จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๐

เอวํ อนัน์ตยสราชา รัช์ชํ ปติลภิต๎วา ราชาภิเสกปติฏ์ฐิตกาลโต ปัฏ์ฐาย พรห๎มิสิโน อิท์ธิพเลน สัพ์พสัม์ปัต์ติสมิท์ธา อโหสิ.

พระเจ้าอนันตยสได้ราชสมบัติแล้ว จำเดิมแต่กาลพระองค์ประดิษฐานอยู่ในราชาภิเศกแล้ว สรรพสมบัติทั้งปวงก็สำเร็จพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ ของพระสุพรหมฤๅษี ด้วยประการดังนี้

เอกัส๎มึ รัต์ติภาเค ราชา สมุสิตเสตัจ์ฉัต์ตัส์ส เหฏ์ฐา ราชปวรปัล์ลังกมัช์เฌ อลังกตสิริสยเน นิสีนิต๎วา อัต์ตโน ราชยสสัม์ปัต์ตึ โอโลเกต๎วา จิน์เตสิ ยํ ราชสัม์ปัต์ติ จีรกาลํ มยา ปัต์ถิตํ อิทานิ เม สมิช์ฌติ นายํ อัญ์เญน ปุพ์เพ สมิช์ฌติ นายํ อัญ์เญน ปุพ์เพ มยา สมัป์ปจิต์ตสุจริต์ตกุสลสัม์ภาราภินิพ์พัต์ตํ ภเวย์ย อิทานาหํ อติเรกตรํ กุสลกัม์มํ กาตํุ วัฏ์ฏติ อปิจายํ มหาพ๎รห๎มิสิ มัย๎หํ พหุปกาโร จ อัย์โย ฌานรโต ปารุตหิโต อัป์ปิจ์โฉ สัน์ตุฏ์โฐ อุจ์จาสยนมหาสยนาทิวิรหิโต รุก์ขารุก์ขํ วนาวนํ อภิรโต น มัย๎หํ มหาทานํ ปฏิค์คหิโต โหติ โส จ มยา ทีปธูปาทิคัน์ธมาลาทีนํ กัต๎วา ปูชิต๎วา วรัน์ติ อิมานิ วัต์ถุทานานิ อัป์ปทานํ สังคโห จ อามิสทานัญ์จาติวรัน์ติ เตนหิ อหํ หริปุญ์เชย์ยํ คันต๎วา มม ภาตรํ วัน์ทิต๎วา มม มาตรัญ์จ มหาสังฆัต์เถรพุท์ธปุต์ตานัญ์จ พ๎ราห๎มณาจารคณัญ์จ ยาจิต๎วา อิธานยิต๎วา เตสํ มหาทานํ ทัส์สามิ กัส๎มา เอวํ วทามิ เตสุ อิธาคัจ์ฉัน์เตสุ อาวาสทานกุฎิทาน วิหารทานานิ จีวรปิณ์ฑปาตจตุปัจ์จยเสนาสนํ เตสํ ทัส์สิส์สามิ มม มาตุยา คุณปัจ์จุป์ปปการํ กริส์สามิ เอวํ มยิ กเต อิธ โลเก วา ปรโลเก วา สมิช์ฌนภาโว อิตเรกตโร เม ภวิส์สตีติ.

ครั้นอยู่มาในราตรีภาควันหนึ่ง พระเจ้าอนันตยศประทับอยู่เหนือพระแท่นที่สิริไสยาศน์ ที่ประดับตกแต่งไว้ในท่ามกลางบวรบัลลังก์ราชอาศน์ ณภายใต้สมุสิตเสวตรฉัตร ทรงทอดพระเนตรราชอิศริยยศ แลราชสมบัติของพระองค์แล้วจึงทรงพระราชดำริห์ว่า ราชสมบัติใดที่เราปราถนามานานนั้นก็สำเร็จแก่เราสมดังความปราถนาแล้ว ราชสมบัตินี้จะบังเกิดมีแก่เราด้วยเหตุอย่างอื่นก็หามิได้ เปนราชสมบัติเกิดแล้วด้วยกุศลสมภาร แห่งความสุจริตที่เราได้สั่งสมอบรมมาแล้วในปางก่อน บัดนี้เราควรจะทำกุศลกรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อิกประการหนึ่งเล่า พระมหาพรหมฤๅษีพระองค์นี้ ท่านเปนผู้มีอุปการแก่เรามากนัก ควรเราจะสนองพระคุณท่าน ก็แต่พระผู้เปนเจ้านั้นเปนผู้ยินดีแล้วในฌาน เปนผู้มีประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลที่อวิชชาปกคลุมแล้ว แลเปนผู้มักน้อยสันโดส เว้นเสียแล้วจากที่นอนสูงแลที่นอนใหญ่ ยินดียิ่งแล้วซึ่งต้นไม้เล็กแลต้นไม้ใหญ่แลป่าเล็กแลป่าใหญ่ ท่านก็จะไม่รับมหาทานของเรา อนึ่งพระผู้เปนเจ้านั้น เราจะกระทำการบูชาท่านด้วยเครื่องสักการบูชา มีเทียนธูปแลระเบียบบุบผาของหอมเปนต้นว่าประเสริฐ วัตถุทานเหล่านี้ก็เปนแต่ทานเล็กน้อย อนึ่งการสงเคราะห์ก็ดี การให้อามิศก็ดี เปนทานประเสริฐยิ่ง อย่ากระนั้นเลยเราจะไปยังพระนครหริปุญชัยไปถวายบังคมพระภาตุราชแลพระราชมารดาของเราแล้ว จะวิงวอนพระมหาสังฆเถรผู้พุทธบุตรกับหมู่พรหมณาจารย์ทั้งหลายเชิญมาในพระนครนี้ จักถวายมหาทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เหตุไฉนเราจึงกล่าวอย่างนี้ ครั้นเมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นมาในพระนครนี้ เราจักถวายอาวาสทานแลกุฎีทานวิหารทาน เราจักถวายจีวรบิณฑบาตเสนาสนะ อันนับเนื่องในปัจจัยสี่แก่สมณพราหมณาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้น เราจักกระทำปัจจุปการสนองพระคุณพระมารดาของเรา เมื่อเราทำอย่างนี้แล้ว ความสำเร็จสมประสงค์อย่างยิ่งเกินก็จักมีแก่เรา ทั้งในโลกนี้แลโลกเบื้องน่า

โส เอวํ จิน์ตยิต๎วาน ปาโตว สีสํ ม๎หาต๎วา นานาค์ครสโภชนํ ภุญ์ชิต๎วา สัพ์พาลังกาเรหิ อัต์ตานํ อลังกริต๎วา มหัน์เตหิ ราชานุภาเวหิ มหาพ๎รห๎มิสิส์ส วสนัฏ์ฐานํ คัน์ต๎วา ทีปธูปคัน์ธมาลาทีหิ ตํ ปูชิต๎วา วัน์ทิต๎วา เอวมาห.

พระเจ้าอนันตยศ ทรงพระราชดำริห์อย่างนี้แล้ว ก็สรงพระสุคนธธาราชำระพระสริรกาย เสวยพระกระยาหารมีรศอันเลิศ ตกแต่งพระองค์ด้วยสรรพอลังการแต่เวลาเช้า แล้วเสด็จไปยังวสนสถานของพระมหาพรหมฤๅษีด้วยราชานุภาพอันใหญ่ ทรงบูชาพระมหาพรหมฤๅษีด้วยเครื่องสักการบูชา มีเทียนธูปแลระเบียบบุบผาของหอมเปนต้น แล้วก็ถวายนมัสการกล่าวเปนพระคาถาอย่างนี้ มีความว่า

อหํ ภัน์เต คมิส์สามิ นครํ หริปุญเชย์ยํ ตว คุณํ ปกาสิส์สํ มหัน์ตยสราชิโน อัย์ยัส์ส สุก์กทัน์ตัส์ส วาสุเทวัส์ส ปากฏํ มาตรํ อานยิส์สามิ ตว ปาทาภิวัน์ทิตุน์ติ.

