จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔

เอวํ สัพ์พนครปริกัม์เมสุ ปรินิฏ์ฐิเตสุเยว วาสุเทโว อิสิ สุก์กทัน์ตปัณ์ฑิตอิสิโน อาห สัม์ม อัม๎หากํ นครํ อติวิยโสภมานํ โก อิมํ รัช์ชํ กาเรส์สตีติ.

ครั้นเมื่อการบริกรรมพระนครทั้งปวงสำเร็จลงแล้วอย่างนี้เทียว พระวาสุเทพฤๅษี จึงกล่าวแก่พระสุกกทันตบัณฑิตฤๅษีว่า ดูราสหาย เมืองของเรางามหาที่จะเปรียบมิได้ ใครจักครองราชสมบัติเล่า

อถ นํ สุก์กทัน์โต อาห ภัน์เต ตุม๎หากํ ปริจาริกา พหุตรา โหน์ติ รุจ์จนกํ ตํ ตํ ราชาภิเสกํ กัต๎วา อิมํ รัช์ชํ กาเรส์สามาติ.

ลำดับนั้น พระสุกกทันต์กล่าวกะพระวาสุเทพว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนบริจาริกาของท่านทั้งหลายมีเปนอันมาก เราทั้งหลายจะทำการอภิเศกคนนั้นๆ ตามชอบใจ แล้วให้ครองราชสมบัตินี้เถิด

อถ นํ มหาอิสิ วาสุเทโว อาห สัม์ม อิเมเต มิคชาติกา อัน์ธพาลา อคติคตา จัณ์ฑา ผรุสา กัก์ขลา สกชาติกานวัต์ติคตา โหน์ติ กถัน์นุ รัช์ชํ กาเรตํุ สัก์ขิส์สัน์ตีติ.

ลำดับนั้น พระวาสุเทพมหาฤๅษี ได้กล่าวกะพระสุกกทันต์ว่า ข้าแต่สหาย ชนทั้งหลายเหล่านี้เปนมฤคชาติอันธพาล ถึงอาจาระอคติจัณฑาลหยาบคาบดื้อกระด้าง มักประพฤติตามชาติของตนมีอยู่ จักสามารถครองราชสมบัติอย่างไรได้

กัส๎มา จ ปน วทามิ อิเมเต เกจิ หัต์ถีปทพลัญ์ชชาติกานํ ชาตัต์ตา มานหทยมานถัท์ธา โหน์ติ เกจิ ขัค์คปทพลัญ์ชชาติกานํ ชาตัต์ตา ผรุสหทยา กัก์ขลหทยา ขัค์คหทยาวิย จ โหน์ติ เกจิ ควยัส์ส ปทพลัญ์ชชาติกานํ ชาตัต์ตา ทัน์ธหทยา ครุหทยา ด้วยหทยาวิย จ โหน์ติ เกจิ ควัส์ส ปทพลัญ์ชชาติกานํ ชาตัต์ตา พาลหทยา โลภหทยา ควัส์ส หทยาวิย จ โหน์ติ เกจิ มิคมายาย ชาติกานํ ชาตัต์ตา พหุมายาย หทยา อนุชุหทยา มิคมายา หทยาวิย จ โหน์ติ เกจิ มนุส์สชาติกานํ ชาตัต์ตาปิ มิลัก์ขมนุส์สา จ วนมนุส์สา จ หุต๎วา อิทํ สุฏ์ฐํ อิทํ ทุฏ์ฐํ อิทํ กุสลํ อิทํ อกุสลัน์ติ น ชานัน์ติ ตัส๎มา มม สหายัส์ส อิเมเต รัช์ชํ กาเรตํุ น สัก์ขิส์สัน์ติ วทามิ.

เพราะเหตุใดข้าพเจ้าจึงว่าอย่างนี้ คือว่าชนเหล่านี้บางพวกมีหทัยประกอบด้วยมานะ มีมานะอันกระด้างมีอยู่ เพราะความที่แห่งชนเหล่านั้นได้เกิดแล้วในรอยเท้าช้าง บางพวกเปนคนมีหทัยหยาบคายมีหทัยดื้อกระด้าง มีหทัยเหมือนแรดมีอยู่ เพราะความที่แห่งชนทั้งหลายนั้นเกิดแล้วในรอยเท้าแรด “ครุหทยา” บางพวกมีหทัยเรื่องหงอยมีหทัยหนัก “ด้วยหทยา” มีหทัยเหมือนโคถึกมีอยู่ เพราะความที่แห่งชนทั้งหลายนั้น เกิดแล้วในรอยแห่งโคถึก “พาลหทยา” บางพวกมีหทัยอ่อน มีหทัยโลภ มีหทัยเหมือนโคมีอยู่ เพราะความที่แห่งชนทั้งหลายเหล่านั้นเกิดแล้วในรอยโค บางพวกมีหทัยประกอบด้วยมายามาก มีหทัยไม่ตรง มีหทัยเหมือนมฤคมายามีอยู่ เพราะความที่แห่งชนทั้งหลายเหล่านั้นเกิดแล้วโดยมฤคมายา บางพวกเปนมนุษย์มีลักขณะเปนมนุษย์ป่ามีแล้ว ย่อมไม่รู้ว่า “สิ่งนี้ดีสิ่งนี้ชั่วสิ่งนี้กุศลสิ่งนี้อกุศล” ดังนี้เพราะความที่แห่งชนทั้งหลายเหล่านั้นเปนมนุสชาติเกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงว่าแก่สหายของเราว่า “ชนทั้งหลายเหล่านี้ย่อมไม่สามารถครองราชสมบัติได้”

ยทิ มหาสหายัส์ส พีโช โหติ ตํ มม เทหิ อิมํ รัช์ช กาเรส์สามาติ.

