จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๓

ยัญ์จาปิ ศิลาปัต์ตํ อุทปาทิ ตํ ชินัส์ส ปัต์ตปติฏ์ฐานภูตํ.

แผ่นศิลาบัตรอันใดเล่า ที่ได้บังเกิดขึ้นแล้วปรากฏแล้ว เปนที่ประดิษฐานบาตรของพระชินสีห์เจ้า

สัพ์เพปิ เทวาสุรพ๎รห๎มกาอีกา อาคัม์ม ปูเชน์ติ ปัต์ตํ นิจ์จกาลํ อถาปิ อิสิคณิกา ยัสส์สิมา หิมาลยาโต คคเณ อาคตา ปูเชน์ติ ตํ เสลปัต์ตํ นิรัน์ตรํ สุลัก์ขิตํ ตํ ชินธาตุฏ์ฐานตัน์ติ.

เทวดาอสูรหมู่พรหมทั้งหลายทั้งปวง ได้พากันมาบูชาแผ่นศิลาบัตรเปนนิตยกาล ถึงแม้ว่าหมู่พระฤๅษีผู้มียศทั้งหลาย ได้เหาะมาแล้วในอากาศแต่ภูเขาหิมาลัย พากันบูชาแผ่นศิลาบัตรนั้นเปนนิรันดร ที่ตำบลนั้น ได้กำหนดกันไว้โดยดีว่า เปนสถานที่ตั้งพระชินธาตุแล

อิสิ จ เสฏ์โฐ วาสุเทวนามโก สุช์ฌานธาโร วุฏ์ฐานการโก ชฏาสุ ธาโร คคเณหิ อาคโต เสลํ สุปัต์ตํ วรปุป์ผํ ปูชยิ อถัส์ส วิตัก์กิสิโน อุปาทิตํ อิทัม์ปิฏ์ฐานํ พุท์ธเสฏ์ฐพ๎ยากรํ มหาชนตาภิสัณ์ฐิตํ ภวิส์สติ เขมตรํ อนาคตํ ตถาคตัส๎มึ ปรินิพ์พุตัส๎มึ ปรัม๎หิ กาลัม๎หิ คติม๎หิ สัน์เต มัย๎หัญ์จ ธาตุ สรีรกเมกํ ปาตุพ์ภวิส์สติ อิธัฏ์ฐานเกติ อหัญ์จ สิส์โส มุนิโน ภวามิ ชินัส์ส วาจํ น ยุต์ตํ ชเหย์ยํ เอต์ถาปิ ปุรํ นิมิต์ตํ ยโตหํ อปิจ โกจิ สหาโย ภเวย์ยัน์ติ.

อนึ่งพระฤๅษีผู้ประเสริฐมีนามว่าวาสุเทพผู้ทรงฌานชำนาญการวุฏฐานวิธีทรงชฎาเปนอันดี เสด็จมาโดยอากาศ ได้ถวายอภิวาทวรบุปผาบูชาแผ่นศิลาบัตรเปนอันดีแล้ว. ลำดับนั้น ความปริวิตกได้บังเกิดขึ้นแก่พระฤๅษีเจ้านั้นว่า “สถานที่นี้สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าผู้ประเสริฐได้พยากรณ์ไว้ จักเปนสถานที่อันมหาชนประชมอยู่เปนเมืองอันเกษมต่อไปภายน่า ครั้นเมื่อองค์พระตถาคตเจ้าปรินิพานแล้ว กาลเปนเบื้องน่าล่วงไปแล้วมีอยู่ พระธาตุสรีรของเราส่วนหนึ่งจักปรากฏมี ณสถานที่นี้” ดังนี้ เราเล่าก็เปนศิษย์สมเด็จพระมุนีเจ้า จะพึงละซึ่งพระวาจาแห่งพระชินสีห์เจ้าก็หาสมควรไม่ กาลไรเล่าเราควรเนรมิตรเมืองในที่นี้ อนึ่ง เล่าใครจักเปนสหายช่วยในการนี้

อถ โส จิน์ติตสมนัน์ตรเมว สุก์กทัน์ตมหาอิสิ อิทธ์ธิวิธิชุติวิก์กัม์มพลสมัน์นาคตํ ธัม์มิกัน์นาม ปัพ์พตํ มุท์ธนิฏ์ฐิตํ ลโว นาม นครมุปนิส์สาย อัต์ตโน สหายํ อัท์ทส โส สุก์กทัน์โต มหาสหาโย อิท์ธิพลปรัก์กม พ๎ยัต์ติปฏิพลสมัน์นาคโต สัพ์พกัม์มกรณกุสโล โส มม กิจ์จํ กาตํุ สมัต์โถ โหติ กัน์นุ ตัส์ส สัน์ติกํ ปหิณิส์สามีติ.

ลำดับนั้น ณกาลอันเปนระหว่างแห่งพระวาสุเทพคิดอยู่นั่นเทียว ก็ได้เห็นซึ่งพระสุกกทันตมหาฤๅษี ผู้มีความรุ่งเรืองด้วยอิทธิวิธีมาตามพร้อมแล้วด้วยวิกรมพลผู้เปนสหายของตน ได้อาศรัยอยู่พระนครชื่อลโว อันประดิษฐานอยู่ณยอดบรรพตชื่อธัมมิก พระสุกกทันตมหาสหายนั้น เธอถึงพร้อมแล้วด้วยอิทธิพลแลปรักกมพยัติแลปติพล เธอฉลาดในการช่างทั้งปวง เธอนั้นสามารถเพื่อจะทำกิจของเราได้ เราจะส่งใครไปสู่สำนักเธอดีหนอ

ตัส์ส จิน์ติตสมนัน์ตรเมว ตัส๎มึ ปุพ์พุต์ตรกัณ์ณทิสาภาเค เวฬุคัจ์ฉํ เอกา รุก์ขกา เทวตา ตัส์ส มนํ ญัต๎วา อาคัน์ต๎วา เอวมาห อหํ ภัน์เต ตุม๎หากํ ทูตทาสา ภวิส์สามิ ปัณ์ณํ ลิขิต๎วา มํ เปเสถาติ.

