จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๒

อัม๎หากํ ปน ภควา เตสุ เตสุ วิหาสิ สัพ์เพสุ พุท์ธกิจ์เจสุ โสเธต๎วา สัพ์พกาลิกา.

ปางเมื่อสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคย์เจ้าของเราทั้งหลาย ได้เสด็จประทับอยู่แล้วในที่ทั้งหลายนั้นๆ ได้ชำระพระพุทธกิจทั้งหลายทั้งปวงให้สำเร็จไปตลอดกาลทั้งปวงแล้ว

ตโต จีรตโร อาคโต ปรินิพ์พายิ โส ชิโน พุท์ธปุต์ตา จ สาวกา ปติปัต์ตีสุ ปูเรน์ตา เตปิฏกาทิวาจกา อัญ์ญมัญ์ญานุสาสึสุ กุลปุต์ตานุการิกา

จำเดิมแต่กาลนั้นล่วงแล้วมานาน สมเด็จพระพิชิตมารเจ้านั้น ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพานแล้ว พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายทั้งปวงนั้นก็ดี พระพุทธบุตรผู้สาวกทั้งหลายก็ดี ก็ได้ประพฤติให้เต็มที่อยู่ในสัมมาปฏิบัติทั้งหลาย พากันบอกพระไตรปิฎกเปนต้น ได้สั่งสอนแล้วซึ่งกันแลกัน ได้ยังกุลบุตรทั้งหลายให้ประพฤติตามอยู่

ตโต ตโต สุจรัน์ตา จุลปุต์ตา จตุช์ชนา พุท์ธัส์สสาสเน รัม์มา ปัพ์พชิต๎วานุสาสนํ เตปิฏกํ อุค์คัณ๎หัน์ติ สัพ์พถา ปรินิฏ์ฐิตา มัค์คผลานิ พุช์ฌัน์ติ อัญ์ญมัญ์ญํ ปภาสัน์ติ อติกิจ์จํนุสาสยา วินยํ อนุการิกํ มยํ อุปัพ์พชิส์สาม คหัฏ์ฐํ อวิภาวิตํ ปัญ์จสีลํ อัฏ์ฐสีลํ รัก์ขาม อัป์ปมาทกํ ตํ กัม์มํ น จ กิลัม๎หา สัค์คํ กามํ ภวาม๎หเสติ.

มีกุลบุตร ๔ คนเที่ยวสัญจรมาแต่ที่นั้นๆ ต่างๆ ได้พร้อมกันยินดีในพระพุทธสาสนา พากันบวชแลเรียนพระไตรปิฎก อันเปนคำอนุสาสน์สอนจบลงโดยประการทั้งปวง รู้จักการงานอันเปนมรรคแลผลทั้งหลาย ปฤกษากันอยู่ว่า เราทั้งหลายได้ปฏิบัติตามคำอนุสาสน์สอนทำตามพระวินัย อันเปนกิจยากนัก เราทั้งหลายจักสึกไปสู่คฤหัฐอันมีกิจไม่กว้างนัก แล้วรักษาอยู่ซึ่งเบญจศีลอัฐศีล มิได้ประมาทแล้ว กรรมนั้นเราทั้งหลายก็จักไม่ลำบากแล้ว เราทั้งหลายก็จักไปสู่สวรรค์ได้แท้แล

เอวํ เต จัต์ตาโร กุลปุต์ตา อัญ์ญมัญ์ญํ สมาทยิต๎วาว พุท์ธสาสนโต อุป์ปัพ์พัช์ชึสุ สกสกานุรูปํ ภริยํ คเหต๎วา คหัฏ์ฐกัม์มํ กัต๎วา ชีวิตํ กัป์เปสํุ.

เมื่อกุลบุตรทั้ง ๔ คนนั้น ปฤกษากันอย่างนี้แล้ว ก็ชักชวนซึ่งกันแลกัน แล้วพากันศึกจากพระพุทธสาสนา ต่างได้ภรรยาตามสมควรแก่อัตตภาพแห่งตนๆ แล้ว ทำการงานของคฤหัฐ ได้สำเร็จการเลี้ยงชีพแล้ว

น จีรัส์เสว กามาทีนวํ ทิส๎วา อุก์กัณ์ฐิตา หุต๎วา เต จัต์ตาโร เคหํ ปหาย หิมวัน์ตํ ปวีสิต๎วา อิสิปัพ์พัช์ชํ ปัพ์พัช์ชึสุ กสิณปริกัม์มํ ภาเวต๎วา กติปาหํเยว ปัญ์จาภิญ์ญา จ อัฏ์ฐสมาปัต์ติโย จ นิพ์พัต์ตึสุ.

อยู่จำเนียรกาลมิสู้นานนัก ได้เห็นอาทีนพแห่งกาม ก็พากันกระสรรแล้วด้วยทุกข์มีแล้ว ชนทั้ง ๔ นั้นก็พากันละเรือนเสียแล้วเข้าไปสู่ป่าหิมวันต์พากันบวชเปนฤๅษีเจริญกสิณบริกรรม ประมาณสองสามวัน ก็ยังอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล

กตมานิ ปัญ์จาภิญ์ญานีติ.

ก็อภิญญาทั้งหลาย ๕ ประการคืออไรเล่า พระคันถรจนาจารย์เจ้า ตั้งเปนกเถตุกามยตาปุจฉาไว้แล้ว

ตํ ทัส์เสน์โต อาห

เมื่อจะสำแดงอรรถนั้นให้แจ้ง จึงกล่าวโดยบาทคาถา แปลความว่า

อิท์ธิวิธิ ทิพ์พโสตํ ปรจิต์ตวิชานนํ ปุพ์เพ นิวาสานุส์สติ ทิพ์พจัก์ขูติ ปัญ์จธา ปัญ์จาภิญ์ญานิ อิมานิ มุนิน์เทน ปกาสิตาติ.

อภิญญาทั้งหลาย ๕ สมเด็จพระมุนินทรเจ้าตรัสแล้วโดยส่วน ๕ ประการ คือ “อิท์ธิวิธิ” วิธีสำแดงฤทธิ์ ๑ “ทิพ์พโสตํ” หูทิพย์ ๑ “ปรจิต์ตวิช์ชา” ความรู้ใจผู้อื่น ๑ “ปุพ์เพนิวาศานุส์สติ” ความรฦกรู้ชาติก่อน ๑ “ทิพ์พจัก์ขุ” ตาทิพย์ ๑

กตมานิ อัฏ์ฐสมาปัต์ติโยติ.

ก็สมาบัติทั้งหลาย ๘ ประการ อย่างไรเล่า

พระคันถรจนาจารย์เจ้า ก็กล่าวไว้โดยบาทคาถาแปลความว่า

ปฐมัช์ฌานํ สมาปัต์ติ ทุติยํ ตติยํ ตถา จตุต์ถํ ปัญ์จมากาสา วิญ์ญาณัญ์จา อากิญ์จัญ์ญา สมาปัต์ตาฏ์ฐธา โหน์ติ มุนิน์เทน ปกาสิตาติ.

