กัณฑ์หิมพานต์

ความกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

----------------------------

อิติ สา วเร คเหตฺวา ตโต จุตา มทฺทรญฺโญ อคฺคมเหสิยา กุจฺฉิมฺหิ นิพฺพตฺติ ชายมานาย จนฺทนจุณฺเณน ปริปฺโผสิเตน วิย สรีเรน ชาตตฺตา เตนสฺสา นามคคหณทิวเส ผุสฺสตีเตฺวว นามํ กรึสุ. สา มหนฺเตน ปริวาเรน วฑฺฒิตฺวา โสฬสวสฺสิกกาเล อุตฺตมรูปธรา อโหสิ

ขึ้น (๑) สา ผุสฺสตี อันว่าสมเด็จพระผุสดีผู้ทรงศรีสุนทรเลิศลักษณา วเร คเหตฺวา ครั้นได้รับพระราชทานซึ่งทศวรพรสิบประการอันท้าวมัฆวานประสิทธิ์ให้ จวิตฺวา ก็จุติจากสุราลัยลงปฏิสนธิในมาตุคัพโภทรบวรราชวงศ์ องค์อรรคมเหษีตระกูลเกษกระษัตริย์มัทราช ทสมาสจฺจเยน ถ้วนทศมาศก็ประสูตรพระราชกุมารี สรีเรน ชาตตฺตา ผิวพรรณฉวีวรรณพระองค์ ประดุจหนึ่งทรงเฉลิมลูบด้วยแก่นจันทน์ ญาติกุลา พระประยูรญาติทั้งหลายนั้นถวายพระนามชื่อว่าผุสดี ก็สมมูลปณิธีอันตั้งไว้ โสฬสวลฺสิกกาเล ครั้นพระชนม์ได้สิบหกปี ก็ได้เปนองค์เอกอรรคมเหษีสมเด็จพระเจ้ากรุงสญชัย ผู้เสวยศิริมไหสุริยราชวงศ์ เปนจอมขัตติยพงศ์ผ่านพิภพสีพี

เดิน สกฺโก เทวราชา ส่วนสมเด็จท้าวโกสีย์สหัสนัยเทวราช รำพึงถึงพระพรที่ประสาทแก่พระผุสดี พระพรทั้งเก้านี้ก็สำเร็จแล้ว ยังแต่พระลูกแก้วที่พระนางเธอปราถนา ควรอาตมาจะประสิทธิ์ให้ สนฺติกํ คนฺตฺวา ก็เสด็จครรไลไปสู่ทิพยวิมาน อันเปนนิวาสสถานหน่อพุทธางกูร ครั้นถึงจึงบังคมทูลอาราธนาพร้อมด้วยเทพยดาทั้งหกหมื่น ก็ชวนกันชมชื่นรับปฏิญาณ ส่วนพระโพธิสัตว์ก็จุติจากทิพยสถานพิมานมาศ ทรงเสวยปฏิสนธิชาติในครรภ์พระผุสดี พระนางเธอก็เปรมปรีดิ์ทุกเวลา สพฺเพ เทวคณา ฝ่ายฝูงเทพยดาทั้งนั้น ก็จุติจากสวรรค์พิมานมาศ ลงสู่ครรภ์ภริยาอำมาตย์ทั้งหกหมื่น ก็พร้อมวันทันคืนและเวลา ด้วยหน่อพระศาสดาเจ้านั้นแล

เดิน (๒) สา ผุสฺสตี อันว่าสมเด็จพระผุสดีผู้เปนจอมนารีราชวงศ์ ทส มาเส ธารยิตฺวา เมื่อพระนางเธอทรงพระครรภ์ถ้วนทศมาศ ปราถนาจะประพาศชมพระนคร จึงทูลวอนพระภรรดา ท้าวเธอก็ทรงพระกรุณาให้ตกแต่งนคเรศ เหมือนทิพยนิเวศน์สุราลัยมโหฬาร ให้ทรงสีวิกากาญจน์ประดับ เปนสีแสงสุวรรณวาบวับระยับตา พร้อมไปด้วยตระกูลราชกัญญาแห่แหนเปนขนัด ธงชัยมยุรฉัตรพัดโบกบังแสงพระสุริยามาศ เสียงดุริยางคพิณพาทย์ฆ้องกลองนฤนาทประโคมแห่เปนคู่ ๆ ดูสะพรั่ง ปุรํ ปทกฺขิณํ ประทักษิณเวียนรอบพระภารา เวสฺสานํ วิถิยา ตามมรรคาถนนหลวง ที่พ่อค้าทั้งปวงประชุมกันมิได้ขาด กมฺมชฺชวาตา ลมกัมมัชวาตประพาศผัน ทรงประชวรพระครรภ์ดูอนาถ ฝ่ายพระประยุรญาติแวดล้อมเปนขนัด นางกระษัตริย์ประสูตรพระราชกุมาร ในสถานที่นั้นแล

ตโต จุตา สา ผุสฺสตี ขตฺติเย อุปปชฺชถ
เชตุตฺตรมฺหิ นคเร สญฺชเยน สมาคมิ
ทส มาเส ธารยิตฺวาน กโรนฺตี ปุรํ ปทกฺขิณํ
เวสฺสานํ วีถิยา มชฺเฌ ชเนสิ ผุสฺสตี มมํ
น มยฺหํ มาติกํ นามํ น เท เปตฺติกสมฺภวํ
ชาโตมฺหิ เวสฺสวิถิยา ตสฺมา เวสฺสนฺตโร อหุ
ยทาหํ ทารโก โหมิ ชาติยา อฏฺฐวสฺสิโก
ตทา นิสชฺช ปาสาเท ทานํ ทาตุํ วิจินฺตยึ
หทยํ ทเทยฺยํ จกฺขุํ มํสํปิ รุธิรํปิ จ
ทเทยฺยํ กายํ สาเวตฺวา ยทิ โกจิ ยาจโก มมนฺติ
สภาวํ จินฺตยนฺตสฺส อกมฺปิตมสณฺฐิตํ
อกมฺปิ ตตฺถ ปถวี สิเนรุวนวฏํสกาติ

