ที่ ๑๘

ปาร์ก เดสโซวีฟ เยนีวา

วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๓๐ร.ศ. ๑๒๖

ถึงแม่เล็ก,

ด้วยฉันต้องสารภาพในการที่ได้ทิ้งระยะทางว่างมาหลายวัน เพราะมีเหตุการณ์อันจะกล่าวต่อไปนี้

คือพอมาถึงที่นี่ก็วุ่นด้วยเรื่องโปรแกรม แลเรื่องฝรั่งเศสไม่แน่ในการรับรอง ต้องอ่านคอเรศปอนเดนซ์ ที่สวัสดิ์กับพระยาสุริยาไปพูดจาตกลงแล้วหวนกลับไปไหม่ร่ำไป ยังไม่กำหนดวันมาให้ เห็นว่าที่เขาจะนิ่งทนไม่ให้เราไปบ้านเขา เปนการแปลกกับประเทศทั้งปวงคงเปนไปไม่ได้ ครั้นมาที่นี่เมืองเบินที่เปนเมืองหลวงเขาจะรับเรา ทูตฝรั่งเศสที่เปนหัวน่าทูตทั้งปวง ไปคิดอ่านจะให้เขาเชิญ คอเวอนเมนต์ที่นี่ไม่ยอมเชิญ ว่าเปนการของไทยกับสวัสดิ์เท่านั้น หันเข้ามาหาเราให้ช่วยว่ากล่าว เรารับว่าไม่ได้เพราะเราเปนแขกมา จะไปขืนใจเจ้าของบ้านอย่างไรได้ ตกลงเปนขอเฝ้าเมื่อเลี้ยงแล้ว เห็นกันว่าคงจะต้องตกลง แต่เพราะไม่มีกำหนดมาเอง เราจึงได้งดการที่จะไป เปนไปอิตาลีทั้งหลายแล้วไปพักที่ตีโรล ๓ วัน แล้วจะไปออสเตรียแลรัสเซีย ต่อนั้นไปสวิเดนแลโคเปนเฮกเก็น บรรดาเมืองทั้งหลายนี้ ตกลงตอบรับแลจะให้อยู่วังทุกแห่ง ต่อนั้นไปเมืองอังกฤษ ได้รับข่าวจากกับตันคำมิง ที่ไปพบปลัดทูลฉลองอังกฤษ บอกว่าตกลงจะให้อยู่วังบั๊กกิงฮำ ๗ วัน ระยะทางท่อนต้นเปนตกลงกันไปแล้วดังนี้ ถ้าฝรั่งเศสไม่รับเรา ๆ จะไปเบลเยียม ฮอแลนด์แลเยอรมนีต่อไป ถ้ารับคงจะแซกลงในระหว่างใดระหว่างหนึ่งได้ การขัดข้องอีกอย่างหนึ่งนั้น ฉันเปนโก้หร่านดีมาก ถึงได้เปนโคลด์ คือเปนหวัดเจ็บอย่างฝรั่งอี๋ไม่สนุกเต็มที เสมหะไม่รู้ว่ามันมาแต่ข้างไหนมากเต็มที ปวดหลังเจ็บคอเหลือทน แต่กินยาหมอยาร์วันเดียวก็คลาย แต่ยังไม่ปรกติได้ การที่จะเสียพระเกียรติยศอย่างใดยังไม่เห็นช่องเลย ดูหยอดกันเรื่อยไปทั้งนั้น จะมีแต่เรื่องขี่ม้า ฉันหนักใจเต็มที มันโตเหลือโต ขาฉันก็โตเต็มที่หนีบไม่เข้า ในพวกท่านมดหมอทอพายพากันว่าหมด ว่าจะขี่ม้าดีไม่ได้ จนคนตัดกางเกงมันก็ร้องว่าขาโตผิดมนุษย์ตัดยาก ซ้ำหมอห้ามมา ๒ วันแล้วด้วย ถ้าต้องขี่รถจะเปนพระเจ้างุ่มง่าม แต่ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็จำจะต้องทนเอา วันนี้ไปกินกลางวันที่ปาเลซ์อินา เห็นของปลาดหลายอย่าง คือดอกไม้สีครั่งโตงามเปนที่สุด ฉันได้ตั้งพิธีจะทับส่งเข้าไปให้ดู แลจะหาดอกไม้ผ้าส่งไปให้เห็นว่าเหมือนจริงตามที่ฉันได้เห็นทุกอย่างด้วย กับขนมเมืองนี้ดีกว่าที่เมืองอื่น ๆ มาก จะได้จัดส่งเข้าไป ฉันเปนคนตามที่บอกแม่เล็กแล้ว ว่ากูเปนเจ้าแผ่นดิน เรียกมันมาย้ำที่นี่อยู่ไม่ใคร่ได้ไปห้าง คนทั้งปวงเขาคงหาอะไรได้ดี ๆ กว่าฉันมาก เพราะเขาไม่จำเปนจะต้องไปร่าอาการเหมือนฉัน มีตากุมพลคนหนึ่ง โตไม่เคยเห็น ลูกคางจดน่าอก ต้องใส่เสื้อเชิ๊ดห่างคอข้างละ ๒ นิ้ว คลั่งทหารเปนกำลัง ฉันไปกอดคลำเนื้อแกเล่นชอบกันมาก ได้ถ่ายรูปพร้อมกับลูกทั้งปวงหลายรูป แล้วถ่ายกับโต ๒ คน๓๖๙รูปหนึ่ง กับเล็กด้วยอีกรูปหนึ่ง๓๗๐ ถ่าย ๔ ด้านรูป ๔ รูป ถ้าแล้วจะส่งไปให้ สองวันนี้ตอนเย็นฝนฝรั่งตกเซอะซะเต็มที มันบาง ๆ หยอย ๆ ไม่ใคร่แลเห็น แต่ไปยืนกลางแจ้งหยดลงหัวเย็นเต็มที เปียกก็เปนเซ่อพ้นประมาณ ลูกไม้ได้กินแล้วคือแชร์รี ลักษณลูกพุมเรียง แต่ดีกว่าที่ไม่ติดปาก กินแล้วไม่ต้องอยากอีก ลูกปีชหวานชืด ๆ รศชาติเปนฟันขาวไม่อร่อยเลย ดีแต่สตรอบรี ๆ ก็ลูกเล็กกว่ายาวา แต่รศดีกว่าไม่เปนแตงหนู สตรอบรีบ้านโตกว่าที่ยาวามาก เท่าลิ้นจี่ลูกใหญ่ ๆ เปนลูกไม้ที่กินอร่อย ลูกแอบเปอลนื้อ่านออกแล้ว ไม่ใช่อะไรเลยคือพุดทราเรานี่เอง เปนแต่มันโตเปนลูกไม้ป่าพระหิมพาน ถ้าดิบ ๆ จิ้มน้ำตาลกับเกลือเปนพุดทราเปรี้ยว ๆ วันนี้ตัดผมอย่างโก้หร่าน มันตัดดีหน้าตาไม่เปนอ้ายเลีย๑๔๙เลย ฉันช่างวิตกวิจารณ์เสียเต็มที ต่อเห็นตัดเข้าก็เบาใจ ร้องย้ำอยู่แต่ว่าเองจำไว้หนากูเปนไทย อย่าทำให้หัวเปนฝรั่ง เปนแต่ขอตัดหนวดหน่อยหนึ่ง แต่ขอกันไม่ให้โง้งเปนเขี้ยวเหมือนกันพระการใหญ่เรื่องฟันก็ทำดี แต่จะต้องเอาทองอุด ๆ ยา ๆ อะไรหลายซีก เสียแต่มันเปนพระเทวทัตเต็มที พอทำแล้วไปกินเข้าให้เหม็นติดจมูก ไปกินอะไรเหม็นไปหมดจะราก ตกลงเปนเจ็บตาหมอหัวเราะจะตาย แต่ว่าตามจริงไม่ถึงลูกชายกลาง๑๕๐ของฉัน แต่ปากมันมาร่ออยู่ตรงหน้าจึงเหม็นมาก ได้สนทนากับกับตันฮยูม เปนที่เข้าใจกันดีในการที่จะสอนลูก ฉันต้องรับว่าเขาดีจริง ได้ให้ทำหีบอย่างลงยารัสเซียที่แลโปร่งตลอด เห็นว่าไม่เคยรับ๑๕๑กันในบางกอก แต่จะทำลายไทยก็เห็นไม่ขัน ปล่อยให้ นอ รอ๑๕๒ ๆ ตามแบบของเขา กับผมที่ตัดวันนี้ หารือกับลูกทั้งสองคน ตกลงกันจะทำกำไลให้แม่เล็กใส่ได้ทั้งใส่เสื้อแลไม่ได้ใส่ สวัสดิ์ว่าแฟดชั่นใหม่ในปารีสมียังให้เขาเขียนอยู่ ถ้าทำแล้วเมื่อใดจะส่งเข้าไป ขอให้แม่เล็กใส่ให้เสมอต่างว่าฉันอยู่ด้วย ฉันทำไม่ให้หรูหราเหลือเกินกว่าที่จะใส่เล่นได้ มีเรื่องขันอย่างหนึ่ง ฉันใส่ผ้าเช็ดหน้าในกระเป๋าไม่หมด มีคนเขาเตือนฉันถามว่าทำไม ได้ความว่าเปนเครื่องหมายของคนฝรั่งเศส ที่รับจ้างหาเงินเปนลูกสวาดเหมือนกับคนชั่ว มีมากตามถนน เพราะฉนั้นคนที่เรียบร้อยดีเอาลงกระเป๋ามิดหมด ดึกแล้วหมอเขาให้นอนขอจบกันไว้ที อยากจะบ่นอีกว่าคิดถึงเต็มที ในเวลาไม่สบาย ฉันนอนคนเดียว ตื่นอยู่ฤๅตื่นขึ้นไม่มีใครคุยเลย รู้สึกเงียบเหงาใจในเวลานั้นมาก

