กัณฑ์วนประเวศ

ความสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

----------------------------

เต ปฏิปเถ อาคจฺฉนฺเต มนุสฺเส ทิสฺวา กุหึ วงฺกฏปพฺพโตติ ปุจฺฉนฺติ. มนุสฺสา ทูเรติ วทนฺติ

ยทิ เกจิ มนุโช เอติ อนุมคฺเค ปฏีปเถ
มคฺคนฺเต ปฏิปุจฺฉาม กุหึ วงฺกฏปพฺพโตติ
เต ตตฺถ อเมฺห ปสฺสิตฺวา กลูนํ ปริเทวยุํ
ทุกฺขนฺเต ปฏิเวเทนฺติ ทูเร วงฺกฏปพฺพโตติ

(๑) ขึ้น เต ขตฺติยา อันว่ากระษัตรากระษัตรีทั้งสี่พระองค์ คือสมเด็จพระบรมขัตติยพงศ์พิชิตโมลีศรีสุริยวเรศเวสสันดร เสด็จนิราศพระนครดูอนาถ ทรงอุ้มพระชาลีแล้วลีลาศโดยมรรคมรรคา ส่วนสมเด็จพระยอดกันยาเยาวมาลย์มาศมัทรี พระกรอุ้มนางแก้วกนิษฐนารีราชธิดา สี่กระษัตริย์เสด็จลีลาล่วงลำเนาพนัศพนาเวศ มิเคยทุเรศแรมร้างพระภารา มนุสฺเส ทิสฺวา ท้าวเธอก็ทอดทฤษฎีโดยลำดับสถลวิถีแถวเถื่อนทุเรศประเทศทางหลวง เห็นนรานิกรทั้งปวงเดินดั้นดัดพนัศแดนดงมาตรงพระภักตร์ จึงมีสุนทรวาทประภาษทักถามยุบลเหตุ วงฺกฏปพฺพโต อันว่าขุนเขาศิขเรศคิริยวงกฎ ยังรู้แน่กำหนดอยู่ทางใด มรรคายังใกล้ไกลจงแจ้งอรรถ ฝูงชนจึงทูลแก่บรมกระษัตริย์สีวิราชวงศ์ ว่าหนทางที่จะดั้นดงไปวงกฎ ทูเร ถ้าจะกำหนดระยะไพรไกลกันดารนัก ขอพระจอมจักรจงทราบพระญาณ กาลบัดนี้เถิด

ยทิ ปสฺสนฺติ ปวเน ทารกา ผลิเต ทุเม
เตสํ ผลานํ เหตุมฺหิ อุปโรเทนฺติ ทารกา
โรทฺนเต ทารเก ทิสฺวา ขุพฺภิตา วิปุลา ทุมา
สยเมโวนมิตฺวาน อุปคจฺฉนฺติ ทารเก
อิทํ อจฺเฉรกํ ทิสฺวา อพฺภูตํ โลมหํสนํ
สาธุการํ ปวตฺเตสิ มทฺที สพฺพงคโสภณา
อจฺเฉรํ วต โลกสฺมึ อพฺภูตํ โลมหํสนํ
เวสฺสนฺตรสฺส เตเชน สยเมโวนตา ทุมาติ
สํขิปึสุ ปถํ ยกฺขา อนุกมฺปาย ทารเก
นิกฺขนฺตทิวเสเนว เจตรฏฺฐมุปาคมุนฺติ
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห
เต คนฺตฺวา ทีฆมทฺธานํ เจตรฏฐมุปาคมุํ
อิทฺธํ ผีตํ ชนปทํ พหุมํสํ สุโรทกนฺติ