ณกาลเปนระหว่างที่พระวาสุเทพกำลังดำริห์อยู่นั่นเทียว มีพฤกษเทพดาองค์หนึ่ง อาศรัยอยู่กอไผ่อันตั้งอยู่ในเบื้องทิศาภาคแห่งทิศบุพพุดร (อิสาน) นั้น ได้ทราบวาระน้ำจิตรแห่งพระวาสุเทพนั้นแล้ว เสด็จมาสำแดงอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระฤๅษีผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักเปนทูตทาสของท่าน ขอท่านจงเขียนหนังสือแล้วส่งข้าพเจ้าไป

โส สาธูติ วัต๎วา อัต์ตนาธิป์ปายํ ปัณ์ณํ ลิขิต๎วา ตัส์ส หัต์เถ ฐเปต๎วา เปเสสิ.

พระวาสุเทพนั้นกล่าวว่าสาธุแล้ว ก็เขียนหนังสืออันเปนความอธิบายของตนมอบให้ในหัตถ์แห่งพฤกษาเทวดานั้นแล้วส่งไป

สาปิ สเวฬุคัจ์เฉน พิงคนทิยา โสเต คัน์ต๎วา เอกาเหเนว ลวนครติฏ์ฐํ สัม์ปาปุณิ.

พฤกษเทวดานั้นได้ไปตามกระแสน้ำพิงคนทีกับด้วยกอไผ่ได้ ถึงแล้วซึ่งท่าเมืองลวนครโดยวันเดียวเท่านั้น

ตัส๎มึ ขเณ สุก์กทัน์ตปัณ์ฑิตมหาอิสี ปัพ์พตมุท์ธโต โอตริต๎วา น๎หานัต์ถาย มหานทึ คัน์ต๎วา ตํ ทิส๎วา กตรทัณ์เฑน นทีโสเตน ขิปิต๎วา ทุติยัม์ปิ ตติยัม์ปิ โส เวฬุคัจ์โฉ ปุนัป์ปุนํ ตํ ติฏ์ฐํ อาคัญ์ฉิ.

ในขณะนั้น พระสุกกทันตบัณฑิตมหาฤๅษีลงมาจากยอดบรรพตไปสู่ท่ามหานที เพื่อจะสรงน้ำ เธอได้เห็นกอไผ่นั้น ก็ค้ำด้วยไม้สักเท้าไสให้ไปตามกระแสน้ำ ถึงสองครั้งสามครั้ง กอไผ่นั้น ก็มาสู่ท่านั้นอิก

อถ สุก์กทัน์โต ภวิตัพ์พเมต์ถ การณัน์ติ จิน์เตสิ เอวํ จิน์ติเตเยว ตัส๎มึ อุปริ อภิรุหิต๎วา ปัณ์ณภัณฑํ ทิส๎วา กึ อิทัน์ติ อาห.

ลำดับนั้น พระสุกกทันต์ จึงดำริห์ว่าเหตุการณ์จะพึงมีในกอไผ่นี้ ครั้นเมื่อเธอคิดแล้วอย่างนี้ จึงไต่ขึ้นไปบนกอไผ่นั้น ก็เห็นหนังสือผูกอยู่ จึงกล่าวว่า นี่อไร

อถโข สา เทวตา อาห ภัน์เต ตุม๎หากํ สหาโย มหาวาสุเทโว มํ ปัณ์ณํ อาหราเปต๎วา ตํ ปัก์โกสาเปสีติ.

ทีนั้น เทวดานั้นก็กล่าวว่า ข้าแต่พระฤๅษีผู้เจริญ พระมหาวาสุเทพผู้สหายของท่าน ให้ข้าพเจ้านำหนังสือมาเชิญท่านไป

ตัส์สาย วจนํ สุต๎วา ปัณ์ณํ วาเจต๎วา วาสุเทวัส์สาธิปายํ ญัต๎วา เอวมาห อัม์โภ อิโต สัต์ตเม ทิวเส คมิส์สามิ อิโต ต๎วํ ปฐมํ คัน์ต๎วา มม สหายัส์ส ชานาเปหีติ วัต๎วา อุย์โยเชสิ.

พระสุกกทันต์ครั้นได้ฟังคำเทวดานั้น แล้วอ่านหนังสือดู ก็รู้อธิบายของพระวาสุเทพแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูราเทวดาผู้จำเริญ เราจักไปในวันที่ ๗ ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านจงไปจากนี่ก่อนเถิด แล้วจงแจ้งให้สหายของเราทราบด้วยเถิด

สา สาธูติ วัต๎วา สุก์กทัน์ตํ วัน์ทิต๎วา อุทกปติโสเตนาคัน์ต๎วา ภัน์เต อิโต สัต์ตเม ทิวเส ตุม๎หากํ สหาโย สุก์กทัน์ตปัณ์ฑิโต อาคมิส์สามิติ อาห.

พฤกษเทวดานั้น ก็รับว่าสาธุ แล้วอภิวาทพระสุกกทันต์แล้ว กลับทวนกระแสน้ำมาแจ้งแก่พระวาสุเทพฤๅษีว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้ไปในวันที่ ๗ พระสุกกทันตบัณฑิตสหายของท่านจักมา”

วาสุเทโวปิ ตํ ปวุต์ตึ สุต๎วา สุเว อัต์ตโน นิฏ์ฐิตปัต์ถนาวิย โสมนัส์สชาโต อโหสิ.

แม้ว่าพระวาสุเทพครั้นได้ทราบประพฤติข่าวเช่นนั้น ก็บังเกิดโสมนัศราวกะว่า ความปราถนาของตนได้สำเร็จลงแล้วในวันพรุ่งนี้แล

สัต์ตเม ทิวเส สุก์กทัน์โต อากาเสน อิท์ธิพเลนาคัน์ต๎วา มาลุรุก์ขวเน เวฬุคุม์พัส์ส มัช์เฌ รัม์มนิยัฏ์ฐาเน วสิ.

ครั้นวันที่คำรบ ๗ พระสุกกทันต์ก็เหาะมาด้วยกำลังฤทธิ์โดยประเทศอากาศ ได้สำนักอยู่ในป่ามาลุพฤกษ์ อันรัมนิยสถานท่ามกลางเชิงไผ่

ตํ ทิวสํ ตัส๎มึ ฐาเน เอกํ เทวาลยํ นิม์มิต๎วา เทวัญ์จ เทวิต์ถิรูปัญ์จ อภินิม์มิต๎วา ตัต์ถ ฐเปต๎วา ปูเชสิ.

ในวันนั้นเธอเนรมิตรเทวาลัยหลังหนึ่ง ในที่นั้นแล้ว เนรมิตรเทวรูป ๑ เทวิตถีรูป ๑ ประดิษฐานไว้ในเทวาลัยนั้นบูชา

กัส๎มา โส เอวํ กโรตีติ.

