จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๙

ตโต ปัฏ์ฐาย โส ราชา มหัน์โต ยสปากโฏ หริปุญ์เชย์ยํ กาเรน์โต มหาราชาติ นามโก กนิฏ์ฐานัน์ตยโส จ อุปราชัว๎หโย อหุ เต อุโภ ชนเต เสฏ์โฐ วัฑ์ฒัน์โต สุขสัม์ปโท นาครา ชานปทา วา อภิรัม์มัน์ติ สัพ์พทา คามนิคมอากิณ์ณา อโจรา จ อเวริกา พุท์เธ ธัม์เม จ สังเฆ จ อุปัฏ์ฐาเปน์ติ สัพ์พทา มาตรํ อุปัฏ์ฐากํสุ นิจ์จากลํ สคารวํ.

จำเดิมแต่กาลนั้นมา พระราชาก็มียศใหญ่ปรากฏแล้ว มีพระนามว่า พระเจ้ามหาราชผู้ครองหริภุญชัย ฝ่ายว่าพระอนันตยศกนิฏฐา ก็ได้เปนพระยาอุปราช พระราชาทั้งสององค์นั้น ก็ประเสริฐในประชุมชนจำเริญอยู่ได้ถึงความศุข ทั้งชาวพระนครชาวชนบททั้งหลาย ก็พากันรื่นรมย์ยิ่งทุกเมื่อ เกลื่อนกล่นกันอยู่ตามบ้านแลนิคม ปราศจากโจรผู้ร้าย พากันอุปถัมภ์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทุกเมื่อ ได้บำรุงแล้วซึ่งพระมารดาเปนนิตยกาลโดยความเคารพย์

จามเทวีปิ สา มาตา สหปุต์เตหิ กิต์ติมา มหาเทวีสุขํ ภุต๎วา นรนาริพิช์ชัค์คตา สุขเสย์ยํ สุขํ ติฏ์ฐํ สุขํ วา จังกมาทิกํ ยํ ยํ อิจ์ฉติ ตํ สัพ์พํ สมิช์ฌัน์ติ มโนรถํ ตทา จามา มหาเทวี ราชปุต์ตี ยสัส์สินี รัต์ติภาเค สยิต๎วาน ปัจ์จุส์เสว ปพุช์ฌยิ ปพุช์ฌิต๎วาน สา เทวี นิสีทิ โสต์ถิเสย์ยเน อตีตานาคตคุณํ ปัจ์จุป์ปัน์นํ วิจิน์ตยิ ปัส์สิต๎วา สกสัม์ปัต์ตึ ปริปุณ์ณํ ยถิจ์ฉิตํ สมเณ พ๎ราห๎มเณ จาปิ อัญ์เญวาปิ วนิพ์พกา ทินทิเน สัน์ตัป์เปต๎วา โภชยิต๎วา นิรัน์ตเร สัม์ปัต์ติ โอนกา นาม น สุณาติ กุทาจนํ ธนธัญ์เญ สุสัม์ปัน์เน

ฝ่ายพระจามเทวี พระมารดานั้นเล่า ก็มีพระเกียรติพร้อมด้วยพระบุตรทั้งสอง ได้เสวยแล้วซึ่งมหาเทพีศุข มีความเปนของอันหญิงชายควรได้แล้ว คือนอนเปนศุขยืนเปนศุข ฤๅศุขมีการดำเนินเปนต้น สิ่งใดใดปราถนาอยู่ๆ สิ่งทั้งปวงนั้น ย่อมสำเร็จมโนรถ

ณกาลนั้น พระจามมหาเทวี พระราชบุตรีผู้มียศได้ทรงไสยาสน์แล้วในรัติภาค ครั้นปัจจุสมัยก็ตื่นจากบรรทม ครั้นตื่นจากบรรทมแล้ว พระเทพีเจ้านั้นก็ยังทรงนั่งอยู่ในที่ไสยาสน์ อันเปนสวัสดี ทรงรำพึงถึงคุณธรรมอันเปนอดีตอนาคตปัจจุบัน ก็ได้เห็นสมบัติแห่งตนอันบริบูรณ์แล้ว ตามความปราถนามาแล้วฉันใด จึงได้ยังสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฤๅวณิพกแม้พวกอื่น ให้อิ่มหนำทุกวันๆ ให้บริโภคแล้วณกาลนิรันดร ขึ้นชื่อความบกพร่องแห่งสมบัติ นางมิได้เคยฟังมาแต่กาลไรเลย ธนธัญก็ได้ถึงพร้อมด้วยดีแล้ว

เอวํ จิน์เตสิ สา ตทา ปุพ์เพ เม กตกัล๎ยาณํ อิธ ชาเต สมิท์ธิหํ ชิณ์ณาพาเธ อนาคเต กัต์ตัพ์พํ กุสลํ มยาติ.

