กัณฑ์ทานกัณฑ์
ความวัดถนน
----------------------------
ผุสฺสตีปิ โข เทวี ปุตฺตสฺส เม กฏุกสาสนํ อาคตํ กินฺนุ โข กโรติ อหํ คนฺตฺวา ชานิสฺสามีติ ปฏิจฺฉนฺนโยเคน คนฺตฺวา สิริสยนคพฺภทฺวาเร ฐิตา เตสํ สลฺลาปํ สุตฺวา กลูนํ ปริเทวํ ปริเทวีติ
ขึ้น (๑) ผุสฺสตีปิ โข เทวี ปางเมื่อสมเด็จพระผุสดีศรีสุนทรราชมารดา กฏุกสาสนํ สุตฺวา พระนางได้สดับสารคดีอันเดือดร้อน ว่าจะเนรเทศพระเวสสันดรเสียจากวัง เพียงพระทรวงจะภินท์พังภูลเทวศ พระชลเนตรเธอไหลลงทรงพระโศกา จินฺเตตฺวา พระเสาวนีนิ่งวินิจนึกในพระหฤทัย ว่าอกเอ๋ยเออก็เปนกรรมไฉน น้อยใจด้วยชาวเมือง มันมาทำวุ่นขุ่นเคืองน่าแค้นนัก จำจะไปเยือนพระลูกรักทั้งสองศรี สมเด็จพระพันปีดำริห์พลาง พระนางประจงจับะสะใบพลัน สะพักพระถันประทุมเมศ สมเด็จพระอรรคเรศราชกัญญา เสด็จทรงสีวิกากรรีบร้อนมาโดยด่วน ตามท้องฉนวนสนามใน บัดเดี๋ยวใจก็ถึงซึ่งตำหนัก พระโอรสรักยอดสงสาร ฐปาเปตฺวา พระนางให้ประทับสีวิกากาญจน์กับเกยมาศ พระผุสดีก็ลีลาศเข้าสู่ห้อง ได้สดับเสียงสองราชโอรส เธอทรงพระกำศรดโศกา อยู่ในห้องนิทรานั้นแล
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
เตสํ ลาลปิตํ สุตฺวา | ปุตฺตสฺส สุณิสาย จ |
กลูนํ ปริเทเวสิ | ราชปุตฺตี ยสสฺสินี |
เสยฺโย วิสํ เม ขายิตํ | ปปาตา ปปเตยฺยหํ |
รชฺชุยา พชฺฌมิยฺยาหํ | |
กสฺมา เวสฺสนฺตรํ ปุตฺตํ | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกํ |
อชฺฌายิกํ ทานปตึ | ยาจโยคํ อมจฺฉรึ |
ปูชิตํ ปฏิราชูหิ | กิตฺติมนฺตํ ยสสฺสินํ |
กสฺมา เวสฺสนตรํ ปุตฺตํ | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกํ |
มาตาเปติภรํ ชนฺตุํ | กุเล เชฏฺฐาปจายินํ |
กสฺมา เวสฺสนฺตรํ ปุตฺตํ | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกํ |
รญโญ หิตํ เทวหิตํ | ญาตีนํ สขินํ หิตํ |
หิตํ สพฺพสฺส รฏฺฐสฺส | |
กสฺมา เวสฺสนฺตรํ ปุตฺตํ | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกนฺติ |
เดิน (๒) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลโอภาษ ปางเมื่อสมเด็จพระนางนาฎราชผุสดี ทอดพระเนตรเห็นพระมัทรีโศกสะอื้นไห้ กลูนํ พระนางยิ่งอาลัยสร้วมกอดศรีสะใภ้พลาง พระหัตถ์ขวาลูบพระปฤษฎางค์พระโอรส เธอก็ทรงพระกำสรดสอื้นไห้ ขึ้น ว่าโอ้พ่อดวงหทัยไนยเนตรเวสสันดรของแม่เอ่ย ไม่ควรเลยพระลูกรักมาต้องโทษ อุสาหเสาะสร้างทางประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง เห็นยาจกจนจริงไม่นิ่งได้ สู้แผ่เผื่อเจือไปทุกค่ำเช้า เออก็การอะไรเล่าของชาวเมือง มาชวนกันคิดแค้นเคืองกล่าวร้าย เพททูลวุ่นวายสนั่นวัง พระเจ้าพ่อไม่รอรั้งช่างเชื่อถือ มันสอพลอก็อออือไปด้วยสิ้น พระลูกเอ่ย แม้นเจ้าพลัดพรากจากบุรินทรเรือนหลวง แม่จะกุมกรข้อนทรวงไม่วายวัน จะผูกศอให้อาสัญสิ้นชีวิต พระลูกข้าไม่มีผิดสักนิดหนึ่ง ควรฤาชวนกันยกโทษโกรธขึ้งทั้งเวียงไชย เออก็จะหาที่ไหนได้ดังลูกแก้ว น้ำพระหฤทัยก็ผ่องแผ้วในทางทาน อชฺฌายิกํ ทั้งไตรเพทพิชาการก็เชี่ยวชาญชำนาญหมด ทั้งพระเกียรติยศก็ปรากฎทั่วทิศา ปฏิราชูหิ อนึ่งเล่าท้าวพระยาทุกประเทศ ก็เกรงพระเดชระย่อยอมถวายเมือง น้อมนำเครื่องบรรณาการมาพร้อมพรั่ง บ้านเมืองก็มั่งคั่งตั้งแต่ว่าจะผาสุกทุกตำบล ควรแลฤาประชาชนมาฤษยา เพททูลพระบิดาให้ขึ้งโกรธ แม่จะไปทูลขอโทษดูสักครั้ง เกลือกว่าจะเห็นแก่แม่มั่งมิเปนไร พระลูกเอ่ย อย่าร้องไห้ฟังแม่ว่า เดิน รญฺโญ สนฺติกํ คนฺตฺวา สมเด็จนางพระยาตรัสปลอบพระลูกแก้วแล้วก็ลีลาศ มาเฝ้าพระบาทบรมราชสามี สมเด็จพระผุสดียอพระกรชุลีแล้วก็โศกา อยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง นั้นแล
มธูเนว ปฬิตานิ | อมฺพาว ปติตา ฉมา |
เอวํ เหสฺสติ เต รฏฺฐํ | ปพฺพาเชสิ อทูสกํ |
หํโส นิกฺขีณปตฺโตว | ปลฺลลสฺมึ อนูทเก |
อปวิฏฺโฐ อมจฺเจหิ | เอโก ราชา วิหียสิ |
ตํ ตํ พฺรูมิ มหาราช | อตฺโถ เต มา อุปจฺจคา |
มา นํ สิวีนํ วจนา | ปพฺพาเชสิ อทูสกํ |
ธมฺมสฺสาปจิตึ กุมฺมึ | สิวีนํ วินยํ ธชํ |
ปพฺพาเชมิ สกํ ปุตฺตํ | ปาณา ปิยตโร หิ เม |
ยสฺส ปุพฺเพ ธชคฺคานิ | กณิการาว ปุปฺผิตา |
ยายนฺตมนุยายนฺติ | สฺวาชฺเชโกว คมิสฺสติ |
ยสฺส ปุพฺเพ ธชคฺคานิ | กณิการาวนานิว |
ยายนฺตมนุยายนฺติ | สฺวาชฺเชโกว คมิสฺสติ |
ยสฺส ปุพฺเพ อนีกานิ | กณิการาว ปุปฺผิตา |
ยายนฺตมนุยายนฺติ | สฺวาชฺเชโกว คมิสฺสติ |
ยสฺส ปุพฺเพ อนีกานิ | กณิการาวนานิว |
ยายนฺตมนุยายนฺติ | สฺวาชฺเชโกว คมิสฺสติ |
อินฺทโคปกวณฺณาภา | คนฺธารา ปณฺฑุกมฺพลา |
ยายนฺตมนุยายนฺติ | สฺวาชฺเชโกว คมิสฺสติ |
โย ปุพฺเพ หตฺถินา ยาติ | สิวิกาย รเถน จ |
สฺวาชฺช เวสฺสนฺตโร ราชา | กถํ คจฺฉติ ปตฺติโก |
กถํ จนฺทนลิตฺตงฺโค | นจฺจคีตปฺปโพธโน |
ขราชินํ ปรสุญฺจ | ขาริกาชญฺจ หาริติ |
กสฺมา นาภิหริยนฺติ | กาสาว อชินานิ จ |
ปวีสนฺตํ พฺรหารญฺญํ | กสฺมา จิรํ น พชฺฌเร |
กถํ นุ จิรํ ธาเรนฺติ | ราชา ปพฺพชิตา ชนา |
กถํ กุสมยํ จิรํ | มทฺที ปริทเหสฺสติ |
กาสิยานิ ปธาเรตฺวา | โขมโกทุมฺพรานิ จ |
กุสจิรานิ ธาเรนฺตี | กถํ มทฺที กริสฺสติ |
วยฺหาหิ ปริยายิตฺวา | สิวิกาย รเถน จ |
สา กถชฺช อนุจจงคี | กถํ๑ คจฺฉติ ปตฺติกา |
ยสฺสา มุทุตลา หตฺถา | จลนาว สุเข ฐิตา |
สา กถชฺช อนุจจงคี | กถํ คจฺฉติ ปตฺติกา |
ยสฺสา มุทุตลา ปาทา | จลนาว สุเข ฐิตา |
ปาทุกาหิ สุวณฺณาหิ | ปีฬมานาว คจฺฉติ |
สา กถชฺช อนุจฺจงคี | กถํ คจฺฉติ ปตฺติกา |
ยสฺส๒ อิตฺถีสหสฺสสฺส | ปุรโต คจฺฉติ มาลินี |
สา กถชฺช อนุจฺจงคี | วนํ คจฺฉติ เอกิกา |
ยาสฺสุ สิวาย สุตฺวาน | มหุํ อุตฺรสเต ปุเร |
สา กถชฺช อนุจจงคี | วนํ คจฺฉติ ภีรุกา |
