กัณฑ์มหาพน
ความพระเทพโมลี (กลิ่น)
----------------------------
๏ คจฺฉนฺโต โส ภารทฺวาโช | อทฺทส อจฺจุตํ อิสึ |
ทิสฺวาน ตํ ภารทฺวาโช | สมฺโมทิ อิสินา สห |
กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ | กจฺจิ โภโต อนามยํ |
กจฺจิ อุญฺเฉน ยาเปถ | กจฺจิ มูลผลา พหู |
กจฺจิ ฑํสา จ มกสา | อปฺปเมว สิรึสปา |
วเน พาฬมิคากิณฺเณ | กจฺจิ หึสา น วิชฺชตีติ |
กุสลญฺเจว โน พฺรเหฺม | อโถ พฺรเหฺม อนามยํ |
อโถ อุญฺเฉน ยาเปมิ | อโถ มูลผลา พหู |
อโถ ฑํสา จ มกสา | อปฺปเมว สิรึสปา |
วเน พาฬมิคากิณฺเณ | หึสา มยฺหํ น วิชฺชติ |
พหูนิ วสฺสปูคานิ | อสฺสเม สมฺมโต มม |
นาภิชานามิ อุปฺปนฺนํ | อาพาธํ อมโนรมํ |
สฺวาคตนฺเต มหาพฺรเหฺม | อโถ เต อทุราคตํ |
อนฺโต ปวีส ภทฺทนฺเต | ปาเท ปกฺขาลยสฺสุ เต |
ติณฺฑุกานิ ปิยาลานิ | มธุเก กาสมาริโย |
ผลานิ ขุทฺทกปฺปานิ | ภุญฺช พฺรเหฺม วรํ วรํ |
อิทํปิ ปานียํ สีตํ | อาภตํ คิริคพฺภรา |
ตโต ปิว มหา พฺรเหฺม | สเจ ตฺวํ อภิกงขสีติ |
ปฏิคฺคหิตํ ยํ ทินฺนํ | สพฺพสฺส อคฺฆิยํ กตํ |
สญฺชยสฺส สกํ ปุตฺตํ | สิวีหิ วิปฺปวาสิตํ |
ตมหํ ทสฺสนมาคโต | ยทิ ชานาสิ สํส เมติ |
น ภวํ เอติ ปุญฺญตฺถํ | สิวิราชสฺส ทสฺสนํ |
มญฺเญ ภวํ ปตฺถยติ | รญฺโญ ภริยํ ปติพฺพตํ |
มญฺเญ กณฺหาชินํ ทาสึ | ชาลึ ทาสญฺจ อิจฺฉสิ |
อถ วา ตโย มาตาปุตฺเต | อรญฺเญ เนตุมาคโต |
น ตสฺส โภคา วิชฺชนฺติ | ธนธญฺญญฺจ พฺราหฺมณาติ |
อกุทฺธรูปาหํ โภโต | นาหํ ยาจิตุมาคโต |
สาหุ ทสฺสนมริยานํ | สนฺนิวาโส สทา สุโข |
อทิฏฺฐปุพฺโพ สิวิราชา | สิวีหิ วิปฺปวาสิโต |
ตมหํ ทสฺสนมาคโต | ยทิ ชานาสิ สํส เมติ |
ขึ้น (๑) ภารทฺวาโช อันว่าพราหมณชราภารัทวาชชาติเข็ญใจ คจฺฉนฺโต ก็ไต่เต้าตามอรัญญวิถีมีสำคัญเขาแลไม้ อันนายพเนจรเจตบุตรบอกแจ้งแล้วแต่หลัง อทฺทส อจฺจุตํ ก็ประสบพบพระสิทธาจารย์จอมอจุตใจจงเจริญจรรยายอดโยคี ก่อกองกูณฑพิธีกระทำนมัสการ จึงกล่าวปฏิสันถารไต่ถามถึงทุกข์ภัยพยาธิแลเหลือบยุงบุ้งร่านริ้นกินโลหิต สรรพภัยอสรพิษพวกพาลมฤคร้ายกาจอันจะรบกวน ถามถี่ถ้วนถึงที่เที่ยวแสวงหามูลผลาหาร พระสิทธาจารย์เจ้าจึงแจ้งเหตุ ว่าสรรพภัยอาเภทไม่พาธากระทำร้าย ทั้งมูลผลาหารก็หาง่ายไม่ฝืดเคืองขัดสน ผลเอมโอชอันจะขบฉัน เชิญทชีชำระเท้าเสียให้สิ้นธุลีในโรงน้ำ กระทำภุตตกิจกินผลไม้มีอยู่มากครัน ผิจะฉันจงฉันเถิด น้ำฉันเราก็ตักไว้ในตุ่มเต็มตามแต่จะปราถนา ท่านทุเรศสัญจรมาในวันนี้ นามศรีสวัสดิวิเศษเขตรเกษมศานต์ การเจริญอย่ารั้งรอเร่งฉันเถิดหน๋ะทชี พระเจ้าข้าเจ้าประคุณใจอารีรบจะให้รับประทาน ทรงพระคุณหาอันใดปานบ่มิได้ ข้าทอาจารย์จะขอรับดำรงไว้ที่หว่างเกล้า ด้วยข้าเถ้าอุสาหะสืบเสาะเฉภาะหน้ามาทั้งนี้ ด้วยมีกระมลมุ่งมาตรหมายประสงค์จะใคร่ประสบพบพระองค์อรรคบรมทานาธิบดี