เดิน (๒) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสังวร สมเด็จพระเวสสันดรอดุลดวงกระษัตริย์ศรีสุริยวงศ์ ทั้งเอกองค์อรรคนารีศรีสุนทรเทพกันยา กับสองดรุณราชกุมาราร่วมชีวาตม์ สี่กระษัตริย์เสด็จยุรยาตรเมื่อยามไร้ มิควรที่ท้าวเธอจะตกเข็ญใจจำจากพรากพลัดพระขัตติยวรราชวงศ์ มาเดินดัดพนัศแดนดงดูอนาถนักน่าเวทนา ขึ้น เต ทารกา ควรที่จะสงสารด้วยสองเยาวยุพาผู้เพื่อนยาก เจ้ามิเคยเสวยทุกขลำบากมาบุกไพร น้ำพระอัสสุชลไนยไหลนองพระเนตร ทรงพระโศกาดุรเทวศบ่วายครวญ สมเด็จพระบิดาก็ชี้ชวนให้เชยชมพนมพนัศแนวไม้ หวังจะให้ค่อยบันเทาพระไทยที่ทุกข์ถึงพระนคร เต ทุเม ทิสฺวา สองเยาวราชได้เห็นก็หายอาวรณ์วายเทวศ พระพี่น้องก็ชวนกันทอดพระเนตรนานาพรรณหมู่ไม้ บ้างผลิดอกออกใบแบ่งบังผกามาศ บ้างทรงผลดกดาษดูตระการตา ที่สุกห่ามย้อยระย้าเห็นน่าชม ควรจะสารภิรมย์ระเริงราชหฤทัย อุปโรเทนฺติ สองดรุณดไนยก็ทรงพระกรรแสงสอื้นอ้อนวอนทูลพระบิตุเรศ ว่าข้าแต่พระจอมปิ่นปกเกษของลูกเอ๋ย ลูกนี้จะใคร่ชมเชยผลรุกขชาติ บ้างงามๆ ประหลาดต่างๆ กัน พระคุณของลูกเอ๋ย จงทรงปลิดมาป้อนปันแก้วกัณหา จงเด็ดพวงผลพฤกษาให้ชาลี ด้วยเดชะพระสมดึงษบารมี ปรมัตถมิ่งโมลีโลกุดร แห่งสมเด็จบรมหน่อเนื้อเชื้อชินวรวิสุทธิวงศ์ ก็บันดาลรุกขชาติให้น้อมกิ่งลงพอถึงพระหัตถ์ สมเด็จบรมกระษัตริย์ก็ทรงเลือกผลพฤกษาที่สุกงอมหอมตระการ เก็บพระราชทานให้สองดรุณเรศ ส่วนสมเด็จพระมัทรีได้ทอดพระเนตรเห็นมหัศจรรย์ โลมชาติมาชูชันหวั่นพระเกษ ทูลสรรเสิญพระกฤษดาภินิหารมหิศวเรศราชสามี เดิน แล้วสี่กระษัตริย์เสด็จจรลีล่วงมรรคาไลยลีลาศ แต่จากพระนครสีวิราฐเวลาเช้า พอบรรลุถึงเขาสุวรรณคิรี สิ้นสถลวิถีห้าโยชน์โดยคณนา ก็ถึงโกนติมารานทีธาร กำหนดมรรคากันดารได้ห้าโยชน์ ถึงมารัญชคิรีรัตนเรืองโรจน์ระยะไพร ประมาณมรรคาไลยก็ห้าโยชน์เท่ากัน จึงถึงบ้านนาฬิทัณฑชนบท ก็ห้าโยชน์กำหนดไม่ย่อหย่อน ตั้งแต่นั้นจึงถึงพระนครเจตราฐ กำหนดวิถีสถลมาศได้สิบโยชน์ระยะไพร ฝ่ายเทพไทยผู้ทรงมหิทธิศักดา อันสิงสู่อยู่ภูผาพุ่มไม้ทุกตำแหน่งในวนาเวศ ช่วยย่นมรรควิถีทุเรศระหว่างดง ท้าวเธอเสด็จทั้งสี่องค์ในวันเดียวมิทันพลบ พอพระสุริยจะเลี้ยวลบลับเหลี่ยมพระเมรุมาศ ตั้งแต่ยามเสด็จยุรยาตรจากนิเวศน์วัง ตึสโยชนมคฺคํ สิ้นสามสิบโยชน์มรรคากันดาร ก็ลุถึงศาลานอกพระทวารเมืองเจตราฐ ท้าวเธอก็พาพระเยาวมาลย์มาศมัทรี พระกุมารกุมารีเข้าอาศรัย ค่อยบันเทาพระไทยที่เมื่อยล้า ขึ้น มทฺที สพฺพงฺคโสภณา อันว่าพระมัทรีผู้ทรงศรีสุนทรวิลาศ สมฺพาหิตฺวา นวดฟั้นพระบาทพระภัศดา แล้วเสด็จสถิตย์อยู่นอกศาลาให้ปรากฎ หวังจะให้ชาวเจตราฐรู้กำหนดว่าบรมหน่อนเรศร์เวสสันดร มาสู่พระนครนี้แล้วแล

ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห
เจตโย ปริกรึสุ ทิสฺวา ลกฺขณมาคตํ
สุขุมาลี อยํ อยฺยา ปตฺติกา ปริธาวติ
วยฺหาหิ ปริยายิตฺวา สิวิกาย รเถน จ
สาชฺช มทฺที อรญฺญสฺมึ ปตฺติกา ปริธาวตีติ
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห
ตํ ทิสฺวา เจตปาโมกฺขา โรทมานา อุปาคมุํ
กจฺจิ นุ เทว กุสลํ กจฺจิ เทว อนามยํ
กจฺจิ ปิตา อโรคา เต สิวีนญฺจ อนามยํ
โก เต พลํ มหาราช โก นุ เต รฏฺฐมณฺฑลํ
อนสฺสโก อรถโก ทีฆมทฺธานมาคโต
กจฺจามิตฺเตหิ ปกฺกโต อนุปฺปตฺโตสิมํ ทิสนฺติ
กุสลญฺเจว เม สมฺมา อโถ สมฺมา อนามยํ
อโถ ปิตา อโรคา เม สิวีนญฺจ อนามยํ
อหํ หิ กุญฺชรํ ทชฺชํ อีสาทนฺตํ อุรูฬฺหวํ
เขตฺตญฺญุํ สพฺพยุทฺธานํ สพฺพเสตํ คชุตฺตมํ
ปณฺฑุกมฺพลสญฺฉนฺนํ ปภินฺนํ สตฺตุมทฺทนํ
ทนฺตึ สวาลวีชนึ เสตํ เกลาสสาทิสํ
สเสตจฺฉตฺตํ สุปตฺเถยฺยํ สาถพฺพนํ สหตฺถิปํ
อคฺคยานํ ราชวาหึ พฺราหฺมณานํ อทา ทานํ
ตสฺมึ เม สิวิโย กุทฺธา ปิตา จุปหโต มโน
อวรุทฺธติ มํ ราชา วงกํ คจฺฉามิ ปพฺพตํ
โอกาสํ สมฺมา ชานาถ วเน ยตฺถ วเสมเสติ
สฺวาคตนฺเต มหาราช อโถ เต อทุราคตํ
อิสฺสโรสิ อนุปฺปตฺโต ยํ อิธตฺถิ ปเวทย
สากํ ภึสํ มธุ มํสํ สุทฺธสาลีนโมทนํ
ปริภุญฺช มหาราช ปาหุโน โนสิ อาคโตติ
ปฏิคฺคหิตํ ยํ ทินฺนํ สพฺพสฺส อคฺฆิยํ กตํ
อวรุทฺธติ มํ ราชา วงกํ คจฺฉามิ ปพฺพตํ
โอกาสํ สมฺมา ชานาถ วเน ยตฺถ วเสมเสติ
อิเธว ตาว อจฺฉสฺสุ เจตรฏฺเฐ รเถสภ
ยาว เจตา คมิสฺสนฺติ รญฺโญ สนฺติกยาจิตุํ
นิชฺฌาเปตุํ มหาราชํ สิวีนํ รฏฐวฑฺฒนํ
ตํ ตํ เจตา ปุรกฺขิตฺวา ปีติตา ลทฺธปจฺจยา
ปริวาเรตฺวาน คจฺฉนฺติ เอวํ ชานาหิ ขตฺติยาติ
มา โว รุจิตฺถ คมนํ รญฺโญ สนฺติกยาจิตุํ
นิชฺฌาเปตุํ มหาราชํ ราชา ตตฺถ น อิสฺสโร
อจฺจุคฺคตา หิ สิวิโย พลคฺคา เนคยา จ เย
เต ปธํเสตุมิจฺฉนฺติ ราชานํ มม การณาติ
สเจ เอสา ปวตฺเตตฺถ รฏฐสฺมึ รฏฐวฑฺฒน
อิเธว รชฺชํ กาเรหิ เจเตหิ ปริวาริโต
อิทฺธํ ผีตญฺจิทํ รฏฐํ อิทฺโธ ชนปโท มหา
มตึ กโรหิ ตฺวํ เทว รชฺชสฺสมนุสาสิตุนฺติ
น เม ฉนฺโท มติ อตฺถิ รชฺชสฺสมนุสาสิตุํ
ปพฺพาชิตสฺส รฏฺฐสฺมา เจตปุตฺตา สุณาถ เม
อตุฏฐา สิวิโย อสฺสุ พลคฺคา เนคมา จ เย
ปพฺพาชิตสฺส รฏฺฐสฺมา เจตา รชฺเชภิเสจยุํ
อสมฺโมทิยํปิ โว อสฺส อจฺจนฺตํ มม การณา
สิวีหิ ภณฺฑนญฺจาปิ วิคฺคโห เม น รุจฺจติ
อถสฺส ภณฺฑนํ โฆรํ สมฺปหาโร อนปฺปโก
เอกสฺส การณา มยฺหํ หึเสยฺย พหุโก ชโน
ปฏิคฺคหิตํ ยํ ทินฺนํ สพฺพสฺส อคฺฆิยํ กตํ
อวรุทฺธสิ มํ ราชา วงกํ คจฺฉามิ ปพฺพตํ
โอกาสํ สมฺมา ชานาถ วเน ยตฺถ วเสมเสติ