ยา สา อินฺทสฺส โคตฺตสฺส | อุลูกสฺส ปวสฺสโต |
สุตฺวาน นทโต ภีตา | วารุณีว ปเวธติ |
สา กถชฺช อนุจฺจงฺคี | วนํ คจฺฉติ ภีรุกา |
สกุณี หตปุตฺตาว | สุญฺญํ ทิสฺวา กุลาวกํ |
จิรํ ทุกฺเขน ฌายิสฺสํ | สุญฺญํ อาคมฺมิมํ ปุรํ |
สกุณี หตปุตฺตาว | สุญฺญํ ทิสฺวา กุลาวกํ |
กีสา ปณฺฑุ ภวิสฺสามิ | ปิเย ปุตฺเต อปสฺสตี |
สกุณี หตปุตฺตาว | สุญฺญํ ทิสฺวา กุลาวกํ |
เตน เตน ปธาวิสฺสํ | ปิเย ปุตฺเต อปสฺสตี |
กุรุรีว หตจฺฉาปา | สุญฺญํ ทิสวา กุลาวกํ |
จิรํ ทุกฺเขน ฌายิสฺสํ | สุญฺญํ อาคมฺมิมํ ปุรํ |
กุรรีว หตจฺฉาปา | สุญฺญํ ทิสฺวา กุลาวกํ |
กีสา ปณฺฑุ ภวิสฺสามิ | ปิเย ปุตฺเต อปสฺสตี |
กุรุรีว หตจฺฉาปา | สุญฺญํ ทิสฺวา กุลาวกํ |
เตน เตน ปธาวิสฺสํ | ปิเย ปุตฺเต อปสฺสตี |
สา นูน จากวากีว | ปลฺลลสฺมึ อนูทเก |
จิรํ ทุกฺเขน ฌายิสฺสํ | สุญฺญํ อาคมฺมิมํ ปุรํ |
สา นูน จกฺกวากีว | ปลฺลลสฺมึ อนูทเก |
กีสา ปณฺฑุ ภวิสฺสามิ | ปิเย ปุตฺเต อปสฺสตี |
สา นูน จากวากีว | ปลฺลลสฺมึ อนูทเก |
เตน เตน ปธาวิสฺสํ | ปิเย ปุตฺเต อปสฺสตี |
เอวญฺจ เม วิลปนฺติยา | ราชปุตฺตํ อทูสกํ |
ปพฺพาเชสิ จ นํ รฏฐา | มญฺเญ เหสฺสามิ ชีวิตนฺติ |
เดิน (๓) สมเด็จพระผุสดี ยอพระกรชุลีขึ้นเหนืออุตตมางคศิโรตม์ ขึ้น ว่าพระพุทธิเจ้าข้า จงทรงพระกรุณาโปรด ขอพระราชทานโทษเจ้าเวสสันดร ลูกอ่อนกระทำละเมิดจิตรผิดกระทรวง อันนี้ก็ล่วงพระราชอาชญาฝ่าลอององค์อิศเรศ ยกพระยาศรีเสวตบวรเอกฉัททันต์หิรัญรัศมีมอบให้เปนทาน โทษก็ถึงกำจัดจากราชฐานบ้านเมือง เกล้ากระหม่อมก็คิดเคืองไม่รู้หาย หากว่าเปนหน่อเนื้อเชื้อสายจึงสังเวช ขอพระปิ่นปกเกษได้โปรดเกล้า อนึ่งเล่ากุญชรล้ำคเชนทร กระษัตริย์อื่นหมื่นนครไม่หาได้ เปนศรีวังเวียงไชยมิ่งมงคลเมือง พระโอรสเล่าก็รุ่งเรืองสุดกระษัตริย์ จะกำจัดให้พลัดพรากราชธานินทร์ ใช่ว่าคชนาคินทร์จะคืนวัง พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนอันชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนาพระทูลเกล้า พระคุณเอ่ย อย่าได้เบาพระไทยเร่งใคร่ครวญ ครั้นจอแจเข้าเมื่อจวนสิจนใจ ราษฎรกุญชรไชยนั้นฤาจะช่วย ลูกแลเมียดอกจะม้วยด้วยพระองค์ได้ พระคุณเอ่ย อย่าเพ่อเศร้าเสียพระไทยเร่งร้อนรน ด้วยช้างต้นมงคลขวัญเมือง บุญหลังยังรุ่งเรืองคงหาได้ จะหาลูกดังดวงใจนี่ยากนัก ดังหาดวงวิเชียรจักรพรรตราธิราช ฝ่าพระบาทจะขับพระเจ้าลูกเสียจำไกล จะได้ใครต่างพระหฤทัยไนยเนตร นับวันนคเรศจะร้างเปนรังกา ด้วยพระองค์สิทรงพระชราอยู่มากแล้ว สมบัติของพระทูลกระหม่อมแก้วก็จะจลาจล อมฺพาว ปติตา ฉมา เสมือนหนึ่งไม้ม่วงอันมีผล ทรงสุคนธรศอันหอมห่าม จะเหลืองหล่นตกตามกันหยอยๆ ไม่พักเงยศอยกขอสรอยให้เสียวเส้น ฝูงคนมันก็จะคอยเก็บกินเล่นไม่เหลือหลง เสมือนสมบัติของพระองค์ทรงสวัสดิ์ ด้วยไร้ญาติราชกระษัตริย์อนาถา อปวิฏฺโฐ อนึ่งเล่า พระพุทธิเจ้าข้า อันเสนาน้อยใหญ่ยากที่จะตรองเห็นใจว่าตรงจริง มีบุญเขาก็จะวิ่งเข้ามาเปนข้า พึ่งพระเดชพระกรุณาให้ใช้สรอย เฝ้าป้อยอสอพลอพลอยทุกเช้าค่ำ ยามเมื่อเพลี่ยงพล้ำเขาก็จะช่วยกันกระหน่ำซ้ำซ้อมซัก หํโส นิกฺขีณปตฺโตว ดังราชหงส์ปีกหักตกปลักหนอง กาแกก็จะแซ่ซ้องเข้าสาวไส้ พระองค์จงทรงพระวินิจฉัยอย่าเชื่อคำ ชาวเมืองมันย้อมยำยุยงให้ลงโทษพระพุทธิเจ้าข้า จะทรงพระกรุณาโปรดประการใด ฤๅจะเชื่อชาวเวียงไชยไม่โปรดแล้ว เชิญพระทูลกระหม่อมแก้วจงฟาดฟันกระหม่อมฉันให้ม้วยมรณ์ แล้วจึงขับเจ้าเวสสันดรต่อภายหลัง พระทูลกระหม่อมเอ่ย ถึงลูกชั่วจะชิงชัง เกล้ากระหม่อมนี้ก็ยังไม่มีโทษ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปรานี ข้าพระพุทธิเจ้าผุสดีผู้สามิภักดิ์ ประทานโทษพระลูกรักร่วมชีวี แต่ครั้งคราเดียวนี้เถิด
เดิน (๔) เมื่อสมเด็จพระผุสดี กราบทูลพระราชสามีสักเท่าใดๆ ท้าวเธอก็มิได้ยกโทษให้ตามเจตนา พระนางถวายบังคมลา โศกสอื้นกลับคืนมาสู่ตำหนัก สร้วมกอดพระลูกรักแล้วภูลเทวศ ขึ้น ว่าโอ้พ่อฉัตรพิไชยเชตเวสสันดรของแม่เอ่ย ตั้งแต่นี้พระชนนีนี่จะเสวยพระอัสสุชลธารา แม่ไปทูลพระบิดาเธอก็ไม่โปรด แม่วอนขอโทษเธอก็ไม่ให้ พระลูกเอ่ย ชรอยกรรมเจ้าทำไว้แต่ปางหลัง พ่อจึงจะพลัดพรากจากวังที่นั่งนอน ปุพฺเพ แต่ปางก่อนพระลูกเคยประพาศในราชมรรคา ย่อมทรงอัสสวราเรืองสนามงามปรากฎ ลางทีก็ทรงราชรถมรกฎแก้วอลงกร ลางทีก็ทรงกุญชรช้างรวางใน ทวนธงไสวโห่แห่หน้า สหชาตโยธาเดินเคียงข้าง ล้วนแต่ลูกขุนนางสำอางภักตร์ งามรูปวิไลยลักษณ์แลสลอน ประดับเครื่องสุภาภรณ์พรรณราย ดังฝูงเทพนิกายแห่ห้อมแวดล้อมองค์มหิศเรศเรืองฟ้า กณิการาว ปุปฺผิตา งามดังดอกกรรณิกากาญจน์ สุหร่ายรดเบิกบานน่าชมเชย สฺวาชฺเชโก พระลูกเอ่ย พรุ่งนี้เช้าเจ้าจะไปเดินในแดนดง จะละหมู่จตุรงคเสนา พ่อจะได้ชมแต่โคถึกมฤคาในป่าระหง พระลูกเอ่ย เจ้าเคยสำอางองค์สรงกระแสสินธุ์ น้ำสุหร่ายรินจรุงรื่น แต่นี้จะชุ่มชื้นไปด้วยน้ำค้างในกลางป่า พ่อจะเสวยแต่มูลผลาต่างเครื่องสุธาโภชน์ทุกเช้าค่ำ ถึงขมขื่นก็จะต้องกลืนกล้ำจำใจเสวย ลูกรักของแม่เอ่ย เจ้าสิเคยบรรธมแท่นทิพยไสยาศน์ พ่อจะหักใบพฤกษาชาติมารองนอนไม่อ่อนอุ่น ไม้ขอนจะเปนหมอนหนุนต่างเขนย นจฺจคีตปฺปโพธโน พระลูกเอ่ย เจ้าเคยฟังเสียงดุริยางค อนงค์นางบำเรอเรียงอยู่แซ่ซ้อง บ้างก็ดีดสีตีพิณพาทย์ระนาดฆ้องประโคมขับ ลางนางก็ประจงจับระบำรำถวายกร ดังสุรางค์สาวสวรรค์ฟ้อนฉะอ้อนองค์ เจ้าแม่เอ่ย ตั้งแต่นี้เจ้าจะฟังแต่เสียงวิหคหงส์ในหิมเวศ มยุเรศร่ำร้องในกลางไพร จะทราบโสตเสียวพระไทยทุกราตรี สงสารแต่แม่มัทรีจะไปด้วยผัว ช่างไม่กลัวลำบากจะบุกป่า บาทาเจ้าสินุ่มนิ่มดังเนื้อนุ่น จะฟูมแฝกเฝือฝุ่นกระไรได้ จะชอกช้ำระกำใจทุกเวลา