จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๗

ตโต กวเจ นิลกุณ์ฑธาเร สัต์ติ จ จาเป กรวัม์มิกัย์เย สุเร ชรเย ขัค์ครูปธเช นิเล ลัก์เขน์ตา ปัจ์ฉโตปยาเต.

ลำดับนั้น ถึงพลโยธาทั้งหลายมีกำหนดล้วนแต่สีเขียว คือ เกราะแลหอกมีคมอันเขียวขัดแล่งปืนแลเกราะนวมมือ เปนโยธากล้าหาญ อาจทำลายศัตรูให้แหลกลาญ ถือธงรูปพระขรรค์พากันยกมาเบื้องหลัง

ตทา จารัก์ขกา เทวา นครํ รุก์ขมูลกํ อัญ์ญมัญ์ญํ อุค์โฆเสน์ติ คัน์ต๎วา เต เต ภิรัก์ขิตํุ.’

ณกาลครั้งนั้น ฝ่ายฝูงเทวดาทั้งหลาย ผู้รักษาพระนครแลพฤกษาเดิม ก็ให้อุคโฆสนาการแก่กันแลกัน พากันมาอภิรักษ์ซึ่งพลโยธาทั้งหลายนั้นๆ

เตปิ อุโภ กุมารา จ สุพีชา ธิติสติมา คัน์ต๎วา มิลัก์ขราชานํ อเนกพลพาหนํ มิคคณํ อุปคัน์ต๎วา อสัม์ภิตาว เกสรา.

ฝ่ายว่าพระกุมารทั้งสองนั้น เปนสุพืชทรงปฤชามีสติ ได้ดำเนินทัพเข้าไปสู่อเนกพาหนของพระเจ้ามิลักขราช องค์อาจดังพระยาไกษร อันมิได้หวั่นหวาดต่อหมู่มฤคเข้าไปในกลาง

นหสุน์นนทูเรว ปัต๎วา อุณ์ณปเทสกํ สัญ์ญาเภรินทาเปน์ติ พลานํ นิสิทาเปย์ยํุ วิสัม์มัต์ถาย กิฬัน์ต โถกกาลัม๎หิ ขิย์ยเต เอกํ อมัจ์จํ เปเสน์ติ กถาเปน์ติ มิลัก์ขกํ มยํ ภาคิเณย์ยา ตุย๎หํ ปัส์สิตํุ ตํ อิธาคตา ปิตุโล สกปุต์ตานํ สัช์เชน์ตุ สกพาหนํ ตรมาโนว มา จีรํ คมิส์สาม อิทานีติ

ครั้นเข้าไปถึง อุณณประเทศ อันมิสู้ใกล้แลไกลเทียว แล้วให้บันฦๅกลองสัญญาพักพลนิกาย เพื่อให้หายเหนือยชั่วเวลาหนิดหน่อยแล้ว จึงส่งอำมาตย์ผู้หนึ่งให้ไปเจรจาความเมืองกะพระเจ้ามิลักขราชว่า “เราทั้งสองผู้เปนพระภาคิไณยของท่าน ได้มาแล้วในที่นี้ เพื่อจะเห็นพระเจ้าลุง ขอพระปิตุลเจ้า จงตระเตรียมพระบุตรทั้งหลายของพระองค์ทั้งพาหนะของพระองค์โดยด่วนเถิด อย่าได้ช้าเลย เราทั้งหลายจักไปเดี๋ยวนี้”

โส คัน์ต๎วา ตัส์ส วัจ๎ฉาสิ กุมารานํ ตถา กถา ตัส์ส ตํ วจนํ สุต๎วา มิลัก์โข เอตทพ๎รวิ อุโภ กติวัส์สา ทูต เตสํ วยาปิ กิต์ตกา หัต์ถิอัส์สพลา เตสํ โยธา สุราปิ กิต์ตกาติ มิลัก์ขัส์ส วโจ สุต๎วา.

