จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๔

เตนโข ปน สมเยน ลัพ์โภราชา อัต์ตโน ปุต์ตัส์ส พาลตรัส์ส มหตํ พลนิกายํ สมาทาย ปลายัน์ตัส์ส โทมนัส์ส ปัต์โต เอกํ ปุต๎ริยนามกํ อมัจ์จํ อัต์ตอุปัฏ์ฐากมาคตํ อาห

ก็สมัยนั้น พระเจ้าละโว้ ให้รวบรวมพลนิกายหมู่ใหญ่ของพระราชบุตรพระองค์ซึ่งหนีกลับมาได้แล้ว ก็เสียพระไทย จึงดำรัสกับอำมาตย์ผู้หนึ่ง ชื่อว่าปุตริยอำมาตย์ ซึ่งได้อุปฐากพระองค์มา

ตาต อมัจ์จ อหํ อติวิย สัช์ชัป์ปัต์โตม๎หิ อัม๎หากํ ปน พลนิกายา อาทิต์ตรัญ์โญ พลนิกายโต อติเรกตรา โหน์ติ กึสัก์ขิส์สสิ หริปุญ์เชย์ยนิค์คหํ กาตํุ จ อาทิต์ตราชํ อัม๎หากํ วเส กาตุน๎หิ.

ว่าดูกรพ่อปุตริยอำมาตย์ เราอายนัก พลนิกายของเรามากกว่าพลนิกายของพระเจ้าอาทิตยราช ท่านจักสามารถข่มขี่หริปุญชัยนคร กระทำพระเจ้าอาทิตยราชให้อยู่ในอำนาจเราได้หรือไม่

โส อาห สัก์โกมิ เทวาติ

ปุตริยอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าสามารถ

เตนหิ กึ ต๎ว ลัท์ธํุ วัฏ์ฏตีติ

ถ้าดังนั้นท่านจะต้องประสงค์อะไรบ้าง

เทว นครนิค์คหํ นาม หัต์ถิอัส์สสุรโยธาพลนิกาย สัต์ติโตมรสทรสัท์ทวัน์เต ถามคตุตรพหุตเร มยาลัท์ธํุ วัฏ์ฏตีติ อาห

ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ชื่อว่าการข่มขี่พระนคร (ตีบ้านเมือง) สมควรที่ข้าพระพุทธเจ้าจะได้รับพระราชทานช้างม้าสุรโยธาพลนิกายแลหอกยาวหอกซัด แลเครื่องดุริยางคดนตรีที่มีเสียงดังสนั่น ให้มีกำลังมากกว่าข้าศึก

ราชา สาธูติ วัต๎วา พลนิกาเย สัน์นิปาเตต๎วา ตัส์ส สัก์การํ กัต๎วา ราชกุก์กุฏภัณ์ฑํ ทัต๎วา หริปุญ์เชย์ยนครํ ปุนาคัจ์ฉัน์ตํ อาณาเปสิ

พระเจ้าละโว้ดำรัสว่าดีแล้ว จึงให้ประชุมพลนิกายพร้อมกันแล้ว ก็กระทำสักการะพระราชทานเครื่องราชกุกกุฏภัณฑ์แก่ปุตริยอำมาตย์นั้น แล้วจึงโปรดให้ยกมายังหริปุญชัยนครอิก

โสปิ พลนิกาเย คเหต๎วา อาคัน์ต๎วา คิรีนํ ปัพ์พตานัญ์จ อติก์กมิต๎วา หริปุญ์เชย์ยเขต์ตคณํ ปัต๎วา ปัต๎วาน นครารัก์ขกาเทวตานํ อานุภาเวน สัพ์เพเต มัค์คมุฬ๎หา หุต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ อปัส์สิต๎วา อชานิต๎วา อุต์ตราภิมุขํ กัต๎วา ปัพ์พตปาเทน คัน์ต๎วา ติรสารินทีติเร สารเวท์ธนครํ ปาปุณึสุ ตัต์ถ สัม์ปัต์ตกาเลเยว มัค์คมุฬ๎หาติ ญัต๎วา ปฏินิวัต์ติต๎วา ปุนาคัน์ต๎วา เอกํ อุทกนทึ ปัต๎วา ตัส์สา ปัจ์ฉิมทิสาภาเคน อาคัน์ตุกามา ตํ โอตริต๎วา มุญ์ชติณสัณ์ฐหนํ อุปริมัท์ทัน์ตา อัก์กมัน์ตา ชังเฆหิ อุรูหิ นาภีหิ นิมุค์คา หุต๎วา

ส่วนปุตริยอำมาตย์นั้น ก็พาพลนิกายข้ามภูเขาเล็กภูเขาใหญ่ มาถึงเขตรแดนหริปุญชัยนคร พอถึงแล้วพลนิกายทั้งปวงก็พากันหลงทาง ไม่เห็นไม่รู้จักหริปุญชัยนคร จึงบ่ายหน้าเฉภาะต่อทิศอุดรไปตามเชิงเขาจนถึงสารเวทธนคร ใกล้แม่น้ำติรสารีนที ด้วยอานุภาพของเทพยดาที่รักษาพระนคร พอถึงที่นั้นแล้วก็รู้สึกว่าหลงทาง จึงพากันกลับมาอิกถึงแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง ปราถนาจะมาทางทิศาภาคข้างปัจฉิมทิศของแม่น้ำน้อยนั้น จึงข้ามลงไปยังที่นั้น ย่ำเหยียบบนสหนุ่น อันปูลาดไปด้วยหญ้าปล้อง ก็พากันจมลงไปเพียงแฆ่งบ้าง เพียงขาบ้าง เพียงสะดือบ้าง

อถ เน ตีเร ติฏ์ฐัน์ตา ชนตา ทิส๎วา โอสกิถ โอสกิถาติ คัจ์ฉถ คัจ์ฉถาติ วทึสุ

ครั้งนั้นหมู่คนที่ยืนอยู่ริมฝั่งน้ำ ได้เห็นพลนิกายเหล่านั้นแล้ว บางพวกกล่าวว่าท่านทั้งหลายจงถอยกลับจงถอยกลับ บางพวกกล่าวว่าท่านทั้งหลายจงไปจงไป ดังนี้

เอวํ วุต์ตัต์ตา ตํ ขุท์ทกมาติกํ ปริวัต์ติมาติกํ นาม วุจ์จติ ตัม์ปิ ยาวัช์ชัท์ทนา ปากฏํ

เพราะเหตุที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คนจึงร้องเรียกเหมืองน้อยนั้น ให้ชื่อว่า ปริวัตติมาติกา เหมืองเปนที่กลับมาดังนี้ ถึงเหมืองนั้นก็ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

เตสุ ตํ อติก์กมิต๎วา ปัจ์ฉิมทิสาภาคาภิมุขํ อาคัจ์ฉัน์เตสุ พิงคมหานทีตีรํ ปาปุณึสุ

ครั้นพลนิกายเหล่านั้นล่วงเลยที่นั้นมาแล้ว ก็บ่ายน่าเฉพาะต่อปัจฉิมทิศาภาคมาถึงฝั่งแม่น้ำพิงคมหานที

ตทา เต มุฬ๎หภาวํ ญํต๎วา อัญ์ญมัญ์ญํ วทึสุ อัม์โภ หริปุญ์เชย์นครํ พิงคนทิยา ปัจ์ฉิมทิเส ติฏ์ฐติ มยํ พิงคนทึ อติก์กมิต๎วา ปัส์สิส์สาม หริปุญ์เชยยัน์ติ

ในกาลนั้นพลนิกายเหล่านั้นรู้สึกว่าหลงทาง แล้วจึงเจรจากันว่า พ่อเอ๋ย หริปุญชัยนครตั้งอยู่เบื้องปัจฉิมทิศ แห่งแม่น้ำพิงคนที เราทั้งหลายล่วงเลยแม่น้ำพิงคนทีไปแล้วก็จะแลเห็นหริปุญชัยนคร

อถ เต สัพ์เพ พิงค์ โอตริต๎วา ปัจ์ฉิมํ วุย๎หัน์ติ

ทีนั้นพลนิกายเหล่านั้นก็ข้ามแม่น้ำพิงคนที ลอยล่องลงไปข้างปัจฉิมทิศ

นทีมัช์เฌ สัม์ปัต์ตกาเลเยเว กัส์เสกัส์สจิ ปุต์โต อุทกวาเหน อติวาหิตัต์ตา นิมุค์คา หุต๎วา มรัน์ติ

พอถึงกลางแม่น้ำ บุตรของคนคนหนึ่งก็จมน้ำตาย เพราะสายน้ำเชี่ยวยิ่งนัก

เต ญาตกา อัญ์ญมัญ์ญํ อปัส์สัน์ตา โรทัน์ตา ปุต์โต เม อิมัส๎มึ มรณํ ปิตา เม อิมัส๎มึ มรณํ คัจ์ฉัน์ตีติ

ญาติทั้งหลายไม่แลเห็นกันก็ร้องไห้ ว่าบุตรของเราว่าบิดาของเราพากันไปตายในแม่น้ำนี้

เตน ตํ อัณ์ณวํ อัณ์ณวรหโทติ วุจ์จัน์ติ ยาวัช์ชัต์ตนา นามา ปากฏา โหน์ติ

ด้วยเหตุนั้นคนทั้งหลายจึงร้องเรียกห้วงน้ำนั้นว่า อัณณวรหทะ ห้วงน้ำทเลดังนี้ ชื่อของห้วงน้ำนั้นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

เต พิงค์ อติก์กมิต๎วา ปุรโต คัน์ต๎วา เอกํ ขุท์ทกมาติกํ คัม์ภีร์ตรํ ปัต๎วา อุต์ตานาติ สัญ์ญาย โอตรัน์ตา ตัส์สาย คัม์ภีรตาย เต โอสีทัน์ติ มรัน์ติ