(พระปรมาภิไธย) จุฬาลงกรณ์ ปร.

  1. ๑. กับตัน อาร์. เอส. ดี. คัมมิง เปนนายทหารเรือรบอังกฤษ เข้ามารับราชการพิเศษเปนนายเรือพระที่นั่ง เฉพาะคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรปครั้งนั้น

  2. ๒. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรค์วิไสยนฤบดี (พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ)

  3. ๓. ออฟฟิเซอที่นี้ เห็นจะทรงหมายถึง เลฟเตแนนต์แซนเดอร์ ๑ เลฟเตแนนต์วอลช์ ๑ เลฟเตแนนต์ฮอลด์ ๑ กับเลฟเตแนนต์เซอนิเคา ๑ รวม ๔ นาย ซึ่งเปนออฟฟิเซอชาวยุโรป

  4. ๔. พระยานาวาพยุหพล (หม่อมราชวงศ์ พิน สนิทวงศ์ ณกรุงเทพ)

  5. ๕. พระยามหาโยธา (ฉ่าง แสงชูโต)

  6. ๖. พระยาประเสริฐศาสตร์ดำรง (หมอ อี. ไรเตอร์)

  7. ๗. พระยานิพัทธ์ราชกิจ (อ้น นรพัลลภ) แต่ยังเปนนายพินัยราชกิจ

  8. ๘. นายจ่ารง (ชม) บุตรหลวงโสภณเพ็ชรัตน์ (นิ่ม) แต่ยังเปนนายสุจินดา

  9. ๙. เจ้าพระยาสุรวงศวัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) แต่ยังเปนพระยาสีหราชเดโชไชย

  10. ๑๐. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ)

  11. ๑๑. หลวงภูริบาลบริมัทน์ (แฉ่ง) หมอนวด

  12. ๑๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมติอมรพันธ์ แต่ยังเปนกรมหมื่น

  13. ๑๓. ห้องดาษฟ้าเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำแรก ซึ่งสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เคยประทับเวลาตามเสด็จพระราชดำเนินแต่ก่อน

  14. ๑๔. ชื่อเรือนของพระคลังข้างที่ซื้อไว้ที่สิงคโปร์

  15. ๑๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตร์ศุภกิจ แต่ยังเปนกรมหมื่น

