- คำนำ
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๒
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๓
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔-๕-๖
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๗
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๘
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๙
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๐
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๑
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๒
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๓
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๔
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๕
จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๒
อิโต ปรํ มหาราชา มหัน์ตยสปากโฏ หริปุญ์เชย์ยํ กาเรน์โต ฆเฏน์โต สุพีชปรมํ วังสานุวังสพัน์ธานํ ขัต์ติยานํ ปรํ ปรํ ปวัก์ขามิ สมาเสน สัก์กัจ์จัน์ติ สฺณาถ เมติ
เบื้องน่าแต่นี้ไป พระเจ้ามหาราชปรากฏพระนามพระเจ้ามหันตยศ ครอบครองสิริราชสมบัติอยู่ในหริปุญชัยนคร ข้าพเจ้าจักกล่าวสืบวงษ์กระษัตริย์ที่เนื่องด้วยราชวงษานุวงษ์อันประเสริฐซึ่งเปนพืชดีโดยสังเขป ท่านทั้งหลายจงตั้งสติฟังถ้อยคำของข้าพเจ้าซึ่งจะกล่าวต่อไปณกาลบัดนี้
ตโต ปัฏ์ฐาย มหัน์ตยสราชา สยํ สกลรัช์ชํ กาเรต๎วา ทสราชธัม์เม อโกเปต๎วา หริปุญ์เชย์ยรัฏ์เฐ ชนเต โอวาทํ ทัต๎วา กุสลธัม์เม อหาเปสิ สยํ ปน อคติธัม์มํ ปหาย คติธัม์เม สมาทาย โส เตสํ อิสีนํ อภิสมิตธัม์มิกคารวตา อนาพาโธ สุขสัม์ปัน์โน ปุต์ตธีตาภิวัฑ์ฒัน์โต เทเวหิ อภิรัก์ขัน์โต เตน โส อสีติวัส์สานิ รัช์ชํ กาเรต๎วา กาลํ กัต๎วา ยถา ปุญ์ญกัม์เมน เทวโลเก นิพ์พัต์ติ.
จำเดิมแต่กาลนั้นมา พระเจ้ามหันตยศได้ครอบครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้นด้วยพระองค์เอง มิให้กำเริบราชธรรมทั้งสิบประการ ทรงพระราชทานโอวาทสั่งสอนประชุมชนในพระราชอาณาเขตรหริปุญชัยนครไม่ให้เสื่อมสูญจากกุศลธรรม ส่วนพระองค์เองก็ละอคติธรรมเสียทรงสมาทานอยู่แต่ในคดีธรรม พระองค์นับถือพระฤๅษีเหล่านั้นเปนอย่างยิ่ง แลมีความเคารพในบุคคลผู้ประพฤติในธรรม พระองค์หาพระโรคาพาธมิได้ สมบริบูรณ์ไปด้วยความศุข มีพระราชบุตรพระราชธิดาเจริญยิ่ง เทพเจ้าทั้งหลายก็อภิบาลรักษาพระองค์ เพราะเหตุฉนั้นพระองค์ครอบครองสิริราชสมบัติอยู่ถึงแปดสิบปี ก็เสด็จสวรรคต ไปบังเกิดในเทวโลกด้วยบุญกรรมที่พระองค์ได้กระทำแล้วนั้น
ตัส์ส ปุต์โต กูมัญ์โจ นาม ราชา รัช์ชํ กาเรสิ.
พระราชบุตรของพระองค์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากูมัญจราชได้ครองราชสมบัติสืบไป
ตทา จ อจีเรเนว อนัน์ตยสราชาปิ เขลางคนคเร กาลํ กโรติ ยถา ปุญ์ญกัม์มัป์ปัจ์จเยน ตึสโยชนิเก สัต์ตรตนวิมาเน ตุสิตปุเร มาตุสมิเป นิพ์พัต์ติ.
ก็ในกาลนั้นมาไม่สู้นานนัก พระเจ้าอนันตยศในพระนครเขลางค์ก็เสด็จสวรรคต ไปเกิดในวิมานประดับไปด้วยรัตนเจ็ดประการ มีประมาณสามโยชน์ในดุสิตบุรีใกล้วิมานของพระราชมารดาด้วยปัจจัยของกรรมเปนบุญที่พระองค์ได้กระทำไว้อย่างไร
นครวาสิโน ชนตา ตัส์ส สริรกิจ์จํ กัต๎วา ธาตํุ คเหต๎วา อิธ หริปุญ์เชย์ยํ อาเนต๎วา เอกัส๎มึ ฐาเน มาลุวเน หริปุญ์เชย์ยัส์ส อิสาณทิสาภาเค นิธหิต๎วา ตัส์สุปริ ถูปเจติยํ กรึสุ.
ประชุมชนชาวพระนครทั้งหลายก็กระทำสริรกิจของพระเจ้าอนันตยศแล้ว เก็บพระอัฏฐิธาตุนำมายังหริปุญชัยนครบรรจุไว้ในสถานที่แห่งหนึ่งในป่าไม้ย่างทราย เบื้องทิศอิสาณแห่งหริปุญชัยนครกระทำพระสถูปเจดีย์ณเบื้องบนที่บรรจุพระอัฏฐิธาตุนั้น
กูมัญ์จราชาปิ รัช์ชํ กาเรต๎วา สกปิตุโน สกลวัต์ตํ ปุเรตํุ อสัก์โกน์โต อัต์ตโน พลํ ยถานุรูปํ กุสลธัม์มํ กโรติ.
ส่วนพระเจ้ากูมัญจราช ได้ครองราชสมบัติแล้วไม่อาจจะกระทำวัตรประฏิบัติทั้งสิ้นของพระราชบิดาพระองค์ให้บริบูรณ์ได้ ก็กระทำกุศลธรรมตามสมควรแก่กำลังของพระองค์
โส จตุจัต์ตาฬีสวัส์สานิ รัช์ชํ กาเรต๎วา กาลํ กัต๎วา ยถา ปุญ์ญกัม์เมน ตาวตึสภวเน นิพ์พัต์ติ.
พระเจ้ากูมัญจราชนั้น เสวยราชสมบัติอยู่ได้สี่สิบสี่พรรษาก็เสด็จสวรรคตได้ไปบังเกิดในดาวดึงษพิภพด้วยกรรมเปนบุญที่พระองค์กระทำแล้ว
ตัส์ส ปุต์โต รุน์ธัย์โย นา ราชา รัช์ชํ กาเรสิ.
พระราชบุตรของพระเจ้ากูมัญจราช ทรงพระนามพระเจ้ารุนธัยราชได้ครองราชสมบัติสืบไป
โสปิ หริปุญ์เชย์ยํ กาเรต๎วา กุสลกัม์มโต อสัท์ทหัน์โต ทานํ ททมาโนปิ สีลํ รัก์ขมาโนปิ ปุราณจาริตวเสน กโรติ ตัส๎มา อัป์ปายุโก สัต์ตวีสติวัส์สานิ กาลํ กัต๎วา ยถากัม์มํ คโต.
พระเจ้ารุนธัยราชนั้น ครองราชสมบัติในหริปุญชัยนคร ไม่มีศรัทธาเชื่อต่อกุศลกรรม ให้ทานบ้างรักษาศีลบ้างกระทำไปตามจารีตโบราณ เพราะฉนั้นจึงมีพระชนมายุน้อยได้ยี่สิบเจ็ดพรรษาก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม
ตัส์ส ปุต์โต สุวัณ์ณมัญ์ชุสนามราชา รัช์ชํ กาเรสิ.
พระราชบุตรของพระเจ้ารุนธัยราชทรงพระนามพระเจ้าสุวรรณมัญชุสราชได้ครองราชสมบัติสืบไป
โส ปน พุท์ธสาสเน สัท์ทหิต๎วา ทานาทีนิ ปุญ์ญานิ กัต๎วา นาคเร อนุรัก์ขิต๎วา อวิงสโก จ.
ส่วนพระเจ้าสุวรรณมัญชุสราชมีพระราชศรัทธาเชื่อถือในพระพุทธสาสนากระทำบุญกุศลมีทานเปนต้น บำรุงรักษาชาวพระนครไม่เบียดเบียนผู้ใด
ตทา หริปุญ์เชย์ยนคเร พหู มนุส์สา สัพ์พสัม์ปัต์ติสมิท์ธา ธนธัญ์ญสุวัณ์ณรชฏสัต์ตรตนวัต์ถาลังการาภรณ์วิวิธวิจิต์ตาสุภิก์ขตรา จ สํฆัต์เถราทโย ภิก์ขู สมณพ๎ราห๎มณคหปติกา จ สุเขน กุสลสมณธัม์มํ กโรน์ติ สัพ์เพ รัฏ์ฐวาสิโน ชนตา จ อติวิย หาสา อภิรัม์มตรา จ โหน์ติ.