มีคำปุจฉาว่า พระสุกกทันต์นั้น เธอทำอย่างนี้เพราะประสงค์อะไร

ตัส์ส กิร อาคมนทิวเสเยว ตํ รัต์ติภาเค เทวตาคัน์ต๎วา ตัส์ส วรํ อทาสิ ตัส๎มา โส เทวตาย คุณปัจ์จุปการกํ กโรตีติ ตํ ปน ฐานํ อุทกมัญ์ชุสรา ชาตํ อโหสิ.

ดังได้สดับมาในวันเมื่อพระฤๅษีจะมานั้นแท้จริง ในกาลอันเปนรัตติภาคนั้น เทวดาองค์นั้นได้มาให้พรแก่เธอ เพราะเหตุนั้นพระสุกกทันต์ จึงทำคุณปัจจุปการแก่เทวดานั้น ก็และตำบลที่นั้นจึงได้ปรากฏเปน อุทกมัญชุสระ ต่อมา

โส ตัต์ถ วสิต๎วา รัต์ติภาเค เชเปต๎วา ปาโต วุฏ์ฐาย สริรปฏิชัค์คนํ กัต๎วา อรุณุค์คมนกาเลเยว มม สหายัส์ส วาสุเทวัส์ส สัน์ติกํ คมิส์สามีติ อุจ์ฉุปัพ์พตํ คัน์ต๎วา วาสุเทโวปิ ตถา กาเล มม สหายกัส์ส สุก์กทัน์ตัส์ส สัน์ติกํ คมิส์สามีติ อุจ์ฉุปัพ์พโต อาคัน์ต๎วา เต อุโภ มัค์คัน์ตเร สมาคัจ์ฉึสุ.

พระดาบศนั้นได้สำนักอยู่ในที่นั้น ตลอดราตรีภาคอันสิ้นไปแล้ว ครั้นเวลาเช้าตื่นขึ้นแล้วก็ชำระสรีระแล้ว จึงดำริห์ว่า “ณเวลากาลอรุณขึ้นมา เราจักไปสู่สำนักพระวาสุเทพผู้สหายของเรา” แลเธอก็ไปสู่เขาอุจฉุบรรพต ฝ่ายว่าพระวาสุเทพก็ได้ดำริห์ว่า “ณเวลากาลอรุณขึ้นมา เราจักไปสู่สำนักพระสุกกทันต์ ผู้สหายของเรา” แล้วเธอก็มาจากเขาอุจฉุบรรพต พระดาบศทั้งสองนั้นก็ได้มาประจวบกันณระหว่างมรคา

ตทา วาสุเทโว สุก์กทัน์ตํ ปุจ์ฉิ สัม์ม ต๎วํเยว สยนโต กทา อาคัจ์ฉสีติ.

ลำดับนั้น พระวาสุเทพได้ถามพระสุกกทันต์ว่าดังนี้ “แนะสหายท่านตื่นนอนเมื่อไรจึงมา”

อรุณุค์คมนสมเย อาคโตม๎หิ สัม์มาติ.

พระสุกกทันต์ตอบว่า “ดูกรสหาย เรามาแล้วณสมัยเมื่ออรุณขึ้น”

สัม์ม อหัม์ปิ อรุณุค์คมนสมเยเยว อาคัญ์ฉิน์ติ.

พระวาสุเทพก็กล่าวว่า แนะสหาย ถึงแม้ว่าเรา ก็ได้มาแล้วณสมัยเมื่ออรุณขึ้นเหมือนกัน

อถ นํ สุก์กทัน์โต อาห เตนหิ สัม์ม มยํ สมอิท์ธิวิธิสมวิถีสมเวคสา อปุพ์พํ อจริมํ อาคตัม๎หา อิทัญ์จ ฐานํ อัม๎หากํ อาคตมัค์คัส์ส เวมัช์ฌํ โหตีติ.

ลำดับนั้น พระสุกกทันต์จึงกล่าวกะพระวาสุเทพว่า “แนะสหาย ถ้ากระนั้นเราทั้งสอง ก็มีอิทธิวิธีเสมอกัน มีวิถีเสมอกัน กำลังเร็วเสมอกัน ได้พากันมาแล้วไม่ก่อนไม่หลังกัน สถานที่นี้ก็เปนย่านกลางมรคาที่มาแล้วของเราทั้งหลาย”

อาม สหายาติ วาสุเทโว อาห

พระวาสุเทพก็กล่าวว่า “เออ พระสหาย” ดังนี้แล

เต อุโภปิ อากาเส ฐิตกาเลว อัญ์ญมัญ์ญํ ปติสัณ์ฐารมกํสุ.

แม้ว่าพระดาบศทั้งสองนั้น ได้ทำปฏิสัณฐานกันแลกัน ในกาลเมื่อประดิษฐารอยู่แล้วในอากาศนั่นเทียว

ตํ สัน์ธาย ตโต ปภูติ ตํ ปเทสํ มัค์คํ ปัพ์พชิตเวมัช์ฌัน์ติ ปฐัน์ติ.

ประชุมชนทั้งหลาย ได้พากันหมายสำคัญที่ตำบลนั้น กล่าวว่า “ประเทศนั้น เปนมรคาย่านกลางทางบรรพชิต” (ย่านพระ)

วาสุเทโว สุก์กทันตํ ตโต นิวัต์ตาเปต๎วา เต อุโภ มาลุวนํ คัน์ต๎วา ตํ ทิวสํ ตัต์ถ วสึสุ ปุนทิวเส มาลุวนโต วุฏ์ฐาย สริรปฏิชัค์คนํ กัต๎วา สีลาปัต์ตฐิตัฏ์ฐานํ คัน์ต๎วา ตํ ปุป์เผหิ ปูเชต๎วา วัน์ทิต๎วา อัฏ์ฐํสุ.

