จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๑

เอวํ วุต์ตนเยเนว จามเทวี อัต์ตโน ปุต์เตน อนัน์ตยเสน สัท์ธึ เขลางคนคเร วสิต๎วา ตติยสํวัจ์ฉเร ปริปุณ์เณ สา อนัน์ตยสราชานํ สกปิยปุต์ตํ อาห.

พระนางเจ้าจามเทวีนั้นอยู่ในพระนครเขลางค์ กับด้วยพระเจ้าอนันตยศผู้พระราชบุตรของพระองค์ ถ้วนสามปีโดยนัยอันกล่าวแล้วด้วยประการดังนี้ จึงตรัสกับพระเจ้าอนันตยศผู้ปิยบุตรของพระองค์ว่า

ตาต ปิยปุต์ต อหํ ตวภาตรํ ปัส์สิตํุ คมิส์สามิ หริปุญ์เชยํ ยัน์ติ อิทานิ ต๎วํ อิมํ ตว นครํ ปฏิค์คัณ๎หิต๎วา สุเขน รัช์ชํ กาเรหีติ.

ดูกรพ่อปิยบุตร มารดาจะไปยังหริปุญชัยนครเพื่อจะเห็นพระภาตุราชของพ่อ พ่อจงรับพระนครของพ่อนี้อยู่ครอบครองราชสมบัติให้เปนศุขสำราญณกาลบัดนี้เถิด

ตํ สุต๎วา อนัน์ตยสราชา อาห อัม์ม ตุเม๎หสุ อิธ วสัน์ตีสุ มัย๎หํ จิต์ตํ สุขํ โหติ ตยิ คเตเยว กึ นาม สุขํ เม ภวิส์ส ตัส๎มา มา มํ ปชเหย์ยาถ สเจ ต๎วํ มํ ปชหิต๎วา คัจ์ฉสิ มม ชีวิตํ น จีรํ สัณ์ฐตีติ.

สมเด็จพระเจ้าอนันตยศได้ ทรงสดับพระราชเสาวนีของพระราชมารดาเจ้าแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดาเจ้า เมื่อพระมารดาเจ้าอยู่ในพระนครนี้ จิตรของข้าพระบาทก็เปนศุข ครั้นเมื่อพระมารดาเจ้าเสด็จไปแล้ว ความศุขอะไรจักบังเกิดมีแก่ข้าพระบาท เพราะเหตุนั้นขอพระมารดาเจ้าอย่าได้ละทิ้งข้าพระบาทเลย ถ้าพระมารดาเจ้าละทิ้งข้าพระบาทไปเสียแล้ว ชีวิตของข้าพระบาทก็จะตั้งอยู่ไม่ได้นาน

สา เอวํ ตัส์ส อนาถวจนํ สุต๎วา อาห ตาต สเจ เอวํ วทสิ อหํ ตยา สัท์ธึ อิโต ปเร ตติยสํวัจ์ฉเร วสิส์สามิ อปิจต๎วํ เขลางคนคเร วสาหิ อหํ ปน อาลัม์พางคนคเร วสิส์สามิ สเจ มมาธิป์ปาโย ตว รุจ์จกํ ภเวย์ย อิธ วสิส์สามิ โน โจ รุจ์จติ หริปุญ์เชย์ยํ คมิส์สามีติ.

พระนางเจ้าจามเทวีได้ทรงสดับอนาถพจน์ของพระเจ้าอนันตยศด้วยประการดังนี้แล้วจึงตรัสว่า ดูกรพ่ออนันตยศ ถ้าพ่อขออย่างนี้มารดาจะอยู่ด้วยกับพ่ออีกสามปี เบื้องน่าแต่ปีนี้ไป ก็แต่ว่าพ่อจงอยู่ในเขลางคนคร ส่วนมารดาจะอยู่ในอาลัมพางคนคร ถ้าความประสงค์ของมารดาเปนที่ชอบใจของพ่อ มารดาจะอยู่ในอาลัมพางคะนคร ถ้าความประสงค์ของมารดาไม่เปนที่ชอบใจของพ่อ มารดาจะไปยังหริปุญชัยนคร

เอวํ วุต์เต อนัน์ตยโส ราชา สาธุ อัม์มาติ อาห.

เมื่อพระนางเจ้าจามเทวีตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอนันตยศจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดาเจ้า พระวาจาที่พระมารดาเจ้าตรัสนั้นเปนการดีแล้ว

ตทา จามเทวี เขลางคนครโต นิก์ขมิต๎วา อาลัม์พางคนคเร วสิต๎วา อัต์ตโน ปุต์ตํ อนัน์ตยสราชานํ เขลางคนคเร วสาเปสิ.

ในกาลนั้นพระนางเจ้าจามเทวีก็เสด็จออกจากเขลางคนคร ไปอยู่ในอาลัมพางคะนคร ให้พระเจ้าอนันตยศผู้ราชบุตรของพระนางอยู่ในเขลางคนคร

กัส๎มา จามเทวี เอวํ กโรตีติ.