ถ้าหากว่าพืชของมหาสหายมีอยู่ ท่านจงให้ผู้พืชนั้นแก่เราทั้งหลาย จักให้ครองราชสมบัตินี้

สุก์กทัน์ตปัณ์ฑิโต วาสุเทวัส์ส วจนํ สุต๎วา หสิตํ กัต๎วา เอวมาห.

พระสุกกทันตบัณฑิต ได้ฟังคำพระวาสุเทพแล้วยิ้มแย้มกล่าวคาถาว่าอย่างนี้ แปลความว่า

ยัน์นูน ต๎วํ ชฏาธาร สุโณหิ วจนํ มม ยาจิส์สํ อภยํ ตุม๎หํ เทหิ ต๎วํ อภยํ มม พีชานํ อุต์ตมํ โลเก นมัส์สามิ อิโต ปรํ ยทิ เม อภยํ ทัต๎วา เอตํ วัก์ขามิ เต ธุนาติ.

ข้าแต่ท่านชฎาธาร ท่านจงฟังคำข้าพเจ้าแน่ละฤๅ ข้าพเจ้าขออภัยต่อท่านๆจงให้อภัยแก่ข้าพเจ้า พืชอันอุดมกว่าพืชทั้งหลายในโลก ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เบื้องน่าแต่นี้ไป ถ้าท่านให้อภัยแก่ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจักบอกพืชนั้นแก่ท่านตามจริง

โส ตัส์ส กถํ สุต๎วา อาห.

พระวาสุเทพนั้น ครั้นได้ฟังกถาของพระสุกกทันต์นั้น จึงกล่าวเปนคาถาตอบแปลความว่า

มา สัม์ม เอวํ อวจุต์ถ กึภยัน์เต ภวิส์สติ ภิน์ทสิ เจปิ เม สีสํ เนว โกธํ กโรมิ เตติ.

ดูกรพระสหาย ท่านอย่าพูดอย่างนี้เลย ภัยอะไร จักมีแก่ท่านเล่า โดยแม้ว่าศีศะของข้าพเจ้าจะแตก ข้าพเจ้าจะไม่ทำความโกรธแก่ท่านเลย

อถ นํ สุก์กทันโต อาห.

ลำดับนั้น พระสุกกทันต์ได้กล่าวกะพระวาสุเทพว่า

เตนหิ สัม์ม สุโณหิ ลโวรัญ์โญ ธีตา อหุ สุชาตา รูปสัม์ปัน์นา สิลวัน์ตา จ ปัญ์ญวา นาเมน จามเทวีติ ปากฏา สัพ์พโต ทิสา ตรุณา ปัญ์จกัล๎ยาณา โสภณา อิต์ถิวิค์คหา ตัส์สาย สามิโก ทานิ สัท์โธ ปัพ์พชิโต อหุ ยาจยิส์สามิ ตํ ตัส์ส อานยิส์สามิ ตํ อิธ เอสา นารี ปุญ์ญวตี สพีชํ อภิวัฑ์ฒตีติ.

ดูกรสหาย ถ้ากะนั้นท่านจงฟัง พระธิดาพระเจ้าลโวราชมีแล้ว เปนสุชาติ มีรูปงามมีศีลมีปฤชา พระนามว่า “จามเทวี” ดังนี้ได้ปรากฏทั่วทิศเปนดรุณกุมารีทรงเบญจกัลยาณีงาม เปนสัตรีวิเคราะห์ พระสามีของนางนั้นเดี๋ยวนี้ มีศรัทธาได้บวชเปนบรรพชิต เราทั้งสองจักทูลขอนางนั้น ต่อพระเจ้าลโวราชแล้ว เชิญมาสู่พระนครในที่นี้ นางนารีผู้มีบุญนั้น จักยังพืชของตนให้จำเริญยิ่งได้

เอวํ วุต์เต วาสุเทโว อาห สัม์ม เอวํ สัน์เตปิ อัม๎หากํ ทูโต วจนกุสโล นัต์ถิ กึ กริส์สามาติ.

ครั้นพระสุกกทันต์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระวาสุเทพก็กล่าวว่า “ดูราสหาย ครั้นเมื่อการเปนอย่างนี้มีแล้ว ทูตของเราผู้ฉลาดในถ้อยคำไม่มี เราจักทำอย่างไร”

สุก์กทัน์ตปัณ์ฑิโต อาห ยเทว สัม์ม คเวย์ยกุมารํ มยา สัท์ธึ เปเสต๎วา ตํ วา คมิส์สามีติ.

พระสุกกทันตบัณฑิต จึงกล่าวว่า “ดูราสหาย ถ้าอย่างนั้นไซ้ จงส่งให้คเวยยกุมารไปกับด้วยเรา เราจักไปสู่พระเจ้าลโวราชนั้น

โส สาธูติ สัม์ปฏิจ์ฉิ คเวย์ยกุมารํ ตัส์ส สัน์ติเก ราชทูตํ นิทานํ ลิขาเปต๎วา พหุปัณ์ณาการํ สัช์เชต๎วา เตน สัท์ธึ เปเสสิ.

