วา มม สีสัญ์จ มุขัญ์จ ปาเตต๎วา ปัก์กามิ ปุน ทุติยัม์ปิ ตติยัม์ปิ มํ สีสํ ปหริต๎วา นิลิยิ กึนุโข มม อัน์ตรายํ ทิส๎วา นิวารณัตถํ กโรติ อุทาหุ กึ เม โทสํ ทิส๎วา กโรติ ตํ มุสาวาทํ อกัต๎วา สุฏ์ฐุ สัจ์จภาเวน วัก์ขาหิ ยํ ยํ อิจ์ฉสิ ตํ ตํ ตว มโนรถํ ปูเรส์สามีติ กุมารํ อนุสาเสต๎วา เปเสสิ.
ดูกรทารกดีแล้ว ถ้ากระนั้นท่านจงพูดแสดงความคุ้นเคย แล้วจงถามกานั้นตามถ้อยคำของเราว่า ในวันแรกเมื่อเราไปบนระเบียง กาทำก้อนคูธให้ตกลงบนศีศะเราด้วยเหตุอะไร กาทำก้อนคูธให้ตกลงศีศะแลปากเราแล้วก็บินไป ในวันที่ ๒ ที่ ๓ กามาจิกศีศะเราแล้วก็ไปซ่อนเสียอิก กาเห็นอันตรายจะมีแก่เราอย่างไรฤๅแลจึงได้กระทำการห้ามปราม ฤๅว่ากาเห็นโทษจะมีแก่เราอย่างไรจึงได้กระทำ ท่านอย่าได้กระทำมุษาวาทเลย จงบอกโดยความจริงด้วยดีเถิด ท่านจะปราถนาสิ่งใดใด เราจะกระทำความปราถนาสิ่งนั้นนั้นให้บริบูรณ์แก่ท่าน พระองค์สั่งสอนกุมารแล้วก็ส่งกุมารไป
กุมาโร สาธุ เทว เอวํ วัก์ขามีติ ราชานํ วัน์ทิต๎วา กากัส์ส สัน์ติกํ คัน์ต๎วา รัญ์โญ วจนานุสาเรน กากภาสาย กากํ อาห.
ฝ่ายกุมารก็กราบทูลรับพระราชบัญชาว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักกล่าวอย่างนี้ ให้สำเร็จพระราชประสงค์ แล้วถวายบังคมลาไปยังสำนักของกา พูดกับกาด้วยภาษากาตามพระกระแสรับสั่งพระเจ้าอาทิตยราช
เอวมัส์ส วจนํ สุต๎วา กากภาสาย อาห อาม สัม์ม ตัส๎มึ ทึวเส ตว ราชา นวจัณ์ฑาฆเร โอจ์จารปัส์สาวํ ฉัฑ์เฑตํุ อาคัน์ต๎วา ตัส๎มึ ปน ฐาเน อัม๎หากํ พุท์ธัส์ส ภควโต สารีริกธาตุอุป์ปัช์ชนํ.
ฝ่ายกาได้ฟังคำของทารกอย่างนี้แล้วก็พูดด้วยภาษากาว่า เออดูกรสหายในวันนั้นพระราชาของท่าน เสด็จมาเพื่อจะกระทำพระสริรกิจในห้องจัณฑาฆรสถานที่สร้างใหม่ ก็ในที่นั้นจะเปนที่อุบัติบังเกิด พระสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคย์ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
ฐานํ กถํ ชานิตัพ์พัน์ติ.
ทารกจึงถามกาว่า อย่างไรท่านจึงรู้ว่าที่นั้นเปนที่อุบัติบังเกิดพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
อัม๎หากํ ภควา ธณมานกาเลเยว พาราณสินครโต อาคัน์ต๎วา อิธ ฐัต๎วา วนเมงคปุต์ตานํ อาห โภน์โต วนเมงคปุต์ตาโย ยทา มยิ ปรินิพ์พาเน มัย๎หํ สารีริกธาตุโย ตัต์ถ ตัต์ถ อุป์ปัช์ชิส์สัน์ติ ตทา จ เอโก อาทิต์ตราชา นาม อิมัส๎มึ ฐาเน รัช์ชํ กาเรส์สติ โส จ ตุมหากํ กุลวังสโสต์ถิภาวํ กริส์สติ ตัส๎มิญ์จ กาเล เอโก มัย๎หํ สารีริกธาตุ เอต์ถ อุป์ปัช์ชิส์สตีติ วัต๎วา เวหาสํ อัพ์ภุค์คัน์ต๎วา พาราณสิยํ อคมาสิ ตทา จ มัย๎หํ อัย์ยโก เสตกาโก สัม์มาสัม์พุท์ธัส์ส ปัจ์ฉโต อาคัน์ต๎วา สัพ์พัน์ตํ อัส์โสสิ โส อิทํ ฐานํ รัก์ขนัต์ถํ มม ปติฏ์ฐเปต๎วา หิมวัน์ตํ อคมาสิ ตว ราชา อิทํ มังคลัฏ์ฐานํ น ชานิต๎วา มุต์ตกรีสอสุจิฐานํ กริส์สติ ตัส๎มา อหํ ตว รัญ์โญ เอวํ กโรมิ สเจ ตว ราชา น สัท์ทหิ มํ วิสัช์ชาเปต๎วา มม อัย์ยกํ เสตกากํ อานยิส์สามิ โสปิ อิทํ ฐานํ วิต์ถาเรน ตว รัญ์โญ กถิส์สตีติ.