เดิน (๓) มหาสตฺโต อันว่าพระบรมพุทธพงศ์โพธิญาณ เสด็จจากอุทรสถานพระมารดา อกฺขีนิ อุมฺมิเลตฺวา ลืมพระเนตรทั้งซ้ายขวาเหยียดพระกร จึงทูลวอนพระมารดาว่า ขึ้น อมฺม ข้าแต่พระแม่เจ้า ยํ กิญฺจิ ธนํ ทรัพย์อันใดของเราที่บรรดามี พระลูกนี้จะบำเพ็ญทาน ได้ทรงฟังก็บันดาลอนาถนัก จึงส่งทรัพย์ให้พระลูกรักพันตำลึง จึงว่าพ่อถ้าพอพึงชอบฉันใด เจ้าจงให้ตามปราถนา พระโพธิสัตว์ตรัสด้วยพระมารดาก็ปรากฏ ชาติเปนมโหสถเวสสันดร กิตติศัพท์ก็ขจรกัมปนาท ครั้นเมื่อปัจฉิมชาติก็เหมือนกัน เปนมหัศจรรย์จุฬาโลกเลิศพสุธา เดิน สพฺเพ ขตฺติยา ฝ่ายประยูรวงศาสโมสร นามํ กรึสุ จึงถวายพระนามว่าเวสสันดร เหตุประสูตรกลางพระนครตรอกพ่อค้า เอกา กเรณุกา ยังมีนางกุญชรคชาชาติฉัททันต์เถื่อนเที่ยวอยู่ในกลางอากาศ ก็พาบุตรขาวบริสุทธิ์ดังไกรลาศเลิศล้น มาไว้ในโรงช้างต้นเปนมหามงคลบรมราชคชาธาร แล้วก็คืนยังสถานวนเวศ สพฺเพ ชนา อันว่าประชาชนชาวพิไชยเชดอุดร จึงให้ชื่อกุญชรปัจจัยนาเคนทร์ ควรจะเปนศรีสง่างามพระนคร เพราะเกิดเปนปัจจัยแก่พระเวสสันดรมหาสมมุติวงศ์ ฝ่ายบรมพงศ์วราราช ท้าวเธอก็ประสาทพระนม ทรงศรีสวัสดิอุดมเลิศลักษณนารี หกสิบสี่ล้วนสมบูรณ์ ประทานให้ประโลมเลี้ยงพระลูกเจ้าทุกเวลา สหชาตทารกา ถึงทารกที่เกิดพร้อมด้วยพระลูกรัก สมเด็จพระจอมปิ่นปักก็ประทานนางนมทุกตัวคน แล้วประทานเครื่องต้นอลังการ สำหรับพระกุมารบรมราชวงศ์อันเลิศแล้ว แต่ล้วนแก้วกาญจนมณี หน่อพระชินสีห์โมลีโลก พระไทยนั้นปราถนาจะข้ามโอฆสงสาร มิได้ย่อหย่อนที่จะบริจาคมหาทาน เมื่อพระชนมานได้สี่ห้าพระวรรษา โอมุญฺจิตฺวา จึงเปลื้องเครื่องปิลันทนาจากพระองค์ทรงประสาทให้ แก่พระนมกำนัลในทุกถ้วนหน้า สิ้นวารเก้าครั้ง ด้วยพระไทยท้าวเธอหวังพระโพธิญาณ ในอนาคตกาลนั้นแล

เดิน (๔) โส โพธิสตฺโต สมเด็จบรมหน่อพุทธางกูร เมื่อพระชนมานบริบูรณ์แปดพระวรรษา เสด็จสถิตแท่นบวรมหาไสยาอาศน์ ปาสาทวรคโต ในปราสาทรัตนพิมานทอง จินฺเตสิ จึงทรงพระดำริห์โดยคลองพุทธภูมิภาคพระโพธิญาณ ว่าอาตมบริจาคทานอลังการรัตนวิภูสิตประเสริฐ ก็เปนพาหิรกทานอันล้ำเลิศควรจะเลื่อมใส โกจิ ยาจโก สถ้าแลว่ายาจกผู้ใดจะปราถนาดวงหทัยเนื้อเลือด ก็จะฉะเชือดบริจาคให้เปนทาน จะแลกเอาพระโพธิญาณอันยอดยิ่ง ครั้นพระองค์จำนงนิ่งนึกจะให้อัชฌัตติกทาน ก็บังเกิดมหัศจรรย์บันดาลในบัดดล ขึ้น มหาปถวี อันว่าพื้นพระธรณีก็เกิดจลาจลกัมปนาท สิเนรุปพฺพตราชา ทั้งพระยาเขาสิเนรุราชสัตตภัณฑ์คีรีเรียง ดุจเอนเอียงล้มลู่ทลาย วิชฺชูลฺตา เสียงฟ้าประพาศสายสะเทือนสะท้าน สกลพิภพหิมพานต์ก็บันฦๅพิลึกลั่น สัตว์จตุบาททวิบาทก็ผาดผันแซ่ซ้องเสียงสะทึกสะท้าน อากาศก็บันดาลเปนเมฆหมอกมืดมัวทั่วสกลมหามงคลจักรวาล สาคโร ทั้งสาครก็บันดาลเปนระลอกคระโครมครึกกึกก้องโกลาหล ปลาติมิงคลมัจฉาก็ดำด้นพ่นน้ำเปนฟองฝอย เหราลอยล่องฉวัดเฉวียนเวียนว่ายคล้าย ๆ ตามคลื่นฝืนฟัด มังกรสะบัดโบกหางวางวู่เข้าเพิงผา มจฺฉกจฺฉปา เต่าปลาก็ดำโดดดิ้น เล่นกระแสสินธุ์สายสาคร ภุชงค์ชูเศียรสลอนตามกระแสชลพ่นน้ำเปนฝอยฟอง ช้างน้ำก็คะนองลองงวงแลเงยงา สพฺเพ เทวา ทั้งเทพยเจ้าในชั้นฉกามาพจรโสฬสพิมาน ทุกอมรสถานเทเวศร์ ในขอบเขตรขุนเขาทุกแหล่งหล้า ก็โปรยทิพรัตนมาลาสุมณฑาร ร้องซ้องสาธุการอำนวยพรแก่พระเวสสันดรนั้นแล ฯ

เดิน (๕) โพธิสตฺโต อันว่าพระบรมราชพุทธพงศ์ผู้ทรงญาณ ครั้นพระชนมานเจริญรุ่นสิบหกปี ทรงพระลักษณราษีพร้อมมูล ทั้งพระบารมีก็เพิ่มภูลผุดพุ่ง ดุจจันทรจำรัสรุ่งในนภา ทั้งพระปรีชาก็เชี่ยวชาญ สิปฺปานํ นิปฺผตฺติ รู้ศิลปศาสตร์สิบแปดประการก็เสร็จสิ้น สญฺชโย ส่วนสมเด็จกรุงสญชัยนรินทร์ปิ่นพิภพพสุธา พระไทยท้าวเธอปราถนาจะมอบเวน ซึ่งศิริรัตนราเชนทร์แก่พระลูกรัก จะให้เปนจอมปิ่นปักพระภารา มทฺทึ อาเนตฺวา จึงนำมาซึ่งพระมัทรีผู้ทรงศรีสวัสดิอุดมเลิศลักษณกัญญา เปนตระกูลธิดามาตุลราชวงศ์ ท้าวเธอก็ทรงราชาภิเษกเปนเอกองค์อรรคมเหษี ประทานราชกุมารีพระกำนัลหมื่นหกพันพระองค์นาง พื้นสาว ๆ สวยสำอางอันอย่างยิ่ง แล้วมอบมิ่งมไหศวรรย์ ให้สืบศรีสุริยสันตติวงศ์ดำรงราชประเพณี ฝ่ายหน่อพระชินสีห์เสวยสวัสดิโภไค เปนจอมฉัตรพิไชยสีพี ทานํ ปวตฺเตสิ ท้าวเธอก็เปรมปรีดิ์ที่จะบริจาคทานมิได้ขาด จึงให้อำมาตย์ทำฉทานศาลา ทานํ ปวตฺเตตฺวา ให้จัดแจงทั้งเงินทองเสื้อผ้า ราชวัตถาศุภาภรณ์พรรณแพรม้วนมุ้งม่านกาญจนมณี สรรพภัณฑ์เครื่องดีอันมีค่า ตามแต่จะปราถนาแล้วยกให้ แก่ยาจกเข็ญใจทุกถ้วนหน้า ท้าวเธอทรงพระราชศรัทธามิรู้สิ้น ดุจพื้นพระธรณินทร์อันหนาหนัก เปนที่บำรุงรักแก่ไพร่ฟ้า มทฺที สพฺพงฺคโสภนา ส่วนนางพระยามัทรีเจ้าก็ทรงพระครรภ์ อุทรนั้นมิได้คลาศเคลื่อน ถ้วนสิบเดือนจึงประสูตรพระลูกยา พระญาติวงศารับด้วยข่ายทองอันบริสุทธิ์ จึงถวายนามพระราชบุตรชื่อว่าชาลี แล้วพระมัทรีเธอทรงพระครรภ์คำรบสอง ประสูตรนางน้องราชธิดา พระญาติวงศาก็รับรองด้วยหนังหมี ถวายพระนามราชบุตรีชื่อว่ากัณหาชินานาฎ ขึ้น เวสฺสนฺตโร ราชา อันว่าพระเวสสันดรบวรราชวงศ์ผู้ดำรงพิภพพสุธา ครั้นเวลาพระสุริยาอรุณรุ่งจำรัส บรมกระษัตริย์ทรงมหามงคลรัตนวิภูสิตประเสริฐสถาวร ทรงพระยาเสวตกุญชรช้างพระที่นั่งอันเลิศแล้ว ประดับด้วยแก้วกาญจนมณีสีสลับ แสงวะวาบวับระยับตา พร้อมด้วยสหชาตโยธาแห่ห้อมจอมกระษัตริย์เสด็จยังโรงทาน พระไทยท้าวเธอเกษมสานต์โสมนัศเปรมปรีดิ์ ทรงกุญชรหัตถีทอดพระเนตรทุกโรงทานศาลา ในกาลนั้นแล

