จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๘

ตทนัน์ตเรเยว สัต์ตัฏ์ฐเม ทิวเส เขเปต๎วา มหัน์ตยโส จ อนัน์ตยโส จ เต อุโภ อัต์ตโน มาตรา สัท์ธึ มัน์ตยึสุ.

ณลำดับนั้น ครั้นได้ ๗ วัน ๘ วันล่วงไปแล้ว พระมหันตยศแลพระอนันตยศ ทั้งสองพระพี่น้องนั้น ได้พากันปฤกษากับพระมารดาของตนว่า

อัม์ม อัเม๎หสุ สังคามคเตสุ มิลัก์ขราชา อัม๎หากํ อิทัญ์จิทัญ์จ วทติ อิทานิ มยํ ตํ ตัส์ส วจนํ ปติเปเสตํุ ยุต์ตํ น ยุต์ตัน์ติ.

ข้าแต่ พระแม่เจ้า เมื่อข้าพเจ้าทั้งสองได้เข้าสู่สงครามแล้ว พระเจ้ามิลักขราชได้กล่าวคำนี้ด้วยๆแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายควรจะตอบคำของพระเจ้ามิลักขราชนั้น ฤๅว่าไม่ควร

ตํ สุต๎วา สา ยุต์ตํ ปิยปุต์ตาติ อาห.

พระนางได้สดับคำนั้นแล้ว ดำรัสว่า “ดูราพระปิยบุตรทั้งหลาย ควรแล้ว

อถ เต ปัญ๎หากาเร สัช์เชต๎วา ตํ ปฐมทูตามัจ์จํ ปัก์โกสาเปต๎วา เอวํ อนุสาสึสุ อัเม๎ห คัจ์ฉ ต๎วํ มิลัก์ขรัญ์โญ เอวํ วเทหิ เทว ตว นัต์ตาโร ตุม๎หากํ อโรค๎ยภาวํ มํ ปุจ์ฉาเปสํุ อปิจ เต เอวํ มํ อนุสาเสน์ติ ปุพ์เพ กิร อัม๎หากํ ปิตุโล อัเมหหิ ปิตุลัส์ส ธีตุยา สัพ์พกณิฏ์ฐาย ยุช์ฌาเปส์สติ อิทานิ มยํ ตัต์ถ คมิส์สาม ตาย สัท์ธึ ยุช์ฌิตํุ ยถา จ นครํ ฐิรตรํ ภวิส์สติ ขทิรสารลัก์เขน วา อยขัน์เธน วา ตถา กโรตูติ วัต๎วา เปเสน์ติ เต เอวํ วัต๎วา เปเสสํุ.

ลำดับนั้น พระกุมารทั้งสองก็ได้จัดบรรณาการแล้ว ตรัสเรียกอำมาตย์ผู้จะเปนประฐมทูตนั้นมาแล้วสั่งสอนอย่างนี้ว่า แนะท่านผู้เจริญท่านจงไปทูลแก่พระเจ้ามิลักขราชอย่างนี้ว่า “ข้าแต่เทวดาเจ้า พระนัดดาของพระองค์ให้ข้าพเจ้ามาทูลถามถึงความที่แห่งพระองค์ไม่มีโรค อนึ่งพระกุมารทั้งสองนั้น ให้อนุสาสน์ข้าพเจ้ามาว่าอย่างนี้

ได้ยินว่าในกาลก่อนพระปิตุลาจ้าของเราทั้งหลาย จะให้เราทั้งสองรบด้วยพระธิดาองค์เล็กของพระเจ้าลุง เดี๋ยวนี้ เราทั้งหลายจักไปในเมืองนั้น เพื่อจะรบด้วยพระธิดานั้น อนึ่งฉันใดเล่า พระนครจักเปนของมั่นคงดี ด้วยแก่นไม้ตะเคียนหรือว่าด้วยแท่งเหล็กก็ให้ทำอย่างนั้นเถิด ตรัสแล้วก็ส่งข้าพเจ้ามา

โส สาธูติ สัม์ปติจ์ฉิต๎วา เต วัน์ทิต๎วา อัต์ตโน ปริสาเรหิ มิลัก์ขรัญ์โญ สัน์ติกํ คัน์ต๎วา ปัณ์ณากาเร นิเวเทต๎วา วัน์ทิต๎วา วุต์ตนเยเนว กเถสิ.

พระกุมารทั้งสองนั้น ครั้นกล่าวอนุสาสน์อย่างนี้แล้ว ก็ส่งทูตทั้งหลายไป อำมาตย์ทูตนั้นรับว่าสาธุแล้ว ถวายอภิวันทน์พระกุมารทั้งสองแล้ว พากันไปสู่สำนักพระเจ้ามิลักขราชด้วยบริวารทั้งหลายของตนถึงแล้ว ถวายบรรณาการแล้ว ก็ถวายอภิวันทน์ทูลความโดยนัยอันพระกุมารสั่งแล้ว