ดูกรสหายพระผู้มีพระภาคย์ของเราทั้งหลาย ในกาลเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ได้เสด็จมาจากพระนครพาราณสี เสด็จยืนตรัสอยู่แก่พวกเมงคบุตรชาวป่าในที่นี้ว่า ดูกรเมงคบุตรชาวป่าผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อใดเราปรินิพพานแล้ว สารีริกธาตุของเราจักบังเกิดขึ้นในที่นี้ ก็เมื่อครั้งนั้นจะมีบรมกระษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าอาทิตยราช จักครองสิริราชสมบัติอยู่ในที่นี้ พระเจ้าอาทิตยราช จักกระทำความสวัสดี ให้บังเกิดมีแก่วงษ์ตระกูลของท่านทั้งหลาย ก็ในกาลนั้นพระสารีริกธาตุของเราองค์หนึ่งจักบังเกิดขึ้นในที่นี้ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็เหาะขึ้นไปบนอากาศเสด็จไปในพระนครพาราณสี ในกาลนั้นกาขาวผู้เปนปู่ของเรา ได้บินมาข้างหลังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังคำนั้นทั้งสิ้น แล้วปู่ของเรานั้นได้ตั้งเราไว้ให้รักษาที่นี้แล้ว ท่านก็ไปยังป่าหิมพานต์ พระราชาของท่านไม่ทรงทราบที่นี้ว่าเปนที่มงคล จึงได้กระทำให้เปนที่ไม่สอาดด้วยมูตรแลกรีส เพราะเหตุนี้เราจึงกระทำอย่างนี้แก่พระราชาของท่าน ถ้าพระราชาของท่านไม่เชื่อ ก็ให้ปล่อยเราไป เราจะพากาขาวซึ่งเปนปู่ของเรามา ปู่ของเรานั้นจักกราบทูลที่นี้แก่พระราชาของท่านโดยพิศดาร
ตํ สุต๎วา กุมาโณ อหํ สาธุ สัม์ม สัพ์พัน์ตํ ตว วจนํ มม รัญ์โญ ปวัก์ขิส์สามีติ วัต๎วา รัญ์โญ สัน์ติกํ คัน์ต๎วา สัพ์พัน์ตํ กากัส์ส วจนํ รัญ์โญ กเถสิ.
กุมารได้ฟังคำนั้นแล้วจึงกล่าวว่า ดูกรสหาย ดีแล้วเราจะกราบทูลตามถ้อยคำของท่านทั้งสิ้นแก่พระราชาของเรา แล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าอาทิตยราช กราบทูลตามคำกานั้นทุกประการ
ตํ สุต๎วา ราชา อติวิย โสมนัส์โส ชาโต ตํ สาธูติ ปฏิสุณิต๎วา นานัค์ครสาหาเรน กากํ สัน์ตัป์เปต๎วา สัต์ถุสาสนํ วัน์ทิต๎วา ตํ วิสัช์เชสิ.
พระเจ้าอาทิตยราชได้ทรงฟังคำนั้นก็บังเกิดโสมนัสเปนอย่างยิ่ง จึงรับคำทารกว่าสาธุ แล้วให้เลี้ยงดูกาด้วยอาหารมีรศเลิศต่างๆ เพราะกาให้ข่าวของพระศาสดา แล้วโปรดให้ปล่อยกานั้นไป
โส กาโก อากาเสน คัน์ต๎วา หิมวัน์ตํ ปเทสํ ปัต๎วา อัต์ตโน อัย์ยกัส์ส สัน์ติกํ อุปสังกมิต๎วา วัน์ทิต๎วา นิสีทิ.
กานั้นบินไปโดยอากาศก็บันลุถึงประเทศป่าหิมพานต์ จึงเข้าไปใกล้กาผู้เปนปู่ของตน ไหว้แล้วก็จับอยู่
สุกณานํ วัน์ทนํ นาม กถํ ชานิตัพ์พํ.
มีคำถามขึ้นมาว่า ชื่อว่าการไหว้ของสกุณชาติทั้งหลายจะรู้กันได้อย่างไร
ปัต๎วา จ ปน วุฑ์ฒัส์สาภิมุขํ สกตตกัณ์ฑํ โอนัค์คสิสํ คารวภาวํ ทัส์เสต๎วา ปุนปิ เท๎ว ปัก์เข ปสาเรต๎วา สีสํ นมิต๎วา อุรํ ภูมิยํ กัต๎วา มุหุต์เตเยว อุฏ์ฐหิต๎วา นิสีทิ เอวํ กเต เตสํ สกุณานํ วัน์ทนํ นามาติ.
มีคำวิสัชนาว่า ก็แลสกุณชาติทั้งหลายถึงกันเข้าแล้ว ก็แสดงความเคารพบ่ายหน้าเฉพาะต่อสกุณชาติที่เจริญกว่าตน แลทำจงอยปากของตนดังตะตะ แลน้อมศีศะลงแล้วประสานปีกทั้งสองเข้าแล้วน้อมศีศะลงอิกกระทำอุระประเทศเหนือพื้น แล้วยกขึ้นสักครู่หนึ่งแล้วก็จับอยู่ เมื่อสกุณชาติทำกันอย่างนี้ได้ชื่อว่า การไหว้ของสกุณชาติทั้งหลายเหล่านั้น
เสตกาโกปิ อัต์ตโน นัต์ตารํ ทิส๎วาน อัต์ตมโน หุต๎วา เตน สัท์ธึ ปฏิสัม์โมทิ ปุน ชินธาตุส์ส อุป์ปัช์ชนัฏ์ฐานํ ปวุต์ตึ ปุจ์ฉัน์โต อาห.
ส่วนกาขาวได้เห็นนัดดาของตนแล้วก็ดีใจ จึงกล่าวสัมโมทนิยกถากับด้วยกาผู้เปนนัดดาของตนนั้น เมื่อกาขาวจะถามข่าวคราวถึงที่ ที่จะบังเกิดพระธาตุของพระชินสีห์เจ้าอิก จึงกล่าวเปนพระคาถาว่า
จิรัน์ตํ โปตกา ปัส์สามิ สาธาโรโคสิ อาคโต ชินธาตุป์ปปัช์ชิส์สติ ฐานํ เขมํ อนูนกํติ.
ดูกรหลานน้อย ปู่ไม่ได้เห็นหลานนานแล้ว หลานอยู่สบายดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนดอกฤๅจึงมาได้ ที่ที่จักบังเกิดพระชินธาตุ ยังเปนที่เกษมอยู่ไม่บกพร่องดอกฤๅ
อถ นํ โปตโก อาห.
เมื่อกาขาวไต่ถามอย่างนั้นแล้ว กาโปดกจึงกล่าวกับกาขาวว่า
อาม เทโว สุจิรํ มํ อัย์ยโก ปัส์สิตํุ มยา อิทานามหมาคโต ธาตุฏ์ฐานกํ ตว รัก์ขิตํุ ปุเร ปูราณาปิ จ เขมเขมา สุเขน ทุก์ขา ปวัต์ตัน์ติ ตถา อิทานิ คูธาทิปุรา จ ราา สัพ์เพสุ เตโช อิท์ธิ วัก์กโม โส ธาตุป์ปัต์ติฏ์ฐานตํ ปัฏ์เฐน์โต ชานิตํุ วัต์ถํุ พุท์ธพ๎ยากรัน์ติ เลเสน วัก์ขามิ สัท์ทหัน์โต เปเสสิ โส มํ อัย์ยกํ นัย์เยตํุ ติ.