ณกาลนั้น เมื่อพระนางนั้นได้ดำริห์แล้วอย่างนี้ว่า กัลยาณกรรมอันเราได้ทำมาแล้วในกาลก่อน เราจึงได้มาสำเร็จในชาติที่เกิดแล้วนี้ กรรมเปนกุศล ควรเราพึงทำไว้ในอนาคตเพื่อชราอาพาธ

เอวํ สา จิน์ตยิต๎วาน ปาโต วุฏ์ฐาย เสย์ยนา สีสัน๎หาตา สุจิวัต์ถา สัพ์พาภรณภูสิตา ปาตราสํ กริต๎วาน สีวิกายํ นิสีทิย มหัน์เตหิ ปริวาเรหิ กัต๎วาน ปุรํ ปทัก์ขิณํ ปาจีนทิสโต ตัส์ส กัต๎วารัญ์ญิกรัม์มกํ วิหารํ การยิต๎วา สา พุท์ธรูปัญ์จ การยิ สังฆัต์เถรปมุขัส์ส สังฆัส์ส วสิตุมทา ตโต มาลุวารามํ ปุพ์พุต์ตรัส์เส กัณ์เณกํ เอกวิหารํ กัต๎วาน สังเฆ จาตุทิเส อทา ตโต จ อาพัท์ธารามํ ตัส์ส อุต์ตรทิสโต เอกํ วิหารํ กัต๎วาน ลังการามัส์สทาสิ สา ตโต มหาวนารามํ ตัส์ส ปัจ์ฉิมทิสโต วิหารํ พุท์ธรูปัญ์จ กาเรต๎วา กุฏิกวรํ ตัต์ถ สังเฆ วสาเปสิ อัน์นปาเนน ตัป์ปยิ ตโต มหาสัต์ตารามํ ตัส์ส ทัก์ขิณทิสโต วิหารํ พุท์ธรูปัญ์จ กาเรต๎วา อติโสภณํ ตัต์ถ สังเฆ วสาเปสิอัน์นปาเนน ภรติ มหาวิหารา ปัญ์เจเต จามเทวี สยํ กเต

ครั้นพระนางนั้นได้ดำริห์อย่างนี้แล้ว ต่อเวลาเข้าก็ลุกจากที่ไสยาสน์ ชำระศิรเกล้าแล้ว ทรงวัตถาสอาดประดับอาภรณ์ทั้งปวง เสด็จทรงวอไปทำปทักษิณพระบูรีด้วยมหันตบริวาร แล้วพระนางนั้น (๑) ได้ให้สร้างอรัญญิกรัมมการามในด้านปาจิณทิศแห่งพระบูรีนั้น สร้างวิหารด้วย สร้างพระพุทธรูปด้วย แล้วถวายให้เปนที่อยู่แห่งสงฆ์ มีพระสังฆเถรเปนประธาน (๒) ถัดนั้นไป ให้สร้างมาลุวาราม ในด้านมุมแห่งบุพพุตรทิศ สร้างวิหารไว้หลังหนึ่ง ถวายในสงฆ์ผู้มาแต่จาตุทิศ (๓) ถัดนั้นไปให้สร้าง อาพัทธาราม ในด้านแห่งอุตตรทิศแห่งพระบูรีนั้นสร้างวิหารหลังหนึ่ง พระนางได้ถวายแก่ภิกษุผู้มาแต่ลังการาม (๔) ถัดนั้นไป ได้สร้างมหาวนาราม ในด้านปัจฉิมทิศแห่งพระบูรีนั้น สร้างพระวิหารด้วย พระพุทธรูปด้วย กุฎีอันบวรด้วย สำหรับให้พระสงฆ์จำพรรษาในอารามนั้น แล้วเลี้ยงดูด้วยเข้าน้ำ (๕) ถัดนั้นไปให้สร้างมหารัดารามในด้านทักษิณทิศแห่งพระบูรีนั้น สร้างพระวิหารด้วย พระพุทธรูปด้วย งามสุดที่จะเปรียบปาน ให้พระสงฆ์จำพรรษาในพระอารามนั้น แลเลี้ยงดูด้วยเข้าน้ำ พระนางจามเทวีเจ้าได้สร้างมหาวิหาร ๕ ตำบล ส่วนของพระองค์เอง

ตทา จ นาครา สัพ์เพ รัฏ์ฐา ชนปทาสุปิ กโรน์ติ กุฏิการาเม คามาคาเม นิรัน์ตเร คามา ปัญ์จสหัส์สานิ วิหารา เท๎ว สหัส์สกํ ภิก์ขุปัญ์จสหัส์สานิ ภาณกาทิปัญ์ญาย วา เตปิฏกธรา วิญ์ญู ปัญ์จสตมัต์ตา อหุ พุท์สาสนํ โชเตน์ติ มาตา ปุต์ตา ตโย ชนา นครํ สุภิกขํ เขมํ ติทสานํว นัน์ทนํ จาตุท์ทสี ปัญ์จทสี ปัก์ขัส์ส อัฏ์ฐมิม์ปิ จ มาตาปุต์ตา ตโย ชนา ภิก์ขุสังเฆปสังกมํุ อุปสังกมํุ วัน์ทิต๎วา สิลํ เตสํ สมาทิย ตโต ธัม์ม สุณิต๎วาน ทานํ อัน์นาทิกํ สุเต เอวมาทินเยเนว กโรน์ติ สัพ์พกาลิกา สัพ์เพ เสนามัจ์จา วาปิ นาครา ชานปทกา อนุกโรน์ติ ราชานํ โชเตน์ตํ พุท์ธสาสนัน์ติ.