พลนิกายทั้งหลายเหล่านั้นล่วงเลยพิงคนทีไปข้างน่าก็บันลุถึงเหมืองน้อยอันลึกอย่างยิ่งแห่งหนึ่ง สำคัญว่าตื้นก็พากันข้ามไป พลนิกายเหล่านั้นก็จมลงตาย เพราะเหมืองน้อยนั้นลึก

คัม์ภิรัน์ติ คัม์ภีรตรัน์ติ มหาสัท์ทํ กโรน์ติ กัม์โพชภาสาย วาจเก พิงคาช๎รัจ์จัน์ติ

พลนิกายทั้งหลาย ร้องด้วยเสียงอันดังว่า เหมืองน้อยนี้ลึก เหมืองน้อยนี้ลึกนักดังนี้ ในคำพูดของภาษาชาวกัมโพชว่าพิงคาชรัจดังนี้

เตน ตโต ปภูติ ตํ มาติกํ ช๎รัจ์จัน์ติ วุจ์จัน์ติ

ด้วยเหตุนั้น จำเดิมแต่กาลนั้นมา คนทั้งหลายร้องเรียกเหมืองน้อยนั้นว่า ชรัจ ดังนี้

ตํ อติก์กมิต๎วาาว ตัส์สา ปัจ์ฉิมทิสาภาเคน คัน์ต๎วา มุฬ๎หิต๎วา ทัก์ขิณทิสายํ คมึสุ ปุนตํ อติก์กมิต๎วา ตัส์สา ปุรัต์ถิมายํ เอกํ ปเทสํ สมตลํ ทิส๎วา ตัต์ถขัน์ธาวารํ นิวาสยึสุ

พลนิกายทั้งหลาย ครั้นล่วงเลยเหมืองน้อยนั้นไปแล้ว จะไปข้างปัจฉิมทิศของเหมืองน้อยนั้นก็หลงไปเสียข้างทักษิณทิศ แล้วล่วงเลยไปอิก จึงได้เห็นประเทศที่ตำบลหนึ่ง ข้างบุริมทิศของเหมืองน้อยนั้น เปนที่มีพื้นเสมอ ก็ตั้งค่ายอาไศรยอยู่ในที่นั้น

ขัน์ธาวารํ นาม กัม์โพชภาสาย จาม์มนัน์ติ วุจ์จัน์ติ

คนทั้งหลายร้องเรียกชื่อค่ายนั้น ด้วยภาษาชาวกัมโพชว่า จามนะ ดังนี้

เตน หริปุญ์เชย์ยชนตาปิ จาม์มนัน์ติ วุจ์จัน์ติ ยาวัช์ชัต์ตนา ปากฏา

ด้วยเหตุนั้น ถึงพวกคนชาวหริปุญชัยนคร ก็ร้องเรียกว่าจามนะ ดังนี้ ปรากฏมาจนทุกวันนี้

เต ตัต์ถ วสัน์ตาว นครํ อารัก์ขกเทวตานุภาเวน วิมุฬ๎หา หุต๎วา ทิสานุทิสํ นชานัน์ติ เตสํ ปาเฐย์ยัม์ปิ ขยํ คโต อุก์กัณ์ฐิตกโทมนัส์สา หุต๎วา ติฏ์ฐัน์ติ

พลนิกายเหล่านั้น เมื่ออยู่ในค่ายนั้น ก็หลงไปไม่รู้ว่าทิศน้อยทิศใหญ่ ด้วยอานุภาพของเทพยดาที่รักษาพระนคร ครั้นสิ้นเสบียงอาหารลงแล้ว ก็เกิดความกระสรรโศกเศร้าเสียใจอยู่ในที่นั้น

ตทา อาทิต์ตราชา ตํ สาสนํ สุต๎วา ชยเภรึ จาราเปต๎วา สกพลนิกาเย สมูเหต๎วา นครโต นิก์ขมิต๎วา เตหิ สัท์ธึ ยุชฌาการํ ทัส์เสสิ

ในกาลนั้นพระเจ้าอาทิตยราชได้สดับทราบคดีเรื่องนั้นแล้ว ก็ให้พิฆาฏพิไชยเภรีป่าวร้องให้ประชุมพลนิกายของพระองค์ เสด็จออกจากพระนครแล้ว สำแดงพระอาการว่าจะกระทำการยุทธนาการ กับด้วยชนทั้งหลายเหล่านั้น

ตมัต์ถํ ทัส์เสน์โต อาห

พระสังคาหิกาจารย์ เมื่อจะสำแดงเนื้อความนั้น จึงได้กล่าวเปนพระคาถาไว้ดังนี้

ตโต อาทิต์ตราชาปิ หริปุญ์เชย์ยปากโฏ สุณิต๎วา ปุต๎ริยามัจ์จํ พลคาหํ อิธาคตํ ตุฏ์ฐหัฏ์โฐ ปโมทัน์ติ ชยเภรี นทาปยิ สุรโยเธ สมูเหต๎วา หัต์ถี อัส์สา รถา ปติ นครัม๎หา ภินิก์ขมา อิน์โทราชาว สูรกํ มิคคณํ ปวิสัน์โต อสํภิโตว เกสโร ปัต๎วาน สมิปํ ฐานํ หเร พาลชเน ตุเม๎ห กิมัต์ถาย อิธาคตา อกิจ์จการทุเมธา มัจ์จุมุเข วสํ คตา เกน ตุเม๎ห ปยุญ์เชติ โกวา ตุม๎หากํ เชฏ์ฐโกติ

ลำดับนั้น พระเจ้าอาทิตยราชเปนพระราชาปรากฏในหริปุญชัยนคร ครั้นได้สดับว่าปุตริยอำมาตย์พาพลนิกายมาในที่นั้น ก็ยินดีรื่นเริงบันเทิงพระราชหฤไทย จึงให้พิฆาฏพิไชยเภรีบันลือลั่น ให้ประชุมสุรโยธาช้างม้าแลรถคนเดินเท้าออกจากพระนคร ประดุจดังพระอินทรเทวราชอันเสด็จเข้าไปใกล้หมู่อสูร ฤๅประดุจดังพระยาไกรสรราชสีห์อันองอาจเข้าไปใกล้ฝูงเนื้อฉนั้น เสด็จเข้าไปถึงที่ใกล้แล้วจึงดำรัสอย่างนี้ว่า ดูกรคนพาลเหล่าร้ายทั้งหลาย ท่านทั้งหลายมาในที่นี้จะต้องประสงค์อะไร ท่านทั้งหลายมีปัญญาชั่วช้าไม่รู้จักกิจการอะไร ไปแล้วยังอำอาจในปากพระยามัจจุราช ฤๅใครเปนเจ้านายของท่านใช้ท่านมาด้วยเหตุอะไร

ตทา ปุต๎ริยมัจ์โจ โส มรเณนาภิตัช์ชิโต ยุท์ธาการํ น ชานาติ ทูตํ ปาเหสิ ภูมิปํ กัม์โพชาติ มยํ เทว ทูตํ ปาเหสิ อิท์ธิมา อิท์ธูปายํ น ปัส์สาม ตุม๎หากํ ทาสมาคตา อหัม์ปิ อมัจ์โจ รัญ์โญ ปุต๎ริยนามาติ ปากโฏ กิจ์จากิจ์จกเร โปเส สัพ์พกัม์เม ปยุญ์ชิโตติ.

ในกาลนั้น ปุตริยอำมาตย์นั้น อันมรณภัยคุกคามอย่างยิ่งแล้ว ไม่รู้ที่ว่าจะกระทำยุทธนาการได้ จึงส่งทูตไปกราบทูลพระเจ้าอาทิตยราชภูมิบาลว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายคือชาวกัมโพช พระเจ้าละโว้ผู้มีฤทธิ์ใช้มาให้เปนทูต ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะได้เห็นอุบายในการกระทำฤทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็หามิได้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาเปนข้าของพระองค์ ส่วนข้าพระพุทธเจ้าเปนอำมาตย์ของพระเจ้าละโว้ ปรากฏชื่อว่าปุตริยอำมาตย์ เปนผู้ดูแลให้ราชบุรุษที่กระทำราชกิจน้อยใหญ่ประกอบการงานทั้งปวง

ทูตัส์ส วจนํ สุต๎วา ทิต์ตราชา อิทํ พ๎รวิ เตนหิ อภยํ เทมิ ตุม๎หากํ วสมาคตํ สปถํ วจนํ สุต๎วา สัจ์จภาวํ วิชานิตํุ.

พระเจ้าอาทิตยราช ครั้นได้สดับคำทูตกราบทูลแล้วจึงดำรัสคำนี้ว่า ถ้ากระนั้นเราจะให้อภัยแก่ท่านทั้งหลายที่มาอยู่ใต้อำนาจจะได้ฟังคำสาบาล จะได้รู้ประจักษ์ว่าท่านทั้งหลายเปนคนซื่อสัตย์

กัม์โพชา สาธุ วัต๎วาน อกํสุ สปถูชุกํ สัจ์จภาวํ คเหต๎วา โส อิทํ เตสํ ปุน พ๎รวิ อัญ์ชกัม์มํ อนิสารํ มหาเมต์ตึ กโรม๎หเส.

ชาวกัมโพชทั้งหลายรับพระราชบัญชาว่า สาธุ แล้วก็กระทำการสาบานแสดงความซื่อสัตย์ถวาย ส่วนปุตริยอำมาตย์รับเอาความสัตย์แล้ว ก็กล่าวคำนี้แก่ชาวกัมโพชเหล่านั้นอิกว่า เราทั้งหลายจงกระทำไมตรีจิตรอย่างใหญ่ ให้เปนกรรมดุจยาหยอดอย่าให้ปราสจากสารประโยชน์

ตทา ปุต๎ริยมัจ์โจ โส ปัณ์ณาการํ สพาหนํ นิยาเทต๎วาน สัพ์พัน์ตํ ตัส์ส อาทิต์ตราชิโน วัน์ทิต๎วา ตํ ขมาเปต๎วา นิสีทิ อภยํ สุขํ.