พระเจ้าข้า พระเจ้าปู่ เปรียบประดุจดังเทพยดา ไม่ได้เห็นข้าพเจ้านานแล้ว ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระเจ้าปู่นานแล้ว เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ามาเพื่อจะรักษาที่ที่จะประดิษฐานพระชินธาตุของพระเจ้าปู่ อนึ่งความเกษมแลไม่เกษมเคยมีอยู่ในกาลก่อนๆ อย่างไร ความทุกข์กับความศุขก็เปนไปอย่างนั้น ก็เดี๋ยวนี้พระราชาทำที่นั้นให้เต็มไปด้วยของไม่สอาดมีคูธเปนต้น แต่พระราชานั้น มีพระเดชานุภาพแผ่ไปในประเทศทั้งปวง แลมีฤทธิ์มีความเพียรมาก พระองค์มีพระประสงค์จะทรงทราบเรื่องที่ที่จะบังเกิดขึ้นของพระธาตุที่พระพุทธเจ้าได้พยากรไว้ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงได้กราบทูลด้วยเลศอุบายพระองค์ก็ทรงเชื่อ จึงโปรดใช้ให้ข้าพเจ้ามาเชิญพระเจ้าปู่ไป
ตัส์ส วจนํ สุต๎วา เสตกาโก ธาตูติ ปฏิสุณิต๎วา กากคเณ สัน์นิปาเตต๎วา วิจินิ มหัน์ตกายยุวถามพลปรัก์กมชวนสมัน์นาคเต ท๎วิกาเก คเหต๎วา เอเกกัส์ส ถิรทัณ์ฑํ โกฏิยํ ทํสาเปต๎วา สยํ ปนัส์ส ทัณ์ฑมัช์ฌเก นิสีทิต๎วา ปัญ์สตกากปริวาเรหิ อากาเสนาคัน์ต๎วา.
กาขาวได้ฟังคำของกาผู้เปนหลานก็รับว่าดีแล้ว ก็ให้ฝูงกามาประชุมกัน เลือกสรรค์จับเอากาที่มีร่างกายโตใหญ่แลกำลังหนุ่ม ถึงพร้อมไปด้วยเรี่ยวแรงกำลัง มีความเพียรแลว่องไวได้สองกา ให้คาบที่สุดท่อนไม้ที่มั่นคงข้างละตัวแล้ว ส่วนกาขาวก็เกาะอยู่บนท่ามกลางท่อนไม้นั้นมาโดยอากาศกับด้วยกาบริวาร ๕๐๐
ทูตกาโกปิ มัค์คนายโก หุต๎วา ปุรโต อาคัญ์ฉิ หิมวัน์ตโต อาคัน์ต๎วา ชินธาตุส์ส อารัม์มณพเลน สัต์ตเม ทิวเส หริปุญ์เชย์ยนครํ สัม์ปาปุณิ.
ส่วนกาที่เปนทูต ก็นำทางบินมาข้างหน้าบินมาจากป่าหิมพานต์ ถึงหริปุญชัยนครในวันที่ ๗ ด้วยกำลังความยึดหน่วงเอาพระชินธาตุเป็นอารมณ์
ทูตกาโกปิ ปฐมตรํ รัญ์โญ สัน์ติกํ ปวีสิต๎วา ตัส์ส อาคตภาวํ กุมารํ อาโรจาเปสิ.
ส่วนกาที่เปนทูตก็เข้าไปยังที่เฝ้าพระเจ้าอาทิตยราชก่อนกว่ากาทั้งปวง จึงให้ทารกกราบทูลความที่กาขาวนั้นมาถึงแล้วแก่พระเจ้าอาทิตยราช
ตํ สุต๎วา ราชา อุทัค์คุทัค์โค หุต๎วา มหาตลํ สัช์ชาเปต๎วา มหารเห อาสเน ปัญ์ญาเปต๎วา เสตกากปมุขํ กากํ นิสีทาเปต๎วา นานัค์ครสาหาเรหิ สัน์ตัป์เปสิ.
พระเจ้าอาทิตยราช ได้สดับว่ากาขาวมาถึงแล้วก็ดีพระไทย จึงให้จัดแจงพื้นอันกว้างใหญ่ ให้ปูลาดอาสนะเปนที่ระโหฐานใหญ่ จึงเชิญกามีกาขาวเปนประธาน ให้จับแล้วก็เลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญด้วยอาหารมีรสอันเลิศต่างๆ
กตกิจ์จาวสาเน ราชา ตัส์ส ธัม์มํ โสตุกาโม ทีปธูปาทินานาปูชาสัก์การานิ คาหาเปต๎วา อาคัน์ต๎วา ปูเชต๎วา อัต์ตโน รุจ์จนเก อาสเน นิสีทิ.
ครั้นกาทั้งหลายได้รับพระราชทานเลี้ยงสำเร็จเสร็จแล้ว พระเจ้าอาทิตยราช มีพระราชประสงค์จะสดับธรรมของกาขาวนั้น จึงให้ราชบุรุษยกเครื่องสักการะบูชามีประการต่างๆ มีเทียนธูปเปนต้นมาบูชาแล้ว ก็เสด็จประทับนั่งบนราชอาศน์ เปนที่พอพระไทยของพระองค์
อถ นํ เสตราชกาโก เตน สัท์ธึ ปติสัณ์ฐารํ อกาสิ.
ในลำดับนั้น พระยากาเผือกก็กระทำปฏิสันถารกับด้วยพระเจ้าอาทิตยราช
สังคาหิโก โสตรสาวหํ กัต๎วา คาถาพัน์ธวเสน ตํ ทัส์เสน์โต อาห.
พระสังคาหิกาจารย์ เมื่อจะสำแดงเนื้อความนั้นด้วยสามารถ ประพันธ์ให้เปนพระคาถา กระทำให้เปนถ้อยคำนำมาซึ่งรศแก่โสตรประสาท จึงได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
ตโต โส อาทิต์โต ราชา กากราชมุปาคมิ ปูชยิต๎วาน โส ตัส์ส นิสีทิ รุจ์จนาสเน อถ กาโกปิ ตํ ทิส๎วา ราชานํปิ สคารวํ เตน สัท์ธึ ปฏินัน์ทํ ปฏิสัณ์ฐารํ ภาสถ กัจ์จินุ เต มหาราช อโรค์ยัน์เต อกิญ์จนํ กัจ์จิ นุ รัช์ชํ กาเรสิ ทสธัม์เม อโกปเย กัจ์จิ นุ รัฏ์ฐํ ปาเลสิ สุภิก์เข เต อนามเย กัจ์จามิต์ตา อภายัน์ติ ฉายาว ทัก์ขิ นายนาติ.