ยา สา สิวาย สุตฺวาน เจ้าแม่เอ่ย ขวัญเจ้าสิอ่อน ได้ยินเสียงสุนัขมันเห่าหอนในธานี แม่มัทรีนี้ยังส่งพระสุรเสียงอยู่หวีดหวาด วนํ คจฺฉติ ภีรุกา เออแม่นี่แสนขลาดแสนกลัว จะติดตามพระเจ้าผัวไปป่าบ้าง แม่จะได้ยินสกุณครวญครางในป่ารก เจ้ามัทรีก็จะตื่นตกพระไทยกลัว จะกอดพระเจ้าผัวตัวสั่นดังผีสิง พระลูกเอ่ย แม่คิดคิดก็ยิ่งโศกเศร้า สงสารด้วยเจ้าทั้งสองรา กาสิยานิ ปธาเรตฺวา เจ้าเคยทรงผ้ากาสิกพัตร โอ้แต่นี้แม่จะกลัดใบพฤกษาทรง จะระคายคันองค์โอ้เวทนา ยามหนาวแม่จะหนาวน้ำฟ้าสยองเย็นทุกเส้นขน ยามร้อนแม่จะนอนระคนปนเหงื่อไคล พระลูกเอ่ย จะร้างไร้เครื่องสุคนธ์ปนปรุงทอง จะมอมแมมมัวหมองทั้งสององค์ อกเอ๋ยใครเลยจะจัดประจงให้สรงเสวย อนิจจานิจจาเจ้าแม่เอ่ย เจ้าเคยชวนกันไปเฝ้าทุกเช้าเย็น แม่ได้เห็นหน้าเจ้าค่อยชื่นใจ จะชวนกันหนีแม่ไปเสียจากวัง มารดาอยู่ข้างหลังตั้งแต่จะครวญหา จะเศร้าทรงโศกากรรแสงไห้ไม่วายวัน อยู่ในห้องตำหนักจันทน์นั้นแล
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
ตสฺสา ลาลปิตํ สุตฺวา | สพฺพา อนฺเต ปุเร อหุ |
พาหา ปคฺคยฺห ปกฺกนฺทุ | สิวักญฺญา สมาคตา |
สาลาว สมฺปมตฺถิตา | มาลุเตน ปมตฺถิตา |
เสนฺติ ปุตฺตา จ ทารา จ | เวสฺสนฺตรนิเวสเน |
[โอโรธา จ กุมารา จ | เวสิยานา จ พฺราหฺมณา |
พาหา ปคฺคยฺห ปกฺกนฺทุํ | เวสฺสนฺตรนิเวสเน |
หตฺถาโรหา อนีกฏฺฐา | รถิกา ปตฺติการกา |
พาหา ปคฺคยหฺ ปกฺกนฺทุํ | เวสฺสนฺตรนิเวสเน]๓ |
ตโต รตฺยา วิวสเน | สุริยสฺสุคฺคมนํ ปติ |
อถ เวสฺสนฺตโร ราชา | ทานํ ทาตุํ อุปาคมิ |
วตฺถานิ วตฺถกามานํ | โสณฺฑานํ เตถ วารุณึ |
โภชนํ โภชนตฺถีนํ | สมฺมเทว ปเวจฉถ |
มา จ กิญฺจิ วณิพฺพเก | เหฏฐยิตฺถ อิธาคเต |
ตปฺเปถ อนฺนปาเนน | คจฺฉนฺติ ปฏิปูชิตา |
เตสุ มคฺตา กิลนฺตาว | สมฺปตนฺติ วณิพฺพกา |
นิกฺขมนฺเต มหาราเช | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน |
อจฺเฉจฺฉุํ วต โภ รุกฺขํ | นานา ผลททํ ทุมํ |
ยถา เวสฺสนฺตรํ รฏฺฐา | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกํ |
อจฺเฉจฺฉุํ วต โภ รุกฺขํ | นานา ผลททํ ทุมํ |
ยถา เวสฺสนฺตรํ รฏฺฐา | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกํ |
อจฺเฉจฺฉุํ วต โภ รุกฺขํ | สพฺพกามททํ ทุมํ |
ยถา เวสฺสนฺตรํ รฏฺฐา | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกํ |
อจฺเฉจฺฉุํ วต โภ รุกฺขํ | สพฺพกามรสาหรํ |
ยถา เวสฺสนฺตรํ รฏฺฐา | ปพฺพาเชนฺติ อทูสกํ |
เย วุฑฺฒา เย จ ทหรา | เย จ มชฺฌิมโปริสา |
พาหา ปคฺคยฺห ปกฺกนฺทุํ | |
นิกฺขมนฺเต มหาราเช | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน |
อติยกฺขา วสฺสวรา | อิตฺถาคารา จ ราชิโน |
พาหา ปคฺคยฺห ปกฺกนฺทุํ | |
นิกฺขมนฺเต มหาราเช | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน |
ถิโยปิ ตตฺถ ปกฺกนฺทุํ | ยา ตมฺหิ นคเร อหุ |
นิกฺขมนฺเต มหาราเช | สิวีนํ รฏฐวฑฺฒเน |
[เย พฺราหฺมณา เย จ สมณา อญฺเญ วาปิ วนิพฺพกา พาหา ปคฺคยฺห ปกฺกนฺทุํ]๔ | |
นิกฺมนฺเต มหาราเช | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน |
เย พฺราหฺมณา เย จ สมณา | อญฺเญวาปิ วณิพฺพกา |
พาหา ปคฺคยฺห ปกฺกนฺทุํ | อธมฺโม กิร โภ อิติ |
ยถา เวสฺสนฺตโร ราชา | ยชมาโน สเก ปุเร |
สิวีนํ วจนตฺเถน | สมฺหา รฏฺฐ นิรชฺชติ |
สตฺต หตฺถิสเต ทตฺวา | สพฺพาลงฺการภูสิเต |
สุวณฺณกจฺเฉ มาตงฺเค | เหมกปฺปนิวาสเส |
อารูเฬฺห คามณิเยภิ | โตมรงกุสปาณิภิ |
เอส เวสฺสนฺตโร ราชา | สมฺหา รฏฺฐ นิรชฺชติ |
สตฺต อสฺสสเต ทตฺวา | สพฺพาลงฺการภูสิเต |
อาชานิเย จ ชาติเย๕ | สินฺธเว สึฆพาหเน |
อารูเฬฺห คามณิเยภิ | อินฺทฺริยาจาปธาริภิ๖ |
เอส เวสฺสนฺตโร ราชา | สมฺหา รฏฺฐา นิรชฺชติ |
สตฺต รถสเต ทตฺวา | สนฺนทฺเธ อุสฺสิตทฺธเช |
ทีเป อโถปิ เวยฺยคฺเฆ | สพฺพาลงฺการภูสิเต |
อารูเฬฺห คามณิเยภิ | จาปหตฺเถหิ วมฺมิภิ |
เอส เวสฺสนฺตโร ราชา | สมฺหา รฏฺฐานิ รชฺชติ |
สตฺต อิตฺถีสเต ทตฺวา | เอกเมกา รเถ ฐิตา |
สนฺนทฺธา นิกฺขรชฺชูหิ | สุวณฺเณหิ อลงฺกตา |
ปีตาลงการา ปีตวตฺถา | ปีตาภรณภูสิตา |
อาฬารปมุขา หสุลา | สุสญฺญา ตนุมชฺฌิมา |
เอส เวสฺสนฺตโร ราชา | สมฺหา รฏฺฐานิ รชฺชติ |
สตฺต เธนุสเต ทตฺวา | สพฺพา กํสุปธาริโน |
เอส เวสฺสนฺตโร ราชา | สมฺหา รฏฺฐานิ รชฺชติ |
สตฺต ทาสีสเต ทตฺวา | สตฺต ทาสสตานิ จ |
เอส เวสฺสนฺตโร ราชา | สมฺหา รฏฺฐานิ รชฺชติ |
หตฺถิอสฺสรเถ ทตฺวา | นาริโย จ อลงกตา |
เอส เวสฺสนฺตโร ราชา | สมฺหา รฏฺฐานิ รชฺชติ |
ตทาสิ ยํ ภึสนกํ | ตทาสิ โลมหํสนํ |
มหาทาเน ปทินฺนมฺหิ | เมทนี สมกมฺปถ |
ตทาสิ ยํ ภึสนกํ | ตทาสิ โลมหํสนํ |
ยํ ปญฺชลีกโต ราชา | สมฺหา รฏฺฐานิ รชฺชติ |
อเถตฺถ วตฺตติ สทฺโท | ตุมุโล เภรโว มหา |
ทาเนน ตํ นีหรนฺติ | ปุน ทานํ ททาติ โสติ |
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
เตสุ มคฺคา กิลนฺตาว | สมฺปตนฺติ วนิพฺพกา |
นิกฺขมนฺเต มหาราเช | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเนติ |
เดิน (๕) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลวิสุทธิสิกขา อนฺเตปุเร สพฺพา ฝ่ายพวกหม่อมจอมบริรักษสาวสุรางค์ หลวงแม่เจ้าท้าวนางในบวรราชวัง ตสฺสา ลาลปิตํ สุตฺวา ได้สดับพระเสาวนีเธอทรงพระโศกา ต่างก็ฟายน้ำตาซบหน้านิ่ง กลิ้งเกลือกเสือกเศียรสยายเกษา บ้างก็ซุบซิบกระหยิบตาพากันเข้าห้องแล้วร้องไห้ สาลาว สมฺปมตฺถิตา ประดุจดังป่าไม้รังอันร่มรื่นต้องลมยุคันทวาต หักพาดพิงนิ่งระเนนกับพสุธา เสนฺติ ปุตฺตา จ ทารา จ ก็เหมือนหนึ่งราชกัญญาคณานางสนมล้มเนรนาดอนาถด้วยอาลัย ในพระบวรราชวังในนั้นแล