ข้าแต่ พระผู้เปนเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไปยังพระนครหริปุญชัย จักประกาศพระคุณของพระผู้เปนเจ้า ให้ปรากฏแก่พระเจ้ามหันตยศ และพระอัยกาสุกกทันตะ พระอัยกาวาสุเทวะ แล้วจักเชิญเสด็จพระราชมารดามาถวายนมัสการพระบาทพระผู้เปนเจ้า

อถนํ ตาปโส อาห.

ลำดับนั้น พระดาบศจึงถวายพระพรเปนพระคาถาตอบ พระเจ้าอนันตยศ มีความว่า

สุฏ์ฐุตรํ มหาราช อิโต คัจ์ฉ ยถาสุขํ วทตุ วัน์ทนํ มัย๎หํ ปาเท เตสํ มหีสินัน์ติ.

ดูรามหาราชเจ้า ดีหนักหนา เชิญเสด็จไปให้ผาศุขสำราญเถิด และจงบอกความนมัสการของเรามา ยังพระบาทของพระฤๅษีเจ้าผู้ประเสริฐทั้งสองพระองค์นั้น

ราชา สาธูติ วัน์ทิต๎วา อัต์ตโน ปริวาเร คเหต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ อาคัน์ต๎วา ปัต๎วา จ ปน สกมาตรํ จามเทวึ ปฐมํ วัน์ทิต๎วา ปัจ์ฉา ภาตรํ มหัน์ตยสราชานํ วัน์ทิต๎วา สุขนิสิน์นกาเลเยว เตหิ สัท์ธึ ปฏิสัณ์ฐารํ กัต๎วา ตโต สัพ์พัน์ตํ อัต์ตโน สมิช์ฌนภาวํ เตสํ กเถสิ.

พระเจ้าอนันตยศ ทรงรับพระพรของพระดาบศว่า สาธุดังนี้แล้ว ก็ถวายนมัสการพาบริวารของพระองค์เสด็จมายังพระนครหริปุญชัย ครั้นถึงแล้วก็ถวายบังคมพระนางเจ้าจามเทวี ผู้เปนพระราชมารดาของพระองค์ก่อนแล้ว จึงถวายบังคมพระเจ้ามหันตยศ ผู้เปนพระภาตุราชต่อภายหลัง แล้วก็กระทำปฏิสัณฐารกับด้วยพระมารดา แลพระภาตุราชทั้งสองพระองค์ ในกาลเมื่อเสด็จประทับเปนที่สำราญพระราชหฤไทย ลำดับนั้น จึงกราบทูลแถลงซึ่งความสำเร็จความปราถนาของพระองค์นั้น ให้พระมารดากับพระภาตุราชทรงทราบทุกประการ

อถ เต ตโย มาตาปุต์ตา อติวิย โสมนัส์สชาตา ปูชาสัก์กาเร สัช์เชต๎วา คาหาเปต๎วา วาสุเทวัส์ส สุก์กทัน์ตัส์ส จ อิสีนํ วสนัฏฐานํ คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา ปูชิต๎วา นิสีทิต๎วา ปติสัณ์ฐารํ อกํสุ.

ลำดับนั้นบรมกระษัตริย์ ๓ พระองค์ ทั้งพระราชมารดาแลพระราชโอรสนั้น ก็บังเกิดโสมนัศดีพระไทยยิ่งนัก จึงให้จัดเครื่องสักการบูชา พากันเสด็จไปยังวสนสถานของพระวาสุเทวฤๅษี แลพระสุกกทันตฤๅษี ถวายนมัสการกระทำสักการบูชาแล้วเสด็จนั่งกระทำปฏิสัณฐาร

อถ จ อนัน์ตยโส พ๎รห๎มิสิส์ส วัน์ทนาคารววจนํ เตสํ อิสีนํ ปวัก์ขติ ตโต อัต์ตโน ราชยสสัม์ปัต์ติสมิช์ฌนภาวํ กเถสิ.

ก็ในลำดับนั้น พระเจ้าอนันตยศ จึงแถลงแจ้งคำคารวะวันทนาการของพระสุพรหมฤๅษี ซึ่งสั่งมานั้นแก่พระฤๅษีเจ้าทั้งสองพระองค์ แล้วจึงเล่าเรื่องความสำเร็จราชอิศริยยศสมบัติของพระองค์ถวายต่อภายหลัง

อถ เต อุโภ เตหิ สัท์ธึ ตุฏ์ฐาการัญ์จ อุปริโอวาทนัต์ถัญ์จ เตหิ สัท์ธึ สัล์ลปัน์โต อาห.

ลำดับนั้น พระฤๅษีเจ้า ทั้งสองพระองค์ ก็กระทำปฏิสัณฐารสั่งสนทนาแสดงอาการยินดีปรีดากับด้วยบรมกระษัตริย์ทั้งสามพระองค์นั้น แลมีความประสงค์จะให้โอวาทสั่งสอนให้ยิ่งขึ้นไป จึงได้กล่าวเปนพระคาถา กับด้วยบรมกระษัตริย์ทั้งสามพระองค์นั้น ว่า

อิเม ตุเม๎ห วรพีเช สัพ์เพ อัเม๎หหิ ปาลิเต อัป์ปมาทํ สุเณ ธัม์เม ยุญ์ชัน์เต พุท์ธสาสเน สีลวัต์เต ปฏิปัต์เต จัก์กวัต์ตึ นุธัม์มิเก ชนเต อภิปาเลน์เต ปัญ์ญสัต์เต อหิงสเก อิธ โลเก ปเร วาปิ สมิช์ฌิส์สัน์ติ อิโต ปรํ สัพ์เพ เทวา ปสํสัน์ติ อภิปาเลน์ติ เต สทาติ.

ดูราณะท่านทั้งหลาย ซึ่งท่านทั้งปวงเหล่านี้เปนผู้บังเกิดในวงษ์กระษัตริย์อันประเสริฐ อันข้าพเจ้าทั้งหลายได้อภิบาลบำรุงรักษาแล้ว เปนผู้เชื่อฟังอัปปมาทธรรมตั้งตนไว้ในพระพุทธสาสนา ปฏิบัติอยู่ในศีลาจารวัตร ประพฤติตามจักรวัติธรรม อภิบาลบำรุงประชาชนไม่เบียดเบียนสัตวอื่น สมบัติทั้งสิ้นที่ท่านทั้งหลายปราถนาแล้ว ก็จักสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายทั้งในโลกนี้แลโลกน่า เบื้องน่าแต่นี้ไปสรรพเทพยดาทั้งหลาย ก็จะสรรเสริญ แลจะช่วยอภิบาลบำรุงรักษาท่านทั้งหลายอยู่เปนนิจนิรันดร ดังนี้

เต เอวํ เตสํ วจนํ สุต๎วา ตโยปิ มาตาปุต์ตา อติเรกตรํ ปสีทิต๎วา เตสํ ปาเท อภิวัน์ทิต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ อาคมึสุ.

บรมกระษัตริย์ พร้อมทั้งพระราชมารดาแลพระราชโอรสทั้งสามพระองค์นั้น ครั้นได้ทรงสดับสุภาสิตพจน์ของพระดาบสทั้งสองด้วยประการดังนี้แล้ว ก็ปสันนาการเลื่อมใสยิ่งนัก จึงถวายนมัสการกราบลงแทบพระบาทของพระดาบสทั้งสองพระองค์ แล้วก็เสด็จกลับยังหริปุญชัยนคร

ตทา อนัน์ตยสราชา สกภาตรํ มหัน์ตยสราชานํ วัน์ทิต๎วา เอวมาห เทว อหํ อัม๎หากํ มาตรํ ปูชนัต์ถาย คุณปัจ์จุป์ปการํ กรณัต์ถาย จ อิจ์ฉามิ อปิจ ปัญ์จสตมหาสังฆัต์เถรปมุขานํ พุท์ธปุต์ตานํ ภิก์ขุสํฆํ ปูชนัต์ถาย พ๎ราห๎มณปมุขานํ พ๎ราห๎มณคหปตีนัญ์จ เย มยา สัท์ธึ คัน์ตุกามา จ อิเม เต ตุม๎หากํ สัน์ติเก ยาจิส์สามิ มม นครํ เนตุน์ติ.