ในลำดับนั้น พระเจ้าอาทิตยราช จึงเสด็จเข้าไปใกล้พระยากาเผือก ทรงบูชาพระยากาเผือกแล้ว ก็เสด็จประทับนั่งในราชอาศน์ที่พอพระไทย ลำดับนั้นพระยากาเผือกได้เห็นพระเจ้าอาทิตยราชมีความเคารพในตน จึงได้กล่าวปฏิสัณฐารเปนที่น่าเพลิดเพลินกับด้วยพระเจ้าอาทิตยราชนั้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้าพระองค์ปราศจากพระโรคาพาธ แลปราศจากความกังวลด้วยราชกรณียกิจ ครอบครองสิริราชสมบัติ มิให้กำเริบทศพิธราชธรรมอยู่ฤๅ อนึ่งพระองค์ทรงอภิบาลบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตรของพระองค์ เปนที่มีภักษาหารแสวงหาได้โดยง่ายปราศจากทุกข์ภัยอยู่ฤๅ อนึ่งข้าศึกสัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่เกรงขามต่อพระราชอาชญา เปนประดุจดังฉายาที่บุคคลเห็นด้วยตามีอยู่ฤๅ
อาทิต์ตราชา อาห.
พระเจ้าอาทิตยราช จึงตรัสตอบว่า
อัต์ถิ นุ เม กากราช อโรค๎ยํ เม อกิญ์จนํ อโถปิ รัช์ชํ กาเรมิ ทสธัม์เม อโกปยํ อโถปิ รัฏฐํ ปาเลมิ สุภิก์เข เม อนามเย อโถมิต์ตา อภายัน์ติ ฉายาว ทัก์ขิ นายนา ส๎วาคตัน์เต ราชกาก อโถ เต อทุราคตํ ปุจ์ฉามิ ตํ สุวฒานํ อัณ์ฑชํ ปวรุต์ตมํ ชีวัน์เต กิร สัม์พุท์เธ อาคเต อิธ พ๎ยากริ ชินธาตุป์ปปัต์ตีติ สัจ์จํ นุ อลิกัน์ติ วา
ดูกรพระยากา เราหาได้มีโรคาพยาธิอันใดมาเบียดเบียนไม่ แลกังวลสิ่งใดก็ไม่มีแก่เรา เราได้ครอบครองสิริราชสมบัติมิได้กำเริบในทศพิธราชธรรม เราได้อภิบาลบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตรของเรา เปนที่แสวงหาภิกษาหารได้โดยง่าย ไม่มีทุกข์ภัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเบียดเบียนเลย อนึ่งข้าศึกสัตรูหมู่ปัจจามิตร ซึ่งไม่เกรงขามต่อพระราชอาชญา เปนประดุจดังฉายาที่บุคคลเห็นด้วยตาก็ไม่มี ดูกรพระยากา การมาของท่านครั้งนี้เปนการดีแล้ว อนึ่งการมาของท่านไม่สู้ไกลนักดอกฤๅ เราขอถามท่านผู้เจริญผู้เกิดในฟองผู้ประเสริฐสูงสุด ได้ยินว่าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้เสด็จมาพยากรว่าพระชินธาตุจะอุปบัติบังเกิดขึ้นในที่นี้ คำที่ว่านี้เปนคำจริงฤๅเปนคำเท็จ
อถ นํ เสทราชกาโก สัจ์จธัม์มํ เทเสน์โต อาห.
ลำดับนั้นพระยากาเผือก เมื่อจะสำแดงธรรมที่จริง จึงกราบทูลพระเจ้าอาทิตยราชว่า
อาม สัจ์จํ มหาราช อิทํ วาจํ อนาลิกํ ยัส๎มา หิ อภิสัม์พุท์โธ สัม์พุท์โธ กรุณาธิโก พุท์ธสุขํ อเปก์ขัน์โต อัต์ตานํ สุขการณา เวเนย์ยชนเต สัพ์เพ โอโลเกน์ติ ทิเนทิเน เวเนย์ยา ยัต์ถ วสัน์ติ ทูเรวาปิ จ สัน์ติเก ตัต์ถ คัน์ต๎วา ปโมเจตํุ มัค์คผลา นทาสิ โส สัพ์พสัต์เต ปโมเจต๎วา สกัฏ์ฐานํ ปุนาคมิ ปฐมพุท์ธโต ยาว นิพ์พาเนว กโรติ โส เอกัส๎มึ สมเย พุท์โธ วสัน์โต อิสิปตเน มิคทายวเน รัม์เม พาราณสิย สมิเป ปัส์สิต๎วา เมงคปุต์ตานํ วสัน์ตานํ ชโรหกํ ตโต โส อาคโต ตัส๎มึ คาเม ปิณ์ฑํ อคหิ โส สัพ์เพ เต อนุสาสิต๎วา อาคโต อิธ ติฏ์ฐติ วนเมงคา ชนา จาปิ อหัญ์จาปิ อน๎วาคมิ ติฏ์ฐัน์โต พุท์ธวโร โส วนเมงคานมาห จ อนาคเต อิทํ โภน์โต มหาปุรี ภวิส์สติ ตเทโก อาทิต์โต นาม ราชา รัช์ชํ กริส์สติ โสปิ ราชา กริส์สติ ตุม๎หากํ ญาติวจนํ มยิ ปรินิพ์พานัม๎หิ ธาตุ มัย๎หํ สรีรกํ เอโก เอต์ถุป์ปัช์ชิส์สติ เอตํ สุลัก์ขิราชิโน โสปิ ราชา กริส์สติ ตุม๎หากํ ญาติสังคหํ เอวํ วัต๎วาน สัม์พุท์โธ เวหาย อภุคัญ์ฉิ โส อหัม์ปิ รัก์ขิตํุ ฐานํ อิมํ นัต์ตาร ฐาปยิ มหาราชา อชานิต๎วา จัณ์ฑาคารํ กราปยิ ฉัฑ์ฑิตํุ มุต์ตกรีสํ คัน์ต๎วา อาฬิน์ทมัชฌกํ เอโสปิ ตํ นิวาเรตํุ กโรติ นิมิต์ตํ ตว มา ตํ กุช์ฌิ มหาราช อัต์ถํ กโรติ โส ตวาติ.