ตํ สุต๎วา มิลัก์ขราชา ภีตตสิตา กัม์ปมานหทยา หุต๎วา เอวมาห สัม์มทูต มา มํ เอวํ วจน์ วทาหิ โยหํ ตโต ปุพ์เพ มม นัต์ตาโร สจัก์ขุนา น ปัส์สามิ ตโต มานํ อนุยุญ์ชามิ ยโต จาหํ มม นัต์ตาโร สรีรรูปโสภัค์คา อลังกตหัต์ถิรตนขัน์เธ นิสิน์นา สจัก์ขุนา ปัส์สิต๎วา อโห มม นัต์ตาโร อติวิยโสภัค์คา เอราวัณ์ณขัน์เธ นิสิน์นาวิย ขัน์ธปุต์โตติ มัญ์ญมาโน อปิจ มม นัต์ตาโณ สุรโยเธ สัช์ชิต๎วา ปุรโต จ ปัจ์ฉโต จ ทัก์ขิณโต จ วามโต จ สัม์มสัม์เม อติวิย โสภมานา เทวโยธิโนวิย อิมัส๎มึ ชัม์พุทีเป โยโกจิ ราชา อิเมหิ ยุช์ฌิตํุ สมัต์โถ นาม นัต์ถิ อปิจ มัย๎หํ เท๎ว ธีตโร เทวอัจ์ฉรปติภาคา เอเกกํ เอ เกกัส์ส ทัส์สามิ ยาว ปัต์ตัป์ปปุต์ตา นัต์ตัป์ปนัต์ตา อิเมหิ เตหิ กุลพัน์ธสัณ์ฐวภาวํ กริส์สามิ มนสิ กโรมิ อิทานิ มม นัต์ตาโร ยุท์ธัต์ถาย มํ สาสนํ เปเสต๎วา อัธัม์มยุท์ธนา จ มา โน โหน์ตุ ธัม์เมน ยุท์ธํ กริส์สามาติ.

ฝ่ายพระเจ้ามิลักขราช ครั้นได้ทราบราชสาสน์นั้นแล้ว ก็หวาดหวั่นพรั่นพระหฤทัย กล่าวกะทูตอย่างนี้ว่า “ดูราทูตผู้มีภาระอันเสมอ ขอท่านอย่ากล่าวคำอย่างนี้แก่เราเลย เราผู้ใดเล่า แต่กาลก่อนนั้น เราไม่ได้เห็นพระหลานเราทั้งสองด้วยจักษุ จึงได้พยายามมานะแต่นั้นมา ก็กาลใดเล่า เราได้เห็นพระนัดดาทั้งสองของเราด้วยจักษุ รู้ว่าทรงสรีรรูปเปนอันงาม ประทับอยู่เหนือฅอช้างหัตถีรัตนอันประดับแล้ว ได้สำคัญใจว่า “โอ พระหลานเราทั้งสอง งามหาที่จะเปรียบมิได้ ประหนึ่งว่า พระขันธบุตรอันเสด็จทรงฅอพระยาเอราวัณ อนึ่งโสตพระหลานเราทั้งสอง ได้จัดสุรโยธาโดยเบื้องน่าเบื้องหลังเบื้องขวาเบื้องซ้าย ดูสมั่มเสมองามหาที่จะเปรียบมิได้ ราวกะว่าเทพโยธีทั้งหลาย ก็ในชมพูทวีปนี้ พระราชาองค์ใดองค์หนึ่งได้ชื่อว่าเปนผู้สามารถ เพื่อจะรบด้วยกุมารทั้งสองนี้ไม่มีแล้ว อนึ่งเล่าพระธิดาทั้งสองของเรา งามราวกับเทพอับษร เราจักให้แก่พระหลานเราคนละคน เราได้ดำริห์ในใจไว้ว่า จำทำกุลพันธ์สันถวะด้วยพระกมารทั้งสองนี้ ตราบเท่าลูกของลูกแลลูกของหลาน ก็เดี๋ยวนี้ พระหลานเราได้ส่งสาสน์มายังเรา เพื่อจะรบกัน ก็การรบอันไม่เปนที่ชอบธรรมจงอย่ามีแก่เราทั้งหลายเลย เราทั้งหลายจักทำธรรมยทธ์

เอวํ วัต๎วา มิลัก์ขราชา อัต์ตโน ธีตเร ยมเก ปัก์โกสาเปต๎วา อัช์ช ทูตัส์ส ทัส์เสน์โต อาห.

ครั้นพระเจ้ามิลักขราชกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็เรียกพระธิดาของพระองค์ทั้งคู่มา แล้วสำแดงแก่ทูตในวันนั้น กล่าวว่า

ปัส์สาหิ เม ธีตา ทูต รูปวัณ์ณํ จ วัย์ยํ วา สิริวิลาสํ สภาสา นิสิน์นาปิ ปติฏ์ฐิตา วิชิม๎หมานา จรัน์ตี โลกิต์ถิกา สัม์มา น ตุ อิมา เท๎ว ชาติกา สุท์ธา มัย๎ห เทวิญ์จ โอรชา เอกาเหน วิชายัน์ตา โสทริยา เอกมาตุยา น สาธารณธีตา เม อติปิยา ธีตา มม ทาสิคณา ทาสคณา สุวัณ์เณหิ อลังกตา เชฏ์ฐา เชฏ์เฐ กนิฏ์ฐา จ กนิฏ์ฐา กนิฏ์เฐ เทมิ เอวมาทินเยเนว ตว สามึ ปวัก์ขตูติ.