มีนามพระเพสยันดรอดุลดวงดิลกเลิศกระษัตริย์ในสากล ยทิ ชานาสิ สํส เม ผิแลพระผู้เปนเจ้าแจ้งตำบลบพิตรที่สถิตย์สถาน จงโปรดเกล้าข้าพฤฒาจารย์ให้ทราบเหตุสักหน่อย เหม่มึงนี้ชรอยถ่อยทรลักษณ์ลามกธรรม์ ใช่จะมาด้วยหวังสวัสดิ์เปนทางสวรรค์นั้นหามิได้ มญฺเญ ดังกูนึกแน่ในใจไม่ผิดเนตร ชรอยจะมาขอองค์พระอรรคเรศราชชายา ถ้าหาไม่ก็พระชาลีแลกัณหาทั้งสององค์ เออก็ท้าวเธอมาทรงสร้างแสวงบุญบำพ็ญผลเพิ่มผนวชในพนัศดงดอน มีแต่ลูกรักสายสมรกับพระมเหษี เปนสามสี่องค์ด้วยกันเท่านี้เห็นหน้ากันเมื่อกาลไร้ ฤๅมีทรัพย์สิ่งใดซึ่งจะได้ติดพระองค์มา มันช่างไม่คิดอนิจจาดีแก่ใจอย่างไรหนอหน๋ะทชี อกุทฺธรูปาหํ โภโต พระเจ้าข้าพระฤๅษีอย่าเพ่อโกรธ ข้าทชีนี้ใช่พราหมณโหดหินชาติเหมือนเช่นว่า ไม่จงหวังตั้งหน้ามาขอทาน กระทำให้เสียจารีตรามราชวิสัยมหาศาลสืบประเพณี ถึงจะบริภาษพ้อจนเพียงนี้ ข้าน้อยก็หนักแน่นนึกเกรงไม่โกรธตอบ ด้วยตัวตั้งอยู่ในความชอบไม่แผกผิด มานี่หวังจะใคร่ประสบพบพานบพิตรพุทธพงศ์ทิพากร อันเปนศรีสวัสดิสุนทรทางทัศนานุตตริยธรรม์อันอุดม ด้วยได้สโมสรสมาคมคบหา กับพระองค์ผู้ทรงพระปรีชาเชื้อปราชญ์ไม่มีเปรียบประยูรยศอันใหญ่ยิ่ง แต่จากเมืองมาอยู่ป่าเปนความจริง ข้าพระเจ้ายังมิได้เห็นพระองค์เลย พระคุณเจ้าเอ่ย เอ็นดูเถิดถ้ารู้แห่ง จงช่วยชี้ตำแหน่งนิวาศสถาน ให้แก่ข้าทอาจารย์ ณกาลบัดนี้เถิด
เดิน (๒) ตํ สุตฺวา ตาปโส พระอจุตฤๅษีได้สดับสารคดีมุสาวาท ทชีชาติทรชนช่างรำพรรณพูดให้เชื่อก็เชื่อฟัง จึงให้พราหมณยับยั้งอยู่อาศรัยในอาศรมสิ้นส่วนแห่งราตรี ยังทชีเถ้าทลิททกให้รับประทานมูลผลาหารของป่า ครั้นรุ่งสางสว่างเวลาอรุโณทัย จึงพาพราหมณไปสถิตย์ที่ต้นทางเถื่อนวิถี จึงยกทักษิณหัตถ์ขึ้นชี้ให้ทชีจำระยะมรรคา ก็กล่าวเปนสารพระคาถา
เอส เสโล มหาพฺรเหฺม | ปพฺพโต คนฺธมาทโน |
ยตฺถ เวสฺสนฺตโร ราชา | สห ปุตฺเตหิ สมฺมติ |
ธาเรนฺโต พฺราหฺมณวณฺณํ | อาสทญฺจ มสญฺชฏํ |
จมฺมวาสี ฉมา เสติ | ชาตเวทํ นมสฺสติ |
เอเต นีลา ปทิสฺสนฺติ | นานาผลธรา ทุมา |
อุคฺคตา อพฺภกูฏาว | นีลา อญฺชนปพฺพตา |
ธวสฺสกณฺณา ขทิรา | สาลา ผนฺทนมาลุวา |
สมฺปเวเธนฺติ วาเตน | สกึ ปิตาว มานวา |
อุปริ ทุมปริยาเยสุ | สํคีติโยว สุยฺยเร |
นชฺชุหา โกกิลา สํฆา | สมฺปตนฺติ ทุมาทุมํ |
อวฺหยนฺเตว คจฺฉนฺตํ | สาขาปตฺตสมีริตา |
รมฺมยนฺเตว อาคนฺตุํ | โมทยนฺติ นิวาสนํ |
ยตฺถ เวสฺสนฺตโร ราชา | สห ปุตฺเตหิ สมฺมติ |
ธาเรนฺโต พฺราหฺมณวณฺณํ | อาสทญฺจ มสญฺชฏํ |
จมฺมวาสี ฉมา เสติ | ชาตเวทํ นมสฺสติ |
กเรริมาลา วิคตา๑ | ภูมิภาเค มโนรเม |
สทฺทลา หริตา ภูมิ | น ตตฺถุทธํ สเตรโช |
มยูรคีวสํกาสา | ตุลผสฺสสมูปมา |
ติณานิ นาติวตฺตนฺติ | สมนฺตา จตุรงคุลา |
อมฺพา ชมฺพู กปิฏฺฐา จ | นีเจ ปกฺกา จุทุมฺพรา |
ปริโภคหิ รุกฺเขหิ | วนนฺตํ รติวฑฺฒนํ |