ข้าแต่มหาราชเจ้า วาจานี้เปนวาจาจริงไม่เปนวาจาเท็จ แท้จริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอภิสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์มีพระกรุณาอันยิ่งใหญ่ ไม่มุ่งหมายแต่ความศุขส่วนพระองค์ เพราะเหตุจะให้พระองค์เปนศุขเหตุใด เหตุดังนั้น พระองค์แลดูเวไนยสัตวทั้งปวงทุกวันๆ เวไนยสัตวทั้งหลายอยู่ในที่ใดไกลก็ดีใกล้ก็ดี พระองค์ก็เสด็จไปในที่นั้นได้ประทานมรรคแลผลเมื่อจะปลดเปลื้องเวไนยสัตวให้พ้นไปจากทุกข์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ปลดเปลื้องสรรพสัตวทั้งปวงให้พ้นไปจากทุกข์ แล้วก็เสด็จมายังที่ของพระองค์อิก พระองค์กระทำอยู่อย่างนี้ ตั้งแต่แรกตรัสรู้จนถึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในสมัยครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เปนที่รัมณิยสถานใกล้พระนครพาราณสี ทรงเห็นบ้านชโรหคามของพวกเมงคบุตรทั้งหลายอยู่ที่นั้น จึงได้เสด็จมาจากป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ทรงรับบิณฑบาตในบ้านชโรหคามนั้น ทรงสั่งสอนพวกเมงคบุตรทั้งปวงเหล่านั้น แล้วเสด็จมาประทับยืนอยู่ในประเทศที่นี้ พวกเมงคบุตรชาวป่ากับข้าพระบาทก็ได้ตามเสด็จมา พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น เสด็จยืนตรัสแก่พวกเมงคบุตรชาวป่าว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ในอนาคตกาลประเทศที่นี้จักเปนพระนครใหญ่ กาลนั้นจะมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าอาทิตยราชครอบครองสิริราชสมบัติ พระเจ้าอาทิตยราชนั้นจักกระทำตามถ้อยคำของท่านทั้งหลาย ครั้นเมื่อเราผู้ตถาคตเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว พระสริรธาตุของเราพระองค์หนึ่งจะบังเกิดขึ้นในที่นี้ พระสริรธาตุของเรานั้นจักเปนของพระเจ้าอาทิตยราช พระเจ้าอาทิตยราชนั้น จักกระทำการสงเคราะห์แก่ญาติของท่านทั้งหลาย พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็เสด็จเหาะไปบนเวหา ส่วนข้าพระองค์จึงตั้งกาผู้เปนหลานให้รักษาที่นี้ พระมหาราชเจ้าไม่ทรงทราบ จึงให้กระทำเรือนจัณฑ์เพื่อจะกระทำสริรกิจได้เสด็จไปยังท่ามกลางระเบียง ส่วนกานั้นได้กระทำนิมิตรแก่พระองค์เพื่อจะห้ามพระองค์ ขอพระมหาราชเจ้าอย่าได้ทรงพระพิโรธกานั้นเลย กานั้นจะกระทำประโยชน์แก่พระองค์
เอวํ กากราชา พุท์ธวจนานุสาเรน พุท์ธลีลาย รัญ์โญ ธัม์มํ เทเสสิ.
พระยากา แสดงธรรมแก่พระเจ้าอาทิตยราช ด้วยพุทธลีลาเป็นไปตามถ้อยคำของพระพุทธเจ้าอย่างนี้
ราชาปิ เสตกากรัญ์โญ ธัม์มํ สุต๎วา ปีติภริตหทโย นิก์โข หุต๎วา โภ อมัจ์เจ ตุเม๎ห อัช์ช ขเณ ตํ วิจาเรต๎วา ทุมัต์ติเก ทุมัต์ติเก นิหราเปต๎วา สุมัต์ติเก สุวาลิเก อาหริต๎วา ตัต์ถ สุฏ์ฐุปุเรจาติ อมัจ์เจ อาณาเปสิ.
ส่วนพระเจ้าอาทิตยราช ได้สดับธรรมของพระยากาเผือก ก็มีพระราชหฤไทยซ่านไปด้วยพระปีติสิ้นความสงไสยแล้ว จึงบังคับอำมาตย์ว่า ดูกรอำมาตย์ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงพิจารณาที่นั้นในขณะนี้แล้ว จงขนเอาดินที่ชั่วชั่วออกเสีย จงขนดินที่ดีขนทรายที่ดีมาใส่ไว้ในที่นั้นให้เต็มจงดี
เอวํ เต อาณาเปต๎วา ปุน มหาปูชาสัก์กาเรหิ กากราชัส์ส ปูเชต๎วา ปัค์คัย๎หิต์ถ สิรสิ อัญ์ชลึ กัต๎วา ตัส์ส คุณํ โถเมน์โต อาห.
พระเจ้าอาทิตยราช บังคับราชอำมาตย์ทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ก็บูชาพระยากาด้วยเครื่องบูชาสักการะอิก แล้วกระทำอัญชลีประคองขึ้นบนพระเศียรเกล้า เมื่อจะชมเชยพระคุณของพระยากาเผือกนั้น จึงตรัสว่า
สุภัพ์โพ ตวํ มหาราช กากราช ทิฆายุโก ยัส๎มา ต๎วํ ปัส์สิ สัม์พุทธํ ธัม์มัญ์จัส์ส มุขํ สุณิ อาภัพ์พัม๎หา มยํ สัพ์เพ พุท์ธสุญ์เญ อุปัช์ชเร อัป์ปัส์สัม์ปิ จ สัม์พุท์ธํ ปสิส์ส ตํ คณุต์ตมํ ยัญ์จัส์ส มุขโต ธัม์มํ สุต๎วา ตํ เต สุเทสิตํ มัญ์ญมาโน มยํ ธัม์มํ เทสิตํ พุท์ธสาทิสัน์ติ.