พระวาสุเทพก็รับว่าดีแล้ว จึงให้คเวยยกุมารเปนราชทูตเขียนนิทาน (คำตอบ) จัดบรรณาการเปนอันมาก ส่งไปกับคเวยยกุมารสู่สำนักแห่งพระเจ้าลโวราชนั้น

คเวย์กุมาโรปิ มหัน์เตหิ นาวปริวาเรหิ พิงคนทิยา โสเตน โอคเหสิ.

แม้ว่าคเวยยกุมารก็ได้ข้ามลงโดยกระแสน้ำพิงคนทีด้วยเรือบริวารทั้งหลายเปนอันมาก

สุก์กทัน์โต มหาอิสิ ปน อากาเสน คัน์ต๎วา ตัส์ส ปุเรตรเมว ลโวนครํ ปัต์โต

ฝ่ายพระสุกกทันตมหาฤๅษี ก็ไปโดยอากาศได้ถึงลโวนครก่อนกว่าคเวยยกุมารนั้น

คเวย์ยกุมาโรปิ อิสิโน อิท์ธิพเลน คัน์ต๎วา น จีรัส์เสว ปัต์โต

ส่วนคเวยยกุมารได้ไปโดยอิทธิพลแห่งพระฤๅษี ก็ได้ถึงแล้วโดยไม่นานเทียว

สุก์กทัน์โต ปัณ์ฑิตมหาอิสิ ตํ คเวย์ยกุมารํ ปัณ์ณาการํ สัช์ชาเปต๎วา ปัจ์ฉา ทูตํ กัต๎วา ราชนิเวสนํ อคมาสิ ฐัต๎วา จ ปน ปฏิสัณ์ฐารํ กโรน์โต อาห.

พระสุกกทันตบัณฑิตมหาฤๅษีก็ให้คเวยยกุมาร จัดบรรณาการแล้วทำให้เปนปัจฉาทูตพากันเข้าไปสู่ราชนิเวศน์ ครั้นประดิษฐานอยู่แล้ว จึงทำปฏิสัณฐารกล่าวว่า

กัจ์จิ นุ ราช กุสลํ กัจ์จิ นุ ราช อนามยํ กัจ์จิ จัก์กวัต์ติธัม์มํ รัฏ์ฐํ ปาเลสิ นูณกํ กัจ์จิ ชานปทา เขมา กัจ์จิ รัฏ์ฐา อเภทกาติ.

ดังอาตมถาม มหาราชเจ้าทรงสำราญพระหฤไทย ทั้งอุปัททวะน้อยใหญ่มิได้มี จักรวัตติธรรมทรงบำเพ็ญเปนอันดีอยู่แลฤ พระองค์ทรงปรนปรือราษฎรเสมออยู่มิได้บกพร่อง ทั้งชาวชนบทเกษมศุขอยู่ตามคลองธรรมประเพณี พระราชอาณาจักรรวบรวมเปนสามัคคีย์ดีอยู่มิได้แตกต่างหรือประการใด

เอวํ วุต์เตปิ ลโวราชา เตน สัท์ธึ ปฏิสัณ์ฐารํ กโรน์โต อาห.

เมื่อพระสุกกทันต์ถามดังนี้ พระเจ้าลโวราชก็ดำรัสประภาษปติสัณฐารตอบว่า

กุสลัญ์เจว โน อิสิ อโถ อิสิ อนามยํ อโถ จัก์กวัต์ติธัม์มํ รัฏ์ฐํ ปาเลสิ นูณกํ อโถ ชานปทา เขมา อโถ รัฏ์ฐา อเภทกาติ.

ข้าแต่พระฤๅษีเจ้า เรานี้ก็มีกุศลจิตรสบาย อนึ่งภัยอุปัทวันตรายก็มิได้มี ทั้งจักรวัตติธรรมก็ดำรงคงที่ไม่เสื่อมคลาย เราปกครองราษฎรสบายไม่ย่อหย่อน ชาวชนบทก็พากันสโมสรเกษมสานต์ ทั้งราชอาณาจักรก็มิได้ร้าวรานร่วมสมัคสามัคคีดี

เอวัญ์จ ปน วัต๎วา ปุน ตํ ปุจ์ฉัน์โต อาห

เมื่อพระเจ้าลโวราชตรัสฉนี้แล้ว จึงประภาษถามพระฤๅษีด้วยบาทคาถาแปลความว่า

จีรํ นูนาคโต ภัน์เต กิน๎วาพาโธ ภวิส์สติ กัจ์จิ นุ ปริยปัก์โกสิ กัจ์จิ ทูเรปิ คัจ์ฉถาติ.

“นุน” ดังข้าพเจ้าถาม ข้าแต่ท่านผู้เจริญงาม พระคุณเจ้า ได้มานานอยู่แล้วฤๅ อาพาธไข้สิ่งไรได้มีบ้างแลฤๅแก่พระผู้เปนเจ้า ความแก่หง่อมนั้นเล่าเปนอย่างไรบ้าง พระคุณได้มาในหนทางเปนอย่างไรเล่า

อถนํ อิสิ อาห.