เดิน (๖) ตโต รตฺยา วิวสเน ครั้นอรุณรังษีทิพากร ปางเมื่อพระเวสสันดรบวรราชนาถา นฺหาตฺวา ท้าวเธอสระสรงทรงสุคนธรสระรวยรื่นชื่นนาสา พนักงานเชิญพานผ้าจีบประจงถวาย ภุญฺชิตฺวา เสด็จเข้าที่เสวยสบายพระไทยแล้ว พระภักตร์เธอผ่องแผ้วเพื่อจะบำเพ็ญพระโพธิญาณ เสด็จออกยังโรงทานท้องสนาม อำมาตย์หมอบตามตำแหน่งอยู่สะพรั่ง จึงเผยพระโอษฐโปรดประภาษสั่งสหชาตโยธา ให้เบิกเงินตราอาภรณ์เครื่องประดับสำหรับแต่ง แล้วสั่งวิเศษให้จัดแจงเครื่องกระยาหาร ของคาวหวานสำหรับจะพระราชทานคนเข็ญใจ จนชั้นสุราเมรัยไม่ควรจะให้เปนทาน โสณฺฑานํ เทถ วารุณึ กลัวว่านักเลงสุราบานจะติฉิน เธอก็ให้พระราชทานสิ้นทุกประการ แล้วให้จ่ายแจกสัตตสดกมหาทาน เปนต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย ย้าย สพฺพาลงฺการภูสิเต ประดับอาภรณภู่ห้อยหูดูเฉิดฉาย ดารารายรัตคนทอง ตาข่ายกรองปกกระพองหัตถี คามณิเยภิ มีนายหัตถาจารย์ขี่ประจำคอ มือถือขอคร่ำด้ามสุวรรณ คชสารแต่ละตัวนั้นเรี่ยวแรงร้ายคำรน มาตงเค เกิดในป่าต้นหางปกส้นสมตระกูลหัตถี สตฺต อสฺสสเต ทตฺวา ให้จ่ายแจกอัสดรราชพาชี เลือกที่ตัวดีเรืองณรงค์องอาจ สินฺธเว สึฆพาหเน เกิดแต่ชาติสินธพ ควบขี่ตีตลบตะลุยไล่ อยู่ปืนไฟไม่ถอยถด ลางตัวก็พยศย่างย้ำซ้ำรอยอยู่กับที่ ล้วนแต่ชาติพาชีระวางใน เครื่องอานใส่ประไภพร้อมย่อมเจริญตา คามณิเยภิ มีนายม้าถือไม้แซ่ทุกคนหมด สตฺต รถสเต ทตฺวา ให้จ่ายแจกราชรถอันบรรจง พร้อมไปด้วยดุมกำกงอลงกรณ์ งอนแอกแปรกบัลลังก์สุวรรณ ฉลุฉลักเปนชั้นช่อห้อย สพฺพาลงการภูสิเต ประดับด้วยเพ็ชร์พลอยย้อยระยับสลับสี เทียมด้วยสินธพพาชีทั้งคู่ นายสารถีถือธนูดูสง่าตากลอกกลม ในราชรถนั้นนางสนมนั่งเสงี่ยม ยุคลถันนั้นก็ทัดเทียมประทุมทอง วิมลภักตร์ก็ผุดผ่องลอองนวล ดูน่าจะเชยชวนยวนวิญญา นิกฺขรชฺชูหิ อลงฺกตา ประดับเครื่องอาภรณ์พรายพรรณ ดังสุรางค์นางสวรรค์ในชั้นฟ้า สตฺต เธนุสเต ทตฺวา ให้จ่ายแจกโคนมอิกเจ็ดร้อยมิได้ขาด ทั้งทาสทาสีก็สิ้นเสร็จ เดิน ฝ่ายสมเด็จพระเวสสันดร ให้ป่าวร้องชาวพระนครในขอบเขตขัณฑสีมาเมือง ยาจกก็แน่นเนื่องเข้ามารับพระราชทาน บ้างก็ซ้องสาธุการอนุโมทนา บ้างก็โศกาปฤกษากัน ขึ้น ว่าชาวเราเอ่ย นับวันจะอดอยาก ด้วยพระทูลกระหม่อมจะพลัดพรากไปจากแล้ว ดังดวงเดือนประทีปแก้วจะล่วงลับ เราคนจนก็จะอาภัพอัปรภาคแสนกันดาร จะได้รับพระราชทานก็แต่ในวันนี้ บ้างก็ร้องไห้อยู่อึงมี่น่าเวทนา ปางเมื่อพระจอมประชามหาเวสสันดรดวงดิลก เธอยอยกสัตตสดกมหาทานแล้ว พระไทยเธอก็ผ่องแผ้วชื่นบานต่อพระทานบารมี แห่งหน่อพระชินสีห์นั้นแล
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
อามนฺตยิตฺถ ราชานํ | สญฺชยํ ธมฺมิกํ วรํ |
อวรุทฺธสิ มํ เทว | วงฺกํ คจฺฉามิ ปพฺพตํ |
เย หิ เกจิ มหาราช | ภูตา เย จ ภวิสฺสเร |
อติตฺตาเยว กาเมหิ | คจฺฉนฺติ ยมสาธนํ |
โสหํ สเก อภิสฺสสึ | ยชมาโน สเก ปุเร |
สิวีนํ วจนตฺเถน | สมฺหา รฏฺฐานิ วชฺชหํ |
อฆนฺตํ ปฏิเสวิสฺสํ | |
วเน พาฬมิคากิณฺเณ | ขคฺคทีปินิเสวิเต |
อหํ ปุญฺญานิ กโรมิ | ตุเมฺห ปงฺกมฺหิ สีทถาติ |
อนุชานาหิ มํ อมฺม | ปพฺพชฺชา มม รุจฺจติ |
โสหํ สเก อภิสฺสสึ | ยชมาโน สเก ปุเร |
สิวีนํ วจนตฺเถน | สมฺหา รฏฺฐานิ รชฺชหํ |
อฆนฺตํ ปฏิเสวิสฺสํ | |
วเน พาฬมิคากิณฺเณ | ขคฺคทีปินิเสวิเต |
อหํ ปุญฺญานิ กโรมิ | วงฺกํ คจฺฉามิ ปพฺพตนฺติ |
อนุชานามิ ตํ ปุตฺต | ปพฺพชฺชา เต สมิชฌตุ |
อยญฺจ มทฺที กลฺยาณี | สุสญฺญา ตนุมชฺฌิมา |
อจฺฉตุ สห ปุตฺเตหิ | กึ อรญฺเญ กริสฺสตีติ |
นาหํ อกามา ทาสึปิ | อรญฺญํ เนตุมุสฺสเห |
สเจ มํ อิจฺฉติ อเนฺวตุ | สเจ นิจฺฉติ อจฺฉตูติ |
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
ตโต สุณฺหํ มหาราชา | ยาจิตุํ ปฏิปชฺชถ |
มา จนฺทนสมาธาเร | รโชชลฺลมธารยิ |
กาสิยานิ ปธาเรตฺวา | กุสจิรมธารยิ |
ทุกฺโข วาโส อรญฺญสฺมึ | มา หิ ตฺวํ ลกฺขเณ คมีติ |
ตมพฺรวิ ราชปุตฺตี | มทฺที สพฺพงฺคโสภณา |
นาหนฺตํ สุขมิจฺเฉยฺยํ | ยํ เม เวสฺสนฺตรํ วินาติ |
ตมพฺรวิ มหาราชา | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒโน |
อิงฺฆ มทฺทิ นิสาเมหิ | วเน เย โหนฺติ ทุสฺสหา |
พหู กีฏา ปตงฺคา จ | มกสา มธุมกฺขิกา |
เตปิ ตํ ตตฺถ หึเสยฺยุํ | ตนฺเต ทุกฺขตรํ สิยา |
อปเรปสฺส สนฺตาเป | นทีนูปนิเสวิเต |
สปฺปา อชครา นาม | อวิสา เต มหพฺพลา |
เต มนุสฺสํ มิคํ วาปิ | อปิมาสนฺนมาคตํ |
ปริกฺขิปิตฺวา โภเคหิ | วสมาเนนฺติ อตฺตโน |
อญฺเญปิ กณฺหา ชฏิโน | อจฺฉา นาม มฆมฺมิคา |
น เตหิ ปุริโส ทิฏฺโฐ | รุกฺขมารุยฺห มุญฺจติ |
สํฆฏฺฏยนฺตา สิงฺคานิ | ติกฺขคฺคา ติปฺปหาริโน |
มหิสา วิจรนฺเตตฺถ | นทึ โสตุมฺพรํ ปตึ |
ทิสฺวา มิคานํ ยูถานํ | ควํ สญฺจรตํ วเน |
เธนุว วจฺฉคิทฺธาว | กถํ มทฺทิ กริสฺสสิ |
ทิสฺวา สมฺปติเต โฆเร | ทุมคฺเค สุปลฺวงฺกเม |
อเขตฺตญฺญาย เต มทฺทิ | ภวิตนฺเต มหพฺภยํ |
ยา ตฺวํ สิวาย สุตฺวาน | มุหุํ อุตฺรสเต ปุเร |
สา ตฺวํ วฺงกํ อนุปฺปตฺตา | กถํ มทฺทิ กริสฺสสิ |
ฐิเต มชฺฌนฺติเก กาเล | สนฺนิสิเวสุ ปกฺขิสุ |
สนฺนเตว พฺรหารญฺญํ | ตตฺถ กึ คนฺตุมิจฺฉสีติ |
ตมพฺรวิ ราชปุตฺตี | มทฺที สพฺพงฺคโสภณา |
ยานิ เอตานิ อกฺขาสิ | วเน ปฏิภยานิ เม |
สพฺพานิ อภิสมฺโภสฺสํ | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
กาสํ กุสํ โปฏกิลํ | อุสิรํ มุญฺชปพฺพชํ |
อุรสา ปนูทเหสฺสามิ | นาสฺส เหสฺสามิ ทุนฺนยา |
พหูหิ วต จริยาหิ | กุมารี วินฺทเต ปตึ |
อุทรสฺสุปโรเธน | โคหนุเวฏฺฐเนน จ |
อคฺคิสฺส ปาริจริยาย | อุทกุมฺมุชฺชลเนน จ |
เวธพฺยํ กฏุกํ โลเก | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