ณระหว่างนั้น ชาวพระนครทั้งหลายด้วย ชาวรัฐวาสีแลชาวชนบททั้งหลายพากันสร้างกุฎีแลอารามทั้งหลาย ในระหว่างบ้านแลบ้านทั้งหลาย ๕๐๐๐ ตำบล มีวิหาร ๒๐๐๐ มีภิกษุ ๕๐๐๐ ล้วนมีปัญญาปติภาณเปนต้น ที่ทรงไตรปิฎกมี ๕๐๐ รูปเปนประมาณชนทั้งหลาย ๓ คือ มารดาแลบุตรได้พากันยังพระพุทธสาสนาให้รุ่งเรืองอยู่ พระนครก็เกษมมีภิกษาหารสมบูรณ์บรรเทิง ดุจความสำราญแห่งชาวติทสาลัยทั้งหลาย ครั้นวันจาตุททสี ปัญจทสี แลวันอัฐมีแห่งปักษ์ ชนทั้งหลาย คือมารดาแลบุตรก็พากันเข้าไปสู่ภิกษุสงฆ์ ครั้นเข้าไปแล้วได้อภิวันท์แล้ว พากันสมาทานศีล แลในระหว่างนั้นก็ฟังธรรมบำเพ็ญทานมีกระยาหารเปนต้น ชนเหล่านั้น ได้ทำโดยนัยดังนี้ ตลอดกาลทุกเมื่อ ฝ่ายว่าเสนาอำมาตย์แม้ทั้งหลาย ทั้งชาวพระนครแลชาวชนบท ก็ได้พากันทำตามพระราชาทั้ง ๓ พากันยังพระพุทธสาสนาให้รุ่งเรืองอยู่

กิเรตัส๎มึ หิ สมเย อนัน์ตอุปราชิโก รโหคโต นิสิน์โน ว เอวํ จิน์เตสิ จัก์ขุมา ภาตโร เม มหาราชา รัชชํ กาเรสิ สกลํ ยํ ยํ อิจ์ฉติ ตํ โหติ ยถา กามานุโภสิ โส อหัม์ปิ ปุริโส เอโก โสทริยา เอกมาตุยา ชาโตปิ เอกวารัส๎มึ ยัส๎มา ตัส์สา นิชีวิหํ อัย์ยัส์ส วาสุเทวัส์ส ยาจยัส์สามิ ราชิกํ

แท้จริงดังได้ยินมาในสมัยนั้น พระอนันตอุปราช ได้เข้าไปสู่ที่สงัดประทับแล้วได้ดำริห์อย่างนี้ว่า พระภาดาของเราผู้มหาราช ผู้มีจักษุ ได้เสวยราชทั้งสิ้น พระองค์จะปราถนาสิ่งใดสิ่งนั้นก็มีอยู่ พระองค์ท่านนั้น ได้เสวยกามฉันใด แม้ว่าเรา ก็เปนบุรุษผู้หนึ่งได้ร่วมพระอุทรมารดาเดียวกัน แม้ว่าเกิดแล้วก็วาระเดียวกัน เพราะเหตุใดเล่า เราจึงได้มีชีวิตอาศรัยพระพี่นั้น เราจักขอความเปนพระราชาแก่พระเปนเจ้าวาสุเทพเถิด

เอวํ โส จิน์ตยิต๎วาน คัน์ต๎วา สัน์ติกํ มาตุยา วัน์ทิต๎วา สาทเรเนว ตถา วิตัก์กตํ วทิ

ครั้นเมื่อ พระอนันตยศนั้น คิดอย่างนี้แล้วก็ไปสู่สำนักพระมารดา ถวายอภิวันท์โดยเอื้อเฟื้อแล้วเทียวทูลตามความวิตกดังนั้น

สา ตัส์สา วจนํ สุต๎วา สาธูติ ปติสุณิตํ ทีปธูปํ สัช์ชิต๎วาน วัน์ทาเปสิ วเร ทูเต สัพ์พัน์ตํ อธิป์ปายัส์ส กถาเปสิ อิสินาธเร

พระนางนั้น ครั้นได้สดับวจนะของพระอนันตยศแล้ว กล่าวคำตอบให้ฟังว่า สาธุ แล้วก็จัดเทียนธูปให้วรทูตไปอภิวาทแลแถลงเหตุทั้งปวงนั้น กะท่านผู้ทรงอิสีเพศทั้งสองตามอธิบาย

เต อุโภ อธิป์ปายัส์ส สุต๎วา เตสํ อิทมพ๎รวํุ โภน์โต เตนหิทํ วาก๎ยํ วเทย์ยปิ อัย์ยัส์ส โว หริปุญ์เชย์ยปุรัส์ส ปาจินทิสโต วเน เอโก นโค อภิรัม์โม เขลางโค นาม ปากโฏ วนจโร ตถานาโม วสัน์โต ตัต์ถ ปัพ์พเต อนัน์ตยโส คัจ์ฉตุ กัต๎วา ตํ มัค์คนายกํ นิย์ยตุ วสนัต์ถานํ มหาพ๎รห๎มัส์ส อิสิโน พ๎รห๎มรํสิ ปวิสัน์โต ทวิยัค์คปัพ์พเต มุท์เธ เอโส มหิท์ธิสัม์ปัน์โน สัก์โก กาตํุ สัพ์พิท์ธินา อนัน์โต อุปคัน์ต๎วา ตํ ยาจัส์สุ รัช์ชสัม์ปัต์ตึ โส จ ทัส์สติ ตํ ตัส์ส รัช์ชสัม์ปัต์ตึ ภาวรัน์ติ.