ทูตนั้น ครั้นไปแล้ว ได้ทูลแก่พระเจ้ามิลักขราชนั้น ตามคำกล่าวของพระกุมารทั้งสอง พระเจ้ามิลักขราช ครั้นได้ฟังคำอำมาตย์นั้นแล้ว จึงกล่าวกะทูตนั้นดังนี้ว่า “ดูกรทูต พระกุมารทั้งสองนั้นมีพรรษาเท่าไร วัยของกุมารทั้งสองเท่าไร ช้างม้าพลสุรโยธาของกุมารทั้งสองมีมากเท่าไร”

อมัจ์โจ ตํ ธิธ พ๎รวิ อุโภ ปัญ์จวโส เทว หัต์ถิปิฏ์เฐ ถิรา มิตา ภาตโร หัต์ถิขัน์ธัส๎มึ กณิฏ์โฐ มัช์ฌเก มิโต ปัจ์ฉโตว หัต์ถิ เอเกโก หัต์ถิเอกานมาคตา ติสหัส์สา สุรา โยธา เอต์ตกา โหน์ติ เต นัต์ตาติ

เมื่ออำมาตย์ได้ฟังรับสั่งพระเจ้ามิลักขราชถาม จึงได้ทูลความว่า “ข้าแต่เทวดาเจ้า พระกุมารทั้งสองมีพรรษา ๕ พรรษา นับว่าทั้งสององค์นั้นได้ประทับอยู่เหนือหลังช้าง พระภาดาอยู่ฅอช้าง พระกนิฐานับว่าอยู่กลางช้าง มีช้างแต่ละตัวๆ ตามมาเบื้องหลังพวกสุรโยธา ๓๐๐๐ ขี่ช้างมาคนละตัว พระนัดดาของพระองค์มีพลโยธาประมาณเท่านี้”

ราชา ตัส์ส วโจ สุต๎วา ฆัฏ์ฐนตํ สมารัพ์ภิ สกปาณึ ปหริต๎วา มหาหสิตํ กโร

พระราชาได้ฟังคำทูตนั้นแล้ว ทรงพระปรารภเสียงอันบันฦๅ แล้วตบพระหัตถ์ของพระองค์ทรงพระสรวลเปนอันมาก หากตรัสเหตุนั้นแก่หมู่อำมาตย์ของพระองค์ว่า “แนะพ่อเฮย คำของกุมารเล็กเปนอัศจรรย์แท้ กุมารเล็กทั้งสองนั้น มีน้ำนมไหลออกแล้วแต่ปาก ถึงสุรโยธาก็น้อย ช้างแต่ละตัวของกุมารทั้งสองนั้น ก็จะไม่อาจเพื่อจะรบด้วยธิดาน้อยของเราได้ ก็อย่างไรจักรบกับด้วยเราทั้งหลายได้” ดังนี้ แล้วตรัสว่า “หิมะที่ค้างอยู่ปลายหญ้ากับน้ำในพระมหาสมุทจะเทียบกันอย่างไรได้ รัศมีหิ่งห้อยจะเทียบแสงจันทร์วันปุณณมี อย่างไรได้”

เอวํ วัต๎วาน โส ราชา อุฏ์ฐหิน น คัจ์ฉติ สัม์มตาว สหาเปสิ สัช์ฌาเปสิ สกํ พลํ คัณ๎หิส์สาม อิโต พาฏ์เฐ ปุรํ คัณ๎หาม ปุน จาติ

พระราชานั้น ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็เสด็จยืนขึ้นแลประทับอยู่ ตรัสว่า “ดูราท่านทั้งหลายจงตระเตรียมพลของตนให้พร้อมเพรียง เราทั้งหลาย จักจับพระกุมารทั้งสองนี้ แล้วจักยึดเมืองไว้อิกด้วย”

เอวํ วัต๎วาน เตสํ ทูตามัจ์จัส์ส ธนตุฏ์ฐิทายํ ทัต๎วา อัม์โภ ยถา วรสิ ตถา กโรมิ นัต์ตาโร เม อิทา คมิส์สติ ทุก์ขปาทา ภวิส์สติ เต ตัต์ถ ติฏ์ฐตุ ตาว อหํ ตัต์ถ คมีติ วัต๎วา ตํ ว ปติเปเสสิ