พระวาสุเทพก็ให้พระสุกกทันต์จากที่นั้นแล้ว พระดาบศทั้งสองก็พากันไปสู่ป่ามาลุวัน ในวันนั้นก็ได้พากันสำนักอยู่ในป่ามาลุวันนั้น ครั้นวันรุ่งขึ้นพระดาบศทั้งสองก็พากันออกจากป่ามาลุวันแล้ว ทำการขัดสีร่างกาย (อาบน้ำ) แล้วไปสู่สถานที่ตั้ง ศิลาบัตร แล้วบูชาแผ่นศิลาบัตรนั้น ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย แล้วถวายอภิวาทแล้วพากันยืนอยู่

อถ นํ วาสุเทโว อาห สัม์ม กิร ปุพ์เพ อัม๎หากํ สัต์ถา อิธ ฐาเน ฐิโต เอวํ พ๎ยากโรติ อิทํ ฐานํ อนาคเต กาเล มหานครํ ภวิส์สติ อปิจ มยิ ปรินิพ์พานคเตเยว มัย๎หํ สารีริกธาตุ เอกํ อุป์ปัช์ชิส์สตีติ เตนาหํ มม สหายํ ปัก์โกสาเปต๎วา อิธ วิมํสนัต์ถาย มยา อิธ นครํ มาเปตํุ วัฏ์ฏติ น วัฏ์ฏตีติ.

ลำดับนั้น พระวาสุเทพได้กล่าวกะพระสุกกทันต์ว่า แนะสหายได้ยินว่า “พระศาสดาของเราทั้งหลายได้เสด็จมาทรงยืนอยู่ในที่นี้ แล้วตรัสพยากรณ์ไว้อย่างนี้ว่า” “สถานที่ตำบลนี้ จักเปนพระมหานครในอนาคตกาล อิกประการหนึ่ง เมื่อเราพระตถาคตปรินิพานแล้วนั้น พระสารีริกธาตุส่วนหนึ่งของเราจักบังเกิดขึ้นกะนี้แล” อาศรัยที่เหตุที่พุทธพยากรณ์ไว้ดังนี้ เราจึงได้เรียกสหายมาเพื่อพิจารณาดูในประเทศนี้ ว่าควรเราจะสร้างเมืองในที่นี้ฤๅไม่

อถ นํ สุก์กทัน์ตปัณ์ฑิโต อาห เตนหิ สัม์ม มยํ อิธ ชณิต๎วา ภูตนิมิต์ตํ โอโลเกส์สาม ตาวาติ.

ลำดับนั้น พระสุกกทันต์ผู้บัณฑิตได้กล่าวกะพระวาสุเทพว่า “ดูกรสหาย ถ้ากะนั้นก็เราทั้งหลาย พากันขุดลงไปในที่นี้ตรวจดูภูตนิมิตรก่อนเถิด”

เอวัญ์จ ปน วัต๎วา สุก์กทัน์ตมหาอิสี สัพ์พสิป์ปกุสลตา อัต์ตโน กตรทัณ์ฑปาเทน ตํ ภูมึ ขณิต๎วา เลณ์ฑัส์ส เหฏ์ฐิมตรํ อุปริ ปริวัต์ติต๎วา โอโลเกน์ติ เอกัส๎มึ เลณ์เฑ สัต์ตรตนํ เอกัส๎มึ เลณ์เฑ อังคารนิลํ เอกัสมึ เลณ์เฑ นิตัณ์ฑุลธัญ์ญํ ปัส์สึสุ.

ครั้นต่างคนได้พูดกันอย่างนี้แล้ว พระสุกกทันต์มหาฤๅษี ก็ขุดภูมิภาคนั้นด้วยสันไม้กตรทัณฑ์ของตนโดยกล ที่เธอเปนคนฉลาดในศิลปสาตรทั้งปวง แล้วก็พลิกหงายก้อนดินขึ้นพิจารณาดูในก้อนดินก้อนหนึ่งได้เห็นแก้ว ๗ ประการ ในก้อนดินก้อนหนึ่งได้เห็นถ่านเขียว ในก้อนดินก้อนหนึ่ง ได้เห็นเข้าสารแลเข้าเปลือก

‘อถโข วาสุเทโว สุก์กทัน์ตปัณ์ฑิตํ อาห สัม์ม มยํ ติวิธนิมิต์ตํ เลณ์ฑํ ปัส์สิต๎วา กึ ภวิส์สติ นครํ ปาเปตํุ น ยุต์ตัน์ติ

ที่นั้นแลพระวาสุเทพได้กล่าวกะพระสุกกทันต์ผู้บัณฑิตว่า “แนะสหาย เราทั้งหลายได้เห็นก้อนดินเปนนิมิตร ๓ อย่างแล้ว จักเปนอย่างไร การที่จะสร้างเมือง จะควรฤๅไม่ควร”

สุก์กทัน์โต อาห ยุต์ตํ สัม์มาติ อปิจ อัม๎หากํ นคเร ติวิธา ราชา ภวิส์สติ เอโก ทสวิธราชธัม์มสัม์ปัน์โน เอโก อติปาปธัม์โม เอโก มัช์ฌิโม นิป์ผโล ภวิส์สติ ยทา ธัม์มิกราชา รัช์ชํ กาเรน์โต ตทา นครํ เขมํ สุภิก์ขํ อภิรัม์มณิยตรํ พุท์ธสาสนํ โชเตน์ตํ พหุชนสมากิณ์ณํ สัพ์พสุขสมิท์ธํ ภวิส์สติ ยทา อธัม์มิกราชา รัช์ชํ กาเรน์โต ตทา นครํ ทุพ์ภิก์ขํ ทุก์ขตรํ ชนตา อัค์คิสัน์ตาปสทิสา ภวิส์สัน์ติ ยทา จ มัช์ฌิมราชาปิ นิป์ผลา พุท์ธสาสนา สุญ์ญา ภวิส์สัน์ตีติ.

พระสุกกทันต์ได้กล่าวว่า “ดูราสหายสมควร” ก็แต่ว่าพระราชาในเมืองของเราทั้งหลาย จัดเปนสามอย่าง คืออย่างหนึ่งทรงทศพิธราชธรรม อย่างหนึ่งประพฤติล่วงบาปธรรม อย่างหนึ่งเปนมัธยมไม่มีผล ถ้ากาลใดพระเจ้าธัมมิกราชได้เสวยราช ครั้งนั้นแลพระนครจะเกษมสุภิกขารื่นรมย์สำราญยิ่ง พระพุทธสาสนารุ่งเรืองมีหมู่มหาชนล้นหลามสำเร็จความศุขทุกประการ ถ้ากาลใดพระราชาเปนอธรรมเสวยราช ครั้งนั้นพระนครจะเกิดทุพภิกขภัยได้ทุกข์ร้อนต่างๆ ประชุมชนจักร้อนรนคล้ายกับร้อนด้วยแสงเพลิง ถึงแม้ว่ากาลใดพระราชาเปนมัธยมเสวยราชในครั้งนั้น ประชุมชนก็พากันไร้ผล พระพุทธสาสนาจักเสื่อมสูญ

ตทา วาสุเทโว อาห เตนหิ สัม์ม สุขกาเล สุขัน์ตุ ทุก์ขกาเล ทุก์ขัน์ตุ เยนเกนจิ อัม๎หากํ สัต์ถุโน วจนํ อนุกาตํุ วัฏ์ฏตีติ วัต๎วา อิมา คาถา อภาสิ.