เดิน (๖) ตทา กาเล ในกาลเมื่อพระเวสสันดรอดุลดวงกระษัตริย์ ท้าวเธอเสวยราชสมบัติมโหฬาร กิตติศัพท์ก็สท้านทั่วสกลพิภพธานีกรุงกระษัตริย์ พอเมืองกลิงคราฐมาเกิดวิบัติเข้าแพง ทั้งฝนก็แล้งมิได้ตกทั่วประเทศ สสฺสานิ เข้ากล้าทั้งหลายก็ตายทุกนิคมเขตรแว่นแคว้น ประชาชนก็ยากแค้นแสนกันดาร อดอาหารจนซูบผอม จึงชวนกันประชุมพร้อมน่าพระลาน ร้องทูลสารอุปกาศ พระเจ้ากลิงคราชได้ทรงฟังคำประชาชน ว่าแค้นเคืองขัดสนด้วยความอด ท้าวเธอก็ทรงรักษาอุโบสถสิ้นกำหนดเจ็ดวัน วสฺสํ นาสกฺขิ ฝนนั้นก็มิได้ตกต้อง สพฺเพ นาครา ประชาชนชวนกันร้องประกาศสารว่า ขึ้น เทว ข้าแต่พระองค์ผู้ผ่านพิภพพารา เวสฺสนฺตโร ราชา ยังมีมหาสมมุติราชวงศ์ทรงพระนามพระเวสสันดรยอดกระษัตริย์ เสวยสมบัติในกรุงไกรพิไชยเชตอุดร ท้าวเธอมีคชกุญชรเลิศแล้ว เปนช้างแก้วมหามงคลอันล้ำเลิศ สพฺพเสโต ขาวประเสริฐดังไกรลาศรัตนคิรี อารุยฺห ครั้นคนขึ้นขับขี่ไปสู่คามนิคมใด ๆ ทุกประเทศ วสฺสํ วสิ ฝนนั้นก็ตกลงทุกขอบเขตรแหล่งหล้า ขอพระองค์จงจัดหาพราหมณ์ผู้ฉลาด ให้ไปสู่พิไชยราชธานี ขอคชสารศรีสวัสดิมงคล แต่พระจอมพสุธาดลเวสสันดร ท้าวเธอก็จะพระราชทานคชกุญชรมากรุงศรี ฟ้าฝนก็จะตกดีบริบูรณ์ เดิน ท้าวเธอได้ฟังประชาชนทูลก็ใช้พราหมณ์ทั้งแปดคนผู้ฉลาด เต พฺราหฺมณา อันว่าพราหมณ์ทั้งแปดคนบังคมลาแล้วก็ลีลาศไปสู่กรุงสีวิราชธานี รชสฺสิรา มีสรีรกายคลุกเคล้าด้วยเท่าธุลีลอองผง ทานคฺคํ คจฉึสุ ก็ตรงไปสู่โรงทาน เพื่อจะขอคชสารนั้นแล

ขึ้น (๗) ตโต รตฺยา วิวสเน ในเมื่อพระสุริยรังษีอร่ามรุ่ง แสงสุวรรณผุดพุ่งผ่องพื้นทิฆัมพรวโรภาษ เวสฺสนฺตโร ราชา สมเด็จบรมราชกระวีวงศ์ พงศ์พุทธางกูรเกษกระษัตริย์ ปพุชฺฌิตฺวา เสด็จตื่นจากบรรจฐรณ์รัตนไสยาศน์ สระสรงเสาวคนธชาติวารี ขจรกลิ่นสุมาลีตระหลบองค์ อลงฺกริตฺวา ท้าวเธอก็ทรงเครื่องสรรพาภรณ์บวรวิภูสิต สังวาลวิจิตรจำหลักลาย ถมวิเชียรรายเรียงประดับ แสงวะวับวิเศษศรี ทับทรวงมณีอร่ามแพร้ว สอิ้งแก้วกาญจนประกิตกรอง สุวรรณวไลยทองธำมรงค์ มหามงกุฎอลงกฏประดับสำหรับกระษัตริย์เสร็จแล้ว พระกรกุมพระขรรค์แก้วยุรยาตร ทรงเสวตกุญชรชาติคชาธาร พร้อมสหชาตทวยหาญแห่สะพรั่ง เสียงดุริยางคประดังประโคมขานอยู่เซ็งแซ่ เครื่องสูงแห่เปนคู่ ๆ ดูสลับสลอน พวกพลบทจรโกลาหล ฝ่ายยาจกคนจนกระเจิงจร เบียดเสียดแซกซ้อนกันสับสน สาละวนที่จะรับพระราชทาน ท้าวเธอก็เกษมสานต์โสมนัศ ให้แจกจัดพรรณแพรม้วนมุ้งม่านกาญจนมณี ให้แก่ยาจกตามมีมิได้เลือกหน้า เดิน เต พฺราหฺมณา อันว่าพราหมณ์มาแต่กลิงคราฐล้วนคนฉลาดรู้อุบาย พาหา ปคฺคยฺห ประนมนิ้วเหนือเศียรเกล้าแล้วร้องถวายไชย สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็ตรัสปราไสโดยสารพระคาถา