มนุษย์ทั้งหลายเปนอันมากในหริปุญชัยนครในครั้งนั้น มีสมบัติสำเร็จพร้อมทุกประการ มีทรัพย์แลเข้าแลทองเงินแลรัตนเจ็ดประการ แลผ้านุ่งห่มเครื่องประดับตกแต่งกายวิจิตรไปด้วยประการต่างๆ มีภักษาหารก็แสวงหาได้โดยง่าย อนึ่งพระภิกษุมีพระสังฆเถรเปนต้นทั้งสมณพราหมณ์คฤหบดีทั้งหลาย ก็พากันกระทำกุศลสมณธรรมเปนศุขสบาย ประชุมชนที่อยู่ในพระราชอาณาเขตรทั้งสิ้น ก็อภิรมย์ร่าเริงบันเทิงใจกันยิ่งนัก
โส จ สุวัณ์ณมัญ์ชุสราชา ตึสวัส์สานิ รัช์ชํ กาเรต๎วา กาลํ กัต๎วา ยถา ปุญ์ญกัม์เมน ติทิวํ คโต โหติ.
พระเจ้าสุวรรณมัญชุสราชเสวยสิริราชสมบัติอยู่ได้สามสิบพรรษาก็เสด็จสวรรคตไปบังเกิดยังดาวดึงษเทวโลกด้วยบุญกรรมที่พระองค์กระทำไว้แล้วนั้น
ตัส์ส ปุต์โต สํสาโร นาม ราชา ตํ รัช์ชํ กาเรสิ.
พระราชบุตรของพระเจ้าสุวรรณมัญชุสราช ทรงพระนามพระเจ้าสังสารราช ได้ครองราชสมบัติต่อมา
โส ปน ทุราจารํ สํสัค์เคน ปาปกัม์เมน อนุยุญ์ชิต๎วา นาคเร วิลุม์เปต๎วา สุวัณ์ณรชฏาทิเภทํ คเหต๎วา สุราโสณ์ฑมํสาทิเภทํ วิกิณิต๎วา ขาทัน์ติ ปิวัน์ติ กิฬัน์ติ นัจ์จัน์ติ คายัน์ติ กุสลกัม์มํ น กโรน์ติ.
ส่วนพระเจ้าสังสารราชนั้น ทรงประกอบไปด้วยกรรมที่เปนบาปอันระคนปนไปด้วยอาจารมารยาทที่ชั่วเปนโจรเที่ยวปล้นชาวพระนครหยิบฉวยเอาสิ่งของต่างๆ มีทองแลเงินเปนต้นได้แล้ว ก็จำหน่ายขายซื้อของบริโภคต่างๆ มีสุราแลเนื้อแกล้มสุราเปนต้น เคี้ยวกินบ้างดื่มกินบ้างเล่นแต่การฟ้อนรำขับร้อง ไม่กระทำกรรมที่เปนบุญกุศล
เตน โส เทวานํ อัป์ปิโย อมนาโป อัป์ปายุโก จ โหติ โส ทสวัส์สานิ รัช์ชํ กาเรต๎วา กาลํ กัต๎วา ยถากัม์มํ คโต.
ด้วยเหตุนั้นพระเจ้าสังสารราช จึงไม่เปนที่รักเจริญใจของเทพยดาทั้งหลายแลเปนผู้มีพระชนมายุน้อย ได้เสวยราชสมบัติเพียงสิบพรรษาก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม
ตัส์ส ปุต์โต ปทุโม นาม ราชา ตํ รัช์ชํ กาเรสิ.
พระราชบุตรของพระเจ้าสังสารราชนั้น ทรงพระนามพระเจ้าปทุมราชได้ครอบครองสิริราชสมบัติสืบต่อมา
โส ปน ปติลัท์ธราชาภิเสโก ฉทานสาลํ กาเรต๎วา สังฆเถรปมุขัส์ส มหาภิก์ขุสังฆัส์ส กุฏิยา วิหารา สํวาสํ กาเรต๎วา กาลํ กัต๎วา ยถาปุญ์ญกัม์มํ คโต.
ส่วนพระเจ้าปทุมราชนั้นได้ราชาภิเศกแล้วก็ให้กระทำศาลาสำหรับให้ทานไว้หกตำบลแล้วก็ให้กระทำกุฎีวิหารอาวาศถวายพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มีพระสังฆเถรเปนประธาน กระทำบุญกุศลมีทานเปนต้น อันกุศลบุญนั้นตามพิทักษ์รักษาอยู่ ครอบครองสิริราชสมบัติสิ้นสามสิบพรรษาก็เสด็จสวรรคตไปตามบุญกรรมที่ทำไว้แล้ว
ตัส์ส ปุต์โต กุลเทโว นาม ราชา ตํ หริปุญ์เชย์ยรัช์ชํ กาเรต๎วา สัต์ตวัส์สปริปุณ์ณเมว.
พระราชบุตรของพระเจ้าปทุมราช ทรงพระนามพระเจ้ากุลเทวราช ได้ครอบครองสิริราชสมบัติอยู่ในหริปุญชัยนครถึงเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว
ตัส๎มึ สูกรวัส์เส อุปาทาทิส์สัน์เต สมณพ๎ราห๎มณาจาราธิปตีหิ โหราทิส์เส อนาคตภเย ทิส๎วา ราชานํ อุปสังกมิต๎วา อาหํสุ เทว อิมัส๎มึ อนาคตสํวัจ์ฉเร มหาภยัน์ตราโย อัม๎หากํ ภวัส์สัน์ติ ยถา ตุม๎หากํ จิต์ตสุขํ รัช์ชสุขัญ์จ ตถา กเรย์ยาถาติ.
ในปีนั้นเปนปีกุญต้องในที่ทำนาย ชนทั้งหลายมีสมณพราหมณาจารย์ผู้เปนอธิบดีเปนต้น ได้เห็นอนาคตภัยที่โหรได้ทำนายไว้ จึงพากันเข้าไปกราบทูลพระเจ้ากุลเทวราชว่า ข้าแต่สมมุติเทวราชเจ้า ภัยอันตรายใหญ่จักบังเกิดมีแก่เราทั้งหลายในปีอนาคตนี้ ความศุขในพระราชหฤทัยก็ดี ความศุขในราชสมบัติก็ดีจะบังเกิดมีแก่พระองค์ด้วยประการใด ขอพระองค์พึงกระทำอย่างนั้นเถิด
ตํ สุต๎วา ราชา อาห กึ กัต๎วา อัม๎หากํ จิต์ตสุขํ รัช์ชสุขํ ภเวย์ยาติ.
พระเจ้ากุลเทวราชได้สดับคำนั้นแล้วจึงตรัสว่า ทำอย่างไรความศุขในใจแลความศุขในราชสมบัติจะพึงมีแก่เราทั้งหลาย
ทานาทีนิ ปุญ์ญานิ กัต๎วา สีลํ รัก์ขิต๎วา ตํ ปุญ์ญํ เทวตานํ ปัต์ตึ ทัต๎วา สัพ์เพ เทวา ตํ อารัก์ขํ กริส์สัน์ติ อปิ นานา เทวตา ปูชํ กัต๎วา ตุม๎หากัญ์จ รัฏ์ฐัญ์จ รัก์ขนัต์ถาย ยาจิส์สามาติ อาหํสุ.
ชนทั้งหลายเหล่านั้นจึงกราบทูลว่า ขอพระองค์จงกระทำบุญ มีทานเปนต้น จงรักษาศีลจงให้ส่วนบุญนั้นแก่เทพยดาทั้งหลาย เทพยดาทั้งปวงจักกระทำการป้องกันรักษาพระองค์ อิกประการหนึ่ง ขอพระองค์จงกระทำการบูชาเทพยดามีประการต่างๆ แล้ว จงวิงวอนเทพยดาทั้งหลายเพื่อจะให้ป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตรของพระองค์ด้วย
ตํ สุต๎วา ราชา กุชนเตหิ สังฆคตา จ มัจ์ฉริยโต ธนขยภเยน จ เตสํ เอวมาห โภน์โต ภยัน์ตราโย นาม กัส์ส อุป์ภยัน์ตราโย นาม กัส์ส อุป์ปัช์ชิส์สติ โก ปติพาหโน นาม โหติ ยัต์ถ วา ตัต์ถ วา โหตุ นาหํ กาตํุ สัก์โกมีติ เตสํ วจนํ ขิปิ.