เดิน (๓) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสมาธิพรหมจรรยา เจตโย อันว่าชนชาวพระภาราเจตราฐ เที่ยวสัญจรลิลาศตามวิถี ครั้นเห็นพระมัทรีก็อัศจรรย์ อยํ อยฺยา พระแม่เจ้านี้สิทรงสุพรรณวิลาศเลิศลักษณนารี เออก็เหตุไฉนจึงมาเสด็จจรลีด้วยพระบาทดูมิบังควร ฝูงประชาชนจึงชวนกันแวดล้อมแล้วทูลถาม พระมัทรีก็บอกความให้ทราบสาร ฝูงชนได้ทราบในอาการพระเกษกระษัตริย์ ต่างคนก็ชวนกันโทมนัสพิไรร่ำ ขึ้น ว่าโอ้ชรอยว่ากรรมมาตามทันพระแม่เจ้า ปุพฺเพ แต่ปางก่อนพระแม่เคยเสด็จเนานิเวศน์วัง จะเสด็จแห่งใดก็ดูสะพรั่งสะพรึบพร้อม หมู่พระสนมนี้ก็ห้อมล้อมแลเปนขนัด ย่อมทรงสุวรรณรัตนสีวิกามาศราชรถทอง ม่านปิดป้องกำบังองค์ บัดนี้พระแม่มาเดินดงด้วยเบื้องบาทบ่ควรเปน ควรแลหรือพระแม่จึงมาขุกแค้นเคืองเข็ญถึงเพียงนี้ เดิน ฝูงชนจึงนำคดีไปทูลเหตุ แก่พระจอมปิ่นปกเกษเจตราฐ สฏฺฐีสหสฺสา อันว่าบรมบาททั้งหกหมื่นครั้นได้สดับสาร ว่าพระจอมภพพสุธาธารเวสสันดร เสด็จนิราศพระนครอนาถา โรทมานา ต่างองค์ทรงพระโศกาแล้วก็ลีลาศ มาสู่สำนักแล้วอภิวาทรำพรรณทูล ว่า ขึ้น เทว ข้าแต่พระเกษตระกูลแก่นกระษัตริย์ กุสลํ อันว่าสิ่งสรรพพิบัติบ่บีฑา อนามยํ พระร่มเกล้ายังค่อยครองพระภาราเปนบรมศุข สิ่งสรรพทุกข์บ่ยายี อนึ่งทั้งองค์สมเด็จพระชนนีชนกนาถ ยังค่อยเสวยศุขนิราศโรคันตราย ทั้งประชาชนชาวสีพิราฐทั้งหลายไม่เดือดร้อน ยังค่อยเปนศุขสถาวรอยู่หรือพระพุทธิเจ้าข้า นุ ดังข้าพระองค์มาสงกากินแหนงในยุบลเหตุ ดังฤาพระจอมปิ่นปกเกษมาเดินไพร นิราศร้างไร้พระภารา ปราศจากจตุรงคคณานิกรราชรถ ม้ามิ่งมงคลคชที่เคยทรง มาดำเนินแต่สี่พระองค์ดูอนาถ กจฺจามิตฺเตหิ ปกฺกโต ฤๅว่ามีหมู่อรินราชมาราวี เสียพระนครสีพีพินาศแล้ว ทูลกระหม่อมแก้วจึงจำจากพรากพลัดพระขัตติยราชวงศ์ มาบุกป่าฝ่าพงภูลเทวศ จนมาถึงนคเรศข้าพระบาท ขอพระองค์จงตรัสบอกทุกข์ที่ท้าวเธอบำราศให้ทราบเกล้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงไป ในกาลบัดนี้เถิด

(๔) เดิน เวสฺสนฺตโร ราชา อันว่าสมเด็จพระเวสสันดรได้ทรงสดับสาร จึงมีพระราชบรรหารเฉลยเหตุ ว่าดูกรพระสหายผู้ผ่านนคเรศเจตราฐ เราขอบพระไทยที่ท่านไต่ถามถึงประยูรญาติราชบิตุรงค์ ก็ค่อยทรงศุขสถาพร ทั้งประชาชนชาวสีวิราฐไม่เดือดร้อนระงับภัย ซึ่งเรานิราศเวียงไชยมาสู่ป่า กุญฺชรํ ทชฺชํ เพราะว่าเราทรงพระราชศรัทธามาเสียสละ พระยาเสวตกุญชรพาหนะพระที่นั่งต้น อันเปนศรีสวัสดิมงคลคู่พระนคร แก่พราหมณทิชากรชาวกลิงคราฐ ชาวพระนครเขามิยอมอนุญาตชวนกันกริ้วโกรธ ยกอธิกรณโทษทูลพระบิตุเรศ ท้าวเธอจึงสั่งให้เนรเทศเราจากพระภารา ด้วยว่าเราทำผิดจากขัตติยราชจรรยาอย่างบุราณ ขึ้น พระพุทธเจ้าข้า พระองค์เสด็จเดินพนัศกันดารดูลำบาก เปนกระษัตริย์มาตกยากมิควรเคย ขอเชิญเสด็จหยุดพักพอเสวยสุทธาโภชน์ สิ่งสรรพรศเอมโอชกระยาหาร ให้บันเทาที่ทุกขทรมานลำบากองค์ เดิน จึงตรัสว่าสิ่งซึ่งท่านจำนงนำมาพระราชทานให้ แก่เราผู้เข็ญใจอันมาถึง ก็ขอบพระไทยที่ท่านยังคำนึงนับว่าญาติ พระคุณนั้นยิ่งกว่าพื้นพสุธาอากาศไม่เทียมเท่า แต่สมเด็จพระบิตุเรศเจ้าทรงพระโกรธ ขับเราผู้ต้องโทษจากพระนคร แล้วตัวเราก็จะรีบบทจรไปวงกฎ ท่านช่วยแนะแนวตำแหน่งพนัศบรรพตให้เราจร ขึ้น พระพุทธเจ้าข้า พระองค์อย่าได้ทรงอาวรณ์วิตกด้วยความเข็ญ โทษเท่านั้นพิเคราะห์เห็นไม่เปนไร ข้าพระบาทจะชวนกันไปทูลขอโทษ เห็นว่าท้าวเธอก็จะทรงพระกรุณาโปรดให้คืนครอง จึงจะเชิญเสด็จลอองธุลีพระบาท คืนพระนครสีวิราฐด้วยดิเรกยศ มิให้ท้าวเธออัปยศแก่ชาวเมือง เดิน จึงตรัสว่าประชาชนเขาแค้นเคืองทูลให้เนรเทศ เรานิราศนคเรศมาแรมไพร พระบิดาก็มิได้เปนใหญ่แต่พระองค์ ย่อมประพฤติโดยจำนงชาวสีวิราฐ ถึงว่าท่านจะไปทูลให้ท้าวเธออนุญาตให้คืนกรุง ชาวเมืองเขาก็จะหมายมุ่งประทุษฐจิตร ในสมเด็จบรมบพิตรผู้ร่มเกล้า เพราะเหตุด้วยรับเราคืนนคร ขึ้น พระพุทธเจ้าข้า เมื่อมิพอพระไทยเสด็จคืนพระพิไชยเชตุดรก็ตามแต่พระอัธยา จะขอเชิญเสด็จขึ้นผ่านพระภาราเจตราฐ เปนจอมมิ่งมงกุฎมาตุลนคร เปนปิ่นปกประชากรเกษมศุข มิให้ท้าวเธอเสด็จไปทนทุกข์ที่กลางดง อันข้าพระบาทจะขอรองบทบงสุ์บรมกระษัตริย์ เดิน ครั้นพระองค์ได้ทรงฟังจึงตรัสบัญชาตอบ ว่าซึ่งท่านจะมามอบเมืองเจตราฐให้แก่เราในครั้งนี้ เราก็มิได้มีพระไทยยินดีที่จะเสวยศิริสมบัติ ด้วยว่าชาวเชตุดรเขาแค้นขัดให้เนรเทศ ท่านจะมามอบนคเรศให้ครอบครอง พระนครทั้งสองสิเปนราชสัมพันธมิตร์ ก็จะเกิดวิกลวิปริตร้าวฉาน จากจารีตบุราณแต่ปางก่อน จะไม่สมัคสโมสรเสียประเพณี จะเกิดมหากลหโกลีเดือดร้อน ทุกไพร่ฟ้าประชากรทั้งสองฝ่าย ต่างๆ จะมุ่งหมายประทุษฐกัน ก็จะเกิดมหาพิบัติภยันต์ไม่มีศุข เหตุด้วยเราผู้เดียวจะมาทำทุกข์ให้ท่านทั้งปวง ปฏิคฺคหิตํ ยํ ทินฺนํ สมบัติอันใดในเมืองหลวงเจตราฐ ซึ่งท่านทั้งหลายมาอนุญาตยกให้ เราขอคืนถวายไว้เสวยศุข จงท่านอยู่นฤทุกข์อย่ามีภัย อันตัวเรานี้จะลาไปสู่วงกฎ จะทรงประพฤติพรหมพรตอิสีเวศ เชิญท่านช่วยแนะแนววิถีทุเรศให้เราจร ไปยังวงกฎศิงขรโน้นเถิด