อปิสฺสา โหติ อปฺปตฺโต | อุจฺฉิฏฺฐมปิภุญชิตุํ |
โย นํ หตฺเถ คเหตฺวาน | อกามํ ปริกฑฺฒติ |
เวธพฺยํ กฏุกํ โลเก | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
เกสคฺคหณมุกฺเขปา | ภุมฺยา จ ปริสุมฺภนา |
ทตฺวา จ โนปกฺกมติ | พหุํ ทุกฺขํ อนปฺปกํ |
เวธพฺยํ กฏุกํ โลเก | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
สุกฺกจฺฉวี เวธเวรา | ทตฺวา สุภคฺคมานิโน |
อกามํ ปริกฑฺฒนฺติ | อุลูกญฺเญว วายสา |
เวธพฺยํ กฏุกํ โลเก | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
อปิ ญาติกุเล ผิเต | กํสปชฺโชตเน วสํ |
เนวาติวากฺยํ น ลเภ | ภาตูหิ สขินีหิ จ |
เวธพฺยํ กฏุกํ โลเก | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
นคฺคา นที อนูทกา | นคฺคํ รฏฺฐํ อราชิกํ |
อิตฺถีปิ วิธวา นคฺคา | ยสฺสาปิ ทส ภาตโร |
เวธพฺยํ กฏุกํ โลเก | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
ธโช รถสฺส ปญฺญาณํ | ธุโม ปญฺญานมคฺคิโน |
ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ | ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา |
เวธพฺยํ กฏุกํ โลเก | คจฺฉญฺเญว รเถสภ |
ยา ทลิทฺที ทลิทฺทสฺส | อทฺธา อทฺธสฺส กิตฺติมา |
ตํ เว เทวา ปสํสนฺติ | ทุกฺกรํ หิ กโรติ สา |
สามิกํ อนุพนฺธิสฺสํ | สทา กาสายวาสินี |
ปถพฺยาปิ อภิชฺชนฺตฺยา | เวธพฺยํ กฏุกิตฺถิยา |
อปิ สาครปริยนฺตํ | พหุวิตฺตธรํ มหึ |
นานารตนปริปูรํ | เนจฺเฉ เวสฺสนฺตรํ วินา |
กถํ นุ ตาสํ หทยา | สุขรา วต อิตฺถิโย |
ยา สามิเก ทุกฺขิตมฺหิ | สุขมิจฺฉนฺติ อตฺตโน |
นิกฺขมนฺเต มหาราเช | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน |
ตมหํ อนุพนฺธิสฺสํ | สพฺพกามทโท หิ เมติ |
เดิน (๗) ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศิลวิเศษ ปางเมื่อสมเด็จอดุลยเดชเวสสันดรราชนาถา ทรงพระราชศรัทธาสมดังพระหฤทัยคิด ทรงพระวินิจนึกในพระไทยเที่ยงแท้ ว่า เสฺว วันพรุ่งนี้แน่แล้วสิหนอเราจะจากพระภารา จำจะไปถวายบังคมลาพระบิตุเรศ ทั้งพระปิ่นปกเกษพระชนนี จึงตรัสชวนพระมัทรีศรีสมร อิกสองบังอรโอรสราช เสด็จยังปราสาทพระบิตุรงค์ พระเวสสันดรเธอก็ทรงพระโศกา ขึ้น ว่าพระพุทธิเจ้าข้า ไม่ทรงพระกรุณาโปรด กระหม่อมฉันคนโทษต้องเนรเทศ เปนเหตุด้วยทำทานการกุศล เย เกจิ นรา กระหม่อมฉันเห็นว่านรชนชาติหญิงชาย ยังมกมุ่นวุ่นวายด้วยกิเลศ ยมสาธนํ คจฺฉนฺติ ย่อมไปทนเทวศอยู่ในขุมขังสุดสังเกต ยชมาโน เกล้ากระหม่อมสังเวชฤไทยนัก จึงสละของที่รักออกทำทาน หวังจะเปนสพานข้ามด่านแดนกิเลศ โอ้พระปิ่นปกเกษไม่ปรานี มาเชื่อคำชาวบุรีเขายุยงไม่ทรงพระกรุณา ลูกจะขอถวายบังคมลาฝ่าพระบาทแล้ว ทูลกระหม่อมแก้วจงเจริญพระชนมพรรษา ครอบครองขัณฑธสีมาเกษมศรี ลูกขอฝากพระชนนีของลูกด้วย นับวันแต่ลูกจะม้วยไม่คืนวัง จะเตร็ดเตร่เซซังไปในไพรสาณฑ์ กว่าจะสุดสิ้นพระชนมาน อยู่ในป่าหิมพานต์นั้นแล
เดิน (๘) ราชา สญฺชโย ปางเมื่อพระจอมนราธิบดีศรีสญชัย ได้ทรงฟังพระโอรสทูลร่ำพิไร พระไทยท้าวเธอเร่าร้อนประหนึ่งว่าจะผ่อนให้ จึงผินพระภักตร์มาตรัสปราไสกับพระสุณิสาศรีสะใภ้ ขึ้น ว่ามัทรีเอ่ย พาเจ้าชาลีกัณหามาไย จะไปด้วยผัวฤๅพระลูกรัก อนิจจา ๆ เอ่ย ไม่ควรเลยจะประดักประเดิด ดูเอาเถิดไม่เกรงกลัว เจ้าโกรธพ่อฤๅว่าขับผัวจากบุรี มัทรีจะไปด้วยก็เปนได้ พระลูกเอ่ย อย่าไปเลยฟังพ่อว่า วเน เย โหนฺติ ทุสฺสหา อันป่าพระหิมพานต์ ประกอบไปด้วยร่านริ้นจะกินกัด สารพัดที่นอนนั่งก็เอน็จอนาถ มีแต่ใบไม้ลาดบนปถพี แต่จะกินก็ไม่มีดีดูเวทนา เจ้าจะเสวยมูลผลาได้ฤๅนะมัทรี นทีนูปนิเสวิเต อนึ่งกระแสวารีชโลธร งูเหลือมย่อมสัญจรนอนอยู่ริมธาร อวีสา เต มหพฺพลา ถึงไม่มีพิษฤทธิ์กล้าหาญแต่กายานั้นใหญ่ยิ่ง วิดชโลธรทุ่มทิ้งเพียงตลิ่งล่ม งูเหลือมก็เลื้อยงมกินสัตว์เปนอาหาร พระลูกเอ่ย แม้นเจ้าไปพบพานในพงพี ไหนเลยมัทรีจะมีขวัญ ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไรมี ยังหมู่หมีมีฤทธิ์แรงร้ายล้ำ กณฺหา ชฏิโน ตัวนี้ฤๅดำดูเรี่ยวแรง แม้นแม่พบเข้าที่กลางแปลงปลอดเปลี่ยวคนจนจวนตัว พระเจ้าผัวก็จะเอาตัวหนี เจ้ามัทรีก็จะอยู่เอกากาย ถึงจะปีนป่ายขึ้นต้นไม้ก็ไม่พ้น จะตบต้นต่ายตะกายกัดพลัดตกลงมา นทีตีเร พระลูกเอ่ย ที่ริมท่าแม่น้ำโสตุมพราเปนที่แจ้ง กาษรย่อมนอนแปลงอยู่ปละเปลี่ยว เขานั้นเสี้ยมเรียวไปล่แปล้แลแหลมดังขนเม่น แม้นเห็นคนด้นเดินไพร ลุกทลึ่งไล่โลดโดดขวิด เจ้ามัทรีจะเอาชีวิตไปทิ้งเสียในไพรสณฑ์ ยามนี้ก็น่าฝนฝูงคนเขาไม่ใคร่เดิน พวกผีก็จะกริ่วเกริ่นเดินผิวปากอยู่อึงมี่ ลิงค่างบ่างชนีก็โหยไห้ เมื่อจวนใกล้สนธยาเวลาขมุกขมัว พระลูกเอ่ย เร่งรำพึงถึงตัว จะติดตามพระเจ้าผัวไปในกลางป่า บิดานี้เห็นไม่เปนผล จะแค้นคับอับจนในกลางไพร พระลูกเอ่ย ใครชั่วก็ชั่วไปอย่าเอาใจพะว้าพะวัง เจ้าจงฟังบิดาว่าเถิดนะมัทรี จงอยู่ในบุรีดังก่อนมา ตามคำพ่อว่านี้เถิด