พระเจ้ากุลเทวราชได้สดับคำนั้นแล้ว เพราะความที่พระองค์รคนคบหาสมาคมด้วยประชุมชนที่เปนคนชั่วแลด้วยความกลัวจะหมดเปลืองพระราชทรัพย์ เพราะความเปนผู้มัจฉิริยะ จึงตรัสแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าภัยอันตรายจักเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้ใดชื่อว่าเปนผู้ห้ามภอันตรายได้ ภอันตรายจะมีในที่ใดหรือในที่นั้นก็ช่างเถิด เราไม่อาจจะกระทำได้ ครั้นตรัสดังนี้ ก็ซัดทิ้งถ้อยคำของชนเหล่านั้นเสีย
ตัส๎มึ สํวัจ์ฉเร อุป์ปาทิเตเยว เอโก มิลัก์ขมหาราชา นาม อัต์ตโฯ พลํ สัช์เชต๎วา อาคัน์ต๎วา หริปุญ์เชย์ยนครํ รุม๎หิ.
ครั้นถึงปีที่โหรทำนายไว้นั้นมีกระษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามพระเจ้ามิลักขมหาราช กระเตรียมพลนิกายของพระองค์ยกมาล้อมหริปุญชัยนคร
เตสุ ยุช์ฌิยมาเนสุ หริปุญ์เชย์ยพลนิกาโย ปราชิโต หุต๎วา ปลายิต๎วา สเมงคนามนครํ อุปนิส์สาย วสึสุ.
เมื่อพลนิกายทั้งสองฝ่ายกระทำยุทธนาการกันอยู่ พลนิกายฝ่ายข้างหริปุญชัยนครก็ถึงซึ่งปราชัยพ่ายแพ้ พากันหนีไปอาศรัยเมืองชื่อสเมงคนครอยู่
ตโต จ เอโก มิลัก์ขเต๎รย์โย นาม อาคัน์ต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ ลุม๎ปิต๎วา ลภิต๎วาว หริปุญ์เชย์ยนาคเร สเมงคานครโต ปัก์โกสาเปต๎วา ปุน หริปุญ์เชย์ยนคเร นิวาสาเปสิ.
ภายหลังมีกระษัตริย์อิกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้ามิลักขไตรยราชมาปล้นหริปุญชัยนครได้แล้ว จึงให้เรียกชาวหริปุญชัยนครมาจากสเมงคนครให้อยู่ในหริปุญชัยนครอิก
มิลัก์ขเต๎รยโย ราชา ปน หริปุญ์เชย์ยํ ตีณิ วัส์สานิ ติมาสาธิกานิ รัช์ชํ กาเรต๎วา ตโต ตํ ปหาย สกนครเมว คโต.
ส่วนพระเจ้ามิลักขไตรยราชครองราชสมบัติอยู่ณหริปุญชัยนคร สิ้นสามปีกับสามเดือนแล้ว ภายหลังทิ้งหริปุญชัยนครเสียกลับไปพระนครของพระองค์
ตัส์มิญ์จ กาเล มิลัก์ขมหาราชา มหัน์เตหิ พลนิกาเยหิ อาคัน์ต๎วา ตํ หริปุญ์เชย์ยํ คเหต๎วา ลภิต๎วา ตํ รัช์ชํ กาเรต๎วา เอกสํวัจ์ฉเรเยว กาลมกาสิ
ในกาลนั้นพระเจ้ามิลักขมหาราชยกมาด้วยพลนิกายหมู่ใหญ่ ยุดเอาหริปุญชัยนครนั้นไว้ได้แล้ว ก็ครอบครองสิริราชสมบัติอยู่ได้ปีหนึ่งก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก โนกราชา นาม ตํ รัช์ชํ กาเรต๎วา สัต์ตมาเส เยว กาลํ กัต๎วา ยถากัม์มํ คโต.
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามพระเจ้าโนกราช ครองราชสมบัติได้เจ็ดเดือนก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม
ตโต เอโก ทาโล นาม ราชา รัช์ชํ กาเรต๎วา เท๎ว มาเส อฒมาสํปิ กาลํ กัต๎วา ยถากัม์มํ คโต.
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าทาลราช ครองราชสมบัติได้สองเดือนครึ่งก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม
ตโต เอโก ตุตราชา นาม ตํ รัช์ชํ กาเรต๎วา ทสสํวัจ์ฉเร กาลมกาสิ.
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าตุตราช ครองราชสมบัติได้สิบปีก็เสด็จสวรรคต
ตโต เสลราชา นาม ตํ รัช์ชํ กาเรต๎วา ตีณิ วัส์สานิ กาลํ กัต๎วา ยถากัม์มํ คโต
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าเสลราช ครองราชสมบัติได้สามปีก็เสด็จสวรรคต
ตโต หาลราชา นาม ตํ รัช์ชํ กาเรต๎วา ตีณิ วัส์สานิ กาลมกาสิ.
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าหาลราช ครองราชสมบัติได้สามปี ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก โยวราชา ตํ รัช์ชํ กาเรต๎วา ฉมาเส กาลมสาสิ
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าเยาวราช ครองราชสมบัติได้หกเดือน ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก พ๎รห๎มัน์ตราชา นาม รัช์ชํ กาเรต๎วา สํวัจ์ฉรานิ ติธิกานิ จ กาลํ กัต๎วา ยถากัม์มํ คโต
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าพรหมตันตราช ครองราชสมบัติได้หนึ่งปีกับสามเดือน ก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม
ตทา เอโก มุกราชานาม ตํ รัช์ชํ กาเรต๎วา เท๎ว สํวัจ์ฉรานิ กาลมกาสิ.
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้ามุกราช ครองราชสมบัติได้สองปี ก็เสด็จสวรรคต
ตโต อัต๎ราสตโก นาม ราชา รัช์ชํ กาเรสิ สุโร จ เดชวัน์โต โหติ เท๎วสํวัจ์ฉรานิ ทสมาสานิ จ รัช์ชํ กาเรน์เตเยว สุรโยธาทิพลนิกาเย สังกฒิต๎วา หริปุญ์เชย์ยนครโต นิก์ขมิต๎วา ลวนครํ คหณัต์ถาย นาวคณาย พิงคนทิยา โสเตน โอวาเหสิ.
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าอัตราสตกราช ได้ครองราชสมบัติมีพระเดชานุภาพกล้าหาญ ครั้นครองราชสมบัติได้สองปีกับสิบเดือน จึ่งให้รวบรวมสุรโยธาพลนิกายไว้พร้อมเสร็จ เสด็จออกจากหริปุญชัยนคร เพื่อพระประสงค์จะยุดถือเอาพระนครลโว้ จึ่งยกกองทัพเรือล่องลงมาตามกระแสแม่น้ำพิงคนที
ตทา ลโวราชา อุจ์ฉิฏ์ฐกจัก์กวัต์ติ นาม อติวิยสุโร มหาพลกาโย จ ลัว์วนครสามิโก ตัส์ส อัต์ตโนกตภาวํ สุต๎วา อติวิย กุท์โธ อยทัณ์เฑน ปหตนังคุฏ์โฐวิย ภุช์ชคิน์โท ตุริเตน สกพลนิกาเย สัช์ชิต๎วา อัต์ตโน ลัว์วนครํ อนเปก์โข หุต๎วา อัต๎ราสตกราชานํ ปติยุช์ฌิตํุ ทุรมัค์คํ อาคัญ์ฉิ.
ในกาลนั้น พระเจ้าละโว้ทรงพระนามพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช มีพระเดชานุภาพกล้าหาญยิ่งนัก มีพลนิกายหมู่ใหญ่เปนเจ้าผู้ปกครองเมืองละโว้ ครั้นได้สดับกิติศัพท์ว่า พระเจ้าอัตราสตกราช ยกกองทัพมายังพระราชอาณาเขตรของพระองค์ ก็ทรงพระพิโรธยิ่งนัก ดุจพระยาภุชคินทรนาคราชมีขนดหางอันบุคคลประหารด้วยฆ้อนเหล็ก จึ่งให้เตรียมพลนิกายของพระองค์โดยเร็ว ไม่ได้เหลียวแลเมืองละโว้ของพระองค์ เสด็จมาทางไกล พระประสงค์จะกระทำยุทธนาการต่อสู้กับพระเจ้าอัตราสตกราช
เตสุ อุโภสุ สุรโยเธสุ อัญ์ญมัญ์ญํ ปติหัญ์ญมาเนสุ ยุทํธาการํ สัช์ชัน์เตสุเยว ตทา เอโก สุชิโต นาม ราชา สิริธัม์มนคเร กาเรต๎วา อัต์ตโน สุรโยเธหิ สตสหัส์เสหิ สตทสสหัส์สาธิเกหิ ถลโต จ อุทกโต จ เตสํ ยุชฌิตัต์ถานํ อาคัน์ต๎วา อถ เต อุโภปิ ตัส์ส มหตเร พลนิกาเย ทิส๎วา ภีตตสิตา ปลายึสุ.
