จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑

ปริเฉท ๑ ถึงปริเฉท ๙

พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) แปล

----------------------------

นมัต์ถุ สุคตัส์ส

อาทิจ์จวํโส ชิโน โย มนุส์สชาโต ทิปทานมิน์โท พ๎ยามัป์ปภาโส อภิป์ปมาโร มณิปโชโต ชินํ ตํ นมามิ

สมเด็จพระชินสีห์เจ้า ผู้เปนวงษ์พระอาทิตย์ผู้ประเสริฐ พระองค์ใด ได้ถือเอากำเนิดในชาติมนุษย์แล้ว พระองค์ก็เปนเจ้าเปนใหญ่กว่าสัตวสองเท้าทั้งหลาย มีพระกายอันงามส่องรัศมีสว่างข้างละวา ประดุจว่าดวงมณีโชตอันรุ่งโรจอยู่ฉนั้น ข้าพเจ้าขอนมัสการ ซึ่งสมเด็จพระชินสีห์เจ้าพระองค์นั้น (ด้วย)

คัม์ภีรมัต์ถํ นิปุณ์ณํ สุทุท์ทสํ สาสัป์ปพีชีว สิเนรุเหฏ์ฐํ นานานยานํ มุนิเสวิตัน์ตํ สุขุมธัม์มํ ปวรํ นมามิ.

ชุงนุงธรรมทั้งหลายมีนัยต่างๆ ธรรมชาติอันใดเล่า มีอรรถอันลึกล้ำคัมภีรภาพเต็มที่ ยากที่บุคคลจะเล็งเห็นได้ง่าย เพียงดังว่าเมล็ดพรรณผักกาดอันอยู่ภายใต้เขาพระสิเนรุราช อันนักปราชญ์ มีสมเด็จพระมุนีนาถเปนต้นเสพย์แล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการซึ่งพระธรรมเจ้าอันทรงไว้ซึ่งอรรถอันสุขุมประเสริฐนั้น (ด้วย)

วิสุท์ธสีลํ สุสมาหิติน์ท๎ริยํ วิรัช์ชปัต์ตํ พุท์สาวกานํ อาหุเนย์ยานํปิจ ปาหุเนย์ยํ สุภาวิตํ สํฆวรํ นมามิ.

ประชุมพระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้ควรซึ่งวัตถุทานอันบุคคลนำมาบูชา ผู้ควรซึ่งสักการะเครื่องต้อนรับแขก หมู่ใดเล่า มีศีลบริสุทธิ์แล้ว สำรวมอินทรีย์เรียบร้อย ถึงซึ่งธรรมอันอาจหาญแล้ว ข้าพเจ้านมัสการพระสงฆ์เจ้าผู้ประเสริฐ ผู้มีศีลคุณอันจำเริญดีแล้วหมู่นั้น (ด้วย)

วัต์ถุต์ตยัน์ตี ปวรํ นมิต๎วา สธาตุชินํ สัพ์พถา วิตัน์ตํ โพธิญ์จ รุก์ขขํ ปวรํ นมิต๎วา กโรมิ รัก์ขา ปริปัน์ถกาเม

ข้าพเจ้านมัสการแล้วซึ่งรัตนอันประเสริฐ ว่า “วัต์ถุต์ตยํ” คือประชุมแห่งวัตถุทั้งสาม ดังนี้ ก็ได้ชื่อว่านมัสการแล้ว ซึ่งพระชินสีห์เจ้า กับทั้งด้วยพระธาตุอันแผ่กว้างไปแล้วโดยที่ทั้งปวงด้วย ซึ่งพระโพธิพฤกษ์อันประเสริฐด้วย ขอให้กระทำซึ่งการรักษาจากความไม่มีอันตรายแก่ข้าพเจ้าเทอญ.

อัน์ตราโย วิธํเสน์ตุ สัพ์เพเต เสฏ์ฐเดชสา อัน์ตราเย วิธํเสต๎วา วัต์ตยิส์สามิ จาริกํ

อันตรายทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ขอจงกำจัดไปให้วินาส ด้วยเดชอำนาจแห่งพระรัตนไตรยเจ้าอันประเสริฐ ข้าพเจ้ากำจัดอันตรายทั้งหลาย ให้พินาศไปแล้ว จึงจักแปลซึ่งคำจารึกให้เปนไปณะกาลบัดนี้.

วัต์ถูนํ นครํ รัม์มํ หริปุญ์เชย์ยนามกํ ชินธาตุป์ปปัต์ตีนํ นานารตนสํยุต์ตํ นานาชนสมากิน์นํ นานาโภคสมิท์ธินํ นานาลังการสัม์ปัน์นํ ติทสานํว รัม์มกํ

บันดาประเทศ คือพระนครทั้งหลายในเวลาโน้น ที่ขึ้นชื่อลือนามแล้ว พระนครหริภุญชัยเปนเมืองรื่นรมย์สำราญ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เพราะเปนประเทศที่ประชุม เกิดพระสารีริกธาตุของพระชินสีห์เจ้า ทั้งประกอบด้วยแก้วเก้าเนาวรัตนต่างๆ มีหมู่ประชุมชน คือนายห้างพ่อค้านานาประเทศ ชนหลายชาติประชุมอยู่เปนอันมาก มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ แลพัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สรอยน้อยใหญ่ต่างๆ เปนเมืองเกษมสำราญรื่นรมย์สนุกสบาย คล้ายกับเทวโลกอันเปนรัมยสถานของเทวดาทั้งหลาย.