ดูราทูต ท่านจงดูพระธิดาทั้งสองของเราทรงรูปและวรรณและวัยทั้งศิริวิลาศเปนอันงาม เมื่อนั่งก็ดี ยืนก็ดี เดินก็ดี ดูเปนที่พิศวงเปนที่ปราถนาแห่งโลกนับถือโดยรอบ พระธิดาทั้งสองนี้มีชาติอันบริสุทธิ์ ได้เกิดแล้วแต่อกพระเทวีของเรา คลอดพร้อมกันในวันเดียว ร่วมอุทรมารดาเดียวกัน พระธิดาของเราไม่ใช่สาธารณ์ เปนที่รักมากของเรา มีทาสีคณะ ทาสาคณะ ประดับด้วยสุวรรณ พระเชฏฐธิดาเราจะให้พระเชฏฐกุมาร พระกนิฏฐธิดา เราจะให้พระกนิฏฐกุมาร ท่านจงไปทูลแก่เจ้าของท่านโดยนัยดังนี้เปนต้น

เอวํ วัต๎วา ราชา ตํ สัน์ตัป์เปต๎วา หัต์ถิอัส์สาทีนิ สุวัณ์ณรชฏวัต์ถาลังการานิ ตัส์ส อทาสิ อัญ์เญ ปติปัณ์ณาการยุต์เต สัช์เชต๎วา เต สมัต์ถาย ตัส์ส หัต์เถ ทัต๎วา อัต์ตโน ทูตํ สัท์ธึ เปเสสิ.

พระราชา ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ให้เลี้ยงทูตแล้วประทานสุวรรณรัชฏวัตถาลังการ มีช้างม้าเปนต้นแล้ว จึงจัดบรรณาการตอบแทน สิ่งอื่นอิกมอบในมือทูตนั้น เพื่อนำไปถวายแก่พระพี่น้องทั้งสองนั้น แล้วส่งไปกับด้วยทูตของพระองค์

เต อุโภ ทูตา คัน์ต๎วา จามเทวึ จ มหัน์ตยสัญ์จ อัน์ตยสัญ์จ วัน์ทิต๎วา ปัณ์ณากาเร นิเวทิต๎วา ราชา สาสนานุนํ เตสํ กถยึสุ.

ราชทูตทั้งสองฝ่ายนั้นครั้นมาแล้ว ก็ไปถวายอภิวันทน์ พระจามเทวีด้วย พระมหันตยศด้วย พระอนันตยศด้วย แล้วจึงถวายบรรณาการทั้งหลาย แล้วทูลกระษัตริย์ทั้งสามนั้นตามราชสาสน์

‘ตํ สุต๎วา มาตาปุต์ตา อติวิย ตุส์สึสุ มิลัก์ขทูตัส์ส สัก์การํ กัต๎วา สัน์ตัป์เปสํุ สุขนิสิน์นาว ตโย มาตาปุต์ตา ตํ สกามัจ์จํ ปุจ์ฉึสุ อมัจ์จ ตา อุโภ ราชธีตโร กติวัส์สา กา วยา กึว รูปา กึวัณ์ณา กีทิสา อัล์ลาปสัล์ลาปาติ.

พระมารดาพระบุตรทั้งหลาย ได้ทรงทราบราชสาสน์นั้นแล้วก็พากันยินดีเปนที่ยิ่ง แล้วให้แต่งสักการแลเลี้ยงดูแก่ทูตของพระเจ้ามิลักขราช พระมารดาแลพระบุตรทั้งสาม เมื่อนั่งที่สุขาอาสน์ แล้วตรัสถามกะอำมาตย์ของตนนั้นว่า ดูกรอำมาตย์ ราชธิดาทั้งสองนั้น มีวรรษาเท่าไร วัยเปนอย่างไร รูปเปนอย่างไร วรรณเปนอย่างไร อัลลาปสัลลาปก็เช่นไรเล่า

โส ตาสํ คุณสัป์ปัต์ตึ เตสํ ทัส์เสน์โต อาห.

อำมาตย์นั้น เมื่อจะสำแดงคุณสมบัติแห่งพระธิดาทั้งสองนั้น ทูลแก่กระษัตริย์ทั้งสามนั้นว่า

สุณาถ วจนํ มัย๎หํ อัพ์ภยํ เทถ เม อิธ ปวัก์ขามิ คุเณ ตาสํ มา เม กุช์ฌถ ภูมิปาล ตา อุโภ ยมกา ธีตา มิลัก์ขัส์ส จ ราชิโน วัส์เสน ปัญ์จวัส์สานิ วเยน ตรุณวยา รูเปน อภิรูปาติ วรพิม์พาว โสภณา นาติกีสา นาติถุล์ลา นาติทีฆา นาติรัส์สกา วัณ์ณินี วรวัณ์ณาภา โสวัณ์ณาวิย วัณ์ณินี ฉวิมํสา วัณ์ณินี ฉวิมํสา ปสิขิล์ลา สุท์ธา วิคตกาลาว นิสิน์นา จรณา ฐัน์ตา ชิม๎หมานา จ โสภณา หา สา ว ลาปสัล์ลาปา หํสา ตัต์ตรภาณินีเกสา จ อสิตา ทีฆา ปัต์ตภมรสัน์นิภา ยทา เกสา ปมุญ์จนา มัน์ตา เกสัค์คโคป์ปกา สัพ์พลัก์ขณิต์ถิปุณ์ณา ลวธีตา อสมสาติ.