ครั้นพระราชาตรัสดังนี้แล้ว จึงประทานธนดุษฎีทาย ให้แก่อำมาตย์ทูตของพระกุมารทั้งสองนั้น แล้วตรัสว่าแนะพ่อเฮย หลานปราถนาอย่างไรเราจะทำอย่างนั้น พระหลานเราจักมาในที่นี้ การเดินลำบากก็จักมี ให้กุมารทั้งสองคอยอยู่ในที่นั้นเถิด เราจะไปในที่นั้น

โส สุฏ์ฐเทว เตสํ วัก์ขามีติ วัต๎วา อาคัน์ต๎วา สัพ์พัน์ตํ ปวุต์ตึ เตสํ อนุส์สาเวสิ

ครั้นดำรัสดังนี้แล้ว ก็ส่งทูตนั้นไป ทูตนั้นก็ได้ทูลแด่พระเจ้ามิลักขราช โดยชอบดังนี้แล้ว ก็มาทูลข่าวคราวทั้งปวงนั้น แก่พระกุมารทั้งสองนั้น

เต อุโภปิ ตํ กถํ สุต๎วา อติวิย โสมนัส์สชาตา ตุฏ์ฐากาเรน ทูตพลนิกายานํ ทัส์เสต๎วา สัญ์ญาเปต๎วา อัม์โภ อัช์ช กาลัส์มึ อัม๎หากํ ปัต์ติสัต์ตํุ มิลัก์ขราชานํ ลภิส์สามาติ จิน์ตยิถาติ

ฝ่ายว่าพระกุมารทั้งสองนั้นครั้นได้ฟังกถานั้นแล้ว ก็เกิดโสมนัสอย่างยิ่ง จึงได้แสดงทูตทั้งหลายแก่พลนิกายของตน ด้วยอาการอันดุษฎีแล้วให้สัญญาว่า “แนะพ่อเฮย ท่านทั้งหลายจงคิดว่า” เราทั้งหลาย จักได้พระยามิลักขราชผู้ศัตรูตอบของเรา ในกาลวันนี้

อามเทว ชานามาติ วทึสุ

พลนิกายทั้งหลายก็กล่าวว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบอยู่แล้ว”

มิลัก์ขราชาปิ กาลัน์ตเร พลํ สัช์เชต๎วา มัช์ฌัน์ติกสมเยเยว อสีติสหัส์สมัต์เตหิ สุรโยธาพลนิกาเยหิ เตสํ ฐิตัฏ์ฐานํ อาคัญ์ฉิ

ฝ่ายพระเจ้ามิลักขราช ก็ตระเตรียมพลในกาลเปนระหว่างนั้น ก็ได้ยกกันมาสู่ที่ตั้งทัพของพระกุมารทั้งสอง ด้วยสุรโยธาพลนิกายทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ในมัชฌันติกสมัยนั้น

อาคตกาลโต ปัฏ์ฐาย เตสํ ปลายนภเยน สกาลพลนิกาเยหิ วาตเวเคน อาธาวัน์ติ.

สุรโยธาทั้งหลายด้วยทั้งพลนิกายทั้งสิ้น พากันแล่นมาโดยกำลังเร็วดุจลมเพราะความกลัว แต่การหนีไปแห่งกุมารทั้งสองนั้น จำเดิมแต่กาลอันมาแล้ว

ติสตท๎วิสตพ๎ยามัป์ปมาเณ เตสํ ฐิตานํ อสัมปัต์เตเยว อัป์ปถามา กิฬัน์ตา หุต๎วา หูหาติ อัส์สาสา สุส์สกัณ์ฐา จ หัต์ถิขัน์เธ นิสิน์นา เตสํ พลนิกายานํ สัต์ติสรโตมรขัค์คจัก์กภัณ์ฑาทีนํ กรวรวาลาผณกวจาทีนัญ์จ สุริยเตเชน ปัจ์ฉาภัต์ตรํสิชาลสมุช์ชลิตวิธิชาลวัณ์ณํ จัก์ขุปสาทหตน สมัต์ถมหัน์ธการภูตํ ทิส๎วา ตโต อุปริ อาคัน์ตํุ อสัก์โกน์โต ตัต์ถ ติฏฐัน์ติ.

