- คำนำ
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๒
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๓
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔-๕-๖
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๗
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๘
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๙
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๐
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๑
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๒
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๓
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๔
- จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๑๕
จามเทวีวงษ์ ปริเฉท ๔-๕-๖
ตอนนี้ในฉบับเดิมความขาด
จึงได้เอาความในชินกาลมาลีปกรณ์มาแทรกให้เต็ม
ตโต ปรํ ปน สัต์ถุ ปรินิพ์พานโต ท๎วิสตาธิกัส์ส สหัส์ส ปริมาณัส์ส อุปริ จตุต์ถสํวัจ์ฉเร อิมัส์ส จ จุลสกราชัส์ส พาวีสติปริมาณกาเล ผคุณปุณ์ณมิยํ วาสุเทโว นาม อิสิ หริปุญ์ชยปุรํ มาเปสิ.
จำเดิมแต่นั้นมา พุทธศักราชประมาณ ๑๒๐๐ ปี ในปีที่ ๔ จุลศักราชประมาณ ๒๒ ปี ผคุณมาศบุณณมี พระฤๅษีวาสุเทพได้สร้างเมืองหริภุญไชย
ตโต ทุติยวัส์เส จัม์มเทวี ลวปุรา อาคัน์ต๎วา หริปุญ์ชเย รัช์ชํ กาเรสิ.
แต่นั้นมาได้ ๒ ปี พระนางจามเทวีมาแต่เมืองลวปุร ได้เสวยราชในเมืองหริภุญไชย
ตโต ปรํ อิมัส์ส จ จุลสกราชัส์ส นวุต์ตรจตุสตปริมาณกาเล อาทิจ์จราชา หริปุญ์ชเย กตาภิเสโก.
เบื้องน่าแต่นั้นมาอิกประมาณจุลศักราช ๔๐๙ ปี พระอาทิจราชได้อภิเศกในเมืองหริภุญไชย
ตโต ปรํ จุลสกราชัส์ส ปัญ์จวีสุต์ตเร จตุสตปริมาณกาเล หริปุญ์ชยปุเร มหาธาตุสมุต์ตมีติ ปุราณกถาย สัน์นิฏ์ฐานํ ตัญ์จ หริปุญ์ชเย ราชวํสานุสาเรน สเมติ.
จำเดิมแต่นั้นมา จุลศักราช ๔๑๕ ปี เปนเรื่องกล่าวด้วยมหาธาตุที่ได้ประชุมในเมืองหริภุญไชย แลราชวงษ์หริภุญไชย
ตัส๎มา ยุต์ตเมเวตํ.
เพราะเหตุนั้นเรื่องพระมหาธาตุจะยุติไว้ก่อน
อิทานิ ตเมว สัน์นิฏ์ฐานํ ปากฏกรณัต์ถาย อิมัส์ส หริปุญ์ชยปุรัส์ส อุป์ปัต์ติอาทิโต กเถตัพ์พาว.
บัดนี้จะกล่าวถึงเรื่องประดิษฐานพระมหาธาตุตั้งต้นแต่ความเกิดขึ้นของหริภุญไชยนครนี้ เพื่อจะกระทำการประดิษฐานพระมหาธาตุนั้นให้ปรากฏ
ปุพ์เพว กิร วาสุเทโว สุก์กทัน์โต อนุสิส์โต พุท์ธชฏิโล สุพ๎รห๎มาติ ปัญจสหายกา กุลปุต์ตา พุท์ธสาสเน ปัพ์พชิต๎วา ปัฏกัต์ตยํ สิก์ขิต๎วา วินยัส์ส ครุภารํ สัล์ลัก์เขต๎วา หีนายาวัต์ติต๎วา อิสิปัพ์พัช์ชํ ปัพ์พัช์ชึสุ.
ดังได้ยินมาในกาลครั้งแรก พระวาสุเทพ พระสุกกทันต์ พระอนุศิษย์ พระพุทธชฏิล พระสุพรหม ๕ คนเปนสหายกัน บวชในพระพุทธสาสนาเรียนพระไตรปิฎกชำนาญ ก็รู้ได้ว่าพระวินัยเปนกรรมอันหนัก จึงได้สึกมาบวชเปนฤๅษี
สุก์กทัน์โต ปน คิหิ หุต๎วา ลวปุเร วสิ.
พระสุกกทันต์ ไปอยู่เมืองลวปุร
วาสุเทวาทโย อิตเร จัต์ตาโร อภิญ์ญาพลํ ปัต๎วา ส๎ยามเทเส วสึสุ.