ขอพระองค์ทั้งหลายจงฟังคำข้าพเจ้า แลจงให้อภัยแก่ข้าพเจ้าในสมัยนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวคุณทั้งหลายแห่งพระธิดาทั้งสองนั้น ขอพระเจ้าภูมิบาลอย่าได้ทรงพระพิโรธแก่ข้าพเจ้า พระธิดาแฝดทั้งสองของพระเจ้ามิลักขราชนั้น โดยปีได้ ๕ พรรษา โดยวัยเปนดรุณวัย โดยรูปงามยิ่งประเสริฐเหมือนพิมพ์ งามโสภาไม่ผอมไม่อ้วนไม่สูงไม่ต่ำ มีผิวพรรณเปนอันงาม ทรงรัศมีดังสีทอง ฉวีมังสางามเกลี้ยงเกลา บริสุทธิ์ปราศจากดำ เมื่อนั่งเดินยืนงามกรีดกราย เวลาสำรวลแลเจรจาไพเราะห์ดังเสียงหงส์ เส้นเกษาไม่ขาวยาวแลราวกะปีกภมร กาลใดปล่อยเกษา ปลายเกศาจดที่สุดข้อเท้า บริบูรณ์ด้วยสรรพสัตรีลักษณะ ธิดาพระเจ้าลวหาผู้จะเสมอมิได้

เอวํ ทูตามัจ์โจ มิลัก์ขรัญ์โญ ธีตรานํ อิต์ถิลัก์ขณปริปุณ์ณ สุน์ทรีภาวํ เตสํ วัณ์เณติ.

อำมาตย์ทูต ได้พรรณาซึ่งความที่แห่งธิดาทั้งสองของพระเจ้ามิลักขราช เปนหญิงงามบริบูรณ์ด้วยอิตถีลักขณะอย่างนี้

ตาสํ คุณกถํ สุต๎วา ญาติคณาโย มาตานัญ์จ สุณิสานัญ์จ สัม์ปัส์สมานา ปติปัณ์ณาการัญ์จ ปติสาสนัญ์จ เปเสสิ.

ฝ่ายหมู่ญาติทั้งหลาย ครั้นได้ฟังคุณกถาแห่งพระธิดาทั้งสอง ก็เห็นพร้อมกัน จึงได้ส่งบรรณาการตอบแทนแลปติสาสน์ไปแก่พระมารดา แลพระบิดาทั้งสองทั้งพระสุณิสาทั้งสองด้วย

เตน อุภิน์นํ รัฏ์ฐวาสิโน ชนตา อัญ์ญมัญ์ญํ วิส์สาสํ ปุต์ตปมุขา อติวิย ตุฏ์ฐหทบังคมา อเหสํุ.

เพราะเหตุนั้น ประชุมชนชาวรัฐวาสีทั้งสอง ได้มีหน้าอันถึงแล้วซึ่งความพิศวาสกะกันแลกัน มือวัยวะแห่งหทัยอันชื่นชมหาที่เปรียบมิได้

ตทา มิลัก์ขราชา จ ราชเทวี จ อัต์ตโน ธีตรานํ สัพ์พาลังกาเรหิ อลังกริต๎วา ทาสิทาสคเณหิ ปริวุต์ตํ สัพ์พาลังการวิวาหมังคลํ สัช์เชต๎วา มหัน์เตหิ ปริวาเรหิ ท๎วิน์นํ กุมารานํ อัต์ถาย หริภุญ์เชย์ยนครํ ปาเหสํุ.

กาลครั้งนั้น พระเจ้ามิลักขราชแลพระราชเทวี ก็ให้ประดับพระธิดาทั้งสองของพระองค์ด้วยสัพพาลังการแวดล้อมด้วยหมู่ทาสีทาสาทั้งหลายแล้วส่งไปยังเมืองหริภุญชัยนคร เพื่อประโยชน์แก่กุมารทั้งสองด้วยมหันตบริวารทั้งหลาย

จามเทวีปิ พหุปัณ์ณาการํ สัช์เชต๎วา สกชนํ ปัจ์จุค์คมนํ กาเรต๎วา อัน์โต นครํ อานยิต๎วา อุภิน์นํ กุมารานํ ยถานุรูปํ ท๎วิน์นํ ทุเว นวฆเร เอเกกํ นิวาสาเปต๎วา เชฏ์ฐํ เชฏ์ฐกาย สัท์ธึ กณิฏ์ฐํ กณิฏ์ฐาย สัท์ธึ วิส์สาสิกฆรวาสํ มังคลํ กัต๎วา เอเต ทหริตาย อาวาหวิวาหมังคลัญ์จ ราชาภิเสกมังคลัญ์จ น ตาว กรึสุ.

แม้ว่าพระจามเทวี ก็ให้จัดพหูบรรณาการ แล้วให้ชนของตนไปคอยทำการต้อนรับนำมาภายในพระนคร แล้วให้พระธิดาทั้งสองสำนักอยู่ในเรือนใหม่ทั้งสองคนละหลังตามสมควรแก่พระกุมารทั้งสอง แล้วทำมงคลวิสสาสิกฆราวาส ให้พระเชฏฐกุมารอยู่กับพระเชฏฐธิดา ให้พระกนิฏฐกุมารอยู่กับพระกนิฏฐธิดา ใช่แต่เท่านั้น กระษัตริย์ทั้งหลายนั้น ได้ทำอาวาหวิวาหมงคลด้วย ราชาภิเศกมงคลด้วย เพราะความที่แห่งกุมารทั้งสองนั้นเปนหนุ่ม

ตโต ปัฏ์ฐาย มิลัก์ขรัฏ์ฐา จ หริภุญ์เชย์ยรัฏ์ฐา จ อิเม เท๎ว รัฏ์ฐา เอกโต หุต๎วา อัญ์ญมัญ์ญปติพัท์ธา โหน์ติ.