ครั้นเมื่อกาลประมาณ ๓๐๐ วา ๒๐๐ วา ยังไม่ถึงสถานที่พระกุมารทั้งสองตั้งทัพแล้วเทียว ก็พากันถอยกำลังเหน็จเหนือยอยู่ มีฅออันแห้งหายใจดัง “ฮู่ฮ่า” ดังนี้ นั่งอยู่เหนือฅอช้าง ได้เห็นแล้วซึ่งแสงสว่างแห่งหอก แลสร แลโตมร แลพระขรรค์ แลจักร แลสิ่งของเปนต้น แห่งพลนิกายแห่งกุมารทั้งสองนั้นด้วย แห่งเกราะมือและโล่ห์แลเกราะสรวมกายเปนต้นทั้งหลายด้วย อันมีวิธีโพลงขึ้นด้วยแสงอาทิตย์อันมีรัศมีสว่างในเวลาปัจฉาภัตรอันบังเกิดเปนมหันธการ สามารถกะทบจักษุปสาทแล้ว

ตัส๎มิญ์จ กาเล สุริโย มัช์ฌติกกาลาติก์กัน์โต อติวิย ตาปนตาโป สัพ์เพสํ มิลัก์ขราชาปมุขานํ มุขํ ปหรติ เตสัญ์จ เสทา มุญ์จัน์ติ อติวิยเวทนํ เวทยัน์ติ.

ณลำดับนั้น ก็มิอาจจะพากันต่อมาได้ ก็พากันยืนนิ่งอยู่ในที่นั้น ก็ในกาลนั้น พระอาทิตย์ก็ได้ล่วงมัชฌันติกาล มีแสงแดดอันร้อน ได้ประหารหน้าแห่งสุรโยธาทั้งหลาย มีพระเจ้ามิลักขราชเปนประธาน อนึ่งเหื่อแห่งสุรโยธาทั้งหลายนั้น ก็ใหลออก ได้พากันเสวยเวทนายิ่งนัก

กุมารา อารัก์ขกา เทวตา จ มิลัก์ขานํ อาตัป์ปอติเรกตรํ อุณ๎หํ ชเนน์ติ.

ฝ่ายเทวดาทั้งหลายผู้รักษาพระกุมารทั้งสอง ก็สำแดงความร้อนเปนอันมาก บังเกิดแผดเผาพระเจ้ามิลักขราช แลสุรโยธาทั้งหลาย

กุมารา นํ ฐิตทิสโตปิ สิตํ ส์ปวัต์ตัน์ติ.

พระกุมารทั้งสองก็ให้ยิ้มแย้มกะพระเจ้ามิลักขราชนั้นอยู่แต่ทิศอันตนยืนอยู่แล้ว

ตทา อนัน์ตยโส อัต์ตโน อาจริยํ โหราธิปตึ ปุจ์ฉิ อาจริย อิมัส๎มึ ยาเม อัม๎หากํ ชโย ภวิตัพ์พํ อุทาหุ โนติ

ลำดับนั้น พระอนันตยศได้ถาม พระโหราธิบดีผู้อาจารย์ของตนว่า “ข้าแต่อาจารย์ ในยามนี้ความมีไชยจะมีแก่เราทั้งหลายหรือว่าไม่มี”

ภวิตัพ์พ กมาราติ อาห

พระโหราธิบดีทูลว่า “จะมี” ดังนี้

ตัส๎มิญ์จ ขเณ มหาวชิรหัต์ถี รตนหัต์ถี โสณ์ฑํ อุก์ขิปิต๎วา ติก์ขัต์ตํุ โกญ์จนาทํ อกาสิ.