จาริกํ ภาสมานานํ เทย์ยภาษานุสารณํ ตํ ภาสํ ลหุกํ โหติ นานุรูปํ ชินํ ปูรี วัต์ตยิส์สามิ ตํ ภาสํ ปาฬิพ๎ยัญ์ชนมัก์ขรํ ปทาคาถาภิคัน์ถานํ สวนิย์ยํ มโนรมํ ปสาทชนนัฏ์ฐานํ สาธยานํ นรนารินํ ตัส๎มา ตํ ภัญ์ชมานํ เม นิสามยถ สาธโวติ.

การที่จะกล่าวความตามสำนวนภาษาไทย ของนักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้กล่าวคำอันจารึกไว้แล้ว ภาษาไทยนั้น ก็มีเนื้อความอันเบามีอยู่ ไม่เปนภาษาสมควรแก่ชาวเมืองของพระชินสีห์เจ้า ข้าพเจ้าจึงจัดแปลภาษาไทยนั้นขึ้นสู่อักษรโดยพยัญชนะแห่งบาฬี ให้เปนคัมภีร์อันร้อยตรองไว้โดยบทแลคาถาอันเสนาะน่าฟัง อาจยังใจให้รื่นรมย์ได้ ทั้งจะได้เปนเหตุให้บังเกิดความเลื่อมใสแก่สาธุสัปปุรุษชายหญิงทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เมื่อข้าพเจ้ากล่าวอยู่ซึ่งตำนานคำจารึกนั้น ขอท่านผู้สาธุสัปปุรุษทั้งหลาย จงตั้งใจสดับโดยสักกัจจเคารพ เทอญ.

เตนโข ปน สมเยน อัม๎หากํ ภควา พราณสิยํ อุปนิส์สาย อิสิปตเน มิคทาเย จตูหิ อิริยาปเถหิ วิหรัน์โต.

ณสมัยกาลครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์เสด็จเข้าไปอาศรัยเมืองพาราณสีแล้ว ทรงสำราญพระอิริยาบถทั้งสี่ อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.

กตมานิ อิริยาปถานีติ.

มีคำปุจฉาว่า พระอิริยาบถทั้งสี่นั้น คือ อะไรบ้าง

ติฏ์ฐํ จรํ นิสิน์นํ เสย์ยานัญ์จาปีติ อิเม จัต์ตาโร อิริยาปถา จตุอิริยาปถา นาม.

คำอธิบายแก้ว่า อิริยาบถทั้งหลายสี่เหล่านี้ คือ พระเสด็จยืน ๑ ทรงดำเนิน ๑ ทรงนิสีทนาการ ๑ ทรงไสยาสน์ ๑ เรียกว่าจตุอิริยาบถ

อปิจ สัพ์พุท์ธกิจ์จานิ สาธยมาโน วิหรติ.

อิกประการหนึ่ง สมเด็จพระสุคตเจ้ายังพระพุทธกิจทั้งหลายทั้งปวงให้สำเร็จแล้ว พระองค์ทรงสำราญพระวิหารธรรม

กตมานิ พุท์ธกิจ์จานีติ ตํ ทัส์เสน์โต อาห.

พระคันถรจนาจารย์ เมื่อจะสำแดงพระพุทธกิจนั้น ด้วยบทกเถตุกามยตาปุจฉาว่า “กตมานิพุท์ธกิจ์จานิ” ดังนี้ แล้วจึงได้กล่าวคำไขความโดยบาทพระคาถาแปลความว่า

ปุพ์พัเณ๎ห ปิณ์ฑปาตัญ์จ สายัเณ๎ห ธัม์มเทสนํ ปทูเส ภิก์ขุโอวาโท อัฑ์ฒรัต์เต เทวปัญ๎หกํ ปัจ์จูเสว คเต กาเล ภัพ์พาภัพ์เพ วิโลกิเต อิเม ปัญ์จวิเธ กิจ์เจ สาเธติ มุนิปุงคโวติ.

คือพระองค์เสด็จไปบิณฑบาตในเวลาเช้า ๑ ทรงสำแดงธรรมในเวลาเย็น ๑ ทรงโอวาทภิกษุในเวลาค่ำ ๑ ทรงแก้ปัญหาเทวดาในเวลาเที่ยงคืน ๑ ครั้นกาลใกล้รุ่งล่วงไปแล้ว ทรงพิจารณาดูสัตวที่ควรเปนพุทธเวไนยแลไม่ควร ๑

สมเด็จพระมุนีปุงควเจ้า ได้ทำกิจทั้งหลายห้าประการเหล่านี้ ให้สำเร็จแล้วกะนี้แล

กิเรกัส๎มึ หิ ทิวเส โลกาโนโลกิโต ชิโน อัท์ทสิ วนจรานํ เมงคปุต์ตานเนกธา วสัน์ตานํ ปวนัส๎มึ ชโรหัน์นาม คามเก ญาณชาลปวิฏ์ฐานํ โอวาทํนุส์สาสนัย์ยํ.