เดิน (๕) เจตราชาโน อันว่าพระยาเจตราชทั้งหลาย ทูลเบี่ยงบ่ายจะเชิญเสด็จไว้ ครั้นท้าวเธอมิตามพระไทยก็สุดคิด จึงทูลเชิญเสด็จบรมบพิตรให้ประเวศพระนคร หวังจะให้เสวยศุขไสยากรเกษมอาศน์ ต่อเวลาพระสุริยวโรภาษจึงค่อยครรไล ท้าวเธอก็ถ่อมพระองค์ว่าเข็ญใจไร้ศักดิ์ มิได้เสด็จเข้าไปสำนักในพระภารา สาลํ อลงฺกริตฺวา พระยาเจตราชจึงจัดแจงตกแต่งศาลาที่สถิตย์ ผูกม่านปิดเวียนวง แล้วแต่งที่ศิริสยนผจงพิจิตรอาศน์ ให้ท้าวเธอไสยาศน์ในราตรี พร้อมด้วยดุริยางค์เภรีมโหรธึกแตรสังข์ประโคมดีดประจำยาม อัจกลับประทีปตามแสงสว่าง บรรดากระษัตริย์เสนางคนิกรจัตุรงค์ ห้อมล้อมพระองค์อยู่แออัด ตราบเท่าพระสุริยจำรัสรุ่งวโรภาษ จึงเชิญเสด็จบรมนารถให้สรงสุคนธ์ธาร แล้วถวายพระกระยาหารรศโอชา ให้ท้าวเธอเสวยโภชนาสำราญพระไทย แล้วเชิญเสด็จครรไลล่วงลีลาศ จากพระนครเจตราฐด้วยดิเรกยศ โดยลำดับสถลวิถีกำหนดสิบห้าโยชน์ระยะดง พอบรรลุถึงประเทศทางตรงประตูป่า เมื่อจะทูลแนะแนววนาศิขรเขตประเทศหิมพานต์ ก็กล่าวเปนสารพระคาถา