เวฬุริยวณฺณสนฺนิภํ | มจฺฉคุมพนิเสวิตํ |
สุจิ สุคนฺธํ สลิลํ | อาโป ตตฺถปิ สนฺทติ |
ตสฺสาวิทูเร โปกฺขรณี | ภูมิภาเค มโนรเม |
ปทุมุปฺปลสญฺฉนฺนา | เทวานมิว นนฺทเน |
ตีณิ อุปฺปลชาตานิ | ตสฺมึ สรสิ พฺราหฺมณ |
วิจิตฺรา นีลาเนกานิ | เสตา โลหิตกานี จาติ |
โขมาว ตตฺถ ปทุมา | เสตโสคนฺธิเยหิ จ |
กทมฺพเกหิ สญฺฉนฺโน | มุจฺจลินฺโท นาม โส สโร |
อเถตฺถ ปทุมา ผุลฺลา | อปริยนฺตาว ทิสฺสเร |
คิมฺหา เหมนฺตกา ผุลฺลา | ชณฺณุตคฺฆา อุปตฺถรา |
สุรภี สมฺปวายนฺติ | วิจิตฺรา ปุปฺผสณฐิตา |
ภมรา ปุปฺผคนฺเธน | สมนฺตามภินาทิตา |
อเถตฺถ อุทกนฺตสฺมึ | รุกฺขา ติฏฺฐนฺติ พฺราหฺมณ |
กทมฺพา ปาตลี ผุลฺลา | โกวิฬารา จ ปุปฺผิตา |
องโกรา กจฺจิการา จ | ปาริชญฺญา จ ปุปฺผิตา |
วรณา วุยฺหนา๒ รุกฺขา | มุจฺจลินฺทมุภโต สรํ |
สิรีสา เสตปาริสา | สาธุ วายนฺติ ปทฺมกา |
นิคณฺฑี สรนิคณฺฑี๓ | อสนา เจตฺถ ปุปฺผิตา |
ปงกุรา พกุลา เสลา | โสภญฺชนา จ ปุปฺผิตา |
เกตกา กณิการา จ | กรวีรา จ ปุปฺผิตา |
อชฺชุนา อชฺชุกณฺณา จ | มหานามา จ ปุปฺผิตา |
สุปุปฺผิตคฺคา ติฏฺฐนฺติ | ปชฺชลนฺเตว กึสุกา |
เสตปณฺณิ สตฺตปณฺณา | กทฺทลิโย กุสุมฺภรา |
ธนุตกฺการิปุปฺเผหิ | สีสปาวรณาหิ จ |
อจฺฉิปา สิมฺพลีรุกฺขา | สลฺลกิโย จ ปุปฺผิตา |
เสตคฺเครู ตคฺคริกา | มสิโกฏฺฐา กุราวลา |
ทหรา รุกฺขา วุฑฺฒา จ | อกุฏิลา เจตฺถ ปุปฺผิตา |
อสฺสมํ อุภโต ฐนฺติ | อคฺยาคารํ สมนฺตโตติ |
อเถตฺถ อุทถนฺตสฺมึ | พหู ชาตา พณิชฺชกา |
มุคฺคติโย กรติโย | เสวาลํ สีสกํ พหู |
อุทฺทา ปวตฺตํ อุลฺลุลิตํ | มกฺขิกา หิงคุชาลิกา |
ทาสิมกญฺจโก เจตฺถ | พหู นีเจกลมฺพกา |
เอลมฺพรุกฺขสญฺฉนฺนา๔ | รุกฺขา ติฏฺฐนฺติ พฺราหฺมณ |
สตฺตาหํ ธาริยมานานํ | คนฺโธ เตสํ น ฉิชฺชติ |
อุภโต สรญฺจ มุจฺจลินฺทํ | วปฺปา ติฏฺฐนฺติ ภาคโส๕ |
อินฺทวเรหิ สญฺฉนฺนํ | วนนฺตํ อุปโสภิตํ |
อฑฺฒมาสํ ธาริยมานานํ | คนฺโธ เตสํ น ฉิชฺชติ |
นีลปุปฺผิ เสตวารี๖ | ปุปฺผิตา คิริกณฺณิกา |
กเลรุกฺเขหิ๗ สญฺฉนฺนํ | วนนฺตํ ตุลสีหิ จ |
สมฺโมทิเตว คนฺเธน | ปุปฺผสาขาหิ ตํ วนํ |
ภมรา ปุปฺผคนฺเธน | สมนฺตามภินาทิตา |
ตีณิ กกฺการุชาตานิ | ตสฺมึ สรสิ พฺราหฺมณ |
กุมฺภมตฺตานิ เจกานิ | มูรชมตฺตานิ วา อุโภติ |
อเถตฺถ สาสโป พหุโก | นาทิโย หริตายุโต |
อสิตาลาว ติฏฺฐนฺติ | เฉชฺชา อินฺทรา พหู |
อปฺโผตา สุริยวลฺลี จ | กาลิยา มธุคนฺธิยา |
อโสกา มุทฺทยนฺติ จ | วลฺลิโภ ขุทฺทปุปฺผิโย |
โกรณฺฑกา อโนชา จ | ปุปฺผิตา นาคมลฺลิกา |
รุกฺมารุยห ติฏฐนฺติ | ผุลฺลา กึสุกวลฺลิโย |
กเตรุหา ปวาเสนฺติ | โยธิกา มธุคนฺธิยา |
นีลิยา สุมนา ภณฺฑิ | โสภติ ปทุมุตฺตโร |
ปาตลี สมุทฺทกปฺปาสี | กณิการา จ ปุปฺผิตา |
เหมชาลาว ทิสฺสนฺติ | รุจิรา อคฺคิสิขูปมา |
ยานิ ตานิ จ ปุปฺผานิ | ถลชานูทกานิ จ |