แท้จริงดังได้สดับมา ณวันหนึ่งสมเด็จพระชินสีห์เจ้าทรงเลงพระญาณส่องโลกได้ทอดพระเนตรเห็นพวกเมงคบุตรทั้งหลายเปนอันมากพากันเที่ยวอยู่ในป่า อาศรัยในบ้านเรียกชโรหคามในป่าใหญ่ปุพพูปนิไสย ได้ฉายเข้าไปอยู่ในควงข่ายพระญาณ จึงควรที่พระองค์จะทรงประทานโอวาทแลอนุสาสน์สอน

ปาโต วุฏ์ฐาสิ สยนา สรีรัช์ชัค์คนํ อกา ปัต์ตจีวรมาทาย อากาเสนาคโต ชิโน โอรุย๎หัท๎วาลนาเมก รุก์ขวนํ มโนรมํ โกน์ตัญ์เจว ชโรหัญ์จ ท๎วิน์นํ คามานมัช์ฌกํ.

ครั้นเวลาเช้า ก็เสด็จจากพระแท่นไสยาสน์ ทรงทำการชำระพระสรีรกิจแล้ว ทรงบาตรจีวรแล้ว สมเด็จพระชินสีห์เจ้า ก็เสด็จไปโดยประเทศอากาศแล้ว เสด็จลงสู่ป่าไม้ทรงประทับยังต้นทวาลพฤกษ์ต้นหนึ่ง อันเปนที่น่าสำราญอยู่ในท่ามกลางระหว่างบ้านทั้งสอง คือบ้านโกนตคามกับบ้านชโรหคาม

ตัส๎มา มานทวานัน์ติ วุจ์จัน์ติ ชนตา ปุรารุก์ขมูลํ อุปาคัญ์ฉิ ปัต์ตํ ลัค์เคสิ สาขิกํ จีวรปารุปํ กัต๎วา ปัต์ตํ อาทาย โสภณํ กตรทัณ์ฑมาทาย คามํ ปิณ์ฑาย ปาวิสิ.

เพราะเหตุนั้น ประชุมชนชาวเมือง จึงได้พากันมาเรียกเรื่องที่ตำบลนั้นว่า มานทวาน เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปสู่ประเทศโคนไม้แล้ว ได้แขวนบาตรไว้ที่กิ่งไม้. ทรงห่มคลุมจีวรแล้วทรงถือไว้ ซึ่งบาตรอันงามแล้วทรงไม้ธารพระกรเสด็จสัญจรเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต

ตทา เมงคา วนปุต์ตา ปัส์สัน์ตา พุท์ธสัม์ปทํ อภิรูปตรํ โสภํ วัณ์ณวัน์ตํ อสาทิสํ อทิฏ์ฐปุพ์พํ ทิส๎วาน ปีติโตทัค์คมานสา สัพ์เพ ตัต์ถ สมาคัญ์ฉํุ ภควัน์ตํ อปุจ์ฉิสํุ.

ณกาลครั้งนั้น พวกเมงค์วนบุตรทั้งหลาย เมื่อได้เห็นพระพุทธสมบทอันงามปรากฏยิ่ง ทรงพรรณรัศมี หามีผู้ใดจักเปรียบปานไม่ ครั้นมาได้เห็นพระพุทธองค์อันตนมิได้เคยเห็นแล้ว ก็พากันมีใจอันเหิมด้วยปรีดาปราโมทย์ ทุกๆ คนได้พากันมาประชุมอยู่ในที่นั้นแล้ว ทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้าว่า

โก ต๎วํ เทโว นุ คัน์ธัพ์โพ สัก์โก นาโค นุ รัก์ขโส โก นุ ต๎วํ กัส์ส วา ปุต์โต กถํ ชาเนมุ ตํ มยํ ติ.