  16. ๑๖. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศร์

  17. ๑๗. พระยามหาอำมาตย์ (เสง วิริยะศิริ) แต่ยังเปนพระยาสฤษดิ์พจนกร

  18. ๑๘. พระเจ้าแผ่นดินเปอร์เซีย ที่ ๔ ในวงศ์กะชาร์ประจุบันนี้ ทรงพระนามว่า นาสเรดิน ชาตะ พ.ศ. ๒๓๗๒ เสวยราช ๒๓๙๑ มฤ พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้เสด็จไปยุโรปครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๖ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๒๑ แลครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๓๒

  19. ๑๙. เซอร์ ชาลมิตเชล คอเวอเนอร์ แลคอมมานเดอร์อินชิฟสเตรดส์เซ็ตเตอลเมนตส์

  20. ๒๐. เมเยอร์เยเนราล โยนส์วอน ผู้บังคับกองทหารบกสิงคโปร์

  21. ๒๑. เจ้าพระยารัตนนาธิเบศร์ (พุ่ม)

  22. ๒๒. เลดี มิตเชล ภรรยาเซอชาลส์มิตเชล

  23. ๒๓. พระพิเทศพานิซ เซอร์ ยอนแอนเดอร์ซัน เวลานั้นเปนกงสุลเยเนราลสยามที่สิงคโปร์ เวลานี้เปนตำแหน่งนั้นอยู่ที่ลอนดอน

  24. ๒๔. มาร์ควิสกับมาเชเนสเบรดัลเบน อันเปนมาร์ควิสคนแรกในยศนี้

  25. ๒๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิ์วัฒนวิสิษฐ์ แต่ยังเปนพระองค์เจ้าสวัสดิ์โสภณ

  26. ๒๖. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  27. ๒๗. มิสเตอร์ ยอช.ยี.สก๊อตนี้เข้ามารับราชการอยู่ในกรมราชโลหกิจในศกนั้น เปนผู้แยกธาตุก่อนแล้วเปนเจ้ากรมอยู่จน พ.ศ. ๒๔๕๐ แล้วลาออกจากราชการไปทำเหมืองแร่อยู่ในหัวเมืองมลายู

  28. ๒๘. นักเรียนที่ตามเสด็จพระราชดำเนินไปครั้งนี้ ๑๙ คือ
    (๑) สมเด็จเจ้าฟ้าสมมัติวงศ์วโรทัย คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าสมมัติวงศ์วโรทัย กรมขุนนครศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
    (๒) สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศร์
    (๓) พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ คือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร
    (๔) พระองค์ดิลกนพรัฐ คือ พระจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรค์วิไสยนฤบดี
    (๕) พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส คือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
    (๖) หม่อมอนุวัตวรพงศ์ คือ พระยาศรีวรวงศ์ (ม.ร.ว.จิตร สุทัศน์ ณกรุงเทพ)
    ๗) ขุนลิปิกรณ์โกศล คือ พระยานรเนตรบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร์)
    (๘) หม่อมหลวงประยูร บุตรเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน (ม.ร.ว. หลานกุญชร ณกรุงเทพ) ถึงแก่กรรมที่เมืองเยนีวา
    (๙) หม่อมหลวงตุ่ม บุตรเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วัฒน คือ พระยามิตรธรรมพิทักษ (ม.ล. ตุ่ม กุญชร ณกรุงเทพ)
    (๑๐) นายนิล บุตรหลวงชำนิกลการ (สมบุญ) คือนายนิล ขุนกลิน กลับมากรุงสยามไม่ช้าก็ถึงแก่กรรม
    (๑๑) นายทองศุข บุตรหลวงชำนิกลการ (สมบุญ) คือนายทองศุข บุนยกลิน กลับมากรุงสยามไม่ช้าก็ถึงแก่กรรม
    (๑๒) นายมานิตย์ บุตรเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล) คือพระยามานิตย์กุลพันธ์ (มานิตย์ มานิตย์กูล)
    (๑๓) นายชาย บุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ถึงแก่กรรมในเมืองอังกฤษ
    (๑๔) นายชด บุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) คือ จมื่นสวัสดิ์วินิจฉัย (ชด บุนนาค)
    (๑๕) นายชม บุตรขุนนริศรานุวัติวงศ์ คือหลวงอำนาจสุรเสนี (ชม ร่วมวัง)
    (๑๖) นายนิล (ภายหลังเปลี่ยนชื่อว่าสนิท) บุตรนายพุฒ คือพระดรุพันธ์พิทักษ (สนิท พุกภะมาน)
    (๑๗) นายพุ่ม บุตรนายซุ้ย แปลงชาติเปนชาวรัสเซีย
    (๑๘) นายชิน บุตรพระยาประภากรวงศ์ (ชาย บุนนาค) คือ พระยานิพัทธกุลพงศ์ (ชิน บุนนาค)
    (๑๙) นายชม บุตรหลวงบริหารหิรัญราช (สาย สุวรรณสุภา) คือพระวิสิษฐบรรณกร (ชม สุวรรณสุภา)
    แต่นักเรียนข้างต้น ๕ องค์นั้น เห็นจะเสวยโต๊ะข้างบน คงแต่นักเรียนอีก ๑๔ นาย จึงกินโต๊ะข้างล่าง