ครั้งนั้น ปุตริยอำมาตย์ ก็ถวายบรรณาการกับพาหนะทั้งสิ้นแก่พระเจ้าอาทิตยราช แล้วถวายบังคมให้พระเจ้าอาทิตยราชให้โปรดพระราชทานโทษ แล้วก็นั่งอยู่เปนศุขไม่มีภัย

ตทา ราชา ปโมทิต๎วา ชยเภรึ นทาปยิ อุก์กัฏ์ฐิกํ การาเปสิ สัต์ตัก์ขัต์ตํุ ชยัน์ตีติ.

ในกาลนั้น พระเจ้าอาทิตยราช ก็รื่นเริงบันเทิงพระราชหฤไทย แล้วให้บันฦๅกลองไชยเภรีโห่ร้องเอาชัยถึง ๗ ครั้ง

ตโต ราชาว อาทิต์โต จิน์เตน์โต กัม์พุเช พเล สัน์ตัป์เปต๎วา ปณีเตหิ อาหาเรหิ วัต์ถาทีหิ เนย์ยัน์ติ เต วสาเปน์ติ หริปุญ์เชย์ยปัจ์ฉิเม สกยสํ ปากฏัต์ถ กาเรต๎วา เทติ กัม์พุเช มหัพ์พเลหิ กัต์ตตา มหัพ์พลา ติ นามโส.

ลำดับนั้น พระเจ้าอาทิตยราชทรงพระจินตนาการอยู่ จึงโปรดเกล้าให้เลี้ยงดูพวกพลชาวกัมโพชเหล่านั้น ให้อิ่มหนำสำราญด้วยอาหารอันประณีต แล้วพระราชทานสิ่งของต่างๆ มีผ้านุ่งห่มเปนต้น แล้วนำไปให้อยู่หลังเมืองหริปุญไชยนคร กระทำให้ปรากฏพระยศของพระองค์ แล้วพระราชทานให้ชาวกัมโพช ชื่อว่ามทัพพละ เพราะพระองค์กระทำด้วยพลหมู่ใหญ่

ตทา เตปิ จ กัม์โพชา พ๎ยาธิโรเคหิ ปีฬิโต ติพ์พโรเคหิ มเต เต ตัต์ติน์ทิเว นิรัน์ตเร กเฬวรา พหู โหน์ติ น จ สัก์โกน์ติ ทัย๎หเร เอกัส๎มึ ขุท์ทนทิยํ ฉัฑ์เฑน์ติ เต ทิเนทิเน ชนตา ตํ ชิคุจ์ฉัน์ติ เตน ชิคุจ์ฉตินามสา ยาว สาช์ชตนา โหติ หริปุญ์เชย์ยปัจ์ฉิเม

ส่วนพวกชาวกัมโพชเหล่านั้นก็เกิดพยาธิโรคเบียดเบียนขึ้น พากันล้มตายด้วยโรคอันแรงร้ายอยู่เนืองๆ ทุกคืนทุกวัน จนมีชากศพมากไม่อาจเผากันได้ ก็ทิ้งลงในแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง ทุกวันทุกวัน คนทั้งหลายก็เกลียดแม่น้ำน้อยนั้น เพราะเหตุนั้น แม่น้ำน้อยนั้นจึงได้มีชื่อว่า ชิคุจ์ฉ ต่อมาจนทุกวันนี้ มีอยู่ข้างหลังเมืองหริปุญชัยนคร

อาทิต์ตราชา อัส์โสสิ ตํ ปวุต์ตึ ทยาลุโก กัม์โพชพลนิกายํ อานยิต๎วา คเนย์ยเก ตัต์ถ คัม์เม วสาเปสิ เตน กัม์โพชคามตูติ.

พระเจ้าอาทิตยราช ได้สดับประพฤติเหตุนั้นแล้ว ก็มีพระไทยเกิดความสงสารมาก จึงให้พาพวกพลนิกายชาวกัมโพชมาให้อยู่ในหมู่บ้านชื่อว่าคเนย์ยกะคานในหริปุญชัยนครนั้น เพราะเหตุนั้น หมู่บ้านนั้น จึงเป็นบ้านชาวกัมโพช

ตโต อปรภาเค เต สัพ์เพ ชนตา อัต์ตโน ปุต์ตทาเร อนุส์สรัน์ตา อุก์กัณ์ฐิตคตา โหน์ติ อาทิต์ตรัญ์โญ จิต์ตํ อาราเธต๎วา อัต์ตโน วิสยนครคมนมัค์คํ ยาจึสุ

ภายหลังในสมัยอื่น พวกคนทั้งปวงเหล่านั้น รลึกถึงบุตรแลภรรยาของตน ก็เกิดความทุกข์เดือดร้อนขึ้น จึงยังพระไทยของพระเจ้าอาทิตยราชให้ทรงยินดีแล้ว ก็กราบทูลขอหนทางที่จะกลับไปยังบ้านเมืองที่อยู่ของตน

อาทิต์ตราชา เตสํ อนาถคมนํ สุต๎วา การุญ์ญจิต์ตํ อุปัฏ์ฐเปต๎วา อาห โภ สเจ ตุเม๎ห สกนครํ คัน์ตุกามา สัจ์จภาเวน สปถํ กัต๎วา สปโถทกํ ปิวถ คมิถาติ

พระเจ้าอาทิตยราชได้สดับการไปอนาถาของชาวกัมโพชเหล่านั้นแล้ว ก็บังเกิดพระไทยกรุณาจึงตรัสว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ถ้าท่านทั้งหลายปราถนาจะไปบ้านเมืองของตน ก็จงกระทำการสาบานตามความซื่อสัจ ดื่มกินน้ำสบถแล้วก็พากันไปเถิด

เต สาธูติ วัต๎วา ราชานํ วัน์ทึสุ

ชาวกัมโพชเหล่านั้นรับพระราชบัญชาว่า สาธุ แล้วก็ถวายบังคมลาพระเจ้าอาทิตยราช

อถ ราชา มหาสุวัณ์ณสราวกํ อุทเกน ปุเรต๎วา อัต์ตโน ขัค์ครตนสัต์ติรตนัญ์จ โธวาเปต๎วา สัพ์เพ ฉกามวจรเทวตา อิน์ทพ๎รห๎มปมุขา ปขึ กัต๎วา สัพ์เพ เต กัม์โพชา ปุต๎ริยมัจ์จปมุขา สปถํ การาเปต๎วาว ปิวาเปถาติ เปเสสิ

ครั้งนั้นพระเจ้าอาทิตยราช ก็ให้ตักน้ำมาเต็มขันทองใหญ่ แล้วล้างพระขรรค์แก้วแลหอกแก้วของพระองค์ เชิญเทพยดาทั้งสิ้นมีเทพยดาในชั้นกามาพจรทั้ง ๖ แลพระอินทร์พระพรหมเปนประธานให้เปนสักขีพยาน แล้วจึงให้ชาวกัมโพชทั้งสิ้น มีปุตริยอำมาตย์เปนประธานให้กระทำสาบาลแล้ว ดำรัสว่าท่านทั้งหลายดื่มกินเถิดดังนี้ แล้วก็โปรดให้ไป

อถ เต สัพ์เพปิ สปถํ กัต๎วา ปิวัน์ติ

ครั้งนั้นชาวกัมโพชทั้งปวงกระทำการสาบานแล้วก็ดื่มกิน

อถ ราชา เตสํ หัต์ถีอาทีนํ วัต์ถาลังการานํ สัพ์พาภรณ์ภูสิตํ อลังการาเปต๎วา โภเชต๎วา เปเสสิ

ครั้งนั้นพระเจ้าอาทิตยราช ก็พระราชทานพาหนะมีช้างเปนต้น แลผ้านุ่งห่มเครื่องประดับตกแต่ง มีประการต่างๆ แก่ชาวกัมโพชเหล่านั้นให้ประดับตกแต่ง แล้วให้บริโภคโภชนาหารแล้วก็ส่งไป

เตปิ ราชานํ วัน์ทิต๎วา สก นครเมว คมึสุ

ชาวกัมโพชเหล่านั้นถวายบังคมลาพระเจ้าอาทิตยราชแล้วก็ไปยังพระนครของตน

ปุต๎ริยมัจ์โจปิ ปัต๎วา จ ปน ราชานํ วัน์ทิต๎วา อาทิต์ตรัญ์โญ สาสนํ มิต์ตสัน์ถวภาวํ กเถสิ

ส่วนปุตริยอำมาตย์ ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมพระเจ้าละโว้แล้วก็กราบทูลข่าวสารแสดงมิตรสันถวะภาพของพระเจ้าอาทิตยราชถวาย

อถ นํ ราชา อาห นาหัน์ตํ เตน สัท์ธึ มิต์ตสัน์ถวภาวํ กาตํุ เปเสมิ ตํ วิธํสนัต์ถํ เปเสต๎วา กัส๎มา ตุจ์ฉหัต์เถนาคตาสีติ

ครั้งนั้นพระเจ้าละโว้ จึงตรัสกับปุตริยอำมาตย์ว่า เราไม่ได้ใช้ท่านไปเพื่อจะให้กระทำมิตรสันถวะกับด้วยพระเจ้าอาทิตยราช เราใช้ท่านไปเพื่อจะให้กำจัดพระเจ้าอาทิตยราชเสีย เหตุไฉนท่านจึงได้มามือเปล่าเล่า