สมาบัติทั้งหลายโดยส่วน ๘ ประการ สมเด็จพระมุนินทรศาสดาจารย์ตรัสประกาศไว้มีอยู่คือ ประฐมฌานสมาบัติความถึงพร้อม คือ ฌานที่แรก ทุติยสมาบัติ ความถึงพร้อม คือ ฌานที่สอง ตติยสมาบัติ ความถึงพร้อม คือ ฌานที่สาม จตุตถฌานสมาบัติ ความถึงพร้อม คือ ฌานที่สี่ ปัญจมฌานสมาบัติ ความถึงพร้อม คือ ฌานที่ห้า อากาสานัญจายตนสมาบัติ ความถึงพร้อม คือ อากาสานัญจายตนฌานที่หก วิญญานัญจายตนฌานสมาบัติ ความถึงพร้อม คือ วิญญานัญจายตนฌานที่เจ็ด อากิญจัญญายตนฌานสมาบัติ ความถึงพร้อม คืออากิญจัญญายตนฌานที่แปด

จัต์ตาโร อิสิโย เอเต ปติลัพ์ภัน์ติ นุ โลเก ฌานกีฬัญ์จ กีฬัน์ติ ภุญ์ชัน์ติ มูลผลเก ตโต จิรัน์ตรา อาหาร ตัณ๎หา ชายัน์ติ เต อหุ โลณัม์พิลเสวนัต์ถํ หิมวัน์ตํ ตรึสุ เต.

พระฤๅษีทั้ง ๔ องค์เหล่านั้น อันชนได้เฉพาะอยู่เทียวในโลกย์ (คือได้ปรากฏในโลกย์เวลานั้นแต่ ๔ องค์) เธอพากันสำราญอยู่ด้วยฌานสมาบัติ ย่อมขบฉันแต่รากไม้แลผลไม้ทั้งหลาย เบื้องน่าแต่นั้นจำเนียรกาลนานมา เธอทั้ง ๔ นั้นก็มีตัณหาในรสาหารเกิดขึ้น ได้พากันมาจากเขาพระหิมพานต์ เพื่อความต้องการแก่อันเสพรศเค็มแลเปรี้ยว

เอโก อิธาคโต ตัส๎มึ อุจ์ฉุปัพ์พตมุท์ธนิ นาเมน ปากโฏ เอโส วาสุเทโวติ นามโก.

องค์หนึ่ง ได้มาแล้วในประเทศนี้ สำนักอยู่ยอดเขาอุจฉุบรรพตนั้น (เขาอ้อย) ท่านผู้นี้ปรากฏแล้วโดยชื่อ เรียกว่าพระวาสุเทพ

เอโก ท๎วิธาค์คนคัส๎มึ วสิ พ๎รห๎มิสินามโก เอโก ลตางคนคัส๎มึ สัช์ชนาเลย์ยนาม โส

องค์หนึ่ง มีชื่อว่าพระพรหมิสิ สำนักอยู่ในภูเขาทวิธาคค์ (เขาสองยอด)

องค์หนึ่งนั้น โดยนามชื่อว่าพระสัชชนาไลย สำนักอยู่ในเขาลตางค์ (เขาเครือเขา)

เอโก ธัม์มิกนคัส๎มึ ลโว นาม ปุริปติ สุก์กทัน์โตติ นาเมโส พ๎ยัต์โต ปติพโล อหุ.

พระดาบศองค์หนึ่ง สำนักอยู่ในภูเขาธัมมิก ณเมืองเรียกว่าลโว โดยชื่อว่าพระสุกกทันต์ เฉลียวฉลาดมีกำลังสามารถ

เอเต มหิท์ธิสัม์ปัน์นา ฌานสุขํ กีฬัน์ติ เต เอเตสุ วาสุเทโว โส วัส์สัน์โต อิธ ปัพ์พเต ปัพ์พตปาทํ โอรุย๎ห โอโลเกสิ สมัน์ตโต ทิส๎วา มิคานํ ยุท์ธานํ อิพ์ภาทีนํ ขัค์คํ ควํ ควยัญ์จ กุรุงคานํ มิคมายํ มิคาทินํ กีฬัน์ตํ นคปาทัน์ตํ นทีนํ ปภวํ จรํ เตสํ ปทานุสาเรน คัน์ต๎วา ตัต์ถ ตัต์เถว โส ทิส๎วา กุมารกุมารี กัม์มชํ อุปปาติกํ เตสํ ปทพลัญ์ชัส๎มึ อุป์ปัน์นํ จตุยุค์คลํ กุมาเร เต คเหต๎วา โส ฐเปต๎วา สกอัส์สเม ปติชัค์เคสิ ภเชสิ น จีเรน วฒัน์ติ เต หัต์ถีปทพลัญ์ชัน์ตํ ชาตชายปตึ อกา ขัค์คคาเว จ ควเย ยํ ยุคัต์ตยตํ อกา เอตมาทินยํ กัต๎วา ปาเปสิ สกุปาสเก.

พระดาบศทั้งหลายนั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยมหิทธิฤทธิ์ เธอเหล่านั้นได้สำราญอยู่ฌานสุขในเธอทั้งหลายนั้น พระวาสุเทพนั้น เมื่อสำนักอยู่ในบรรพตนี้ได้ลงมาสู่เชิงบรรพตได้แลดูไปแล้วโดยรอบทิศ เมื่อฝูงเนื้อทั้งหลายมีช้างเปนต้นชนกันอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่งแรดด้วย โคด้วย วัวเถื่อนด้วย ลำพองสำแดงอยู่ ซึ่งมฤคมายาแห่งกวางทั้งหลาย มีมฤคเปนต้น วิ่งแล่นไปมาแต่ที่สุดเชิงเขา ตลอดน่านน้ำทั้งหลาย พระดาบศนั้นก็ดำเนินตามรอยเท้าสัตวทั้งหลายเหล่านั้นไปในที่เหล่านั้น จึงได้เห็นกุมารแลกุมารีอันเปนกรรมมัชกำเนิดอุปปาติกมี ๔ คู่ บังเกิดอยู่ในรอยเท้าแห่งสัตวทั้งหลายเหล่านั้น พระดาบศนั้น ก็ถือเอากุมารทั้งหลายนั้นพาไปประดิษฐานไว้ ในอาศรมแห่งตน ได้ประคับประคองเลี้ยงดูมา โดยกาลมิช้ามินานเท่าใด กุมารทั้งหลายนั้นก็ได้วัฒนาการจำเริญขึ้น พระดาบศก็จัดการให้กุมารที่เกิดในรอยเท้าช้างให้เปนชายาบดี คือ สามีภรรยากัน ยังอิก ๓ คู่ที่เกิดในรอยแรด รอยโค รอยโคถึก เธอก็ทำให้เปนสามีภรรยากันอย่างคู่ก่อนนั้น เธอได้ทำกุมารทั้ง ๔ คู่นั้นมีนัยดังกล่าวแล้วเปนต้น แล้วจึงได้ตั้งไว้ให้เปนอุบาศกของตน

อถัส์เสกา มิคี ปิวิ สมุต์ตํ ฉัท์ทิตาสุจึ สา มิคี คัพ์ภํ ธาเรสิ ปริปุณ์เณ วิชายิ ตํ ตํ คัพ์ภมนุชํ ยุคํ กุมารกกุมาริกํ วาสุเทโวปิ ตํ ทิส๎วา อาหรติ ภรติ เต น จีเร วุฑ์ฒิมัน๎วาย อุโภ โสภัค์ครูปิโน อุภิน์นํ ชายปติกํ กัต๎วา โส เตสํ นามกํ กุมารางกุริสินามํ กุมาริม์ปิ มิคูปตีติ.