ปรูฬฺหกจฺฉนขโลมา ปงฺกทนฺตา รชสฺสิรา
ปคฺคยฺห ทกฺขิณํ พาหุํ กึ มํ ยาจนฺติ พฺราหฺมณาติ
รตนํ เทว ยาจาม สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒนํ
ททาหิ ปวรํ นาคํ อีสาทนฺตํ อุรุฬฺหวํ
ททามิ น วิกมฺปามิ ยํ มํ ยาจนฺติ พฺราหฺมณา
ปภินฺนํ กุญฺชรํ ทนฺตึ อุปคุยฺหํ คชุตฺตมํ
ปฏิชานิตฺวา จ ปน
หตฺถิกฺขนฺธโต โอรุยฺห ราชา จาคาธิมานโส
พฺราหฺมณานํ อทา ทานํ สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒโนติ
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห
ตทาสิ ยํ ภึสนกํ ตทาสิ โลมหํสนํ
หตฺถินาเค ปทินฺนมฺหิ เมทนี สมกมฺปถฺ
ตทาสิ ยํ ภึสนกํ ตทาสิ โลมหํสนํ
หตฺถินาเค ปทินฺนมฺหิ ขุพฺภิตฺถ นครํ ตทา
สมากุลํ ปุรํ อาสิ โฆโส จ วิปุโล มหา
หตฺถินาเค ปทินฺนมฺหิ สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเนติ
อเถตฺถ วตฺตติ สทฺโท ตุมุโล เภรโว มหา
หตฺถินาเค ปทินฺนมฺหิ ขุพฺภิตฺถ นครํ ตทา
อเถตฺถ วตฺตติ สทฺโท ตุมุโล เภรโว มหา
หตฺถินาเค ปทินฺนมฺหิ สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเนติ
อุคฺคา จ ราชปุตฺตา จ เวสิยานา จ พฺราหฺมณา
หตฺถาโรหา อนีกฏฺฐา รถิกา ปตฺติการกา
เกวโล จาปิ นิคโม สิวิโย จาปิ สมาคตา
ทิสฺวา นาคํ นิยฺยมานํ เต รญฺโญ ปฏิเวทยุํ
วิธมํ เทว เต รฏฐํ ปุตฺโต เวสฺสนฺตโร ตว
กถํ โน หตฺถินํ ทชฺชา นาคํ รฏฺฐสฺส ปูชิตํ
กถํ โน กุญฺชรํ ทชฺชา อีสาทนฺตํ อุรุฬฺหวํ
เขตฺตญฺญุํ สพฺพยุทฺธานํ สพฺพเสตํ คชุตฺตมํ
ปณฺฑุกมฺพลสญฺฉนฺนํ ปภินฺนํ สตฺตุมทฺทนํ
ทนฺตึ สวาลวีชนึ เสตํ เกลาสสาทิสํ
สเสตจฺฉตฺตํ สุปตฺเถยฺยํ สาถพฺพนิ สหตฺถิปํ
อคฺคยานํ ราชวาหึ พฺราหฺมณานํ อทา ทานํ
อนฺนํปานญฺจ โส ทชฺชา วตฺถเสนาสนานิ จ
เอตํ โข ทานปฏิรูปํ เอตํ โข พฺราหฺมณารหํ
อยนฺเต วํสราชาโน สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒโน
กถํ เวสฺสนฺตโร ปุตฺโต คชํ ภเชติ สณฺชย
สเจ ตวํ น กริสฺสสิ สิวีนํ วจนํ อิทํ
มญฺเญ ตํ สห ปุตฺเตน สิวี หตฺเถ กริสฺสเรติ
กามํ ชนปโท มาสิ รฏฺฐญฺจาปิ วินสฺสตุ
นาหํ สีวินํ วจนา ราชปุตฺตํ อทูสกํ
ปพฺพาเชยฺยํ สกา รฏฺฐา ปุตฺโต หิ มม โอรโส
กามํ ชนปโท มาสิ รฏฺฐญฺจาปิ วินสฺสตุ
นาหํ สิวีนํ วจนา ราชปุตฺตํ อทูสกํ
ปพฺพาเชยฺยํ สกา รฏฺฐา ปุตฺโต หิ มม อตฺรโช
น จาหํ ตสฺมึ ทุพฺเภยฺยํ อริยสีลวโต หิ โส
อสิโลโกปิ เม อสฺส ปาปญฺจ ปสเว พหุํ
กถํ เวสฺสนฺตรํ ปุตฺตํ สตฺเถน ฆาตยามเส
มา นํ ทณฺเฑน สตฺเถน น หิ โส พนฺธนารโห
ปพฺพาเชหิ จ นํ รฏฺฐา วงฺเก วสตุ ปพฺพเต
เอโส เจ สิวีนํ ฉนฺโท ฉนฺทํ น ปนุทามเส
อิมํ โส วสตุ รตฺตึ กาเม จ ปริภุญฺชิตุํ
ตโต รตฺยา วิวสาเน สุริยสฺสุคฺคมนํ ปติ
สมคฺคา สิวิโย หุตฺวา รฏฺฐา ปพฺพาชยนฺตุ ตนฺติ

เดิน (๘) โภนฺโต พฺราหฺมณา ดูกรพราหมณ์ผู้ประพฤติพรหมเวสวิชา ท่านจักปราถนาซึ่งสิ่งอันใด อย่าเกรงใจจงแจ้งอรรถ พราหมณ์ได้ฟังตรัสก็ปรีดา ด้วยสมทางท่าที่จะขอคชสาร จึงทูลว่า ขึ้น เทว ข้าแต่พระผู้ผ่านพิภพธรณี พระพุทธิเจ้าข้า กิตติศัพท์ข่าวเขาฦๅชาทุกไพร่ฟ้าประชาชน ทั่วสกลพิภพจักรวาฬ กระหม่อมฉานทั้งหลายมาทั้งนี้ หวังจะขอคชสารศรีสง่างามพระที่นั่งต้น เปนมหามงคลอันเลิศแล้ว ทูลกระหม่อมแก้วจงให้สำเร็จมโนรถความปราถนาแก่ข้าพฤฒาจารย์ เดิน ครั้นท้าวเธอได้ทรงฟังก็ชื่นบานโสมนัศจึงตรัสว่า พราหมณ์เอ่ย เราจะให้สำเร็จความปราถนา ตรัสแล้วก็เสด็จลงจากบรมคชาไอยเรศ ท้าวเธอทอดพระเนตรเครื่องประดับสำหรับมหาคชสาร ย้าย อลังการอันเลิศแล้ว พื้นเพ็ชรรัตนแพร้วอร่ามรุ่ง กาญจนผุดพุ่งจำรัสสี ราชาวดีเปนเครื่องกรอง ผ้าปกตระพองตาข่าย ทับทิมรายรัตนามาศ หลังปกลาดรัตตกัมพล ทั้งรัตคนแก้วกรอง สุวรรณวไลยทองถมมุกดา ประดับสองงาอร่ามรัตน์ สายรัตพัตรพิจิตรถัก ผูกชนักแนบสองหู ห้อยพวงภู่ดูพิสุทธิสำอาง พร้อมด้วยบังสุริยางคเพริดพราย อภิรุมรายรัตนจามรี วาลวิชนีวิเชียรฉัตร สำหรับบรมจักรพรรดิคชาธารอันล้ำเลิศ ช้างแก้วประเสริฐอันหาค่ามิได้ ทั้งอาภรณวิไลยหกสิ่งสรรพ ล้วนเครื่องประดับไม่มีค่า อิกทั้งนานาอลงกรณ์ สรรพคชาภรณ์ดังพรรณา ยี่สิบสี่แสนราคาคิดควร สิ่งของทั้งมวญแลหมอควาญ สำหรับพระยาคชสารพร้อมมิได้ขาด ขึ้น เวสฺสนฺตโร ราชา อันว่าพระเวสสันดรราชสุริยวงศ์ พระกรซ้ายทรงจับงวงคชไอยรา พระกรขวาทรงอุทกวารีคนทีทอง ท้าวเธอก็ร้องประกาศแก่อมรเทวราชทุกห้องฟ้า ให้ช่วยอนุโมทนาคชทาน แล้วตรัสเรียกพฤฒาจารย์มิได้ช้า หลั่งอุทกธาราให้ตกลงเหนือมือพราหมณ์ ตั้งพระไทยไว้ให้งามดังดวงแก้ว แล้วก็ออกอุทานวาจาว่า อิทํ ทานํ อันว่าผลทานของข้าจงสำเร็จ แก่พระสร้อยสรรเพชญโพธิญาณ ในอนาคตกาลนั้นเถิด