จึงมีคำปุจฉาว่า พระนางเจ้าจามเทวีกระทำอย่างนี้ เพราะเหตุอะไร

กิรัส์สา เอตทโหสิ สจาหํ เขลางคมหานคเร วสามิ มม ปุต์ตัส์ส ราชภาวํ สัพ์เพสํ ชนตานํ อปากฏํ อุปราชยสํวิยขายตีติ อปิจ สมณพ๎ราห๎มณาทิกา ชนตา มํ ครหิส์สัน์ติ เอสา อัต์ตโน ปมาณํ น ชานาตีติ อัต์ตโน ปุต์ตัส์ส ปากฏัต์ถัญ์จ อัต์ตโน คารัย๎หวจนโมจนัต์ถัญ์จ ตัส๎มา เทวี เอวํ กโรติ

คำวิสัชนาว่า ได้ยินว่าความปริวิตกนี้ได้บังเกิดมีแล้วแก่พระนางเจ้าจามเทวีว่า ถ้าเราจะอยู่ในเขลางคนคร ความเปนบรมกระษัตริย์ของพระราชบุตรเราก็จะไม่ปรากฏแก่ชุนชนทั้งสิ้น จะปรากฏประดุจดังยศของอุปราช อิกประการหนึ่งประชุมชนทั้งหลายมีสมณพราหมณ์เปนต้นก็จะติเตียนเราว่าไม่รู้ประมาณตน เพราะเหตุนั้นพระนางเจ้าจามเทวีจึงกระทำอย่างนี้ เพื่อความปรากฏของพระราชบุตรของพระนางด้วย เพื่อจะปลดเปลื้องเสียซึ่งถ้อยคำที่บุคคลจะครหาติเตียนแก่พระองค์ด้วย เมื่อพระนางเจ้าจามเทวีกระทำอยู่อย่างนี้

เอวํ กยิรมาเนปิ อนัน์ตยสราชา อัต์ตโน วัต์ตํ อวิชหติ ปุพ์เพ วุต์ตนเยเนว สกมาตรํ อุปัฏ์ฐากํ กโรติ.

พระเจ้าอนันตยศก็มิได้ละเว้นวัตรปฏิบัติของพระองค์ ทรงกระทำอยู่ซึ่งการอุปฐากพระราชมารดาของพระองค์ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้วในก่อน

ตถา กโรน์เตว สังฆัต์เถรา จ พ๎ราห๎มณคหปติกา จ สัพ์เพ ชนตา เตน กตกัม์เมน อติเรกตรํ ปสีทึสุ.

เมื่อพระเจ้าอนันตยศกระท้าอยู่อย่างนี้ ประชุมชนทั้งปวง คือพระสังฆเถรแลพราหมณ์คฤหบดีทั้งหลายก็พากันเลื่อมใสยิ่งนักในพระราชกรณียกิจ ที่พระเจ้าอนันตยศกระทำแล้ว

ตโต ปรํ ตติยสํวัจ์ฉรํ ปริปุณ์ณํ สา วุต์ตนเยเนว อัต์ตโน ปุต์ตํ อาปุจ์ฉิ.

เบื้องน่าแต่นั้นถึงสามปีบริบูรณ์แล้ว พระนางเจ้าจามเทวีจึงอำลาพระราชบุตรของพระองค์โดยนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ราชา ตํ อเนกปริยาเยน อภิยาจิต๎วา มยา สัท์ธึ เอกํ สํวัจ์ฉรํ วสิตํุ อัม์มาติ.

พระเจ้าอนันตยศทรงวิงวอนพระราชมารดาโดยปริยายเปนอเนกประการ ว่าข้าแต่พระมารดาเจ้าขอพระมารดาเจ้าจงอยู่กับด้วยข้าพระบาทอิกปีหนึ่งเถิด

สา กิญ์จิ วสิตํุ อปัส์สิต๎วา ปุต์ตัส์ส นิมัน์ตนํ อธิวาเสสิ.

พระนางเจ้าจามเทวีไม่ทรงเห็นเพื่อจะอยู่ต่อไปสักน้อยเลย ก็แต่ทรงรับการเชื้อเชิญของพระราชบุตรไว้

เอวํ เทวิยา วสัน์เตปิ มาสปริปุณ์เณ กิญ์จิอาพาโธ ตัส์สา อุป์ปัช์ชิ จามเทวี ตํ ปุต์ตัส์ส อาโรจิต๎วา อนุชานาเปต๎วา ทีปธูปคัน์ธมาลาทินิ คาหาเปต๎วา พ๎รห๎มิสิส์ส สัน์ติกํ คัน์ต๎วา ปูชิต๎วา วัน์ทิต๎วา เอกมัน์ตํ นิสีทิ เอกมัน์ตํ นิสิน์นาโข สา เทวี ปัค์คัย๎หิต์ถ อัญ์ชลึ ปติฏ์ฐเปต๎วา ตํ อาปุจ์ฉัน์โต อาห.

