- คำนำ
- พระราชประวัติสังเขป
- ที่ ๑
- ที่ ๒
- ที่ ๓
- ที่ ๔
- ที่ ๕
- ที่ ๖
- ที่ ๗
- ที่ ๘
- ที่ ๙
- ที่ ๑๐
- ที่ ๑๑
- ที่ ๑๒
- ที่ ๑๓
- ที่ ๑๔
- ที่ ๑๕
- ที่ ๑๖
- ที่ ๑๗
- ที่ ๑๘
- ที่ ๑๙
- ที่ ๒๐
- ที่ ๒๑
- ที่ ๒๒
- ที่ ๒๓
- ที่ ๒๔
- ที่ ๒๕
- ที่ ๒๖
- ที่ ๒๗
- ที่ ๒๘
- ที่ ๒๙
- ที่ ๓๐
- ที่ ๓๑
- ที่ ๓๒
- ที่ ๓๓
- ที่ ๓๔
- ที่ ๓๕
- ที่ ๓๖
- ที่ ๓๗
- ที่ ๓๘
- ที่ ๓๙
- ที่ ๔๐
- ที่ ๔๑
- ที่ ๔๒
- ที่ ๔๓
- ที่ ๔๔
- ที่ ๔๕
- ที่ ๔๖
- ที่ ๔๗
- ที่ ๔๘
- ที่ ๔๙
- ที่ ๕๐
- ที่ ๕๑
- ที่ ๕๒
- ที่ ๕๓
- ที่ ๕๔
- ที่ ๕๕
- ที่ ๕๖
- ที่ ๕๗
- ที่ ๕๘
- ที่ ๕๙
- ที่ ๖๐
- ที่ ๖๑
- ที่ ๖๒
- อธิบายคำ
ที่ ๑๑
เรือมหาจักรี เมืองเวนิส
วันศุกร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๓๐ร.ศ. ๑๑๖
ถึงแม่เล็ก,
ด้วยฉันได้จดหมายเรื่องวันนี้มาเปนความย่อ เพราะหาเวลาไม่ได้ ที่เขียนด้วยเส้นดินสอ เพราะมาในรถไฟ วันที่ ๑๖ เวลา ๒ ยาม เขียนหมึกจะเลอะ แต่ไม่สดวกนักบางทีจะขาดได้ แต่ทิ้งไว้คงจะลืม
เวลาที่พวกไทยเรามานั้น เขาแต่งเต็มยศ คนอื่น ๆ เขาแต่งตามยศ แม่เล็กคงจะรู้ได้ว่าอย่างไร แต่จรูญนั้นแต่งเสื้อดิโปลมาติกเลบตแนลคอลแนลฮยูม กับหมอยาร์แต่งเปนทหารเราตามยศที่เทียบตรงกัน ฉันพึ่งลงมาจากตะพานแต่เห็นจะเปนสวัสดิ์เปนผู้เห็นก่อน เขาฮุเรแลคำนับ ได้ความภายหลังว่า จีระจำฉันไม่ได้เลย ว่าถ้าพบกลางถนนจะไม่รู้จักว่าใครทีเดียว แต่เช่นนั้นยังต้องถามเปนนาน ฉันต้องบอกเรื่องขันของแม่เล็ก คือเขากราบบาทด้วย ฉันก็ออกเหวตามแบบ ทางเรือที่เข้ามานั้นเปนคันกั้นน้ำสองข้างบาง ๆ เหมือนที่ยาวา มีเสาโคมที่ปลายคัน เห็นเรืออเมริกันเปนเรือรบอย่างใหญ่ที่เขาเรียกว่าแบลเติลเข้าอู่อยู่ลำหนึ่ง เรือรบอิตาเลียน ๓ ลำสลุด เรือยังไม่ทันทอดสมอ ดู๊กออฟเยนัว๑๒๔ลงเรือไฟเล็กมาคอยรับ ออกมายืนอยู่นอกเก๋ง แต่งตัวเต็มยศเกือบไม่ใคร่ทัน พอเรือทอดสมอก็ขึ้นมา ดูแก่ไปกว่าแต่ก่อนมาก เพราะหัวล้านแลหนวดหงอกมาก แต่ท่าทางก็อย่างเก่านั้นเอง แต่พูดกระซี้กระซ้อมากขึ้นกว่าแต่ก่อน นั่งพูดกันสองต่อสองปิดประตูอย่างโก้หร่านแล้วนำให้รู้จักแอดดิกงคนหนึ่ง กับคนใช้อีกคนหนึ่ง ไวสแอดมีราลคนหนึ่ง เรียแอดมีราลประจำอาสแนลคือโรงทำปืนคนหนึ่ง กับนายเรือทุกลำ ฝ่ายทหารบกเยเนราลผู้บังคับการคนหนึ่ง กับนายทหารอีกบ้าง ฝ่ายพลเรือนแม ๑ ปรีเฟก ๑ กับผู้อื่นอีก สนทนากันนานจึงกลับไป แล้วฉันลงเรือกรรเชียงไปเยี่ยมตอบในครู่เดียวนั้น ดู๊ก๑๒๔มาอยู่ที่โฮเตล รอแยลคานิเวรต่อติดเดินได้ถึงกับโฮเตลที่ลูกโตมาอยู่ เมืองอิตาเลียนปักหลังหนึ่ง ธงช้างปักหลังหนึ่ง อยู่ตรงเรือจอดทีเดียว
(พระปรมาภิไธย) จุฬาลงกรณ์ ป ร.
-
๑๒๔. เจ้าธอมะโซแห่งวงศ์ซาวอย ดู๊กออฟเยนัว (พระภาตาของกวีนแมคริตา พระมเหษีพระเจ้าอุมเบอโตกรุงอิตาลี) ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๖ เคยเสด็จมากรุงสยามใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ↩