สพฺพานิ ตตฺถ ทิสฺสนฺติ | เอวํ รมฺโม มโหทธีติ |
อถสฺสา โปกฺขรณิยา | พหุกา วาริโคจรา |
โลหิตา นลเปสิงคุ | กุมฺภิลา มกรา สุลู |
มธุ จ มธุลฏฐิ จ | ตาลิยา จ ปิยงคุกา |
กุทฺทชา ภทฺทมุตฺถา จ | สตฺตบุปฺผา จ โลลุปา |
สุรภี มรุตครา๘ | พหุกา ตุงควลฺลิโย |
ปทฺมภา นารทา โกฏฺฐา | ฌามกา จ หเรณุกา |
หลิทฺทกา คนฺธเสลา | หริเวลา จ ตุคฺคลา๙ |
วิเภทกา โปรโกฏฺฐา | กปฺปุรา จ กลิงคุกา |
[ทิพฺโพสเถหิ สมิชฺฌนฺติ | เอวํ รมฺโม ตโปวเนติ๑๐] |
ขึ้น (๓) พฺรเหฺม ดูกรมหาพราหมณ์พรหมบุตรบรรพชาชาติทิชงคพิสัย เอส เสโล แลถนัดในเบื้องน่านั้นก็เขาใหญ่ยอดเยี่ยมพโยมอย่างพยับเมฆ มีพรรณเขียวขาวแดงดูอดิเรกดังรายรัตนมณีแนมน่าใคร่ชม ครั้นแสงพระสุริยส่องระดมก็ดูเด่นดังดวงดาววาวแวววะวาบๆ ที่เวิ้งวุ้ง วิจิตรจำรัสจำรูญรุ่งเปนสีรุ้งพุ่งพ้นเพียงคัคณัมพรพื้นนภากาศ บ้างก็เกิดก่อก้อนประหลาดศิลาลายแลละเลื่อมๆ ที่งอกง้ำเปนแง่เงื้อมก็ชะงุ้มชะโงกชะง่อนผา ที่ผุดเผินเปนแผ่นภูตะเพิงพัก บางแห่งเล่าก็เหี้ยนหักหินเห็นเปนรอยร้าวรานระคายควรจะพิศวง ด้วยธารอุทกที่ตกลงเปนหยาดหยัดหยดย้อยเย็นเปนเหน็บหนาว ในท้องถ้ำที่สถิตย์ไกรสรราชสถาน บังเกิดแก้วเก้าประการกาญจนประกอบกัน ตลอดโล่งโปร่งปล่องเปนช่องชั้นวิเชียรฉาย โชติช่วงชัชวาลสว่างตา แสนสนุกในห้องเหมคูหาทุกหนแห่งรโหฐาน เปนที่เสพยอาศรัยสำราญแห่งสุรารักษรากษษสรรพปีศาจมากกว่าหมื่นแสน สะพรั่งพฤกษพิมานแมนทั่วทุกหมู่ไม้บรรดามีในเขานั้น ย่อมทรงทศพิธสุคันธขจรอาจจะจับใจเปนอาจิณ คนฺธมาทโน จึงเรียกนามว่าศิขรินทรคันธมาทน์มหิมา เหตุประดับด้วยพฤกษาทรงสุคนธชาติสิบประการมี เชิญทชีจงไต่เต้าตามตีนเขาข้างอุตราภิมุขเขม้นหมายเฉียงเหนืออย่านอนใจ โน่นนั่นคือหมู่ไม้มีเอนกนานานับบมิถ้วน นีลา แลสลั้งล้วนสูงสลอน ออกอรชรช่อผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบุลระบัดบัง เขียวชะอุ่มเปนพุ่มตั้งดังจอมเมฆมัวเปนหมอกมูล สรรพสกุณตระกูลทิชากรก็เกริ่นร้องกับกิ่งรุกขเรียงราย ครั้นเมื่อเวลาลมชายรำพายพัด กิ่งก้านก็ไกวกวัดสะบัดโบก ลำต้นยอดเขยื้อนโยกโยนอยู่ไปมา อิว มานวา เหมือนมานพเสพสุราเมื่อแรกเริ่มพึงรู้รส ได้ดูดดื่มคราวเดียวไม่ทันหมดก็เมามาย จะตั้งตรงดำรงกายบ่ร้างรอด ด้วยสุราร้ายฤทธิแรงเมา ในพื้นภูมิภาคนั้นเล่าก็แลเลือน ล้วนผกากุ่มหล่นลงกลาดเกลื่อนที่กลางดินดูดาษดา สทฺทลา หริตา พรรณหญ้าแพรกก็ขึ้นสะพรั่งเขียวคือสร้อยคอขนมยูรยลระยับอ่อนลออยิ่งอย่างสำลีไย ยอดไม่ยาวสั้นสี่องคุลีมีเสมอกันไม่ก้ำเกิน อันหนทางที่จะเดินนั้นสดวกดาย สบายบาทบทจรเจริญใจ ผงไผ่ภัศมธุลีลอองอันเลอียด เปนฝุ่นฟุ้งมิได้เฟื่องฟื้น ด้วยหญ้าแพรกปูปกไปเปนพื้นภูมิพนัศสถาน เทียรย่อมให้เกิดวัฑฒนาการกำหนัดใน กำหนดนามมิ่งไม้อันมีผล มีอัมพพฤกษเปนต้นดังสำแดงมา ในจุลวนวรรณนานั้นแล