พระฤๅษีทั้งสอง ได้ฟังอธิบายแล้วจึงกล่าวคำนี้ กะชนเหล่านั้น ว่าแนะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้ากะนั้น ท่านพึงกล่าวคำนี้แก่เจ้าของท่านทั้งหลายว่า มีภูเขาลูกหนึ่งอันเปนที่รื่นรมย์ ปรากฏชื่อว่าเขลางค์ ในป่าแห่งปาจิณทิศแห่งเมืองหริภุญชัย พเนจรมีชื่ออย่างนั้น (เขลางค์) ได้อยู่ในภูเขานั้น พระอนันตยศจงไป ทำนายเขลางค์นั้นให้เปนมัคคนายก นำไปสู่ที่อยู่แห่งพระมหาพรหมฤๅษี ถึงแม้ว่าพระพรหมรังษี ก็ได้อยู่ในยอดเขาทวิยัคคบรรพต (เขา ๒ ยอด) พระพรหมรังสีนั้น ถึงพร้อมด้วยมหิทธิ เธออาจทำด้วยสรรพฤทธิ์ พระอนันตยศจงเข้าไปหาพระฤๅษีนั้น จงขอราชสมบัติ พระฤๅษีนั้นจักให้ราชสมบัติ อันบวรนั้นแก่พระอนันตยศนั้น

อถ เต ทูตา เตสํ วจนํ สุต๎วา สาธุ ภัน์เต ตุม๎หากํ นัต์ตารํ กริส์สามาติ วัต๎วา เต วัน์ทิต๎วา อาคัน์ต๎วา เตสํ วุต์ตวิธีนํ จามเทวิยา จ อนัน์ตยสัส์ส จ กถยึสุ.

ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายนั้นครั้นได้ฟังคำแห่งพระดาบศทั้งสองนั้นแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญดีแล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลาย จักทำพระนัดดาแห่งท่านทั้งหลาย แล้วอภิวันท์พระดาบสทั้งสองนั้นแล้ว มาทูลแถลงตามวิธีแห่งพระดาบสทั้งสองนั้นกล่าวแล้ว แก่พระนางจามเทวีด้วย แก่พระอนันตยศด้วย

ตํ สุต๎วา อนัน์ตยโส ปีติภริตหทโย ชาโต สกมาตรํ วัน์ทิต๎วา อาห เตนหิ อัม์ม อหํ อิสิส์ส สัน์ติกํ คมิส์สามิ ยทิ รัช์ชํ ลภิต๎วา ตทา ตุม๎หากํ อาโรเจส์สามีติ.

พระอนันตยศ ครั้นได้ฟังคำนั้น ก็มีพระไทยอันแผ่เต็มไปด้วยปีติเกิดแล้ว จึงถวายอภิวันท์พระมารดาของตนกล่าวว่า ข้าแต่พระมารดาเจ้า

ถ้ากระนั้น ข้าพเจ้าจักไปสู่สำนักพระฤๅษี ข้าพเจ้าจักได้ราชสมบัติกาลใด จึงจักทูลพระมารดาให้ทราบในกาลนั้น

จามเทวี สาธุ ปิยปุต์ตาติ วัต๎วา ยถา ตว อิจ์ฉิตํ รัช์ชํ ลัพ์ภตูติ วรมัส์ส อทาสิ.

พระนางจามเทวีกล่าวว่า ดีแล้วพระปิยบุตร แลให้พรแก่พระอนันตยศว่าราชสมบัติอันท่านปราถนาแล้ว จงได้แก่ท่านเถิด

อนัน์ตยโสปิ สกมาตรํ วัน์ทิต๎วา ขมาเปต๎วา อัต์ตโน ภาตุส์ส รัญ์โญ สัน์ติกํ คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา อัต์ตโน คมนภาวํ กเถน์โต อาห

พระอนันตยศ ก็อภิวันท์พระมารดาของตนแล้วขอขมา แล้วไปสำนักพระภาตุราชของตน อภิวันท์แล้วทูลแถลงซึ่งความที่แห่งตนจะไปว่า

อนุชานาหิ มํ เทว คมนํ มัย๎หํว รุจ์จติ พ๎รห๎มา จ อัย์ยกามหากํ มํ เปเสน์ติ สุสาธุกํ คัน์ตํุ พ๎รห๎มรํสินา วาสํ ปาจินํ นคํ ท๎วิยัค์คํ มม รัช์ชํ มาปิตัต์ถ คมิส์สํ ตัส์ส สัน์ติกัน์ติ.