ตคฺฆ เต มยมกฺขาม ยถาปิ กุสลา ตถา
ราชิสิ ยตฺถ สมฺมนฺติ อาหุตคฺคี สมาหิตา
เอส เสโล มหาราช ปพฺพโต คนฺธมาทโน
ยตฺถ ตฺวํ ลห ปุตฺเตหิ สห ภริยาย อจฺฉสีติ
ตํ เจตา อนุสาสึสุ อสฺสุเนตฺตา รุทมฺมุขา
อิโต คจฺฉ มหาราช อุชุํ เยนุตฺตรา มุโข
อถ ทกฺขสิ ภทฺทนฺเต วิปุลํ นาม ปพฺพตํ
นานา ทุมคณากิณฺณํ สีตจฺฉายํ มโนรมํ
ตมติกฺกมฺม ภทฺทนฺเต อถ ทกฺขสิ อาปกํ
นทึ เกตุมตึ นาม คมฺภีรํ คิริคพฺภชํ
ปุถุโลมจฺฉอากิณฺณํ สุปติตฺถํ มโหทกํ
ตตฺถ นฺหาตฺวา ปิวิตฺวา จ อสฺสาเสตฺวา สปุตฺตเก
อถ ทกฺขสิ ภทฺทนฺเต นิโครธํ มธุวิปผลํ
รมฺมเก สิขเร ชาตํ สีตจฺฉายํ มโนรมํ
อถ ทกฺขสิ ภทฺทนฺเต นาฬิกนฺนาม ปพฺพตํ
นานาทิชคณากิณฺณํ เสลํ กึปุริสายุตํ
ตสฺส อุตฺตรปุพฺเพน มุจฺจลินฺโท นาม โส สโร
ปุณฺฑรีเกหิ สญฺฉนฺโน เสตโสคนฺธิเยหิ จ
โส วนํ เมฆสงกาสํ ธุวํ หริตสทฺทลํ
สิโห วามิสเปกฺขีว วนสณฺฑํ วิคาหิย
ปุปฺผรุกฺเขหิ สญฺฉนฺนํ ผลรุกฺเขหิ จูภยํ
ตตฺถ วินฺทุสฺสรา วคฺคู นานาวณฺณา พหู ทิชา
กุชฺชนฺตมุปกุชฺชนฺติ อุตุสํปุปฺผิเต ทุเม
คนฺตฺวา คิริวิทุคฺคานํ นทีนํ ปภวานิ จ
โส ทกฺขสิ โปกฺขรณึ กรญฺชกกุธายุตํ
ปุถุโลมจฺฉอากิณฺณํ สุปติตฺถํ มโหทกํ
สมญฺจ จตุรสฺสญฺจ สาธุํ อปฺปฏิคนฺธิยํ
ตสฺสา อุตฺตรปุพฺเพน ปณฺณสาลํ อมาปย
ปณฺณสาลํ อมาเปตฺวา อุญฺฉาจริยาย อีหถาติ

ขึ้น (๖) ราชิสิ ข้าแต่สมเด็จพระยอดฟ้าสากลเกษกระษัตริย์ อันจะทรงปริวัติอิสีเวศ ข้าพระบาทจะแนะแนวพนาดรทุเรศระยะไพร เอส เมาะ เอโส ปพฺพโต นั้นคือขุนเขาใหญ่เสมอเมฆ วิเวกด้วยหว่างเวิ้งเชิงช่องเปนปล่องเปลว ลหานเหวหุบห้วยตรอกตรวยโตรก ชโงกง้ำถ้ำชวากวุ้งหว่างภูผา เสโล ล้วนศิลาเลื่อมลายเปนหลายสี บ้างก็ขาวเขียวขจีดำแดงแสงมอหมึกหม่นหมอกเมฆสลับกัน บ้างก็เปนแสงสีสุวรรณเลื่อมเหลืองเรืองโรจน์ บางแห่งก็เปนแสงวิเชียรช่วงโชติชัชวาล บ้างก็เปนสีรัตนประพาฬไพฑูรย์ปัทมราช กระสายรุ้งพุ่งพาดผสานแสงสุกส่องสว่างฟ้า บ้างเปนสีโมรารายรดับ ดูวะวาบวับจับแสงสุริยวโรภาษ เล่ห์บุคคลเอาแก้วมาดาษระดับไว้ พระพุทธเจ้าข้า โน่นก็พฤกษาสูงไสวแลเปนพุ่มๆ เขียวชอุ่มขจิตรขจี ดูดังเอาฉัตรนิลมณีมากางกั้น แลเปนจังหวะระยะชั้นอยู่เรียงราย รุกขชาติทั้งหลายล้วนทรงผกามาศ ผลดกดาษดูตระการ กอปรด้วยสุคนธชาติอันหอมหวานฟุ้งขจรตระหลบทั้งจังหวัดพนัศพนาเวศ ทรงสุคนธรศวิเศษสิบประการ จึงเรียกโดยโลกโวหารให้เห็นเหตุ ชื่อว่าขุนศีขเรศคันธมาทน์คิรีรมย์ ย่อมเปนที่ทิพยอุดมพิมานมาศหมู่อมรเทวราชสุราฤทธิพิทยาธรกินรคนธรรพ ถ้าจะนับกว่าหมื่นพันพ้นจะคณนา อุชุํ เยนุตฺตราภิมุโข พระพุทธเจ้าข้า เชิญพระบาทเสด็จลีลาศโดยทิศอุดร ก็จะถึงเขาวิบุลศิงขรคิรีมาศ แล้วจะได้ชมอรัญรุกขชาติอันชื้อชัฎ บ้างก็ทรงสาขาเกี่ยวกระหวัดดูตระการ ยามเมื่อพระพายรำเพยพัดก็ประสานกันเสียดสีเสียงเสนาะก้องทั้งกลางป่า นทึ ทิสฺวา แล้วจะทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำเกตุมดี อันไหลมาแต่ท่อธารคิรีห้วยลหานผา มจฺฉอากิณฺณํ อันอาเกียรณ์ไปด้วยเต่าปลาคละคลาคล่ำ โดดดิ้นดำในนที สุปติตฺถํ มีท่าอันดีที่อันราบ ถึงจะกินอาบก็เกษมสำราญจิตรระรื่นรมย์ นิโครธํ แล้วจะได้ทรงชมมหานิโครธไทรใบชิด รากห้อยย้อยติดกันกับแผ่นศิลา ทรงสาขาเขียวขจี แล้วจะได้ทอดพระเนตรชมซึ่งนาฬีบรรพต ทิชคณากิณฺณํ อันปรากฎไปด้วยปักษาร้องส่งเสียง ทั้งหมู่กินรกินรีเรียงร่ายร้อง ส่งสุรเสียงเสนาะก้องวังเวงไพร ล้วนทรงลักษณวิไลยลอออ่อน บ้างก็รำฟ้อนกระหยับย่างเหยียบบนเนินผา ทั้งหมู่สกุณานิกรก็ร่ำร้อง บ้างจับจ้องจะแจ้วจำนรรจา ตามภาษาประสานเสียง บ้างก็มองเมียงหมายคู่ ทั้งดุเหว่าเค้ากู่เข้าคูขัน บ้างก็หกหันโหนห้อยเห็นแต่ตัว บ้างก็เปนสีหมึกมัวหมอกหม่น บ้างแดงดำขำขนสลับสี ทั้งสัตตวาโนรีร้องรงมดง เหล่าสกุณราชหงส์เห็นวิเศษ หมู่สกุณมยุเรศรำแพนหาง เหล่าคณายางเยื้องย่อง กเรียนร้องก้องกังวานไพร สาลิกาจับไม้แล้วมองเมียง ร้องประกาศเสียงดังเสียงคน กรเวกร้องบินบนพโยมมาศ ดังว่าเสียงพิณพาทย์ชาวสุราลัยลเลิงหลง แล้วจะได้ทรงชมซึ่งสระโบกขรณีน้ำใสสอาด ปทุมุปฺปลสญฺฉนฺนํ อันเดียรดาษด้วยปัญจปทุมชาติบานสลอน ฟุ้งไปด้วยเกสรรศเรณู เหล่าแมลงภู่บินวะว่อน แล้วเสด็จโดยทิศอุดร ก็จะบทจรเข้าสู่ป่าระหงดงใหญ่ไพรพนม ควรที่จะสร้างพระอาศรมในที่นั้น ก็จะเกษมสันต์เปนบรมศุข ปราศจากทุกข์นิราศภัย ในสถานที่นั้นแล ฯ