ดูกรพระยากาผู้เปนใหญ่ ท่านเปนผู้สมควรดีนัก ท่านเปนผู้มีอายุยืน ท่านได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมแต่พระโอษฐของพระพุทธเจ้านั้น ข้าพเจ้าทั้งปวงเปนผู้อาภัพ มาเกิดในกาลสูญจากพระพุทธเจ้าเสียแล้ว แลไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าด้วย ได้เห็นอยู่แต่หมู่พระภิกษุสงฆ์อันอุดมนั้น อนึ่งธรรมใดที่ท่านฟังมาแต่พระโอษฐของพระพุทธเจ้านั้น ธรรมนั้นท่านแสดงดีแล้ว เหตุใด เหตุดังนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายสำคัญอยู่ซึ่งธรรมที่ท่านแสดงแล้วนั้น ว่าเหมือนกับธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้ว
อถ นํ กาโก อาห.
ลำดับนั้น พระยากาจึงกราบทูลว่า
จิรํ ชีวตุ ต๎วํ ราช รัฏ์ฐํ ปาเลตุ ธัม์มตา พุท์เธ ธัม์เม จ สํเฆ จ มา ปมาทํ กโรหิ ต๎วํ ยัส๎มา หิ ต๎วํ มหาราช สัม์พุท์เธน พ๎ยากริ ตัส๎มา หิ ต๎วํ พุท์ธธาตุส์ส รัก์ขิตํ อนเปก์ขิตํุ.
ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงพระชนม์อยู่สิ้นกาลนานเถิด ขอพระองค์จงรักษาพระราชอาณาเขตรโดยธรรมเถิด ขอพระองค์อย่ากระทำความประมาทในพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้พยากรณ์พระองค์ไว้ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น นั่นแหละ ขอพระองค์จงช่วยพิทักษรักษาพระธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ อย่าได้ทอดพระธุระเสียเลย
เอวํ วัต๎วาน โส กาโก กาเกหิ ปริวาริโต ยถา อาคโต ตถา คโตติ.
พระยากา ได้กราบทูลพระเจ้าอาทิตยราชด้วยประการดังนี้แล้ว อันกาทั้งหลายแวดล้อมมาแล้วด้วยประการใด ก็แวดล้อมไปด้วยกาทั้งหลายด้วยประการนั้น
อาทิต์ตราชาปิ อติวิย โสมนัส์สปัต์โต.
พระเจ้าอาทิตยราช พระองค์ถึงซึ่งความโสมนัศอย่างยิ่ง
กาโก นาม สัพ์พติรัจ์ฉานาสุ หีโน กถํ พุท์ธลีลาย ธัม์มํ เทเสตํุ ชานิส์สตีติ โจเทย์ย.
มีคำโจทย์เข้ามาว่า บันดาสัตวเดียรฉานทั้งสิ้น ขึ้นชื่อว่ากาเปนสัตวต่ำช้า จะรู้จักแสดงธรรมด้วยพระพุทธลีลาอย่างไร
อาม กาโก นาม สามัญ์ญกาโก หีโน วทติ เอโส ปน น สามัญ์ญกาโก พุท์ธสาวกกาโก นาม ยัส๎มา พุท์ธสาวก กาโก สัม์มาสัม์พุท์เธ พาราณสิยํ วสัน์เต เอโส พุท์ธุป์ปัฏ์ฐากํ กโรติ ธัม์มัญ์จัส์ส สุณาติ อิธคมนกาเล จ เอโส ปัจ์ฉาสมโณวิย พุท์ธัส์ส ปัจ์ฉโต อน๎วาคัน์ต๎วา ยํยํ พุท์ธวจนํ ตํตํ ปฏิส์โสสิ อัม๎หากํ ปน ภควา อิมัส์ส อัช์ฌาสยัญ์จ กัม์มชวนัญ์จ ทีฆายุกํ ญัต๎วา มยิปรินิพ์พาเน อรหัน์ตเขต์ตขีเณ สุก์ขวิปัส์สกเขต์ตสัม์ปัต์เต เอโส มม วจนานุสาเรน สัพ์เพสํ ธัม์มํ กเถส์สติ มัย๎หํ ธาตุฏ์ฐานัญ์จ รัก์ขิส์สสตีติ ตัส๎มา เอโส สัม์มาสัม์พุท์ธัส์ส วิตัก์กานุภาเวน ธัม์มํ เทเสตํุ สมัต์โถ โหติ อปิจ อาทิต์ตราชา กากัส์ส มหัน์ตํ ปูชาสัก์การํ กัต๎วา วัน์ทิต๎วา อติวิย สัท์ทหิต๎วา พุท์ธพ๎ยากรณานุภาเวนาติ วิสัช์ชนาติ.
มีคำวิสัชชนาว่า จริงอยู่ ชื่อว่ากาที่เปนกาสามัญ บัณฑิตย่อมกล่าวว่าเปนสัตวต่ำช้า ส่วนพระยากาเผือกนั้น ไม่ใช่กาสามัญ เปนกาสาวกของพระพุทธเจ้า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในพระนครพาราณสี กาพุทธสาวกนั้นได้กระทำพุทธอุปฐาก และได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้านั้น กาพุทธสาวกนั้น ประดุจดังพระภิกษุองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งเปนปัจฉาสมณะตามเสด็จมาข้างหลังของพระพุทธเจ้า ในกาลที่พระองค์เสด็จในที่นี้ คำใดใดที่เปนคำของพระพุทธเจ้า กาพุทธสาวกก็ได้ฟังคำนั้นนั้นไว้ ส่วนสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์ของเราทั้งหลาย ทรงทราบอัชฌาศรัยแลกรรมชวนะของกานี้ แลทรงทราบว่ากานี้จะมีอายุยืนนาน จึงตรัสว่าเมื่อเราผู้ตถาคตดับขันธปรินิพพานแล้ว เขตรพระอรหันต์ก็สิ้นแล้ว ถึงคราวเขตรจะมีแต่พระสุกขวิปัสสก กาเผือกตัวนี้จักกล่าวธรรมแก่ชนทั้งปวง เปนไปตามถ้อยคำของเรา จักรักษาที่ที่จะประดิษฐานพระธาตุของเรา เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น กาเผือกนั้นเปนผู้สามารถจะแสดงธรรม เปนไปตามความวิตกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อิกประการหนึ่ง พระเจ้าอาทิตยราชจักกระทำการบูชาสักการะใหญ่แก่กา จักนมัสการจักเชื่อตามพุทธพยากรณ์เปนอย่างยิ่ง
เสตราชกากัส์ส หิมวันตํ คตกาเลเยว ราชา ราชนิเวสนโต โอตริต๎วา ตํ ฐานํ สหัต์เถน โสเธต๎วา ทุมัต์ติเก พหินคเร นิหราเปต๎วา สุมัต์ติเก ปุราเปต๎วา อัต์ตโน วสนนคเร เคหานิปิ นิหราเปต๎วา ตโต ทูรโต นิหราเปสิ ตัส์ส สมัน์ตโต จตุทิสพ๎ยามัป์ปมาณํ อาวัฏ์ฏํ กาเรต๎วา รชฏสุวัณ์ณสทิสํ วาลุกํ หัต์ถัป์ปมาณพหลํ ปุราเปต๎วา ตโต พหิ อาวัฏ์เฏ ปทุมุป์ปลสุคัน์ธปุป์ผวิกสิตสุวัณ์ณรชฏฑฏปัน์ตีหิ สมัน์ตโต ปฏิปาฏิยา ฐปาเปต๎วา ตโต พหิ จ อาวัฏ์เฏ สุวัณ์ณรชฏทีปธูปคัน์ธจุณ์ณสุวัณ์ณรชฏปัต์ตปาลปัน์ติกัท์ทลิโตรณัป์ปรุก์ขัค์เค ปฏิปาฏิยาฐปาเปสิ ตโต พหิ จ ธชปฏากปัน์ตีหิ สมัน์ตโต ปฏิปาฏิยา ฐปาเปสิ.