จำเดิมแต่นั้นมา มิลักขรัฐก็ดี หริภุญชัยรัฐก็ดี ทั้งสองรัฐนี้ก็ได้เปนอันเดียวกัน มีปติพัทธ์ติดต่อกันแลกันมา

มิลัก์ขราชา จ จามเทวี จ อัต์ตโน ธีตรานํ ปวุต์ติชานนัต์ถาย มาเส มาเส จตุก์ขัต์ตํุ พหุปัณ์ณากาเรหิ สัท์ธึ เปเสน์ติ.

พระเจ้ามิลักขราชก็ดี พระราชเทวีก็ดี ได้ส่งทูตกับด้วยพหูบรรณาการไปในเดือนละ ๔ ครั้ง เพื่อจะทรับทราบประพฤติข่าวพระธิดาทั้งสองของตน

จามเทวีปิ อัต์ตโน ปุต์ตานัญ์จ สุนิส์สานัญ์จ สมัส์สมนา ปติปัณ์ณาการัญ์จ ปติสาสนัญ์จ เปเสสิ.

ฝ่ายพระนางจามเทวีเจ้า ก็ยินดีส่งปติบรรณาการแลปติสาสน์ไปเพื่อพระบุตรทั้งสอง แลพระสุณิสาทั้งสองของตน

เตน อุภิน์นา รัฏ์ฐวาสิโน ชนตา อัญ์ญมัญ์ญํ วิส์สาสิกา ชาตา ปุต์ตธีตรานํ อาวาหวิวาหวเสน สัม์พัน์ธกุลา ชาตา อเหสํุ

เพราะเหตุนั้น ประชุมชนชาวรัฐวาสีทั้งสอง จึงได้เกิดวิสสาสกะกันแลกันเปนสัมพันธตระกูลด้วยสามารถอาวาหแลวิวาหแห่งบุตรแลธิดาทั้งหลายมีแล้ว

เตนาหุ โปราณา.

เพราะเหตุนั้น โบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

สัจ์จํ กิเรว มาหํสุ นรา เอกัจ์จิยา อิธ ปุต์ตา ปิยา มนุส์สานํ โลกัส๎มึ อุปปัช์ชึสุ ปุต์ตา ปพัน์ธนํ ชาตา มาตุปิตูสุ ฐีรกํ อัญ์ญมัญ์ญํ ชเนน์เตสุ โกธํ โฆรํ พหุตรํ ปุตํตธีเต ปัส์สัน์เตสุ อัญ์ญมัญ์ญํ ปิยํ ปุน เย ปุพ์เพ ปติสัต์ตุปิ น ญาติ นปิ พัน์ธวา ปุต์ตธีเตสุ อาวาเห วิวาเห ปิยสังคเม มาตา ปิตา จ เต สัพ์เพ ญาติพัน์ธวา ปิยาภาวา เอวํ ราชาทิมิลัก์ขา จามเทวาทิกัม์พุชา อัญ์ญมัญ์ญํ ปิยายัน์ตา ปุต์ตาธีตาสุ พัน์ธิกาติ.

จริงอยู่นรชนทั้งหลาย บางพวกในโลกนี้ได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า “บุตรทั้งหลายเปนที่รักของมนุษย์ทั้งหลายบังเกิดแล้วในโลก บุตรทั้งหลายเกิดแล้ว เปนเครื่องผูกพันธ์อันมั่นคงในมารดาบิดาทั้งหลาย ครั้นเมื่อบุตรทั้งหลายได้ทำความโกรธอันพิฦกมากมายให้เกิดกะกันแลกันอยู่ เมื่อมารดาบิดาทั้งหลายได้เห็นอยู่ซึ่งบุตรแลธิดาทั้งหลาย ก็ทำให้ความรักกะกันแลกันกลับเกิดอิก ชนทั้งหลายเหล่าใด แม้เปนศัตรูเฉพาะหน้าในกาลก่อน ไม่ว่าญาติไม่ว่าเผ่าพันธุ์ ครั้นเมื่อการอาวาหวิวาหในบุตรแลธิดาทั้งหลาย ได้มาถึงพร้อมด้วยความรักมารดาบิดาทั้งหลายก็ดี ญาติแลเผ่าพันธุ์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นก็ดี ก็มีความรักใคร่บังเกิดชาวมิลักขทั้งหลาย มีพระราชาเปนต้น ชาวกัมพุชทั้งหลาย มีพระนางจามเทวีเปนต้น ได้ประพฤติซึ่งความรักกะกันแลกันอย่างนี้ อาศรัยความผูกพันในบุตรแลธิดาทั้งหลาย

เอวํ เตสุ อัญ์ญมัญ์ญํ ปิยวาสํ วสัน์เตสุ ท๎วิสํวัจ์ฉรปริปุณ์เณสุ ตทา มหัน์ตยโส จ มิลัก์ขราชธีตโร จ สัพ์เพเต สัต์ตวัส์สิกา ปริปุณ์ณา โหน์ติ.

ครั้นเมื่อชนทั้งหลายเหล่านั้นได้อยู่ร่วมปิยสังวาศกะกันแลกันได้ ๒ ปีบริบูรณ์แล้วอย่างนี้ ณกาลนั้น พระมหันตยศแลพระธิดาพระเจ้ามิลักขราช ชนทั้งปวงเหล่านั้น อายุได้ ๗ วรรษาบริบูรณ์

จามเทวี อัต์ตโน ปุต์ตํ มหัน์ตยสกุมารํ ราชาภิเสกํ กาตุกามา ด้วยคามโภชกัส์ส เท๎ว ธีตเร เต สมัต์ถาย วาเรต๎วา เอเกกัส์ส อทาสิ สกลนคเร เภริญ์จาราเปต๎วา ราชาภิเสกุป์ปกรุณานิ สัช์เชต๎วา หริภุญ์เชย์ยนครํ เทว฿ อลังการาเปต๎วา วาสุเทวัส์ส จ สุกํ กทัน์ตัส์ส จ ท๎วิน์นํ มหาอิสีนํ อาโรจาเปสิ.