ตํ สุต๎วา ปุต๎ริยมัจ์โจ อัป์ปฏิภาโณ หุต๎วา มํกุภูโต อโหสิ

ปุตริยอำมาตย์ครั้นได้ฟังพระราชดำรัสแล้วก็หมดปฏิภาณ (หมดหนทางที่จะกล่าวโต้ตอบ) เปนผู้เก้ออยู่

ราชาปิ อธิป์ปายํ อชานิต๎วา อติมานวเสน อัต์ตโน มหัพ์พลภาเวน อาทิต์ตราชานํ วิธํสนัต์ถํ อารัพ์ภิ

ส่วนพระเจ้าละโว้ไม่ทรงทราบอธิบายนั้น ด้วยสามารถมีมานะยิ่งนักแลด้วยความที่พระองค์มีพลมาก ยังทรงพระปรารภจะกำจัดพระเจ้าอาทิตยราชเสียให้จงได้

ตโต การัน์ตเรเยว เอโก สิริคุต์โต นาม อมัจ์จปุต์โต ลัพ์ภราชานํ อุปัฏ์ฐหัน์โต โส จ อติกุสลตโร มามโก จ เอกทิวสํ ราชานํ อุปสังกมิต๎วา วัน์ทิต๎วา เอวมาห ยทิ เทว ตุม๎หากํ มโนรโถ มัต์ถกํ อนิฏ์ฐิโต เยว อหัน์เต มโนรถํ มัต์ถกํ ปาปุณิส์สามิ ตุเม๎ห พลนิกาเย สัช์เชต๎วา มยา สัท์ธึ อาทิต์ตราชานํ สชีวํ คเหต๎วา ตุม๎หากํ ปาเท วัน์ทาเปส์สามิ โน เจ สัก์ขิส์สามิ มํ ชีวิตา โวโรเปถาติ

ภายหลังในกาลอื่น มีบุตรอำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อว่า สิริคุต ได้เปนผู้อุปฐากพระเจ้าละโว้ แลสิริคุตอำมาตย์นั้น เปนคนฉลาดยิ่งนักแลเปนที่นับถือของพระเจ้าละโว้ด้วย วันหนึ่งจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าละโว้ ถวายบังคม แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ถ้าความปราถนาของพระองค์ยังไม่สำเร็จถึงที่เพียงดังกระหม่อมแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะให้ความปราถนาของพระองค์นั้นถึงที่เพียงดังกระหม่อม พระองค์จงตระเตรียมพลนิกายไปกับด้วยข้าพระบาท ๆ จะจับพระเจ้าอาทิตยราชจับเปน ให้มาถวายบังคมพระบาททั้งสองของใต้ฝ่าพระบาท ถ้าข้าพระบาทไม่สามารถฉลองพระเดชพระคุณได้ ขอจงปลงชีวิตข้าพระบาทเสีย

ราชา ตัส์ส กถํ สุต๎วา อาห ตาต อหํ ตํ วจนํ สุต๎วา อติวิยโสมนัส์โส ชาโต หุต๎วา ตัส์ส สัก์การํ กัต๎วา เสนาปติฏ์ฐานํ ปัฏ์ฐเปสิ สกพลนิกาเยน สํกฒิต๎วา เตน สัท์ธึ หริปุญ์เชย์ยนครํ คหณัต์ถํ ปุน เปเสสิ

พระเจ้าละโว้ได้สดับถ้อยคำของสิริคุตอำมาตย์แล้ว จึงตรัสว่า ดูกรพ่อสิริคุต เราได้ฟังถ้อยคำของท่านก็เกิดโสมนัสยินดีพระไทยยิ่งนัก แล้วพระองค์ก็กระทำสักการะแก่สิริคุตอำมาตย์ แล้วตั้งให้เปนที่เสนาบดี แล้วพระองค์ก็รวบรวมพลนิกายของพระองค์ส่งไปกับด้วยสิริคุตอำมาตย์ เพื่อให้ยุดถือเอาหริปุญชัยนครอิก

โส ราชานํ วัน์ทิต๎วา มหัน์เตหิ พลนิกาเยหิ สัท์ธึ สัพ์เพ ปน สุรโยเธ คเหต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ อาคัญ์ฉิ

สิริคุตอำมาตย์ ถวายบังคมพระเจ้าละโว้แล้ว ก็พาสุรโยธาทั้งปวงกับพลนิกายหมู่ใหญ่มายังหริปุญชัยนคร

สัพ์เพ เต ปน สุรโยธา อติวิยกุท์ธา หัต์ถมุฏ์ฐึ กัต๎วา โอฏ์ฐขาทัน์ตํ มุเขน อุก์กุฏ์ฐิสัท์ทํ กัต๎วา มยํ ปุนัป์ปุนํ หริปุญ์เชย์ยํ น จ สห ปุต์เตหิ ฆเร วสิตํุ ลภิม๎หา อิทานิ ตํ ลภิต๎วา สัพ์เพ นาคเรหิ เอกํ คเหต๎วา อัม๎หากํ รัญ์โญ ทาสํ กโรมาติ วทัน์ตา อาคมึสุ อนุก์กเมเนวาคัน์ต๎วา สุจิสัณ์ฐนครํ ปัต๎วา อารัก์ขานํ เทวตานํ อานุภาเวน สัพ์เพ เต มัค์ควิมุฬ๎หา หุต๎วา ปราปรํ คัน์ต๎วา พิงคนทีตีรํ ปัต๎วา

ส่วนสุรโยธาทั้งปวงก็ยิ่งโกรธ กำหมัดกัดริมฝีปากเข้าแล้วกระทำเสียงโห่ด้วยปากกล่าวอยู่ว่า เราทั้งหลายไปหริปุญชัยนครบ่อยๆ ไม่ได้อยู่ในเรือนกับด้วยบุตรแลภรรยา ทีนี้ได้หริปุญชัยนครแล้ว จะจับคนจากชาวเมืองทั้งปวงมาสักคนหนึ่ง จะกระทำให้เปนทาษของพระราชาของเราทั้งหลายแล้วก็พากันมา มาโดยลำดับก็บรรลุถึง สุจิสัณฐนคร พลนิกายทั้งปวงนั้นก็หลงทาง ด้วยอานุภาพเทพยดาอารักษ์ หลงไปเสียยังที่อื่นๆ จนถึงฝั่งแม่น้ำพิงคนที

ตัต์ถปิ เอโก เทย์โย นาม คาโม โหติ กัม์โพชา เทย์ยชนเต นาวิเก กัต๎วา นาวาหิ พิงคนทึ ตรัน์ติ

ในตำบลนั้นมีบ้านไทยอยู่บ้านหนึ่ง ชาวกัมโพชให้พวกคนไทยเปนนายเรือข้ามแม่น้ำพิงคนทีไปด้วยเรือ

ตโต ปัฏ์ฐาย ตํ นครติฏ์ฐํ นาม ชาตํ ยาวัช์ชัต์ตนา โหติ

จำเดิมแต่นั้น ที่นั้นเกิดชื่อว่าตรติฏฐะ ท่าข้าม มาจนทุกวันนี้

ตโตว กัม์โพชา หริปุญ์เชย์ยอารัก์ขกาเทวตาหิ วิคหิโต หุต๎วา อติวิยมุฬ๎หา หุต๎วา อิทัญ์จิทัญ์จ หริปุญ์เชย์ยัน์ติ น ปัญ์ญายึสุ หริปุญ์เชย์ยโปก์ขรณิยา ปัจ์ฉิมุต์ตรทิสาภาคาภิมุขํ คัน์ต๎วา มนุส์เสหิ ฉฑิตปุรํ ปวิสิต๎วา มนุส์เส อปัส์สัน์ตา ตัณ์ฑุลาหารํ สุรํ คเวสมานา ลัท์ธาว ภุญ์ชัน์ตา สุรํ ปิวัน์ตา มัท์ทมัท์ทา หุต๎วา เกจิ คายัน์ตา เกจิ อุก์กัฏ์ฐสัท์ทํ กโรน์ตา กีฬัน์ตา เกจิ อภิรัม์มมนา อเหสํุ

ลำดับนั้นชาวกัมโพช อันเทพยดาผู้รักษาหริปุญชัยนครเข้าสิง แล้วก็พากันยิ่งหลงไป ไม่ปรากฏเลยว่าเมืองนี้ฤๅเมืองนี้เปนหริปุญชัยนคร ก็บ่ายหน้าเฉพาะต่อทิศาภาคเบื้องปัจฉิมทิศแลอุตรทิศ แห่งสระโบกขรณีเมืองหริปุญชัยนครไป ก็เข้าไปยังบูรีที่มนุษย์ทั้งหลายทิ้งเสีย แล้วไม่เห็นมนุษย์ ก็เที่ยวแสวงหาเข้าสารอาหารสุราได้ แล้วก็บริโภคแลดื่มกินสุรามัวเมาไป บางพวกก็ขับร้อง บางพวกก็กระทำเสียงโห่ บางพวกก็เล่นรื่นเริงบันเทิงใจ

ตโต ปัฏ์ฐาย ตํ นครํ รัม์มนครัน์ติ วุจ์จัน์ติ สาปิ ยาวัช์ชัต์ตนา ปากฏา

จำเดิมแต่กาลนั้นมาคนทั้งหลายร้องเรียกนครนั้นว่า รัมนคร เมืองนั้นยังปรากฏอยู่มาจนทุกวันนี้

เตปิ ปกติมุฬ๎หา สุราเมรยัม์ปิวัน์ตา มัท์ทัน์ตา อติวิยวิมุฬ๎หา โหน์ติ เต ปราปํ คัน์ตุมสัก์โกน์ตา ปัจ์ฉา นิวัต์ ตึสุ