เมื่อพระราชเทวีเจ้าอยู่ไปอย่างนี้ พอครบเดือนหนึ่งพระโรคาพาธเล็กน้อยก็บังเกิดมีแก่พระราชเทวีๆจึงแจ้งพระอาการโรคาพาธนั้นแก่พระราชบุตร ให้พระราชบุตรอนุญาตแล้วก็ให้คนถือเครื่องสักการบูชามีเทียนธูปแลระเบียบบุบผาของหอมเปนต้น เสด็จไปยังสำนักพระพรหมฤๅษี บูชาถวายนมัสการแล้วก็เสด็จประทับนั่งณที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง จึงยกอัญชลีประนมนมัสการ เมื่อจะอำลาพระพรหมฤๅษีเจ้าจึงตรัสเปนบาทบทพระคาถาว่า

ปาเท ตุย๎หํ มหาวิร อหํ วัน์ทามิ สาทรํ ยโตหํ อิธ วสามิ ฉวัส์สานิ จิรานิ จ อธิกานิ จ มาสานิ ตุย๎หํ นิส์สาย คุณวํ อิทานาหํ คมิส์สามิ หริปุญ์เชย์ยปูริกํ อนุชานาหิ มํ คัน์ตํุ โสต์ถินา ตว เดชสา ตว ภาคิเณย์ยานัน์โต อุปาสโกติ ปาเลตุ สุขทุก์เข สมุป์ปัน์เน มา ต๎วํ นัต์ตํ วิปัช์ชหีติ.

ข้าแต่พระผู้เปนเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาททั้งสองของพระผู้เปนเจ้าโดยเคารพ ข้าพเจ้าคนใดได้อาศรัยพระผู้เปนเจ้าผู้มีคุณ อยู่ในพระนครนี้ถึงหกปีกับเดือนหนึ่ง บัดนี้ข้าพเจ้าจักลาพระผู้เปนเจ้ากลับไปยังพระนครหริปุญชัย ขอพระผู้เปนเจ้าจงอนุญาตให้ข้าพเจ้าไปโดยสวัสดีด้วยเดชานุภาพของพระผู้เปนเจ้าเถิด ขอพระผู้เปนเจ้าจงช่วยอภิบาลบำรุงรักษาพระเจ้าอนันตยศผู้เปนหลานของพระผู้เป็นเจ้าว่าเปนอุบาสกเถิด เมื่อศุขแลทุกข์บังเกิดขึ้นแล้ว ขอพระผู้เปนเจ้าอย่าได้ทิ้งหลานเสียเลย

อถ นํ พ๎รหมิสิ อาห สาธุ เทวี โสต์ถิ ยาหิ ญาตเก ตว ปัส์สิตํุ ตว ปุต์โต อนัน์ตยโส ราชสมยา กโต มา จ ต๎วํ ตํ วิจิน์เตสิ สธัม์มํ รัก์ขิส์สติ อปิจ อายุสํขารา อนิจ์จํ อธุวํ จิรํ ยถา ปุญ์ญานิ กยิราสิ กโรหิ อปราปรํ ตุย๎หํ เตน ปุญ์ญกัม์เมน ตว โสต์ถิ ภวตูติ.

ลำดับนั้นพระพรหมฤๅษีจึงถวายพระพรพระนางเจ้าจามเทวีว่า ดีแล้วพระราชเทวีเจ้าจงเสด็จไปเถิด จะได้ทอดพระเนตรพระประยุรญาติของพระองค์ พระเจ้าอนันตยศพระราชบุตรของพระองค์ เธอก็ทรงกระทำตามพระราชประเพณีอยู่แล้ว พระราชเทวีอย่าได้ทรงพระปริวิตกถึงเธอเลย จักได้รักษาสุจริตธรรมของตน อิกประการหนึ่ง อายุสังขารก็เปนของไม่เที่ยงแท้คงทนถาวรยั่งยืนไปได้นาน พระราชเทวีเจ้าจงกระทำบุญกรรมกองการกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด ความสวัสดีมงคลจงบังเกิดมีแด่พระราชเทวีเจ้าด้วยบุญกรรมของพระองค์เจ้านั้น

เอวํ วุต์เต จามเทวี ตํ วัน์ทิต๎วา ขมาเปต๎วา มหัน์เตหิ ปริวาเรหิ หริปุญ์ชยํ อาคัญ์ฉิ.

เมื่อพระพรหมฤๅษีถวายพระพรด้วยประการดังนี้แล้ว พระนางเจ้าจามเทวีจึงถวายนมัสการขอขมาพรหมฤฤษีเจ้าแล้วเสด็จกลับมายังพระนครหริปุญชัยด้วยบริวารหมู่ใหญ่

ตทา มหัน์ตยโส ราชา อัต์ตโน มาตรํ จามเทวึ ปัจ์จุคกมนัต์ถาย พหุปัณ์ณากาเร ปัช์เชต๎วา มหัน์เตหิ ปริวาเรหิ นครโต นิก์ขมิต๎วา มาตรํ ปัจ์จุค์คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา ตุฏ์ฐาการํ กัต๎วา อัน์โต นครํ เนย์ยิ.