เดิน (๙) ปางเมื่อพระมัทรีศรีสมร ได้สดับสารสุนทรพระบิตุรงค์ นางน้อมพระเกษลงแล้วก็ทูลความ ขึ้น ว่าพระพุทธิเจ้าข้า ฝ่าพระบาทตรัสห้ามเกล้ากระหม่อมฉันมัทรี ก็เพราะทรงพระปรานีเปนที่ยิ่ง พระคุณเอ่ย เห็นว่าลูกนี้เปนหญิงย่อมทรงพระอาลัย แต่ว่าลูกจะไม่ไปก็ใช่ที่ ด้วยพระราชสามีสิตกไร้ใครเขาไม่อินัง ลูกจะนอนลอยนวลอยู่ในวังไม่บังควร ประชาชนมันจะชวนกันสรวลแซ่ มัทรีไม่รู้ที่จะแลดูหน้าใครให้เต็มเนตร จะสู้จนทนเทวศไปในราวป่า มุญฺชปพฺพชํ อุรสา ลูกจะเอาหัตถ์แลพาหาต่างพร้ามีด กรีดทางฟันแฝกคาในป่าพระหิมวาศ มิให้ระคายเคืองเบื้องบาทพระเจ้าผัว จะอยู่อนึ่งก็กลัวตัวจะเปนหม้าย พระคุณเอ่ย เปนหญิงนี้ยากที่จะไว้จะวางตัว ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิตร ครั้นจะบำรุงรูปดัดจริตให้ดีดดิ้น จะผัดหน้าทาขมิ้นสิ้นราคี คำคนมันจะเสียดสีชวนกันค่อนว่า [๗เล่นต่างๆ จนชั้นแต่ว่าผมเหม็นสาบจะเสยสางใส่น้ำมัน กันเก็บไรให้สะสวยก็สาลวอน จะทาแป้งหอมเมื่อยามร้อนก็ค่อนว่า] บำรุงรูปกิริยาเที่ยวหาผัว ครั้นเหลือบแลมันก็จะว่าเล่นตัวแลเล่นตา ครั้นเดินเฉยไม่เงยหน้า มันก็จะนินทาว่าทำปั้นปึ่ง พระคุณเอ่ย ลูกคิดๆ ถึงตัวแล้วก็ยิ่งเศร้าเสียน้ำใจ ด้วยถ้อยคำคนจะค่อนแคะไค้พิไรว่า ให้เสวยความเวทนาน่าใจหาย วิธวา ชาตา พระคุณเอ่ย อันหญิงหม้ายชายทิ้งขว้างร้างไว้ให้เอกาน่าอดสูใจ ย่อมมีอาลัยในรสรักกำเริบร้อน อกใจมันให้ค่อนๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท จะกลืนเข้าดังยาพิษติดคออยู่ขื่นขม ทั้งรักทั้งแค้นก็กลืนกลม หน้าชื่นอกตรมไม่ผ่องแผ้ว พระพุทธิเจ้าข้า มีผัวเหมือนหนึ่งฉัตรแก้วอันกั้นเกษ งามหน้างามเนตรทุกเวลา พระคุณเอ่ย เปนหม้ายชายอย่าแรกรุ่นจำเริญร่างไม่มีสบาย ดังเพ็ชร์รัตน์ร้าวสลายเปนไฝฝ้า วิกีณิตฺวา ก็ย่อมเยาว์เบาราคาไม่ขายได้ ผู้ที่จะถือซื้อใส่ก็อายหน้า เหมือนหญิงหม้ายชายอย่าสิ้นอาลัย พระคุณเอ่ย ครั้นจะรีบร้อนมีใหม่ก็ใช่ที่ ถ้าบุญตัวได้ผัวดีที่มีทรัพย์ คนมันก็จะนับถือ จะเลื่องฦๅระบือทั่ว ปะผัวใหม่ชายชั่วสิซ้ำร้าย จะเข้าชื่อซื้อขายยับระยำ เพื่อนบ้านเขาก็จะพลอยกันซ้ำ นับวันจะระกำตรมใจตรอม จะชวนอย่ามันก็ไม่ยอม ครั้นจะประนีประนอมก็เครื่องจะเปลืองตัว เปนสัตรีจะหาผัวที่ดีนี้แสนยาก พระคุณเอ่ย เมื่อยามรักเขาก็ว่าไม่จากจนตัวตาย หญิงหลงด้วยลมชายเพราะหวานชิดสนิทนัก สู้บำเรอรักบำรุงผัวจนตัวยาก ครั้นสิ้นทรัพย์อัปรภาคเขาก็ไม่อยากอินังนำพา พาลพาโลโกรธาแล้วด่าตี เปนสัตรีก็จนจิตร ตั้งแต่ว่าจะบีบน้ำตาคิดไม่วายวัน พระคุณเอ่ย เกล้ากระหม่อมฉันได้สดับอยู่เนืองๆ ครั้นจะมีผัวก็เครื่องจะเคืองใจ ครั้นจะอยู่ไปเปนหม้ายก็ตรอมจิตร เปนไม่รู้แห่งที่จะคิดจะปรองดอง เปนสัตรีมีผัวสองไม่ผ่องแผ้วเปนราคี ต่อที่คนชั่วมันจึงว่าดีไม่บัดสีใจ ผิดชอบคงหาได้ทำไมกับผัว แต่งแต่ตัวไว้ให้รวยระรื่น ขัดขมิ้นไว้ให้เปนพื้นแป้งผัดหน้า กระแจะจันทน์น้ำมันทาไม่ขาดสาย ร้อนใจอะไรกะชายจะตอมตาม บำรุงรูปไว้ให้งามแล้วก็จะต้องตา พระพุทธิเจ้าข้า หญิงอย่างนี้มัทรีไม่เอามาเปนแบบฉบับ ถึงจะตะกรกตระกรำระยำยับอัปรภาค ไม่ให้ผัวตัวจากแล้วพระทูลกระหม่อม มัทรีนี้จะสู้ถนอมยอมตายกับฝ่าพระบาท จะพิทักษ์ไทยธิราชทุกเย็นเช้า จะหาผัวที่ไหนได้ดังพระทูลเกล้า ตายแล้วเกิดเล่าสักร้อยชาติ จะเหมือนพระเวสสันดรจอมปราชญ์นี้ยากนัก ตั้งแต่เกล้ากระหม่อมมาเปนจอมบริรักษภักดี คำนิดหนึ่งก็มิได้ว่ามัทรีให้อัปยศ สู้ออมอดโอบอ้อม ควรแลฤๅทูลกระหม่อมจะให้ลูกนี้ยอมอยู่ในวังไม่สังเวช จะให้ละพระปิ่นปกเกษของลูกไปในกลางป่า คือใครจะปฏิบัติรักษาก็หามิได้ จะให้ลูกนี้อยู่ในเวียงไชยไอสวรรย์ พระองค์จงฟาดฟันให้เปนผี นั่นแลเห็นว่ามัทรีจะไม่ได้ไปตามผัว จะจองจำทาระกรรมตัวก็คงจะหลบลี้ ขอพระบารมีทูลกระหม่อมจอมพิภพเวียงไชย เปนกลดกั้นกันภัยในกลางป่า ผัวเมียก็จะก้มหน้ากราบถวายบังคมลาพากันไป อย่าทรงเปนห่วงหน่วงหนักพระไทยถึงลูกเลย โอ้พระทูลเกล้าเจ้าประคุณของลูกเอ่ย มัทรีนี้จะนานเห็น พระลูกเจ้าจะตายฤๅจะเปนไม่รู้ที่ ขอพระมิ่งโมลีจงอวยไชย จงประสาทพระพรให้แก่ข้ามัทรี แต่ในกาลครั้งเดียวนี้เถิด
ตมพฺรวิ มหาราชา | มทฺทึ สพฺพงฺคโสภณํ |
อิเม เต ทหรา ปุตฺตา | ชาลี กณฺหาชินา จุโภ |
นิกฺขิปฺป ลกฺขเณ คจฺฉ | มยนฺเต โปสยามเสติ |
ตมพฺรวิ ราชปุตฺตี | มทฺที สพฺพงฺคโสภณา |
ปิยา เม ปุตฺตกา เทว | ชาลี กณฺหาชินา จุโภ |
ตฺยมฺหํ ตตฺถ รมิสฺสนฺติ | อรญฺเญ ชีวิโสกันนฺต |
ตมพฺรวิ มหาราชา | สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒโน |
สาลีนโมทนํ ภุตฺวา | สุจิมํสูปเสจนํ |
รุกฺขผลานิ ภุญฺชนฺตา | กถํ กาหนฺติ ทารกา |
ภุตฺวา สตปลฺเล กํเส | โสวณฺเณ สตราชิเก |
รุกฺขปตฺเตสุ ภุญฺชนฺตา | กถํ กาหนฺติ ทารกา |
กาสิยานิ ปธาเรตฺวา | โขมโกทุมฺพรานิ จ |
กุสจิรานิ ธาเรนฺตา | กถํ กาหนฺติ ทารกา |
วยฺหาหิ ปริยายิตฺวา | สิวิกาย รเถน จ |
ปตฺติกา ปริธาวนฺตา | กถํ กาหนฺติ ทารกา |
กูฏาคาเร สยิตฺวาน | นิวาเต ผุสิตคฺคเล |
สยนฺเต รุกฺขมูลสฺมึ | กถํ กาหนฺติ ทารกา |
ปลฺลงฺเกสุ สยิตฺวาน | โคณเก จิตฺตสณฺฐเร |
สยนฺเต ติณสณฺฐเร | กถํ กาหนฺติ ทารกา |
คนฺธเกน วิลิมฺเปตฺวา | อคฺคลูจนฺทเนน จ |
รโชชลฺลานิ ธาเรนฺตา | กถํ กาหนฺติ ทารกา |
จามรีโมรหตฺเถหิ | วีชิตงฺคา สุเข ฐิตา |
ผุฏฺฐา ฑํเสหิ มกเสหิ | กถํ กาหนฺติ ทารกาติ |
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
ตมพฺรวิ ราชปุตฺตี | มทฺที สพฺพงฺคโสภณา |
มา เทว ปริเทเวสิ | มา จ ตฺวํ วิมโน อหุ |
ยถา มยํ ภวิสฺสาม | ตถา เหสฺสนฺติ ทารกา |
อิทํ วตฺวาน ปกฺกามิ | มทฺที สพฺพงคฺโสภณา |
สิวิมคฺเคน อเนฺวติ | ปุตฺเต อาทาย ลกฺขณาติ |
ตโต เวสฺสนฺตโร ราชา | ทานํ ทตฺวาน ขตฺติโย |
ปิตุ มาตุ จ วนฺทิตฺวา | กตฺวา จ นํ ปทกฺขิณํ |
จตุวาหึ รถํ ยุตฺตํ | สีฆมารุยฺห สินฺธวํ |
อาทาย ปุตฺตทารญฺจ | วงฺกํ ปายาสิ ปพฺพตนฺติ |
ตโต เวสฺสนฺตโร ราชา | เยนาสิ พหุโก ชโน |
อามนฺต โข ตํ คจฺฉาม | อโรคา โหนฺตุ ญาตโยติ |
นิกฺขมิตฺวาน นครา | นิวตฺติตฺวา วิโลกิเต |
ตทาปิ ปถวี กมฺปิ | สิเนรุวนวฏํสกาติ |
อิงฺฆ มทฺทิ นิสาเมหิ | รมฺมรูปํว ทิสฺสติ |
อาวาโส สิวีเสฏฺฐสฺส | เปตฺติกํ ภวนํ มมนฺติ |
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
ตํ พฺราหฺมณา อนฺวาคมุํ | เต ตํ อสฺเส อยาจิสุํ |