คนพวกนั้นหลงอยู่โดยปรกติแล้ว เมื่อดื่มกินสุราเมรัยเมาอยู่ก็ยิ่งเปนคนหลงมากขึ้น คนพวกนั้นไม่อาจไปต่อไปก็พากันกลับหลัง

เต มุฬ๎หภาวํ ญัต๎วา เสนาปติปมุขสุรโยธา หริปุญ์เชย์ยชนตา นิก์ขมิต๎วา อนุธาวัน์ติ เต อสิสัต์ติมุค์คเรหิ จ ปหริต๎วา มาเรต๎วา พหุมตาว อเหสํุ เสสา ปลายิต๎วา สุจิสัณ์ฐวาสิชนตา เต ปลายัน์เต ทิส๎วา นิก์ขมิต๎วา อนุธาวัน์ตา มาเรต๎วา หัต์ถีอัส์สาทีนํ สุวัณ์ณรชฏวัต์ถาลังการาทีนํ สัพ์พุปกรณํ คัณ๎หึสุ

พวกสุรโยธาชาวหริปุญชัยนครมีเสนาบดีเปนประธาน ครั้นได้ทราบว่าคนพวกนั้นหลงแล้ว ก็ออกไล่ติดตามมาประหารคนพวกนั้นด้วยดาบหอกไม้ฆ้อน ฆ่าเสียให้ตายเปนอันมาก ที่เหลืออยู่ก็หนีไปได้ พวกคนที่อยู่ในสุจิสัณฐนคร ได้เหนคนพวกนั้นหนีมา ก็ออกไล่ติดตามฆ่าเสีย แล้วก็เก็บเอาช้างม้าทองเงินแลผ้านุ่งห่ม เครื่องประดับแลเครื่องใช้สอยต่างๆ

กัม์โพชชนตา โยธา มรณภยตัช์ชิตา ตุริเตน ปลายิต๎วา เอโกปิ นิวัต์ติส์สติ ปติยํช์ฌิตํุ อสัก์โกน์ตา

พวกคนโยธาชาวกัมโพช อันมรณภัยคุกคามแล้วก็รีบหนีไป ไม่อาจ

กลับหน้ามาต่อรบเลยสักคนหนึ่ง

ตโต ปัฏ์ฐาย ลวนครวาสิโน ชนตา เอโกปิ หริปุญ์เชย์ยปฏิยุช์ฌิตํุ อสัก์โกน์ตา ตโต ปัฏ์ฐาย ลัพ์ภนครวาสิโน ชนตา หริปุญ์เชย์ยํ โอโลเกตํุ วา นาม นาโหสิ ตโต ปัฏ์ฐาย ลัพ์ภราชา พลวชนตาปิ กิญ์จิ อุปายํ วา น ปัส์สัน์ติ

จำเดิมแต่กาลนั้นมา พวกคนที่อยู่ในพระนครละโว้ สักคนหนึ่งก็ไม่อาจจะต่อรบเมืองหริปุญชัย ชื่อว่าจะแลดูเมืองหริปุญชัยยังไม่มีแล้ว พระเจ้าละโว้ถึงจะมีผู้คนมีกำลังก็ไม่เห็นอุบายสักอย่างเดียว

กัม์โพชปราชยํ นาม กัณ์ฑํ นิฏ์ฐิตํ

กัมโพชปราชัยกัณฑ์ จบแล้ว

ตโต ปัฏ์ฐาย สา ปุริ หริปุญ์เชย์ยโสภินิ สัพ์พทุก์ขํ อติก์กัน์ติ สมิท์ธิ สัพ์พถา กรํ ปุรุณิ อัณ์ณปาเนหิ นัจ์จคีเตหิ จูภยํ สมณา พ๎ราห๎มณา จาปิ โหราจารา วิต์ตา อหุ พ๎ยากรณํ อวทึสุ รัญ์โญ อาทิต์ตราชิโน อิโต ปรํ มหาราชา อัม๎หากํ หริปุญ์เชย์ยํ มหานครํ สุขํ เขมํ ภวิส์สัน์ติ นิส์สยํ เทวตา จ มเหสัก์ขา อภินัน์ทัน์ติ เต สุขํ น จีรํ อาคมิส์สัน์ติ นครํ อภิรัก์ขิตุน์ติ

จำเดิมแต่กาลนั้นมา หริปุญชัยนครก็งดงาม ล่วงเสียซึ่งสรรพทุกข์ กระทำให้สำเร็จได้ทุกประการ บริบูรณ์ไปด้วยเข้าแลน้ำ แลการฟ้อนรำขับร้องปราศจากภัย สมณะพราหมณ์แลโหราพฤฒาจารย์ทั้งหลาย ได้ทูลพยากรณ์ไว้แก่พระเจ้าอาทิตยราชว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เบื้องน่าแต่นี้ไป หริปุญชัยนครของเราทั้งหลายจะเปนมหานครศุขเกษมโดยไม่สงไสย เทพยดาผู้มีศักดาใหญ่ก็ยิ่งยินดี ไม่นานนักเทพยดาทั้งหลายนั้นจะมาอภิบาลบำรุงรักษาพระนครให้เปนศุข

เตสํปิ การณํสุต๎วา อาทิต์ตราชา ปโมทิโต โสเธต๎วา ลังการาเปสิ นครํ เทวสาทิสํ เทวปูชํ สมาเนต๎วา ทีปธูปาทิราธยิ ตทา มเหสัก์ขา เทวา กัณ๎หํ ปัพ์พตรํ ปุรํ มาลุวากุรํ รุหัน์ติ อภิปาเลน์ติ อุส์สหา อจีเรเนว โส รุโฬ๎ห มหา อุต์ตตโร สุโต

พระเจ้าอาทิตยราชได้สดับพยากรณ์ ของสมณพราหมณ์โหราพฤฒาจารย์เหล่านั้นแล้ว ก็บันเทิงพระราชหฤไทย โปรดให้ชำระตกแต่งพระนครประดุจเทพนคร ให้นำเครื่องเทพบูชามาพร้อมแล้ว ก็อัญเชิญเทพยดาด้วยเครื่องสักการะ มีเทียนแลธูปเปนต้น ครั้งนั้นเทพยดาที่มีศักดาใหญ่ก็บรรดาลให้หน่อย่างทรายดำงอกขึ้นเต็มไปบนยอดเขา ก็อุสาหอภิบาลบำรุงรักษา อยู่มาไม่ช้านานหน่อย่างทรายนั้นก็ปรากฏเจริญใหญ่สูงขึ้น

ตทา เอโก กุก์กุโฏ สุเสโต มธุรกุสโล สุสโม สุอุท์ธาโม อุป์ปติ ตัส์ส มุท์ธมัส๎มึ เทวานุคตึ รัก์ขิตํุ สุปุรํ ทิวา จ รัต์โต จ ติยามุท์ธาโม สุขํ ชเนน์โต จ สุโภควัฑ์ฒโน รัฏ์ฐัม๎หิ วาโส ชนตาภิสโน สเรน หาโส นิจ์จกาลํ ตัส์ส อปิจ โส สํวัจ์ฉเร ปภูเต ปฐมมัช์เฌ อวสานกาเล ติกาละโว กุก์กุโฏ มธุโร นาเทน์ติ ลโวชนเต สราชิท์ธิ

ในกาลนั้น มีไก่ขาวงามตัวหนึ่ง เปนไก่ฉลาดทำเสียงไพเราะห์ มีเสียงเสมอดีเปนไก่ลำพองงาม เกิดมีขึ้นบนยอดไม้ย่างทรายนั้น เพื่อจะรักษาบูรีให้ดีตามเยี่ยงอย่างของเทพยดา เปนไก่ลำพองทั้งสามยามทั้งกลางวันแลกลางคืน เปนไก่ทำความศุขให้บังเกิดทำโภคทรัพย์ให้เจริญ ประชุมชนที่อยู่ในแว่นแคว้นก็ไม่มีความหวาดหวั่น รื่นเริงอยู่ด้วยเสียงของไก่นั้นเปนนิจกาล อิกประการหนึ่ง ไก่นั้นขันทั้งสามกาล คือ ในปฐมยาม มัชฌิมยาม แลยามเปนอวสานตั้งแต่ปีแรกมา มีเสียงไพเราะห์ย่อมบันลือให้พวกคนชาวเมืองละโว้เกรงฤทธิพระราชาของตน

อถ โส ลวราชา สุต๎วาน สัท์ทํ รวัน์ตํ ปวรํ ตัส์ส สัก์กตํ มัญ์ญมาโน ทาสกัม์มคหณํ อาทิต์ตรัญ์โญว อติภีโต ปาโต จ ลวราชา อมัจ์จคหณเสนา พ๎ราห๎มณาจารโหรา สัน์นิปาตา มยิ โสเต ตํ กุกกุฏสัท์ทํ กึ นิมิต์ตัน์ติ ปุจ์ฉิ

ครั้งนั้นพระเจ้าละโว้ ได้สดับเสียงไก่ตัวประเสริฐขันอยู่ แลความองอาจของไก่นั้น ก็เข้าพระไทยว่า พระเจ้าอาทิตยราชจะจับเอาพระองค์ไปเปนทาษกรรมกรได้ ก็เกรงกลัวพระเจ้าอาทิตยราชยิ่งนัก ครั้นรุ่งขึ้นเช้าจึงให้ประชุมหมู่อำมาตย์ เสนาบดีพราหมณ์โหราจารย์พร้อมกันแล้ว จึงตรัสถามว่า เราได้ยินเสียงไก่นั้นจะมีนิมิตรอย่างไร

อถ เต ตํ อวทึสุ มา ภายถ รเถสภ อิทํ กุก์กุฏสัท์ทัม์ปิ น จ อัม๎หากํ ภาริยํ อยํ สัท์โท กุกกุฏัส์ส รัก์ขัส์ส หริปุญ์เชย์ยํ ยาวตา กุก์กุโฏ โสยํ วัส์สติ สตตํ ธุวํ อาตาปิ เนว สา ปุริ มหาปุริ ภวิส์สตีติ.