ณขณนั้น มหาวชิรหัตถี รัตนหัตถี ก็ได้ยกงวงขึ้น ทำเสียงโกญจนาทสามหน

อถ เต อุโภ ชัย์ยมหาสัม์มตาลํ นทาเปต๎วา สกลพลนิกายํ อุฏ์ฐาเปต๎วา มหาอุก์กัฏ์ฐสัท์ทํ ติก์ขัต์ตํุ นทาเปต๎วา มิลัก์ขราชาภิมุขํ ปัก์ขัน์ทึสุ.

ลำดับนั้น พระกุมารทั้งสองก็ให้บันฦๅไชยมหาสัมมดาล ยังพลนิกายทั้งปวงให้อุฏฐาการยืนขึ้นแล้ว บันฤๅสำเนียงโห่ฮิ้วขึ้น ๓ หน (มหาอุก์กัฏ์ฐิสัท์ทํ) แล้ววิ่งแล่นเข้าไปเฉพาะพระภักตร์พระเจ้ามิลักขราช

ตํ ทิส๎วา สัพ์เพ เต พลนิกายา มิลัก์ขราชปมุขา กัม์ปมานหทยา จัญ์จลสรีรา สัต์ติโตมรขัค์คาวุธานิ หัต์ถโต คัล์ลิตา อเหสํุ.

ฝ่ายพลนิกายทั้งปวง มีพระเจ้ามิลักขราชเปนประธาน ครั้นได้เห็นอาการดังนั้น ก็มีหทัยอันหวาดหวั่นกายสั่นอยู่ระรัว หอก, โตมร, พระขรรค์, อาวุธทั้งหลายก็พรัดพรายพลัดหลุดจากมือ

สัพ์เพ หัต์ถีคณาปิ มิลัก์ขรัญ์โญ มังคลหัต์ถีอาทิกา ตํ มหาวชิรหัถ์ถีรตนํ มหาเดชวัน์ตํ ทูรโต ธาวัน์ตํ ทิส๎วา วัค์ควัค์คา ตัส์ส ทัน์เตหิ อัต์ตโน นลาตัน์เต วิช์ฌิเตวิย มัญ์ญมานา สกภาเวน สัณ์ฐาตํุ อสัก์โกน์ตา ปลายึสุ เต มนุส์สาปิ ตเถว มัญ์ญมานา ปลายึสุ.

ฝ่ายฝูงช้างทั้งหลายทั้งปวงมีมงคลหัตถีของพระเจ้ามิลักขราชเปนต้น ครั้นได้เห็นมหาวชิรหัตถีรัตนตัวนั้น มีเดชมากแล่นมาแต่ที่ไกล ช้างแต่ละกองๆ ก็พากันสำคัญใจในหน้าผากของตนราวกะว่าได้แทงแล้วด้วยงาทั้งสองของช้างวชิรหัตถีรัตนนั้น มิอาจที่จะพากันดำรงตนอยู่ได้ก็หนีไป แม้ว่าทวยชนทั้งหลายนั้น ก็สำคัญอย่างนั้นเทียวพากันหนีไปแล้ว

อถ เต อุโภ กณิฏ์ฐภาตโร ปติลัท์ธวิชัย์โย หุต๎วาว อติเรกมหาอุก์กัฏ์ฐิสัท์ทํ นทาเปต๎วา มหาเชย์ยเภริมุทิงคปัณ์ฑวสังขมขรสรสสัท์ทวัน์ตํ ตุมุโล มหาโฆโส ชนยัน์โต เตสํ ปัจ์ฉโต อนุธาวมาโน.

ลำดับนั้น พระพี่น้องทั้งสองนั้นกลับได้ไชยชำนะแล้ว จึงบันฦๅเสียงโห่ร้องอึงมี่ แล้วบันเลงศัพท์สำเนียงเสียงมหาไชยเภรี, ตะโพน, บัณเฑาะ, สังข์, แตร, แซ่อุโฆษ เปนไชยบรรเทิง ยกไล่ตามไปเบื้องหลังแห่งพลที่หนีทั้งหลายนั้น

เตปิ มิลัก์ขชนตา ยํกิญ์จิหัต์เถน คหิตํ ตํ สัช์เชต๎วา ตุจ์ฉหัต์เถน ปลายัน์ติ.