ลำดับนั้น พระฤๅษีจึงทูลเปนพระคาถาแปลความว่า

จีรํ อาม มหาราช อาคโต ตว สัน์ติเก อาพาโธ ปริปัน์โถ จ น จ กิญ์จิ ภวัน์ติ โน อปิเจโก สหาโย เม วาสุเทโวติ นามโก อุจ์ฉุปัพ์พตัค์เค วาสิ อุท์ธํ อุทกพิงคกํ โลกานํ หิตกาโม โส ปัก์โกสาเปติ โน ธิโต ตโต กโรม นครํ ชินธาตุส์สุปาทิตํ อภิรัม์มตรํ โสภํ นิฏ์ฐิตํ อาคโตม๎หิธาติ

ข้าแต่มหาราชเจ้า อาตมภาพได้มาในสำนักพระองค์นี้นานแล้ว อาพาธแลภัยอันตรายในหนทางแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มิได้มีแต่อาตมภาพ ก็แต่ว่าพระฤๅษีสหายของอาตมภาพรูปหนึ่งนั้น มีนามว่า “วาสุเทพ” ดังนี้ เธอสำนักอยู่ ยอดเขาอุจฉุบรรพต เหนือแม่น้ำพิงค์ขึ้นไป เธอนั้นใคร่ต่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งหลาย ได้เรียกอาตมภาพไปแต่พระนครนี้แล้ว

ลำดับนั้น อาตมภาพทั้งสองได้ช่วยกันสร้างพระนครอันเปนสถานที่จะบังเกิดพระธาตุของพระชินสีห์เจ้า เปนเมืองอันงามรื่นรมย์อย่างยิ่งสำเร็จลงแล้ว อาตมภาพ จึงได้มาเฝ้ามหาราชเจ้าในเมืองนี้

ราชา อาห.

พระราชาจึงถามว่า

โก นุ เต ปัจ์ฉโต อาคโต ทูตเวเสน ธีรก เอโส ตว ชโน หุต๎วา อุทาหุ อปเร ชนาติ.

ข้าแต่ท่านผู้ทรงธรรม ก็ใครเล่ามีเพศเปนทูตมาแล้วโดยเบื้องหลังพระผู้เปนเจ้า ผู้นั้น เปนชนของท่านฤๅ ฤๅว่าเปนชนอื่น

อถ นํ สุก์กทัน์โต อาห.

ลำดับนั้น พระสุกกทันต์ทูลว่า

เอโส ทูโต มหาราช วาสุเทเวน เปสิโต ตุม๎หากํ ปวุต์ตึ ญาตํุ มยา สัท์ธึ อิธาคโตติ.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้นั้นเปนทูต ที่พระวาสุเทพส่งมา เพื่อจะซับทราบข่าวคราวของพระองค์ได้มากับด้วยอาตมภาพ

ราชา ตัส์ส วจนํ สุต๎วา ตุฏ์ฐมานโส หุต๎วา อาสเนน เต นิมัน์เตสิ.

พระราชาได้ทรงทราบคำพระฤๅษีนั้น ก็มีพระทัยชื่นชมแล้ว นิมนต์พระฤๅษีด้วยอาสนะ

อาสเน นิสิน์โนโข ด้วยทูโต ปัค์คัย๎หิต๎วา สิรสิ อัญชลึ กัต๎วา ราชานํ ทิยัฑ์ฒคาถมาห.

ครั้นพระฤๅษีนั่งแล้วแลด้วยะทูตจึงประคองแลทำอัญชลี เหนือสีสะทูลพระราชา ด้วยคาถาบาทกึ่งแปลความว่า

ปาเท เทว นมัส์สามิ ราชิโน ภัท์ทมัต์ถุ เต ยํ กิญ์จิ รตนํ อัต์ถิ วาสุเทวัส์ส วิชิเต สัพ์พานิ เต อุปยัน์ตุ ธีตรํ เทหิ โน อิเสติ.

ข้าแต่เทวดาเจ้า ข้าพระบาทขอถวายบังคม ความเจริญจงมีแด่พระองค์พระเจ้ามหาราชเถิด รัตนอันใดอันหนึ่งมีอยู่ในแว่นแคว้นของพระวาสุเทพเจ้า สรรพรัตนทั้งปวงทั้งหลาย จะขอน้อมถวายแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เปนอิศวรเทวราช ขอพระบาทจงประทานพระธิดาแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ตัส์ส วจนํ สุต๎วา ราชา วิม๎หยมาโน หุต๎วา หสิตํ ปัต๎วา สุก์กทัน์ตมหาอิสึ โอโลเกต๎วา เอวมาห.

พระราชาได้สดับคำราชทูตนั้น ก็มีพระไทยพิศวงทรงแย้มสรวล แล้วทอดพระเนตรดูพระสุกกทันตมหาฤๅษีตรัสถามว่าอย่างนี้

กึ วเทสิ อิสิ ทูโต มม ธีตํุ อายาจติ อิทํ วัต์ถุญ์จ อิทํ นยํ นาหํ ชานามิ ธีรกาติ

ข้าแต่พระฤๅษี ทูตผู้นี้พูดอะไร มาขอธิดาข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เปนปราชญ์ ข้าพเจ้าไม่เข้าใจซึ่งวัตถุนี้ ซึ่งนัยนี้เลย

เอวํ วุต์เตปิ มหาสุก์กทัน์ตปัณ์ฑิโต อาห.