พระองค์เปนใคร เปนเทวดาหรือเปนคนธรรพ์ เปนท้าวสักกะ เปนนาคหรือว่าเปนรากษษ “นุ” ดังข้าพระบาททั้งหลายทูลถามพระองค์เปนใคร อนึ่งเปนบุตรของผู้ใด ทำไฉนข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้เล่า

ตํ สุต๎วา นรามรวรวุสโภ ภควา สุคัน์ธจตุชาติคัน์ธผริต มุก์ขรตนกรัณ์ฑกํ วิวรัน์โต อัฏ์ฐังคสมัน์นาคตํ พ๎รห๎มสรํ นิจ์ฉาเรต๎วา เมงคปุต์ตานํ เอวมาห

สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคย์เจ้าผู้อุสุภประเสริฐกว่านระแลเทพยดา ครั้นพระองค์ได้ทรงสดับวาจาพวกเมงค์ทั้งหลายทูลถามดังนั้นแล้ว เมื่อพระองค์จะเผยผะอบแก้ว อันบรรจุสุคนธชาติทั้ง ๔ มีกลิ่นหอมฟุ้งขจร จึงเปล่งสัททสำเนียงเสียงพรหมสรอันประกอบด้วยองค์คุณ ๘ ประการ ตรัสบรรหารตอบเมงคบุตรทั้งหลาย อย่างนี้ดังนี้ว่า

นาหํ เทโว น คัน์ธัพ์โพ น สัก์โก นาครัก์ขโส อหํ สัพ์พัญ์ญู พุท์โธติ ปุต์โต สุท์โธทนัต๎รโช ปูชิโต สัพ์พเทเวหิ เอวํ ชานาถ เมงคณาติ

เรามิใช่เปนเทวดา มิใช่เปนคนธรรพ์ มิใช่ท้าวสักกะแลนาครากษษ เราตถาคต เปนพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เปนบุตรเกิดแต่ท้าวสุทโธทนมหาราช เราเปนผู้ที่เทพยเจ้าทั้งปวง อภิวาทบูชา ดูราคณะเมงค์ทั้งหลาย จงตั้งใจมั่นหมายจำเราไว้อย่างนี้เถิด

อถ สัพ์เพปิ เมงคาโย อิต์ถิโย ปุริโสปิ วา โจทิตา พุท์ธสัม์ภารา พุท์โธ พุท์โธติ วาจิกา สัม์พุท์เธภิปสาเทน์ตา ปิณ์ฑปาตัส์ส อทํสุ เต วัน์ทัน์ตา สาทรา สัพ์เพ เอวมาหํสุ ตัส์ส จ ภัน์เต สัพ์พัญ์ญูสัม์พุท์ธ กุโต อาคัญ์ฉิ ต๎วํ อิธาติ

ลำดับนั้น พวกเมงค์ทั้งหลายทั้งชายทั้งหญิง เมื่อพระพุทธสมภารหากตักเตือนแล้ว ก็พากันเลื่อมใสยิ่งในพระสัมพุทธเจ้า กล่าววาจาว่า “พุท์โธๆ” ดังนี้ แล้วได้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธองค์เจ้านั้น ครั้นแล้วพวกเมงค์ทั้งปวงก็ถวายอภิวาทโดยเอื้อเฟื้อแล้ว กราบทูลแด่สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้าอย่างนี้ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้เจริญ พระองค์ได้เสด็จมาแล้วแต่ประเทศใด จึงได้มาในสถานที่นี้”

อถ โข โลกนาโถ โลเก โลกัค์คนายโก วิวริต๎วา สกํ มุขํ สุคัน์ธํว นิจ์ฉาริตํ พ๎รห๎มสรํ นิจ์ฉาเรสิ สัพ์เพสํ เอวมาห จ อัม์โภ วนจเร เมงเค มัค์โค อาคมโน มม พาราณสินครัม๎หา อติทูรตรา อิโตติ

ทีนั้นแล สมเด็จพระโลกนาถเจ้าผู้เปนนายกอันเลิศกว่าหมู่สัตวในโลกสันนิวาส เมื่อพระองค์จะดำรัสประภาษ จึงเผยพระโอฐของพระองค์ดุจทรงสุคนธชาติฟุ้งขจร เปล่งพระพรหมสรสัททสำเนียงเพียงประหนึ่งว่าเสียงท้าวมหาพรหม โดยนิคมคาถาอย่างนี้ แก่พวกเมงค์ทั้งหลายทั้งปวงว่า

“ดูราเมงค์พเนจรผู้จำเริญทั้งหลาย มรคาที่พวกเมงค์มุ่งหมายเปนทางดำเนินมาของเราพระตถาคตมีกำหนดมาแต่เมืองพาราณสี จนถึงตำบลที่นี้ ก็เปนทางทเรศลำบากมาก” กะนี้แล

อถ เต ตํ ปวทัน์ติ ภัน์เต อาคมนํ ตว อติทูรตรํ มัค์คํ กิมัต์ถาย อิธาคโตติ.

ลำดับนั้น พวกเมงค์เหล่านั้นก็ทูลกะสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้าอิกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หนทางเปนที่ดำเนินมาของพระองค์ ก็เปนมรคามิใช่ตรง คือเปนทางทูรกันดารนัก ข้าพระบาททั้งหลายจะใคร่ทราบให้ประจักษ์ชัดว่า พระองค์มีพระพุทธประสงค์สิ่งอันใด จึงได้เสด็จมาแล้วถึงที่นี้”

อถ โข เตสํ เมงคานํ อิทํ วจนมพ๎รวิ ตถาคโต อิธาคัม์ม ตุม๎หากํ โสต์ถิการกํ อิโต อุท์ธํ คโต มัค์โค มานัส๎มึ น ทูรํ ปน มหัน์ตํ นครเมกํ อุป์ปัช์ชิส์สติ อนาคเต ยทา มยิ ปรินิพ์พายัน์เต ธาตุ มัย๎หํ สรีริกํ เตน เตน ภัช์ชิส์สัน์ติ เอกา เอต์ถุป์ปัช์ชิส์สติ ตัส๎มา ตํ ปัส์สิตํุ โส หํ ยุต์ตายุต์ตํ อิธาคโตติ.