ลำดับนั้นพระเจ้ามหันตยศ ก็จัดเครื่องราชบรรณาการเปนอันมาก เพื่อประสงค์จะเสด็จไปรับพระนางเจ้าจามเทวีพระราชมารดาของพระองค์แล้วก็เสด็จออกจากพระนครด้วยบริวารหมู่ใหญ่ เสด็จไปรับพระราชมารดา ถวายบังคมกระทำพระอาการยินดีแล้ว ก็นำเสด็จพระราชมารดาไปภายในพระนคร

จามเทวีปิ อลังกตนครํ ปวีสิต๎วา ปทัก์ขิณํ กัต๎วา อลังกต ปาสาทํ อภิรุย๎หิ ปวรราชปัล์ลังเก สิริสยเน เสยิต๎วา ตํ รัต์ตึ เขเปต๎วา ปุน ทิวเส มหาทานํ สัช์ชิต๎วา มหาสังฆัต์เถราทีนํ พุท์ธปุต์ตานํ วสนัต์ถานํ คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา ทานํ อทาสิ ตโต พ๎ราห๎มณาจารปมุขานํ พ๎ราห๎มณานํ อทาสิ ตโต ทาตัพ์พยุต์ตกํ ญาติคณาทีนํ ชนานํ ยถารูปํ พหุธนํ อทาสิ.

ส่วนพระนางเจ้าจามเทวีก็เสด็จเข้าสู่พระนครอันบุคคลประดับตกแต่งแล้ว กระทำปทักษิณพระนคร แล้วก็เสด็จขึ้นสู่อลงกตประสาท เสด็จบรรทมณพระที่สิริไสยาศน์เหนือพระบวรราชบัลลังก์สิ้นราตรียังรุ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเช้าทรงจัดแจงมหาทานเสด็จไปยังวสนสถานของพระพุทธบุตร มีพระมหาสังฆเถรเปนประธานถวายนมัสการแล้วก็ถวายทาน แล้วพระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย มีพราหมณ์ผู้เปนอาจารย์เปนต้น ต่อภายหลังลำดับนั้น จึงพระราชทานพระราชทรัพย์เปนอันมากแก่ชนทั้งหลายมีหมู่พระประยุรญาติที่ควรจะพระราชทานเปนต้นตามสมควร

สา เอวํ ยาว สัต์ตเม ทิวเส มหาทานํ ทัต๎วา สีลํ สมาทยิต๎วา ธัม์มํ สุต๎วา อัฏ์ฐเม ทิวเส ปุพ์พกัม์เมน ชนิตา ติพ์พโรา หุต๎วา กาลมกาสิ ปุญ์ญสัม์ปัต์ติจิต์ตติวิธสุจริต์ตกุสลกัม์มปสุต์ตัต์ตา จ อาสัน์นมรณติพ์พโรเค อุป์ปัน์เน ติลัก์ขณญาณภาวิตัต์ตา ทุก์ขํ อนิจ์จํ อนัต์ตาติ วจเนน อิโต จุติก์ขเณเยว ตุส์สิตเทวโลเก สหพ๎ยัต์ตํ นิพ์พัต์ติ.

พระนางเจ้าจามเทวี พระราชทานมหาทานแล้วทรงสมาทานศีลฟังพระธรรมเทศนาด้วยประการดังนี้ถึงเจ็ดวัน ครั้นถึงวันที่แปดพระนางเจ้าก็บังเกิดประชวรพระโรคาพาธกำเริบแรงกล้าจนถึงเสด็จสวรรคต ด้วยกรรมที่พระนางเจ้าได้กระทำไว้แล้วแต่ปางก่อน เพราะอาศรัยบุญสมบัติที่พระนางเจ้าได้สั่งสมไว้แล้ว แลขวนขวายในกุศลกรรมด้วยสุจริตสามประการ แลได้เจริญพระไตรลักษณญาณด้วยเปล่งพระวาจาว่า ทุกขํอนิจจํอนัตตาดังนี้ ในขณะมีพระโรคาพาธมาเบียดเบียนเมื่อเวลาจวนใกล้จะสวรรคต พอขณะจุติจากมนุษยโลกนี้ ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลก.

ตทา ญาติปมุขา มหาชนกายา อุรํ ตาเลน์ตา สีสํ ปหรัน์ตา โรทัน์ตา ปริเทวัน์ตา มหาโกลาหลสัท์ทํ กรึสุ ตทา โรทนสัท์เทน จ โกลาหลสัท์เทน จ มหาปัถ์วี ภิน์ทัน์โตวิย อโหสิ.