ลำดับนั้น พระวาสุเทพได้กล่าวว่า “แนะสหายถ้าฉนั้น ชนทั้งหลายจักถึงศุขในกาลเปนศุข จักถึงทุกข์ในกาลเปนทุกข์ ก็สมควรแล้วที่จะทำตามพระพจนของพระสาศดาเจ้าแห่งเราทั้งหลายด้วยประการใดประการหนึ่ง” เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว ได้ภาษิตคาถาทั้งหลายแปลความว่า

เยนเกนจิทํ สัม์ม ฐานํ สุฏ์ฐุต์ตรํ สิยา พุท์ธัส์ส วจนํ นาม วิป์ปริตํ น โหติ จ สัม์พุท์ธัส์สาธิป์ปาเยน ตัส์ส ธาตุส์ส เหตุนา นครํ มาปิตํ อัเม๎ห สุโข เขโม ภวิส์สติ อปิจ กุพีโช ราชา ปริวัช์ชาม รัช์ชกา สุพีชํ การยิส์สามิ เตนุปาเยน วัฑ์ฒตีติ.

ดูกรสหาย สถานที่นี้ก็เปนที่อันดีกว่าที่ใดที่หนึ่ง ด้วยชื่อว่าพระวจนของสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าจะได้วิปริตก็หาไม่ด้วย ควรเราทั้งหลายจะสร้างเมือง โดยอาศรัยเหตุแห่งพระธาตุของพระพุทธองค์นั้น ตามพระสัมพุทธาธิบายเถิด ความศุขเกษมจักมีแล

อนึ่ง พระราชาเปนกุพืช เราจักให้เว้นเสียจากราชสมบัติ จะให้แต่พระราชาที่เปนสุพืชครองโดยอุบายนี้ ก็จะมีความจำเริญ

ตํ สุต๎วา สุก์กทัน์โต สาธูติ ตํ สัม์ปฏิจ์ฉิ.

พระสุกกทันต์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็รับตอบว่าสาธุ สาธุ ดีแล้ว ดีแล้ว

เต อุโภ ตัต์ถ ตัต์ถ อิจารณัต์ถํ สกลรุก์ขวนํ คัจ์ฉัน์ติ รุก์ขเทวตานํ สาเวต๎วา โภน์โต โภน์โต รุก์ขเทวตาโย สัพ์เพ ตุเม๎ห อิโต อุย์ยาถ อิธ นครํ กโรมาติ.

พระดาบศทั้งสองนั้นไปสู่ป่าไม้ทั้งปวง เพื่อพิจารณาดูในที่นั้นๆ แล้ว ยังคำประกาศให้พฤกษเทวดาทั้งหลายฟังดังนี้ว่า ข้าแต่พฤกษเทวดาเจ้าผู้จำเริญ ผู้จำเริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายทั้งปวง จงพากันออกจากตำบลนี้ไป เราทั้งหลายจะสร้างพระนครในสถานที่นี้

ตทา รุก์ขเทวตาโย สุก์กทัน์ตัส์ส สุต๎วา อัต์ตโน รุก์ขวิมานํ สมูลํ ลุญ์จิต๎วา อากาเสน คัจ์ฉัน์โต อัญ์ญํ ปเทสํ อัต์ตโน รุจ์จนกํ ปติวสัน์ติ ตาวเทว ตํ ปเทสํ ปริสุท์ธํ เภริตลสทิสํ สมตลํ อโหสิ.

ในกาลนั้นฝ่ายฝูงรุกขเทวดาเจ้าทั้งหลาย ครั้นได้ฟังคำพระสุกกทันต์แล้ว ต่างก็พากันตัดรุกขพิมานของตนเสมอโคนแล้ว เหาะไปโดยอากาศสู่ประเทศอื่น สำนักอยู่ตามชอบใจตน ประเทศนั้นได้สอาดแล้วในขณะนั้นนั่นเทียว ได้มีพื้นเรียบคล้ายกับน่ากลองดีแล้ว

อถโข เอกัส๎มึ กากปัต์ตกรณรุก์ขชิเน อธิวัฏ์ฐา เทวตา มหัล์ลกา ชราชิน์นา กัม์ปมานสริรา สัพ์เพสํ โอณกา หุต๎วา อิสีนํ สัน์ติกํ คัน์ต๎วา วัน์ทิต๎วา เอวมาห.

ลำดับนั้น แลเทวดาองค์หนึ่งได้สิงอยู่ในต้นไม้คร่ำคร่า กากปัตตกรณ์ต้นหนึ่ง เปนเทวดาแก่ชราคร่ำคร่าร่างกายอันซวนเซ เปนผู้เหลืออยู่กว่าเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น ได้ไปสู่สำนักพระฤๅษีทั้งสอง แล้วอภิวาทกล่าวอย่างนี้ว่า

ภัน์เต มหิท์ธิสัม์ปัน์นา ภัน์เต โลกกรุณาธิกา กโรถ กรุณา มัย๎หํ อติชิน์นํ อัป์ปายุกํ มัย๎หํ รุก์โขปิ นิสาโร อติชิน์โน น จีรัฏ์โฐ น สัก์โกมิ อิโต คัน์ตุํ ยาวชีวํ ขมถ มม.

ข้าแต่ท่านทั้งสอง ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์อันจำเริญ ข้าแต่ท่านทั้งสองผู้มีกรุณาอันยิ่งแก่โลกผู้จำเริญ ขอท่านจงได้กรุณาแก่ข้าพเจ้าผู้คร่ำคร่าเกินแล้วมีอายุอันน้อย ถึงแม้ว่าต้นไม้ของข้าพเจ้าก็หาสารมิได้ คร่ำคร่าแล้ว จักไม่ดำรงอยู่ได้นาน ข้าพเจ้ามิอาจที่จะไปจากตำบลนี้ได้ ขอพระผู้เปนเจ้าทั้งสองจงได้งดให้แก่ข้าพเจ้าจนตลอดชีวิตเถิด

เอวํ เต ตัส์สา อนาถวจนํ สุต๎วา ตํ ขมัน์ติ.