ลำดับนั้น พระอนันตยศก็ถวายบังคมพระเจ้ามหันตยศ ผู้เปนพระภาตุราชของพระองค์ แล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ข้าพระบาทปราถนาจะบูชา แลจะกระทำปัจจุปการสนองพระคุณสมเด็จพระราชมารดาเจ้า อนึ่งปราถนาจะบูชาพระภิกษุสงฆ์ผู้พุทธบุตรประมาณห้าร้อยองค์ มีพระมหาสังฆเถรเปนประธาน กับทั้งพราหมณปาโมกข์แลพราหมณคหบดีทั้งหลาย บันดาสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งปราถนาจะไปกับด้วยข้าพระบาท ข้าพระบาทขอรับพระราชทานสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นในสำนักของพระองค์ นำไปยังพระนครของข้าพระบาท

อถัส์ส คารววจนํ สุต๎วา มหัน์ตยสราชา เอวมาห สาธุ อัน์ตยส ตว วาก๎ยัน์ติ อปิจ อิมา เท๎ว รัฏ์ฐา ตุย๎หํ มัย๎หํ ญาติ น มยํ สัญ์ญํ กาตัพ์พํ เอการัฏ์ฐํ เอกาพัน์ธมาติ ตัส๎มา เอวํ วทามิ อุโภ มยํ เอก มาตุยา คัพ์เภ ปฏิสัน์ธิกา ฐิตา เอกทิวเสเนว นิก์ขัน์ตา ยมกปุต์ตกา หุต๎วา เอกจิต์ตสามนา จ ตัส๎มา นานัต์ตํ น วัต์ตัพพํ ยํ ยํ อิจ์ฉสิ ตํ ตํ สัพ์พํ คัณ๎หตุ นาหํ ตํ นาวาเรมีติ เอวํ วัต๎วา สกลหริปุญ์เชย์ยรัฏ์เฐ เภริญ์จาราเปต๎วา เย เย เขลางคนครํ คัน์ตุกามา เต เต อนัน์ตยเสน รัญ์ญา สัท์ธึ คัจ์ฉัน์ตูติ.

ลำดับนั้น พระเจ้ามหันตยศบรมกษัตริย์ ครั้นได้สดับคารวพจน์ของพระเจ้าอนันตยศผู้พระอนุชาธิราชแล้ว จึงดำรัสอย่างนี้ว่า ดูกรพ่ออนันตยศ ถ้อยคำที่เธอว่ากล่าวทั้งนี้เปนการดีแล้ว ประการหนึ่ง พระราชอาณาเขตรทั้งสองนี้ เปนญาติของท่านด้วยเปนญาติของเราด้วย เราทั้งสองไม่พักต้องกระทำสัญญาแก่กัน เปนพระราชอาณาเขตรเนื่องเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เราได้กล่าวอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งสองเปนผู้ถือเอาปฏิสนธิตั้งอยู่แล้วในพระครรภ์ของพระมารดาองค์เดียวกัน เมื่อประสูติจากครรภ์พระมารดาก็ประสูตรวันเดียวกันด้วย เปนพระราชบุตรแฝด มีพระหฤทัยก็เสมอเปนดังดวงเดียวกัน เพราะเหตุนั้น ความที่จะเปนแตกต่างกันไปนั้นอย่าพึงกล่าว ท่านจะปราถนาสิ่งใดๆ ก็จงถือเอาสิ่งนั้นๆ ได้ทั้งสิ้น เรามิพักห้ามท่านเลย พระเจ้ามหันตยศตรัสอย่างนี้แล้ว จึงให้ดีไชยเภรีเที่ยวประกาศทั่วไป ในพระราชอาณาเขตรหริปุญชัยนครทั้งสิ้นว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดๆ ปราถนาจะไปยังเขลางคนคร ชนทั้งหลายเหล่านั้นๆ จงไปกับด้วยพระเจ้าอนันตยศเถิด

ตทา อนัน์ตยสราชา ตุฏ์ฐจิต์ตา หุต๎วา สํฆัต์เถราทิกํ มหาภิก์ขุสํฆํ นิมัน์เตต๎วา สุวัณ์ณยานโยเคน อุก์ขิปาเปต๎วา ปฐมํ นิยาเปต๎วา ปัจ์ฉา จามเทวึ อัต์ตโน มาตรํ มังคลหัต์ถิปิฏ์เฐ อลังกตํ สุวัณ์ณโยเค นิสีทาเปต๎วา มหัน์เตน ราชยเสน นครํ นยิต๎วา อวเสสา พ๎ราห๎มณา พ๎ราห๎มณคหปติกาทโย ชนตา ยถารุจิยา ปัจ์ฉโต อนุคัญ์ฉึสุ.

เมื่อนั้นพระเจ้าอนันตยศ ก็มีพระหฤทัยยินดี จึงนิมนต์พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีพระสงฆ์เถรเปนประธาน ให้ขึ้นยังสุวรรณราชยานอันประเทียบไว้แล้วให้ล่วงน่าไปก่อน จึงเชิญเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าจามเทวีพระราชมารดาของพระองค์ ให้เสด็จขึ้นประทับเหนือสุวรรณราชยาน อันประดับแล้วเหนือหลังมงคลหัตถี แล้วพระองค์ก็นำเสด็จไปยังพระนครด้วยราชอิสริยยศอันใหญ่ ส่วนประชุมชนที่ยังเหลืออยู่ มีพราหมณ์คหบดีเปนต้น ก็ตามเสด็จไปในภายหลังตามชอบใจของตน

อถโข พ๎รห๎มิสิปิ ตัส์สาคตภาวํ สุต๎วา อัฏ์ฏวิมนุส์เส ปัก์โกสาเปต๎วา พหู ปัณ์ณากาเร สมาทยิต๎วา คาหาเปต๎วา ปัจ์จุค์คมนํ กาเรต๎วา ตโต จามเทวึ สุวัณ์ณโยเค ปฏิค์คเหต๎วา เขลางคนครํ ปวิสิต๎วา ตัต์ถ ปาสาเท วสาเปสิ.

ครั้งนั้น พระพรหมฤๅษีได้ฟังกิติศัพท์ ว่าเสด็จกลับมาถึงพระนครแล้ว จึงป่าวร้องชักชวนมนุษย์ชาวดงทั้งหลาย ให้ถือเครื่องราชบรรณาการเปนอันมาก ไปกระทำปัจจุคมนาการรับเสด็จพระเจ้าอนันตยศแล้ว จึงให้ไปรับเสด็จพระนางเจ้าจามเทวี ณะสุวรรณราชยานต่อภายหลัง แล้วจึงเข้าไปยังเขลางคนคร เชิญเสด็จพระนางเจ้าให้ประทับอยู่บนปราสาทในเขลางคนครนั้น

ปุนทิวเส ราชา สกมาตุจามเทวึ อาทาย ตาปสัส์ส สัน์ติกํ คัน์ต๎วา ปูชิต๎วา วัน์ทิต๎วา ปุน จ อัต์ตโน มาตรํ วัน์ทาเปต๎วา เอวมาห ภัน์เต เอสา มม มาตา จามเทวี นาม ตุม๎หากํ มหาอุปาสิกํ ชานถาติ.

ครั้นรุ่งขึ้นเปนวันใหม่ พระเจ้าอนันตยศ จึงนำเสด็จพระนางเจ้าจามเทวีพระราชมารดาของพระองค์ไปยังสำนักพระดาบศ กระทำสักการบูชาถวายนมัสการแล้ว จึงให้พระมารดาของพระองค์ถวายนมัสการพระดาบศอิกแล้วจึงตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เปนเจ้าผู้เจริญ พระมารดาของข้าพเจ้านี้มีพระนามว่า พระนางเจ้าจามเทวี ขอพระผู้เปนเจ้าจงรู้จักพระนางเจ้าจามเทวี ผู้เปนมหาอุบาสิกาของพระผู้เปนเจ้าเถิด

ตาปโส อาห สาธุ มหาราช ตว มาตา มหาเทวี อิธานุป์ปัต์ตาว อุภิน์นํ ตุม๎หากํ โสต์ถี ภวัน์ตุ ตุย๎หัญ์จ ตุย๎หมาตรัญ์จาติ.