เดิน (๙) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสังวร ปางเมื่อพระเวสสันดรทรงประสาท พระยากุญชรราชพาหนะพระที่นั่งต้น ก็เกิดมหาวิจลจลาจลทั่วพิภพพสุธา เต พฺราหฺมณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้นได้รับพระราชทาน ซึ่งพระยากุญชรคชสารศรี พราหมณ์ทั้งปวงขึ้นขับขี่แล้วออกจากกรุงพิไชยเชตอุดร สพฺเพ นาครา ฝ่ายพวกประชาชนชาวพระนครสีพี ก็กรูเกรียวเลี้ยวไล่ล้อมคลุกคลีสะกัดหน้าแลหลังแล้วร้องว่า โภนฺโต พฺราหฺมณา ดูกรพราหมณกลีเหล่ากลิงคราฐวิสัย เออเองไฉนจึงองอาจมาขับขี่ คชสารศรีพระที่นั่งทรง สำหรับบรมราชวงศ์องค์กระษัตริย์ เต พฺราหฺมณา อันว่าพราหมณที่ขับขี่คชสารได้ฟังอรรถก็เดือดดาล ตะคอกขู่ชาวพระนคร ว่า อยํ นาโค ช้างตัวนี้พระเวสสันดรประสาทให้ เออก็การอะไรจึงมาถาม เต ชนา ประชาชนครั้นแจ้งความว่าท้าวเธอประสาทให้ เทวตาวิคฺคหิตา หุตฺวา เทพยเจ้าเข้าดลใจชาวพิไชยราชธานีที่รักให้พิโรธร้าวราน เหตุท้าวเธอจะได้บำเพ็ญพระโพธิญาณอันยอดยาก บุตตทารบริจาคมหาทาน จึงมาบันดาลมหาชนทุกถ้วนหน้า เนคมา ทั้งชาวนิคมคามเขตรชนบท รถิกา ทั้งนายรถราชหัตถาจารย์ ทั้งเสนาทหารอันชาญเชิงชาวพิไชยเชตอุดร สมาคตา ก็สโมสรพร้อมกันน่าพระลาน อุปกาสึสุ ก็ชวนกันร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยบิตุราชว่า ขึ้น เทว ข้าแต่พระบาทบพิตรผู้ผ่านพิภพสีพี ราชปุตฺโต บัดนี้ พระเวสสันดรพระลูกเจ้ากระทำผิด ราชกิจประเพณีแต่บุราณ นาคํ ทชฺชา ให้พระยาคชสารคชาธารพระที่นั่งต้น เปนมหามงคลอันล้นเลิศ ขาวประเสริฐดังเงินยวง พฺราหฺมณานํ แก่พราหมณทั้งปวงอันมาขอ ไม่ควรที่จะยกยอประสาทให้ คชสารนี้ไซ้ควรจะไว้ประดับสำหรับเมือง เมื่อพระเวสสันดรท้าวเธอกระทำให้แค้นเคืองถึงเพียงนี้ ถ้าพระองค์เห็นดีจะเอาไว้ ก็เห็นว่าภัยจะพึงมีแก่พระองค์ เดิน ครั้นท้าวเธอได้ทรงฟังก็เดือดดาล ประหนึ่งว่าเพลิงกาลเข้าลามลน จึงตรัสแก่ประชาชนทุกถ้วนหน้าว่า เวสฺสนฺตโร ราชา อันว่าพระลูกรักเรากระทำผิดราชกิจประเพณี กุญฺชรํ ทชฺชา ให้คชสารศรีสง่างาม แก่พราหมณอันมาขอ ท่านจึงมายกยอหยิบเอาโทษ พากันพิโรธร้าวราน วิหญฺญเร เราจะประหารด้วยท่อนจันทน์แลสาตราหาควรไม่ ชนทั้งปวงจึงทูลว่าถ้าฉะนั้นไซ้ก็ควรจะเนียรเทศ ให้บำราศจากนิเวศน์กรุงแก้ว จึงตรัสว่าเวลาวันนี้ก็จวนแล้วทุเลาก่อน พรุ่งนี้จึงจะให้บทจรเสียจากบุรี มหานครสีพีนี้แล

ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห
อุฏฺเฐหิ กตฺเต ตรมาโน คนฺตฺวา เวสฺสนฺตรํ วท
สิวิโย เทว เต กุทฺธา เนคมา จ สมาคตา
อุคฺคา จ ราชปุตฺตา จ เวสิยานา จ พฺราหฺมณา
หตฺถาโรหา อนีกฏฺฐา รถิกา ปตฺติการกา
เกวโล จาปิ นิคโม สิวิโย จาปิ สมาคตา
อสฺมา รตฺยา วิวสเน สุริยสฺสุคฺคมนํ ปติ
สมคฺคา สิวิโย หุตฺวา รฏฺฐา ปพฺพาชยนฺติ ตนฺติ
ส กตฺตา ตรมาโนว สิวิราเชน เปสิโต
อามุตฺตหตฺถาภรโณ สุวตฺโถ จนฺทนปฺโผสิโต
สีสนฺหาโต อุทเกโส อามุตฺตมณิกุณฺฑโล
อุปาคมิ ปุรํ รมฺมํ เวสฺสนฺตรนิเวสนํ
ตตฺถทฺทส กุมารํ โส รมมานํ สเก ปุเร
ปริกิณฺณํ อมจฺเจหิ ติทสานํว วาสวํ
โส ตตฺถ คนฺตฺวา รมฺมมานํ กตฺวา เวสฺสนฺตรํพฺรวิ
ทุกฺขนฺเต เวทยิสฺสามิ มา เม กุชฺฌ รเถสภ
วนฺทิตฺวา โรทมาโน โส กตฺตา ราชานมพฺรวิ
ภตฺตา เมสิ มหาราช สพฺพกามรสาหโร
ทุกฺขนฺเต เวทยิสฺสามิ ตตฺถ อสฺสาสยนฺตุ มํ
สิวิโย เทว เต กุทฺธา เนคมา จ สมาคตา
อุคฺคา จ ราชปุตฺตา จ เวสิยานา จ พฺราหฺมณา
หตฺถาโรหา อนีกฏฺฐา รถิกา ปตฺติการกา
เกวโล จาปิ นิคโม สิวิโย จาปิ สมาคตา
อสฺมา รตฺยา วิวสเน สุริยสฺสุคฺคมนํ ปติ
สมคฺคา สิวิโย หุตฺวา รฏฺฐา ปพฺพาชยนฺติ ตนฺติ
กิสฺมึ เม สิวิโย กุทฺธา โย น ปสฺสามิ ทุกฺกฏํ
ตํ เม กตฺเต วิยาจิกฺข กสฺมา ปพฺพาชยนฺติ มนฺติ
อุคฺคา จ ราชปุตฺตา จ เวสิยานา จ พฺราหฺมณา
หตฺถาโรหา อนีกฏฺฐา รถิกา ปตฺติการกา
เกวโล จาปิ นิคโม สิวิโย จาปิ สมาคตา
นาคทาเนน ขียนฺติ ตสฺมา ปพฺพาชยนฺติ ตนฺติ
หทยํ จกฺขุํปิหํ ทชฺชํ กึ เม พาหิรกํ ธนํ
หิรญฺญํ วา สุวณฺณํ วา มุตฺตา เวฬุริยา มณี
ทกฺขิณํ วาปิหํ พาหุํ ทิสฺวา ยาจกมาคเต
ทเทยฺยํ น วิกมฺเปยฺยํ ทาเน เม รมฺมตี มโน
กามํ มํ สิวิโย สพฺเพ ปพฺพาเชนฺตุ หนนฺตุ วา
เนว ทานา วิรมิสฺสํ กามํ ฉินฺทนฺตุ สตฺตธาติ
เอวนฺตํ สิวิโย อาหุ เนคมา จ สมาคฅา
โกนฺติมาราย ตีเรน คิริมารญฺชรํ ปติ
เยน ปพฺพาชิตา ยนฺติ เตน คจฺฉตุ สุพฺพโต
โสหํ เตน คมิสฺสามิ เยน คจฺฉนฺติ ทูสกา
รตฺตินฺทิวํ เม ขมถ ยาว ทานํ ททามิหนฺติ