พระดาบศทั้งสองนั้น ครั้นได้ฟังอนาถพจน์ของเทวดานั้นอย่างนี้แล้ว ก็งดเทวดานั้นไว้

เตสุ ขมิเตสุ สา เทวตา ปุน ฐาตํุ ปติลภิ.

เทวดานั้น ครั้นเมื่อพระดาบศทั้งสองงดให้แล้ว ก็กลับได้ที่อยู่ต่อไปอีก

ตํ ปเทสํ สัพ์พปัจ์ฉา อุณ์ณา เทวตาย ลัพ์ภํ ปุน ฐาตํุ ตัส๎มา ลัพ์ภูนาติ ปากฏํ ชาตํ.

ประเทศนั้น อันเทวดาผู้เหลืออยู่ภายหลังกว่าเทวดาทั้งปวงได้อยู่ต่อไปอีก เพราะเหตุนั้น จึงได้ปรากฏว่า “ลัพ์ภุนา” ดังนี้มีแล้ว

อถ จ วาสุเทโว สุก์กทัน์ตํ ปัณ์ฑิตํ มหาอิสึ อาห สัม์ม อิทํ นครสัณ์ฐานํ จตุรัส์สํ วา มัณ์ฑลํ วา กริส์สามาติ.

ลำดับนั้น พระวาสุเทพได้กล่าวกะพระสุกกทันต์บัณฑิตมหาฤๅษีว่า ดูราสหาย เราจักทำสัณฐานนครนี้ให้เปนสี่เหลี่ยม ฤๅว่าทำให้กลม

สุก์กทัน์โต อาห สัม์ม อิทํ นครํ สมุท์ทสํขปัต์ตสัณ์ฐานํ กริส์สามาติ.

พระสุกกทันต์ จึงกล่าวว่า ดูราสหาย เราจักทำนครนี้ให้มีสัณฐานเหมือนเปลือกสังข์ทเล (สมุท์ทสังขปัต์ตสัณฐาน)

วาสุเทโว อาห กุโต สังขปัต์ตํ ลภิส์สามาติ.

พระวาสุเทพจึงกล่าวว่า “เราจักได้สังขปัตรที่ไหนเล่า”

ตุม๎หากํ อุปัฏ์ฐากํ ปัก์โกสิ สัช์ชนาเลย์ยมหาอิสิส์ส สัน์ติกํ เปสิส์สามาติ.

พระสุกกทันต์กล่าวว่า “ท่านจงเรียกคนอุปฐากของท่านมา เราทั้งหลายจักส่งไปสู่สำนักพระสัชชนาไลยมหาฤๅษี”

วาสุเทโว สาธูติ วัต๎วา ควยัน์นาม อัต์ตโน อุปัฏ์ฐากํ ปัก์โกสิต๎วา ตัส๎มึ อาคเตเยว สุก์กทัน์โต ตํ เอวมาห ด้วย ต๎วํ อิมํ ปัณ์ณํ คเหต๎วา สัช์ชนาเลย์นครํ คัน์ต๎วา สัช์ชนาเลย์ยอิสิโน ทัต๎วา อัม๎หากํ วจนํ ตัส์ส อาจิก์ขาหีติ วัต๎วา อัก์ขรานํ ลิขิต๎วา สัม์ม มยํ นวนครํ สมุท์ทมหาสังขปัต์ตสัณ์ฐานํ กาตุกามา ต๎วํ มหาสมุท์ทสังขปัต์ตํ อัม๎หากํ อาหรา เปหีติ ลิก์ขิต๎วาว พัน์ธิต๎วา ตัส์ส หัต์เถ ทัต๎วา ปหิณึสุ.

พระวาสุเทพกล่าวว่า สาธุ แล้วจึงเรียกอุปฐากของตน ชื่อ คะวะยะ มา ครั้นเมื่อ คะวะยะ มาแล้ว พระสุกกทันต์ ได้สั่งกะคะวะยะนั้นอย่างนี้ว่า “แนะคะวะยะ ท่านจงถือหนังสือนี้ไป ถึงสัชชนาไลยนครแล้ว จงให้แก่พระสัชชนาไลยฤๅษี แล้วจงบอกแก่พระสัชชนาไลยตามคำเรา” ครั้นสั่งแล้ว จึงเขียนอักษรทั้งหลายว่าดังนี้ “ดูราสหาย เราทั้งหลายใคร่จะสร้างเมืองใหม่ให้มีสัณฐานดังเปลือกสังข์ใหญ่ในทเล ท่านจงไปนำเปลือกสังข์ในทเลใหญ่ มาให้เรา” ครั้นเขียนแล้วจึงผนึกมอบให้ในมือแห่งนายคะวะยะนั้น แล้วจึงส่งไป

โส สาธูติ วัต๎วา เต วัน์ทิต๎วา ปัณ์ณํ ปฏิค์คเหต๎วา ตัส๎มึ ขเณ เตสํ อิท์ธานุภาเวน โส ควโย อากาเสน สังฆมาโน สังฆปัพ์พตมุท์ธนิ ปัต๎วา สัช์ชนาเลย์ย มหาอิสึ วัน์ทิต๎วา ปัณ์ณํ ตัส์ส ทัต๎วา ตํ ปวุต์ตึ อาจิก์ขิ.

นายคะวะยะนั้นกล่าวว่าสาธุแล้ว จึงอภิวาทพระดาบศทั้งสอง แล้วรับหนังสือไปในขณะนั้นเทียว นายคะวะยะนั้นได้ลอยไปโดยอากาศ ด้วยอำนาจฤทธิ์แห่งพระดาบศทั้งสองนั้น ได้ถึงยอดเขาลังกตบรรพตแล้ว อภิวันท์พระสัชชนาไลยมหาฤๅษี ถวายหนังสือแก่พระฤๅษีแล้ว แจ้งข่าวนั้นให้ฟัง

ตํ สุต๎วา ตุฏ์ฐมานโส หุต๎วา หัต์ถีลิงคํ นาม สกุณํ สมุท์ทมหาสังขปัต์ตํ คหณัต์ถาย เปเสสิ ตํ เปสิตมัต์เตเยว ด้วยทูตํ อาห ด้วย ต๎วํ ปฐมตรํ ปตินิวัต์ติต๎วา มม สหายานํ อัก์ขาหิ สมุท์ทมหาสังขปัต์ติ ปน หัต์ถีลิงคสกุณํ คาหาเปต๎วา มม สหายานํ เปเสส์สามีติ วัต๎วา ตํ อุย์โย เชสิ.