ในกาลเมื่อพระยากาเผือกไปสู่ป่าหิมพานต์แล้ว พระเจ้าอาทิตยราชก็เสด็จลงจากพระราชนิเวศน์ ชำระที่นั้นให้หมดจดสอาดด้วยพระราชหัตถ์ของพระองค์แล้ว จึงให้ขนเอาดินที่ชั่วออกไปเสียภายนอกพระนคร ให้ขนเอาดินที่ดีมาเรี่ยรายลงให้เต็มแล้ว ให้รื้อขนเย่าเรือนในพระนครที่อยู่ของพระองค์ ออกไปเสียให้ไกลห่างจากที่นั้น แล้วให้กระทำราชวัฏประมาณวาหนึ่ง โดยรอบที่นั้นทั้งสี่ทิศ ให้เต็มไปด้วยทรายเงินทรายทอง หนาประมาณศอกหนึ่งแล้ว ให้ตั้งเรียบเรียงโดยรอบด้วยระเบียบหม้อทองหม้อเงิน อันเต็มไปด้วยดอกประทุมชาติแลดอกอุบล แลดอกไม้มีกลิ่นหอมอันบานแล้วในราชวัฏ แลภายนอกจากราชวัฏนั้นแล้ว ให้ตั้งเรียบเรียงเทียนทองเทียนเงินแลธูปแลจรุณมีกลิ่นหอม แลระเบียบกระถางทำด้วยแผ่นทองแผ่นเงิน แลปลูกต้นกล้วยในเสาใต้แลปลายไม้ในราชวัฏ แลภายนอกราชวัฏนั้นแล้ว ให้ตั้งเรียบเรียงโดยรอบ ด้วยระเบียบธงชายแลธงประฏาก ในภายนอกราชวัฏนั้น
เอวํ ปฏิยาเทต๎วา สกลนคเร เภริญ์จาราเปต๎วา โภน์โต อกาลัส๎มึ อัม๎หากํ รัญ์โญ รังคมัช์เฌ ภควโต สารีริกธาตุ อุป์ปัช์ชิส์สติ ทีปธูปคัน์ธมาาทีหิ ตํ ปูชํ คัจ์ฉถ คัน์โธทกัญ์จ ตํ สิญ์จิตํุ คัจ์ฉถาติ.
พระเจ้าอาทิตยราช โปรดให้ตกแต่งอย่างนี้แล้ว จึงให้ตีกลองประกาศเที่ยวไปในพระนครทั้งสิ้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ได้อุบัติบังเกิดขึ้นในท่ามกลางสนาม ของพระราชาของเราทั้งหลาย ในอกาลสมัย ท่านทั้งหลายจงไปบูชาพระสรีรธาตุนั้นด้วยเครื่องสักการะบูชา มีเทียนธูปแลระเบียบดอกไม้ของหอมเปนต้น แลจงไปสระสรงพระสรีรธาตุนั้นด้วยน้ำหอม
ตํ สุต๎วา นครวาสิโน ชนตา อติวิย ปมุทิตจิต์ตา ทีปธูปปุป์ผคัน์ธจุณ์ณปุป์ผทามมาลาทามาทิหัต์ถา คัน์โธทกภริตฆฏกลลาปิ สกสกานุรูเปน พเลน ตัต์ถ สมาคัน์ต๎วา สิญ์จิต๎วา ปูชิต๎วา วัน์ทิต๎วา สกสกานุรูเปน นิสีทึสุ.
ประชุมชนชาวพระนครได้ฟังคำประกาศนั้นแล้ว มีจิตรรื่นเริงเปนอย่างยิ่ง ก็ถือเครื่องสักการะบูชามีเทียนธูปแลดอกไม้ ของหอมแลจุรณ แลพวงดอกไม้ แลพวงมาไลยเปนต้น ก็เปียกชุ่มไปด้วยหม้อ เต็มไปด้วยน้ำหอมมาพร้อมกันในสถานที่นั้น ด้วยกำลังสมควรแก่ตนๆ แล้วสระสรงลงบูชาถวายอภิวาทแล้ว ก็พากันนั่งอยู่ตามสมควรแก่ตนๆ
อาทิต์ตราชาปิ สีสัน๎หาต๎วา สัพ์พาภรณปฏิมัณ์ฑิโต คัน์โธทกภริตสุวัณ์ณภิงคารํ คเหต๎วา ราชเทวีปมุขโอโรธคณปริวุต์โต อาคัน์ต๎วา.
ส่วนพระเจ้าอาทิตยราช สรงสนานพระเศียรเกล้าแล้ว ก็ประดับด้วยอาภรณ์มีประการต่างๆ ทรงจับพระเต้าสุวรรณภิงคารอันเต็มไปด้วยน้ำหอม มีหมู่นางสนม มีพระราชเทวีเปนประธานแวดล้อมเสด็จมา
ตโต เสนาปตาทิพ๎ราห๎มณคหปติกา จ ราชานํ อน๎วาคัญ์ฉึสุ ปัต๎วา จ ปน ราชา สุวัณ์ณภิงคารํ สีเสนุก์ขิปิต๎วา สคารเวน ธาตุอุป์ปัช์ชนํ อภิสิญ์จิ.