เมื่อสุรโยธาทั้งสองฝ่ายมาปะทะกันตระเตรียมจะกระทำยุทธนาการกันอยู่ ในกาลนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าสุชิตราช ครองราชสมบัติอยู่ในสิริธรรมนคร เสด็จมาถึงที่ยุทธนาการของสุรโยธาทั้งสองฝ่าย โดยทางบกบ้างทางน้ำบ้าง ด้วยสุรโยธาถึงสิบเจ็ดหมื่น ครั้งนั้นพลนิกายทั้งสองฝ่ายได้เห็นพลนิกายของพระเจ้าสุชิตราชมากกว่า ก็เกิดความสดุ้งตกใจกลัวพากันหนีไป
อุจ์ฉิฏ์ฐจัก์กวัต์ติปิ อัต์ตโน สุรโยธพลนิกาเย สัญ์ญาเปต๎วา อิทานิ สิริธัม์มราชา อัม๎หากํ มัค์คํ รุม๎หิต๎วา ปตินิวัต์ตํุ น สัก์โกม หริปุญ์เชย์ยนครํ คัณ๎หิต๎วา สัพ์เพสํ เตสํ ภริยํ อัม๎หากํ ภริยํ ภวิส์สตีติ ยัส๎มา โซ วทามิ เตสํ คมนํ อุทเกน คัน์ตัพ์พํ อุทเกน คมนํ นาม วังกํ อติจิรานุป์ปัต์ตํ อัม๎หากํ คมนมัค์คํปิ ถเลน คโต อุชุตา ขิป์ปานุป์ปัต์โต ตัส๎มึ ตํ ปฐมตรํ คัณ๎หิส์สามาติ.
ส่วนพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช จึ่งนัดหมายสุรโยธาพลนิกายของพระองค์ว่า บัดนี้พระเจ้าสิริธรรมราชมาตั้งสกัดทางพวกเราไว้ พวกเราไม่อาจกลับไปได้ พระเจ้าสิริธรรมราชจักยุดถือเอาพระนครหริภุญชัย จักกระทำภริยาของคนทั้งปวงเหล่านั้นให้เปนภริยาของพวกเรา แล้วตรัสว่าซึ่งเรากล่าวดังนี้แก่ท่านทั้งหลายเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า การไปของชนทั้งหลายเหล่านั้นไปทางน้ำ ชื่อว่าไปทางน้ำเปนทางอ้อมถึงช้านัก ทางที่จะไปของพวกเราไปทางบกเปนทางตรงถึงเร็ว จะยุดถือเอาพระนครหริปุญชัยได้ก่อน
เต สาธูติ ตัส์ส วจนํ สัม์ปฏิจ์ฉิต๎วา เอกัต์ตมนา หุต๎วา ตุริเตน หริปุญ์เชย์ยนครํ อาคัญ์ฉึสุ.
พวกสุรโยธาพลนิกายเหล่านั้นมีน้ำใจเปนอันหนึ่งอันเดียวกันรับพระราชโองการว่าสาธุดังนี้แล้วก็รีบมายังหริปุญชัยนคร
สัม์ปัต์ตทีวเสเยว ทูรโต ติฏ์ฐัน์ติ สายัณ๎หสมเย อาคัน์ต๎วา ปทูเส อติพลวตเร โยเธหิ ธาวิต๎วา ยาว พลวปัจ์จูสสมเย นครํ ปัต๎วา อัม๎หากํ ราชา อาคโตติ ท๎วารํ วิวราเปต๎วา นครํ ปาวีสิต๎วา นครํ หัต์ถคตํ กัต๎วา ราชนิเวสนํ อภิรุย๎หิต๎วา ราชนิเวสนารัก์ขปุริเส พัน์ธาเปต๎วา พัน์ธาคาเร ฐเปต๎วา สุเขน ราชาสเน นิสีทิ มุหุต์เตเยว อรุโณเทย์โย ชาโต อโหสิ.
ในวันที่มาถึงนั้นก็หยุดพักอยู่แต่ไกลก่อน ครั้นถึงสายัณหสมัยพอพลบค่ำพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช ก็เสด็จรีบรุดมาด้วยกำลังสุรโยธาอันเหี้ยมหาญ พอได้ปัจจุสสมัยเวลากาลก็บันลุถึงพระนครหริปุญชัย จึ่งให้บอกนายประตูว่าพระราชาของเราทั้งหลายมาถึงแล้วให้เปิดประตูเข้าไปยังพระนครได้แล้ว กระทำพระนครให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ แล้วเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ให้พันธนาการบุรุษรักษาพระราชนิเวศน์ขังไว้ในเรือนจำ แล้วเสด็จประทับเหนือราชอาศน์สำราญพระราชหฤทัยพอประมาณเวลาสักครู่หนึ่งก็รุ่งสว่าง
ราชา ราชเทวิญ์จ ราชธิตรัญ์จ อัต์ตโน อนุรูปํ วัต์ถัญ์จ คเหต๎วา อวเสสา อัต์ตโน เสนาปตาทีนํ สกชนตานํ ยถานุรูปํ อทาสิ สกลรัฏ์เฐ อัต์ตโน หัต์ถคตํ สุเขน รัช์ชํ กาเรสิ.
พระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช ก็ถือเอาพระราชเทวีแลพระราชธิดาแลวัตถาอาภรณ์ต่างๆ ซึ่งสมควรแก่พระองค์ ที่เหลือนั้นก็พระราชทานแก่พลนิกายของพระองค์ มีเสนาบดีเปนต้นตามสมควรครอบครองสิริราชสมบัติตลอดพระราชอาณาเขตร ให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ โดยศุขสำราญพระราชหฤทัย
น จีรัส์เสว อัต๎ราสตกราชา อาคัน์ต๎วา อัต์ตโน นครํ รุม๎หิต๎วา อัจ์ฉิน์ทนัต์ถาย เตน สัท์ธึ อภิยุช์ฌิต๎วา ปราเชย์ยํ ปัต๎วา ปลายิต๎วา นาวาย คัน์ต๎วา เอกัส๎มึ ทัก์ขิณทิสา อรัญ์เญ ทุรตเร นิลิยิต๎วา วสิ.
อยู่มาไม่ช้าพระเจ้าอัตราสตกราช ก็เสด็จมาล้อมพระนครเพื่อพระประสงค์จะชิงเอาพระนครของพระองค์ ได้กระทำยุทธนาการกับด้วยพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช ก็ถึงปราไชยพ่ายแพ้หนีลงเรือไปซ่อนเร้นอยู่ในที่ห่างไกล ในอรัญประเทศแห่งหนึ่งข้างทักษิณทิศ
อุจ์ฉิฏ์ฐจัก์กวัต์ติราชา อาคัน์ต๎วา ชยเภรี นทาเปต๎วา เทวานํ ปูชํ กัต๎วา สัพ์เพสุ สุรโยเธสุ ชนเต จ ชยปานสุราทีหิ โภเชสิ พัน์ธาคาริกมนุส์เส ปมุญ์จาเปต๎วา ยถานุรูปํ ธนํ อทาสิ.
พระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราชเสด็จมาแล้ว ก็ให้พิฆาฏชัยเภรีบันลือลั่นกระทำการบูชาเทพยดาแล้วก็ให้เลี้ยงดูสุรโยธาทั้งสิ้น ด้วยเครื่องเลี้ยงมีสุราไชยบานเปนต้น แล้วก็ให้ปล่อยมนุษย์ที่จำไว้ในเรือนจำ แล้วพระราชทานทรัพย์ตามสมควร
สุชิตราชา สิริธัม์มนครสามิโก จ เตสํ ปลายิตภาวํ ญัต๎วา นิวัต์ติต๎วา ลัว์วนครํ คัน์ต๎วา อัป์ปัต์ติยุช์ฌิตัต์ตาสุ คหิโต ลภิต๎วา ปวิสิต๎วา มหาชนเภรี จาราเปต๎วา เทวานํ ปูชํ กัต๎วา กานนเทวานํ รูปัญ์จ ราชมาตรรูปัญ์จ นครารัก์ขกานํ ปูเชต๎วา สัพ์พตุริยานิ ปัค์คัณ๎หาเปสิ ตัต์ถ ยถาภิรัน์ตํ วสติ.