พระดาบศ จึงถวายพระพรว่า ดูรามหาราชเจ้า พระมหาเทวีพระราชมารดาของพระองค์ เสด็จมาถึงในกาลบัดนี้ดีแล้ว ขอความสวัสดิมงคลจงบังเกิดมีแด่บพิตรทั้งสอง ทั้งพระองค์แลพระราชมารดาของพระองค์เถิด

เอวํ วุต์เต จามเทวี เตน สัท์ธึ ปติสัณ์ฐารํ กโรน์ตี อาห.

ครั้นพระดาบศ ถวายพระพรอย่างนี้แล้ว เมื่อพระนางเจ้าจามเทวี จะกระทำปฏิสัณฐารกับด้วยพระดาบศ จึงมีพระราชเสาวนีคารวพจน์ เปนบาทบทพระคาถา ดังนี้ว่า

กัจ์จินุ โภโต กุสลํ กัจ์จินุ โภโต อนามยํ กัจ์จิ อุญ์เฉน ยาเปถ กัจ์จิ มูลผลา พหู กัจ์จิ ฑํสา จ มกสา อัป์ปเมว สิรึสปา วเน พาลมิคากิณ์เณ หิงสา ตุย๎หํ น วิช์ชตีติ.

พระเจ้าข้า ข้าแต่พระดาบศเจ้าผู้เจริญ ดังข้าจะขอถาม พระผู้เป็นเจ้านี้ มีสภาวะปราศจากความเจ็บไข้ ทั้งทุกข์โศกโรคไภยไม่มีมาแผ้วพาน เปนศุขสำราญอยู่ฤๅประการใด อนึ่งพระผู้เปนเจ้าได้อาศรัยซึ่งผลไม้ จึงได้เลี้ยงชีพแห่งตน มูลผลาผลนั้น ยังมีมากพอแสวงหาได้อยู่แลฤๅ อนึ่งเหลือบยุงแลงูเล็กงูใหญ่ที่ร้ายกาจ ทั้งพาลมฤคชาติที่สัญจรเกลื่อนกล่นอยู่ในป่า ไม่มีมาเบียดเบียนบีฑาพระผู้เปนเจ้าบ้างแลฤๅพระเจ้าข้า

พ๎รห๎มิสิ อาห.

พระพรหมฤๅษี จึงตอบไปด้วยสัมโมทนิยคาถาว่า

กุสลัญ์เจว โน เทวี อโถ เทวี อนามยํ อโถ อุญ์เฉน ยาเปม อโถ มูลผลา พหู อโถ ฑํสา จ มกสา อัป์ปเมว สิรึสปา วเน พาลมิคากิณ์เณ หึสา มัย๎หํ น วิช์ชตีติ.

ดูราพระนางเจ้าพระราชเทวี ข้อซึ่งท่านไต่ถามถึงความทุกข์แลโรคไภยไข้เจ็บนั้น จะได้มีมาเบียดเบียนแก่อาตมานี้ก็หามิได้ อนึ่งมูลผลาหารก็มีมาก พอจะแสวงหาเลี้ยงชีพได้ ทั้งเหลือบยุงแลงูเล็กงูใหญ่อันร้ายกาจ แลพาลมฤคชาติที่ท่องเที่ยวอยู่ในราวป่า ก็มิได้มีมาเบียดเบียนบีฑาแก่อาตมานี้เลย

ตโต จามเทวี อาห.

ลำดับนั้น พระนางเจ้าจามเทวีจึงตรัสเปนบทพระคาถาว่า

ภัน์เต อหํ อิธาคัน์ต๎วา มาตุยา ปิตุโน ทูรา ญาติกา วิรหิตา จ ตโย ตุเม๎ห สุญาตกา มาตาปิตา มัย๎หํ สัพ์เพ ตโย ตุเม๎ห จ ปาลิเต ราชยสํ มุขํ เทน์เต อิธ โลเก อสาทิเส คุณา โว อธิกา ภูม๎ปา พ๎รห๎มโลเก อุต์ตังคโต อิทานาหาคตา ตุย๎หํ ปาเท วัน์ทามิ อุต์ตมัน์ติ.

ข้าแต่พระผู้เปนเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาอยู่แล้วในพระราชอาณาเขตรนี้ ไกลห่างจากพระราชมารดาแลพระราชบิดา ทั้งไกลห่างจากพระประยุรญาติทั้งซ้ายขวา พระผู้เปนเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นแลเปนพระบรมญาติอย่างประเสริฐ เปนเหมือนหนึ่งพระราชมารดาแลพระราชบิดาของข้าพเจ้า ได้อภิบาลบำรุงรักษาข้าพเจ้า แลได้ให้ซึ่งสิริราชสมบัติทั้งราชอิศริยยศให้มีหน้ามีตาปรากฏ ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลกนี้จะเสมอเหมือน พระคุณทั้งหลายของพระผู้เปนเจ้าทั้งสามพระองค์นี้ใหญ่ยิ่งนัก เปรียบประดุจดังภูมิภาคแผ่นพื้นปถพีดล ถ้าจะว่าขึ้นไปในส่วนเบื้องบนก็ตลอดถึงพรหมโลก บัดนี้ข้าพเจ้ามาแล้ว ขอถวายนมัสการพระบาททั้งสองของพระผู้เปนเจ้า ให้สถิตย์ประดิษฐานไว้เหนืออุตตมางคศิโรตม์แห่งข้าพเจ้า

เอวํ จามเทวี พ๎รห๎มิสิส์ส คุณํ โถเมต๎วา วัน์ทิต๎วา ตํ ขมาเปต๎วา สกปุต์เตน สัท์ธึ นครํ ปาวีสิ.

พระนางเจ้าจามเทวี ได้ชมเชยพระคุณของพระพรหมฤๅษีเจ้าด้วยประการดังนี้แล้ว ก็ถวายนมัสการลาแลขอขมาโทษ พระพรหมฤๅษีเจ้าแล้ว ก็พร้อมด้วยพระเจ้าอนันตยศ ผู้เปนพระบรมราชโอรสของพระองค์ เสด็จกลับยังพระนคร

ปุนทิวเส อุโภ มาตาปุต์ตา มหาภิก์ขุสํฆํ อุปสังกมิต๎วา วัน์ทิต๎วา ปณีเตน ขาทนิยปริโภชนิเยน ปิณ์ฑปาตํ สัน์ตเปสุํ ปุน จ พ๎ราห๎มณาจาราทีนํ คหปติกานํ สหคตานํ โภเชต๎วา ฆราวาสทิวสภัต์ตเวต์ตนํ วิจาเรต๎วา เตสมทํสุ.

ครั้นรุ่งขึ้นอิกวันหนึ่ง สมเด็จพระราชมารดากับสมเด็จพระบรมราชโอรสทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จเข้าไปใกล้พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ถวายนมัสการแล้ว ก็ถวายบิณฑบาตทาน ให้พระภิกษุสงฆ์อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตแล้ว จึงยังพราหมณคหบดีทั้งหลาย มีพราหมณ์ผู้เปนอาจารย์เปนต้นที่มาพร้อมแล้วด้วยพระองค์นั้นให้บริโภคแล้ว จึงให้จัดแจงเรือนที่อยู่แลภัตตาหารแลเบี้ยเลี้ยงทุกวันพระราชทานแก่พราหมณ์คหบดีทั้งหลายเหล่านั้นอิก

ตโต พุท์ธรามธัม์มรามสํฆรามัญ์จ วิหารัญ์จ วิจาเรต๎วา กุฏิวิหาราวาสํ กาเรต๎วา ตัต์ถ ตัต์ถ มหาภิก์ขุสํฆํ ยถานุรูเป วสาเปต๎วา สัก์กัจ์จํ ปยิรุปาสึสุ ยถารูเป ธัม์มสวนาทิสีลสมาทานํ ติวิธสุจริตํ ทสกุสลกัม์มปถานํ ทสวิธราชธัม์มานํ อโกเปต๎วา อิทานิปิ ตถา กัต๎วา รัช์ชํ กาเรสุ.