ณกาลนั้น มีนางเนื้อตัวหนึ่งได้มาดื่มกินซึ่งอสุจิ ที่พระดาบศถ่ายมูตรปนอยู่ นางเนื้อนั้นก็มีครรภ์ เมื่อครรภ์แก่บริบูรณ์แล้วก็คลอดซึ่งลูกนั้น เปนมนุษย์คู่หนึ่ง คือกุมารแลกุมารี พระวาสุเทพ ครั้นได้เห็นคู่มนุษย์นั้น จึงได้นำกุมารแลกุมารีนั้นมาเลี้ยงไว้ ครั้นกาลไม่นาน กุมารกุมารีทั้งสองก็ได้จำเริญโดยลำดับมีรูปโฉมอันงาม พระดาบศนั้น ก็ทำชนทั้งสองนั้นให้เปนสามีภริยากัน แลขนานนามแก่กุมารกุมารีทั้งสองนั้น ดังนี้ คือ กุมารให้ชื่อว่า อังกุริสิ (หน่อพระฤๅษี) กุมารีให้ชื่อว่า มิคูบดี

โย ธัม์มํ อสุโต ปุพ์พํ โสปิ เอตํ น สัท์ทหิ วัญ์ญุตํ สัท์ทหาเปย์ย อิสิสิงเคน ชาตกา โส อิสิ มิคิยา คัพ์เภ ชาโต โหติ ยถา ตถา ยถา พาราณสิเทวี สังกนามาติ วิส์สุตา ปุป์ผปทุมัค์คัพ์ภัส๎มึ ชาตา สา อุปปาติกา ยถา เอวํ ตถา เอวํ สัม์มาสัม์พุท์ธเทสิตัน์ติ.

ผู้ใดมิได้เคยตรับฟังพระธรรมแล้ว ผู้นั้นก็จักไม่เชื่อเรื่องนี้ วิญญูชนผู้รู้แจ้ง จักยังเรื่องนั้นให้มหาชนพึงเชื่อได้ แต่เรื่องอิสิสิงคชาดก พระฤๅษีนั้นได้เกิดแล้วในครรภ์นางเนื้อมีอยู่ฉันใด ก็เหมือนกัน

อนึ่งพระเทวีของพระเจ้าพาราณสี เราทราบแล้วว่าทรงพระนามนางสังกเทวี ได้เกิดแล้วในกเปาะแห่งดอกปทุม นางนั้นเปนอุปปาติกเรื่องนี้ฉันใด เรื่องอย่างนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสำแดงแล้วฉันนั้น

เต อุโภ ชายปติกาปิ วาสุเทวัส์ส พีชชาติกาเยว.

ฝ่ายว่าสามีภริยาทั้งสองนั้น ได้ชื่อว่าพืชชาติของพระวาสุเทวฤๅษีแท้เทียว

โส เตสํ นิวาสนัต์ถาย ปัพ์พตปาทสมีเป ฐาเน เอกํ นครํ มาเปต๎วา อังกุริสิกุมารํ ราชาภิเสกํ กัต๎วา มิคูปติกุมารึ ราชเทวีภิเสกํ กัต๎วา อัญ์เญ มิคปทพลัญ์ชชาตมนุส์เสปิ เตสํ ปริวาเรต๎วา ตัต์ถ วัส์สาเปต๎วา อัญ์เญ เมงคปุต์เต จ เตหิ สัท์ธึ นิวาสาเปสิ.

พระวาสุเทวฤๅษีนั้น จึงได้สร้างเมืองหนึ่ง ในสถานที่ใกล้เชิงบรรพต เพื่อให้เปนนิวาศสถานแห่งสองสามีภริยานั้น แล้วก็ราชาภิเศกเจ้าอังกุริสิกุมารแลอภิเศกนางมิคูบดีกุมารี ให้เปนราชเทวี แล้วให้มนุษย์ทั้งหลายพวกหนึ่งที่เกิดในรอยเท้าเนื้อ ให้เปนบริวารของพระราชา แลพระราชเทวีในนครนั้น แล้วให้พวกเมงคบุตรทั้งหลายอิกพวกหนึ่ง มาอยู่ด้วยกับพระราชาพระราชเทวีนั้น

ตัญ์จ ปเทสํ มิคคณนิวาสนัต์ตํ มิคสังฆคครัน์ติ วุต์ตํ.

ก็และประเทศนั้น ได้มีความเปนนิวาศสถานของหมู่มฤค ชนทั้งหลายจึงได้พากันเรียกว่ามิคสังฆนครฉนี้

เต อุโภปิ สมัค์คสํวาสํ วสิต๎วาว ตโย ปุต์เต เอกํ ธีตรํ ปติลภึสุ.

แม้ว่าสองราชนั้น ได้ครองสมัคสังวาสกันมาก็ได้มีพระบุตร ๓ องค์ เปนพระธิดาองค์หนึ่ง

เตสุ เชฏ์ฐปุต์โต กุนริกนาโส นาม กุมาโรติ.

ในพระบุตรทั้งหลายนั้น พระเชฎฐบุตรมีนามว่า พระกุนริกนาสกุมารดังนี้

กัส๎มา กุนริกนาโสติ.

เพราะเหตุใดเล่า จึงมีพระนามว่า กุนริกนาส กะนี้

ตัส์ส กิร ชาตทิวเสเยว ราชา กุนรานํ ฆาเฏน์ติ วินาเสน์ติ ตัส๎มา ตัส์ส นามคหณทิวเส กุนริกนาโสเตย๎ว นามํ กรึสุ.

ดังได้ยินมา พระราชาได้ฆ่าคนร้ายทั้งหลายให้พินาศไปในวันพระชาติพระกุมารนั้น เพราะเหตุนั้น ในวันที่จะขนานนามพระกุมารนั้น ชนทั้งหลายจึงถวายพระนามว่า พระกุนริกนาส กะนี้แล

ตัส์ส กณิฏโฐ จ กุนริกธํโส นาม กุมาโรติ.

อนึ่งพระกนิฐของพระกุนริกนาสนั้น ก็มีพระนามว่า พระกุนริกธํสกุมารดังนี้

กัส๎มา กุนริกธํโสติ.

เพราะเหตุใดจึงได้มีพระนามว่า กุนริกธํส กะนี้เล่า

ตัส์ส ชาตทิวเสเยว ราชา กุนรานํ ธํเสน์ติ ปลาเปน์ติ ตัส๎มา นามคฺหณทิวเสเยวัส์ส กุนริกธํโสเต๎วว นามํ กรึสุ.

คือในวันพระชาติ แห่งพระกุมารนั้น พระราชาได้กำจัดคนร้ายทั้งหลายให้หนีไป เพราะเหตุนั้น ในวันที่ขนานนามพระกุมารนั้น ชนทั้งหลายจึงถวายพระนามว่าพระกุนริกธํส กะนี้แล

ตัส์ส กณิฏ์โฐ จ กุนริกโรโสติ.

อนึ่งพระกนิฐของพระกุนริกธํสนั้น มีพระนามว่า พระกุนริกโรส ดังนี้

กัส๎มา กุนริกโรโสติ.

เพราะเหตุใดเล่า จึงทรงนามว่า กุนริกโรส ดังนี้ กะนี้

ตัส์ส กิร ชาตทิวเส ราชา กุนรานํ โรเสน์โต ตัช์โชน์โต ตัส๎มา นามคหณทิวเสเยวัส์ส กุนริกโรโสเต๎วว นามํ กรึสุ.

ดังได้ยินมา ในวันพระชาติแห่งพระกุมารนั้น พระราชาทรงพระพิโรธคุกคามคนร้ายทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในวันที่ขนานพระนามแห่งกุมารนั้น ชนทั้งหลายจึงถวายพระนามว่า พระกุนริกโรส กะนี้แล

สัพ์พกณิฏ์ฐาปิ ปทุมาเทวี นามาติ.

พระกนิฐาแห่งพระกุมารทั้งปวง มีพระนามว่าพระปทุมาเทวี ดังนี้

กัส๎มา ปทุมาติ.