แม้ว่าหมู่กองทัพมิลักขทั้งหลายนั้น

กุมาราปิ ตํ สาสนํ ตุริเตน สกมาตราย จามเทวิยา อาโร เจสํุ.

สิ่งใดได้ถือไว้แล้วในมือ ก็พากันสละทิ้งสิ่งนั้นเสียหนีไปแต่มือเปล่า ส่วนเจ้ากุมารทั้งสองก็ให้นำข่าวสารที่มีไชยนั้นไปทูลแด่พระจามเทวีพระมารดาของตนโดยทันที

สา ตํ สาสนํ สุต๎วา อติวิย โสมนัส์สชาตา สา สกลนคเร เภริญ์จาราเปต๎วา อิทานิ มิลัก์ขราชปมุขา มิลัก์ขพลา อัต์ตโน อัต์ตโน สัน์ตกํ สัช์ชิต๎วา ปลายิต๎วา อัม๎หากํ นาครา อิต์ถี วา ปุริโส วา โย โย ยํ ยํ อิจ์ฉติ โส โส นิก์ขมิต๎วา ตํตํ คัณ๎หาตูติ.

พระนางจามเทวีได้สดับข่าวสารนั้นแล้ว ก็มีพระไทยโสมนัศผ่องแผ้วสุดที่จะเปรียบปาน แล้วมีพระบริหารให้ตีกลองป่าวชาวพระนครทั้งปวงให้ทราบว่า “เดี๋ยวนี้พลมิลักขทั้งหลายมีมิลักขราชเปนประธาน ได้พากันทิ้งสิ่งของๆ ตนๆ ปลาศนาการหนีไปแล้ว ชาวพระนครของเราทั้งหลาย หญิงฤๅชายผู้ใดๆ จะปราถนาสิ่งใดๆ ให้ผู้นั้นๆ ออกไปแล้วถือเอาสิ่งนั้นๆ เถิด”

อถ สัพ์เพ เต นาครา ตุส์สิต๎วา นิก์ขมิต๎วา มิลัก์ขานํ ขัน์ธาวารํ คัน์ต๎วา อัต์ตโน รุจนกํ วัต์ถูนํ คัณ๎หัน์ติ.

ลำดับนั้น ชาวพระนครทั้งปวงเหล่านั้นพากันดีใจแล้ว ออกไปถึงขันธวารของมิลักขทั้งหลายแล้ว ถือเอาตามใจชอบของตน

เต อุโภปิ เตสํ อนาคมนภาวํ ญัต๎วาว อัต์ตโน ปริวาเร คเหต๎วา ปตินิวัต์ติต๎วา นครํ ปาวีสิ ราชนิเวสนํ อภิรุย๎หิต๎วา น๎หาต๎วา มาตรํ วัน์ทิต๎วา เอเกกํ มาตุถัญ์ญํ ปิวัน์ติ.

แม้ว่าพระกุมารทั้งสองนั้น ครั้นทราบความที่แห่งมิลักขทั้งหลายไม่มา ก็พาบริวารของตนกลับเข้าไปสู่พระนคร ขึ้นสู่ราชนิเวศน์แล้วสรงสนานแล้ว ถวายอภิวันทน์พระมารดาแล้ว ได้นั่งดื่มพระถัญองค์ละเต้า

จามเทวีปิ อุโภหิ หัต์เถหิ อัต์ตโน ปุต์เต อุปคุย๎หิต๎วา สีเส ปุนัป์ปุนํ จุม์พิต๎วา อติวิย ปสีทิ อายุต์ตกัญ์จ กัต์ตารัญ์จ ปัก์โกสาเปต๎วา ชยปานสุราปานัญ์จ สัม์ปาเทต๎วา สุรโยธานํ สัน์ตัป์เปติ สัพ์เพสํ วัต์ถาภรณาลังการาทิยถานุรูปํ ชยทิส์สานวเสน เทติ สัต์ตาหํ มหาวิชัย์ยอุส์สวํ นาม กิฬาเปน์ติ โหราธิปตาทีนํ พ๎ราห๎มณานํ จ มังคลรตนัญ์จ มหาสัก์กาเรหิ ปูเชสิ.