เดิน (๑๐) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสังวรสิกขา สมเด็จพระบรมนราธิบดินทร์ปิ่นกระษัตริย์ มีราชโองการตรัสประภาษสั่ง กตฺเต เหวยนายนักการใครนั่งอยู่ที่นั่น ตรมาโน จงรีบด่วนไปพลัน ทูลสารแก่พระลูกเรานั้นให้แจ้งเหตุ ปพฺพาเชสึ ว่าจะเนียรเทศพระลูกเสียจากเมือง ประชาชนเขาแค้นเคืองด้วยให้ช้างเปนทาน ฝ่ายนายนักการก็รีบมาทูลเหตุ แก่พระจอมปิ่นปกเกษนราราชว่า ขึ้น เทว ข้าแต่ลอองธุลีพระบาทผู้ทรงพระคุณอันเลิศแล้ว ทูลกระหม่อมแก้วจะจากจร ด้วยชาวพระนครเขาขึ้งโกรธ ทั้งพระบิดาก็ทรงพระพิโรธด้วยช้างแก้วพระองค์ให้ไปเปนทาน จึงตรัสใช้กระหม่อมฉานมาทูลเหตุ สั่งให้เนียรเทศเสียพรุ่งนี้ ขอฝ่าธุลีจงทราบพระญาณ เดิน สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ขัตติยวงศ์ทรงสดับสาร อันนายนักการมากราบทูลโดยมูลเหตุ ว่าไพร่ฟ้าเขาจะเนียรเทศไปสู่ป่า ท้าวเธอมิได้ท้อพระราชศรัทธาที่จะทำทาน จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ขึ้น กึ เม พาหิรกํ ธนํ อย่าว่าแต่เศวตคชาพาหิรกทานที่เราบริจาค ถึงอัชฌัตติกทานอันยอดยากที่จะยกให้ ถ้าแลมียาจกผู้ใดจะปราถนา ซึ่งพาหาหทัยนัยน์เนตรทั้งคู่ เราก็อาจจะเชือดชูออกบริจาคให้เปนทาน จะแลกพระโพธิญาณในเบื้องหน้า อย่าว่าแต่จะต้องบัพพาชนียกรรมทำโทษ ถึงไพร่ฟ้าเขาจะพิโรธรอนรานประหารชีวิต เราก็มิได้คิดย่อท้อที่จะบำเพ็ญทาน เดิน ครั้งนั้นเทพยเจ้าเข้าดลใจให้นายนักการทูลแนะตำแหน่งวนสถานคิริยวงกฎ จึงตรัสสั่งนายนักการให้ช่วยทูลงดสักสองราตรี แต่พอเราได้บำเพ็ญทานบารมีให้อิ่มศรัทธาแล้ว จะถวายบังคมลาทูลกระหม่อมแก้วจากพระนคร จะบุกป่าฝ่าดงดอนไปตามโทษ จงทรงพระกรุณาโปรดทุเลาก่อน ฝ่ายนายนักการชลีกรแล้วกลับมากราบทูล แก่พระนเรสูรราชบิตุรงค์ ส่วนสมเด็จบรมพงศ์พุทธางกูรเกษกระษัตริย์ ก็มีพระราชดำรัสสั่งเสนาบดี ให้ตระเตรียมโดยวิธีสัตตสดกมหาทาน พร้อมไปด้วยกุญชรคชสารสินธพยานราชรถ ปรากฎด้วยนางกระษัตริย์ ให้จัดทั้งทาสกรรมกรชายหญิง ทั้งโคนมประสมสิ่งละเจ็ดร้อยทุกประการ ไว้ยังโรงทานสถานนั้นแล

ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห
อามนฺตยิตฺถ ราชานํ มทฺทึ สพฺพงฺคโสภนํ
ยํ เต กิญฺจิ มยา ทินฺนํ ธนธญฺญญฺจ วิชฺชติ
หิรญฺญํ วา สุวณฺณํ วา มุตฺตา เวฬุริยา พหู
สพฺพนฺตํ นิทฺทเหยฺยาสิ ยญฺจ เต เปตฺติกํ ธนนฺติ
ตมพฺรวิ ราชปุตฺตี มทฺที สฬฺพงฺคโสภณา
กุหึ เทว นิทฺทเหยฺยามิ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโตติ
สีลวนฺเตสุ ทชฺเชสิ ทานํ มทฺทิ ยถารหํ
น หิ ทานา ปรํ อตฺถิ ปติฏฺฐา สพฺพปาณินนฺติ
ปุตฺเตสุ มทฺทิ ทเยสิ สสฺสุยา สสฺสุรมฺหิ จ
โย จ ตํ ภตฺตา มญฺเญยฺย สกฺกจฺจนฺตํ อุปฏฺฐหิ
โน เจ ตํ ภตฺตา มญฺเญยฺย มยา วิปฺปวเสน เต
อญฺญํ ภตฺตารํ ปริเยส มา กิลิตฏฐา มยา วินาติ
อหํ หิ วนํ คจฺฉามิ โฆรํ พาฬมิคายุตํ
สํสโย ชีวิตํ มยฺหํ เอกกสฺส พฺรหาวเนติ
ตมพฺรวิ ราชปุตฺตี มทฺที สพฺพงฺคโสภณา
อภุมฺเม กถํ นุ ภณสิ ปาปกํ วต ภาสสิ
เนส ธมฺโม มหาราช ยํ ตฺวํ คจฺเฉยฺย เอกโก
อหํปิ เตน คจฺฉามิ เยน คจฺฉสิ ขตฺติย
มรณํ วา ตยา สทฺธึ ชีวิตํ วา ตยา วินา
ตเทว มรณํ เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว ตยา วินา
อคฺคึ อุชฺชาลยิตฺวาน เอกชาลสมาหิตํ
ตตฺเถว มรณํ เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว ตยา วินา
ยถา อรญฺญิกํ นาคํ ทนฺตึ อเนฺวติ หตฺถินี
เชสฺสนฺตํ คิริทุคฺเคสุ สเมสุ วิสเมสุ จ
เอวนฺตํ อนุคจฺฉามิ ปุตฺเต อาทาย ปจฺฉโต
สุภรา เต ภวิสฺสามิ น เต เหสฺสามิ ทุพฺภราติ