เพราะเหตุใดจึงมีพระนามว่า พระนางปทุมา ดังนี้เล่า

ตัส์สา กิร ชาตทิวเสเยว พหุปทุมปุป์ผกลาปานิ อาหรัน์ติ ตัส์สา นามคหณทิวเสเยวัส์สา ปทุมเทวีติ นามํ กรึสุ.

ดังได้ยินมา ในวันพระชาติแห่งพระธิดานั้น ชนทั้งหลายพากันนำ กลาป แห่งดอกปทุมทั้งหลายเปนอันมากมาถวาย ในวันเปนที่ขนานพระนามแห่งพระธิดานั้น ชนทั้งหลายจึงถวายพระนามว่า พระปทุมเทวี กะนี้แล

ปทุมาทเวี วยัป์ปัต์ตํ สัพ์พเชฏ์ฐกัส์ส กุนริกนาสัส์ส อัค์คมเหสิฏ์ฐานํ อกํสุ.

ชนทั้งหลายได้อภิเศกนางปทุมเทวีผู้มีวัยอันถึงแล้ว ให้เปนตำแหน่งพระอรรคมเหษี ของพระกุนริกนาสผู้เปนพระเชฏฐากว่าน้องทุกคน

อังกุริสิราชาปิ ตึสวัส์สานิ รัช์ชํ กาเรต๎วา สัม์ติก์ขยนกาลํ กัต๎วา วาสุเทโว ตัส์ส สริรกิจ์จํ กาเรต๎วา อัต์ตนัต์ตํ กุนริกนาสกุมารํ ปทุมเทวิยา สัท์ธึ ราชาภิเสกํ กัต๎วา มิคสังฆนครํ รัช์ชํ กาเรสิ

แม้ฝ่ายว่า พระเจ้าอังกุริสิราชครองราชสมบัติได้ ๓๐ พรรษกาลแล้ว ก็ทำกาลสมมุติขัยน์ (สิ้นชีพตักษัย) พระวาสุเทพฤๅษีเจ้า ก็ให้จัดการทำสรีรฌาปนกิจเสร็จแล้ว จึงให้ทำการราชาภิเศกพระกุนริกนาสกุมาร ผู้อรรคนัดากับด้วยนางปทุมเทวี ให้เสวยราชสมบัติครองมิคสังฆนคร

อถัส์ส เอตทโหสิ มิคสังฆัน์ติ นามํ อัป์ปมังคลวาจกํ มิคสังฆนครัน์ติ วุจ์จตีติ.

ลำดับนั้น ความปริวิตกได้มีแก่พระดาบศวาสุเทพดังนี้ว่า นามว่าฝูงเนื้อดังนี้เปนคำอัปปมงคล ชนทั้งหลายย่อมพากันเรียกว่าเมืองฝูงเนื้อ

ตโต ปรัม์ปิ โส มิคสังฆนครัส์ส ปุพ์พทิสาภาเค อปรํ นครํ มาเปต๎วา กุนริกธํสกุมารํ อภิเสกํ กัต๎วา ตัส๎มี นคเร รัช์ชํ กาเรสิ.

เบื้องน่าแต่นั้น พระดาบศ จึงได้สร้างเมืองอื่นอิกในบุพพทิสาภาคแห่งมิคสังฆนคร จัดการอภิเศกให้พระกุนริกธํสกุมารเสวยราชในนครนั้น

ตํ ปน ปุรี อิสินา มาปิตัต์ตํ ปุรินครํนาม ชาตํ อโหสิ.

ก็และบุรีนั้นพระฤๅษีได้สร้าง จึงมีชื่อว่าบุรีนครปรากฏต่อมา

ตโต จ โส ปุพ์พุต์ตรทิสาภาเค มิคสังฆนครัส์สาวิทูเร เอกํ นครํ มาเปต๎วา กุนริกโรสกุมารํ ราชาภิเสกํ กัต๎วา ตัส๎มึ รัช์ชํ กาเรสิ.

อนึ่งลำดับนั้นพระดาบศจึงให้สร้างเมืองหนึ่ง ในทิศมิสู้ไกลเมืองมิคสังฆนคร ด้านบุพพุตรทิศาภาค แล้วจัดการราชาภิเศกพระกุนริกโรสกุมารให้เสวยราชในเมืองนั้น

ตํ ปน นครํ อวิทูเร มาปิตัต์ต อวิทูรนครัน์ติ นามํ อโหสิ.

ก็และเมืองนั้นพระฤๅษีได้สร้างในทิศอันมิสู้ไกล จึงได้มีชื่อว่า อวิทูรนคร

ตโต กาลัน์ตรํ วาสุเทโว จิน์เตสิ อิทํ มิคสังฆนครํ น สมํ น โสภณํ เอกภูมิปเทสํ สมตลํ ปริเยสิส์สามิ ยทิ มม รุจ์จนกํ เอกํ นครํ มาเปส์สามีติ.

ในระหว่างกาลแต่นั้นมา พระวาสุเทพได้ดำริห์ดังนี้ว่า ตำบลเมืองมิคสังฆนครนี้ ที่ไม่เสมอไม่งาม เราจักแสวงหาภูมิประเทศอันหนึ่งที่มีพื้นราบ เราจักสร้างเมืองหนึ่ง ตามชอบใจของเราอย่างไรดี

เอวํ จิน์ตยมาเนว ภควโต ธาตุส์ส อุป์ปัช์ชนัฏ์ฐานัส์ส ทัก์ขิณทิสาภาเค เอกภูมิปเทสํ สมตลํ อัท์ทส.

เมื่อเธอดำริห์อยู่อย่างนี้ ก็ได้เล็งเห็นภูมิประเทศอันหนึ่ง มีพื้นอันราบมีอยู่ในทักขิณทิศาภาคแห่งสถานอันจะบังเกิดแห่งพระธาตุของสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคย์เจ้า

อถ ตัส๎มึ ปเทเส นครํ มาเปต๎วา กุนริกนาสราชานํ รัช์ชํ กาเรสิ.

ครั้งนั้นเธอก็ให้สร้างพระนครลงในประเทศที่นั้น แล้วให้พระกุนริกนาสราชมาเสวยราช

‘อัต์ตโน ปน รุจ์จนกํ รัม์มัฏ์ฐานํ มาปิตัต์ตํ นครํ รัม์มนครํนาม วุจ์จติ.

สถานอันเปนที่รื่นรมย์ พระฤๅษีได้สร้างตามความชอบใจของท่าน ชนทั้งหลาย จงเรียกเมืองว่าเมืองรัมมนคร

ตโต จีราคตาเยว ตัต์ถ วสัน์ตา พหู ชนา สัพ์พสัม์ปัต์ติสมิท์ธา สุภิก์ขา อภิรัม์มตรา โหน์ติ.

จำเดิมแต่นั้น ครั้นจำเนียรกาลมามีชนเปนอันมากพากันไปอยู่ในเมืองนั้น ได้มีความสำเร็จสมบัติทั้งปวงเข้าปลาหาง่าย แสนสบายรื่นรมย์อย่างยิ่ง

ตโต จีราคตา ตัต์ถ นคเร เอโก ปุริโส กัก์ขโล ผรุโส อติทารุโณ สกมาตรํ อัก์โกสติ ปริภาสติ จ.

จำเดิมแต่นั้นครั้นนานมา มีชายผู้หนึ่งที่อยู่ในเมืองนั้น เปนคนดื้อกระด้างหยาบคายร้ายทารุณด่าทอปริภาษมารดาของตน

สา ปนัส์ส มาตา ทุก์ขํ อสหัน์ตีเยว กุนริกนาสรัญ์โญ สัน์ติกํ คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา โรทิต๎วา ตํ ปวุต์ตึ ปวัก์ขติ.