ฝ่ายพระเจ้าสุชิตราชเจ้าศิริธรรมนคร ครั้นทรงทราบว่ากองทัพทั้งสองพระนครหนีไปแล้ว ก็เสด็จกลับไปถึงพระนครละโว้ก็ยุดถือเอาพระนครละโว้ได้โดยง่าย เพราะไม่มีผู้ใดจะต่อรบเข้าไปยังพระนครได้แล้ว ก็ให้พิฆาฏมหาพิไชยเภรี กระทำการบูชาเทพยดา แลบูชาเทวรูปในป่า แลบูชารูปพระราชมารดา แลบูชาเทพยดาที่รักษาพระนคร แล้วให้ประโคมสรรพดุริยางคดนตรีประทับอยู่ในพระนครละโว้นั้นตามชอบพระอัธยาไสย
อุจ์ฉิฏ์ฐจัก์กวัต์ติราชา ปน ปุพ์พกุสลสัณ์ฐาเรน หริปุญ์เชย์ยํ ลภิต๎วา กาเรต๎วา สกลรัฏ์ฐวาสีนํ ชนตานํ อาราเธต๎วา เตสํ ปิโย มนาโป อโหสิ.
ส่วนพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช ได้พระนครหริปุญไชยแล้วด้วยพระกุศลในปางก่อน กระทำให้ประชุมชนที่อยู่ในพระราชอาณาเขตรทั้งสิ้นยินดีแล้ว ก็ได้เปนที่รักเจริญใจของประชุมชนเหล่านั้น
ตติยสํวัจ์ฉเร สัม์ปุณ์เณว สิริธัม์มราชัส์ส ปุต์โต ราชา ปน ปุพ์พกุสลกัม์โพช์โช นาม ราชา มหัพ์พลตโร อสัน์ตุฏ์ฐา ยุท์ธสัช์ชํ สัช์ชิต๎วา อาคัน์ต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ ปัต๎วา.
ครั้นถึงปีที่สาม พระราชบุตรของพระเจ้าศิริธรรมราชเปนพระราชาทรงพระนาม พระเจ้ากัมโพช ด้วยพระกุศลที่ทรงกระทำไว้แล้วแต่ปางก่อน มีกำลังใหญ่ยิ่งนัก แต่เปนผู้มักมากตระเตรียมกองทัพเสด็จมาถึงหริปุญชัยนคร
อุจ์ฉิฏ์ฐจัก์กวัต์ติราชา จ หริปุญ์เชย์ยชนเต สุรโยเธ สัช์ชิต๎วา นิก์ขมิต๎วา เตน สัท์ธึ ปติยุช์ฌิ.
ส่วนพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราชก็ตระเตรียมสุรโยธาชาวหริปุญชัยนคร ออกต่อรบด้วยพระเจ้ากัมโพชนั้น
เตสุ ยุช์ฌิยมาเนสุ กัม์โพชราชา ปราชยํ ปัต๎วา ปลายิ.
เมื่อสุรโยธาทั้งสองฝ่ายกระทำยุทธนาการกันอยู่ พระเจ้ากัมโพชก็ถึงปราชัยพ่ายแพ้หนีไป.
กัม์โพชเสนา อสิสัต์ติโต มรกวจจัม์มกรวรวารณาทีนิ ฉัท์เทต๎วา นาคปุรํ นาคนครํ สัม์ปัต์โตเยว.
พวกเสนาของพระเจ้ากัมโพชก็ทิ้งสาตราวุธ มีดาบแลหอกพุ่งหอกซัดแลเกราะโล่ แลช้างตัวประเสริฐเปนต้นเสียหนีไปถึงนครนาคบุรี
นาคปุรวาสิโน ชนตาโย จ นิก์ขมิต๎วา กัม์โพชานํ อนุพัน์ธัน์ตา หัต์ถิอัส์สาทีนิ ทาสีทาสาอาวุธภัณ์ฑานิ ลภึสุ.
ชาวนครนาคบุรีก็ออกติดตามพระเจ้ากัมโพช ได้ช้างม้าทาษีทาษาเครื่องสาตราวุธเปนอันมาก
กัม์โพชราชา ตุจ์ฉหัต์เถน อัต์ตโน นครํ ปาปุณิต๎วา มหัน์ตลัช์ชภาวัจ์ฉาทนัต์ถํ สาฏกกัณ์เณน มุขํ ปิทหิต๎วา นครํ ปาวีสิ.
พระเจ้ากัมโพช มีพระหัตถ์เปล่ากลับไปถึงพระนครของพระองค์แล้ว ต้องปิดพระภักตร์ด้วยชายพระภูษา เพื่อจะบังเสียซึ่งความละอายอันใหญ่เข้าไปยังพระนคร
อุจ์ฉิฏ์ฐจัก์กวัต์ติราชา วนมหาสังคามมัช์เฌ มหาวิชยํ ปัต๎วา เภรี นทาเปต๎วา ติก์ขัต์ตํุ มหาอุก์กุฏ์ฐาเปต๎วา อุทัค์คุทัค์เคน วิกสิตมุเขน นครํ ปาวีสิ.
ส่วนพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช ถึงซึ่งความชะนะใหญ่ท่ามกลางสงครามในป่าแล้ว ก็ให้พิฆาฏไชยเภรีบันลือลั่นโห่ร้องขึ้นสามลา มีพระไทยร่าเริง แลมีพระภักตร์เบิกบานเสด็จเข้าไปยังพระนคร
หริปุญ์เชย์ยชนตาปิ หัต์ถิอัส์สาทีนิ สุวัณ์ณรชฏภัณ์ฑานิ คเหต๎วา รัญ์โญ นิเวทยึสุ.
ส่วนประชุมชนชาวพระนครหริปุญชัย ก็นำเอาช้างม้าแลทองเงินกับสิ่งของต่างๆ มาถวาย
ราชา อัต์ตโน อนุจ์ฉวิกํ ธนธัญ์ญํ คเหต๎วา อวเสสานํ เสนาปติอาทีนํ อมัจ์จคณสุรโยธานํ ยถานุรูปํ ทาเปต๎วา อวเสสานัญ์จ นครวาสีนํ ชนตานํ ยถารุจึ ทาเปสิ.
พระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราชทรงรับแต่ธนธัญญะที่สมควรแก่พระองค์ สิ่งของที่เหลือนั้นก็พระราชทานแก่พวกอำมาตย์แลสุรโยธา มีเสนาบดีเปนต้นตามสมควรแล้ว ก็พระราชทานแก่ประชุมชนชาวพระนครตามปราถนา
ตํ ทิวสํ อติก์กมิต๎วา ปรทิวเสสุ โย ยํ ลภติ โส ตํ คัณ๎หตูติ จาราเปสิ.
ครั้นล่วงวันนั้นไปแล้ว ในวันอื่นพระองค์ก็ให้ป่าวประกาศไปว่า ใครๆ หยากได้สิ่งใดจงมาถือเอาสิ่งนั้นตามปราถนาเถิด
สกลรัฏ์ฐวาสิโน ชนตา ลาภํ ลภิต๎วา สมิท์ธึ ปัต์ตา อโหสิ.
ประชุมชนชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย ครั้นได้ทราบป่าวประกาศดังนั้นแล้ว ก็พากันได้ลาภถึงซึ่งความสมประสงค์ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
ตถา อุจ์ฉิฏ์ฐจัก์กวัต์ติราชา อัต์ตโน ยสสัม์ปัต์ติญ์จ อัต์ตโน มหาวิชยสมิท์ธิญ์จ โอโลเกต๎วา โอโลกนกาเลเยว อัต์ตโน ปุพ์พกตสุจริตัต์ตา จ เทวตารัก์ขานุภาเวน จาติ อัท์ทส โส เทวตานํ มหาปูชาสัก์การํ กัต๎วา อนาคตานํ ปุต์ตปปุต์ตานํ นัต์ตัป์ปนัต์ตานํ โสต์ถิกรณัต์ถาย อัต์ตโน กุสลสัม์ภารคุณํ อาทึ กัต๎วา สัจ์จาธิฏ์ฐานํ ปัฏ์ฐเปต๎วา เทวตานํ สัก์ขิกรณัต์ถาย สกสิรสิ อัญ์ชลึ กัต๎วา เอวมาห.