ลำดับนั้นแล สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ได้ตรัสพระวาจานี้แก่พวกเมงค์ทั้งหลายเหล่านั้นว่า “เราพระตถาคต เสด็จมาในที่นี้ ความประสงค์จะทำความสวัสดีแก่พวกท่านทั้งหลาย มรคาไปทางเหนือแต่ตำบลนี้ไป ก็เปนทางไม่สู้ใกลมีหมู่บ้านพวกม่านอยู่ จักเปนพระนครหนึ่งอันใหญ่ เกิดขึ้นในอนาคตเมื่อกำหนดกาลใด เราปรินิพานแล้ว ชนเหล่านั้นจักจำแนกพระสารีริกธาตุของเราไปโดยประเทศนั้นๆ พระสารีริกธาตุส่วนหนึ่ง จักประชุมเกิดขึ้นในพระนครใหม่นั้น อาศรัยเหตุนั้นเราพระตถาคตมาแล้วในที่นี้ เพื่อจะตรวจดูสถานที่นั้น ว่าสมควรหรือไม่สมควรแล้วประการใดแล

อถ เต ตํ อวทึสุ สาธุ ภัน์เต วโจ ตว อภัพ์พาม๎ห มยํ สัพ์เพ วนวาเส มิเค ยถา สาธุ โน ภควา ธัม์มํ เทเสตุ อนุกัม์ปิตํุ.

ลำดับนั้น พวกเมงค์ทั้งหลายได้กราบทูล สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์นั้น ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวาจาของพระองค์ตรัสดีแล้ว ข้าพระบาททั้งหลายทั้งปวงเปนคนอาภัพเสียแล้ว เปรียบดังฝูงมฤคที่พากันมาอยู่ในป่า ขอสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ได้ทรงพระมหากรุณาอนุเคราะห์ ทรงสำแดงพระธรรมเทศนา แก่ข้าพระบาททั้งหลาย ให้ประโยชน์สำเร็จเถิด

อถ โข ภควา เตสํ มนํ ญัต๎วา อปากฏํ ยถานุรูปํ เทเสสิ ธัม์มํ สัป์ปุริสคตึ.

ลำดับนั้นแล สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ได้กำหนดรู้วาระน้ำจิตรแห่งพวกเมงค์ทั้งหลายว่าเขลาไม่เข้าใจ จึงได้ทรงสำแดงธรรมอันเปนสัปปุริสคติ เครื่องดำเนินของสัปปุรุษโดยสมควรว่า

มาตาเปติภรํ เหถ กุเล เชฏ์ฐาปัจ์จายถสัณ๎หา สัก์ขิลสัม์ภาสา มา ปมาทาปจาทิน์นา ปาโต สายัณ๎หกาลัม๎หิ พุท์ธํ อุท์ทิส์ส วัน์ทถ ธัม์มํ สังฆัญ์จ วัน์ทถ ปมาทาวจนํ นาม อิเม เต มา คัณ๎หถัต์โถ สเจ กโรถ เม วาจํ เทวโลกํ คมิส์สถาติ.

ท่านทั้งหลาย จงเปนผู้เลี้ยงมารดาบิดาเถิด จงเปนผู้ประพฤตินอบน้อมต่อผู้เปนอยู่ในตระกูล จงเปนผู้มีวาจาไพเราะเพราะพร้อง จงอย่าได้ถือเอาซึ่งวัตถุของผู้อื่นด้วยความประมาท ท่านทั้งหลายจงอุทิศต่อพระพุทธเจ้า แล้วอภิวาทในกาลเวลาเช้าแลเวลาเย็น อนึ่งท่านทั้งหลายจงอภิวาทพระธรรมพระสงฆ์ด้วย ขึ้นชื่อว่าคำที่ประกอบด้วยความประมาทแล้ว ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือเอาเลย ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายจักทำตามคำเราไซ้ ท่านทั้งหลายก็จักพากันไปสู่สวรรค์เทวโลก

เอวํ ภควา เตสํ สัป์ปุริส ธัม์มํ เทเสต๎วา ปุน จ ปรํ เตสํ ปัญ์จสีลํ ททัน์โต สัต์ถา อาห.

แลเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ทรงสำแดงสัปปุริสธรรมแก่พวกเมงค์ทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว เบื้องน่าแต่นั้นสมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้า เมื่อจะประทานศีล ๕ แก่พวกเมงค์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ตรัสโดยบาทพระคาถา แปลความว่า

ปาณาติปาตา วิรมถ ขิป์ปํ โลเก อทิน์นํ ปริวัช์ชยาถ ปรัส์ส ทารํ มา จ เสเวย์ยาถ ยาวัส์ส ชีวํ มา จ มุสา ภณาถ ยาวัส์ส ชีวํ สุรํ มา ปิวถ ปุญ์ญานิ สีลานิ สมาทิยาถาติ.

ท่านทั้งหลายจงเว้นจากการฆ่าสัตวให้เด็ดขาดด้วย ท่านทั้งหลายจงเว้นให้หมดทุกสิ่ง จากการถือเอาสิ่งของอันชาวโลกมิได้ให้แล้วด้วย ท่านทั้งหลายอย่าเสพย์ภรรยาของผู้อื่นด้วย ท่านทั้งหลายอย่ากล่าวคำเท็จตลอดชีวิตด้วย ท่านทั้งหลายอย่าดื่มสุราเมรัยตลอดชีวิตด้วย ท่านทั้งหลาย จงสมาทานศีลทั้งหลายอันเปนบุญไว้เถิด

เต สาธูติ วัต๎วา ตํ สมาทยิต๎วา ภควัน์ตํ วัน์ทิต๎วา ฐิตา.

ชนทั้งหลายนั้นก็กล่าวคำว่า สาธุ สาธุ ดังนี้แล้วสมาทานศีลไว้ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคย์เจ้าแล้วพากันยืนอยู่

อถโข ภควา เตสํ ปัส์สัน์ตานัญ์เญว อากาสํ อัพ์ภุค์คัน์ต๎วา พิงคมาติกาย ตีเรน อุท์ธาคมเนน อากาเสนาคัน์ต๎วา.

ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า เมื่อพวกเมงค์ทั้งหลายกำลังแลดูอยู่นั้นเทียว พระองค์ก็เสด็จตรงขึ้นไปสู่ประเทศอากาศ เสด็จมาแล้วโดยอากาศวิถี อันเปนที่มาทางเหนือตามฝั่งคลองแม่น้ำพิงค์มา

ตทา เอโก สัพ์พเสโต กากราชา ภควโต ปัจ์ฉโต อากาเสน อนุอาคัน์ต๎วา คามโภชกาทโย วนเมงคปุต์ตา โยปิมาติกาย ตีรมัค์เคน ภควันตํ อนุอาคัญ์ฉึสุ.

ณกาลครั้งนั้น มีพระยากาเผือกตัวหนึ่งบินตามมาทางอากาศโดยเบื้องหลัง สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า แม้ว่าชาววนเมงคบุตรทั้งหลายมีนายบ้านเปนต้น ก็พากันเดินตามสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า มาโดยมรรคาริมฝั่งคลอง

อาคตมัต์เตเยว ภควา มาติกาย ปัจ์ฉิมทิสาภาคํ วนัป์ปคุม์พสมัน์นาคตํ อภิรัม์มตรํ มหานครชนิตัป์ปเทสํ อากาสโต โอตริต๎วา ธาตุสมุฏ์ฐหนสมีเป ฐาเน ฐิโต ปัต์ตํ ฐปิตัฏ์ฐานํ โอโลเกสิ.

ส่วนสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ก็เสด็จจากอากาศลงสู่ประเทศ อันเปนที่จะบังเกิดมหานครอภิรมย์สถานสำราญยิ่ง อันเสลาสล้างไปด้วยพรรณ์หมู่ไม้อันมีอยู่ในทิศาภาคด้านปัจฉิมแห่งคลองในทางที่เสด็จมานั้นเองแล้ว จึงเสด็จไปประทับอยู่ในที่ใกล้ต้าบล อันจะประชุมพระธาตุ ทรงทอดพระเนตรสถานที่จะตั้งบาตร

ตัส๎มึ ขเณ เอโก จตุรัส์โส ศิลาปโฏ เภรีสทิโส สมตโล ท๎วาทสหัต์ถัป์ปมาโณ ภควโต ปาทสมีเป ปถวิโต สมุฏ์ ฐหิ

ณะขณนั้น มีพระแท่นศิลาปัฏ ๔ เหลี่ยมจตุรัสแท่งหนึ่ง สัณฐานคล้ายกับกลองมีน่าอันเรียบใหญ่ประมาณ ๑๒ ศอก ผุดขึ้นมาจากแผ่นดินในที่ใกล้พระบาทของพระผู้มีพระภาคย์เจ้า

อถโข ภควา ตัส๎มึ ศิลาตเล ปัต์ตํ ฐเปต๎วา มหาปํสุกุลจีวรํ เอกังสํ กัต๎วา อิโต จิโต จ โอโลเกสิ

ลำดับนั้นแล สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ได้ตั้งบาตรไว้ในพื้นแท่นหินนั้น แล้วจึงทรงทำมหาบังสุกุลจีวรเฉียงพระอังษาข้างหนึ่ง แล้วจึงทอดพระเนตรแลไปดูข้างโน้นแลข้างนี้

ยถา นครคุต์ติโก กัม์มกาโร กัม์มํ วิปัส์สัน์โต ตโต เอโต จ โอโลเกน์โต ตถา ภควา เมงคปุต์ตานํ สัญ์ญาปนัต์ถํ โอโลเกสิ.