ฝ่ายมารดาของชายนั้น เมื่ออดกลั้นความทุกข์ไว้มิได้ ก็ไปสู่สำนักพระเจ้ากุนริกนาสราช ถวายอภิวาทแล้วร้องไห้ทูลเรื่องราวนั้น

อถ นํ ราชา อาห อเร วสลิ ปุต์โต นาม สกมาตรํ ปหริตุํ ยุต์โต ยถา หิ นาม กํสตาลา มาตา ปุต์เตน ปหตา สัท์โท ปากโฏ โหติ โน เจ ปุต์โต ปหรติ มาตา อปากฏา ตุณ๎หีเยว ภวิส์สติ กัส๎มา ต๎วํ โรทสิ อิโต นิก์ขมาหีติ.

ทีนั้นพระราชา ก็ตรัสกะหญิงนั้นว่า แนะหญิงถ่อย หญิงร้าย ขึ้นชื่อว่าลูกและตีแม่ของตนควรแล้ว มารดาเหมือนกังสดาลอันบุตรประหารแล้ว เสียงก็ปรากฏมี ถ้าหากว่าบุตรไม่ประหาร มารดาก็มิได้ปรากฏแล้ว จักได้ชื่อว่าเหตุมีแก่ท่านอย่างไรเล่า เพราะเหตุไรท่านจึงร้องไห้ จงออกไปเสียจากที่นี้

เอวํ วุต์เต สัพ์เพ เสนาปตยาทโย อมัจ์จา ตเถว วทัน์ติ.

ครั้นเมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์ทั้งหลายมีเสนาบดีเปนต้นทุกคน ก็พากันกล่าวอย่างเดียวกัน

สา อัป์ปติภาณา หุต๎วา ราชนิเวสโต โอตริต๎วา ราชังคเณ ท๎วีหิ ชัณ์ณุเกหิ ภูมิยํ ปติฏ์ฐเปต๎วา ปาณินา ปถวึ ปหริต๎วา ปรามสิต๎วา เอวมาห อัย์เย พสุน์ทริ ต๎วํ สัพ์พโลกปติฏ์ฐานภูตา อิมํ การณํ ชานาหิ สัพ์เพ เทวคณาโย โลกปาลาทโยปิ อิมํ การณํ ชานถาติ วัต๎วา อุฏ์ฐาย เทวตานํ นมัส์สมานา สกเคหํ ปัก์กามิ.

หญิงนั้นก็ไม่มีคำตอบได้แล้ว จึงเดินลงมาจากพระราชนิเวศน์ แล้วคุกเข่าทั้งสองลงเหนือพื้นดินในพระลานหลวง ประหารแผ่นดินด้วยฝ่ามือแล้วคลำอยู่ ล่าวคำอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้านางพระธรณี พระองค์ท่านนี้เกิดมาเปนที่ประดิษฐานแก่โลกทั้งปวง ขอจงได้ทราบพระญาณซึ่งเหตุการณ์อันนี้ไว้ด้วยเถิด แลนางกล่าวว่า ขอเทพยเจ้าเหล่าคณาทั้งหลายทั้งปวง มีท้าวโลกบาลเปนต้น จงได้ทราบพระญาณซึ่งเหตุการณ์อันนี้ด้วยเถิด แล้วจึงยืนขึ้นท้านมัสการแก่เทพยดาทั้งหลายแล้วก็ไปสู่เรือนแห่งตน

ตทเหว สัพ์เพ เทวคณา เอกัค์คตา หุต๎วา เตสํ กุชฌึสุ ตัส๎มึ รัต์ติภาเค เทวตา อาคัน์ต๎วา ตํ เอสมาห อัม์ม เส๎วเยว ตว ปิยชนํ คเหต๎วา นครโต นิก์ขมาหิ มยํ อิมํ นครํ สราชานํ สห อธัม์มิกมนุส์สานํ เหฏ์ฐา โอรุช์ฌนํ การณํ กริส์สามาติ วัต๎วา อัน์ตรธายึสุ.

ณวันนั้นแท้จริง ฝ่ายฝูงเทพยเจ้าทั้งปวง ก็พากันมีฉันทอันเดียวขึ้งเครียดแก่ชนราชการทั้งหลายนั้น แลในคืนวันนั้นเทวดาทั้งหลายก็มาสำแดงแก่หญิงนั้นดังนี้ว่า ดูกรแม่หญิงในวันพรุ่งนี้แท้เทียวท่านจงพาคนที่รักใคร่ของท่านออกจากเมืองไป เราทั้งหลายจักทำพระนครนี้กับพระราชาทั้งมนุษย์อาธรรม์ทั้งหลาย ให้เปนเหตุซุดลงภายใต้ ครั้นกล่าวแล้วก็อันตรธานหายไป

ตํ สุต๎วา สา ตุฏ์ฐจิต์ตา ปาโตว อัต์ตโน ปิยชนํ คเหต๎วา นครโต นิก์ขมิต๎วา ทูเร ปติวสิ.

หญิงนั้นครั้นได้สดับเทพบรรหารแล้วก็มีจิตรชื่นชม ครั้นเวลาเช้าก็พาชนที่รักใคร่ของตนออกจากนครไปสำนักอยู่ในที่ไกล

ตัส๎มึ ขเณ เทวตา ตํ สกลนครํ อุทเกน โอสีทาเปต๎วา เหฏ์ฐา โอรุช์ฌิต๎วา สัพ์พฆรปิฏ์เฐ อุทกัส์ส เหฏ์ฐา โอสีทภาวํ คัจ์ฉัน์ติ.

ในขณะนั้น เทวดาทั้งหลายก็บรรดาลให้เมืองนั้นจมลงด้วยน้ำ ซุดต่ำลงถึงภายใต้หลังเรือนทั้งสิ้น ก็ได้ถึงซึ่งกิริยาอันจมลงภายใต้แห่งน้ำ

สัพ์เพ อธม์มิกมนุส์สา กุนริกนาสราชปมุขา เอกัป์ปหาเรเนว มหาวินาสํ ปาปุณึสุ.

ฝ่ายมนุษยอาธรรม์ทั้งหลาย มีพระเจ้ากุนริกนาสราชเปนประธาน ได้พากันถึงแล้วซึ่งมหาวินาสด้วยประหารครั้งเดียวนั่นเทียว

ตํ ปวุต์ตึ สุต๎วา รัฏ์ฐวาสิโน ชนตา ตํ ทัส์สนัต์ถํ สมาคัญ์ฉึสุ

ประชุมชนชาวรัฏฐวาสีทั้งหลายได้ทราบ ปวัตติข่าวนั้น จึงได้พากันมาประชุมเพื่อจะดูเหตุนั้น

ตทา วาสุเทโว มหาอิสี อัต์ตโน ทิพ์พจัก์ขุนา โอโลเกต๎วา ตํ พหุชนสมาคมํ ทิส๎วา เตสํ โอวาทํ ทาตุกาโม อิท์ธิพเลนาคัน์ต๎วา อากาเส ปัล์ลังเกน นิสีทิต๎วา อัต์ตโน อุค์คหิตธัม์มํ ภควโต วจนานุกุลํ เตสํ เทเสน์โต อาห.