ต่อไปนี้พระญาณวิจิตร (โลจนานนท์) แปลจนจบเรื่อง

ข้าแต่พระองค์ผู้เปนสมมุติเทวราชเจ้า ขอพระองค์จงโปรดเกล้าฯ อนุญาตให้ข้าพระบาทไปตามความปราถนา พระพรหมรังษีแลพระอัยกาของข้าพระบาทจะส่งข้าพระบาทไปให้สำเร็จประโยชน์ดี ข้าพระบาทจะไปยังภูเขาสองยอด อันตั้งอยู่ณปาจินทิศที่พระพรหมรังษีอยู่ พระพรหมรังษี จะสร้างสรรค์ราชสมบัติให้แก่ข้าพระบาทในที่นั้น ข้าพระบาทจะไปยังสำนักพระพรหมรังษี

ตัส์ส วจนํ สุต๎วา มหัน์ตยสราชา จิน์เตสิ อโหวต ปุพ์เพ มยํ กณิฏ์ฐภาตโร กตกุสลสัม์ภาโร อนัป์ปโก ปุพ์พปัต์ถนาวเสน เอกมาตุยา คัพ์เภ ชาโต สกปุญ์ญานุภาเวน ราชา รัช์ชํ กาเรน์โต ภเวย์ยามาติ เอวํ จิน์ตยิต๎วาน อัต์ตโน กณิฏ์ฐัส์ส คมนํ อนุญ์ญาสิ คาถมาห.

พระเจ้ามหันตยศ ได้ทรงสดับพระวาจาของพระอนันตยศอุปราชแล้ว จึงทรงพระราชดำริห์ว่า เราทั้งสองเคยเปนพี่น้องกันมา พระอนุชาของเรา มีกุศลสมภารได้กระทำไว้แล้วแต่ปางก่อนมิใช่น้อย ได้มาบังเกิดร่วมพระครรภ์ พระมารดาองค์เดียวกัน ด้วยอำนาจความปราถนาในปางก่อน ควรเปนบรมกระษัตริย์ครอบครองสิริราชสมบัติด้วยบุญญานุภาพของตน ครั้งทรงพระราชดำริห์ฉนี้แล้ว จึงโปรดอนุญาตแก่พระอนุชาของพระองค์ให้เสด็จไป จึงตรัสเปนพระคาถาว่า

อนุชานามิ เต ตาต คมนํ ตุย๎หํว รุจ์จติ ตยิ คเต สุพ๎รห๎มานํ รัช์ชัป์ปัต์ตํ ภวตุ เตติ.

ดูกรพ่อ พี่อนุญาตแก่พ่อ ๆ จงไปตามปราถนาเถิด ครั้นพ่อไปถึงพระสุพรหมรังษีแล้ว ราชสมบัติจงบังเกิดมีแก่พ่อเถิด

เอวํ โส กณิฏ์ฐัส์ส อนุญ์ญาตํ ทัต๎วา วรัญ์จ เทติ.

พระเจ้ามหันตยศ ทรงพระอนุญาตแล้วก็พระราชทานพระพรแก่พระอนุชาด้วยประการดังนี้

อนัน์ตยโส ราชานํ วัน์ทิต๎วา สกเคหํ อาคัน์ต๎วา สกชนัญ์จ สกโยธษสหัส์สัญ์จ อาทาย หริปุญ์เชย์ยนครโต นิก์ขมิต๎วา ปาจินทิสาภิมุขํ คัน์ต๎วา น จีรัส์เสว มาติสาริชา นาม นทึ ปัต๎วา ตํ นิส์สาย วสัน์ตํ เอกํ จุลวนจรกํ คเหต๎วา มัค์คนายกํ กัต๎วา เขลางคปัพ์พตํ คัน์ต๎วา เขลางควนจรกํ ปัต๎วา อาห อัม์โภ ต๎วํ มหาพ๎รห๎มิสิส์ส สัน์ติกํ เนย์ยาหิ ตว คุณํ ชานิส์สามีติ โส เอวํ วัต๎วาน ตัส์ส กหาปณสหัส์สํ อทาสิ.

พระอนันตยศ ถวายบังคมลาบรมกระษัตริย์ เสด็จมาสู่คฤหสถานของพระองค์แล้ว ก็พาชนบริวารแลโยธาทหารพันหนึ่งของพระองค์ ออกจากเมืองหริภุญชัย บ่ายพระภักตร์เฉพาะต่อปาจินทิศาภาค เสด็จไปไม่ช้าก็บรรลุถึงแม่น้ำชื่อมาติสาริชานที จับได้นายพรานน้อยคนหนึ่งซึ่งอาศรัยมาติสาริชานทีอยู่นั้น ให้นำทางไปจนถึงนายพรานชื่อเขลางค์แล้ว จึงตรัสว่า ดูกรนายพรานผู้เจริญ ท่านจงนำเราไปยังสำนักพระมหาพรหมฤๅษี เราจักสนองคุณท่าน เธอตรัสอย่างนี้แล้ว ก็พระราชทานทรัพย์พันกหาปณะให้แก่นายพรานเขลางค์นั้น

โส สาธุเทวาติ วัต๎วา ตํ ตัต์เถว เอกรัต์ตึ วสาเปต๎วา โภเชต๎วา มูลผลาผเลหิ ปัก์กมํเสหิ จ อนัน์ตยสัส์ส ปูเชสิ ปุนทิวเส โส ตํ เนย์ยิต๎วา ยาว สายัเณ๎ห ตํ เท๎วยัค์คปัพ์พตํ ปัต๎วา โส เอกรัต์ตึ ตัส์ส ปัพ์พตัส์ส ปาเท อัต์ตโน พลนิกาเยหิ สัท์ธึ วสิต๎วา ปุนทิวเส ปาตราสํ ภุญ์ชิต๎วา ทีปธูปคัน์ธมาลาทีนิ ปูชูปกรุณานิ คาหาเปต๎วา เขลางควนจรกํ มัค์คนายกํ กัต๎วา อิสิส์ส สัน์ติกํ อภิรุย๎หิ.