พระสัชชนาไลยนั้น ได้ฟังข่าวนั้นก็มีใจชื่นชม จึงได้ใช้ให้นกหัตถีลึงค์เพื่อให้ไปเอาเปลือกสังข์ใหญ่ในทเลมา ครั้นส่งนกหัตถีลึงค์ไปแล้ว จึงกล่าวกะนายคะวะยะทูตว่า ดูกรคะวะยะท่านจงกลับไปก่อน แล้วจงแจ้งกับสหายเรา ว่าเราได้ใช้ให้นกหัตถีลึงค์ไปเอาสมุททมหาสังขปัตรได้มาแล้ว จึงจะส่งไปให้แก่สหายเรา ครั้นกล่าวดังนี้แล้วจึงส่งนายคะวะยะไป

โส สาธูติ วัต๎วา ตํ วัน์ทิต๎วา ปตินิวัต์ติต๎วา เตสํ อาจิก์ขิ.

นายคะวะยะนั้น ก็กล่าวว่า สาธุสาธุดังนี้แล้ว จึงอภิวันท์พระฤๅษี แล้วก็กลับไปแจ้งแก่พระฤๅษีทั้งสองแล

หัต์ถีลิงคสกุโณปิ คัน์ต๎วา มหาสมุท์ทํ ปัต๎วา ปัก์ขวาเตหิ สมุท์โททกํ ท๎วิธา กัต๎วา มหาสังขปัต์ตํ ชินํ มุขตุณ์เฑน ท์สิต๎วา อากาเสนาคัน์ต๎วา สัชชนาเลย์ยอิสิโน อุปนาเมสิ.

ฝ่ายว่า นกหัตถีลึงค์นั้น ครั้นได้ไปถึงมหาสมุทแล้ว ก็แผลงให้น้ำทเลแตกเปนสองภาคด้วยลมปีกทั้งสอง แล้วคาบเอามหาสังขปัตรอันเก่าแล้ว ด้วยจะงอยปาก ได้แล้วบินมาโดยอากาศ แล้วก็น้อมเข้าไปถวายแก่พระสัชชนาไลยมหาฤๅษี

โส ปน หัต์ถีลิงคสกุณํ อาห หัต์ถีลิงค ต๎วํ อิมํ คเหต๎วา มม สหายกัส์ส สุก์กทัน์ตัส์ส วาสุเทวัส์ส จ อุจ์ฉุกปัพ์พเต วัส์สัน์ตัส์ส เทหีติ.

ฝ่ายพระฤๅษีสัชชนาไลยนั้น ก็กล่าวกะนกหัตถีลึงค์ว่า แนะนกหัตถีลึงค์ ท่านจงคาบมหาสังขปัตรนี้ไปถวายแก่พระสุกกทันต์แลพระวาสุเทพผู้เปนสหายของเรา สำนักอยู่เขาอุจฉุบรรพต

หัต์ถีลิงคสกุโณ มหาสังขปัต์ตํ คเหต๎วา อิสิโน อิสิพเลน อากาเสนาคัน์ต๎วา ขเณน ปัต๎วา ตํ เตสํ ทัต๎วา ปุน สกัฏ์ฐานํ ปัก์กามิ.

นกหัตถีลึงค์ก็คาบเอามหาสังขปัตรแล้วบินมาโดยอากาศ ด้วยกำลังฤทธิ์แห่งพระฤๅษี ได้ถึงแล้วโดยขณะเดียว จึงถวายมหาสังขปัตรนั้นแก่พระดาบศทั้งสอง แล้วก็หลีกไปสู่สถานแห่งตน

เตนิทํ สัน์ธาย ทัส์เสน์โต อาห.

เพราะเหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์ได้หมายเอาเหตุนี้ สำแดงพระคาถากล่าวแล้ว แปลความว่า

ตโต โส สัช์ชนาเลย์โย อิท์ธิมัน์โต สุปากโฏ วสัน์โต นคลอาเค สัช์ชนาเลย์ยปูรเก ทิส๎วาน สขีนํ วาจํ หัต์ถิลิงคํ อเปสยิ คาหาเปต๎วา สังขปัต์ตํ สมุท์ทมัช์ฌเก ภวํ หัต์ถิลิงคโคปิ สกุโณ อัณ์ฑโยนิ ท๎วิชาติโก โส จ อิท์ธิพโล โหติ อิท์ธิช์ฌาเนน อิสิโน อุทกํ ปัก์ขวาเตหิ ท๎วิธา กัต๎วาน โอตริ จีรํ มตํ สังขปัต์ตํ มุขตุณ์เฑน ปัค์คหิ อากาเสนิท์ธินา คัน์ต๎วา ปัต๎วาน อิสิโน อทา อิสิ ตํ สมนุสาสิ ทูตํ ปาเหสิ สขินํ ตโต โส ปวโร ทิโช อากาเสน อิธาคโต ปัต๎วาน ตํ สังขปัต์ตํ อิสีนํ โส นิยาทยิ นิยาเทต๎วาน ปัก์กามิ เวหาย สกัฏ์ฐานกัน์ติ

ลำดับนั้น พระสัชชนาไลยผู้มีฤทธิ์ปรากฏเปนอันงามนั้น เธอสำนักอยู่เหนือยอดเขานคลใกล้เมืองสัชชนาไลย ครั้นได้เห็นคำของสหาย จึงได้ส่งนกหัตถีลึงค์ ให้ไปคาบสังขปัตรอันมีอยู่ในกลางทเล

ฝ่ายว่านกหัตถีลึงค์อันเปนนกทวิชาติเกิดแต่ฟองไข่นั้น เปนนกมีอิทธิพล ได้ทำน้ำให้แยกเปนสองภาคด้วยลมปีกโดยกำลังอิทธิฌานของพระฤๅษี แล้วโฉบลงไปคาบเอาสังขปัตรอันตายแล้วนานด้วยจะงอยปากได้แล้ว ก็มาด้วยฤทธิ์โดยทางอากาศ ครั้นถึงแล้วจึงได้ถวายแก่พระฤๅษี พระฤๅษีก็ชมเชยนกนั้นแล้ว ก็ส่งให้เปนทูตไปให้แก่สหาย

ณลำดับนั้น นกตัวประเสริฐนั้นได้มาแล้วในที่นี้โดยอากาศ ครั้นถึงแล้วนกนั้นจึงมอบสังขปัตรนั้นให้แก่ฤๅษี ครั้นมอบแล้วก็หลีกไปสู่สถานแห่งตนโดยทางเวหา

อถ เต เท๎ว มหาอิสิโย ตํ คเหต๎วา ตัส๎มึ ภูมิยํ อุก์กุช์ชิต๎วา ปัต์ถรึสุ.