ฝ่ายพระนางเจ้าจามเทวี ก็ประคองพระบุตรของพระองค์ด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง แล้วจุมพ์พระเศียรแล้วเล่า ทรงประสาทหาที่เปรียบมิได้ แล้วรับสั่งให้นายเสมียนแลนายนักการ จัดไชยบาน สุราบานเลี้ยงพวกสุรโยธาทั้งหลาย แลประทานวัตถาภรณาลังการเปนต้น ตามสมควรแก่พลสุรโยธาทั้งปวง โดยสามารถแก่ไชยทิศน์ แลเล่นมหาวิไชยมโหรศพตลอดกาล ๗ วัน แลได้บูชาแก่พราหมณ์ทั้งหลาย มีพระโหราธิบดีเปนต้น แลช้างมงคลหัตถีรัตนด้วยมหาสักการทั้งหลาย

สัพ์เพ เต นครวาสิชนตา หัฏ์ฐปหัฏ์ฐา อุทัค์คุทัค์คา หุต๎วา คัน์ธปุป์ผาทีนิ พหุปัณ์ณาการานิ สมานยิต๎วา เต ตโย มาตาปุต์เต วัน์ทเตว โถเมต๎วา มยํ ตุม๎หากํ นิส์สาย สุเขน ลภิม๎หาติ.

ฝ่ายว่าประชุมชนชาวพระนครทั้งหลายนั้น ก็พากันหื่นหรรษ์ชื่นมื่นนำมาซึ่งพหูบรรณาการทั้งหลาย มีคันธบุบผาเปนต้น แล้วถวายอภิวันท์ ต่อพระมารดาพระบุตรทั้งสามองค์นั้น แสดงโถมนาการว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ความศุขแล้ว เพราะอาศรัยแก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้

เอวํ วัต๎วา มังคลหัต์ถิรตนสาลํ คัน์ต๎วา ปูชิต๎วา วัน์ทิต๎วา วุต์ตนเยเนว วัต๎วา ปัก์กมึสุ.

ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว พากันไปสู่โรงช้างต้นมงคลหัตถีรัตนบูชาแล้วไหว้ แล้วกล่าวคำโดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงพากันหลีกไป

เตนิทํ นิส์สาย สังคาหิโก โปราณพุพ์ธคาถาโย ราโชวาทคาถา นาม อาหริต๎วา อิมัส๎มึ จาริเก ทัส์เสน์โต อาห.

เพราะเหตุนั้น พระสังคาหิกาจารย์ อาศรัยเหตุนี้ จึงได้นำมาซึ่งพระพุทธคาถาโบราณมาให้ชื่อว่า ราโชวาทคาถา สำแดงในคำจารึกนี้ กล่าวว่า

โย โกจิ ราชา ปถวีวิชิโต โกธาภิภูโต อนิสัม์มกาโร กาลัญ์จ เทสํ ปวิฏ์ฐัญ์จ มํกุ โลภัญ์จ โทสํ รตึ โมหมุฬ๎หํ วสํ คตํ มานถัท์ธอุเปก์ขํ โส เว ปราชัย์ยํ รฌร รังคมุเข ยเสสุ หีเนสุ ลัช์ชภาวัป์ปัต์โต

พระราชาองค์ใดก็ดี ได้รบชะนะในแผ่นดินแล้ว เปนผู้อันความโกรธครอบงำแล้ว ไม่พิจารณาซึ่งกาลก็ดีประเทศก็ดี พลเสนาอันจะศุขแลทุกข์ก็ดี ชนอื่นก็ดี ตนเองก็ดี อันจะเข้าไปสู่ความเก้อเขินก็ดี ผู้ลุอำนาจ โลภะก็ดี โทสะก็ดี ราคะก็ดี ความหลงแล้วด้วยโมหะก็ดี ความเพ่งด้วยความกระด้างด้วยมานะก็ดี พระราชาองค์นั้นแท้ พึงปราชัยในน่าสนามรบ ครั้นเมื่อยศทั้งหลายเสื่อมแล้ว พระองค์ก็ได้ถึงความอาย