ในกาลนั้น ชนทั้งหลายนั้นจึงกราบทูลพระเจ้าละโว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในรถ ขอพระองค์อย่ากลัวเลย ถึงเสียงไก่นี้ก็ไม่เปนที่หนักพระไทยของพระองค์ เสียงไก่นี้รักษาเมืองหริปุญชัย ไก่นี้นั้นยังยั่งยืนอยู่เนืองนิจเพียงใด หริปุญชัยนครนั้นจักเปนเมืองใหญ่ ไม่มีความเดือดร้อนเลยทีเดียวเพียงนั้น

เอวํ กเถสํุ ลวราชา ปเรสํ ลาภยสานํ จ อกตตา สัล์เลน วิท์โธวิย ปกัม๎ปมานหทโย อโหสิ อิทํ หริปุญ์เชย์ยารัก์ขกุก์กฏํ วธกุป์ปายํ จิน์ตยมาโน วสิ น สุขํ ภุญ์ชติ น สุขํ นิสีทติ

คนทั้งหลายนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าละโว้เปนประดุจดังลูกศรเสียบแทงแล้ว เพราะพระองค์จะทำแก่ลาภแลยศของผู้อื่นไม่ได้ จึงเปนผู้มีพระไทยหวาดหวั่นไหว ทรงพระดำริห์แต่จะหาอุบายฆ่าไก่ที่รักษาพระนครหริปุญชัยตัวนี้อยู่ จะเสวยพระกระยาหารก็ไม่เปนศุข จะประทับอยู่ก็ไม่เปนศุข

อถ สัพ์เพ เสนาปติอาทิพ๎ราห๎มณาทิโหราทโย ตัส์ส วิป์ปการํ ทิส๎วา ราชานํ ปุจ์ฉึสุ

ชนทั้งปวงมีเสนาบดีพราหมณ์โหราจารย์เปนต้น ได้เห็นพระอาการของพระเจ้าละโว้แปลกประหลาด จึงกราบทูลถามว่า

กิน์น เทวัป์ปตาพาโธ กึ วัตัก์โกสิ ภูปติ กึ กีโส ปัณ์ฑุ ชาโตสิ อัส์สาโสสิ มหามหุน์ติ.

ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ไฉนหนอ พระโรคาพาธก็มีอยู่แต่เล็กน้อย ข้าแต่พระองค์ผู้เปนพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงพระปริวิตกอย่างไรฤๅ ไฉนพระองค์จึงได้บังเกิดซูบซีดผอมเหลืองไป แลจะระบายพระอัสสาสะก็ใหญ่ๆ

น จ อาพาธิโก โหมิ วิตัก์โก โหมิ ปริสา โก พ๎ราห๎มโณ วา เวโส วา สุท์โท จัณ์ฑาลปุกุโส มัน์ตวิชาย โจสถา สัก์โกติ มาเรตํุ คัณ์ฑชํ ทัส์สามิธ รัช์ชํ ตัส์ส มม อัค์คัส์ส การณาติ.

พระเจ้าละโว้จึงตรัสตอบว่า เราจะได้มีความเจ็บไข้ ก็หามิได้ เราวิตกอยู่แต่บริสัช ใครจะเปนชาติพราหมณ์ก็ดี ชาติเวสก็ดี ชาติสูทก็ดี ชาติจัณฑาลก็ดี ชาติปุกุสะก็ดี สามารถจะฆ่าฝีที่เกิดแล้ว ด้วยมนตร์ฤๅด้วยวิชา ฤๅด้วยโอสถอันใดเราจะให้ราชสมบัติ ในพระนครละโว้นี้แก่คนนั้น เพราะเหตุคนนั้นเปนผู้เลิศของเรา

อถัส์ส วจนํ สุต๎วา ปาปกัม์มกรกุสโล ราชานํ เอวมาห เทว เอวํ สัน์เตปิ มา จิน์ตยิ เอกํ อุปายํ ปัส์สามิ โส กุก์กุโฏ หริปุญ์เชย์ยรัก์ขโก อิทํ ธานุภาโวปิ นวอุป์ปาทิโต น สารตโร จ เนโส สัพ์พัต์ถ กุสโล อัม๎หากํ นครารัก์ขโก ปน จีรํ อุป์ปาโท คุณโทสกุสลตโร จ ตัส์สา มหาสัก์การํ กัต๎วา อาราธนํ กริต๎วา อมิต์ตัส๎ส กุก์กุฏํ มาเรตํุ เปสิส์สามาติ

ในกาลนั้น คนผู้ฉลาดกระทำกรรมเปนบาป ได้ฟังพระวาจาของพระเจ้าละโว้ แล้วจึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า เมื่อเหตุอย่างนี้มีแล้ว ขอพระองค์อย่าได้ทรงพระปริวิตกไปเลย ข้าพระบาทเห็นอุบายอยู่อย่างหนึ่ง ไก่ที่รักษาพระนครหริปุญชัยนั้น ถึงจะมีฤทธาอานุภาพ ก็เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ไม่เปนแก่นสารเหลือเกินนัก แลก็จะไม่ฉลาดไปในสิ่งทั้งปวง ส่วนเทพยดาที่รักษาพระนครของเราได้อุบัติเกิดขึ้นนานแล้ว แลฉลาดในคุณแลโทษวิเศษกว่า ข้าพระบาททั้งหลาย จะกระทำการสักการะใหญ่แก่เทพยดานั้น แล้วจะเชิญไปให้ฆ่าไก่ของพระเจ้าอาทิตยราชซึ่งเปนข้าศึกเสีย

อถัส์ส ลวมุขัส์ส เสนาปติอาทโย จ ตํ สน์ทรัน์ติ วัต๎วา ตถา กริ

ครั้งนั้นชนทั้งหลาย มีพระเจ้าละโว้แลมุขมนตรี เสนาบดีเปนประธาน จึงกล่าวแก่คนผู้ฉลาดกระทำกรรมที่เปนบาปนั้นว่า คำที่ท่านกล่าวนั้นดีแล้ว ก็กระทำตามถ้อยคำของคนที่ฉลาดกระทำกรรมที่เปนบาปนั้น

ลวนครารัก์ขเทวตาปิ ลวรัญ์ญา สุคารเวน ปูชิตัต์ตา มานิกตา อาราธนาเยว ตํ พลิกัม์มํ สัก์การํ คเหต๎วา ปริภุญ์ชิ กาลสัม์ปัต์เตเยว อัต์ตานํ อลังกริต๎วา สกปริวารานํ สัญ์ญํทัต๎วา มหากุม์พิลเวเสน พิงคนทิยา โสเตน หริปุญ์เชย์ยํ อาคัญ์ฉิ หริปุญ์เชย์ยนครสมีปเก สัม์ปัต์เตเยว พ๎ราห๎มณเวสํ คเหต๎วา กตรทัณ์ฑมาทาย ปัณ์ณฉัต์ตัญ์จ คเหต๎วา คัจ์ฉติ เสตกุก์กุฏวสนัต์ถานํ โอโลกนัต์ถํ อัน์โตนครํ ปวิสิต๎วา อัน์ตรวิถิยํ โอโลเกต๎วา วิจรติ.

ส่วนเทพยดาที่รักษาพระนครละโว้ อันพระเจ้าละโว้บูชานับถือเชื้อเชิญ โดยความเคารพด้วยดีแล้ว ก็รับเอาเครื่องสักการะพลีกรรมนั้นแล้วบริโภค ครั้นถึงกาลเวลาแล้ว ก็ประดับตกแต่งตน ให้สัญญาแก่บริวารของตนแล้ว จำแลงแปลงเพศเปนจระเข้ใหญ่มายังหริปุญชัยนคร ตามกระแสแม่น้ำพิงคนที ครั้นถึงที่ใกล้หริปุญชัยนครแล้ว ก็จำแลงแปลงเพศเปนพราหมณ์ ถือไม้เท้ากับร่มทำด้วยใบไม้เดินไป ก็เข้าไปภายในพระนคร เพื่อจะแลดูที่อยู่ของไก่ขาว แล้วก็เที่ยวแลดูไปในระหว่างหนทาง

อัฑ์ฒรัต์ติกสมเยเยว เสตกุก์กุโฏ มาลุวรุก์ขัค์เค นิสิน์โน ปสาเรต๎วา อัต์ตโน เท๎ว ปัก์เข วัส์สตลํ อัป์โผเฏต๎วา มธุสัท์เทน รวิ

พอได้ อัฑฒรัตติสมัยเวลาเที่ยงคืน ไก่ขาวซึ่งจับอยู่บนยอดไม้ย่างทราย ก็กางปีกทั้งสองของตนปรบลงยังพื้นที่อยู่ แล้วก็ขันด้วยเสียงอันไพเราะ

อถัส์ส โส ลวนครารัก์ขโก พ๎ราห๎มโณ ตํ สัท์ทํ สุต๎วา อยํ เสตกุก์กุฏัส์ส สัท์โทติ อัญ์ญาสิ

ครั้งนั้นพราหมณ์ที่รักษาพระนครละโว้ ได้ฟังเสียงไก่นั้นแล้ว ก็รู้แน่ว่านี่และเสียงไก่ขาวนั้น

ตัส๎มึ ขเณ กตรทัณ์ฑมาทาย คัน์ต๎วา มาลุวรุก์ขํ อภิรุย๎หิต๎วา กุก์กุฏํ โปเถต๎วา ชีวิตัก์ขยํ ปาเปต๎วา กเฬวรํ รุก์ขสมีปํ ฉัฑ์เฑต๎วา ลวนครํ อคมาสิ