  29. ๒๙. พระยาทิพโกษา (โต โชติกสเถียร) เวลานั้นเปนข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็จ

  30. ๓๐. เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (ชม กัลยาณมิตร) แต่ยังเปนพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ ผู้ว่าราชการเมืองพิไชย

  31. ๓๑. พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) แต่ยังเปนนายจ่ายวด

  32. ๓๒. สุลต่านอิบราฮิม เจ้าเมืองยะโฮ

  33. ๓๓. หลวงบำรุงจีนประชา (เฮียบสูโป่)

  34. ๓๔. พระยาศรีกฤดากร (ม.ล. วราห์ กุญชร ณกรุงเทพ) แต่ยังเปนนายกวด หุ้มแพร

  35. ๓๕ พระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) แต่ยังเปนนายเพิ่ม มหาดเล็ก

  36. ๓๖. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสิมา

  37. ๓๗. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุขโขทัยธรรมราชา

  38. ๓๘. พระยามหานุภาพ (ไทย บุนนาค) แต่ยังเปนพระอินทรเดช

  39. ๓๙. นายเชียน บุนนาค แต่ยังเปนเจ้าหมื่นเสมอใจราช

  40. ๔๐. พระยารัษฎานุประดิษฐ (คอซิมบี ณระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองตรัง

  41. ๔๑. พระยามหาโยธา (นกแก้ว คชเสนี) เปนอรรคราชทูตที่ลอนดอน

  42. ๔๒. พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม)

  43. ๔๓. เอช. ฮูเกอร์ เปนนายห้างแบดแนน

  44. ๔๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ แต่ยังเปนกรมหลวง ทูลเกล้า ฯ ถวายนาฬิกาพกสำหรับเดินทางไปทางตวันตก มีเข็มดูโมงนาทีได้สองอย่าง ๆ หนึ่งคงตามเวลาเดิม อีกอย่างหนึ่งหยุดเข็มได้ เพื่อให้ตรงกับเวลาเรืออยู่นั้นทุกวันไป

  45. ๔๕. นายชาย มหาดเล็ก นักเรียนผู้หนึ่งที่ตามเสด็จ บุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)

  46. ๔๖. นายราชาณัตยานุหาร (พาศน์ บุนนาค)

  47. ๔๗. นายขาว พลทหารเรือ ออกเปนกองหนุน แลถึงแก่กรรมเสียแล้ว

  48. ๔๘. นายเปลื้อง พลทหารเรือ ออกเปนกองหนุน แลถึงแก่กรรมเสียแล้ว

  49. ๔๙. นายโหมด พลทหารเรือ ออกเปนกองหนุน แลถึงแก่กรรมเสียแล้ว

  50. ๕๐. หมอ ตี. เฮย์วาดเฮส์ ชาวอเมริกัน เคยรับราชการเปนหมอยาในทหารเรือ

  51. ๕๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา ทูลเกล้า ฯ ถวายโอสถไทยไปครั้งนั้น