พระฤๅษี ๔ พระองค์ มีพระวาสุเทพเปนต้น ได้อภิญญามาอยู่ในสยามประเทศ
เตสุ วาสุเทโว โรหิณินทีตีเร อุจ์ฉุปัพ์พเต พุท์ธชฏิโล สารนทีตีเร ชุหปัพ์พเต อนุสิส์โส หฬิท์ทวัล์ลินคเร สุพ๎รหม๎มิสิ วังกนทีตีเร สุภปัพ์พเต วสิ.
พระวาสุเทพอยู่เขาอุจฉุบรรพต ใกล้ฝั่งแม่น้ำโรหิณีนที พระพุทธชฏิลอยู่เขาชุหบรรพต ใกล้ฝั่งแม่น้ำสารนที พระอนุศิษย์ไปอยู่ในเมืองหฬิททวัลลินคร พระสุพรหมไปอยู่สุภบรรพต ใกล้ฝั่งแม่น้ำสิวังกนที
เตสุ วาสุเทโว เอกทิวสํ อุจ์ฉุปัพ์พตา โอรุย๎ห หัต์ถิปเท เท๎ว ขัค์คปเท เท๎ว ด้วยปเท เท๎วติ ฉทารเก ลภิต๎วา โปสาเปสิ.
วันหนึ่งพระวาสุเทพลงมาจากยอดเขา ได้ทารก ๖ คนอยู่ในรอยช้าง ๒ ในรอยโค ๒ ในรอยกทิง ๒ แล้วเอาไปเลี้ยงไว้
เต จ อนุก์กเมน วัฑ์ฒิต๎วา มิถุสํวาสิกา หุต๎วา วาสุเทวัส์ส อุปัฏ์ฐากา อเหสํุ
ครั้นคนเหล่านั้นใหญ่แล้ว ก็ได้อยู่เปนคู่กัน แลเปนผู้อุปฐากพระวาสุเทพ
เอกา กิร มิคี วาสุเทวัส์ส ปัส์สาวัฏ์ฐานํ อาคตา สัม์ภวมิส์สกํ ปิวิต๎วา คัพ์ภินี หุต๎วา ทุเว มานุเส ปุต์เต วิชายิ.
ยังมีนางเนื้อตัวหนึ่งมากินน้ำมูตรพระวาสุเทพถ่ายไว้ ก็มีท้องคลอดลูกแฝดออกมา
วาสุเทโว ทยาปัน์โน อังคุลิวินิค์คเตน ขีเรน เต โปเสสิ เต ปน อนุก์กเมน วุฑ์ฒิป์ปัต์ตา มิถุสังคมึสุ เตสุ ปุริโส กุนริสิ นาม อิต์ถี มิคุป์ปติ นาม.
พระวาสุเทพก็มีใจเอ็นดู ให้ดูดนิ้วมือกินต่างนมจนใหญ่ก็ให้อยู่เปนคู่กัน ทารก ๒ คนนั้น ชายชื่อกุนริสี หญิงชื่อมิคุบดี
วาสุเทโว มิคสังฆนครํ นาม นครํ มาเปต๎วา กุนริสึ ตัต์ถ รัช์ชํ การยสิ อิตเร จ ฉชเน มิถุสํวาสิเก ตัต์ถ วสาเปสิ.
พระวาสุเทพก็สร้างเมืองชื่อมิคสังฆนคร อภิเศกให้ ๒ คนนี้เปนเจ้าครองเมืองต่อไป ให้ชน ๖ คนที่เปนคู่อยู่ด้วย
กุนริสิราชา ปน วาสุเทวัส์ส โอวาเท ฐัต๎วา มิคสังฆนคเร สัต์ตสัต์ตติ วัส์สานิ รัช์ชํ กาเรสิ.
พระเจ้ากุนริสีราชได้ตั้งอยู่ในโอวาทพระวาสุเทพ เสวยราชอยู่ได้ ๗๗ ปี
‘กุนริสิส์ส ตโย ปุต์ตา กุนริราชา กุนริโลโล กุนริสิตนาโสติ.
มีพระราชบุตร ๓ องค์ ชื่อ กุนริราช ๑ กุนริโลล ๑ กุนริสิตนาศ ๑ (ในจามเทวีวงษ์กุนรินาศ กุนริโรส, กุนริธังส,)
วาสุเทโว ปนัส์ส ติน์นํ ปุต์ตานํ วิสํุ นครํ มาเปต๎วา อทาสิ.
พระวาสุเทพสร้างเมืองให้แก่กุมารทั้ง ๓ นั้นองค์ละเมือง
เตสุ กุนริสิตนาโส ปิตุโน อัจ์จเยน มิคสังฆนคเร รัช์ชํ กาเรต๎วา ปุน อิสินา มาปิเต รัน์ปุเร รัช์ชํ กาเรสิ.