ลำดับนั้น พระวาสุเทพมหาฤๅษี ได้แลดูด้วยญาณ คือ จักษุดังทิพย์ของตน ก็ได้เห็นประชุมชนเปนอันมากดังนั้นแล้ว ก็ใคร่เพื่อจะให้โอวาทแก่ชนทั้งหลายนั้น จึงได้มาโดยกำลังอิทธิฤทธิ์นั่งอยู่ด้วยบัลลังก์ในอากาศสำแดงอยู่ซึ่งธรรมอันตนได้เรียนไว้เปนลำดับ พุทธวจนของสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคย์เจ้า กล่าวแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นว่า

อโห สัจ์จมิทํ วาก๎ยํ วุต์ตํ โลกหิเตสินา น ภเช ปาปเก มิต์เต น ภเช ปุริสาธัม์เม ภเชถ มิต์เต กัล๎ยาเณ ภเชถ ปุริสุต์ตเม โย ภเช ปาปเก มิต์เต นิจ์จํ โส ทุก์ขเมธติ โย ภเช มิต์เต กัล๎ยาเณ นิจ์จํ โส สุขเมธติ อลโส คีหิ กามโภคี น สาธุ อสัญ์ญโต จ ปัพ์พชิโต น สาธุ ราชา น สาธุ อนิสัม์มการี โย ปัณ์ฑิโต โกธโนติ น สาธุ นิสัม์มการิโน รัญ์โญ ยโส กิต์ติญ์จ วัฑ์ฒัน์ติ ปัณ์ฑิโต สีลสัม์ปัน์โน นิโกโส ยสุ์ตตโมติ”

โอ้ คำนี้เปนคำจริง สมเด็จพระโลกหิเตสีเจ้าได้ตรัสไว้ว่า นรชนอย่าได้คบมิตรบาป อย่าได้คบบุรุษอาธรรม์ ให้คบมิตรที่เปนกัลยาณชน ให้คบบุรุษอุดม ชนใดคบบาปมิตร ชนนั้นจะถึงทุกข์เปนนิตยกาล ชนใดคบกัลยาณมิตร ชนนั้นจะถึงศุขเปนนิตยกาล คฤหัฐผู้บริโภความเกียจคร้านจะไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี พระราชาไม่พิจารณาก่อนแล้วทำก็ไม่ดี บัณฑิตคนใดมักโกรธก็ไม่ดี ยศก็ดี เกียรติก็ดี ย่อมเจริญแก่พระราชาที่พระองค์พิจารณาก่อนแล้วแลทำการ บัณฑิตครองศีลไว้ ออกจากความโกรธได้เปนผู้มียศอุดม

โส เอวํ อิมาหิ พุท์ธวจนคาถาหิ สกลชนสมูหานํ โอวาทนัต์ถาย เทเสต๎วา ตัส์ส ธัม์มเทสนํ สุต๎วา มหาชนกายา อติวิย ปสีทิต๎วา อัญ์ชลึ กัต๎วา ตํ นมัส์เสสํุ.

พระวาสุเทพฤๅษีนั้น ได้สำแดงอย่างนี้ เพื่อประโยชน์การโอวาทแก่ประชุมชนทั้งปวงด้วยพุทธวจนคาถาทั้งหลายเหล่านี้แล้ว หมู่มหาชนทั้งหลายได้ฟังธรรมเทศนาของพระวาสุเทพนั้น ต่างพากันเลื่อมใสหาที่เปรียบมิได้ แล้วพากันทำอัญชลีนมัสการพระวาสุเทพฤๅษี

อถ โส วาสุเทโว สัพ์เพสํ คัณ๎หนัต์ถาย อัต์ตนาธิป์ปายอภิสัป์ปิตํ ปติฏ์ฐเปต๎วา เตสํ ตํ ทัส์เสน์โต อาห.

ลำดับนั้นพระวาสุเทพนั้น ก็ประดิษฐานคำสาปลงไว้ เพื่อจะให้ชนทั้งปวงนั้น ถือมั่นไว้ด้วยอธิบายของตน จึงสำแดงคำสาปนั้นกล่าวแก่ชนทั้งหลายนั้นว่า

ยัส๎มึ ปเทเส วิรุท์เธ กุราชา ตัส๎มึ อุป์ปาตา จ ภวัน์ติ เอวํ นาฬีกทีปัม์ปิ จ อิน์ทปัตถํ เสสัม์ปิ รัฏ์ฐํ วินยํ ปุราณา อิธาปิ มัย๎หํ วิชิตํ สมัน์ตา ยาวัส์ส ราชา อธัม์มา กุคาหา ทุก์ขํ ปัช์ชัน์เต นาคเรปิ กิญ์จิ ธัม์เมน สเมน จ นานิจ์เจย์โย เอวํ วินาสํ ปวัต์ตตุส์ส ยาวัส์ส กัป์ปํ วิชิตํ มมัน์ติ.

เมื่อพระราชาผิดธรรมมีอยู่ในประเทศใด อุบาทว์ทั้งหลาย ก็ย่อมมีขึ้นในประเทศนั้นดังนี้ เช่นเกาะนาฬีกแลเมืองอินทปัตถ์ก็ดี แว่นแคว้นอันวิเศษอื่นก็ดี ได้ถึงความพินาศเช่นกัน แต่บุราณก็ดี ก็แว่นแคว้นของเราในประเทศนี้ จะพึงมีพระราชาอาธรรม์ถือผิดอยู่เพียงใด ก็จะทำให้ชาวนครทั้งหลายถึงทุกข์อันใดอันหนึ่งได้ อนึ่ง แว่นแคว้นของเรานี้ จะพึงมีอยู่ตลอดกัปปเพียงใด ถ้าหากพระราชาจะไม่พึงยังความวินิจฉัยให้เปนไปโดยธรรมเสมออยู่ไซ้ ขอให้แว่นแคว้นจงเปนไปสู่ความพินาศแก่พระราชานั้น ฉันนั้นเถิด

เอวํ โส อภิสัป์ปถํ มหาชนัส์ส สมูเห สาเวต๎วา อัต์ตโน วสนํ อากาเสนาคัน์ต๎วา โส ปน ปเทโส อุทเกน อัช์โฌฏ์ฐิโต อติมหัณ์ณโว ชาโต เตน อัน๎วนนาเมน ปรัม์ปราภโต อัณ์ณวสีโท รัม์โมติ นาม ชาโต.

พระวาสุเทพนั้น ได้ให้ประชุมมหาชนทราบคำสาปอย่างนี้แล้ว ก็เหาะไปสู่วสนสถานตนโดยประเทศอากาศ ก็และประเทศนั้น อันน้ำได้ท่วมแล้ว จึงบังเกิดเปนห้วงมหรณพ เพราะเหตุนั้น จึงได้มีชื่อว่า อันวนะสืบๆ มาจนปรากฏชื่อว่า “อัณณวสีโท รัมโม” ดังนี้

ตโต ปุนทิวเสเยว อวิทูรนคเร เอโก ปาปปุริโส จัณ์โฑ กัก์ขโล ผรุโส อัต์ตโน มาตรํ อัก์โกสติ ปริภาสติ จ.

ณลำดับนั้น รุ่งขึ้นอิกวันหนึ่งแท้จริง มีปาปบุรุษคนหนึ่ง ในเมืองอวิทูรนครเปนคนดุร้ายดื้อกระด้างหยาบคาย ได้ด่าทอประหารบริภาษมารดาของตน

สา ตํ ทุก์ขํ อสหัน์ตี กุนริกโรสรัญ์โญ สัน์ติเก โรทิต๎วา ตํ ปวุต์ตึ อาโรเจติ.