เดิน (๗) เจตราชาโน อันว่าพระยาเจตราชทั้งหลายทูลถวายมรรคา แล้วจึงเรียกพรานป่าเจตบุตรผรุสทารุณหยาบช้า สั่งให้เปนพนักงานรักษาทวารหิมพานต์ แล้วมีโองการมอบเวรบังคับขาด ถ้าใครแปลกปลาดจงฆ่าเสียให้สิ้นชีพ สั่งแล้วก็รีบไปตามส่งสิ้นหนทางสิบห้าโยชน์ ต่างพระองค์ก็น้อมเศียรศิโรตม์อภิวาท ทูลลาบรมบาทคืนเข้าพระนคร ส่วนสมเด็จพระเวสสันดรบวรราชชินวงศ์ พาขัตติยทั้งสามองค์ล่วงลีลาศ ก็ลุถึงขุนเขาคันธมาทน์คิรีรมย์ จึงเสด็จเข้าหยุดพักบรรธมระงับร้อน แล้วท้าวเธอก็บทจรตามเชิงเขาวิบุลบรรพต โดยลำเนาพนัศกำหนดระยะดง แล้วท้าวเธอก็เสด็จลงสรงกระแสสินธวนที ในแม่น้ำเกตุมดีสำราญพระไทย จึงนายพเนจรพรานไพรเที่ยวอยู่ในป่า ถวายมังสังกับน้ำผึ้งสดรศโอชาเปนบรรณาการ ท้าวเธอก็พระราชทานปิ่นทองปักพระโมลี แล้วพาพระมเหษีกับสองดรุณราช เสด็จโดยตำแหน่งวนาวาสวิถีเถื่อน มีแต่สามกระษัตริย์เปนเพื่อนพเนจร ในพนัศสิงขรนั้นแล