พระนางจามเทวี มีพระไทยใคร่จะราชาภิเศกพระมหันตยศกุมาร พระบุตรของพระองค์ จึงได้ขอธิดา ๒ คนของนายควัยคามโภชก เพื่อประโยชน์แก่พระมหันตยศแลธิดามิลักขราชนั้นให้คนละคน แล้วให้ตีกรองร้องป่าวชาวพระนครทั้งสิ้น ให้จัดเครื่องอุปกรณ์สำหรับราชาภิเศกแล้ว พระเทวีให้ประดับแต่งเมืองหริภุญชัยนคร แล้วไปแจ้งการแก่พระมหาฤๅษีทั้งสอง คือ พระวาสุเทพแลพระสุกกทันต์

ตทา นครวาสิโน พ๎ราห๎มณคหปติกาทโย สัม์มา คัน์ต๎วา อนัน์ตยสกุมารํ ราชาภิเสกมังคลัญ์จ อาวาหมังคลัญ์จ ปาสาทมังคลัญ์จ เอกโต หุต๎วา ตัส์ส กณิฏ์ฐํ อนัน์ตยสกุมารํ อุป์ปราชมกํสุ.

ณกาลครั้งนั้น ชาวพระนครทั้งหลายมีพราหมณ์คฤหบดีเปนต้นได้มาพร้อมแล้ว ทำพิธีราชาภิเศกด้วยอาวาหมงคลด้วย ปาสาทมงคลด้วย ก็พระมหันตยศกุมารโดยการคราวเดียวกันแล้ว จัดการพิธีพระอนันตยศกุมารผู้น้อง พระมหันตยศนั้นให้เปนอุปราช

ตทา วาสุเทโว จ สุก์กทัน์โต จ อุโภ มหาอิสี ตัต์ถ อาคัน์ต๎วา คัน์โธทกภริตํ สุวัณ์ณภิงคารํ คเหต๎วา มังคโลทกํ ตัส์ส สีเส อภิสิญ์จิต๎วา วรํ ททัน์โต อิมา คาถาโย ภาสึสุ.

ณลำดับนั้น พระมหาฤๅษีทั้งสอง คือ พระวาสุเทพและพระสุกกทันต์ก็มาแล้วในพิธีนั้น ถือเอาสุวรรณภิงคาร อันบรรจุน้ำหอมแล้วรดน้ำมังคโลทกในศีศะแห่งพระกุมารนั้นแล้ว เมื่อจะให้พร ได้ภาสิตคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า

สุโณหิ โน มหายส ตุเม๎ห อัเม๎หหิ อาเนย์ยา สุพีชํ วัฑ์ฒนตาย รัก์ขนัต์ถายิมํ ปุรํ ปุต์ตนันต์ตัป์ปนัต์ตานํ นัต์ตาปุต์ตัป์ปปุต์ตกํ ปุต์ตัป์ปปุต์ตํ นัต์ตารํ ฆเฏตํุ วรพีชกํ อิโต ปัฏ์ฐาย โส อัต์ถิ ภวัน์ตุ ตว อาทิกา พุท์ธัส์ส ธัม์มสังฆัส์ส ติรตนัส์ส เดชสา จัต์ตาโณ ธัม์มา วัฑ์ฒัน์ตุ อายุวัณ์โณ สุขํ พลํ ชยสิท์ธิ ภวัน์ตุ เต เตเชน อิสีนํ สมุเห มิลัก์ขราชธีตา เจ ปุต์ตํ วิชายิ เต ปติ รัช์ชํ ตัส์ส นิย์ยาเทหิ ตว วํสานุรัก์ขิตํุ สเจ ควัย์ยัส์ส เทวี จ ปุต์ตํ วิชายา เต ปติ อุป์ปรัช์ชํ นิย์ยาเทหิ มาตุ รัช์เชภิสิญ์จถ มิลัก์ขราชเทวี จ สกปุต์ตํ น ชายติ อนัน์ตัส์ส ปุต์โต โหติ ชาโต มิลัก์ขเทวิยา ตัส์ส รัช์ชํ นิย์ยาเทติ ตว ว์สานุรัก์ขิตํุ เอวํ ตยิ กเต อัช์ช ตุม๎หากํ พีชํ วเฒติ อิทานิ อนัน์ตยโสปิ ปาเปม อุปรัช์ชกํ หริภุญ์เชย์ยปุริปิ อุโภ อัเม๎หหิ มาปิตํ พุท์ธัส์ส ธาตุมัต์ถาย สัพ์พโลกหิตาย จ โย โกจิ รัช์ชํ กาเรสิ พุท์ธธัม์มัญ์จ มามโก สังฆัญ์จ มามโก สีลํ นาครานํ อหิงสกํ จีรํ ชิวตุ โส ราชา นิโรโค นิรุปัท์ทโว อิน์ทาพ๎รห๎มาทโย เทวา อภิปาเลน์ตุ ตํ สทา โย จ อธัม์มิโก โหติ อัญ์ญสัต์ถา รุท์เทสโก พุท์ธํ ธัม์มัญ์จ สังฆัญ์จ ปมาท เต อคารโว โลโภ โทโส มุสาวาโท นาครานํ วิหึสติ โส จ ทุก์ขัญ์จ โรคัญ์จ วินาสัญ์จ ปวัต์ตตุ อิน์ทาพ๎รห๎มาทโย เทวา วิเหเธน์ตุ นิรัน์ตราติ.