หญิงนั้นอดกลั้นต่อทุกข์นั้นมิได้ ก็ร้องไห้ไปสู่สำนักพระเจ้ากุนริกโรสราช ทูลประพฤติเหตุนั้น

โสปิ ราชา อัต์ตโน ภาตุส์ส ปวุต์ตึ อสุตัต์ตา จ ตัส์สาปิ เอวมาห อเร วสลิต์ถิ กิมัต์ถํ โรทสิ ปุต์โต นาม อัต์ตโน มาตรํ ปรหติ ยถา จ นาม กํสตาลาโต มหิสคิวาย ลัค์คิต๎วา ปุต์เตหิ ปหตา อติปากฏสรสัท์ทวัน์ตา โหน์ติ โน เจ ปุต์ตา ปหรัน์ตา กึสัท์ทา ปากฏา โหน์ติ อิทํ อัต์ถํ สัพ์พโลกวินิจ์เฉย์ยํ มา ต๎วํ กิญ์จิ วเทหีติ.

แม้ว่าพระราชานั้น โดยเหตุที่พระองค์ไม่ทรงทราบประพฤติเหตุของพระภาดาด้วย ไม่ทรงทราบทุคคติด้วย จึงได้ตรัสแก่หญิงนั้นดังนี้ว่า แนะหญิงร้ายหญิงลุอำนาจ ท่านมาร้องไห้แล้ว เพื่อต้องการอะไร ชื่อว่าบุตรก็ย่อมประหารซึ่งมารดา เปรียบเหมือนกังสดาลซึ่งแขวนไว้ที่ฅอโคกระบือ เมื่อบุตรประหารแล้วก็มีสำเนียงดังปรากฏมีอยู่ ถ้าหาบุตรไม่ เสียงอะไรเล่าจะปรากฏมี เนื้อความนี้ เปนเครื่องวินิจฉัยของโลกทั่วไป ท่านอย่าว่าอย่างไรเลย

สา ตัส์ส วจนํ สุต๎วา อัป์ปฏิภาณา หุต๎วา ราชนิเวสนา โอตริต๎วา ชาณุมัณ์ฑเลหิ ปถวิยํ ปติฏ์ฐเปต๎วา หัต์เถน ตํ ปัป์โปเฏต๎วา สัพ์พทิสานํ เทวตานํ นมัส์สมานา เอวมาห.

หญิงนั้น ครั้นได้ฟังรับสั่งดังนั้นแล้ว ก็มิรู้ที่ว่าจะพูดอย่างไรได้ จึงลงจากพระราชนิเวศน์มา หมอบลงเหนือปถพีด้วยเข่าทั้งสองแล้วตบแผ่นดินด้วยมือพลาง นมัสการแก่ฝูงเทพยดาทั้งหลายทุกทิศแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

โภน์โต โภน์โต เทวสังฆา โลกปาลา มหิท์ธิกา อิน์ทา เทวา จ ภูปติ มหาอิสิ สจัก์ขุมา ปัส์สัน์ตุ มํ ทุก์ขัป์ปัต์ตํ อนาถํ อัป์ปรายนํ ราชานํ อัต์ตโน นาถํ กาตํุ อาคัจ์ฉึ หํ อิธ ราชา อธัม์มมัจ์จา จ นิค์คหํ มํ ทุก์ขํ ปุน มาตา จ นาม ปุต์เตน ปหริตํุ ยุต์ตา อิติ ปติวัต์ตํุ น สัก์โกมิ ยุต์ตายุต์ตํ ปชานถ เอวํ วัต๎วาน สา อิต์ถี ปัก์กามิ สกัฏ์ฐานกัน์ติ.

ข้าแต่ฝูงเทพยดาเจ้าผู้จำเริญๆ ทั้งหลาย ทั้งท้าวโลกบาลผู้ชาญมหิทธิฤทธิ์ แลพระอินทรเทวราชผู้ทรงฤทธิ์ อิกพระภูบดี แลพระมหาฤๅษีผู้มีจักษุญาณ ขอจงได้ทัศนาการดูข้าพเจ้าผู้ทนทุกข์อนาถา หาที่พึ่งพามิได้ หวังพระราชาไว้ว่าเปนนาถะของตน สู้อดทนมาเฝ้าในพระราชนิเวศน์นี้ พระราชาแลอำมาตย์มนตรี ก็พากันอาธรรม์ข่มขี่กระหม่อมฉันให้ได้รับความทุกข์ยาก หากมากล่าวว่า มารดาอันบุตรประหารก็ควรแล้วดังนี้ ข้าพเจ้ามิรู้ที่ว่าจะกล่าวตอบ ขอท่านทั้งหลายมีทิพญาณจงทราบรบอบชอบผิดไว้ด้วยเทอญ เมื่อหญิงนั้น รำพรรณดังนี้แล้ว ก็หลีกไปสู่สถานตน

อถ จ เอโก ปุริโส ตัส์ส ภาตุส์ส สุฏ์ฐสาริตํ สุต๎วา รัญ์โญ สัน์ติกํ คัน์ต๎วา อาห เทว ตุม๎หากํ ภาตโร อิมินา อธิป์ปาเยน วจเนน มหาวินาสํ ปาปุณาติ มา เอวํ อวจุต์ถาติ.

ก็และลำดับนั้น มีราชบุรุษผู้หนึ่งได้สดับซึ่งเหตุแห่งพระภาดาของพระราชานั้นอันตนจำไว้ได้ดีแล้ว จึงไปสู่สำนักพระราชาทูลว่า ข้าแต่เทวดาเจ้า พระภาดาของพระองค์ได้ถึงซึ่งมหาวินาศด้วยถ้อยคำอันพระภาดาอธิบายแล้วอย่างนี้

ราชา ตัส์ส วจนํ สุต๎วา ภีตตสิโต หุต๎วา กึ กโรมาติ อาห.

ขอพระองค์เจ้าอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ฝ่ายพระราชาได้ทรงสดับคำราชบุรุษนั้น ก็หวาดหวั่นด้วยความกลัวแล้ว จึงถามว่าควรเราทั้งหลายจะทำอย่างไรเล่า

ตเทโก ปัณ์ฑิตามัจ์โจ เอวมาห ยทิ เทว มยํ คัน์ธมาลาทีหิ ตุม๎หากํ อัย์ยกัส์ส มหาวาสุเทวัส์ส อิสิโน ขมาเปต๎วา อิทํ วิรุท์ธกัม์มํ ปวาหนัต์ถาย ยาจิส์สามาติ.

ครั้งนั้นอำมาตย์บัณฑิตผู้หนึ่งทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่เทวดาเจ้า ถ้าหากว่าเราทั้งหลายขอษะมาโทษแก่พระมหาวาสุเทพฤๅษีผู้อัยกาของพระองค์ ด้วยคันธมาลาทั้งหลายแล้ว ขอให้ท่านห้ามซึ่งกรรมอันผิดนี้เถิด

เส สาธูติ วัต๎วา อัต์ตโน นิเวสนัส์ส พหิอาฬิน์เท อาสนํ ปัญ์ญาเปต๎วา ทีปธูปคัน์ธมาลาทีหิ ปติยาทาเปต๎วา อุจ์ฉุปัพ์พตาภิมุขํ กัต๎วา ปุนัป์ปุนํ วัน์ทิต๎วา เอวํ อภิยาจิ ภัน์เต เม โทสํ ขมาเปหิ มา มํ วินาสํ ปาเปตูติ.

พระราชานั้น ก็ตรัสว่า สาธุ ดังนี้แล้ว จึงให้แต่งตั้งอาสนะณภายนอกระเบียงพระนิเวศน์ของพระองค์ แล้วจัดประทีปธูปคันธมาลาเปนต้น ผันพระภักตร์ต่อภูเขาอุจฉุบรรพต ถวายอภิวาทกราบแล้วกราบเล่า กล่าวอ้อนวอนว่าดังนี้ “ภัน์เต” ข้าแต่พระดาบศผู้เจริญ ขอท่านจงได้อดโทษแก่ข้าพเจ้า จงอย่าให้ข้าพเจ้าถึงความวินาสเลย

วาสุเทโว จัส์ส ทิพ์พโสเตน ตํ วจนํ สุต๎วา จิน์เตสิ อิทํ มยา หิย์โย อภิสัป์ปิตํ กัต๎วา อิเมเต อัน์ธพาลา อคติคตา ยถวา โหน์ติ น จ เอตํ มยา ขมิตัพ์พัน์ติ.