ลำดับนั้น พระมหาฤๅษีทั้งสองนั้น ก็ถือเอาสังขปัตรนั้นแล้ว หงายขึ้นในภูมิที่นั้นแล้วแผ่ออกไป

โส ปน เทโส ทีฆโต จ วิต์ถารโต จ ตถา สังขปัต์ตสัณ์ฐาโน สกลสมัน์ตโต ปัญ์ญาสาธิกทิยัฑ์ฒสหัส์สพ๎ยามํ อเหสิ.

ก็ประเทศนั้น จึงได้มีสัณฐานเปนสังขปัตรอย่างนั้น ทั้งด้านยาวแลด้านกว้าง โดยรอบทั้งสิ้นเปน ๑๕๕๐ วา

เต เท๎ว มหาอิสิโย ตัส์ส พาหิราวัต์เตน ภูมิยํ ลิขิต๎วา อิมินา อาวัต์เตน นครปาการํ ภวิตัพ์พัน์ติ สัล์ลัก์ขึสุ.

พระมหาฤๅษีทั้งสองนั้น ได้ขีดแล้วในภูมิโดยวงไปในภายนอกแห่งเมืองนั้นโดยสัญญาว่า “เปนนครปราการ ด้วยคูรอบนี้”

ตาวเทว เตสํ อิท์ธิพเลน สนิท์ธวิวิธปาการทวารถัม์ภาทโย โตรณสมุค์คตธชปฏากาทิวิจิต์ตลิขิตราชิยา ตัต์ถ สยเมว อุฏ์ฐหึสุ.

อันว่าสัมภารทั้งหลายมีปราการแลทวารแลเสาเปนต้น ต่างๆ สนิทแล้ว แลมีโดรณอันยกธงไชยธงปฏากเปนต้น เขียนลวดลายอันวิจิตรแล้ว ได้เกิดขึ้นเองด้วยอิทธิพลแห่งพระฤๅษีทั้งสองนั้น

ตโต พหิปาการัน์ตโต สมัน์ตโต ปริก์ขัต์ถาย ตถานุรูปํ ลิขึสุ.

ณขณนั้นเทียว พระฤๅษีได้ขีดแล้วซึ่งตำบลมีรูปอย่างนั้น เพื่อแวดล้อมโดยรอบแห่งภายนอกปาการนั้น

ตัส๎มึ ขเณ ปถวีตลํ ลิขิตัฏ์ฐานัน์ตเร สยํ โอสีทิต๎วา สมัน์ต คัม์ภีรปริก์ข์ สุจิสุคัน์ธสลิลปัญ์จวัณ์ณปทุมุป์ปลสัญ์ฉัน์นํ อติวิยโสภมานํ อโหสิ.

ณขณนั้น พื้นปถพีได้จมลงไปเองในระหว่างที่อันพระฤๅษีขีดแล้ว ก็เปนคูลึกโดยรอบ อันดาดาษด้วยน้ำแลเบญจพรรณปทุมแลอุบลมีกลิ่นอันหอมสอาดงามยิ่งหาที่จะเปรียบมิได้ ได้มีแล้ว

ตโต นครัส์ส อัน์โต ราชังคณัญ์จ ราชนิเวสนัญ์จ ปาสาทัญ์จ สัพ์พานิ นคราวยวานิ ปาตุรเหสํุ.

ลำดับนั้นอันว่าอวยวะแห่งพระนครทั้งหลายทั้งปวง คือ พระลานหลวงภายในนครแลราชนิเวศน์แลปราสาทก็ได้ปรากฏแล้ว

เตน สังคาหิโก ตํ ทีเปน์โต อาห

เพราะเหตุนั้น พระสังคาหิกเถรเจ้า เมื่อจะแสดงเหตุนั้นให้แจ้ง จึงกล่าวพระคาถาแปลความว่า

ตโต เต วาสุเทโว จ สุก์กทัน์โต จ อิสิโย นิม์มิตํ นครํ รัม์มํ วิภัต์ตํ ภาคโสปิตํ ท๎วารปาการสัม์ปัน์นํ โตรณัค์ฆิกภูสิตํ กูฎาคารนิเวสนํ เทวิน์ทปุรสัน์นิภํ ปรํ พิงคมภิธานํ อโหสิ รุจิรํ วรัน์ติ.

ในลำดับนั้น พระดาบศทั้งสอง คือ พระวาสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี ได้เนรมิตรแล้วซึ่งพระนคร อันเปนรัมนียสถานจำแนกออกโดยส่วนๆ คือ มีทวารแลปราการบริบูรณ์แล้ว ประดับแล้วด้วยโดรณอันมีค่า มีกุฏาคารเปนราชนิเวศน์ งามคล้ายเทวินทบุรพิมาน จึงมีอภิธานว่า “พิงคบุรี” อันรุ่งเรืองบวรแล ๚ะ

อิติ หริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส มหาจาริกานุสาเรน โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต ตติยปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.

อันนี้ เปนนิทเทสแห่งเมืองหริภุญชัย อันพระมหาเถรมีนามว่า โพธิรังสี ได้แต่งตามคำมหาจารึกเปนปริเฉทสาม จบเท่านี้ ๚ะ

  1. ๑. จะแปลว่า ที่มีเสียงเสนาะด้วยน้ำ หรือจะว่า สระอันงามด้วยน้ำ ก็แล้วแต่

  2. ๒. แท่นหินที่พระพุทธเจ้าวางบาตร

  3. ๓. ทีจะเปนนายควาย

  4. ๔. ฉบับทองน้อยเปน ภาคโสปิตํ รดน้ำแดงเปน ภาคโสมิตํ ตามทองน้อยว่า ภาคโสปิ แม้โดยส่วน ตํ นั้น แต่ความตรงกับ ภาคโสภิตํ มาก แปลว่างามแล้ว แต่ว่าจะแปลตาม ฉบับทองน้อยไปก่อน.

  5. ๕. น่าจะเปน ปุรํ เพราะความตรงดี

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