พระกุนริสิตนาศได้เสวยราชต่อบิดาในเมืองมิคสังฆนั้น แล้วพระฤๅษีสร้างเมืองใหม่ชื่อรันนบุร (รัมมบุร) ย้ายพระกุนริสิตนาศให้ไปครอง
โส ตํ รัน์ปุรํ กัฏ์ฐคัณ์ฑิอุปมํ กัต๎วา มาตุปหรณัฏ์ฏกํ ฉิน์ทิต๎วา อธัม์เมน วินาสยิ.
กระษัตริย์องค์นี้ ได้ทำเมืองให้ฉิบหาย เพราะเหตุชำระความลูกตีแม่เปรียบด้วยไม้ตีรฆังซึ่งเปนอธรรม
ตทา วาสุเทโว เขมัฏ์ฐานํ วิจาริยมาโน อัม๎หากํ พุท์ธัส์ส ปติฏ์ฐิตัฏ์ฐานํ อิทํ ปรมเขมันตํ วตาติ สัน์นิฏ์ฐานํ กัต๎วา ตัต์ถ พิงคนทีตีเร เอกํ นครํ มาเปสิ.
ครั้งนั้น พระวาสุเทพก็เที่ยวหาที่เกษมมา เห็นที่ตำบลหนึ่งซึ่งเปนที่ตั้งพระพุทธสาสนา สันนิฐานได้ว่าเปนบรมเกษมแท้ ก็สร้างเมืองลงใกล้ฝั่งแม่น้ำพิงคนที
มาเปต๎วา จ ปน ฐเปต๎วา อัม๎หากํ สหายกํ สุก์กทัน์ตํ อัญ์โญ สีลาทิคุณสมุเปโต นัต์ถิ ตัส์เสว อิทํ นครํ อรหตีติ จิน์เตต๎วา ปัณ์ณํ ลิก์ขิต๎วา ตัส์สาวิทูเร เอกัสมึ เวฬุคุม์เพ พัน์ธิต๎วา ตํ ลวปุรํ พิงคนทิยา อนุโสเตน ปหิณิ.
ครั้นสร้างเมืองแล้วจึงคิดว่าพระสุกกทันต์ฟันขาวสหายเราเปนคนมีศิลาทิคุณไม่มีใครเสมอ เราจะเชิญมา (ฉันแลปฤกษากัน) ที่เมืองนี้ จึงเขียนหนังสือผูกแพไม้ไผ่ปล่อยให้ลอยตามสายน้ำไปเมืองลวปุร
สุก์กทัน์โต ตํ ปัณ์ณํ วาเจต๎วา เวฬคุม์พํ อารุย๎ห พิงคนทิยา ปติโสเตน อนุป์ปัต์โต.
พระสุกกทันต์ เมื่อได้อ่านทราบจดหมายแล้ว ก็ขี่แพไม้ไผ่ให้ถ่อทวนน้ำพิงค์มาจนถึงเมือง
วาสุเทโว สุก์กทัน์ตัส์ส สัพ์พัน์ตํ ปวุต์ตึ กเถสิ.
พระวาสุเทพ จึงแถลงเหตุให้ทราบทุกประการ
สุก์กทัน์โต เอตทโวจ ภัน์เต ลวปุเร จัก์กวัต์ติส์ส รัญ์โญ พีชํ อิธาเนต๎วา เขมวุฑ์ฒิ ภวิส์สตีติ.
พระสุกกทันต์ จึงว่าควรไปขอพืชพระเจ้าจักรพรรดิเมืองลวปุรมาไว้เมืองนี้จึงจะจำเริญ
ตทา เต อุโภ ปัญ์จมัต์เตหิ ปุริสสเตหิ สัท์ธึ ควยํ นาม ทูตํ ปาเหสํุ.
พระดาบศทั้ง ๒ ก็ตกลงกันส่งนายด้วยะ (ควาย) ให้เปนทูตไปกับบริวาร ๕๐๐
ควโย คัน์ต๎วา ลวปุราธิปตึ จัก์กวัต์ติราชานํ วัน์ทิต๎วา วาสุเทวิสินา กถิตํ สัพ์พํ ปวุต์ตึ กเถสิ
ทูตไปได้ถวายบังคมพระเจ้าลวปุราธิบดีจักรพรรดิราชแล้ว ก็กราบทูลประพฤติเหตุตามที่พระวาสุเทพฤๅษีสั่งมาให้ทรงทราบทุกประการ
ควโย ตัต์ถ เอกํ วัส์สํ วสิต๎วา วุฏ์ฐวัส์โส จัก์กวัต์ติราชานํ อาปุจ์ฉิ.
ทูตได้อยู่เมืองลวปุรถึงปี ๑ จึงได้ทูลลาพระเจ้าจักรพรรดิราช
จัก์กวัต์ติส์ส รัญ์โญ ธีตา รามัญ์ญนคเร ปเทสรัญ์โญ อัค์คมเหสี จัม์มเทวี นาม เตมาสคัพ์ภินี อโหสิ.