เมื่อพระราชาตรัสดังนี้แล้ว พระสุกกทันต์ผู้บัณฑิต จึงทูลว่า

ราชิน์ท โส ตํ ตว สัน์ติกาย ฐานัญ์จ วัต์ถุญ์จ วรํ สุรัม์มํ สัม์พุท์ธเสฏ์ฐัม์ปิ พ๎ยากรณํ สัม์มา กถิส์สามิ สุโณหิ เม ตํ สัม์พุท์ธเสฏ์เฐ ธรมานกาเล พาราณสิมหิ คคเณน อาคเต ปัต๎วาน ฐานํ สุคโต โอโรโห ฐัต๎วาน ตํ ตํ ปเทสํ วิโลกี อิทํ สัฏ์ฐานํ อภิรัม์มรูปํ มหัน์ตปุรํ ภวิส์สํ อนาคเต ยทา มยิ ปรินิพ์พุตัส๎มึ มัย๎หัญ์จ ธาตุ อิธ ปาตุภวีติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เปนจอมกระษัตริย์ ทูตนั้น ได้มาขอพระธิดาในสำนักพระองค์นั้น กล่าวว่าสถานก็ดี วัตถุก็ดี เปนของประเสริฐควรรื่นรมย์เปนอันดี แม้ถึงสมเด็จพระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์ไว้ก่อน อาตมภาพจักแถลงโดยชอบ ขอพระองค์จงสดับปวัติข่าวนั้นเถิด กาลเมื่อสมเด็จพระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยังมีพระชนม์อยู่ ได้เสด็จมาแล้วแต่เมืองพาราณสีโดยประเทศอากาศ ครั้นถึงสถานที่นี้แล้ว สมเด็จพระสุคตเจ้า ก็เสด็จลงมาประดิษฐานอยู่แล้ว ทอดพระเนตรแลไปมายังตำบลนั้นๆ มีพุทธฎีกาว่า “สถานที่นี้ สมควรเปนสถานอันรื่นรมย์ยิ่ง จะเปนพระบุรีใหญ่ปรากฏในอนาคตณกาลใด เราพระตถาคตปรินิพานแล้วพระธาตุของเราจักปรากฏในที่นี้”

เอวํ วัต๎วาน โส สัต์ถา อัก์กามิ สกัฏ์ฐานกํ ตโต ปัฏ์ฐาย ตํ ฐานํ สัพ์เพ เทวาภิปูชิตํ อิสิคณา ชฏาธารา อาคัน์ต๎วา ตํภิปูชยํุ อหัญ์จ วาสุเทโว จ อุโภ อัเม๎ห สมุค์คเต มาเปต๎วา นครํ ตัต์ถ โสภนํ สัพ์พสัม์ปทํ สัพ์พกามททํ รัม์มํ เทวานครสาทิสํ ชนตา ตัต์ถ เอกัม์ปิ กาเรตํุ ตํ น ยุต์ตกํ ตัส๎มา โส ฯ

(จบผูกหนึ่ง ผูก ๒ ไม่มี)

เมื่อสมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปสู่สถานของพระองค์ จำเดิมแต่นั้นมา สถานที่นั้น ก็ได้เปนสถานที่เทวามนุษย์ทั้งปวงบูชา ทั้งบรรดาหมู่ฤๅษีชฎาธรทั้งหลาย ก็ได้พากันมาบูชายิ่งซึ่งสถานตำบลนั้น ฝ่ายอาตมภาพกับพระวาสุเทพทั้งสองก็ได้พากันขึ้นไปแล้ว เนรมิตรเปนนครในที่นั้น ถึงพร้อมด้วยสิ่งทั้งปวงเปนอันงาม เปนรัมมนิยสถาน ให้ความใคร่สมปราถนาคล้ายกับเทวนคร ประชุมชนได้สโมสรในนครนั้น แม้ว่าการทำกรรมที่ไม่ควรแต่คนเดียว ก็มิได้มี เพราะเหตุนั้น ทูตนั้น

(หมดความในผูก ๑ เอาความในชินกาลมาลินีปกรณ์ผูก ๔ มาแทรก)

ตทา เต อุโภ ปัญ์จมัต์เตหิ ปริสสเตหิ สัท์ธึ ควยํ นาม ทูตํ ปาเหสํุ.

ในลำดับนั้น พระดาบศทั้งสองนั้น ได้ส่งทูตชื่อ ควยะ ไปกับด้วยบุรุษทั้งหลายประมาณ ๕๐๐ คน

ควโย คัน์ต๎วา ลวปุราธิปตึ จัก์กวัต์ติราชานํ วัน์ทิต๎วา วาสุเทวิสินา กถิตํ สัพ์พํ ปวุต์ตึ กเถสิ.

นายควยะทูต ครั้นไปถึงแล้ว จึงถวายอภิวาทพระบาทพระเจ้าจักรพรรดิราช พระเจ้ากรุงลวยุราธิบดี แล้วทูลประพฤติข่าวทั้งปวง ตามที่พระวาสุเทพฤๅษีกล่าวแล้ว

ควโย ตัต์ถ เอกํ วัส์สํ วสิต๎วา วุฏ์ฐวัส์โส จัก์กวัต์ติราชานํ อาปฺจ์ฉิ.