ฝ่ายนายพรานเขลางค์ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระบาทเปนผู้นำทางนั้นพระคุณหาที่สุดมิได้ แล้วก็เชิญอนันตยศให้ประทับแรมอยู่ในที่นั้นสิ้นราตรีหนึ่ง ให้เสวยพระกระยาหารแล้ว นายพรานก็ถวายมูลผลาผลแลเนื้อย่างเปนอันมาก ครั้นรุ่งขึ้นเปนวันใหม่ นายพรานเขลางค์ก็นำเสด็จไปจนเวลาเย็น บรรลุถึงภูเขาสองยอดนั้นแล้ว จึงพระอนันตยศก็ประทับอยู่ณเชิงบรรพตนั้น ด้วยพลนิกายของพระองค์สิ้นราตรีหนึ่งแล้ว ครั้นรุ่งขึ้นอิกวันหนึ่งเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ให้คนถือเอาเครื่องสักการบูชา มีเทียนธูปและระเบียบบุบผาของหอมเปนต้น ให้นายพรานเขลางค์นำทางขึ้นไปยังสำนักพระพรหมฤๅษี

ปัต๎วา จ ปน ตํ ปุจ์ฉิต๎วา วัน์ทิต๎วา ปติสัณ์ฐารํ กโรน์โต อาห.

ครั้นถึงแล้วก็ถวายนมัสการ ไถ่ถามกระทำปฏิสันฐารว่า

กัจ์จิ นุ โภโต กุสลํ กัจ์จิ นุ โภโต อนามยํ กัจ์จิ อุญ์เฉน ยาเปถ กัจ์จิ มูลผลา พหู กัจ์จิ ฑํสา จ มกสา อัป์ปเมว สิรึสปา วเน พาลมิคากิณ์เณ กัจ์จิ หึสา น วิช์ชตีติ.

พระเจ้าข้า พระผู้เปนเจ้าผู้เจริญ ดังข้าจะขอถาม พระผู้เปนเจ้านี้มีสภาวะปราศจากทุกขภัยเจ็บไข้อยู่แลฤๅ อนึ่งพระผู้เปนเจ้าได้อาศรัยซึ่งผลไม้ จึงได้เลี้ยงชีพแห่งตน มูลผลาผลนั้น ยังมีมากพอหาได้อยู่แลฤๅ ทั้งเหลือบยุงงูเล็กงูใหญ่แลพาลมฤคชาติที่เดียรดาษอยู่ในป่า ไม่มาเบียดเบียนบีฑาบ้างแลฤๅ พระเจ้าข้า

พ๎รห๎มิสิ อาห.

พระพรหมฤๅษี จึงตอบไปด้วยสัมโมทนิยคาถาว่า

กุสลัญ์เจว โน อัต์ถิ อโถ อัต์ถิ อนามยํ อโถ อุญ์เฉน ยาเปถ อโถ มูลผลา พหู อโถ ฑํสา จ มกสา อัป์ปเมว สิรึสปา วเน พาลมิคากิณ์เณ หิงสา มัย๎หํ น วิช์ชตีติ.

ข้อซึ่งท่านถามถึงทุกข์ภัยไข้เจ็บนั้น จะได้มีแก่อาตมาก็หามิได้ อนึ่งมูลผลาหารก็มีมากพอจะแสวงหาเลี้ยงชีพได้ ทั้งเหลือบยุงงูเล็กงูใหญ่ และพาลมฤคชาติที่เกลื่อนกลาดอยู่ในป่าก็มิได้มาเบียดเบียนบีฑาแก่อาตมาเลย

เอวํ เตน สัท์ธึ ปติสัณ์ฐารํ กัต๎วา ปุน ตํ ปุจ์ฉัน์โต อาห

พระพรหมฤๅษีกระทำปฏิสัณฐารกับพระอนันตยศด้วยประการฉนี้แล้ว เมื่อจะถามต่อไปอิก จึงกล่าวเปนพระคาถาว่า

โก ต๎วํ วัน์ทสิ ปาเท เม เอสิมํ สิริยา ชลํ โกนุ ต๎วํ กัส์ส วา ปุต์โต กถํ ชาเนมุ ตํ มยัน์ติ.

ท่านคือผู้ใด มานมัสการแทบเบื้องบาทอาตมา ได้มาถึงที่อันรุ่งเรืองไปด้วยสิรินี้ ท่านเปนบุตรของใครหนอ ไฉนอาตมาจักรู้จักท่าน

อนัน์ตยโส อาห.

พระอนันตยศ จึงกล่าวคาถาตอบว่า

ยา สุตา จามเทวีติ วาสุเทวัส์ส ธีตริ ตัส์สาหํ ปุต์โต ภัท์ทัน์เต อนัน์ตยโสติ นามโก นัต์ตาโร วาสุเทวัส์ส สุก์กทัน์ตัส์ส อิสิโน มัย๎หํ นามัญ์จ โคต์ตัญ์จ เอวํ ชานาถ พ๎รห๎มิสีติ.