ขึ้น (๔) พฺรเหฺม ดูกรมหาพราหมณ์ผู้ประพฤติพรตพรหมจรรยา เราจะพรรณาถึงสระศรีอันมีอยู่ที่แทบพระอาศรมศิวาวาส แห่งสมเด็จบรมบาทบพิตรพิชิตพิไชยเฉลิมชาวเชตุดรราชธานี มีนามมุจจลินทสินธุสระสนาน สี่เหลี่ยมเปี่ยมไปด้วยชลธารชโลทกเทียบเทียมไพฑุริยจินดาดวงดูใสสอาด เย็นยะเยือกอย่างอมฤตยวาริน ระรื่นรวยด้วยกลิ่นอายอบอวล ฝูงกินรคณานางย่อมชักชวนกันมาอาบกินเกษมสานต์ แสนศุขสำราญสารภิรมย์ระร่าเริงบันเทิงใจในสระนั้น อเถตฺถ ปทุมา ผุลฺลา อำพลด้วยบุษย์บัวเบญจพรรณมีประเภทพิจิตรอาจจะจับเอาใจ ที่ขาวก็ขาวแข่งไสวสีเววตวิสุทธิสดสอาด โขมาว ดังสุขุมโขมพัตรลาดแลละลิบละลานตา พรรณที่เขียวแดงก็ดาษดาดูดังแสร้งระดับ สลับสลอนล้วนเปนเหล่ากัน พวกอุบลบัวผันแลเผื่อนผุดกมุทหมู่ลินจงขจายบาน ในคิมหันต์เหมันตกาลประกอบเกิดกับน้ำกำหนดตื้นยืนเพียงเข่าควรจะปราโมทย์ อันว่าโกสุมภสโรชก็โรยรายร่วงรสเรณูนวลผกาเกสร หมู่แมลงมาศภมรก็มัวเมาเอาชาติลอองอันเลอียด เสียดแซกไซร้สร้อยเสาวคนธขจร หึ่งๆ บินวะวู่ว่อนร่อนร้องอยู่โดยรอบขอบจตุรสระศรี สรรพพืชผักในวารีแลริมเฉนียน อเนกนับมากกว่าหมื่นสิ่ง เปนต้นว่าสาหร่ายสายติ่งตบแลตับเต่า เหล่าถั่วเขียวถั่วราชมาศ พื้นพรรณผักกาดแกมกระเทียมหอมเห็นใบไสว เต้าแตงแฟงฟักใหญ่ยิ่งเท่าเภรี วาริโคจรา หมู่มัจฉาชาติในสระศรีสุดที่จะร่ำ คล้ายๆ ว่ายอยู่คล่ำๆ เข้ากินไคลแล้วเคล้าคู่ ตะเพียนทองล่องลอยอยู่ที่หลังชล กินเกสรอุบลเบือนเข้าแฝงบัวให้บังกาย นวลจันทร์พรรณเนื้ออ่อนแอบสวายแสวงวัง นลเปสิงฺคี กุมฺภิลา กรกฎกุ้งกั้งมังกรกุมภีล์ ตะโกกกาแกมกะดี่ชะโดดุกก็โดดดิ้น เที่ยวเลมล่าหาอาหารกินในท้องธาร แสนสนุกในสระสนานอเนกา ดังสระสวรรค์สุนันทาทิพยสโรชโบษขรณี อันมีในไตรตรึงษตรีเนตรสหัสจักษุเทเวศร์วัชรินทร ที่ขอบสระนั้นเปนทรายอ่อนระคนดินดูสอาด พื้นพืชคามขึ้นประหลาดล้วนพิเศษสรรพโอสถทุกสิ่งสมตำรา คือพิมเสนเสนียดกฤศนาหนาดโลดทนง จันคนามหาสะดำดงมะเดื่อดินดีนาคราช โกฐกะลำภักเพ็ชสังฆาฎขอนดอกดงกำยาน ราเชนชะมดหมู่กระวานว่านวิเศษ สหัสคุณเทศขันทองเทพทาโรราชพฤกษ์กระเพราแดง พระยาสัตตบัณสมุลแว้งวรรณว่านนั้นอเนกนักสุดที่จะคณนา ยังเล่าเหล่าพฤกษาที่เนินทราย ก็รายเรียงร่มระรื่นขึ้นอยู่โดยรอบโรงพิธีกูณฑ์ แห่งสมเด็จอดิศรบดินทรสูรย์สรรเพ็ชญ์พุทธพงศ์เพสยันดร ยมโดยประดู่ดอกออกสลอนสลับมลุลีกระดังงา สลฺลกิโย จ ปุปฺผิตา กระทุ่มทองแทงทวยทั้งกรวยกร่าง จิกแจงดอกกระจ่างแลช้างน้าว กิ่งก้านก็ก่ายก้าวเกี่ยวประสาน สุรภีพิกุลกาญจนแก้วเกษกรรณิกาแกม มหาหงประยงคุ์แย้มยี่เข่งเขม พรรณพุดตานก็บานเต็มแต่ล้วนเหล่ากุหลาบตระหลบดง รวยๆ ลำดวนทรงสร้อยสุคนธา หอมประทินกลิ่นโยธกาตระการใจ จำปาออกดอกไสวเรณูนวลล้วนกาหลงเหล่าบุนนาค กากทิงกถินกลิ่นหอมหลากล้วนวิเศษ ดูกรทชีทิเชต