ลำดับนั้นจึงโปรดเกล้าให้ตกแต่งพุทธาราม แลธรรมาราม แลสังฆาราม แล้วจึงให้กระทำกุฎีวิหารแลอาวาศให้พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่อยู่ในที่นั้นๆ ตามสมควรแล้ว ก็เสด็จเข้าไปใกล้พระภิกษุสงฆ์โดยเคารพ ในการก่อนได้เคยทรงฟังพระธรรมเทศนา แลสมาทานศีล แลประพฤติอยู่ในสุจริตธรรมสามประการพร้อมทั้งกายวาจาใจ รักษาอยู่ซึ่งกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ มิให้ทศพิธราชธรรมกำเริบได้ด้วยประการใด ถึงในกาลบัดนี้เล่าก็ได้ครอบครองแล้วซึ่งสิริราชสมบัติทรงกระทำอยู่อย่างนั้น

ตโต ปรัญ์จ อนัน์ตยสราชา อัต์ตโน มาตุคุณปัจ์จุปการํ กาตุกาโม สัพ์เพ กัฏ์ฐกาเร จิต์ตกาเร กัม์มกาเร ปัก์โกสาเปต๎วา นฬปาสาทํ สกมาตุน๎หานัฏ์ฐานํ กาเรต๎วา อายุต์ตเก ปัก์โก สาเปต๎วา สัพ์พราชาภิเสกุป์ปกรณํ ปฏิสัม์ปาเทต๎วา พหุสุวัณ์ณรชฏสัต์ตรตนวัต์ถาลังการาทิเภทํ ราสึ การาเปต๎วา พหุญ์จ อัน์นปานาทีนิ สุรามํสปุวอุจ์ฉุกทลิตัณ์ฑุลขชกขาทนียปริโภชนียอเนกวิธานิ สัม์ปาเทต๎วา สัพ์พากาเรสุ ปรินิฏ์ฐิเตสุเยว ราชา อัต์ตโน มาตรํ จามเทวึ รตนราสิม๎หิ นิสีทาเปต๎วา ชลมลวิโสธนัม์พิโลทเกน สีสัน๎หาต๎วา ปุนปิ คัน์โธทเกน น๎หาเปต๎วา ตโต พ๎ราห๎มณาจารมังคโลทกภริเต สุวัณ์ณภิงคาเร คาหาเปต๎วา ตํ ตัส์สา สีเส อภิสิญ์จาเปต๎วา วรํ ทัต๎วา สกรัช์ชํ นิยาเทต๎วา ราชเทวีภิเสกํ กัต๎วา ตัส๎มึ ขเณ วิชยมหาเภรึ นทาเปต๎วา ปัญ์จางคิดตุริเย ปัค์คัณ๎หาเปต๎วา มหาสมุท์ทกุจ์ฉิยํ เมฆคัช์ชิตโฆโสวิย ตุรียนิโฆโส อโหสิ.

เบื้องน่าแต่นั้น สมเด็จพระเจ้าอนันตยศ มีพระประสงค์จะใคร่กระทำปัจจุปการสนองพระคุณพระราชมารดาของพระองค์ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เรียกช่างกระทำการงานต่างๆ แต่ล้วนนายช่างไม้แลนายช่างวาดเขียนแกะสลักเปนต้น ให้มากระทำปราสาทไม้อ้อเปนที่สำหรับโสรจสรงสนานแห่งพระราชมารดาของพระองค์ แลโปรดให้ชาวเครื่องต้นตกแต่งเครื่องราชูปกรณ์สำหรับราชาภิเศกครบทุกประการ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้กระทำกองทองกองเงินกองรัตนเจ็ดประการ แลกองสรรพเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหลาย มีวัตถาลังการาภรณ์เปนต้นมีประการต่างๆ เปนอันมาก แล้วให้ตกแต่งของควรเคี้ยวแลของควรบริโภคมีประการต่างๆ เปนอันมาก มีต้นว่าเข้าแลน้ำแลสุราแลเนื้อสัตวแลขนมแลอ้อยกล้วยเมี่ยงหมากเปนอันมาก เมื่อจัดการทั้งปวงสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว จึงเชิญพระนางเจ้าจามเทวีพระราชมารดาของพระองค์ ให้ประทับนั่งเหนือกองแก้วแล้วให้สรงสนานพระเศียรเกล้าด้วยน้ำอันเจือด้วยน้ำซ่ม สำหรับชำระมลทิน แล้วจึงให้สรงสนานด้วยน้ำหอมต่อภายหลัง ลำดับนั้นจึงให้พราหมณาจารย์ถือพระสุวรรณภิงคาร อันเต็มไปด้วยน้ำเปนมงคล แล้วให้หลั่งลงเหนือพระเศียรเกล้าของพระนางเจ้าแล้วถวายพระพร แล้วมอบถวายสิริราชสมบัติของพระองค์ กระทำราชเทวีภิเศก ในขณะนั้นจึงให้พิฆาฏมหาพิไชยเภรีบรรฦๅลั่น แลให้ประโคมเบญจางคิดดุริยดนตรีแส้สนั่นเอิกเกริกกึกก้องโกลาหล ดุจเสียงบรรฦๅลั่นสนั่นก้องกระหึมแห่งเมฆในท้องพระมหาสมุทฉนั้น

น๎หานกัม์เม ปรินิฏ์ฐิเตเยว ตํ สัพ์พาลังกาเรหิ อลังกริต๎วา อัต์ตโน หัต์ถํ ลัม์พาเปต๎วา อานยิต๎วา ราชาสเน นิสีทาเปต๎วา มาตุยา ปาเท คเหต๎วา สกสิรสิ ปติฏ์ฐเปต๎วา สาทเรน วัน์ทิต๎วา อาห อัม์ม อัย์เย ยโต มํ คัพ์ภธารยโต ปัฏ์ฐาย ยาวัช์ชัต์ตนา ยทิ ยํกิญ์จิ เม โทโส อัต์ถิ สัพ์พัน์ตํ เม โทสํ ขมาหิ ตุเม๎ห ปน มัย๎หํ พหุปการา สเจ สกลมัณ์ฑลจัก์กวาฬคัพ์เภ มหาปถวิยา มิเย์ย ตว คุณา เม ปถวิโต อติเรกตรา ภเวย์ย สจาหํ มหาจัก์กวัต์ติราชา หุต๎วา สกลจัก์กวาฬมหาปถวิ ชิต๎วา สกลมหาปถวึ สัต์ตรตนปูริตํ จัก์กวัต์ติรัช์ชํ คเหต๎วา ตุม๎หากํ นิเวทยิส์สามิ อิทานาหํ อัป์ปปุญ์โญ อภัพ์โพ ทฬิท์โท โหมิ รัช์ชสัม์ปัต์ติ ลัท์โธปิ อัป์ปโภโค โหมิ เอวํ สติปิ อิมํ มม สกลรัช์ชํ ยถาพลํ เม ตว คุณัป์ปัจ์จุปการํ ตุม๎หากํ นิเวเทมีติ.