แลนาย ควยะ ได้สำนักอยู่เมืองลวบุราธิบดีนั้นพรรษาหนึ่ง ครั้นสิ้นฤดูฝนแล้ว จึงทูลลาพระเจ้าจักรพรรดิราชมา

จัก์กวัต์ติส์ส รัญ์โญ ธีตา รามัญ์ญนคเร ปเทสรัญ์โญ อัค์คมเหสี จัม์มเทวี นาม เตมาสคัพ์ภินี อโหสิ.

แลพระธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช ได้เปนพระอัคมเหษีของพระเจ้าประเทศราชในรามัญนคร พระนามกรว่าพระจัมมเทวี มีครรภ์ได้ ๓ เดือน

จัก์กวัต์ติราชา จัม์มเทวึ นาม อัต์ตโน ธีตรํ อิธ ราชภาวัต์ถาย ปาเหสิ.

พระเจ้าจักรพรรดิราชได้ส่งพระธิดาของพระองค์ทรงพระนามว่า จัมมเทวี เพื่อเปนพระราชาในเมืองนี้

สา จ สัพ์พปัญ์จสติเกน มหาปริวาเรน ปัญ์จสเตหิ จ ติปิฎกธรมหาเถเรหิ นาวํ อภิรุย๎หิต๎วา สัต์ตหิ มาเสหิ พิงคนทิยานุสาเรน อิธ อนุป์ปัต์ตา.

ก็แลพระนางจัมมเทวีนั้น ได้เสด็จสู่นาวาด้วยมหาบริวารทั้งหลายทั้งปวงประมาณ ๕๐๐ คน แลด้วยพระมหาเถรทั้งหลายผู้ทรงไตรปิฎกประมาณ ๕๐๐ รูป ไปโดยระหว่างทางแม่น้ำพิงคนที มีกำหนด ๗ เดือนเปนประมาณได้ถึงแล้วในเมืองนี้

วาสุเทโจ ว สุก์กทัน์โต จ สัพ์เพหิ นาคเรหิ สัท์ธึ ตํ จัม์มเทวี หริปุญ์เช นิสีทาเปต๎วา อภิสิญ์จึสุ.

ฝ่ายพระวาสุเทพแลพระสุกกทันต์ ก็พร้อมกับชาวพระนครทั้งปวง “หริปุญ์เช” เชิญพระนางจัมมเทวีนั้น ให้นั่งเหนือแผ่นทองแล้วอภิเศกแล้ว

ตทุปาทาย อิมัส์ส นครัส์ส หริปุญ์ชยัน์ติ นามํ ยาว อัช์ชัต์ตนา ปรัม์ปราภตัน์ติ.

แลคำว่า “หริปุญ์ชย” ดังนี้ เปนชื่อพระนครนี้ เรียกสืบๆกันมาจนทุกวันนี้ เพราะถือเอาเหตุที่พระนางนั่งอภิเศกเหนือแผ่นทองนั้น

สา จัม์มเทวี สัต์ตาหํ อิธ อนุป์ปัต์ตา มาฆปุณ์ณมิยํ เท๎ว ปุต์เต วิชายิ เชฏ์ฐปุต์โต มหายโส กณิฏ์โฐ อิน์ทวโร อโหสิ อิน์ทวรัส์ส อนัน์ตยโสติปิ นามํ.

พระนางจัมมเทวีนั้น ได้ถึงเมืองนี้แล้วได้ ๗ วัน ณวันมาฆปุณณมี ก็ประสูตรพระราชบุตรสองพระองค์ พระเชฏฐบุตรพระนามว่ามหายศ พระกนิฐบุตรพระนามว่าอินทวรแล แต่พระนามของพระอิทวร เรียกกันว่าพระอนันตยศบ้าง

เตสํ สัต์ตวัส์สิกกาเล มหายสํ รัช์เช อภิสิญ์จิ.

ครั้นกาลพระกุมารทั้งสองได้ ๗ วรรษา พระนางก็อภิเศกพระมหายศให้ครองราชสมบัติ

จัม์มเทวี ปน พุท์ธสาสเน อเนกกุสลสัม์ภาเร อุปจินิต๎วา นครคุต์ติกานํ เทวานํ ปุญ์ญัญ์จ ธัม์มิกสัก์การัญ์จ อทาสิ.

ฝ่ายว่าพระนางจัมมเทวี ได้สระสมอเนกกุศลสมภารทั้งหลายในพระพุทธสาสนา แลได้ถวายส่วนบุญกุศล กับ ธัมมิกสักการพลี แก่เทวดาผู้รักษาพระนครทั้งปลาย

‘ตัส์สา ปุญ์ญานุภาเวน เทวตาโย เดชวัน์ตํ หัต์ถึ มังคลวารณัต์ถาย อานยึสุ.

เทวดาทั้งหลายได้นำมาซึ่งมงคลวารณหัตถีอันมีเดช เหตุบุญญานุภาพของพระนางเจ้านั้น

ตทา อสีติสหัส์สโยธปริวาริโต ติลังโก นาม มิลัก์ขราชา หริปุญ์ชยัส์ส คัณ๎หนัต์ถาย อาคโต.

ณกาลครั้งนั้น พระเจ้ามิลักขราชา พระนามว่าติลังก เสด็จมาแวดล้อมด้วยโยธา ๘๐๐๐๐ ยกมาเพื่อจะถือเอาเมืองหริภุญชัย

คชวรัส์ส ขัน์เธ มหายโส มัช์เฌ อิน์ทวโร หัต์ถิปาเล ปัจ์ฉิมาสเน นิสีทิต๎วา อเนกโยเธหิ ปริวาริโต ปัจ์ฉิมท๎วาเรน ยุช์ฌนัต์ถาย นิก์ขมิ.