อันชั้นนอกนั้นดาษดื่นพื้นพฤกษาสูง เหล่ายางยูงพยอมใหญ่ย่อมเยียดยัด อกุฏิลา ลำต้นตะละคันฉัตรเฉิดระหง ตรงละลิ่วแลสูงสะพรั่ง พรรณพฤกษเต็งรังร่มเรียงเหียงหาดเห็นเปนเหล่าๆ สิมฺพลีรุกฺขา หมู่งิ้วง้าวงามตระหง่าน ปานประหนึ่งว่านายช่างหากพิจิตรผจงเขียน ทั้งคุยข่อยแคคางนางตะเคียนก็คับคั่ง พวกผึ้งก็พากันมาจับประจำกระทำรังเจริญรวงมธุรสวารี ที่ค้อมคดกะทดกะทันนั้นก็มีอยู่มากหลาย กทฺทลิโย อนึ่งผลกล้วยกล้ายดิบสุกห่ามทรามกำดัดกินก็เกลื่อนกลาด ย่อมมีอยู่ในที่ใกล้พระอาวาสบริเวณวนาศรม แห่งพระผู้อุดมด้วยศีลวัตรวรวิเศษ สืบสร้างแสวงเพศผนวชในพนัศกันดาร อันเปนเขตรพระหิมพานต์นั้นแล
อเถตฺถ สีหา พฺยคฺฆา จ | ปุริสาลู จ หตฺถิโย |
เอเณยฺยา ปสตา เจว | โรหิตา สรภามิคา |
โกฏฺฐา สุณา สุโณปิ จ | ตุลฺลิยา นลสนฺนิภา |
จามรี จลนี ลงฆี | ฌาปิตา มกฺกฏา ปิจุ |
กกฺกฏา กตมายา จ | อิกฺกา โคณสิรา พหู |
ขคฺคา วราหา นงกุลา | กาฬเกตฺถ พหูตโส |
มหิสา โสณา สิงคาลา | จมฺปกา จ สมนฺตโต |
อากจฺฉา จ ปลากา จ | จิตฺรกา จาปิ ทีปิโย |
เจลกา๑๑ จ วิฆาสาทา | สีหา โกกนิสาฏกา |
อฏฺฐปาทา จ โมรา จ | ปภสฺสรา จ กุกฺกุตฺถกา |
จงโกรา กุกฺกุฏา นาคา | อญฺญมญฺญํ ปกุชฺชิโน |
พกา พลากา นชฺชุหา | ทินฺทิภา โกญฺจวาชิกา |
พฺยคฺฆินสา โลหปิฏฺฐา | จปฺปกา๑๒ ชีวชีวกา |
กปิญฺชรา ติตฺติราโย | กุลาวา ปติกุตฺถกา |
มณฺฑาลกา เจลเกลุ๑๓ | ภณฺฑุ ติตฺติรนามกา |
เจลาวกา ปิงคุลาโย | โคขกา องคเหตุกา |
กรวิกา จ สคฺคา จ | อุหุนฺการา จ กุกฺกุหา |
นานาทิชคณษกิณฺณํ | นานาสรนิกุชฺชิตนฺติ |
อเถตฺถ สกุณา สนฺติ | สาลิกา มญฺชุภาณิกา |
โมทนฺติ สห ภริยาหิ | อญฺญมญฺญํ ปกุชฺชิโน |
อเถตฺถ สกุณา สนฺติ | ทิชา มญฺชุสฺสราสิตา |
เสตกฺขิกุฏา๑๔ ภทฺรกฺขา | อณฺฑชา จิตฺรเปกฺขุณา |
อเถตฺถ สกุณา สนฺติ | ทิชา มญฺชุสฺสราสิตา |
สิขิณฺฑี นีลคิวา หิ | อญฺญมญฺญํ ปกุชฺชิโน |
กุกฺกุตฺถกา กุฬีรกา | โกฏฺฐา โปกฺขรสาฏกา |
กาฬเวยฺยา พลิยกฺขา | กทมฺพา สุวสาลิกา |
หลิทฺทา โลหิตา เสตา | อเถตฺถ นลกา พหู |
วารณา ภิงคราชา จ | กทมฺพา สุวโกกิลา |
อุกฺกุสา กุรุรา หํสา | อาฏา ปริวเทนฺติกา |
จากหํสา อติพลา | นชฺชุหา ชีวชีวกา |
ปาเรวฏา รวิหํสา | จากรากา นทีจรา |
วารณาภิรุทา รมฺมา | อุโภ กาลุปกุชฺชิโน |
อเถตฺถ สกุณา สนฺติ | นานาวณฺณา พหู ทิชา |
โมทนฺติ สห ภริยาหิ | อญฺญมญฺญํ ปกุชฺชิโน |
อเถตฺถ สกุณา สนฺติ | นานาวณฺณา พหู ทิชา |
สพฺเพ มญฺชูนิ กุชฺชึสุ | มุจฺจลินฺทมุภโต สรํ |
อเถตฺถ สกุณา สนฺติ | กรวิกา นาม เต ทิชา |
โมทนฺติ สห ภริยาหิ | อญฺญมญฺญํ ปกุชฺชิโน |
อเถตฺถ สกุณา สนฺติ | กรวิกา นาม เต ทิชา |
สพฺเพ มญฺชูนิ กุชฺชนฺติ | มุจฺจลินฺทมุภโต สรํ |
เอเณยฺยา ปสตากิณฺณํ | นาคสํฆนิเสวิตํ |
นานาลตาหิ สญฺฉนฺนํ | กทฺทลีมิคเสวิตํ |