ฝ่ายพระวาสุเทพดาบศ ก็ได้ยินคำอ้อนวอนนั้นโดยทิพโสตแล้ว จึงดำริห์ว่าเราได้ทำคำสาปนี้ไว้เมื่อวานนี้แล้ว ชนทั้งหลายเหล่านี้เปนอันธพาล ลุอำนาจอคติ มีอยู่ฉันใด การขมาโทษนั้น เราจะไม่พึงอดโทษให้

สัพ์เพ เทวตา ตัส์ส มนํ ญัต๎วา กตกัล๎ยาณมนุส์สานํ วิคหิตา หุต๎วา นครโต ปัก์กมาเปต๎วา เย มนุส์สา ปุญ์ญกรณธนสัน์นิจ์จยํ กัต๎วา ฐปิตํ ตํ สัพ์พํ โกฏ์ฐาคาราทีนํ เทวตานุภาเวน พหินครํ อุล์สังฆา เปต๎วา ปาปเก มนุส์เส อวเสเส กัต๎วา สกลนครํ สทุชนํ ราชัป์ปมุขานํ เหฏ์ฐา อุรุช์ฌาเปต๎วา มหาวินาสํ ปาเปสํุ.

ฝ่ายฝูงเทพยดาทั้งปวงได้ล่วงรู้วารจิตแห่งพระวาสุเทพแล้ว ก็สงเคราะห์มนุษย์ทั้งหลายที่ได้สร้างกัลยาณธรรมไว้ กันให้หลีกไปเสียจากเมือง มนุษย์ทั้งหลายใดที่ได้ทำการสระสมทรัพย์ไว้เพื่อการทำบุญยังประดิษฐานอยู่ ทรัพย์ทั้งปวงนั้นมีโกฏฐาคารเปนต้น ก็ได้เลื่อนออกไปอยู่นอกเมืองด้วยอำนาจเทวานุภาพ แลได้ทำพวกมนุษย์บาปไม่เหลืออยู่ แล้วทำให้พวกทรชนมีพระราชาเปนประธานกับชาวเมืองทั้งสิ้น ให้ซุดต่ำลงไปภายใต้ ถึงมหาวินาจหมด สถานในพระนครแลพระลานหลวงก็บังเกิดเปนห้วงมหรณพ เต็มไปด้วยน้ำอันฦกยิ่ง

ตัส๎มึ นคเร ราชังคณัฏ์ฐาเน อุทเกน มหัณ์ณโว ชาโต คัม์ภีรตโร จ โส ปน ปเทโส รัญ์โญ อภิยาจิตัต์ตา ยาจิยรุหโท นาม ปากโฏ อโหสิ.

ก็และประเทศนั้น ก็มีชื่อเรียกว่า “ยาจิยรหโท” ปรากฏมีมาเพราะเหตุว่า พระราชาได้ร้องขอต่อพระฤๅษีแล

วาสุเทโวปิ ตํ ปวุต์ตึ สุต๎วา สํวิค์คมานโส หุต๎วา ภควโต เทสนานุสาเรน วิฬารสํขาลิกํ นาม ธัม์มํ อุทาเนน์โต อาห.

ฝ่ายพระวาสุเทพ ได้ทราบประพฤติข่าวนั้นก็มีจิตรอันสังเวช เปล่งอุทานกล่าวธรรมชื่อว่าวิฬารสังขาลิก โดยการรฦกตามคำเทศนาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้าว่า

กัล๎ยาณการี กัล๎ยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ ยาทิสํ วัป์ปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ ทุล์ลโภ ปุริสาชัญ์โญ ทุล์ลโภ โลกโวหาโร น โส สัพ์พัต์ถ ชายเต ยัต์ถ โส ชายเต ธีโร ตํ กุลํ สุขเมธติ ยัต์ถ โส ชายเต พาโล ตํ กุลํ ทุก์ขเมธติ อิเม เท๎ว ปาปกา ธัม์มา จัณ์ฑา ผรุสกัก์ขลา มาตุคุณํ น ชานัน์ติ โปเถน์ติ สกมาตรํ เต สเทเส นาเสน์ติ ทุเว ราชาทินาครา ยถาปิ โปโส มิต์ตพิน์ทุนามโก อุป์ปัต์ติคัพ์โภ วสิ มาตุกุจ์ฉิยํ ปุพ์เพหิ ปาปอุปถัม์ภทุก์ขทํ คาโม วินาสํ สห โจรลุม์ปิกํ วิปาเจ อัค์คีหิ ปเทย๎หเร กุเล วาเรหิ สังข๎ยา ปิ สหัส์สวารา กุโปริโส วาสิ จ ยัต์ถ ฐาเน คาเม อรัญ์เญปิ จ ตํ วัช์เชย์ยาติ.

คนผู้กัลยาณการี ก็ทำกรรมอันงาม คนผู้ปาปการี ก็ทำกรรมอันบาป พืชเช่นใดที่บุคคลหว่านลงไว้ บุคคลก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น ปุริสาชัญญ ผู้ที่บุคคลหาได้โดยยาก บุคคลผู้นำโลกไปโดยวิเศษก็หาได้โดยยาก บุคคลเช่นนั้น ย่อมไม่เกิดในตระกูลทั่วไป บุคคลผู้นักปราชญ์นั้นเกิดในตระกูลใด ก็ย่อมทำให้ตระกูลนั้นได้ความศุข คนพาลนั้น เกิดในตระกูลใด ก็ย่อมพาให้ตระกูลนั้นได้ความทุกข์ ธรรมทั้งหลายเปนบาปสองประการเหล่านี้ คือ บุคคลผู้ร้ายกาจหยาบคายดื้อกระด้างมิได้รู้คุณมารดา ตีมารดาตน ชนเหล่านั้น พาให้ประเทศกับชาวนครทั้งหลาย มีพระราชาทั้งสองเปนต้นให้ฉิบหายไป คล้ายกับมิตตวินทุกบุรุษย์ เมื่อตั้งครรภ์อยู่ในท้องแห่งมารดา แท้จริงบุพพกรรมได้ให้ทุกข์เปนอุปถัมภกรรมอันบาป บ้านก็ได้ฉิบหายเกิดโจรปล้น ตระกูลก็ได้ถูกไฟ คือ บาปวิเศษเผา โดยวารทั้งหลาย นับได้ถึงพันครั้ง บุรุษย์ชั่วได้อยู่แล้วในที่ใดจะเปนบ้านก็ดี ป่าก็ดี บุคคลพึงเว้นบุรุษย์ชั่วนั้นให้ไกลเถิด

อิติ หริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส มหาจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต ทุติยปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.

อันนี้ เปนเรื่องแสดงด้วยเมืองหริภุญไชยเปนปริเฉทที่สอง อันพระมหาเถรมีนามว่า โพธิรํสี ได้แต่งตามคำมหาจาริก จบเท่านี้

  1. ๑. ฉบับทองน้อยเปน อวิภาวิตํ,

  2. ๒. ที่จะเปน นิโกโธโส ว่าบัณฑิตนั้น ออกจากความโกรธได้

  3. ๓. ทีจะเปน นิจ์เฉย์โย.

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