พระเจ้ามหายสก็เสด็จทรงฅอช้างอันประเสริฐ พระอินทวรประทับหลังช้าง ควาญช้างถือท้ายช้าง แล้วก็แวดล้อมอเนกโยธา ยกออกมาโดยปัจฉิมทวารเพื่อจะยุทธนาการ

ตทา มิลัก์ขราชา เสตกุญ์ชรัส์ส ทัน์ตัค์เค รัต์ตรํสีสมัช์ชลํ ทิส๎วา มรณภยภีโต ยุท์ธภูมิยํ ฐาตํุ อสัก์โกน์โต ปลายิ.

ลำดับนั้น พระเจ้ามิลักราชได้ทอดพระเนตรเห็นรัศมีปลายงาแห่งพระยาช้างเผือกโพลงรุ่งเรือง ก็บังเกิดความกลัวแต่มรณภัย ไม่สามารถจะทรงตนอยู่ได้ในยุทธภูมิ จึงได้ปลาสนาการหนีไป

สัพ์เพ จ โยธา ทิโสทิสํ ปลายึสุ.

ฝ่ายโยธาทั้งหลายทั้งปวงต่างก็พากันหนีไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่

ตโต ปัฏ์ฐาย เขมํ นิรัพ์พุทํ หริปุญ์ชยํ อโหสิ

จำเดิมแต่นั้น เมืองหริภุญชัยก็เกษมปราศจากภัยอันตรายต่อมา

หริปุญ์ชยุป์ปัต์ติกาโล ปริปุณ์โณ.

อันนี้ เปนอุบัติกาลแห่งเมืองหริภุญชัย

จบบริบูรณ์ แล ๚ะ

จัม์มเทวิยา ปุต์โต ปน อิน์ทวโร วิสํุ กาเรตุกามา หุต๎วา อัต์ตโน รุจึ มาตุยา กเถสิ.

ฝ่ายว่า พระอินทวรราชบุตรของพระนางจัมมเทวี ปราถนาจะใคร่ครองราชสมบัติให้ต่างด้าวออกไป จึงได้ทูลแด่พระมารดาตามชอบใจตน

สา ตํ วาสุเทวัส์ส อิสิโน กถาเปสิ.

พระนางก็ให้ราชบุตรไปแถลงการแก่พระวาสุเทพฤๅษี

วาสุเทโว เอตทโวจ หริปุญ์ชยัส์ส ปุรัต์ถิมทิสาภาเค สารนทีตีเร ชุหปัพ์พเต พุท์ธชฏิโล นาม อิสิ ปติวสติ ตโต ปรํ ลุท์ธปัพ์พเต เอโก เขลางโค นาม ลุท์ธโก ปติวสติ ตโต ปรํ วังกนทีติเร สุภปัพ์พเต สุพ๎รห๎มา นาม อิสิ ปติวสติ อิน์ทวโร สเจ รัช์ชํ กาเรตุกาโม คัน์ต๎วา พุท์ธชฏิลํ วัน์ทิต๎วา ตโต ตโต ปรํ คัน์ต๎วา เขลางคลุท์ธกํ มัค์คุท์เทสกํ กัต๎วา ตโต ปรํ คัน์ต๎วา สุพ๎รห๎มิสึ วัน์ทิต๎วา ตเมว นครํ ยาจตูติ.

พระวาสุเทพจึงได้กล่าวกะพระอินทวรนั้นว่า พระฤๅษี ชื่อพุทธชฏิล ได้สำนักอยู่เหนือเขาชุหบรรพต ใกล้ฝั่งแม่น้ำสารนที ด้านบุริมทิสาภาคแห่งเมืองหริภุญชัยเบื้องน่าแต่นั้นไป พรานไพรคนหนึ่งชื่อ เขลางค์สำนักอยู่ใกล้เขาลุทธบรรพต ต่อนั้นไปอิกพระดาบศชื่อสุพรหมฤๅษีสำนักอยู่ณเขาสุภบรรพตใกล้ฝั่งแม่น้ำวังกนที ถ้าหากว่าพระอินทวรปราถนาจะครองราชสมบัติไซ้ จงไปอภิวันท์พระพุทธชฏิลแล้ว ลำดับนั้น จงไปต่อไปแล้วให้พรานเขลางค์เปนมัคคุทเทสพา ต่อนั้นไปถวายอภิวันท์พระสุพรหมฤๅษีแล้ว จึงขอนครกะท่านเถิด

ตํ สุต๎วา อิน์ทวโร อัต์ตโน มาตรํ วัน์ทิต๎วา อัต์ตโน ปริวารํ อาทาย วาสุเทวิสินา วุต์ตนิยาเมน คัน์ต๎วา สุพ๎รห๎มิสึ วัน์ทิต๎วา นครํ ยาจิ.

พระอินทวรได้ฟังคำพระวาสุเทพ ก็ถวายอภิวาทพระมารดาของตนแล้ว พาบริวารของตนไปโดยนิยมอันพระวาสุเทพกล่าวแล้ว ครั้นแล้วจึงอภิวาทพระสุพรหมฤๅษีขอเมือง

ตโต ปรํ เขลางคลุท์ธเกน สัท์ธึ สุพ๎รห๎มมิสิ เอกํ เขมนครํ มาเปต๎วา อิน์ทวรัส์ส อทาสิ.