ยาจิโต ปฏิปาเทสิ | จตุนฺนํ จตุโร หเยติ |
อิงฺฆ มทฺทิ นิสาเมหิ | จิตฺตรูปํว ทิสฺสติ |
มิคา โรหิตวณฺเณน | ทกฺขิณสฺสา วหนฺติ มนฺติ |
อเถตฺถ ปญฺจโม อาคา | โส นํ รถมยาจถ |
ตสฺส ตํ ยาจิโตทาสิ | น จสฺสุปหโต มโน |
ตโต เวสฺสนฺตโร ราชา | โอโรเปตฺวา สกํ ชนํ |
อสฺสาสยิ อสฺสรถํ | พฺราหฺมณสฺส ธเนสิโนติ |
ตฺวํ มทฺทิ กณฺหํ คณฺหาหิ | ลหุกา เอสา กนิฏฺฐกา |
อหํ ชาลึ คเณหิสฺสามิ | ครุโก ภาติโก หิ โสติ |
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห | |
ราชา กุมารํ อาทาย | ราชปุตฺตี จ ทาริกํ |
สมฺโมทมานา ปกฺกามุํ | อญฺญมญฺญํ ปิยํ วทาติ |
เดิน (๑๐) ราชา สญฺชโย ปางเมื่อพระจอมนราธิบดินทรปิ่นนิกรประชาชนศรีสญชัย ได้สดับสารสมเด็จพระมัทรีศรีสะใภ้เธอทูลลา ในพระอุราเธอเร่าร้อนระริกระรัว ขึ้น จึงตรัสว่ามัทรีเอ่ย เจ้ารักผัวไม่เชื่อพ่อแล้วหนอพระลูกแก้ว บิดาห้ามไม่ฟังแล้วก็ตามที เมื่อจะอยู่ในบุรีสิว่าไม่งาม จะบุกป่าฝ่าหนามไปตามผัว มัทรีเอ่ย เจ้าไม่คิดกายเสียดายตัวเจ้าบ้างเลย อนิจจาพระลูกเอ่ย ฤๅเจ้าเห็นว่าวาศนาบิดานี้น้อยนัก จะเลี้ยงพระลูกรักนั้นลำเอียง เจ้าจึงจะบ่ายเบี่ยงเลี่ยงหลีกออกจากวัง ชรอยเจ้าจะชิงชังฟังคำผัวจึงโกรธพ่อ มัทรีเอ่ย สุดที่จะงอนง้อพระลูกแก้ว เจ้าจะไปให้ได้แล้วก็ตามทีพ่อไม่ว่า อิเม เต ทหรา พ่อจะขอแต่สองนัดดาดวงสวาท จะพาไปไยในหิมวาศให้เวทนา จงให้อยู่ในภาราจะได้สืบกระษัตริย์ พระพุทธิเจ้าข้า ฝ่าพระบาทตรัสห้ามมาทั้งนี้ ย่อมทรงพระปรานีพระเจ้าหลาน กลัวว่าจะต้องทุกข์ทรมานในหิมเวศ พระเดชพระคุณทั้งนี้เปนที่สุด ปิยปุตฺตกา นาม พระพุทธิเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าบุตรเปนที่สุดแสนเสนหา ถึงจะชั่วช้าประการใดให้สามารถ เปนหนามเสี้ยนเบียนบีฑาประชาราษฎร์ก็ควรแต่ห้ามเฝ้า อันจะตัดจากลูกเต้านั้นไม่ขาด ถ้าเกล้ากระหม่อมเหมือนฝ่าลอองธุลีพระบาท ก็คงจะตัดได้คล่องๆ ไม่รู้ฤาว่าช้างเผือกขาวผ่องต้องประสงค์ จะสอยดาวสาวเดือนลงถวายได้ แกล้งเสือกส่งจงใจให้ข้าศึก นี่หากว่าชาวเมืองเขาคิดลึกชวนกันทูลความ พระองค์ขับพระเจ้าลูกเสียก็งามต้องตามที่ พระคุณเอ่ย อันสองราชกุมารนี้ไม่มีผิด จะพาลโกรธลูกกะจิริดกะไรได้ ข้ามัทรียังมีอาลัยเปนล้นพ้น กว่าจะเลี้ยงได้แต่ละคนนี่แสนยาก ทูลกระหม่อมจะมาพรากไปจากอก ดังจะหยิบยกเอาดวงใจไปจากกาย กระหม่อมฉันจะขอลาพาพระหลานหญิงชายไปชมเชย โอ้พระทูลเกล้าของพระลูกเอ่ย มัทรีนี้ไม่รู้เลยที่จะเอาอันใดมาอ้างอิง เปนลูกเต้าเล่าก็จริงแต่จนจิตร อันสองกุมารนี้ไม่เปนสิทธิ์แก่เกล้ากระหม่อม มัทรีนี้ไม่รู้ที่จะยินยอมยกถวาย จะสู้รับสารภาพตายด้วยอาญา ขอแต่สองกุมาราพาไปเปนเพื่อนตัว อนึ่งจะวางใจข้างพระเจ้าผัวก็ใช่ที่ เกลือกว่าโรคาไข้สิ่งไรมี จะได้ใช้พ่อชาลีแม่กัณหา อมยาพ่นฝนยาทาประสาจน พระพุทธิเจ้าข้า ใช่พระองค์จะไร้ญาติขาดคนเมื่อไรมี ลูกน้อยนิดหนึ่งเท่านี้จะทำอะไรได้ ถึงจะเลี้ยงไว้เวียงไชยก็คงจะขายพระบาทา สอนอ่อนก็ยากปากอ่อนก็กล้าระอาใจ วาสุกรีฤๅจะไร้ซึ่งพิษเขี้ยว ชาวเมืองก็จะโกรธเกรี้ยวพาโลไล่ขับให้อัปมาณ ขับพระเจ้าลูกแล้วสิมิหนำยังจะซ้ำพระหลานลงเปนสอง จะเลื่องฦๅระบือก้องทุกค่ำเช้า พระคุณเอ๋ย ได้ตัดต้นโค่นเง่าแล้วจงทึ้งถอน จะอาลัยอาวรณ์ไปไยมี พระเจ้าหลานฤๅจะดีกว่าโอรส แต่ลูกในไส้ยังคิดคดดูเวทนา โอ้พ่อชาลีกัณหาของแม่เอ๋ย จะนั่งเฉยอยู่ไยเล่าฟังแม่ว่า จงบังคมพระไอยกาทูลลาเถิดจะได้ไป แม่กัณหาอย่าร้องไห้จะมัวหมอง พ่อชาลีช่วยทูลแทนพระน้องทีเถิดสินะพ่อ จะเซ้าซี้รีรออยู่ว่าไร เจ้าจะยอมอยู่ฤๅแม่จะได้ไป จงชั่งใจให้จงดีพระลูกเอ่ย ไม่ควรคู่กับบุรีแล้วนะพระลูกรัก อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ใช่สุริยวงศ์ โกกิลาฤๅจะฝ่าเข้าฝูงหงส์ใช่พงศ์พันธุ์ พระลูกเอ่ย เอาแต่ป่าไม้ไพรวันเปนเรือนตาย จงสู้จนทนอายไปภายหน้า เห็นว่าจะดีกว่าอยู่ในพระภารา จงฟังคำแม่ว่านี้เถิด
เดิน (๑๑) ราชา สญฺชโย ปางเมื่อพระทูลกระหม่อมจอมนราธิบดีศรีสญชัย ได้สดับสารพระมัทรีศรีสะใภ้ทูลพิไรร่ำ ด้วยถ้อยคำอันเสียดสีสุดที่จะรำพัน ให้อ้ำอึ้งตึงตันพระไทยนัก แล้วเบือนพระภักตร์ไม่ทัศนา ขยับอุ้มพระนัดดาขึ้นวางตัก จุมพิตภักตร์แล้วทรงพระกันแสงไห้ ขึ้น ว่าโอ้สองทรามวัยของไอยกา เจ้าจะนิราศร้างพระภาราไปแรมไพร จะอดอยากลำบากใจในกลางป่า สาลีนโมทนํ ภุตฺวา พระหลานเอ่ย เคยเสวยเข้าสาลีมีรศหอม พร้อมด้วยสูปะพยัญชนะถ้วนถี่ พระพี่เลี้ยงนั่งชี้เชิญให้ทั้งสองเสวย อนิจจาพระหลานเอ่ย จะไปเสวยแต่มูลมันอันขื่นขม พระหลานเอ่ย เคยบรรธมเหนือพระยี่ภู่พระอู่ทอง เหล่าพี่เลี้ยงเคียงประคองขับกล่อมทุกเวลา รุกฺขมูลสฺมึ สยนฺตา ตั้งแต่นี้พระนัดดาจะบรรธมใต้ร่มพฤกษาชาติ จะต้องน้ำค้างเย็นกระเซ็นสาดพระวรกาย กัณหาเอ่ย แม่เคยสรงกระแสสายในอ่างแก้ว พี่เลี้ยงนั่งเปนแถวถวายเครื่องสุคนธ์อันปนปรุง โอ้แต่นี้พ่อชาลีจะจูงมือแม่กัณหา ลงสระสรงซึ่งคงคาในท้องธารละหานหิน น้ำก็เย็นเหม็นกลิ่นจอกกระจับ บวรกายจะย่อยยับด้วยเหลือบยุง พระหลานเอ่ย ใครเลยจะบำรุงโบกปัดพัดกระพือในกลางป่า กาสิยานิ ปธาเรตฺวา เจ้าสิเคยทรงผ้ากาสิกพัตรพรรณราย ดอกดวงเด่นกระจายด้วยลายทอง แต่นี้จะเอาใบไม้มากรองรองทรง จะระคายคันองค์ดูอนาถ กัณหาเอ่ย เคยประพาศในสวนศรี ชมสระโบกขรณีในสวนขวา หักฝักประทุมมาอุบลบาน พร้อมด้วยเพื่อนกุมารตามอยู่สะพรั่ง พระหลานเอ่ย เคยเล่นในวังเสียงอึงมี่ ลากโคถึกมฤคีรูปปั้นอันบรรจง ใส่ล้อกลิ้งวิ่งวงแล้วทรงพระสรวล พรุ่งนี้เช้าเจ้าจะชวนกันเดินในดงดอน จะกรำฝนทนร้อนทุกเวลา สงสารสองนัดดาดวงสมร เดินเหนื่อยหน่อยก็จะอ้อนให้แม่อุ้ม จะร้องไห้ฟักฟูมในกลางทุ่ง เขาอุ้มเหนื่อยเขาก็จะจูงให้เจ้าเดิน จะระหกระเหินแม่จะเดินยังนับย่าง บาทาเจ้าก็บอบบางแต่จะย่างก็ลุกล้ม ปู่นี้ปรารมภ์ดังเลือดตาจะหลั่งไหล พระหลานเอ่ย ปู่นี้จะใคร่ได้เจ้าไว้เชยชม หม่อมแม่เจ้าเอาแต่คารมมาทานทัด ปู่เปนกระษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนได้ ใช่ว่าไอยกาจะไม่รักใคร่เมื่อไรมี ตรัสพลางจูบพระชาลีแก้วกัณหา แล้วยกพระนัดดาลงจากตัก เธอก็ซบพระภักตรลงทรงพระพิลาป พระอัสสุชลไนยไหลอาบพระภักตรา มิใคร่จะดูหน้าพระหลานได้ เธอก็ทรงพระกรรแสงไห้ร่ำรักสองกุมารา อยู่บนแท่นที่ไสยานั้นแล