กรมการผู้มีน่าที่ราชการรักษาพระนคร เที่ยวสัญจรตรวจราชการเดินไปแล้วแลดูอยู่แต่ที่โน้นแลที่นี้ ฉันใดก็ดี สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ก็มีพระอาการฉันนั้น แลได้ทอดพระเนตรแลดูแล้วเพื่อจะยังพวกเมงคบุตรทั้งหลาย ให้หมายจำสำคัญสถานที่ไว้แล้ว

โอโลกนกาเลเยว ภควา เตสํ เอตทโวจ โภน์โต วนเมงคาโย อนาคเต กาเล อิทํ ปเทสํ มหานครํ ภวิส์สติ เอโก อาทิจ์จ ราชา นาม รัช์ชํ กาเรส์สติ.

สมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ได้มีพระวาจาตรัสแก่พวกเมงค์ทั้งหลาย ในกาลเมื่อกำลังทอดพระเนตรอยู่นั้นว่า “ดูราวนเมงค์ทั้งหลายผู้จำเริญ ในกาลอนาคตภายน่า ประเทศที่นี้จักปรากฏมีเปนพระมหานครใหญ่ มีพระเจ้าเอกราชทรงพระนามว่า อาทิจจราชจักได้เสวยราชครองพระนครนี้

โส จ ตุม๎หากํ กุลวํโสติ กริส์สติ ยทา หิ มยิ ปรินิพ์พาเนเยว มัย๎หํ สารีริกธาตุ อิมัส๎มึ ฐาเน อุป์ปัช์ชิส์สติ โส ราชา จ ตํ อุป์ปัฏ์ณหิส์สตีติ.

ก็พระเจ้าอาทิจจราชนั้นจักเปนวงษ์ตระกูลของท่านทั้งหลาย ก็กาลใดเราพระตถาคตนิพพานแล้วเทียว พระสารีริกธาตุของเราจักบังเกิดขึ้นในสถานที่นี้ แลพระราชานั้น จักได้บำรุงพระสารีริกธาตุนั้น

เอวํ วัต๎วา ภควา ปัต์ตํ คเหต๎วา หัต์ถตเล ฐเปต๎วา ตัส๎มึ ขเณ ปัต์โต สยํ อากาเส อุล์ลังฆิต๎วา ภควา ปุเรตรเมว อคมาสิ.

เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ตรัสอย่างนี้แล้วก็ทรงจับบาตรมาตั้งไว้ในพื้นพระหัตถ์ ณะขณนั้น บาตรก็อุบัติลอยขึ้นไปในอากาศเองแล้ว จึงลอยไปก่อนสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า

ภควาปิ อากาสํ อัพ์ภุค์คัน์ต๎วา ตํ ปัจ์ฉโต คัน์ต๎วา พาราณสึ อิสิปตนํ อคมาสิ.

แม้ว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า ก็เหาะขึ้นไปสู่ประเทศอากาศ แล้วจึงเสด็จตามบาตรไป โดยอาการอันเบื้องหลัง จนกระทั่งถึงป่าอิสีปตนเมืองพาราณสี

เตปิ วนเมงคปต์ตา ตํ อัจ์ฉริยํ ทิส๎วา ภควโต คุณํ โถเมต๎วา อัต์ตโน วสนคามํ อคมํสุ

แม้ว่าวนเมงคบุตรทั้งหลาย ครั้นได้เห็นซึ่งอัศจรรย์นั้นแล้ว จึงได้พากันโถมนาคุณสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า แล้วก็พากันไปสู่บ้านอันเปนวสนสถานแห่งตนๆ

เสตกาโก จ ภควโต วจนํ สุต๎วา เอกํ กากํ อัต์ตนานุมติกํ กเถต๎วา ตํ ฐานํ รัก์ขนัต์ถํ ฐเปต๎วา หิมวัน์ตํ ปัก์ขัน์ทิ.

ฝ่ายกาเผือกได้ฟัง พระพุทธพจน์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคย์เจ้า แล้วจึงมาบอกกาตัวหนึ่ง ตามอนุมัติของตน แล้วตั้งกาตัวนั้นไว้ให้รักษาสถานที่นั้น แล้วก็บินไปสู่หิมวันตประเทศ

เตน สังคาหโก ตํ ทัส์เสน์โต อาห.

เพราะอาศรัยเหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์เจ้า เมื่อจะสำแดงอรรถนั้นให้แจ้ง จึงกล่าวเปนบาทพระคาถาแปลความว่า

สัม์พุท์โธ วญ กรุณาทิวาโส ทูเร สัน์ตาโน วินโย วิทิต๎วา สัม์ปัต์ตสุขา ภัค์คนานิเปโข คัน์ต๎วาว โส โพธติ สาสติ จ โลกุต์ตรัต์ถัญ์จ โลกิยมัต์ถํ ปติฏ์ฐิตัน์ตํ เสฏ์ฐภาวัฏ์ฐานํ นิวัต์ตยิต๎วาว สกํ วิหารํ พุท์ธานกิจ์จํ ปวัต์โต ชิโน โส.