ในกาลนั้นประชุมชนหมู่ใหญ่มีพระประยุรญาติเปนประธาน ก็ตบอกชกพระเศียรเกล้าทรงพระกันแสงโศกเศร้าปริเทวนาการ กระทำสัททสำเนียงเปนมหาโกลาหล เปนประหนึ่งว่าแผ่นปถพีดลอันใหญ่จะภินทนาการแตกทำลายไปด้วยเสียงทรงพระกรรแสงแลเสียงโกลาหลในเวลานั้นฉนั้น

มหัน์ตยสราชาปิ อัต์ตโน มาตุยา สรีรกิจ์จํ ปูเชตุกาโม สัต์ตเม ทิวเส มหัน์เตหิ ปูชาสัก์กาเรหิ ปูเชต๎วา มาลุวาราเม อาหฬนมหาปาสาทัญ์จ จิต์ตกัญ์จ การาเปต๎วา นัจ์จคีตวาทิตสังฆุฏ์เฐหิ มหาปูชาสัก์กาเรหิ มหัน์เตหิ ปริวาเรหิ สุสาเน เนย์ยิต๎วา จิต์ตเก อุค์คัณ๎หาเปต๎วา อัค์คึ ทัต๎วา ฌาเปสิ ตัต์ถ ทัย๎หมาเนปิ สัต์ตทิวเส มหายัญ์ญุส์สเวหิ ตุริเยหิ ปูเชสิ อัค์คิชาลนิพ์พาเนเยว คัน์โธทกาภิ สิญ์จาเปต๎วา ธาตํุ คเหต๎วา สุวัณ์ณจังโกฏเก ปัก์ขิปิต๎วา สุคัน์ธจุณ์เณหิ คุฬิต๎วา ปิทหิต๎วา นัจ์จคีตวาทิเตหิ เภรึสํขมุรชปัณ์ฑวมุขรสรสัท์ทวัน์เตหิ ตุริเยหิ ตํ ธาตํุ นครปัจ์ฉิมทิสาภาเค เนย์ยิต๎วา รมณิยัฏ์ฐาเน ธาตุนิธานํ กัต๎วา อุปริ เจติยํ พุท์ธรูปํ กาเรต๎วา ตัญ์จ สุวัณ์ณปัต์เตน ปติมุก์กํ กาเรต๎วา เตน ตํ เจติยสุวัณ์ณจังโกฏกํ นาม เจติยํ อโหสิ.

พระเจ้ามหันตยศ มีพระประสงค์จะบูชาสรีรกิจพระมารดาของพระองค์ จึงทรงบูชาด้วยการบูชาสักการใหญ่ถึงเจ็ดวัน แล้วให้กระทำอาหฬนมหาปราสาทที่ถวายพระเพลิงแลจิตตกาธารเชิงตกร แล้วเชิญพระศพไปยังสุสาน ด้วยเครื่องบูชาสักการใหญ่ กึกก้องไปด้วยการฟ้อนรำขับร้องแวดล้อมไปด้วยบริวารเปนอันมาก แล้วเชิญพระศพขึ้นวางบนเชิงตกรถวายพระเพลิงแล้ว ทรงบูชาด้วยมหายัญมโหรศพ แลดุริยางคดนตรีในที่ถวายพระเพลิงนั้นถึงเจ็ดวัน แล้วให้ประพรมด้วยน้ำหอมดับพระเพลิง เก็บพระอัฐิธาตุใส่ไว้ในผะอบทอง คลุกเคล้าด้วยจุรณมีกลิ่นอันหอมปิดฝาผะอบ แล้วจึงเชิญพระอัฏฐิธาตุนั้นมาโดยปัจฉิมทิศาภาคแห่งพระนคร ด้วยการฟ้อนรำขับร้องประโคมด้วยเครื่องประโคม คือกลอง แลสังข์ แลตะโพน แลบัณเฑาะว์ แลกลองยาวมีเสียงอันไพเราะห์น่าฟัง แล้วให้กระทำสถานที่แห่งหนึ่งเปนที่ประดิษฐานพระอัฏฐิธาตุ อันเปนที่รัมณิยฐาน แลให้กระทำเปนเจดีย์มีพระพุทธรูปอยู่ในเบื้องบนหุ้มด้วยแผ่นทองคำ เพราะเหตุนั้นพระเจดีย์นั้นจึงได้มีนามว่าสุวรรณจังโกฏเจดีย์

นิฏ์ฐิเตเยว ราชา มหัน์เต ปูชาสัก์กาเร สัม์มาเนย์ยิต๎วา ตํ มหํ กัต๎วา มหาทานํ ทัต๎วา สัพ์พัน์ตํ ผลํ อัต์ตโน มาตรํ จามเทวึ อุทิส์สํ กัต๎วา ทัก์ขิโณทกํ ปาเตสิ.

เมื่อสำเร็จเสร็จการบูชาสักการแล้ว พระเจ้ามหันตยศ จึงเชิญพระอัฏฐิธาตุ มากระทำการฉลองพระราชทานมหาทานแล้วจึงหลั่งน้ำทักษิโณทกให้ตกลง อุทิศผลกุศลทั้งสิ้นนั้น ถวายพระนางเจ้าจามเทวี พระราชมารดาของพระองค์

อถ เตสํ ทิส๎วา ญาติคณาทิมหาชนกายา มหาสัท์เทน ปริเทวึสุ.