ก็ครั้นเมื่อสำเร็จเสร็จการสรงสนานแล้ว ก็ให้พระนางเจ้าทรงเครื่องประดับด้วยเครื่องสรรพอลังการาภรณ์มีประการต่างๆ แล้ว ก็ให้พระราชมารดาหน่วงเหนี่ยวพระหัตถ์ของพระองค์ นำเสด็จพระราชมารดาให้มาประทับนั่งเหนือบรมราชาอาศน์ แล้วจึงยกพระบาททั้งสองของพระมารดาขึ้นวางไว้บนพระเศียรเกล้าของพระองค์ถวายบังคมโดยเคารพแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดาเจ้า จำเดิมแต่พระมารดาเจ้าทรงพระครรภ์ข้าพระบาทมาจนตราบเท่าถึงวันนี้ ถ้าว่าโทษอันใดอันหนึ่งของข้าพระบาทมีอยู่ ขอพระมารดาเจ้าจงอดโทษทั้งปวงนั้นแก่ข้าพระบาทเถิด พระมารดาเจ้าเปนผู้มีอุปการะแก่ข้าพระบาทเปนอันมาก ถ้าจะเปรียบด้วยแผ่นพสุธาอันใหญ่ในห้องแห่งมณฑลจักรวาฬทั้งสิ้นไซ้ พระคุณทั้งหลายของพระมารดาเจ้ามีอยู่แก่ข้าพระบาทยิ่งเกินกว่าแผ่นพสุธาในห้องแห่งจักรวาฬทั้งสิ้นนั้น ถ้าข้าพระบาทได้เปนพระเจ้าบรมจักรพรรดิราชเปนใหญ่ชนะตลอดแผ่นปถพีใหญ่ในจักรวาฬทั้งสิ้นแล้ว ข้าพระบาทจะยกสมบัติบรมจักรพรรดิราชอันเต็มไปแล้วด้วยรัตนเจ็ดประการ ตลอดแผ่นปถพีใหญ่ทั้งสิ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมารดาเจ้า ก็แต่บัดนี้ข้าพระบาทเปนผู้มีบุญน้อยแลอาภัพขัดสน ถึงว่าได้ราชสมบัติก็ยังเปนผู้มีโภคสมบัติน้อย เมื่อการเปนเช่นนี้ ข้าพระบาทขอถวายราชสมบัติของข้าพระบาททั้งสิ้นนี้แก่พระมารดาเจ้า เปนการสนองพระคุณพระมารดาเจ้าตามสมควรแก่กำลังของข้าพระบาท

เอวํ วัต๎วาน มหาชนานํ อุโฆสาเปต๎วา มหาสัม์มตาลํ มหาชัย์ยเภริญ์จ นทาเปต๎วา สกลชนตํ มหาอุก์กัฏ์ฐิสัท์ทํการาเปสิ.

เมื่อพระเจ้าอนันตยศกราบทูลสมเด็จพระราชมารดาเจ้าด้วยประการดังนี้แล้ว จึงประกาศให้มหาชนทราบทั่วกันแล้วให้พิฆาฏมหาพิไชยเภรี ซึ่งควรสมมุติว่าเปนของใหญ่บันลือลั่น แล้วให้ประชุมชนทั้งสิ้นโห่ร้องก้องสนั่นนฤนาทโกลาหล

ตทา ตุริยนิโฆโส มหา อโหสิ.

ในกาลนั้นสัททสำเนียงดุริยางคดนตรีก็กึกก้องเปนมหานฤโฆสการ

มหาสัท์เทสุ ตุริยนิโฆสสัท์เทสุ วิติวัต์เตสุ ราชา นานัค์ครสํ มังคลโภชนํ สัม์ปาเทต๎วา ตํ ปริโภคัต์ถาย มาตรํ วัน์ทิต๎วา นิมัน์เตต๎วา ปัจ์ฉา สยํ ปริภุญ์ชิ.

ครั้นสงบสัททสำเนียงเสียงนฤโฆสการแห่งดุริยางคดนตรีเงียบสงัดแล้ว จึ่งพระเจ้าอนันตยศบรมกระษัตริย์ก็ให้ตกแต่งพระมงคลกระยาหารมีรศอันเลิศมีประการต่างๆ แล้วถวายบังคมพระราชมารดาเจ้าเชิญเสด็จให้เสวยพระมงคลกระยาหารนั้น ครั้นแล้วส่วนพระองค์จึงเสวยต่อภายหลัง

ตทา อายุต์ตกา จ สุท์ธา จ อังคธา สัพ์เพสํ ชนตานํ เสนาปตาทีนํ ยถานุรูปํ ขาทนีย์ ปริโภชนีย์ สัน์ตัป์เปสํุ.

ลำดับนั้นพวกชาวเครื่องต้นแลพวกวิเศษพวกองครักษ์จึงเลี้ยงดูสรรพประชุมชนทั้งหลายมีเสนาบดีเปนต้นให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียโภชนียาหารตามสมควร

ราชา วุต์ตนเยเนว สัต์ตรัต์ตินท์ทิวํ นิรัน์ตรํ มหาอุส์สวํ การาเปต๎วา สกมาตรํ ปูเชสิ อัฏ์ฐมีทิวเส สกมาตรํ วัน์ทิต๎วา อาห อัม์ม ต๎วํ มยา สัท์ธึ อิธ นคเร ยาวชีวํ วสาหิ อหํ ตํ จีรํ วิรหิตํุ น สัก์โกมิ อปิจ ตยิ อิธวสัน์เต มัย๎หํ ปุญ์ญภาโค อติเรกตโร โหติ มมานุค์คหาย มัย๎หํ นิมัน์ตํ ปฏิค์คัณ๎หัน์ตูติ.

พระเจ้าอนันตยศโปรดเกล้าฯ ให้ทำการมโหรศพบูชาพระราชมารดาของพระองค์สิ้นกาลหาระหว่างมิได้ถึงเจ็ดคืนเจ็ดวันโดยนัยดังที่กล่าวมาแล้ว ครั้นถึงวันที่แปดพระองค์จึงถวายบังคมพระราชมารดาของพระองค์แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดาเจ้า ขอพระมารดาเจ้าจงอยู่ในพระนครนี้กับด้วยข้าพระบาทจนถึงกำหนดกาลพระชนมายุเถิด ข้าพระบาทไม่อาจจะว่างเว้นพระมารดาเจ้าให้นานนักได้ ก็อิกประการหนึ่งครั้นเมื่อพระมารดาเจ้าอยู่ในพระนครนี้ บุญภาคส่วนการจำแนกแจกบุญกุศลก็จะบังเกิดมีแก่ข้าพระบาทเหลือล้น ขอพระมารดาเจ้าจงได้ทรงพระกรุณาโปรดทรงรับการเชื้อเชิญเสด็จของข้าพระบาทเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระบาทเถิด

เอวํ วุต์เต จามเวี จิน์เตสิ อโภ มม ปุต์ตา สมา เม ปิยา มนาปา โหน์ติ โกจิ เม ปิโย เกสัค์คมัต์ตํปิ น โหติ อปิ จายํ มม ปุต์โต ราชยสสัม์ปัต์ติปัต์โตปิ น จีโร ราชวัต์ตํ นิป์ผาเทตํุ สัก์โก วา น สัก์โก วา น ชานามิ เตนหิ อหํ อิมํ อนุสาสนัต์ถาย ตติยสํวัจ์ฉรํ อิธ วสิตํุว นัน์ทติ ตโต หริปุญ์เชย์ยํ ตํ มม ปุต์ตํ คมิส์สามิ.

ครั้นเมื่อพระเจ้าอนันตยศกราบทูลพระราชมารดาด้วยประการดังนี้แล้ว พระนางเจ้าจามเทวีจึงทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชบุตรของเราเปนที่รักเจริญใจเสมอกันทั้งสองพระองค์ องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งจะเปนที่รักเจริญใจยิ่งเกินกว่ากันแม้มาตรว่าเท่าปลายเส้นพระเกษาก็หามิได้ อิกประการหนึ่งพระราชบุตรของเราพระองค์นี้ ถึงแล้วซึ่งราชอิศริยยศสมบัติยังไม่สู้นานนัก จะเปนผู้สามารถฤๅมิสามารถเพื่อจะยังราชวัตรให้สำเร็จเรียบร้อยไปได้ เราก็ยังไม่ทราบ ผิดังนั้นเราจะยินดีอยู่สั่งสอนพ่อปิยบุตรนี้ในพระนครนี้สักสามปีแล้วจะไปหาบุตรของเราพระองค์นั้นที่หริปุญชัยนครต่อภายหลัง