แท้จริง พระสัมพุทธเจ้า ผู้อยู่ด้วยพระคุณมีพระมหากรุณาญาณเปนต้น ทรงรู้แจ้งซึ่งธรรมเครื่องทรมานสันดานสัตวในที่ไกล พระองค์มีความเพ่งอยู่ในความศุขอันสัตวพึงถึงแลในธรรมอันสัตวพึงเสพย์อยู่เปนนิตย์ พระพุทธองค์เจ้านั้นเสด็จไปโปรดพวกเมงคบุตรให้ตรัสรู้บ้าง ทรงโอวาทสั่งสอนบ้าง ซึ่งโลกุตตรประโยชน์บ้าง ซึ่งโลกิยประโยชน์บ้าง พระองค์ประดิษฐานไว้ซึ่งพวกเมงคบุตรนั้น ยังสถานอันเปนที่ตั้งแห่งความประเสริฐแล้ว สมเด็จพระชินสีห์เจ้านั้น เมื่อพระพุทธองค์ได้ยังพระพุทธกิจให้เปนไปแล้ว จึงได้เสด็จกลับไปสู่วิหารอันเปนที่สุขวิหารของพระองค์

เมงคาปิ ปตุ์ตา วนวาสี สัพ์เพ พุท์ธํ นมัส์สํน์ติ ปสัน์นมานา โอสัก์กิตัม๎หา วัต์ตยึสุ คามํ สัม์พุท์ธวาจํ สุมัต์ถกัน์ติ.

แม้พวกเมงค์ชาวป่าทั้งหลายก็พากันเลื่อมใสถวายนมัสการสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าแล้ว ได้พากันหลีกลงจากสถานที่นั้น กลับไปสู่บ้าน พระวาจาของสมเด็จพระพุทธเจ้า ก็ได้สำเร็จถึงที่สุด ด้วยดีกะนี้แล

เสโตปิ กาโก พุท์ธวจนัน์ตํ สุต๎วาน นิสํ สุชัจ์จํ สุกากํ ฐเปสิ ฐานํ นิจ์จํ กาลรัก์ขํ ปัก์กามิ เวหาย หิมาลยํ โสติ.

แม้ว่ากาเผือก ครั้นได้ฟังพระพุทธวจนนั้น จึงได้ตั้งกาดีตัวหนึ่ง ซึ่งมีชาติอันดีพร้อมให้อยู่รักษาสถานที่นั้นเปนนิตยกาล แล้วกาเผือกนั้น ก็บินไปโดยเวหาสู่เขาหิมาลัย กะนี้แล

อิติ ตาว หริภุญ์เชย์ยนิทํ เทโส มหาจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต พุท์ธพ๎ยากรโณ ปริจ์เฉโท ปฐโม นิฏ์ฐิโต

อันนี้แสดงด้วยเมืองหริภุญไชยเท่านั้น อันพระโพธิรังษีมหาเถรได้แต่งตามสำนวนเรื่องมหาจารึก.

พุทธพยากรณ์ ปริเฉทที่แรก จบแล ๚ะ

  1. ๑. น่าจะเปน (จาริตํ) แปลว่าจารีต

  2. ๒. น่าจะเปน (ภัญ์ญมานานํ)

  3. ๓. เบาความ คือหย่อน

  4. ๔. ต้นฉบับเปน (วนปุรานํ) แปลว่า เมืองในป่า ความไม่ชัดเพราะขัดความเปนบุทคลไม่ได้ เข้าใจว่าเปน (วนจรานํ) ผู้เที่ยวป่า หรือชาวป่า

  5. ๕. ที่แปลว่า บ้านม่าน ทั้งสอง กมัง

  6. ๖. ความตรงกับ วิภัช์ชิส์สัน์ติ

  7. ๗. ฉบับลายรดน้ำแดงเปน วเห ตว ทองน้อยเปน วโจตว

  8. ๘. ความตรงกับ อปาฏกํ ว่าไม่มีปัญญา หรือว่าเขลา

  9. ๙. จะเปน พา หรือ ญา ไม่แน่ จะแปลว่า สอง หรือ ญาณ ความรู้ก็ได้ แต่ความตรงกับ มหา และ วต แท้ จะแปลตามวต ศัพท์ ไปก่อน

  10. ๑๐. ชื่อเพลงที่คิดออกมาแล้วนี้ และเส้นใต้ที่ขีดในเพลงนั้นแยกเปนหมายเลข ๑, ๒, ๓ ฯลฯ และที่บอกเลขจำนวนเพลงไว้ท้ายบท แต่ละบทว่า ๗ เพลงบ้าง ๑๑ เพลงบ้าง นั้น เปนลายพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงไว้ด้วยดินสอ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