แลในกาลนั้นประชุมชนหมู่ใหญ่มีหมู่พระประยุรญาติเปนต้น ได้เห็นแล้วก็พากันปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง

เตสุ ปริเทวัน์เตสุ มหัน์ตยสราชา เตสํ โอวาทํ ทัต๎วา ตุเม๎ห มา โสจิต์ถ ปริเทวิต์ถ เอวํ มรณภาโว สัพ์พโลกัส์ส ธัม์มตาติ อิทํ ภควตา วุต์ตํ เย ตุเม๎ห อัต์ตโน ญาติคเณ อาลยํ กัต๎วา ทานาทีนิ ปุญ์ญานิ กัต๎วา สีลํ รัก์ขิต๎วา เจติยัญ์จ พุท์ธรูปัญ์จ กัต๎วา ตํ ผลํ ญาติคฌานํ มาตาปิตุอาทีนํ อุท์ทิส์ส กเรย์ยาถ เอวํ กเต เตสํ ญาติคณานํ มาตาปิตุอาทีนํ คณาปัจ์จุปการํ กตํ นาม ปิยตรัญ์จ นาม โหติ อิทํ หิ ปรัม์ปราจริเยหิ อากฏํ พุท์ธวจนัน์ติ.

เมื่อมหาชนพากันปริเทวนาการอยู่ดังนั้น พระเจ้ามหันตยศก็พระราชทานโอวาทแก่มหาชนเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้โศกเศร้าปริเทวนาการไปนักเลย สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้โปรดประทานพระพุทธโอวาทไว้อย่างนี้ว่า ความตายเปนธรรมดาสำหรับโลกทั้งสิ้น ท่านทั้งหลายยังกระทำความอาไลยในหมู่ญาติของตนอยู่แล้ว พึงกระทำบุญมีทานเปนต้น พึงรักษาศีลสร้างพระเจดีย์สร้างพระพุทธรูป กระทำอุทิศผลบุญนั้นไปแก่หมู่ญาติมีมารดาบิดาเปนต้น เมื่อท่านทั้งหลายกระทำได้อย่างนี้ได้ชื่อว่ากระทำการตอบแทนคุณ แลได้ชื่อว่าเปนที่รักอย่างยิ่งของหมู่ญาติทั้งหลายเหล่านั้นมีมารดาบิดาเปนต้น คำสั่งสอนนี้นี่และพระอาจารย์เจ้าทั้งหลายนำสืบๆ กันมาว่าเปนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดังนี้

เอวํ มหัน์ตยโส ราชา อัต์ตโน ญาติคเณ จ มหาชนกาเย จ สมัส์สาเสต๎วา โอวาทํ อทาสิ สยํ ปน ทานาทีนิ ปุญ์ญานิ กัต๎วา เจติยัญ์จ พุท์ธรูปัญ์จ มหาภิก์ขุสํฆัญ์จ สกมาตรัญ์จ วัน์ทิต๎วา ขมาเปต๎วา สกมัณ์ฑิรเมว คโต.

พระเจ้ามหันตยศทรงประเล้าประโลมหมู่พระประยุรญาติของพระองค์แลหมู่มหาชนแล้วก็พระราชทานโอวาทสั่งสอน ส่วนพระองค์ก็กระทำบุญกุศลมีทานเปนต้น แล้วถวายนมัสการพระเจดีย์พระพุทธรูปแลพระมหาภิกษุสงฆ์ แลถวายบังคมพระอัฏฐิพระราชมารดาขอขมาโทษแล้วก็เสด็จไปยังพระราชมนเทียรของพระองค์

ตโต ปัฏ์ฐาย ราชา หริปุญ์เชย์ยนาครัญ์จ หริปุญ์เชย์ยรัฏ์ฐวาสีนัญ์จ โอวาทํ ทัต๎วา กุสลธัม์เม ปติฏ์ฐาเปสิ สยํ ปน ทสกุสลกัม์มปเถสุ จัก์กวัต์ติจาริต์เตสุ จริต๎วา หริปุญ์เชย์ยรัช์ชํ กาเรสิ.

จำเดิมแต่นั้นไปพระเจ้ามหันตยศบรมกระษัตริย์ก็พระราชทานโอวาทแก่ชนชาวพระนครหริปุญชัยแลชนผู้อยู่ในแว่นแคว้นหริปุญชัยนครให้ประดิษฐานอยู่ในกุศลธรรม ส่วนพระองค์ก็ทรงประพฤติอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ แลจักรวัติจารีตครอบครองสิริราชสมบัติอยู่ในหริปุญชัยนคร

อถ โจทนัน์ตรกถา อุทปาทิ อิทํ กิร ปุพ์เพ พิงครัฏ์ฐัน์ติ วา ลัม์ภูณรัฏ์ฐัน์ติ วา อัม๎หากํ ปากฏํ อิทานิ อุภยรัฏ์ฐานํ น กิญ์จิ ปากฏํ หริปุญ์เชย์ยัน์ติ ปุนัป์ปุนํ ปากฏํ นนุ อุภยรัฏ์ฐานิ อปรานีติ.