ลำดับนั้นพระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราช ทรงพิจารณาราชอิศริยยศแลสิริราชสมบัติ แลมหาพิชัยฤทธิ์ของพระองค์ ทรงเห็นว่าสำเร็จด้วยความสุจริตของพระองค์ที่ทรงกระทำไว้แต่ป่างก่อน แลสำเร็จด้วยอานุภาพเทพยดาอารักษ์ จึงได้กระทำการบูชาสักการใหญ่แก่เทพยเจ้าทั้งหลายแล้ว จึ่งกระทำกุศลสมภารคุณของพระองค์ให้เปนเบื้องต้นตั้งสัตยาธิษฐาน เพื่อจะกระทำความสวัสดีมงคลแก่พระราชบุตรแลหลานเหลนลือ ซึ่งจะมีมาในอนาคตกาล แล้วจึงกระทำอัญชลีกรรมแก่เทพยดาทั้งหลายด้วยพระเศียรเกล้าของพระองค์เพื่อจะให้เปนศักขีพยาน จึงมีพระราชโองการดำรัสอย่างนี้ว่า
โภน์โต โภน์โต เทวสัฆา สุณาถ วจนํ มม ตุม๎หากํ ทิพ์พโสเตหิ ทิพ์พญาเณหิ ชานัน์ตุ ปุพ์เพ กิร อิทํ รัฏ์ฐํ มหาอิสีหิ นิม์มิตํ มมาย์ยิกํ จามเทวึ อาเนย์ยิต๎วา สคารวํ อภิเสกํ กริต๎วาน ปติฏ์ฐาเปน์ติ ราชิกํ สุพิช์ชโรปนัต์ถาย ชินธาตุส์สัฏ์ฐานกํ เอกํ สัจ์จํ ยทิ อัต์ถิ อิทํ ตุเม๎หหิ รัก์ขิตํ โกจิ ราชา กัม์โพชานิ ยทิ เอติ วิหึสิตํุ. ตํ ตุเม๎ห สุนิวาเรน์ตุ ยทิส์สาโว อนาทโร ภวัน์ตา ตํ วิธ์เสน๎ตุ วิสาเสน์ตุ น ชีวตุ มัย๎หํ สัจ์จํ อธิฏ์ฐานํ นจ อัญ์ญัต์ถ การณํ การณํ ชินธาตูหิ ตัส๎มา อิทํ สุรัก์ขถาติ.
ข้าแต่เทพยคณานิกรเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงสดับฟังสุนทรพจน์ของข้าพเจ้าด้วยทิพโสตร แลขอจงได้โปรดทราบแจ้งประจักษ์ชัดด้วยทิพญาณของเทพยเจ้าทั้งหลายว่าดังได้สดับมา เมื่อเดิมพระราชอาณาเขตรนี้ พระฤๅษีเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลายได้สร้างสรรค์แล้วได้เชิญเสด็จพระนางเจ้าจามเทวี ซึ่งเปนพระอัยอีกาของข้าพเจ้ามากระทำการอภิเศกประดิษฐานไว้ เพื่อประสงค์จะให้เปนพืชน์เพาะปลูกที่ดี อันเนื่องมาแต่ราชตระกูลเปนที่สักการเคารพ ถ้าว่าที่เปนที่ประดิษฐานพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ผจญซึ่งหมู่มารให้พ่ายแพ้ไป ได้มีอยู่แห่งหนึ่งเปนการจริงแล้ว สถานที่ตำบลนี้ก็เปนอันข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำรุงพิทักษ์รักษาแล้ว ถ้าพระราชาองค์หนึ่งองค์ใดมีพระเจ้ากัมโพชเปนต้นจะพึงมาเบียดเบียนแล้ว ขอเทพยเจ้าทั้งหลายจงช่วยห้ามปรามพระราชาองค์นั้นเสียแต่โดยดีเถิด ถ้าพระราชาองค์ใดองค์หนึ่งไม่เอื้อเฟื้อฟังคำห้ามของเทพยเจ้าทั้งหลายแล้ว ขอเทพยเจ้าผู้เจริญทั้งหลายจงช่วยกำจัดพระราชาองค์นั้นเสียให้พินาศ อย่าให้มีพระชนม์ชีพเปนอยู่ได้เลย คำสัจอธิฐานของข้าพเจ้าจะได้อาศรัยเหตุในที่แห่งอื่นก็หามิได้ อาศรัยเหตุด้วยพระธาตุของพระชินสีห์เจ้า เพราะเหตุนั้นขอเทพยเจ้าทั้งหลายจงช่วยอภิบาลบำรุงรักษา พระชินธาตุนี้แต่โดยดีเถิด
ราชา สัพ์เพ เทวตาโย โสฬสปตลพ๎รห๎มาทโย สาเรต๎วา วิญ์ญาเปต๎วา อัต์ตโฯ วุต์ตนเยเนว ศิลาปัต์เต ลิก์ขาเปต๎วา ราชึ กาเรต๎วา จาริกํ กัต๎วา หริปุญ์เชย์ยนครัส์ส ปัจ์ฉิมทิสาภาเค ศิลาปัต์ตํ นิธาเปสิ โส ตโต ปัฏ์ฐาย ราชสุขํ อนุนภววสิ ตติยสํวัจ์ฉรปริปุณ์เณ กาลมกาสิ.
พระเจ้าอุจฉิฏฐจักรวัติราชได้เชิญเทพยดาทั้งสิ้น มีมหาพรหมทั้งสิบหกชั้นเปนต้นให้ระลึกรู้แจ้งแล้ว จึงให้กระทำจารึกลงในแผ่นศิลาตามถ้อยคำของพระองค์แล้ว ให้ฝังแผ่นศิลาจารึกไว้ในทิศาภาคข้างปัจฉิมทิศแห่งหริปุญชัยนคร ตั้งแต่นั้นพระองค์ก็ได้เสวยราชสมบัติเปนศุขสืบมา พอครบสามปีบริบูรณ์ดีแล้ว ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก กมลราชา นาม วีสติวัส์สานิ สัต์ตมาสาธิกานิ หริปุญ์เชย์ยรัช์ชํ กาเรต๎วา กาลมกาสิ.
ลำดับนั้นมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้ากมลราช ได้ครองราชสมบัติในหริปุญชัยนครได้ยี่สิบปีกับเจ็ดเดือน ก็เสด็จสวรรคต
ตทาว หริปุญ์เชย์ยนครวาสิโน ชนตา อนุก์กเมน พหูอหิวาตกโรคา อุป์ปัช์ชึสุ.
ในกาลนั้น ประชุมชนชาวหริปุญชัยนคร ก็เกิดเปนอหิวาตกโรคมากขึ้นโดยลำดับ
พหู มนุส์สา กาลํ กัต๎วา วินัส์สัน์ติ.
มนุษย์ทั้งหลายกระทำกาลกิริยาถึงซึ่งความพินาศเปนอันมาก
โส ปน โรโค ยัส๎มึ ฆเร อุป์ปัน์โน ตัส๎มึเยว ฆเร วสัน์โต ชนตา อนุก์กเมน มรณํ ปัต๎วา อนาเสเสต๎วา อัน์ตมโส ยํ กิญ์จิ อัต์ถิ โย ตํ คเหต๎วา โส ตํ โรคํ อุป์ปัน์โน ปัต๎วา ยาว ฆรัส์ส อัน์เต ขียติ.
โรคเกิดขึ้นในเรือนใดประชุมชนที่อยู่ในเรือนนั้น ก็ถึงซึ่งความตายไปโดยลำดับจนไม่มีเหลือ โดยที่สุดสิ่งของเครื่องใช้สรอยสิ่งใดที่มีอยู่ในเรือนนั้น มีผู้ใดมาจับต้องเข้าแล้ว ผู้ที่จับต้องนั้นก็เกิดเปนโรคถึงความสิ้นไปทั้งครัวเรือน
โส จ โรโค ยัส๎มึ ฆเร เอกัส์ส ชนัส์ส อุป์ปัน์โน สัพ์เพเต อโรคา ตํ ฉัท์เทต๎วา ฆรภิต์ตึ ภิน์ทิต๎วา ปลายัน์ตา มุญ์จัน์ติ ตัส๎มา หริปุญ์เชย์ย ชนตา อัต์ตโน อัต์ตโน ชีวิตํ รัก์ขนัต์ถาย นิก์ขมิต๎วา ปลายิต๎วา เอกํ สุธัม์มํ นาม นครํ คัน์ต๎วา ตํ นิส์สาย ชีวิตํ กัป์เปสํุ.
