- คำอธิบาย
- พระราชประวัติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- ประวัติพระมหาราชครู
- พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
- ตอนที่ ๑
- ตอนที่ ๒
- ตอนที่ ๓
- ตอนที่ ๔
- ภาคผนวก ๑ ชื่อช้างทุรลักษณ์
- ภาคผนวก ๒ ช้าง ๘ ตระกูล
- ภาคผนวก ๓ ช้างมงคล
- ภาคผนวก ๔ ๑๐ กษัตริย์เข้าแข่งขันยกโลหธนู ในงานสยุมพร นางพินทุมดี ณ กรุงรมยนคร
- ภาคผนวก ๕ อธิบายศร
- ภาคผนวก ๖ ทหารเอก ๑๐ ตนของพระสมุทรโฆษ
- ภาคผนวก ๗ กษัตริย์และขุนพลที่กล่าวถึงในรายการรบ
- ภาคผนวก ๘ สมุทรโฆษในปัญญาสชาดก
ภาคผนวก ๒
ช้าง ๘ ตระกูล (หน้า ๔๐ และ หน้า ๔๖)
อัษฎคชำนวยพงศ์หรืออัษฎคชำนวยพรรณ หมายถึง ช้าง ๘ ตระกูลจำแนกไว้ครบอัษฎ คือ ๑. ไอราพต ๒. บุณฑรึก ๓. โคมุท ๔. อัญชัน ๕. ภามณี ๖. บุษปทันต์ ๗. สารวโภม ๘. สุประดิษฐ์ ตำราลักษณะช้าง มี ๑๔ อำนวยพงศ์ และ ๘ อำนวย (ตระกูล) ใน ๑๔ อำนวย ตรงกับ อัษฎอำนวย ในสมุทรโฆษ คือ
๑. ไอยราพต | สมุทรโฆษเรียก | ไอราพต |
๒. บุนทฤก | สมุทรโฆษเรียก | บุณฑรึก |
๓. กระมุท | สมุทรโฆษเรียก | โคมุท |
๔. อัญชัน, อังชัน | สมุทรโฆษเรียก | อัญชัน |
๕. ประมาถี | สมุทรโฆษเรียก | ภามณี |
๖. บุษปทันต์ | สมุทรโฆษเรียก | บุษปทันต์ |
๗. สารวโภม, เสาวโภม | สมุทรโฆษเรียก | สารวโภม |
๘. สุประดิษฐ์ | สมุทรโฆษเรียก | สุประดิษฐ์ |
ช้าง ๘ ตระกูลนี้เป็นช้างดี จัดไว้ในพวกช้างศุภลักษณ์
อัษฎคชำนวยพงศ์ = อัษฎ+คช+อำนวยพงศ์ แปลว่า “ช้าง ๘ ตระกูล” อัษฎ = แปด คช = ช้าง อำนวยพงศ์ = ตระกูล, ตระกูลวงศ์
อำนวยพงศ์ ตำรานารายณ์ประทมสินธุ์
๑. ไอยราพต
๒. บุนทฤก
๓. กระมุท
๔. อัญชัน
๕. ประมาลี
๖. บุษปทันต์
๗. เสาวโภม
๘. สุประดิษ
ตำราลักษณะช้างคำโคลง
๑. ไอยราพต
๒. บุนทฤก
๓. กระมุท
๔. อังชัน
๕. ประมาถี
๖. บุษปทันต์
๗. สารวะโภม
๘. สุปดิษ
ตำราลักษณะช้างคำฉันท์
๑. อำนวยไอราพต
๒. อำนวยบุนทฤก
๓. อำนวยกระมุท
๔. อำนวยอังชัน
๕. ประมาถี
๖. อำนวยบุษปทันต์
๗. อำนวยสารวโภม
(อำนวยพงศ์ ในตำรานี้ว่ามี ๑๔)