เดิน (๑๒) เวสฺสนฺตโร ราชา ปางเมื่อพระจอมมกุฏวิสุทธิพิเศษเวสสันดร อิกทั้งเอกองค์มหิศรสุนทรยอดกันยาหญิง คือพระวิมลมิ่งแม่มัทรี กับพระชาลีแก้วกัณหา ชวนกันกราบถวายบังคมลาพระบิตุเรศ เสด็จยังนิเวศน์พระชนนี กระษัตริย์ทั้งสี่พระองค์ก็ทรงพระโศกา พระเวสสันดรเธอจึงทูลลา ขึ้น ว่าพระพุทธิเจ้าข้า ข้าแต่พระจอมอิศราอันเรืองศรี พระชนนีของลูกแก้ว ลูกจะขอทูลลาแล้วพระทูลกระหม่อม เคยถนอมลูกมาแต่เยาว์จนคุ้มใหญ่ หวังพระหฤทัยจะฝากผี โอ้พระชนนีของลูกแก้ว นับวันลูกจะไกลแล้วจากนิเวศน์วัง พระมารดาอยู่ข้างหลังจะประชวรโรคาไข้ ถึงสู่สวรรคครรไลย ก็ที่ไหนจะได้ถวายพระเพลิงพระชนนี ลูกจะบุกป่าพนาลีไปไกลเนตร ลูกจะทรงบรรพชาเพศบำเพ็ญผล จะแผ่เพิ่มเติมกุศลส่งมาทุกค่ำเช้า โอ้พระปิ่นปกเกล้าของลูกเอ่ย อย่าเศร้าเสียพระไทยเลยถึงลูกแก้ว ได้เลี้ยงลูกมาแล้วเอาแต่บุญเถิดทูลกระหม่อม ทูลพลางเธอก็น้อมพระเศียรซบแทบพระบาทพระชนนี เดิน สมเด็จพระผุสดีพันปีหลวง เธอก็ค่อนพระทรวงทรงพระโศกา ขึ้น จึงตรัสว่าโอ้อย่าอาวรณ์ พ่อเวสสันดรของแม่เอ่ย อย่าท้อแท้พระไทยเลยฟังแม่ว่า ชรอยว่ากรรมได้ทำมาแต่ก่อนแล้ว พระลูกแก้วจึงมาจากพระชนนี พระลูกเอ่ย อุส่าห์ถนอมเลี้ยงพ่อชาลีแม่กัณหาอย่าให้อนาทร ยามแดดลมระงมร้อน อย่าพาลูกอ่อนเดินจะเจ็บไข้ เย็นย่ำค่ำอย่าไปจงหยุดหย่อน ผลัดกันนั่งนอนรักษาลูกอย่าละเลย อนิจจาพระหลานเอ่ยไม่เคยยาก จะมาได้ความลำบากแต่น้อยๆ ดังว่าเลือดตาย่าจะหยดย้อยลงลามไหล พระหลานเอ่ย ยังน้อยนักทรามรักใคร่ไม่วายนม ย่านี้เคยได้เชยชมทั้งสองศรี จะจากอกไอยกีไปสู่ป่า กัณหาเอ่ย เงยหน้าเถิดนะย่าจะสอน เจ้าอย่าอ้อนไปนะเขาจะตี พ่อชาลีอย่าเย้าน้องให้ร้องไห้ อปฺปมตฺตา พ่อเอ่ย อย่าได้ประมาทใจ จงทรงพรตตามวิสัยเพศบรรพชา แม่มัทรีจะศรัทธาบวชด้วยผัวฤๅพระลูกแก้ว เออก็ดีแล้วพระลูกรัก อุส่าห์สามิภักดิ์ตามประเพณี จะได้เปนสวัสดีศรีศุภสถาผล เจ้าจงเจริญพระชนม์ทุกคืนวัน อุส่าห์ปกป้องครองกันอย่าฉันทา จงปราศจากโรคาสถาวร พระพรนี้แม่ให้จงประสิทธิ์ทั้งสี่กระษัตริย์ จงเปนศุขสโมสรโสมนัศทุกเวลา ในประเทศราวป่านั้นแล
เดิน (๑๓) จตฺตาโร ขตฺติยา ปางเมื่อกระษัตริย์ทั้งสี่พระองค์ทรงพระโศกา ตั้งแต่เวลาประถมยามเสวยความเวทนา จนเวลาอรุณรังษีทิพากร ฝ่ายพระเวสสันดรจอมกระษัตริย์ จึงตรัสสั่งชาวพนักงาน ให้เบิกอลังการแก้วแหวนอันสุกสด บรรทุกใส่ในราชรถแก้วแล้วให้ประทับกับเกยมาศ สมเด็จพระบาทบรมบพิตรพิชิตโมลี ชวนกระษัตริย์ทั้งสามพระองค์เข้าสู่ที่สรงเสร็จสรรพ ทรงพระภูษาอาภรณ์ทาบทับประดับเพ็ชร์พรรณราย ส่องพระฉายผัดพระภักตราทรงพระมหามงกุฎ จับพระขรรคาวุธถือธนูคู่พระหัตถ์ สี่กระษัตริย์เสด็จดำเนินลงจากพระตำหนักจันทน์
ฝ่ายนางบริรักษ์นักสนมกำนัลพระญาติประยูรวงศ์ตามส่งเสด็จ บ้างก็เดินเช็ดน้ำตา ชวนกันโศกเศร้าโศกาให้อาวรณ์ สมเด็จพระเวสสันดรทรงผินพระภักตร์มาตรัสสั่ง ขึ้น ว่า อามนฺต โข ตํ เราขอบใจท่านทั้งปวง อย่าเปนห่วงไห้สอื้น ชวนกันกลับคืนเข้าตำหนักจันทน์อันบรรจง เราขอฝากพระบิตุราชมาตุรงค์ทั้งสองศรี สั่งแล้วกระษัตริย์ทั้งสี่พระองค์ขึ้นทรงราชรถทอง เดิน ฝ่ายสินธพเรืองรองผยองย่างอย่างพยศ ชักราชรถออกจากทวารวัง เสียงกงกำก็กึงกังดังก้อง ดังจะเลื่อนลอยล่องด้วยกำลังม้า ฝูงสหชาตโยธาถวายบังคมบรมจักราธิราช มนตรีสี่อำมาตย์ราชนิกูลส่งเสด็จทุกกระทรวง เหล่ายาจกนั่งตามถนนหลวงเนื่องแน่น ท้าวเธอโปรยแก้วแหวนให้เปนทานทุกถ้วนหน้า จึงสั่งสหชาตโยธาให้กลับคืนเข้าพระนคร สมเด็จพระเวสสันดรบวรนราธิเบศร์ จะใคร่ทอดพระเนตรสั่งพระภารา ฝ่ายอัสดรมิ่งม้าก็กลับหน้าพิไชยราชรถต่อพระบุรี ด้วยเดชะพระบารมีบรมโพธิสัตว์ หน่อพระชินสีห์จึงตรัส ขึ้น ว่าดูกรเจ้ามัทรี อุตฺตโม วาโส พระน้องเอ่ย จงดูที่สถิตแห่งสมเด็จพระบิตุรงค์มาตุราช เสียดายเอ่ย แต่ปรางมาศปราสาทสุวรรณอันสดสุก จตุรมุขประดับดวงมณีรัตนชัชวาล รูปครุธตระหง่านทยานเหยียบวาสุกรีทั้งสี่ทิศ เสียดายเอ่ย แต่พระที่นั่งรังสฤษดิ์สูงอันรุ่งเรือง เราเคยนั่งแขกเมืองหมอบถวายบังคมคัล เสียดายเอ่ย แต่เรือนจันทน์พรรณราย ตั้งแต่นี้จะห่างหายไปแลลับ พระภาราเจ้าเอ่ย ที่ไหนเลยเราจะได้กลับมาแลเห็น จะไปเหงาเงียบเยียบเย็นอยู่ป่าชัฎ ท้าวเธอตรัสแล้วก็ชักพิไชยรถแก้วหันกลับมากลางทาง
เดิน จตฺตาโร พฺราหฺมณา ยังมีพราหมณชราร่างสี่คนวิ่งตามมา ร้องทูลขออัสสวราม้ามรกฏ ท้าวเธอก็เปลื้องจากราชรถให้เปนทาน งอนแอกรถก็บันดาลไม่ตกลง ฝ่ายเทพยเจ้าทั้งสี่พระองค์ทรงกำลัง นฤมิตรเปนละมั่งทองเข้ารองแอกแบกรถไว้
ยังมีพราหมณเข็ญใจผู้หนึ่ง ครั้นมาถึงทูลขอรถ ท้าวเธอก็มอบให้หมดทุกสิ่งของ เทพยเจ้าละมั่งทองก็อันตรธาน หน่อพระพิชิตมารจึงตรัสว่า ขึ้น ดูกรเจ้ามัทรี พี่จะอุ้มบุตราพ่อชาลี เจ้าจงอุ้มบุตรีแก้วกัณหา ลหุกา ฝ่ายจะเบากว่าพ่อชาลี กระษัตริย์ทั้งสี่ก็ทรงโสมนัศา พากันเสด็จดำเนินมา ตามสถลมรรคานั้นแล
ทานกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ
ประดับด้วยพระคาถา ๒๐๙ พระคาถา
----------------------------