ภายหลังมีคำโจทเกิดขึ้นในระหว่างว่า ดังได้ยินมาว่า แว่นแคว้นนั้นปรากฏแล้วแก่พวกเราทั้งหลายว่าพิงคราฐดังนี้บ้าง ว่าลัมภูณราฐดังนี้บ้างในกาลก่อน แต่มาบัดนี้คำใดคำหนึ่งของแว่นแคว้นทั้งสองไม่ปรากฏเลย มาปรากฏว่าหริปุญชัยดังนี้ขึ้นใหม่อิกแว่นแคว้นทั้งสองเปนแว่นแคว้นอื่นต่างหากกันไม่ใช่ฤๅ

อถ สังคาหิโก เอกรัฏ์ฐัน์ติ วัต๎วา ตํ ทัส์เสน์โต อาห.

เมื่อมีคำโจทขึ้นมาอย่างนี้ พระสังคาหิกาจารย์เจ้าจะกล่าวว่าเป็นแว่นแคว้นเดียวกันแลจะสำแดงซึ่งเหตุนั้นให้แจ้งชัด จึงกล่าวเปนคาถาไว้ดังนี้

ยํ วัต์ถุอาทิโต วุต์ตํ วนเมงคาทิชัน์ตุนํ ลวานํ วนปุต์ตานํ มิคปุต์ตานํ ชาตินํ มิคิยา อิสิปุต์ตานํ นรานํ วรราชุนํ เตสํ ปุต์ตาทิชาตานํ มิคสังฆปุริทินํ ปุริ ปุรนครัญ์จาติ รัม์มัญ์จ นครํ วรํ อวิทูรปุรํ ข๎ยาตํ วาสุเทเวน มาปิตํ ยาวตา ลัม์ภูณนามํ ตาว พิงคัน์ติ รัฏ์ฐกํ ปาฬีคาถาภิจิต์ตัน์ตํ พิงคาภิธษนสังคหํ ยโต อุป์ปัช์ชิ ปุรัน์ติ นครเทวสาทิสํ มาปิตัน์ตํ วริสีหิ ลัม์ภูณัน์ติ ตํ ตโต วิทู ยโต จ จามเทวิยา หริปุญ์ชาภิเสกํ กัต๎วา ตโต อัช์ชัต์ตนา ยาว หริปุญ์เชย์ยนาม ตํ พิงคา อัช์ชัต์ตนา ยาว ตีณิ นามานิ นูณกา พิงคัน์ติ ลัม์ภูณัน์ติปึ หริปุญ์เชย์ยํปิ วทติ เอกกายา หิ สา ปุริ ตัส์สา สัญ์ญี จ นานัต์ตํ ตัส๎มายํ วัต์ตุมิจ์ฉัน์ติ ตํ วทัน์ตุ น สํเสย์ยํติ จามเทวีปิธาคัน์ต๎วา กโรน์ติ อภิวฒนํ ปุต์ตนัต์ตา ปชายัน์ติ โชเตน์ตํ พุท์ธสาสนํ นาครา ชานปทา วา รัฏ์ฐกา สัน์ติ มานุสา กีฬัน์ติ อภิรัม์มัน์ติ กโรน์ติ กุสลํ พหํุ เตน กัม์เมน สัพ์เพเต จุตา เต ยัน์ติ สุคตึ ตัส๎มา ตํ สุก์กทัน์โต โส สุพีชัน์ติ ปวุจ์จตีติ.