เดิน (๘) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสังวร สมเด็จพระมิ่งอมรมกุฎเทวราชสุราฤทธิ์ จึงสั่งพระเวศุกรรมมานฤมิตรพระอาศรมสถาน พร้อมด้วยเครื่องดาบสบริขารบรรพชิตพิธี ถวายพระจอมโมลีนราราช ฝ่ายพระเวศุกรรมก็อภิวาทรับเทวบัญชา มานฤมิตรพระอาศรมบท ในเวิ้งหว่างวงกฎศิขเรศ แล้วบันดาลพาลมฤคในหิมเวศให้หลบลี้ปลาศไปไกลได้สามโยชน์ บันดาลสัตว์ที่ส่งเสียงเสนาะโสตให้ร้องประสานเสียงถวายใกล้พระอาศรม บันดาลไม้ให้รื่นรมย์ด้วยดวงดอกออกสลอน ฟุ้งขจรด้วยเกสรสุคนธา อกฺขรํ ลิกฺขิตฺวา แล้วจาฤกอักษรไว้กับใบทวาร อนฺตรธายิตฺวา ก็อันตรธานสู่เทวสถานสุราลัย ฝ่ายบรมไทพุทธชินวงศ์ทรงดำเนิน ข้ามคิริยขุนเขาเขินเขื่อนคัน ล้วนรุกขอรัญเรียงสล้างแลละลานตา พอพระสุริยาเยี่ยมยอดยุคันธเรศ เสด็จถึงอาศรมนิเวศน์วนาลัย ทอดพระเนตรเห็นอักษรก็เข้าพระไทยว่าท้าวสหัสไนยสร้างถวาย โอมุญฺจิตฺวา จึงเปลื้องเครื่องสุภาภรณ์จากพระกาย ค่อยสบายพระไทยด้วยสมความปราถนา ปพฺพชิตฺวา ท้าวเธอก็ทรงบรรพชางามอุดม ดุจท้าวมหาพรหมผู้ทรงฌาน มทฺที เทวี ส่วนสมเด็จพระเยาวมาลย์มเหษี ก็บวชเปนดาบสินีเจริญวัตร แล้วให้สองดรุณหน่อกระษัตริย์บรรพชา ขึ้น มทฺที สพฺพงฺคโสภณา สมเด็จพระมัทรีผู้ทรงศรีสุนทรลักษณ์ จึงกราบทูลแก่พระปิ่นปักผู้ร่มเกล้า ว่า เทว ข้าแต่พระลูกเจ้าผู้ทรงพระคุณ ได้การุญข้าพระบาท จะขอรับพระราชทานเก็บผลรุกขชาติมาประฏิบัติ มิให้พระองค์เคืองขัดพระอัธยา จงให้สำเร็จความปราถนาประสิทธิ์พร เดิน เวสฺสนฺตโร ราชา อันว่าสมเด็จพระเวสสันดรราชฤๅษี ประสาทพระพรให้แก่พระมัทรีแล้วจึงตรัสเล่า ว่า ภทฺเท ดูกรเจ้า เราสิทรงบรรพชา ผิดเวลาแล้วอย่าได้มาสู่พระอาศรม พระมัทรีก็น้อมศิโรตม์ลงบังคมรับสั่งสาร แล้วก็อุ้มสองกุมารกุมารีเข้าสู่พระอาศรม เจริญจตุพรหมเมตตาฌาน เสวยศุขสำราญในพระอาศรมนิราศภัย อรุณุคฺคมเน ครั้นพระสุริโยทัยส่องแสงจำรัสรุ่งวโรภาษ ส่วนสมเด็จพระมัทรีศรีรัตนราชกัญญา ก็จัดหาน้ำใช้แลน้ำฉัน ไม้สีพระทันต์ถวายบรมบาท แล้วก็แผ้วกวาดพระอาศรม ขึ้น บังคมลามาประโลมพระลูกเล่า จูบกระหม่อมจอมเกล้าแล้วรับขวัญ ว่าเจ้าแม่เอ่ย พี่น้องเห็นหน้ากันเมื่อยามยาก พระชนนีนี้จะจากเจ้าไปป่า แก้วกัณหาอย่าเล่นให้ไกลพี่ พ่อชาลีระวังน้อง อย่าละให้คะนองเล่นแต่ลำพัง ครั้นสั่งพระลูกทั้งสองแล้ว นางแก้วก็จัดแสรกขอคานกระเช้าสานทรงหาบ เสวยพระอัสสุชลพิลาปเข้าสู่ป่าพระหิมพานต์ เที่ยวเสาะแสวงหาผลาผลอันสุกหวานตระการฉัน ครั้นเวลาสายัณห์ก็กลับมายังอาศรม ปลอบให้พระลูกเสวยนมแล้วลีลาศ พาสองตรุณราชลงสรงพระคงคา ประดับประดาพระลูกแล้ว พาพระลูกแก้วเข้าสู่พระอาศรมสถาน สี่กระษัตริย์เสวยมูลผลาหารเลี้ยงพระชนมชีพค่อยวัฑฒนา ในบรรณศาลานั้นแล

เดิน (๙) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสมาธิปัญญา ขึ้น เวสฺสนฺตโร ราชา อันว่าพระจอมจักรพาฬพิภพสีพี ปญฺจ สีลานิ ทรงรักษาเบญจางคิกพิธีศีลาจาร จตุพรหมวิหารแสนศุขวิเศษ บรรดาสรรพสัตว์ทั่วทั้งขอบเขตรก็สิ้นพยาบาท ชวนกันอภิวาทถวายพร ปักษาทิชากรก็ส่งเสียงสรรเสริญพระบารมี เต จตฺตาโร ขตฺติยา อันว่าบรมกระษัตรากระษัตรีทั้งสี่พระองค์ ทรงบรรพชาเพศในหิมเวศประเทศวงกฎ สตฺตโน มาเสว กำหนดได้เจ็ดเดือนไม่เคลื่อนคลา อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน ด้วยประการดังนี้แล

วนปเวสนกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ

ประดับด้วยพระคาถา ๕๗ พระคาถา

----------------------------

  1. ๑. ยุ. อุภิคฺคา

  2. ๒. สิวิกาย จ ขตฺติยา

  3. ๓. อทาสหํ

  4. ๔. ยุ. พลตฺถา

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