เดิน (๑๑) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลวิสุทธิญาณ เมื่อสมเด็จพระจอมมกุฎผู้ผ่านพิภพสีพี ตรัสสั่งให้แต่งทานพิธีแล้วลีลาศ ยังปราสาทพระมัทรีศรีสุนทรลักษณะเลิศกัลยา สยนปิฏฺเฐ นิสีทิตฺวา เสด็จนั่งเหนือบวรรัตนมหาสยนอาศน์ จึงมีพระราชโองการแก่พระยอดเยาวมาลย์มิ่งมหิษีว่า ขึ้น ยํ เต กิญฺจิ มยา ทินฺนํ อันว่าทรัพย์อันเปนของ ๆ พี่ประสาทให้แก่เจ้า อนึ่งเล่าทรัพย์สมบัติอันพระน้องได้มาแต่สำนักมัททราชตระกูล นิทฺทเหยฺยาสิ เจ้าจงมัวมูลฝังไว้ จะได้เปนมหานิธีขุมทองอันใหญ่ติดตามตน พระมัทรีได้ทรงฟังก็ฉงนในพระบัญชา จึงทูลถามสมเด็จพระภัศดาอดุลดวงกระษัตริย์ว่า ทรงพระกรุณาจะให้ฝังซึ่งสรรพสมบัติไว้ในแห่งใด จึงตรัสว่าเจ้าจงให้ซึ่งสรรพเข้าน้ำโภชนาหารวัตถาลังการอันอุดม แก่ท่านผู้ทรงศีลสมาธิพรหมจรรยา ก็จะเปนมหาสุวรรณนิธีอันประเสริฐ สิ่งอันอื่นจะล้ำเลิศกว่าทานนั้นมิได้ อนึ่งพระลูกรักสองสายใจสุดสวาท เจ้าจงอย่าประมาทช่วยอภิบาลบำรุงรักษา ทั้งองค์สมเด็จพระราชบิดามารดาของพี่ เจ้าจงภักดีปฏิบัติ อย่าให้เคืองขัดพระอัธยาศรัย อนึ่งสถ้าแลว่ากรุงกระษัตริย์พระองค์ใดปราถนา จะรับเจ้าไปเปนอรรคราชกันยายอดนาง จงประกอบกิจสัจจางคปฏิบัติ อย่าให้เคืองขัดพระราชหฤทัย อย่าอาลัยถึงพี่ อันจะบำราศรัตนบูรีไปสู่ป่า เห็นชีวิตจะมรณาเสียเปนมั่นคง ในพนัศแดนดงนั้นแล

เดิน (๑๒) สมเด็จพระมัทรีศรีสุริยราชกัญญา ได้สดับสารพระภัศดาวันนั้นพรั่นพระไทย ทรงพระวิมุติสงสัยเคลือบแคลงแหนงในพระราชโองการ จึงทูลสนองสารบรมกระษัตริย์ ว่า ไฉนท้าวเธอจึงตรัสฉนี้ จะเสด็จจรลีจากพระนคร ด้วยกิจธุระร้อนสิ่งอันใด ท้าวเธอจึงตรัสบอกโดยนัยคดีการ พระมัทรีทรงทราบสาร จึงทูลสนองพระราชโองการพระราชสามีว่า ขึ้น นุ ไฉนฉนี้พระลูกเจ้าจึงไม่โปรดเกล้าข้ามัทรี มาตรัสความไม่ดีปราศจากประโยชน์ อภูตปุพฺพํ แต่ก่อนก็มิได้เคยโปรดประภาษ ราโชวาทเหมือนครั้งนี้ ประหนึ่งว่าข้ามัทรีนี้หินชาติใช่เชื้อราชสุริยวงศ์ จะละให้พระองค์เสด็จเดียวเปล่าเปลี่ยวในกลางไพร เนส ธมฺโม อย่างธรรมเนียมที่ไหนพระพุทธเจ้าข้า กระษัตริย์นี้ฤๅจะเสด็จป่าพระองค์เดียวดังนี้เล่า ถึงพระร่มเกล้าปกเกษเสด็จทุเรศไร้ราชสุริยวงศ์ จะบุกป่าฝ่าดงไปแห่งใด ข้าพระบาทก็จะตามเสด็จไปไม่ขออยู่ จะเอาชีวิตแลกายนี้ไปสู้สนองพระคุณ กว่าจะสิ้นบุญข้ามัทรี ที่จะละพระราชสามีนั้นหามิได้ แม้จะตกไร้แสนกันดาร กินมูลผลาหารต่างโภชนา ก็จะสู้ทรมานหามาประฏิบัติพระองค์ ถึงแม้มาตรจะปลดปลงก็มิได้คิด จะเอาชีวิตนี้เปนเกือกทองรองธุลีพระบาท แม้นมิทรงพระอนุญาตให้ตามเสด็จไป อคฺคึ อุชฺชาลยิตฺวาน ข้ามัทรีก็จะก่อไฟให้รุ่งโรจโดดเข้าตาย เห็นจะดีกว่าอยู่ให้คนทั้งหลายเขานินทา ว่ามีพระภัศดาแต่เมื่อยามศุข ถึงเมื่อยามทุกข์สิไม่ทุกข์ด้วย ดีแต่จะรื่นรวยอยู่ในพระบุรี จะขอตามเสด็จจรลีไปสู่ยากเมื่อยามจน อเนฺวติ หตฺถินี ดุจนางช้างต้นอันยุรยาตร ติดตามพระยาราชกุญชร ทนฺตึ มีงาอันงอนงามสง่า เชสฺสนฺตํ อันสัญจรท่องเที่ยวไปในทุ่งท่าอันลุ่มลาด ก็ติดตามมิได้คลาดพระยาคชสาร ยถา อันนี้แลมีอาการฉันใด ข้าพระบาทก็จะพาสองดรุณราชไปมิได้ห่าง ปจฺฉโต แต่เบื้องพระปฤษฎางค์พระร่มเกล้า มาทว่ามีทุกข์เท่าถึงอันตราย จะวิ่งไปก่อนให้ตายต่างพระองค์ผู้ทรงพระคุณ ประกอบไปด้วยพระการุญแก่ข้าบริจาริกา เดิน เมื่อพระมัทรีจะทูลพรรณนาป่าพระหิมพานต์ ก็กล่าวเปนสารพระคาถา

อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต มญฺชุเก ปิยภาณิเน
อาสนฺเน วนคุมพสฺมึ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต มญฺชุเก ปิยภาณิเน
กีฬนฺเต วนคุมฺพสฺมึ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต มญฺชุเก ปิยภาณิเน
อสฺสเม รมฺมณียมฺหิ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต มญฺชุเก ปิยภาณิเน
กีฬนฺเต อสฺสเม รมฺเม น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต มาลธารี อลงฺกเต
อสฺสเม รมฺมณียมฺหิ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต มาลธารี อลงฺกเต
กีฬนฺเต อสฺสเม รมฺเม น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา ทกฺขขิสิ นจฺจนฺเต กุมาเร มาลธาริเน
อสฺสเม รมฺมณียมฺหิ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา ทกฺขสิ นจฺจนฺเต กุมาเร มาลธาริเน
กีฬนฺเต อสฺสเม รมฺเม น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา ทกฺขสิ มาตงฺคํ กุญฺชรํ สฏฺฐิหายนํ
เอกํ อรญฺเญ วิจรนฺตํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา ทกฺขสิ มาตงฺคํ กุญฺชรํ สฏฺฐิหายนํ
สายํ ปาโต วิจรนฺตํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา กเรณุสํฆสฺส ยูถสฺส ปุรโต วชํ
โกญฺจํ นทติ มาตงฺโค กุญฺชโร สฏฺฐิหายโน
ตสฺส ตํ นทโต สุตฺวา น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
อุภโต วนวิกาเส ยทา ทกฺขสิ กามท
วเน พาลมิคากิณฺเณ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
มิคํ ทิสฺวาน สายณฺหํ ปญฺจมาลินิ อาคตํ
กึปุริเส จ นจฺจนฺเต น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา โสสฺสสิ นิคฺโฆสํ สนฺทมานาย สินฺธุยา
คีตํ กึปุริสานญฺจ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา โสสฺสสิ นิคฺโฆสํ คิริคพฺภรจาริโน
วสฺสมานสฺส อุลูกสฺส น รชฺชสฺส สวิสฺสสิ
ยทา สีหสฺส พฺยคฺฆสฺส ขคฺคสฺส ควยสฺส จ
วเน โสสฺสสิ พาลานํ น รชฺชสฺส สวิสฺสสิ
ยทา โมรีหิ ปริกิณฺณํ วรหินํ มตฺถกาสินํ
โมรํ ทกฺขสิ นจฺจนฺตํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา โมรีหิ ปริกิณฺณํ อณฺฑชํ จิตฺรเปกฺขุณํ
โมรํ ทกฺขสิ นจฺจนฺตํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา โมรีหิ ปริกณฺณํ นีลคีวํ สิขิณฺฑินํ
โมรํ ทกฺขสิ นจฺจนฺตํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา ทกฺขสิ เหมนฺเต ปุปฺผิเต ธรณีรุเห
สุรภิ สมฺปวายนฺเต น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา เหมนฺตเก มาเส หริตํ ทกฺขสิ เมทนึ
อินฺทโคปกสญฺฉนฺนํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา ทกฺขสิ เหมนฺเต ปุปฺผิเต ธรณีรุเห
กุทชํ พิมฺพชาลญฺจ ปุปฺผิตํ โลทปทฺมกํ
สุรภิ สมฺปวายนฺเต น รชฺชสฺส สริสฺสสิ
ยทา เหมนฺติเก มาเส วนํ ทกฺขสิ ปุปฺผิตํ
โอปุปฺผานิ จ ปทฺมานิ น รชฺชสฺส สริสฺสสีติ