ลำดับนั้น พระสุพรหมฤๅษีกับนายเขลางค์พรานไพร ก็ได้สร้างเมืองหนึ่งซึ่งเปนนครอันเกษมให้แก่พระอินทวร

ตทุปาทาย อิมัส์ส นครัส์ส เขลางคัน์ติ นามํ อโหสิ.

อาศรัยเหตุนั้น ชื่อพระนครนั้น จึงเรียกว่า “เขลางค์” กะนี้แล

ตโต ปรัส๎มึ กาเล อิน์ทวโร มาตรํ วัน์ทิตุกาโม อัต์ตโน มาตุยา ตัต์ถ อาคมนัต์ถาย เอกํ อมัจ์จํ อาณาเปสิ.

ในกาลเบื้องน่าต่อไป พระอินทวรก็ใคร่จะถวายอภิวันท์พระมารดา จึงบังคับให้อำมาตย์ผู้หนึ่งไปเชิญพระมารดาของตนมาในนครเขลางค์นั้น

โส หริปุญ์ชยํ อาคัน์ต๎วา จัม์มเทวิยา สัพ์พํ ปวุต์ตึ อาโรเจสิ

อำมาตย์นั้น ได้มาสู่เมืองหริภุญชัย ทูลประพฤติเหตุทั้งปวงแก่พระนางจัมมเทวี

สา ตุฏ์ฐหัฏ์ฐา อิน์ทวรํ ปัส์สิตุกามา หริปุญ์ชยา มหาปริวาเรน ปิก์ขมิต๎วา อนุก์กเมน เขลางคนครมนุป์ปัต์ตา เขลางคนคเร อิน์ทวรํ มหัน์เตน อิส์สริเยน อภิสิญ์จิ.

พระนาง ก็มีพระหฤทัยยินดี ปราถนาจะใคร่พบพระอินทวร จึงเสด็จออกจากเมืองหริภุญชัย ด้วยมหาบริวารไปโดยลำดับได้ถึงแล้วซึ่งเมืองเขลางนคร แล้วได้อภิเศกพระอินทวรในเมืองเขลางค์ด้วยมหันตอิศริยยศ

อิน์ทวรราชา ปน อัต์ตโน มาตุยา มหัน์ตํ สัก์การํ วัน์ทิต๎วา สัม์โมทิ.

ฝ่ายว่าพระอินทวรราช ได้ถวายอภิวาทพระมารดาด้วยมหาสักการให้บรรเทิงพระหฤไทยแล้ว

สา จ เขลางคนคเร ฉมาเส วสิต๎วา สุพ๎รห๎มิสึ อาปุจ์ฉิต๎วา หริปุญ์ชยํ ปัจ์จาคมิ.

พระนางนั้นประทับอยู่ในเมืองเขลางคนครตลอด ๖ เดือนแล้ว ก็อำลาพระสุพรหมฤๅษีกลับมาสู่เมืองหริภุญชัย

จัม์มเทวี ปน อาคัน์ต๎วา อเนกกุสลสัม์ภาเร กัต๎วา เท๎ว มาเส วสิต๎วา อนิจ์จตํ คตา.

ก็แลพระนางจัมมเทวีนั้นกลับมาแล้วได้สร้างอเนกกุศลสมภาร อยู่ได้ประมาณ ๒ เดือนก็ทิวงคต

มหายโส มหาราชา ปสัน์โน รตนัต์ตเย รัช์ชํ อสีติวัส์สานิ กาเรสิ หริปุญ์ชเย.

ฝ่ายพระมหายศมหาราชเจ้า ก็ได้เลื่อมใสแล้ว ในพระรัตนไตรย ได้เสวยราชอยู่ในเมืองหริภุญชัย ได้ ๘๐ พรรษา

ยัส๎มึ ปน วัส์เส วาสุเทโว อิสิ หริปุญ์ชยํ มาเปสิ ตโต ทุติยวัส์เส จัม์มเทวี กตาภิเสกา.

พระวาสุเทพฤๅษี ได้เนรมิตรเมืองหริภุญชัยในปีใดเล่า แต่กาลนั้นในปีที่ ๒ พระจัมมเทวีได้อภิเศกแล้ว

สา จ สยํ หริปุญ์ชเย สัต์ตวัส์สานิ รัช์ชํ กาเรสิ.

พระนางนั้นได้เสวยราชอยู่ในเมืองหริภุญชัย ได้ ๗ พรรษา

ตโต ปรํ มหัน์ตยโส อสีติ วัส์สานิ รัช์ชํ กาเรสิ.

ลำดับแต่นั้นมา พระมหันตยศเสวยราชได้ ๘๐ พรรษา

จัม์มเทวิยา อุป์ปัต์ติกาโล ปริปุณ์โณ.

อุบัติกาลแห่งพระจัมมเทวี จบบริบูรณ์ แล ๚ะ

(จบความในชินกาลมาลินีปกรณ์)

  1. ๑. อิต์ถิวิค์คห ทีจะหมายความว่า เปนหม้าย

  2. ๒. หนังสือ เปน จัมมเทวี ก็มี ธัมมเทวี ก็มี แต่เปน จามเทวี โดยมาก

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