เวลานั้นพระราชธิดาพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า จามเทวีได้เปนอัคคมเหษี เจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ทรงครรภ์ได้ ๓ เดือน
จัก์กวัต์ติราชา จัม์มเทวึ นาม อัต์ตโน ธีตรํ อิธ ราชภาวัต์ถาย ปาเหสิ.
พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ส่งพระจามเทวีองค์นี้แลให้มาเปนเจ้าแผ่นดินตามที่ทูตได้ไปขอ
สา จ สัพ์พปัญ์จสติเกน มหาปริวาเรน ปัญ์จสเตหิ จ ติปิฏกธรมหาเถเรหิ นาวํ อภิรุย๎หิต๎วา สัต์ตหิ มาเสหิ พิงคทิยานุสาเรน อิธ อนุป์ปัต์ตา.
พระนางจามเทวี เมื่อยกรี้พลมานั้น เปนกระบวนเรือกับบริวารยศใหญ่ ๕๐๐ กับพระมหาเถรทรงไตรปิฎก ๕๐๐ ทวนแม่น้ำพิงค์มา ๗ เดือนจึงถึง
วาสุเทโว จ สุก์กทัน์โต จ สัพ์เพหิ นาคเรหิ สัท์ธึ ตํ จัม์มเทวึ หริปุญ์เช นิสีทาเปต๎วา อภิสิญ์จึสุ.
พระวาสุเทพกับพระสุกกทันต์พร้อมด้วยชาวเมืองก็อัญเชิญพระนางจามเทวี ให้นั่งอภิเศกเหนือแผ่นทอง (หริปุญ์ช)
ตทปาทาย อิมัส์ส นครัส์ส หริปุญ์ชยัน์ติ นามํ ยาว อัช์ชัต์ตนา ปรัม์ปราคตัน์ติ.
เหตุนี้ เมืองจึงมีชื่อว่า หริภุญชัยมาจนทุกวันนี้
สา จัม์มเทวี สัต์ตาหํ อิธ อนุป์ปัต์ตา มาฆปุณ์ณมิยํ เท๎ว ปุต์เต วิชายิ.
พระนางจามเทวีมาถึงเมืองนี้ได้ ๗ วัน ก็ประสูตรพระราชบุตรฝาแฝด
เชฏ์ฐปุต์โต มหายโส กณิฏ์โฐ อิน์ทวโร อโหสิ.
องค์พี่มีนามว่าพระมหายศ น้องชายว่าพระอินทวร
อิน์ทวรัส์ส อัน์ตยโสติปิ นามํ.
ภายหลังพระอินทวรกุมารได้เฉลิมพระนามว่าพระอนันตยศ
เตสํ สัต์ตวัส์สิกกาเล มหายสํ รัช์เช อภิสิญ์จิ.
พระมหายศ ครั้นพรรษาได้ ๗ ขวบ ได้อภิเศกครองเมือง
จัม์มเทวี ปน พุท์ธสาสเน อเนกกุสลสัม์ภาเร อุปจินิต๎วา นครคุต์ติกานํ เทวานํ ปุญ์ญัญ์จ ธัม์มิกสัก์การัญ์จ อทาสิ.
พระนางจามเทวี ก็ตั้งก่อการกุศลปลูกศรัทธาเพิ่มภูลบารมีลงในพระพุทธสาสนาเปนอันมาก แลได้ทำบุญพลีธัมมิกสักการแก่พระเสื้อเมืองทรงเมือง
ตัส์สา ปุญ์ญานุภาเวน เทวตาโย เดชวัน์ตํ หัต์ถึ มังคลวารณัต์ถาย อานยึสุ.
พระนางทรงบุญบารมีมากนัก เทพเจ้าทั้งหลายได้นำช้างมงคลอันมีเดชให้มาเปนคู่บารมี
ตทา อสีติสหัส์สโยธปริวาริโต ติลังโก นาม มิลัก์ขราชา หริปุญ์ชยัส์ส คัณ๎หนัต์ถาย อาคโต.
ในกาลนั้นมีพระเจ้ามิลักขราชองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ติลังก มีพลโยธาเปนอันมากยกมาจะยึดเอาเมืองหริภุญชัย
คชวรัส์ส ขัน์เธ มหายโส มัช์เฌ อิน์ทวโร หัต์ถิปาเล ปัจ์ฉิมาสเน นิสีทิต๎วา อเนกโยเธหิ ปริวาริโต ปัจ์ฉิมท๎วาเรน ยุช์ฌนัต์ถาย นิก์ขมิ.
พระเจ้ามหันตยศก็ทรงฅอช้าง พระอินทวรราชก็ประทับท้ายช้างเปนหัตถิบาล นำพลออกทางพระทวารด้านประจิมเข้ารบข้าศึก