เอวํ สา จิน์ตยมานาว สกปุต์ตํ เอวมาห ตาต ปิยปุต์ต สเจ เอวํ วทสิ อหํ ตยา สัท์ธึ ตติยสํวัจ์ฉเร อิธ วสิส์สามิ ตโต หริปุญ์เชย์ยํ ตว ภาตรํ คมิส์สามิ

เมื่อพระนางเจ้าจามเทวีทรงจินตนาการอยู่อย่างนี้ จึงตรัสกะพระราชบุตรของพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรพ่อปิยบุตร ถ้าพ่อปราถนาอย่างนี้ มารดาจักอยู่ในพระนครนี้กับด้วยพ่อปิยบุตรสิ้นสามปี แล้วจักไปหา พระภาตุราชของพ่อปิยบุตรที่หริปุญชัยนครต่อภายหลัง

โส สาธุ อัม์มาติ วัต๎วา มาตรํ วัน์ทิต๎วา รัช์ชํ นิยาเทต๎วา พหินครํ กิฬิส์สามิ อัม์มาติ มาตรํ อาปุจ์ฉิต๎วา สกชนํ อาทาย นครโต นิก์ขมิต๎วา รัม์มณิยัฏ์ฐาเน ขัน์ธาวารํ นิวาสาเปต๎วา ยถาภิรัน์ตํ กิฬิต๎วา ตัต์ถ วสิต๎วา ปุนทิวเส พ๎รห๎มิสิส์ส สัน์ติกํ คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา ตํ อัต์ตโน กตกัม์มํ อนุโมทนัต์ถาย สัพ์พํ ปวุต์ตึ ตัส์ส อาจิก์ขิ.

พระเจ้าอนันตยศจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดาเจ้า ซึ่งพระมารดาเจ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าดังนี้เปนการดีแล้ว พระองค์ก็ถวายบังคมพระมารดาเจ้า มอบถวายสิริราชสมบัติแล้ว จึงกราบทูลลาพระราชมารดาว่า ข้าแต่พระมารดาเจ้า ข้าพระบาทจักไปเล่นณภายนอกพระนคร แล้วก็พาบริวารของพระองค์ออกจากพระนครไป ตั้งค่ายอยู่ในที่รัมณิยสถาน เล่นสนุกสำราญพระราชหฤไทยอยู่ในสถานที่นั้น ครั้นรุ่งขึ้นเช้าจึงเสด็จไปยังสำนักพระพรหมฤๅษี ถวายนมัสการแล้วจึงแถลงแจ้งประพฤติเหตุทุกประการแก่พระพรหมฤๅษี เพื่อจะให้อนุโมทนาซึ่งการที่ทำแล้วนั้นของพระองค์

ตํ สุต๎วา พ๎รห๎มิสิ สาธุ มหาราช อนุโมทามิ เต กตกัม์มัน์ติ อปิจ มาตุปิตุคุณปัจ์จุป์ปกาโร นาม สัพ์พพุท์เธหิ ปสํสิโต ตว ปุญ์ญภาคปัต์ตึ เม เทหิ ตว นิวาสนัต์ถานํ เอกํ นครํ มาปิส์สามีติ.

พระพรหมฤๅษีได้สดับประพฤติเหตุนั้นแล้วจึงถวายพระพรว่า ดูรามหาราชเจ้า การทั้งสิ้นที่พระราชสมภารเจ้าทรงกระทำนั้นเปนการดีแล้ว อาตมาภาพอนุโมทนาซึ่งการที่พระราชสมภารเจ้าทรงกระทำแล้วนั้น อิกประการหนึ่งการสนองพระคุณมารดาบิดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงสรรเสริญแล้ว พระราชสมภารเจ้าจงพระราชทานแบ่งส่วนบุญของพระองค์ให้แก่อาตมาๆ จักสร้างพระนครหนึ่งถวายให้เปนที่ประทับของพระองค์

ราชา สาธุ ปัต์ตึ ตุม๎หากํ ทัส์สามีติ วัต๎วา ตํ วัน์ทิต๎วา ขมาเปต๎วา วสนัต์ถานํ อาคัญ์ฉิ

พระเจ้าอนันตยศจึงตรัสว่าดีแล้ว ข้าพเจ้าให้ส่วนบุญแก่ท่านทั้งหลายแล้วก็ถวายนมัสการพระพรหมฤๅษีเจ้า ขอขมาโทษแล้วก็เสด็จกลับมายังวสนสถานของพระองค์

‘สา สายัณ๎หสมเยว ทีปธูปคัน์ธมาลาทีนิ คาหาเปต๎วา ธัม์มสวนัต์ถาย มหาสํฆัต์เถรสัน์ติกํ คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา ปูเชต๎วา เอกมัน์ตํ นิสีทิ เอกมันตํ นิสิน์โนโข ราชา เตหิ สัท์ธึ ปติสัณ์ฐารํ ปุน สัพ์พํ อัต์ตโน กตกัม์มํ เตสมาจิก์ขิ.

ครั้นเวลาสายัณหสมัยจึงให้คนถือเอาเครื่องสักการะ มีเทียนธูปแลระเบียบบุบผาของหอมเปนต้น เสด็จไปยังสำนักพระมหาสังฆเถรเพื่อจะสดับพระธรรมเทศนา ครั้นถวายนมัสการบูชาแล้ว ก็ประทับนั่งอยู่ณอาสนะที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่งแล้ว จึงกระทำปฏิสัณฐารกับด้วยพระมหาสังฆเถรทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว จึงตรัสบอกซึ่งการที่กระทำแล้วของพระองค์ทุกประการ แก่พระมหาสังฆเถรเหล่านั้นอิก

สํฆํต์เถรปมุโข มหาภิก์ขุสํโฆ ตัส์ส วจนํ สุต๎วา สาธุ สาธุ มหาราช มาตุคุณปัจ์จุป์ปการํ ตยา กตํ อนุโมทามาติ วทึสุ.

พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มีพระสังฆเถรเปนประธาน ครั้นได้ฟังวาจาของพระเจ้าอนันตยศแล้วจึงถวายพระพรว่า ดูรามหาราชเจ้า ดีแล้วๆ อาตมาภาพทั้งหลายอนุโมทนา การกระทำตอบแทนสนองพระคุณพระราชมารดาที่พระราชสมภารเจ้าทรงกระทำแล้ว

อถัส์ส สํฆัต์เถโร ธัม์มํ เทเสน์โต อาห.

ลำดับนั้นพระสังฆเถร เมื่อจะสำแดงธรรมแก่พระเจ้าอนันตยศจึงกล่าวเปนพระคาถาว่า

สาธุ สาธุ มหาราช ปุญ์ญกัม์มํ กตํ ตยา มาตุคุณปติการํ สัม์มาสัม์พุท์ธวัณ์ณิตํ อิธ โลเก ปเร วาปิ ยโส ลาโภ อัจ์จุค์คโต ยํยํ ปเทสํ ปัต์โต โส ตํตํ เทวาภิปูชิโต สุขเสย์ยํ สุขติฏ์ฐํ สุขํ วา จังกมาทิกํ ยํ อิจ์ฉิตํ สมิช์ฌติ ปัจ์ฉา นิพ์พานปาปุณีติ.

ขอถวายพระพรพระมหาราชเจ้า กรรมเปนบุญที่พระมหาราชเจ้ากระทำแล้วนั้นเปนกรรมทำประโยชน์ให้สำเร็จดีแล้ว การกระทำตอบแทนสนองพระคุณพระราชมารดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญแล้ว ลาภแลยศของพระองค์ก็จะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปทั้งในโลกนี้แลโลกเบื้องน่า พระองค์เสด็จไปถึงประเทศใดๆ เทพยเจ้าทั้งหลายก็จะบูชาพระองค์ ณประเทศนั้นๆ ความนอนเปนศุขฤๅยืนเปนศุขฤๅศุขอันใด มีจงกรมเปนศุขเปนต้นที่พระองค์ปราถนาแล้ว ก็จะสำเร็จแด่พระองค์ทุกประการ จะถึงพระนฤพานในภายหลัง

ราชา เตสํ ธัม์เทสนํ สุต๎วา อติวิย ตุฏ์ฐา หุต๎วา เตหิ สัท์ธึ ธัม์มเทสนานุสาเรน สํสัน์ทนํ กัต๎วา นิสีทิ.