เดิน (๑๓) สมเด็จพระยอดเยาวมาลย์มมาศมัทรีศรีสุริยราชธิดา จึงทูลพรรณาพนัศนาเวศประเทศหิมพานต์ ดุจได้ทัศนาการจำแน่ถนัด ถวายบรมกระษัตริย์ผู้เปนภัศดาว่า ขึ้น เทว ข้าแต่พระบรมนราธิบดินทร์ปิ่นสกลอาณาจักรจอมพิภพสีพี ปางเมื่อพระองค์เสด็จจรลีประพาศ ในพนาวาศแดนดง ปสฺสนฺโต จะได้ทรงฟังสองดรุณราชกุมาร ร้องขับขานประสานเสียงเสนาะในวนาศรม เมื่อยามรุกขชาติรื่นร่มเวลาเย็น จะแล่นเล่นในบริเวณพระอาศรมสถาน ข้ามัทรีนี้จะเก็บกุสุมามาลย์มากรองร้อย เปนสายสร้อยสะอิ้งรัดสะเอวองค์ สังวาลวงวิจิตรมาไลย ประดับสองดไนยน้อยนารถ สองดรุณราชก็จะแล่นเล่นบันเทิงทุกเช้าค่ำ สองเจ้าจะฟ้อนรำสำราญจิต มิได้รู้ที่จะคิดถึงความทุกข์ จะมีแต่เสวยศุขสนุกทุกเวลา ท้าวเธอได้เห็นจะเปนที่ปรีดาดวงกระมลปลื้ม น สริสฺสสิ พระไทยท้าวเธอก็จะหลงลืมรัตนราไชยมไหศุริยสมบัติ ทกฺขสิ มาตงฺคํ อนึ่ง จะได้ทรงชมมหามหิทธิหัสดีเดี่ยว เดินโทนเที่ยวในกลางป่า ลางสารที่เปนคชคณาบดีดูพิฦก คำรนเสียงคระครึกมาภายน่า เงยงวงงาร้องก้องโกญจนาท นำโขลงคลาศออกจากดง ได้ทอดพระเนตรเห็นก็จะเปนที่พิศวงว่างวิตกถึงพระนคร อุภโต วนวิกาเส สองตราบข้างบทจรลำเนาป่าเดียรดาษด้วยพาฬมฤคคณานิกร หมู่พยัคฆพระยาไกรสรสรรพจัตุบาท ละมั่งระมาดหมู่มฤคสุกรโค มหิงษ์สิงโตตัวคะนองลองเชิงระเริงร้องคระครึกป่า ได้ทรงเห็นก็จะเปนมหามหรศพเนตร จะบันเทาที่ทุกข์เทวศถวิลวัง ยทา โสสฺสสิ นิคฺโฆสํ แล้วจะได้ทรงฟังเสียงกระแสสินธวนที อันตกลงมาแต่ยอดรัตนคิรีไหลหลั่ง สายอุทกถั่งเปนถ่องแถว ทั้งเสียงกินรีร้องจะเจื้อยแจ้วจำเรียง ขับประสานเสียงสนานชล บ้างก็รำฟ้อนอยู่บนชะง่อนผา โมรีหิ ปริกิณฺณํ จะได้ทรงชมพระยาโมรมาศ แวดล้อมด้วยหมู่นิกรคณานาฏนางยูง จับเหนือยอดบรรพตอันสูงควรจะทัศนา พระองค์เห็นก็จะหรรษาโสมนัศ น สริสฺสสิ จะมิได้รฦกถึงสมบัติบุรีรมย์ เหมนฺเต ปางเมื่อฤดูน้ำค้างตกประพรมพื้นพสุธา หริตํ ทกฺขสิ เมทนึ ควรที่จะทัศนาพื้นภูมิภาคปัถพี อันเดียรดาษด้วยหญ้าแพรกพรรณต่างสีซ้อนสลับ สี่องคุลีสรรพเสมอกัน อินฺทโคปกสญฺฉนฺนํ ดาษดื่นด้วยพื้นพรรณแมลงค่อมทอง ดูนี้ก็เรืองรองอร่ามงามระยับ ประเสริฐสรรพสรรพางค์ เที่ยวเล็มน้ำค้างบนปลายหญ้า วนํ ทกฺขสิ ปุปฺผิตํ แล้วก็จะได้ทอดพระเนตรซึ่งนานาพรรณหมู่ไม้ บ้างผลิดอกออกใบระบัดอ่อน กิ่งก้านอรชรดังชั้นฉัตร บ้างก็ทรงผลกำดัดสุกทราม บ้างก็ดิบห่ามระคนปนผกามาศ ที่บานแบ่งบุบผชาติน่าใคร่ชม เสาวคนธภิรมย์ระรวยรื่น ที่โรยก็ร่วงลงยังพื้นพสุธา หอมขจรตระหลบป่า ปางเมื่อฤดูดอกเดียรดาษดาระดับดง ได้ทรงชมก็จะละเลิงหลงลืมระฦกถึงพระนคร อันเคยศุขสถาวรนั้นแล

ขึ้น (๑๔) สมเด็จพระมัทรีศรีสุริยราชวงศ์ องค์เอกอรรคประยูรยอดกระษัตริย์มัทราชธิดา มีพระกมลเจตนาจำนงนึกตรึกถวิล จะตามเสด็จบรมนรินทรราชสามี จึงแนะแนววนาลีลำเนาเขตร ดุจได้เคยทอดพระเนตรจำแน่ถนัด ในตำแหน่งพนัศพนาเวศประเทศหิมพานต์ โดยวิตถารทูลถวายพระราชสามี โดยนิยมดังนี้แล

หิมวนฺตวณฺณนา นิฏฺฐิตา

ประดับด้วยพระคาถา ๑๓๔ พระคาถา

----------------------------

  1. ๑. ยุ. มตฺติกํ

  2. ๒. ยุ. ยาจเย

  3. ๓. ยุ. อุปวุยฺหํ

  4. ๔. ยุ. ยุ. รฏฺฐวฑฺฒน

  5. ๕. ยุ. ตรมาโน

  6. ๖. ยุ. นาหํ ปสฺสามิ

  7. ๗. ยุ. กิสิตุถ

  8. ๘. ยุ. คมิสุสามิ

  9. ๙. ยุ. อาสีเน

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