พระเจ้าข้า พระนางองค์ใดทรงพระนามว่าจามเทวี ซึ่งเปนพระธิดาของพระวาสุเทวะฤๅษี ข้าพเจ้าชื่อว่าอนันตยศ เปนบุตรของพระนางองค์นั้น แลเปนนัดดาของพระวาสุเทวะฤๅษี แลพระสุกกทันตฤๅษี ขอพระพรหมฤๅษีเจ้าจงทราบนามและโคตรของข้าพเจ้าด้วยประการดังนี้

ตาปโส อาห

พระดาบศ จึงกล่าวเปนพระคาถาต่อไปว่า

อถ ต๎วํ เกน วัณ์เณน เกน วา ปน เหตุนา อนุป์ปัต์โตสิมํ ฐานํ ตํ เม อัก์ขาหิ ปุจ์ฉิโตติ.

เมื่อเปนเช่นนี้ ท่านตามมาจนถึงสถานที่นี้ ด้วยประสงค์ประโยชนคุณอะไร ฤๅด้วยมีเหตุเภทภัยประการใด อาตมาขอถาม ท่านจงแจ้งเนื้อความนั้นแก่อาตมาเถิด

อนัน์ตยโส อาห.

พระอนันตยศ จึงกล่าวคาถาตอบไปว่า

ภัน์เต มหิ์ธิสัม์ปัน์น สุโณหิ วจนํ มม มหัน์ตยโส เม ภาตา กาเรสิ หริปุญ์เชย์ยํ โสหิ รัช์ชํ อลัพ์ภัน์โต ยาห ตํ วจนํ มม เขลางคปัพ์พเต ปาเท นครํ เขมภูมิกํ เอหิปิ อนุคัจ์ฉามิ เตธุนาติ.

ข้าแต่พระผู้เปนเจ้าผู้เจริญ ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยมหิทธิฤทธิ์จงฟังคำข้าพเจ้า พระเจ้ามหันตยศผู้เปนพระภาตุราชของข้าพเจ้า ได้เป็นบรมกระษัตริย์ ครอบครองสิริราชสมบัติเปนใหญ่อยู่ในพระนครหริภุญชัยแล้ว ส่วนข้าพเจ้ายังหาได้เปนบรมกระษัตริย์ เปนใหญ่ในพระนครใดไม่ พระมารดาพระองค์ใดเล่าได้กล่าวคำนั้นแก่ข้าพเจ้าว่า จงไปสร้างพระนครที่มีไชยภูมิอันเกษมสำราญณเชิงเขาเขลางคบรรพต ข้าพเจ้าจึงได้มาหาพระผู้เปนเจ้า ตามถ้อยคำของพระมารดาณกาลนี้

เอวํ จ ปน วัต๎วา อนัน์ตยสมาทาย ท๎วิยัค์คปัพ์พตโต โอรุย๎ห เขลางคปัพ์พตัส์ส อาวัต์เต อาคัน์ต๎วา วังคตินทิยา สมีเป รัม์มณิเย ฐาเน นครํ มาเปต๎วา สาปิ จตุรัส์สัณ์ฐานา สัพ์พาการปริปูรา หริภุญ์เชย์เยเนว เวทิตัพ์พา.

ก็แล ครั้นเมื่อพระอนันตยศกล่าวชี้แจงแจ้งคดี ตั้งแต่ต้นเดิมมาด้วยประการดังนี้แล้ว พระพรหมฤๅษี จึงพาพระอนันตยศลงจากภูเขาสองยอด มาถึงที่เวิ้งว้างแห่งภูเขาเขลางคบรรพต แล้วก็สร้างพระนครขึ้นในที่รัมมณิยฐาน ใกล้แม่น้ำวังกตินที แม้พระราชธานีนั้นมีสัญฐานเปนสี่เหลี่ยมบริบูรณ์ไปด้วยอาการทั้งปวง ประดุจดังพระนครหริภุญชัยฉนั้น

ปรินิฏ์ฐิเตเยว อนัน์ตยสํ ราชาภิเสกํ กัต๎วา ตํ รัช์ชํ กาเรสิ.

ครั้นพระพรหมฤๅษี สร้างพระนครสำเร็จแล้ว ก็ราชาภิเศกพระอนันตยศให้เปนบรมกระษัตริย์ในพระนครนั้น

ตัส์ส ปุญ์ญเตเชน จ อิสิโน อิท์ธิพเลน จ ตัส๎มึ ปเทเส สมัน์ตโต วนวาสีชนตา จุลวนมิลัก์ขสํขาตา เยภุย์เยน อาคัน์ต๎วา ตํ ปริวาเรสํุ.