โย โกจิ ราชา อัป์ปวิชิตาปิ โกธํ ชหัน์โต สุนิสัม์มกาโร กาลัญ์จ เทสํ สุขทุก์ขเสนํ ปรัญ์จ สกํ ปวิฏ์ฐัญ์จ มํกุ โลภัญ์จ โทสํ อติโมหมุฬ๎หํ ปหาย มานถัท์ธภาวุเปก์ขํ โสเว วิเชย์ยํ รเณ รังคมุเข ยเสสุ วุฑ์เฒสุ มหาลาภัป์ปัต์โต ปรัม์ปรานัม์ปิ ยถา ภณัน์ตา อิทัม์ปิ ตถา ปทิส์สํ อนัญ์ญํ

พระราชาองค์ใดก็ดี แม้ว่าไม่พ่ายแพ้แล้วละความโกรธเสียได้ พิจารณาเปนอันดีซึ่งกาลด้วย ประเทศด้วย พลเสนาอันจะศุขแลทุกข์ด้วย ซึ่งผู้อื่นด้วย ซึ่งพระองค์เองด้วย อันจะเข้าไปสู่ความเก้อได้ ละเสียได้แล้วซึ่งโลภะด้วย โทสะด้วย ซึ่งความหลงเกินแล้วด้วย โมหะด้วย ซึ่งความเพ่งด้วย ความเปนคนกระด้างด้วย มานะด้วย พระราชาองค์นั้นแท้ พึงมีชัยวิเศษ ในน่าสนามรบ ครั้นเมื่อยศทั้งหลายจำเริญแล้ว พระองค์ก็ได้ถึงแล้วซึ่งมหาลาภ โบราณได้กล่าวสืบๆ กันมาอย่างไร แม้ว่าเรื่องนี้ ได้กล่าวอ้างเปนนั้น มิได้เปนอย่างอื่นเลย

มิลัก์ขราชา หิ อเนกโยธา ปเรน ชิตา อนิสัม์มการา

แท้จริง พระเจ้ามิลักขราชมีโยธาเปนอเนก มิได้พิจารณาข้าศึกจึงได้ชะนะแล้ว

มหัน์ตยโส อัป์ปโยธิโน โยเธ นิยุโต สุสโม สมัต์โถ กาลัญ์จ เทสัญ์จ นิสัม์มกาโร วิชยปัต์โต พหุเก มิลัก์เขติ.

พระเจ้ามหันตยศ มีโยธาน้อย พระองค์จัดโยธาเรียบร้อยดี สามารถได้พิจารณาดูกาละแลเทสะ จึงถึงความมีไชยชำนะวิเศษ ซึ่งพลมิลักขทั้งหลายเปนอันมาก

อิติ หริภุญ์เชย์ยนิท์เทโส โปราณจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา มหาเถเรน อลังกโต สัต์สโม ปริจ์เฉโท.

สังคามวิชยกัณ์ฑํ

อันนี้ เปนนิทเทศเมืองหริภุญชัย อันพระมหาเถรมีนามว่าโพธิรังสี ได้แต่งตามคำจารึกโบราณ ปริเฉทที่ ๗ จบเท่านี้

สังคามวิชยกัณฑ์ ๚ะ

  1. ๑. รดน้ำแดงเปน คัน์ต๎วา เต เต ภิรัก์ขิตํุ

  2. ๒. น่าจะเปน มหาสัน์น

  3. ๓. อุณ์ณปเทสกํ ที่ตำบลเนินสูงแห่งหนึ่ง

  4. ๔. ทีจะเปนกลองเอาไชย

  5. ๕. หนังสือเปน ชนยัน์โต แต่น่าจะเปน ถนยัน์โต ร้องคำราม ขู่สำทับ ร้องสำทับ

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