ในขณะนั้น พราหมณ์ก็ถือไม้เท้า ไปขึ้นยังต้นไม้ย่างทราย แล้วก็ตีไก่นั้นให้ถึงสิ้นชีวิต แล้วทิ้งซากศพไก่ไว้ ยังที่ใกล้ต้นไม้ แล้วก็ไปยังพระนครละโว้

อิทํ สัน์ธาย โลกานํ โอวาทวเสน ปรัม์ปราจริเยหิ วุต์ตํ

ปรัมปราจารย์ทั้งหลาย จึงได้อาไศรยเหตุนี้ กล่าวไว้ด้วยสามารถจะสั่งสอนแก่โลกว่า

ทุล์ลโภ ปริสาชัญ์โญ หัต์ถี อัส์สา จ ชาเนย์โย สมโณ พ๎ราห๎มณาจาโร ปัณ์ฑิโต อัต์ถทัส์สิโน เสนามัน์ตาทโย สุโร อุพ์โพ กุก์กุโฏ วสิโต เอเต สุมังคลํ นาม โลเก สุขยสุภยํ เอเต ทุล์ลัพ์ภเอกํปิ ยัส์สัต์ถูปปัช์ชิส์สติ ตัส์ส ตัต์ถ สุขํ โภคํ อภิวัฑ์ฒัน์ติ สัพ์พทา เอเต สุมังคลเสฏ์เฐ รัก์ขิตัพ์พํ น ปัช์ชเห ยทา จ มังคเล นาเส สุขโภคหินา ตทา ยทาหิ กุก์กุโฏ เสโต หริปุญ์เชย์ยรัก์ขิโต ปเรเนว วิหโต โส โสต์ถิ เตสํ วิหายตีติ.

บุรุษที่เปนอาชานัย อาจรู้สรรพกิจต่างๆ ได้รวดเร็วก็ดี ช้างแลม้าที่เปนอาชานัยก็ดี สมณพราหมณาจารย์ ที่มีอาจารมารยาตรเปนที่ประพฤติเรียบร้อยก็ดี บัณฑิตผู้มีปัญญาเห็นเหตุการต่างๆ ก็ดี เสนามนตรีเปนต้น ที่เปนผู้กล้าหาญก็ดี ไก่ที่แผ่ปีกออกแล้วขันก็ดี เหล่านี้เปนของหาได้ด้วยยาก ของหายากเหล่านี้ จัดได้ชื่อว่าเปนมงคลดี นำความศุขแลยศทั้งสองประการมาในโลก สิ่งซึ่งเปนมงคลทั้งหลายเหล่านั้นแม้แต่สิ่งเดียวเปนของหาได้ด้วยยาก ย่อมบังเกิดมีแก่บุคคลผู้ใด ความศุขแลโภคสมบัติย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้นั้นในที่นั้นตลอดกาลทั้งปวง บุคคลพึงรักษามงคลดีอย่างประเสริฐเหล่านั้นไว้อย่าละเสีย ก็เมื่อใดเมื่อมงคลพินาศไปแล้ว ความศุขแลโภคสมบัติก็เสื่อมไปเมื่อนั้น ก็เมื่อใดไก่ขาวที่รักษาพระนครหริปุญชัยนั้น มีคนอื่นมาฆ่าเสียแล้ว ความสวัสดีของชาวหริปุญชัยเหล่านั้นก็สูญหายไป

ตทา หริปุญ์เชยราชาปิ ตัส์ส สรีรกิจ์จํ กัต๎วา ธาตํุ คเหต๎วา ตัส์ส มาลุวรุก์ขสมีเป ปติฏ์ฐาเปต๎วา อารัก์ขํ ปติฏ์ฐเปสิ

ครั้งนั้น พระราชาในพระนครหริปุญชัย ก็กระทำสรีรกิจของไก่นั้นเก็บอัฏฐิธาตุประดิษฐานไว้ในที่ใกล้ไม้ย่างทรายให้ตั้งการรักษาต่อไป

ลวารัก์ขโสปิ พ๎ราห๎มโณ ลวปุรํ ปัต๎วาว สุปินนิมิต์เตน รัญ์โญปิ ตัส์ส ปหตภาวํ อาจิก์ขิ

ส่วนพราหมณ์ผีเสื้อซึ่งรักษาพระนครละโว้ กลับไปถึงพระนครละโว้แล้วก็กราบทูลความที่ได้ประหารไก่นั้นแก่พระเจ้าละโว้ด้วยนิมิตรฝัน

ราชา ปพุชฌิต๎วา ปาโตว สุปินปาถเก พ๎ราห๎มเณ ปัก์โก สาเปต๎วา สัก์การํ กัต๎วา ปุจ์ฉิ

พระเจ้าละโว้ตื่นบรรทมแต่เช้า ก็ให้หาพราหมณ์ทำนายสุบินมา กระทำสักการะ แล้วตรัสถาม

อถ พ๎ราห๎มณา อาหํสุ มหาราช กุก์กุโฏ ปน ปหโต อปิจ เอโก อุทกรัก์ขโส อิท์ ธานุภาโว หริปุญ์เชย์ยนครํ รัก์ขิโต ยาว ตัส์ส ชีวิตัน์ตราโย น โหติ ตาว หริปุญ์เชย์ยนครํ สุขํ เขมํ สุภิกขํ มหานครํ ภวิส์สตีติ

พราหมณ์ทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ไก่มีผู้ประหารแล้วก็จริงอยู่ แต่ผีเสื้อน้ำตนหนึ่ง มีฤทธิ์มีอานุภาพรักษาหริปุญชัยนครอยู่ อันตรายแก่ชีวิตยังไม่มีแก่ผีเสื้อน้ำนั้นเพียงใด พระนครหริปุญชัยจักเป็นพระนครใหญ่ศุขเกษม แสวงภิกษาหารได้โดยง่ายเพียงนั้น

ราชา เตสํ นครรัก์ขพ๎ราห๎มณานํ วจนํ สุต๎วา ปีติภริตหทโย อโหสิ ปาโตว สีสํ น๎หาต๎วา เทวปูชนัต์ถาย มหัน์ตํ ปูชาสัก์การํ ปฏิยาเทต๎วา อัต์ตโน นครารัก์ขเทวตานํ ปูเชต๎วา สาทเรน ปูเชต๎วา เอวมาห

พระเจ้าละโว้ได้สดับคำของพราหมณ์ผู้รักษาพระนครเหล่านั้นแล้ว ก็มีพระไทยเต็มไปด้วยปีติ ทรงชำระล้างพระเศียรเกล้าแต่เช้าแล้วให้ตกแต่งเครื่องบูชาสักการะใหญ่ เพื่อจะบูชาเทพยดาแล้วก็บูชาเทพยดาที่รักษาพระนครของพระองค์ โดยเอื้อเฟื้อแล้ว จึงตรัสอย่างนี้ว่า

เทวเทว สคณาเสฏ์โฐ เทวเทโว มหิท์ธิโก ยํ มยา ปัต์ถนํ กัม์มํ ตัน์ตยา เม นิฏ์ฐกตํ กุก์กุโฏปิ หโต โหติ เอโก อารัก์ขิโก อหุ ชลเสย์โย ปุริรัก์โข ชีวิตัน์ตํ วโร ปภูติ.

ข้าแต่ท่านผู้เปนเทพยดาในหมู่เทพยดา ท่านเปนผู้ประเสริฐกว่าหมู่ของตน ท่านเปนเทพยดาในหมู่เทพยดา ท่านเปนผู้มีฤทธิ์ใหญ่ กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าปราถนา กรรมอันนั้นท่านได้กระทำให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้าแล้ว ไก่ท่านก็ฆ่าเสียแล้ว ยังมีอารักษ์ตนหนึ่งนอนอยู่ในน้ำเปนผู้รักษาเมือง จำเปนต้องปราถนาชีวิตอันนั้น

รัญ์โญ วจนํ สุต๎วา นครารัก์ขกา พลิกัม์มสัก์กาเรน คหิตา ตํ วิชหิตํุ น สัก์โกติ สัพ์พัน์ตํ ปริโภคํ กัต๎วา สามเณรเวสํ คเหต๎วา รัญ์โญ ปัส์สัน์ตัส์เสว คัจ์ฉามิ มหาราชาติ วัต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ ปุนาคัญ์ฉิ หริปุญ์เชย์ยัส์ส อัน์โตนคเร สัพ์พนทิยํ วิจริต๎วา หริปุญ์เชย์ยารัก์ขเทวตํ อทิส๎วา นครโต นิก์ขมิต๎วา พหินคเร สัพ์พโปก์ขรณิยํ สัพ์พนทิยํ โอโลเกสิ วุต์ตนเยเนว ปฏิปาฏิยา สลุยนามนทีตีรํ ปัต๎วา

อารักษ์ที่รักษาพระนคร ครั้นได้ฟังพระวาจาของพระเจ้าละโว้แลได้รับเครื่องสักการพลีกรรมแล้ว ไม่อาจจะละทิ้งเครื่องสักการะพลีกรรมนั้นได้ ก็กระทำการบริโภคจนเสร็จสิ้นแล้ว จำแลงแปลงเพศเปนสามเณร ปรากฏแก่พระเจ้าละโว้ ซึ่งทอดพระเนตรอยู่ กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพเจ้าจะไป แล้วก็มายังหริปุญชัยนครอิก เที่ยวไปในแม่น้ำทั้งสิ้นในภายในหริปุญชัยนคร ไม่เหนหมู่เทวดาที่รักษาหริปุญชัยนคร จึงออกจากนครแลดูไปในสระโบกขรณีทั้งสิ้น แลในแม่น้ำทั้งสิ้นในภายนอกพระนคร ก็บันลุถึงฝั่งแม่น้ำ ชื่อ สลุยนที โดยลำดับตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว

เตน โข ปน สมเยน หริปุญ์เชย์ยรัก์ขโส สลุยนทิยา เหฏ์ฐา อัต์ตโน วิมาเน สกภริยาย สัท์ธึ ปฏิวสติ

สมัยนั้น ผีเสื้อที่นอนรักษาหริปุญชัยนคร อาไศรยอยู่กับด้วยภริยาในวิมานของตนภายใต้แม่น้ำสลุยนที

โส ปน สุวัณ์ณวัณ์โณวิย สีลสมัน์นาคโต โหติ ภริยา ปนัส์ส รชฏวัณ์ณาวิย สีลสัม์ปัน์นา คตา

ส่วนผีเสื้อนั้นมีสีดุจสีทองคำ เปนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ส่วนภรรยามีสีดุจสีเงิน ก็เปนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล

เต อุโภปิ ปุพ์พกัม์มสัน์นิจ์จยตา สห ปริวาเรหิ ทิพ์พสุขํ ตัต์ถ อนุภวัน์ติ

ผีเสื้อทั้งสองนั้นเสวยทิพศุขอยู่ในวิมานของตนนั้นกับด้วยบริวาร เพราะบุพกรรมที่ตนสั่งสมไว้แล้ว

โส หริปุญ์เชย์ยรัก์ขโสปิ อุทเก ฐิตัต์ตา รัก์ขิโต อุทกรัก์ขโส วุจ์จตีติ

ผีเสื้อที่นอนรักษาหริปุญชัยนครนั้น คนทั้งหลายกล่าวว่าผีเสื้อน้ำรักษาแล้วเพราะผีเสื้อนั้นตั้งอยู่ในน้ำ

ตทา สามเณโรปิ วุต์ตนเยเนว ตํ ฐานํ ปัต๎วา หริปุญ์เชย์รักข์กาเทวตา อิมัส๎มึ อุทกัณ์ณเว วสตีติ ญัต๎วา ตํ ปกาเสน์โต อาห

ในกาลนั้น ฝ่ายสามเณรก็บันลุถึงที่นั้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ครั้นทราบว่าเทพยดาที่รักษาพระนครหริปุญชัยอยู่ในห้วงน้ำนี้แล้ว เมื่อจะประกาศกับอารักษ์เทวดานั้น จึงกล่าวเปนคาถาว่า

เอหิ โภ นครารัก์ข สุโร ต๎วํ กิร เม สุตํ อิทาหํ ทูรโต อาคโต สุรันตํ สห ยุช์ฌิตํุ อหัน์ตํ ชานยิส์สามิ พลํ วิกัม์ม โปริสํ ตุริเตนาภินิก์ขม โน เจ ตัต์ถ คมิส์สหัน์ติ.

ดูราท่านผู้รักษาพระนครผู้เจริญ ท่านมาเถิด เราได้ยินว่าท่านเปนคนกล้า เดี๋ยวนี้เรามาแต่ไกลจะรบกับท่านคนกล้า จะได้รู้ไว้ว่าท่านมิกำลัง ก้าวล่วงกำลังบุรุษท่านออกมาโดยเร็วเถิด ถ้าไม่ออกมาเราจะไปในที่อยู่ของท่าน

ตัส์ส วจนํ สุต๎วา หริปุญ์เชย์ยรัก์ขโก ตํ อภายนโต หสิตภูโต อโหสิ โส ตัส์ส ปฏิวจนํ ฆเฏน์โต อาห

ผีเสื้อน้ำผู้รักษาพระนครหริปุญชัย ได้ฟังถ้อยคำของสามเณรนั้นแล้ว ก็หัวเราะเพราะไม่กลัวสามเณรนั้น เมื่อจะโต้ตอบแก่สามเณรนั้น จึงกล่าวว่า

หเร ชิคุจ์ฉ อารัก์ข ลัญ์จ ขาทสิ ลวูนํ โลโภสิธทสาหาเร กุโต เต วิกโม สิยา ตุวํ ทูรโต อาคโต มัญ์เญ ต๎วํ อุปโค ธุวํ สัจ์เจน มัต์ตโก สุโร โอรุย๎ห ยุช์ฌิตํุ มมัน์

ดูกรท่านอารักษ์ร้ายน่าเกลียด ท่านกินสินบนของชาวละโว้แล้ว ยังเปนคนโลภจะมากินอาหาร ในพระนครหริปุญชัยนี้ ความสำเร็จประสงค์ของท่านจะมีที่ไหน ท่านมาแต่ไกล สำคัญว่าจะได้เปนผู้รักษาอยู่ยั่งยืนฤๅ ท่านเปนคนกล้าทำเราให้ตายได้จริงแล้ว ก็จงลงมารบกับเรา

ตัส์ส วจนํ สุต๎วา สามเณโร ลวนครารัก์ขํ อัต์ตานํ อภินิม์มิโต อติวิย ลุท์โธ จ กัม์ปมานสรีโร สหเสน อติวิย ฐาเนน อุทเกน โอปติ

สามเณรได้ฟังถ้อยคำของผีเสื้อน้ำแล้ว ก็ยิ่งโกรธนักมีสริรกายหวั่นไหวอยู่ จึงนฤมิตรตนเปนอารักษ์รักษาพระนคร โดดลงไปในน้ำโดยเร็ว จนล่วงเลยที่นั้นไป

ตัส๎มึ ขเณ หริปุญ์เชย์ยารัก์ขโส กุม์ภีโล หุต๎วา ตุริเตนาคัน์ต๎วา มหัน์เตน จตูหิ ทาเฒหิ ตัส์ส สรีรํ เวมัช์เฌ ทํสิ

ในขณะนั้นผีเสื้อเมืองหริปุญชัยก็เปนตเข้มาโดยเร็ว กัดเอากลางตัวสามเณรนั้น ด้วยเขี้ยวอันใหญ่ทั้งสี่เขี้ยว

สามเณรัส์ส จีวรรัญ์จ สริรัญ์จ ท๎วีสุ ปัส์เสสุ นิวิช์ฌิต๎วา มริต๎วา โลหิตธารา วิเลหิ อติวิย ปัค์ฆรัน์ติ

จีวรแลสริรของสามเณร ก็ทลุไปทั้งสองข้างตาย โลหิตก็เปนดังท่อธาร ไหลพล่านออกจากช่องแผล

ตาวเทว สัพ์พอุทกํ โลหิตํ ปาตุภวิต๎วา ยาว พิงคนทิยา โสเตน ยาว ลวนครัส์ ติฏ์ฐํ ทิส์สัน์ติ

ในขณะนั้น น้ำก็ปรากฏเปนเลือดไปทั้งนั้น ตามกระแสน้ำตั้งแต่แม่น้ำพิงคนที ปรากฏไปจนถึงท่าเมืองละโว้

ลวราชาปิ ตํ สาสนํ สุต๎วา พลนิกาเยหิ สัท์ธึ นิก์ขมิต๎วา สามเณรัส์ส ปูเชต๎วา ฌาเปต๎วา ธาตํุ คเหต๎วา อัน์โต นครํ นยิต๎วจ เจติยมหาปูชาสัก์การํ กัต๎วา

พระเจ้าละโว้ ได้ทรงฟังข่าวนั้น ก็เสด็จออกไปกับด้วยพลนิกายบูชาสามเณรแล้ว ก็กระทำฌาปนกิจ เก็บอัฏฐิธาตุนำไปยังภายนอกพระนคร กระทำเจดีย์ไว้เปนที่บูชาสักการะใหญ่

ตโต ปัฏ์ฐาย กัม์โพชชนตาปิ ตํ เทวตานุรูปํ ปูเชน์ติ มาเนน์ติ อยํ อัม๎หากํ นครารัก์ขเทวตาติ

จำเดิมแต่กาลนั้นมาพวกชนชาวกัมโพชก็บูชานับถือเทวรูปนั้น ว่าเทวรูปนี้เปนเทวดารักษาพระนครของเราทั้งหลายนี้

ตํ สัน์ธาย อิมา คาถา อภาสิ

พระสังคาหิกาจารย์ อาไศรยเหตุนั้นจึงได้ภาสิตพระคาถาไว้ดังนี้

วิรหรัก์ขโส ลัพ์โภ ลัพ์ภรัญ์ญาอนุส์สโย ปุนัป์ปุนํ ปโยเชน์โต มโต โส ปรฆาฏโก ยโต โส มรณํ ปัต๎วา โสต์ถิ ปุเร วิหายติ ตโต จ ปรโต นามํ สัญ์ญํ คัณ๎หัน์ติ รัฏ์ฐกัน์ติ.

พระทรงเมืองผีเสื้อชาวเมืองละโว้ เปนผู้ประจำพระองค์พระเจ้าละโว้ พระเจ้าละโว้ใช้ไปบ่อยบ่อยจนตายไปแล้ว พระทรงเมืองผีเสื้อนั้นเปนผู้ฆ่าแต่ผู้อื่นกาลใด พระทรงเมืองผีเสื้อนั้นถึงความตายแล้ว ความสวัสดีในเมืองก็สูญหายไป ก็แต่กาลนั้นมา คนทั้งหลายถือเอาชื่อโดยอย่างอื่นให้เปนสัญญาว่า รัฏ์ฐกํ ผู้รักษาแว่นแคว้นดังนี้

อิติ หริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส มหาจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต จ ตุท์ทสโม ปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต

หริปุญชัยนิเทศดังนี้ พระมหาเถรผู้มีนามว่า โพธิรังษี ได้แต่งไว้แล้ว ตามคำมหาจาฤก

ปริเฉทที่ ๑๔ จบแล้ว

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