พวกคนชาวป่า คือ พวกลว้ากะเหรี่ยงทั้งหลายที่อยู่โดยรอบในตำบลนั้น ก็พากันมาอยู่โดยมาก แวดล้อมพระนครนั้น ด้วยบุญเดชานุภาพของพระเจ้าอนันตยศแลด้วยกำลังฤทธิ์ของพระฤๅษี

อิทัญ์จิทํ นามสุภวัต์ถุ เอต์ถ โหตีติ น ปฏิวัต์ตัพ์พํ

ไม่มีใคร ๆ กล่าวคัดค้านว่าวัตถุสถานที่ไม่งามชื่อนี้ๆ มีอยู่ในพระนครนี้ดังนี้เลย

ยัส๎มา หิ สา ปน อิสิโน พเลน ทิพ์พสัม์ปัต์ติสมิท์ธา เขมา สุภิก์ขา อภิรัม์มตรา โหติ ตํ ปน เขลาคปัพ์พตัส์ส อาวัต์เต มาปิตํ เขลางคนามนครัน์ติ วุจ์จติ.

แท้จริงพระราชธานีนั้น บริบูรณ์ไปด้วยสมบัติดุจเปนของทิพเปนที่เกษมศุขสำราญ มีภักษาหารก็แสวงหาง่าย เปนพระราชธานีสนุกสนานนัก พระนครนั้นพระพรหมฤๅษีสร้างแล้วในเวิ้งว้างแห่งภูเขาเขลางคบรรพต คนทั้งหลายจึงได้ร้องเรียกพระนครนั้นว่า เขลางคนคร

ตโต ยาวัช์ชัต์ตนาปิ นามํ น ปริวัต์ติ.

ตั้งแต่นั้นมา ชื่อพระนครนั้นก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนตราบเท่าทุกวันนี้

เตนิทํ วัต์ถํุ มหาจาริเก ทัส์เสน์โต อาห.

เพระเหตุนั้น โบราณาจารย์เมื่อจะสำแดงวัตถุนิทานเรื่องนี้ในคำมหาจารึกจึงได้กล่าวแล้วดังนี้ว่า

อนัน์ตยโส ปวโร สุพีโช สัม์ปัฏ์ฐยัน์โต วรราชภาวํ อาคัม์ม อิสึ ปวรํ สุพ๎รห๎มํ อยาจิ ปุรํ ปวโร อิสิโน สุพ๎รห๎มอิสิ สุรุจิ สุช์ฌาโน มหานุภาโว วิก์กโม สุเตโช คัน์ต๎วาน เขลางคนคัส์ส ปาทํ มาเปสิ รัช์ชํ สมทาสิ ตัส์ส อิท์ธานุภาเวน นิสิน์โน ชนตา วเน มิลัก์ขา อุปคัญ์ฉิเนกา วสัน์ติ กีฬัน์ติ รมัน์ติ หาสา สุภิก์ขเขมา ตุริยาภิฆุฏ์ฐํ นัต์ถีติปทํ น สุณัน์ติ ตัต์ถ มสัก์กสาร์อิว วาสวัส์สาติ.

พระเจ้าอนันตยสผู้ประเสริฐเปนพืชดี มีพระราชประสงค์ซึ่งความเปนพระราชาผู้ประเสริฐ ได้เสด็จมาสู่สำนักพระสุพรหมฤๅษีผู้ประเสริฐ วิงวอนให้พระสุพรหมฤๅษีสร้างพระนครแล้ว ส่วนพระสุพรหมฤๅษีผู้ประเสริฐ ผู้รุ่งเรืองไปด้วยคุณธรรมอันงาม มีฌานดี (คือจะเข้าสู่ฌานแลออกจากฌานก็ชำนิชำนาญไม่ขัดข้อง) มีอานุภาพมาก มีความเพียรมาก มีเดชานุภาพดี ท่านไปยังเชิงเขาเขลางคบรรพต สร้างสรรค์สิริราชสมบัติให้แก่พระเจ้าอนันตยศแล้ว พวกละว้ากะเหรี่ยงทั้งหลายซึ่งประชุมกันอยู่ในป่าเปนอันมาก ก็พากันมาอยู่แลพากันมาเล่นรื่นเริงบันเทิงใจ ด้วยฤทธานุภาพของพระสุพรหมฤๅษี พระนครเขลางค์นั้น เปนพระราชธานีบริบูรณ์ไปด้วยภักษาหาร ศุขเกษมสำราญแลกึกก้องไปด้วยสำเนียงดุริยางคดนตรียิ่งนัก คำที่คนจะเจรจากันว่าสิ่งนั้นไม่มีดังนี้ ไม่มีใครได้ยินเลยในพระนครนั้นย่อมมีบริบูรณ์ทุกประการ ประดุจดังมสักกสารบุรี อันเปนเทพธานีที่เสด็จประพาศเล่น ของท้าววาสพอมรินทราธิราชฉนั้น

อีติ หริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส มหาจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต.

หริปุญชัยนิเทศดังนี้ พระมหาเถรผู้มีนามว่าโพธิรังสี ได้แต่งไว้แล้วตามคำมหาจารึก

นวโม ปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.

ปริเฉท ๙ จบแล้ว

เขลางคนครกัณ์ฑํ

เขลางคนครกัณฑ์

  1. ๑. น่าจะเปน กิเรกัส๎มึ

  2. ๒. ความตรง ปวรํ บ้าง ถาวรํ บ้าง

  3. ๓. ขาดไป ๕ อักษร ได้สอบหลายฉบับแล้ว เปนอย่างนี้ทุกฉบับ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