เรื่องราวของพระราชาผู้ประเสริฐ ของคนป่ามีพวกเมงค์เปนต้น แลลว้าลูกชาวป่า แลคนเปนกำเนิดลูกเนื้อ แลลูกพระฤๅษีซึ่งเกิดจากนางเนื้อที่ได้กล่าวไว้แล้วแต่เดิมอย่างไรเล่า บุรีของคนที่เกิดมาจากคนมีลูกพวกเมงค์ชาวป่าเปนต้นเหล่านั้น ซึ่งเปนบุรีเปนที่ (ถือเอา) อาศรัยของฝูงเนื้อ เปนเมืองเดิม พระนครนั้นเปนที่รื่นรมย์อย่างประเสริฐเปนบุรีปรากฏขึ้นในที่ไม่สู้ไกลนัก อันพระวาสุเทพฤๅษีสร้างสรรค์แล้วเรียกชื่อเมืองว่าลัมภูณเพียงใด เรียกชื่อแว่นแคว้นว่าพิงค์เพียงนั้น พระนครนั้นอันพระสังคาหิกาจารย์ให้วิจิตรยิ่งแล้วด้วยบาฬีแลคาถาสงเคราะห์ด้วยชื่อว่า นครพิงค์ ดังนี้ พระนครนั้นอันพระฤๅษีผู้ประเสริฐทั้งหลายสร้างแล้วให้เปนประดุจดังเทพนครเปนบุรีเกิดขึ้นในกาลใด คนทั้งหลายรู้กันแล้ว ซึ่งพระนครนั้นว่าลัมภูณนครดังนี้ในกาลนั้น อิกประการหนึ่งพระฤๅษีผู้ประเสริฐกระทำหริปุญชัยยาภิเศกแก่นางจามเทวี ในกาลใด พระนครนั้นชื่อหริปุญชัยนครแต่กาลนั้นมาจนทุกวันนี้ พระสังคาหิกาจารย์กล่าวอยู่ว่า แต่ได้ชื่อว่าพิงคนครมาจนตราบเท่าถึงทุกวันนี้ ชื่อสามชื่อว่า พิงคนครบ้าง ลัมภูณนครบ้าง หริปุญชัยนครบ้าง ไม่บกพร่องเลย แท้จริงบุรีนั้นเปนบุรีเดียวกัน ก็แต่ความสำคัญของบุรีนั้นเปนต่างๆ กัน เพราะเหตุนั้น คนทั้งหลายปราถนาจะเรียกชื่อใดก็จงเรียกชื่อนั้นเถิดอย่าสงสัยเลย พระนางเจ้าจามเทวีมากระทำบุตรแลนัดดาให้เกิดเจริญยิ่งในพระนครนี้ พระพุทธศาสนาก็รุ่งเรือง พวกมนุษย์ชาวพระนครแลชาวชนบท ซึ่งมีอยู่ในพระราชอาณาเขตร ก็พากันเล่นรื่นเริงบันเทิงใจ กระทำกองการกุศลเปนอันมาก ด้วยกุศลกรรมนั้น คนทั้งสิ้นเหล่านั้นครั้นจุติแล้วก็ได้ไปยังสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุนั้น พระสุกกทันตฤษี จึงกล่าวว่าพระนางเจ้าจามเทวีนั้นเปนพืชดีดังนี้

อิติปวรสุน์ทรี จามเทวี สุเมธา ปวรจัก์กวัต์ติธีตา สุพีชา อโนมา ติวิธสุจริตัค์คาเนกวิธานิ ปุญ์ญานิ จวิตมรณธัม์มา เทวโลเก อคัญ์ฉิ ตัส๎มึ ตุสิเต รัม์มณียรูเป สมิท์ธิ สัพ์เพหิ ยถาว จิน์ตา รูเปน สุเขน ยเสน โภคา น โกจิ ตัส์สา วัณ์ณิตํุ สัก์โกติ ตัส์สา นิทานปวรํ สุเณย์ยํุ สุลิก์ขิตัก์ขรํ วรํ ปทปาฬี สมาลคัน์ธิวชิราทิฉัน์ทา เนรุต์ติสัท์ทปฏิยาทิตา เม โปราณจาริกนยานุสารํ ยัต์ถัฏ์ฐลีนํ ตัต์ถ โชเตยามิ ตัส๎มึ ภวัน์ตา สัล์ลัก์เขตุ สัม์มา ติสาธยัน์ตา ปุญ์ญภาคัต์ถายาติ.

พระนางเจ้าจามเทวีผู้งามประเสริฐ มีพระปัญญาดี เปนธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประเสริฐ เกิดในวงษ์กระษัตริย์ประเสริฐไม่เสื่อมทราม ได้กระทำบุญทั้งหลายมีประการต่างๆ เปนอันมากอันเลิศแล้วด้วยสุจริตสามประการ มีมรณธรรมอันจุติแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลกด้วยประการดังนี้ แท้จริงเทพบุตรทั้งหลายทั้งปวงในดุสิตพิภพนั้นมีรูปเปนที่รื่นรมย์ มีโภคสมบัติมาก บริบูรณ์แล้วด้วยรูปด้วยความศุขด้วยยศ ทำความปราถนาทั้งสิ้นให้สำเร็จได้ตามจิตรที่คิดฉนั้น ใครๆ ไม่อาจจะพรรณาสมบัติของพระนางเจ้าจามเทวีนั้นได้ ชนทั้งหลายควรฟังนิทานอันประเสริฐของพระนางเจ้าจามเทวีนั้นไว้ อักษรที่ข้าพเจ้าเขียนไว้ดีแล้ว เปนอักษรอันประเสริฐ มีบทบาฬีเปนฉันท์ มีสมาลคันธีฉันท์แลวชิรฉันท์เปนต้น ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ตามนิรุต์ติศรัพท์ ถ้อยคำในบทใดมีเนื้อความยังลี้ลับเปนไปตามนัยของโบราณจารึก ข้าพเจ้าได้ทำถ้อยคำในบทนั้นให้สว่างแจ่มแจ้งขึ้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายเมื่อจะให้สำเร็จประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อประสงค์ส่วนบุญกุศล จงสังเกตในถ้อยคำนั้นโดยชอบเถิด ฯ

อิติ หริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส มหาจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต เอกาทสโม ปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.

หริปุญชัยนิเทศดังนี้ พระมหาเถรผู้มีนามว่า โพธิรังษี ได้แต่งไว้แล้วตามคำมหาจารึก

บริเฉท ๑๑ จบแล้ว ฯ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