พระเจ้าอนันตยศ ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั้น ก็มีพระหฤทัยยินดียิ่งนัก แล้วก็เสด็จนั่งกระทำสั่งสนทนาเปนไปตามธรรมเทศนากับด้วยพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้น

ตัส๎มึ ขเณ มหาพ๎รห๎มิสิ ตัส์ส วสนัต์ถาย เขลางคนครทัก์ขิณปัจ์ฉิมกัณ์เณ เอกนครํ มาปิต๎วา สัพ์พํ นคราวยเวหิ ปริปุณ์ณํ อติวิยโสภมานํ อภิรัม์มตรัญ์จ โหติ.

ในขณนั้นพระมหาพรหมฤๅษีจึงสร้างพระนครหนึ่งในด้านทักษิณทิศ แลปัจฉิมทิศแห่งเขลางคนคร ให้บริบูรณ์ไปด้วยนคราวยวะทั้งปวง มีปราสาทราชมนเฑียรเปนต้น งดงามยิ่งนักแลเปนที่รื่นรมย์อย่างยิ่ง เพื่อจะให้เปนที่ประทับของพระเจ้าอนันตยศ

ตํ ปุริ เขลางคนคเรน อาลัม์พนอังคเณ มาปิตํ อาลัม์พางคณปุริน์ติ วุจ์จติ.

พระนครนั้น พระพรหมฤๅษีสร้างแล้วในเนินอันย้อยมาตามแนวเขลางคนคร คนทั้งหลายจึงได้เรียกพระนครนั้นว่าอาลัมพางคนครดังนี้

อนัน์ตยสราชาปิ ภิก์ขุสํเฆหิ สัล์ลาปํ กัต๎วา วัน์ทิต๎วา วสนัต์ถานํ อาคัน์ต๎วา นวนครํ ปัส์สิต๎วา อโหวติทํ นครํ มม อัย์เยน อิสินา เม ทิน์นัน์ติ ญัต๎วา ปวีสิต๎วา ตัต์ถ ยถา ภิรัน์ตํ วิหาสิ.

พระเจ้าอนันตยศ ตรัสด้วยพระภิกษุสงฆ์แล้วก็ถวายนมัสการเสด็จมายังวสนสถาน ทอดพระเนตรเห็นพระนครใหม่ก็ทรงทราบว่า พระนครนี้พระผู้เปนเจ้าพระฤๅษีสร้างให้แก่พระองค์แน่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปประทับในพระนครใหม่นั้นสำราญพระราชหฤไทย

ตัต์ถ วสัน์โตปิ ทิน์นทิน์เน วา ท๎วิหํ วา ติหํ วา ปัญ์จาหํ วา เขลางคนครํ ปวีสิต๎วา จามเทวึ สกมาตรํ วัน์ทิต๎วา อาโรคยภาวั ปุจ์ฉิต๎วา อุปัฏ์ฐากกัม์มกาสิ.

เมื่อพระเจ้าอนันตยศ ประทับอยู่ในอาลัมพางคนครนั้น ได้เสด็จเข้าไปยังเขลางคนคร ถวายบังคมพระนางเจ้าจามเทวีพระราชมารดาของพระองค์ แล้วก็กราบทูลถามถึงความไม่มีโรค แล้วกระทำการอุปฐากพระราชมารดาทุกวันทุกวันบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ห้าวันบ้าง

ตทา ตัต์ถ วาสิโน ชนตา สมณพ๎ราห๎มณคหปติกาทิอเนก วิวิธวัณ์ณา อัน์ตมโส มิลัก์ขภาษา วนมนุส์สาปิ นคเร ปริปุณ์ณา หัต์ถตุฏ์ฐา อัญ์ญมัญ์ญํ วิส์สาสิกา ชาตา อเนกวิวิธวิจิต์ตา ตํ กุฏิวิหารทานาทิกํ กุสลกัม์มํ กโรน์ติ.

ในกาลนั้นประชุมชนทั้งหลายที่อยู่ในพระนครนั้น มีเพศต่างๆ มิใช่เพศเดียวกัน มีสมณพราหมณ์แลคฤหบดีเปนต้น โดยที่สุดแม้มนุษย์ชาวป่าทั้งหลายที่เปนมิลักขภาษา ก็มีบริบูรณ์อยู่ในพระนครนั้น พากันรื่นเริงบันเทิงใจจนเกิดพิศวาศคุ้นเคยซึ่งกันและกัน มีความคิดต่างๆ แปลกๆ มิใช่อย่างเดียวกัน กระทำกองการกุศลมีกุฎีทานวิหารทานเปนต้น

เขลางคนคราปิ ปาโต สายัเณ๎หเยว เภริมุทิงคปัณ์ฑวสํขามุขรสํสัท์ทวัน์ติ ตุริยสัท์เทหิ อภิสํฆุฏ์ฐา อภิรัม์มตรา โหติ.

พระนครเขลางค์ กึกก้องไปด้วยเครื่องประโคมทั้งหลายกล่าวคือเสียงกลอง แลตะโพนแลบัณเฑาะว์ แลสังข์แลกลองยาว มีเสียงอันไพเราะห์น่าฟัง ตั้งแต่เวลาเช้าจนเวลาเย็น เปนที่รื่นเริงบันเทิงใจยิ่งนัก

เตนิทํ ภควโต เทสิตานุสาเรน สุจริตผลํทีเปน์โต อาห.

เพราะเหตุนั้น พระโปราณาจารย์เจ้าเมื่อจะสำแดงซึ่งผลแห่งความสุจริตเปนไปตามธรรมเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคย์เจ้าสำแดงแล้วจึงกล่าวว่า

คาเม วา ยทิ วารัญ์เญ นิน์เน วา ยทิ วา ถเล ยัต์ถ ธีรา ปวสัน์ติ ตํ ภูมิ รามเณย์ยกํ เย ปุพ์เพ กตกัล๎ยาณา ทานสีลาทิกํ กรา รุก์ขัค์เค ปัพ์พตัค์เค วา สมุท์เท วา อัพ์ภเร วา ยํยํ ปเทสํ คัจ์ฉัน์ติ ตัต์ถ ตัต์เถว ปูชิตา ยํ อิจ์ฉิตํ สุลัพ์ภัน์ติ ปุพ์เพ ปุญ์ญัส์ส เดชสาติ.

บัณฑิตทั้งหลายย่อมอยู่อาศรัยในภูมิประเทศใด คือในบ้านฤๅในป่าก็ดี ในที่ลุ่มฤๅในที่ดอนก็ดี ภูมิประเทศนั้นเปนที่นำมาซึ่งความรื่นเริงบันเทิงใจยิ่งนัก บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดมีกัลยาณกรรมได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน คือได้กระทำแล้วซึ่งกัลยาณกรรมมีทานแลศีลเปนต้น บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นจะไปยังประเทศใดๆ คือบนยอดไม้ฤๅบนยอดภูเขาก็ดี ในพระมหาสมุทฤๅบนกลีบเมฆก็ดี เปนผู้อันเทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้วณประเทศนั้นๆ สิ่งใดที่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นปราถนาแล้ว ย่อมได้โดยง่ายสดวกดาย ด้วยเดชานุภาพของบุญกุศลที่ได้กระทำไว้แล้วในปางก่อนดังนี้.

อิติ หริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส มหาจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน อลังกโต ทสโม ปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.

หริภุญชัยนิเทศดังนี้ พระมหาเถรผู้มีนามว่า โพธิรังสี ได้แต่งไว้แล้วตามคำมหาจารึกปริเฉทที่ ๑๐ จบแล้ว

เขลางคนครมาปิตกัณ์ฑํ.

เขลางคนครมาปิตกัณฑ์

  1. ๑. เห็นว่าจะเปน สัล์ลปัน์ตา อาหํสุ จึงได้แปลตามรูปนี้

  2. ๒. เห็นควรจะเปน นัน์ทามิ จึงได้แปลไปตามรูปนี้

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