โรคนั้นเกิดขึ้นแก่คนคนหนึ่งในเรือนหนึ่งแล้ว คนทั้งสิ้นที่ยังไม่เปนโรคก็ทิ้งคนที่เปนโรคนั้นเสีย แล้วทำลายฝาเรือนหนีไปให้พ้น เพราะเหตุนั้นประชุมชนชาวพระนคร จึงพากันออกจากเรือนหนีไปเพื่อจะรักษาชีวิตของตนๆ ไปอาศรัยพระนครแห่งหนึ่ง ชื่อสุธรรมนครเลี้ยงชีวิตอยู่
ตทา หริปุญ์เชย์โย ปริหีโน นิชนวา สุญ์โญ โหติ.
ในกาลนั้นพระนครหริปุญชัยก็เปนพระนครร้างว่างเปล่า ไม่มีมนุษย์อยู่อาศรัย
ปุกามราชาปิ มหาชนตานํ อทุพ์พลํ ทิส๎วา ทยาจิต์เตน วิรหิโต อสัน์ตุฏ์โฐ จ สุธัม์มนครํ ปัฏ์เฐต๎วา เตสํ ปุต์ตธีตานํ คัณ๎หาเปสิ.
ฝ่ายพระเจ้าปุกามราช ได้ทอดพระเนตรเห็นประชุมชนหมู่ใหญ่หมดกำลัง แล้วพระองค์จะเปนผู้สันโดษฐทอดพระธุระเสียไม่ได้ ด้วยพระไทยคิดสงสาร จึงให้บำรุงเมืองสุธรรมนครขึ้น ให้บุตรธิดาของชนเหล่านั้นอยู่ครอบครองรักษาต่อไป
เต หริปุญ์เชย์ยชนตา ตํ ทุก์ขํ อสหัน์ตา ตโต ปลายัน์ตา หํสวตินครํ คัน์ต๎วา ตัต์เถว ชีวิตํ กัป์เปสํุ.
ประชุมชนชาวพระนครหริปุญชัยเหล่านั้น ไม่สามารถจะให้ความทุกข์นั้นสงบระงับไปได้ ก็พากันหนีจากสุธรรมนคร ไปอาศรัยเลี้ยงชีวิตอยู่ในหงษาวดีนคร
ตทา หํสวติราชา จหริปุญ์เชย์ยชนเต ทิส๎วา กรุณายิตัต์ตา วัต์ถาลังการาทิวิหิตัณ์ฑุลโสณัม์พิลฆราวาสํ ทัต๎วา อารัก์ขาเปสิ.
ในกาลนั้นพระเจ้าหงสาวดีราชได้ทอดพระเนตรเห็นประชุมชนชาวหริปุญชัยนครแล้ว ก็พระราชทานผ้านุ่งผ้าห่มแลสิ่งของต่างๆ มีเครื่องประดับเปนต้น แลเข้าเปลือกเข้าสารแลเครื่องบริโภคมีรสเค็มแลรสเปรี้ยว แลเย่าเรือนที่อยู่อาศรัยแล้วให้พิทักษรักษา เพราะพระองค์เปรียบดังพระบิดาผู้มีกรุณาแก่ชนเหล่านั้น
เต หริปุญ์เชย์ยนาครา จ หังสวตินาครา จ อัญ์ญมัญ์ญํ วิส์สาสิต๎วา หุต๎วา อัญ์ญมัญ์ญํ ปิยา โหน์ติ.
ชาวพระนครหริปุญชัยกับชาวพระนครหงสาวดี ก็เกิดพิศวาสคุ้นเคยรักใคร่กันเปนอันมาก
อุภิน์นํ ภาสาปิ เอกสทิสเมว วาจิกาปิ น กิญ์จิ นานัต์ตํ โหน์ติ.
ถึงภาษาของคนทั้งสองพวกนั้นก็พูดเปนภาษาเดียวกัน คำใดคำหนึ่งซึ่งจะต่างกันไปบ้าง ก็มิได้มี
ตัส๎มา เต สัพ์เพ ขิป์ปํ วิส์สาสิกัน์ติ.
เพราะภาษาคำพูดของคนทั้งสองพวกเปนภาษาเดียวกันไม่แตกกันนั้น คนทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้คุ้นเคยกันเร็วนัก
ฉัฏ์ฐเม วัส์เส ปริปุณ์เณเยว โส โรโค วูปสมิ.
พอครบหกปีบริบูรณ์แล้วโรคนั้นก็สงบระงับไป
ตัส์มึ วูปสมเต โย หริปุญ์เชย์ยนครํ อาคัน์ตุกาโม โหติ อาคัน์ต๎วา อิธ หริปุญ์เชย์เย วสิ.
เมื่อโรคสงบระงับไปแล้ว ผู้ใดปราถนาจะมายังหริปุญชัยนคร ผู้นั้นก็มาอยู่ในหริปุญชัยนครนี้
โย จ อนาลโย จ อาลโย วา ชราชิณ์โณ ปุต์ตธีตราหิ อาวาหํ กัต๎า วาโส ตัต์เถว วสิ.
ผู้ใดที่ไม่มีอาไลยในหริปุญชัยนครก็ดี หรือยังมีอาไลยอยู่แต่แก่ชราแล้ว ฤๅได้กระทำอาวาหมงคลด้วยบุตรแลธิดาแล้วก็ดี ผู้นั้นก็อยู่ในหงษาวดีนครนั้น
เตน เย อิธา คัน์ต๎วา ตัต์ถ วสัน์เต ญาติคเณ อนุส์สรัน์ตา อัม๎หากํ อัย์ยโก อัย์อีกา จ มาตาปิตา จ ตัต์ถ หังสวตินคเร วสัน์ตีติ เต อนุสํวัจ์ฉเร อนุมาเส สัม์ปัต์เต ยํกิญ์จิ ขาทนียปริโภชนียาทีนํ เตสํ อุทิส์สกตํ ตํ อุทเกน อโธ วาเหน์ติ เตสุ มาตาปิตาทีนํ ญาติคณานํ อนุส์สรัน์เตสุ โสกํ สัณ์ฐาเรตํุ อสัก์โกน์ตา โรทัน์ตา ปริเทวัน์ตา สกเคหํ อาคมึสุ.
ด้วยเหตุนั้นชนทั้งหลายซึ่งมาอยู่ในหริปุญชัยนครนี้แล้ว เมื่อระฦกถึงหมู่ญาติว่าตายายมารดาบิดาของเราอยู่ในหงษาวดีนครนั้นดังนี้ ครั้นถึงอภิลักขิตสมัยตามปีตามเดือนแล้ว ชนทั้งหลายนั้นก็ลอยขาทนียโภชนียาหารตามน้ำลงไปข้างใต้ อุทิศไปให้แก่หมู่ญาติทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อคนทั้งหลายเหล่านั้นระฦกถึงหมู่ญาติมีมารดาบิดาเปนต้น ไม่อาจจะสงบระงับความโศกไว้ได้ ก็ร้องไห้คร่ำครวญมายังเรือนของตน
ยํ ปุพ์เพ เตสํ กตกัม์มจาริต ยาวัช์ชัต์ตนา ปวัต์ตติ
จารีตของการที่ชนทั้งหลายเหล่านั้นได้กระทำแล้วในกาลก่อนยังประพฤติกันอยู่จนทุกวันนี้
มนุส์เสสุ อาคัจ์ฉัน์เตสุ หริปุญ์เชย์ยนครํ ปริปุณ์ณํ อโหสิ.
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมาอยู่กันแล้ว หริปุญชัยนครก็บริบูรณ์ขึ้น
ยัส๎มา หังสวตินครชนตาปิ เย หิ ปิยา มนาปา วิส์สาสิกัต์ตา เต อาคัญ์ฉึสุ ตัส๎มา ปัณ์ณํ โหตีติ.
แท้จริงแม้ประชุมชนชาวหงษาวดีนครทั้งหลายเหล่าใดที่เปนที่รักใคร่เจริญใจเพราะความคุ้นเคยกัน ชนทั้งหลายเหล่านั้นก็มายังหริปุญชัยนคร เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น หนังสือจดหมายถามข่าวคราวศุขทุกข์ถึงกันแลกันก็เกิดมีขึ้น
อิทํ สัน์ธาย สังคาหโก สุก์กทัน์ตัส์ส อิสิโน ปัญ์ญาคุณํ วัณ์เณน์โต อาห.