ส่วนพวกพราหมณ์คหบดี มีเสนาบดีเปนต้น ก็ตามเสด็จพระเจ้าอาทิตยราชมาในภายหลัง ครั้นถึงแล้วพระเจ้าอาทิตยราชก็ทรงยกพระเต้าสุวรรณภิงคาร ขึ้นบนพระเศียรเกล้า แล้วสระสรงสถานที่ที่จะบังเกิดพระบรมธาตุลงโดยเคารพ
ตโต ราชเทวี จ ราชธีตา ตํ อภิสิญ์จิ.
ลำดับนั้น พระราชเทวีแลพระราชธิดา ก็สระสรงสถานที่นั้นลง
ตโต สัพ์เพ เสนาปตาทโย ชนตา จตูสุ ทิสาสุ ปวีสิต๎วา อาคัน์ต๎วา ตํ อภิสิญ์จิต๎วา วัน์ทิต๎วา โอสกึสุ.
ลำดับนั้น ประชุมชนทั้งปวงมีเสนาบดีเปนต้น ก็เข้าไปใน ๔ ทิศสระสรงสถานที่นั้นลงแล้วถวายนมัสการ แล้วก็พากันหยุดพักอยู่
อถ ราชาปิ ปุป์ผคัน์ธมาลาทีหิ ตํ ปูชิต๎วา วัน์ทิต๎วา สิรสิ อัญ์ชลิม์ปติฏ์ฐเปต๎วา สคารเวน พุท์ธคุณํ อารภิต๎วา ชินธาตุ อาราธนํ กโรน์โต อาห
ลำดับนั้น พระเจ้าอาทิตยราชก็บูชาสถานที่นั้นด้วยระเบียบดอกไม้ของหอม ถวายนมัสการแล้วก็ตั้งอัญชลีประนมหัตถ์เหนือพระเศียรเกล้า ปรารภถึงพระพุทธคุณโดยเคารพ เมื่อจะกระทำการเชื้อเชิญพระชินธาตุเจ้า จึงตรัสเปนพระคาถาว่า
ภัน์เต สัพ์พัญ์ญูสัม์พุท์ธ โลกานํ กรุณาธิก ปุพ์เพ กิร ธรัน์เตสุ พาราณสิปุราคมา ติฏ์ฐัน์โต อิธ ฐานัส๎มึ เวย์ยากริถ ญาติเม ตุม๎หากํ สารีริกํ ธาตุ อุป์ปัช์ชิส์สติ เอต์ถ เมติ ยทิ สัจ์จมิทํ อัต์ถิ ธาตุ ตุม์หํ อุปาทิตุ มัย์หัญ์จ ชนตานัญ์จ ปาฏิหารํ จ ทัส์เสตู ติ.
ข้าแต่พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้าผู้เจริญ ผู้มีพระกรุณาอันยิ่งใหญ่ในโลก ได้ยินว่า เดิมเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ได้เสด็จมาจากพระนครพาราณสี ทรงประทับยืนอยู่ในที่นี้ ได้ทรงพยากรแก่ข้าพระองค์ผู้เปนญาติว่า พระสารีริกธาตุของพระองค์จักอุบัติบังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ในสถานที่นี้ ถ้าสถานที่นี้จะมีพระสารีริกธาตุของพระองค์ อุบัติบังเกิดขึ้นจริงแล้ว ขอพระสารีริกธาตุเจ้าจงสำแดงปาฏิหารให้ประจักษ์แก่ข้าพระองค์แลประชุมชนทั้งหลายเถิด
ตัส๎มึ ขเณ ธาตุ ว รัส์ส ตัส์ส สัม์มัพ์ภิชิเต สกรัณ์ฑโสเร มหัน์ตปุป์เผ กัท์ทลิป์ปมาเณ สุคัน์ธปุณ์เณ ทิพ์พวาสปุณ์เณ กรัณ์ฑเสฏ์โฐปิ อโสกรัญ์โญ สัต์ตรตเนกัป์ปัต์โต ปภาโส ฐปิตปุพ์เพ สุจิรัน์ตกาเล ธาตานุภาเวน ชัช์ชลมาโน ราชัป์ปมุขา ชนตา ปัส์สัน์ตา อุทัค์คุทัค์คาภิปหัตถ์มานสา มุญ์จึสุ วัต์ถาภรณานิ เสฏ์ฐา วัต์ตึสุ ปูชา ชินธาตวัส์ส อเถต์ถ วัต์ตติ สัท์โท ตุมุโล เภรโล มหา สาธุการสํขเภริปัญ์จางคีหิ.
ในขณะนั้น ครั้นเมื่อรัศมีของผะอบที่บรรจุพระธาตุอันประเสริฐ มีประมาณเท่าปลีกล้วยอันใหญ่ อันเต็มไปด้วยเครื่องหอม แลเต็มไปด้วยเครื่องอบอันเปนทิพย์ พลุ่งขึ้นมาแล้ว ผะอบพระธาตุอันประเสริฐของพระเจ้าอโสกราชก็เปล่งแสงสว่างด้วยรัตนะเจ็ดถึงซึ่งเปนอเนกัปปการ รุ่งเรืองอยู่ด้วยอานุภาพพระธาตุ สิ้นกาลนาน ประชุมชนทั้งหลาย มีพระเจ้าอาทิตยราชเปนประธาน ก็เกิดความเลื่อมใสมีใจรื่นเริงยิ่งสูงขึ้น ก็เปลื้องวัตถาภรณ์อันประเสริฐ กระทำการบูชาพระชินธาตุ ครั้งนั้นเสียงเอิกเกริกกึกก้องใหญ่ ก็ประพฤติเปนไปในสถานที่นั้น ด้วยเสียงสาธุการแลเสียงสังข์เสียงกลองแลเสียงดุริยางค์ดนตรี มีองค์ ๕ ประการ
เอวํ ธาตุปาฏิหาริยนิท์เทโส จ ปุน ปถวิยํ นิมุค์คา จ โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน อลังกโต ปัญ์จทสโม ปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.
นิเทศแสดงด้วยพระธาตุปาฏิหาร อย่างนี้ แลพระธาตุจมลงไปในแผ่นดินอิก
พระมหาเถรผู้มีนามว่า โพธิรังษีได้แต่งไว้แล้ว