ดูรามหายศ ท่านจงฟังเราทั้งหลาย เราทั้งหลายได้นำท่านทั้งหลายมา เพื่อยังพืชดีให้เจริญ เพื่อจะรักษาเมืองนี้ ให้สืบหลานอันเปนบุตรของนัดดา สืบนัดดาอันเปนหลานของบุตร แห่งบุตรแลนัดดาปนัดดาทั้งหลาย ชนผู้เปนพืชอันประเสริฐ จะมีจำเดิมแต่กาลนี้ไป ชนทั้งหลายจงมีท่านเปนต้นเถิด ธรรมทั้งหลาย ๔ ประการ คือ อายุวรรณศุขพลจงจำเริญ ด้วยเดชแห่งพระไตรรัตน์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชัยสิทธิความสำเร็จชัยจงมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งพระฤๅษีในพิธีสมุหะ ถ้าหากว่าพระราชธิดาของพระเจ้ามิลักขราชคลอดบุตรแล้ว จักเปนบดีแห่งท่านๆ จงมอบราชสมบัติให้แก่บุตรนั้นเพื่อจักรักษาวงษ์ของท่าน ถ้าหากว่าพระเทวีของนางควัยยคลอดบุตรแล้วจักเปนบดีแห่งท่านๆ จงมอบอุปราชสมบัติให้ ท่านทั้งหลายจงอภิเศกในราชสมบัติของมารดาเถิด ก็แต่ว่าพระราชเทวีของพระเจ้ามิลักขราชย่อมไม่เกิดบุตรแต่ตน บุตรของพระอนันตยศมีอยู่เกิดแล้วแต่นางมิลักขเทวี จงมอบราชสมบัติให้แก่บุตรนั้น เพื่อได้สืบวงษ์ของท่าน เมื่อท่านทำได้อย่างนี้พืชของท่านจะจำเริญ แม้ว่าพระอนันตยศ เราทั้งหลายจะให้ถึงอุปราชสมบัติในวันนี้ แลเมืองหริภุญชัยนี้ เราทั้งสองได้สร้างแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ธาตุของพระพุทธเจ้าด้วย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงด้วย พระราชาองค์ใดองค์หนึ่งได้เสวยราชเปนผู้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นับถือศีลก็มี ไม่เบียดเบียฬชาวพระนครทั้งหลายขอให้พระราชาองค์นั้น มีชีวิตอยู่นานจงหาโรคมิได้ จงหาอุปัทวะมิได้ ขอเทพยดาทั้งหลาย มีพระอินทร์พระพรหมเปนต้น จงอภิบาลพระราชาองค์นั้น ณกาลทุกเมื่อเทอญ

พระราชาใดเปนอธรรมมีอยู่เปนอัญญัสสัตถารุทเทส ประมาทพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ดี ไม่คารวะเปนคนโลภะ โทสะ มุสาวาทา เบียดเบียฬชาวพระนครทั้งหลาย ขอให้พระราชานั้น จงเปนไปสู่ความทุกข์ด้วย โรคด้วย ความวินาสด้วย ขอเทพยเจ้าทั้งหลาย มีพระอินทร์ พระพรหมเปนต้น จงเบียดเบียฬอย่าให้มีระหว่างเลย

เอวํ เต มหาอิสิโย มหัน์ตยสํ ราชาภิเสกํ กัต๎วา วรมังคลํ ทัต๎วา ตโต รัฏ์ฐวฒนโตรณํ อนุส์สาเสต๎วา ตโต สัพ์พปัจ์ฉา อภิสัปปึ กเถต๎วา สกัฏ์ฐานเมว อคมึสุ.

พระมหาฤๅษีทั้งสองนั้น ได้ทำการอภิเศกพระมหันตยศอย่างนี้แล้ว จึ่งให้พรมงคลแล้ว ลำดับนั้น ก็ให้อนุสาสน์ดุจโดรณ เพื่อความเจริญแก่แว่นแคว้นแล้ว จึงกล่าวคำสาปอันเปนภายหลังแต่พิธีทั้งปวงแล้ว ก็พากันไปสู่สถานแห่งตนนั้นเทียว

กัส๎มา เอวํ กโรน์ตีติ เจ.

ปุจฉาถามว่า “พระดาบศทั้งสองได้ทำอย่างนี้เพราะเหตุไร”

เต อุโภ อิท์ธิวิธีทิพ์พโสต ทิพ์พจัก์ขุปรจิต์ตวิทู ปุพ์เพนิวาสานุสรัน์ติ อิท์ธิพเลน อนาคตกาลํ ชานัน์ติ ตัส๎มา เอวํ กโรตีติ วิสัช์ชนา.

พระดาบศทั้งสองนั้น มีอิทธิวิธีแลทิพยโสตรทิพพจักษุ ปรจิตตวิชชา บุพเพนิวาสานุสรณญาณย่อมรู้อนาคตกาลด้วยกำลังฤทธิ เพราะเหตุนั้นจึงทำอย่างนี้

เตนหิ ปฐมตรํ อัต์ตโน อธิป์ปาเยน เตสํ เอวาทํ ทาตํุ ยุต์ตํ ตํ โอวาทํ คาหาเปต๎วาว โอวาทานุรัก์ขนัต์ถาย อภิสัปปึ วัต์ตัพ์พํ อภิสัป์ปึ กถิต๎วาว ปัจ์ฉา มังคลกถา กถิตํุ ปน วัฏ์ฏตีติ.