พระสังคาหิกาจารย์อาศรัยเหตุนี้ เมื่อจะสรรเสริญปัญญาคุณของพระสุกกทันตฤๅษี จึ่งได้กล่าวเปนพระคาถาไว้ดังนี้ ว่า
อโห อทุล์ลภํ ณานํ ปัญ์จาภิญ์ญา อทุล์ลภา เนว พ๎ยัน์ติ ปฏิพลา ทุล์ลภา โหน์ติ เต ตโย ยัส๎มา หิ สุก์กทัน์โต โส สัพ์พัญ์ญุอนธิคโต โลกิยอัฏ์ฐัช์ณาเนหิ ปัญ์จภิญ์เญหิ พุช์ฌิ โส ญาเณน พุท์ธญาโณว อตีตานาคตํ วิทู กโรน์โต นครํ เอตํ ภูมึ ขณติ โส อิสี เลณ์ฑุม๎หิ สัต์ตรตนํ สุราชา ทิส์สเต วทิ เอกัส๎มึ นิลอังคารํ ทุราชานัน์ติ โส วทิ เอกัส๎มึ นิป์ผลํ ธัญ์ญํ ปุรํ สุญ์ญัน์ติ โส วทิ อิทํ ญาณเน ปัส์สัน์โต วาสุเทวัส์ส พ๎ยากโต เอวํ โส พ๎ยากโร ปุพ์เพ ปัจ์ฉา ทิส์สัน์ติ โส วทิ ปัญ์ญา หิ เสฏ์ฐา กุสลา วทัน์ติ นัก์ขัต์ตราชาริว ตารกานํ สีลํ สิริญ์จาปิ สตัญ์จ ธัม์มา อัน๎วาอีกา ปัญ์ญวโต ภวัน์ติ.
ดังข้าพเจ้าขอสรรเสริญ ฌานก็ดีที่บุคคลจะพึงได้มิใช่ว่าไม่อยาก อภิญญาทั้งห้าประการก็ดีที่บุคคลจะพึงได้ก็มิใช่ว่าไม่อยาก ปัญญามีกำลังเปนเครื่องโต้ตอบของบุคคลผู้มีปรีชาเล่า ก็มิใช่ว่าบุคคลจะพึงได้โดยไม่อยาก สภาพธรรมทั้งสามประการนั้น เปนสภาพธรรมที่บุคคลจะพึงได้ด้วยยาก เพราะเหตุใด เหตุดังนั้น พระสุกกทันตฤๅษี ท่านก็ไม่ได้ไม่ถึงพระสัพพัญญูญาณ ก็แต่ท่านได้รู้ด้วยโลกิยฌานแปดประการ แลอภิญญาห้าประการ ท่านรู้อดีตกาลแลอนาคตกาลด้วยญาณ ประดุจดังพระญาณของพระพุทธเจ้า พระสุกกทันตฤๅษีนั้น เมื่อท่านสร้างพระนครนี้ ท่านได้ขุดพื้นแผ่นดินลงไป แลท่านได้กล่าวไว้ว่า รัตนเจ็ดประการมีในก้อนดินจะปรากฏมีพระราชาที่ดี ถ่านไฟสีเขียวมีในก้อนดินก้อนหนึ่ง จะปรากฏมีพระราชาที่ชั่ว เข้าเปลือกไม่มีผลในก้อนดินก้อนหนึ่งจะปรากฏเปนเมืองร้าง เมื่อท่านเห็นเหตุนี้ด้วยญาณแล้วท่านจึ่งได้พยากรณ์ไว้แก่พระวาสุเทวฤๅษี พยากรณ์นั้นได้มีแล้วในกาลก่อนอย่างนี้ ภายหลังก็มีปรากฏตามที่ท่านได้พยากรณ์ไว้แล้วนั้น แท้จริงบุคคลผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ ประดุจดังพระจันทรซึ่งเปนพระราชาของดาวฤกษ์ทั้งหลาย บัณฑิตย่อมกล่าวว่าประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลายเหล่านั้น อนึ่งธรรมของสัปปุรุษ คือ ศีลแลสิริ เปนธรรมติดตามตนไป ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีปัญญาด้วยประการฉนี้
ตโต จ เอโก อังกุรจัก์กวัต์ติ นาม ราชา ถมุย์ยนามนครโต นิก์ขมิต๎วา จุตรังคพลนิกาเยหิ สุรโยเธหิ อาคัน์ต๎วา หริปุญ์เชย์นครํ ลภิต๎วา รัช์ชํ กาเรสิ นวสํวัจ์ฉเร ปริปุณ์เณ กาลํ กัต๎วา ยถากัม์มํ คโต.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าอังกุรจักรวัติราช เสด็จออกจากถมุยนครด้วยสุรโยธาจตุรงค์พลนิกายทั้งหลาย มาได้หริปุญชัยนครครอบครองสิริราชสมบัติ พอถ้วนเก้าพระวรรษาก็เสด็จสวรรคตไปตามยถากรรม
ตโต จ เอโก ราชา สุเทโว นาม หริปุญ์เชย์ยํ กาเรต๎วา เอกสํวัจ์ฉรํ เทว๎มาสาธิกัญ์จ กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าสุเทวราช ได้ครอบครองสิริราชสมบัติอยู่ได้ปีหนึ่งกับสองเดือน ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก เญย์ยลราชา นาม ทสวัส์สํ รัช์ชํ กาเรต๎วา กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าไญยลราชครองราชสมบัติได้สิบปี ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก มหาราชานาม สุป์ปาลนครโต อาคัน์ต๎วา หริปุญ์เชย์ยํ ลภิต๎วา กาเรสิ กติปาหัจ์จเยเนว กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้ามหาราชมาจากสุปปาลนคร ได้หริปุญชัยนคร ครอบครองสิริราชสมบัติอยู่ประมาณสองสามวัน ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก เสลราชา นาม ทสวัส์สานิ รัช์ชํ กาเรต๎วา กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าเสลราช ครองราชสมบัติได้สิบพรรษา ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก ตาญราชา นาม ฉวัส์สานิ หริปุญ์เชย์ยํ กาเรต๎วา กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าตาญราช ได้ครองราชสมบัติในหริปุญชัยนครได้หกพรรษา ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก ชิลกิราชา นาม ทสวัส์สานิ หริปุญ์เชย์ยํ กาเรต๎วา กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าชิลกิราช ครองราชสมบัติอยู่ในหริปุญชัยนครได้สิบพรรษา ก็เสด็จสวรรคต
ตโต เอโก พัน์ธุลราชา นาม วีสติวัส์สานิ หริปุญ์เชย์ยํ กาเรต๎วา กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าพันธุลราช ครองราชสมบัติอยู่ในหริปุญชัยนครได้ยี่สิบพรรษา ก็เสด็จสวรรคต
ตโต อิน์ทวรราชา นาม ตึสวัส์สานิ หริปุญ์เชย์ยํ รัช์ชํ กาเรต๎วา กาลมกาสิ.
ลำดับนั้น มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามพระเจ้าอินทวรราช ครองราชสมบัติอยู่ในหริปุญชัยนครได้สามสิบพรรษา ก็เสด็จสวรรคต
มหัน์ตัส์ส พลัส์ส นิก์ขมนวัส์สเก อาทิต์ตรัญ์โญ รัช์ชสัม์ปัต์ติกา วา ติวัส์สสตานิ จตุราสีติ เท๎ว มาสํ อธิกานิ จ ภวัน์ติ นุนา ราชาปิ ราชปติปาฏิยานํ ฆฏิ รัช์ชํ สกลํ กโรน์โต มหัน์ตยสาทิอิน์ทวรวัน์ตํ ภณิ คณํ อัฏ์ฐวีสํ ภวัน์ติ.
ตั้งแต่ปีเปนที่ประสูตรของพระเจ้ามหันตยศผู้มีพระกำลัง มาจนถึงปีเสวยราชสมบัติ ของพระเจ้าอาทิตยราช เปนปีสามร้อยแปดสิบสี่ปีกับสองเดือนไม่ยิ่งไม่หย่อน มีพระราชาครอบครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้นสืบลำดับกระษัตริย์มา ตั้งต้นแต่พระเจ้ามหันตยศ จนถึงพระเจ้าอินทวรราชเปนที่สุด เปนบรมกระษัตริย์นับได้ยี่สิบแปดพระองค์ด้วยประการดังนี้
อิติ หริปุญ์เชย์ยนิท์เทโส โพธิรํสินา นาม มหาเถเรน ลังกโต ท๎วาทสโม ปริจ์เฉโท นิฏ์ฐิโต.
หริปุญชัยนิเทศดังนี้ พระมหาเถรผู้มีนามว่า โพธิรังษีได้แต่งไว้แล้ว