อเถตฺถ สามา พหุโก | นิวาโร วรโก พหู |
สาลี อกฏฺฐปาโก จ | อุจฺฉุ ตตฺถ อนปฺปโก |
อยํ เอกปที เอติ | อุชุํ คจฺฉติ อสฺสมํ |
ขุทฺทํ ปิปาสํ อรตึ | ตตฺถ ปตฺโต น วินฺทติ |
ยตฺถ เวสฺสนฺตโร ราชา | สห ปุตฺเตหิ สมฺมติ |
ธาเรนฺโต พฺราหฺมณวณฺณํ | อาสทญฺจ มสญฺชฏํ |
จมฺมวาสี ฉมา เสติ | ชาตเวทํ นมสฺสตีติ |
ขึ้น (๕) พฺรเหฺม ดูกรทชีชาติทิชงค์เชื้อมหาศาล เอตฺถ พฺรวหาเน ในห้องหิมพานต์ภูมิ์พนัศวิสัยสุดที่จะรำพรรณ พวกคณานิกรสัตว์ทั้งหลายนั้นอนันต์อเนกนับกว่าหมื่นแสน ย่อมอาศรัยในด้าวแดนดงกันดาร ไพรพฤกษาสารสโมสร สรรพจัตุบทนิกรกับทวิบาท เปนต้นว่าสัตว์สุรสีหชาติสี่จำพวกพาลผรุสร้ายราวี หนึ่งนามชื่อติณราชสีห์เสพซึ่งเส้นหญ้าเปนอาหาร หนึ่งชื่อว่ากาฬสิงหแลบัณฑุสุระมฤคินทร์ เสพซึ่งมังสะนิกรกินเปนภักษา สามราชสีห์มีสรีรกายาพยพอย่างโคชนพิกลหลากๆ กัน พรรณที่หม่นมัวเปนมันหมึกมืดดำสำลานเหลืองแลประหลาด หนึ่งนามไกรสรสีหราชฤทธิเริงแรง ปลายหางแลเท้าปากเปนสีแดงดุจย้อมครั่ง พรรณที่อื่นเอี่ยมดังสีสังข์ในเศวตวิสุทธิสดสอ้าน สามลายวิไลยผ่านกลางพื้นปฤษฎางคแดงดังชุบชาด อันนายช่างชาญฉลาดลากลวดลงเส้นพู่กันเขียน เบื้องอุรุนั้นเปนรอยเวียนวงทักษิณาวัฏ เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตตกัมพล ย่อมสถิตในคูหาเหมหิรญไพโรจน์รัตน์ผลึกเลื่อมมโนศิลาลาย ครั้นแสงพระสุริยบดบ่ายสนธยาบาท ก็ตื่นจากไกรสรไสยาศน์เยี่ยมออกมา จากถ้ำแก้วกนกรัตนคูหาห้องรโหฐาน เหยียบยืนพื้นประพาฬพรรณประไพแผ่นผลึกเลิศศิลาทอง แล้วเหยียดหยัดสลัดลองไขซึ่งลมฆาน ให้สุรศัพทสะท้านสะเทือนดังเสียงฟ้า วิ่งฉวัดเฉวียนไปมาด้วยสามารถ โผนเผ่นทยานผาดแผดเสียง พวกพยัคฆ์ก็หมอบเมียงเขม้นหมายหมู่มฤคคำรามรนแล้วเร่ร้อง อัศวมุขีก็คะนองพาคณาเที่ยวในเถื่อนทาง หตฺถิโย ฝูงช้างก็ชักโขลงคละคล้ายคล่ำเคลื่อนคลา ขึ้นจากท่าแลลงธาร ทุกแห่งหุบห้วยลหานเที่ยวหากิน มีหัศดินทร์อรรคอำนวยวงศ์ ทรงศุภลักษณพิเศษสารสิบตระกูลเกิดกับป่า ทั้งพวกพรรณหมู่ม้ามิ่งมงคลลักษณหลายอย่าง เขียวขาวด่างดำแดงดูอดิเรกร้องหฤหรรษ์ หมู่ทรายก็ส่งเสียงกระสันแซ่เซ็งประสาน ฟานฝูงคณาเนื้อนิกรกวางดงดูนี้แดงดาษ หมู่ละมั่งระมาดระมัดกาย ชะมดฉมันหมายเม่นหมีหมูหมู่กระทิงเถื่อนโคถึกเที่ยวทูรสถาน กาษรกำเหลาะลานก็ลับเขาเข้าเคียงคู่ กระจงจามรีรู้ระวังขนมิให้ขาดระคาย ตุลฺลียา นลสนฺนิภา กะรอกตุ่นกะแตต่ายก็ไต่เต้น เหล่าลิ่นแลเหี้ยเหนก็ระเหหันหาภักษา พวกพรรณเยียงผาก็ผาดผันเผ่นโผน มกฺกฏา ฝูงพานรกระโจมโจน ทยานยุดโยนโยกยะยวบไม้ หมู่ค่างบ่างชนีไห้คละโหยหวล เสียงโขมดนางไม้เล่าก็คร่ำครวญคระครึมคราม ปางเมื่อยามย่างเข้าสายัณห์ย่ำยอแสงสหัสภาณุมาศ ได้ฟังแล้วนิก็วาบหวาดวังเวงวิเวกวนาสัณฑ์ เสียวสะท้านสะทึกพรั่นเย็นระย่อยะเยือกสยดสยอง หริ่งๆ เรไรร้องทุกราวรุกข์ระงมป่า แจ้วๆ จักกระจั่นจ้าประจำดง นานาทิชคณากิณฺณํ พวกพรรณพิหคหงส์ก็เหินหันเข้าหาคู่ คณานางนกแนบในรังเรียง หมู่มยูรก็ส่งเสียงกระสันเมฆมาตหมายเปนภักษา ปภสฺสรา จ กุกฺกุตฺถกา สกุณกดไก่แก้วกะหรอดกะเรียนร้องระวังไพร จากพรากเพรียกจับพฤกษาไสวแสวงเหยื่อมาเผื่อเพื่อน สัตระวาวายุภักษ์เลื่อนชลอลม เหล่ากระลิงโกลิลากระลุมพูก็โผผิน พวกพรรณประหิตหัศดินแลดอกบัว กระตั้วกระเต็นเต้นเบญจวรรณา โนรีสาลิกาตระเวนวัน พรรณขาบคุ่มกระทาขันกางเขนเขา เหล่าล้วนเลิศด้วยขนเขียวขาวด่างดำแดงดูประหลาด อณฺฑชา ทั่วทิชคณานั้นมีชาติเกิดแต่ฟองฟัก เสียงสุโนคเสนาะนักน่าใคร่ฟัง ย่อมอาศรัยทำรวงรังอยู่โดยรอบขอบจตุรสระกระแสสินธุ์ ชื่อมุจจลินทสโรชโบษขรณี ดูกรทชีอันหนทางที่จะเดินนั้นโตรกตรง จงอุส่าห์ไปอย่ากลัวอด ด้วยป่าอ้อยเอมโอชารสนั้นมีเรียดริมมรรคา เวสฺสนฺตโร ราชา อันว่าสมเด็จบรมหน่อนรารัตนธิเบศร์เวสสันดร กับกระษัตริย์ทั้งสามสโมสรทรงพรต เปนบรมดาบสราชฤษี อาสทญฺจ มสญฺชฏํ ทรงกระหมวดมุ่นพระโมลีเลิศอลังการ เฉวียงเวียดบวรสังวาลวิจิตรจัมมาภรณ์ ฉมา เสติ กระทำพื้นพสุธาธรเปนแท่นที่พระผธมทรง น้อมพระองค์ลงถวายกรกองกูณฑ์พิธีกระทำนมัสการ ยตฺถ ปเทเส สำเร็จพระอิริยาบถสำราญในสถานที่ใด เชิญทชีทิชงค์จงไปสู่สถานที่นั้นเถิด
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
อิทํ สุตฺวา พฺรหฺมพนฺธุ | อิสึ กตฺวา ปทกฺขิณํ |
อุทคฺคจิตฺโต ปกฺกามิ | ยตฺถ เวสฺสนฺตโร อหูติ |
เดิน (๖) ยํ อตฺถํ อันว่าอรรถอันใดยังมิได้ปรากฎ ในจุณณิยบทภายหลัง ตํ อตฺถํ สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธบรมนารถนราศภศาสดาจารย์ เมื่อจะโปรดประทานอรรถอันนั้นให้แจ้ง จึงตรัสว่า ขึ้น ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสังวรวินัย ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏโดยพิเศษ พฺราหฺมพนฺธุ อันว่าเถ้าทิเชตชาติทิชงค์พงศ์เผ่าภารัทวาชโคตรคนภิกขาจาร สุตฺวา ครั้นได้สดับสารพระนักสิทธิ์สิ้นสงสัยโสมนัศปราโมทย์ น้อมเศียรศิโรตม์ด้วยมโนภิรมย์ระรื่นเริง รับคำพระอจุตฤๅษีซร้องสาธุการสรรเสิญ ปทกฺขิณํ กตฺวา เถ้าก็ด้อมเดินกระทำประทักษิณสิ้นตติยวารกำหนด นมัสการประนตประนมลา บ่ายภิมุขมุ่งพฤกษาสำเหนียกเนินไศลไปโดยอุดรทิศสถลมารคระมัดกาย ผู้เดียวเดินสันโดษดายในแดนดงพงพนัศแสนกันดาร เห็นแต่ไพรพฤกษาสารกับเสือสีห์สรรพสัตว์นิกรอันร้ายกาจ เวสฺสนฺตโร อันว่าพระพงศ์ภาณุมาศมิ่งมไหสวรรย์พระเวสสันดรราชฤๅษี อหุ เมาะ อโหสิ แลมี ยตฺถ ปเทเส ในอมรินทรสุราศรม บรมนิวาศสถานเทวนฤมิตร สถิตย์ประเทศที่ใด ปกฺกามิ พราหมณ์ก็รีบร้อนสัญจรไปด้วยใจหวัง ตํ ปเทสํ สู่ประเทศที่นั้นแล ฯ
มหาวนวณฺณนา นิฏฺฐิตา
ประดับด้วยพระคาถา ๘๐ พระคาถา
----------------------------