ปุจฉาว่า “ถ้ากระนั้น การให้โอวาทแก่ชนทั้งหลายนั้น ตามอธิบายของตนที่แรกควรแล้ว การให้ชนเหล่านั้น ถือเอาโอวาทแล้วจึงกล่าวคำสาป เพื่อจะรักษาโอวาท นี่กล่าวคำสาปแล้ว ภายหลังกล่าวมงคลกถาก็ไม่ควร”

อาม น วัฏ์ฏตีติ.

วิสัชนาว่า “เออไม่ควร”

กัส๎มา น วัฏ์ฏตีติ.

ปุจฉาว่า “ไม่ควรเพราะเหตุไร”

โลกสัต์ตา นาม ยํ ปุพ์พวจนํ นานุส์สรัน์ติ ตํ น จีรํ ติฏ์ฐติ ขิป์ปํ ปมุฏ์ฐาติ ยัญ์จ อุต์ตรวจนํ ปุนัป์ปุนํ สรัน์ติ น ปมุฏ์ฐาติ ตํ จีรํ ติฏ์ฐติ ตัส๎มา ปฐมํ มังคลราชาภิเสกํ กถิต๎วา ตโต ราชวัต์ตํ ราชาภิวฒนการณ์ ทสราชธัม์มํ กถิต๎วา ทสราชธัม์มัญ์จ นครัญ์จ รัฏ์ฐัญ์จ ทัฬ๎หิกรณัต์ถาย สุขัต์ถาย จ ตัส๎มา ปัจ์ฉา อภิสัป์ปึ กถยึสูติ วิสัช์ชนา ยเทวายมธิป์ปาโย สุฏ์ฐกัล์โลตีติ.

วิสัชนาว่า “ชื่อว่าโลกสัตวทั้งหลาย คำใดอันพูดก่อนย่อมไม่จำไว้ คำพูดก่อนนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่นานย่อมลืมเร็ว ก็แต่ว่าคำใดพูดทีหลัง ย่อมระฦกไว้เนืองๆ มิได้ลืม คำนั้นย่อมตั้งอยู่นาน เพราะเหตุนั้น กล่าวมงคลราชาภิเศกก่อนแล้ว ลำดับนั้นกล่าวทสราชธรรมอันเปนเหตุให้จำเริญแก่พระราชาเปนราชวัตร เพื่อจะทำทสราชธรรมด้วย พระนครด้วย แว่นแคว้นด้วยให้มั่นคง เพื่อประโยชน์แก่ความศุข เพราะเหตุนั้น จึงได้กล่าวคำสาปในภายหลัง” อธิบายนี้ “เปนการฉลาดดี” ดังนี้ ด้วยเหตุใดเล่า

เตนิทํ วุต์ตํ.

เพราะเหตุนั้น คำนี้ โบราณาจารย์ได้กล่าวแล้วอย่างนี้

โปราณายัญ์เจว วาจํ ปัญ์ญวา วทัน์ตา อปัญ์ญวัน์ตา น จ ตํ อุช์ฌายิ ยัญ์เญ ว กัม์มํ ปัญ์ญวา สุการํ อปัญ์ญวา ตํ น ปการเหย์ย ปัญ์ญา หิ เสฏ์ฐา มณิโช ว โชโต ตมํ สุหัน์โต รัต์ติยํ อเสสํ คุณัญ์จ โทสํ อตีตานาคตํ ปัจ์จุปัน์นาปิ ปติพุช์ฌิ ปัญ์โญติ.

โบราณาจารย์ทั้งหลาย ผู้มีปัญญาก็ไม่โพนทนาคำนั้นได้ ผู้มีปรีชาทำง่ายอยู่ซึ่งกรรมใดเล่า ผู้หาปัญญามิได้ไม่พึงทำได้ไม่พึงทำได้ทั่วไปซึ่งกรรมนั้นแท้ จริงปัญญาเปนสิ่งประเสริฐ ดุจดังรัศมีอันเกิดแต่แก้วมณีสว่างแล้ว ขจัดได้ง่าย ซึ่งความมืดในราตรีไม่มีเศษเลย ผู้มีปัญญารู้ได้เฉพาะซึ่งคุณแลโทษอันเปนอดีต อนาคต ปัจจุบัน

อิติหริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส โปราณจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต.

หริภุญชัยนิทเทสดังนี้ พระมหาเถรมีนามว่า โพธิรังสี ได้แต่งตามคำจารึกโบราณ

อัฏ์ฐโม ปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.

ปริเฉทที่ ๘ จบแล้ว

มหัน์ตยสราชาภิเสกกัณ์ฑํ.

มหันตยศราชาภิเศกกัณฑ์

  1. ๑. ปสิขิลา ก็มี

  2. ๒. ทีจะเปน กาฬา ว่าดำ

  3. ๓. เปน ทัน์ตา ก็มี

  4. ๔. ตัค์คร หรือ คัต์ตร ยังไม่ได้สอบ

  5. ๕. ไม่ขาว ถ้าเปน อลิตา ว่าไม่ติด เกลี้ยง เลื่อน

  6. ๖. ทีจะเปน อัน์ตา กะมัง

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