  52. ๕๒. พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  53. ๕๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุกาพ แต่ยังเปนกรมหมื่น

  54. ๕๔. พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ (พระองค์เจ้าอาภากรเกียรวงศ์)

  55. ๕๕. พระยาประดิพัทธภูบาล (คอยุเหล ณระนอง) แต่ยังเปนหลวงสุนทรโกษา

  56. ๕๖. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่ยังเปนกรมหมื่น

  57. ๕๗. เอส. ดี. ยัง กงสุลสยามที่โกลัมโบ เมืองลังกา

  58. ๕๘. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล)

  59. ๕๙. เซอโนล์ วอล์เคอร์ เปนเลฟเตแนนเกาวนาเมืองลังกา

  60. ๖๐. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

  61. ๖๑. คอลอเนล ออลคอต เปนสภานายกสมาคมเรียกว่า ธิโอโซฟี

  62. ๖๒. เรฟวเรน วิลเลียม ดิน มิสชันนารีอเมริกันแบบที่สบอร์ด เข้ามาในกรุงสยามแต่ พ.ศ. ๒๓๗๘

  63. ๖๓. พระสุมังคละเปนพระเถระลังกาองค์หนึ่งซึ่งรู้จักพระไทยมาแต่ก่อน

  64. ๖๔. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เอดเวอดที่ ๗ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๔ เสวยราช ๒๔๔๓ มฤ ๒๔๕๓ แต่ครั้งยังเปนปรินซ์ ออฟ เวลส์ ในแผ่นดินกวีนวิกตอเรีย เสด็จอินเดีย ๒๔๒๘

  65. ๖๕. เวลานั้นรถไฟหลวงมีแต่ขนาดใหญ่ทางกว้าง ๔ ฟิต ๘ อินช์ เรียกว่าสแตนดาดเกช อย่างทางสายเหนือ

  66. ๖๖. เห็นจะเปนขนาดทางกว้างมิเตอร์ ๑ ซึ่งเรียกว่า มิเตอร์เกช อย่างสายใต้

  67. ๖๗. เซอเวส ริชเว เกาวนาเกาะลังกา

  68. ๖๘. แอดดิกง กับตัน ซี. วอด แยกซัน

  69. ๖๙. สิเกรตารี กับตัน อาร์. เอส วอด แยกซัน

  70. ๗๐. ครั้งเสด็จพระราชดำเนินประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๔๑๔

  71. ๗๑. มิสซิสคูปแมน ภรรยาเรสิเดนต์ที่การูตในยาวาประเทศ เปนคนช่างพูดมาก

  72. ๗๒. อาห์เมด อาราบี ปาชา เปนนายทหารชาวอียิปต์ ได้เปนเสนาบดีฝ่ายทหารบก แล้วก่อการจลาจลรบกับอังกฤษ ๆ ยกทหารไปปราบจับตัวได้มาขังไว้ที่เกาะลังกา

  73. ๗๓. สุลต่านนี้ คือ อับดุล ฮามิด ที่ ๒ ชาตะ ๒๒ กันยายน ๒๓๘๕ เปนพระราชโอรสของสุลต่านอับดุลเมดยิด ได้สืบราชสมบัติเมืองเตอร์กี ต่อพระเชษฐา สุลต่าน มุราด ที่ ๕ นั้น เมื่อ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๑๙ ออกจากราชสมบัติ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๒ พระอนุชาครองสืบต่อไป ทรงนามว่าสุลต่าน มหมัดที่ ๕

  74. ๗๔. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (ขุนหลวงบรมโกษ) กรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้นโปรตุเกสทำลายพระพุทธสาสนาในเกาะลังกาจนไม่มีพระภิกษุสงฆ์ ครั้นพระเจ้าลังกากลับคืนตั้งกระษัตริย์ได้ จึงแต่งทูตมาขอพระสงฆ์ในกรุงสยาม ออกไปอุปสมบทชาวลังกาเปนพระสืบพระพุทธสาสนา ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระสงฆ์ออกไปมีพระอุบาฬี พระอริยมุนีเปนราชาคณะผู้ใหญ่ในพ.ศ. ๒๒๙๖ พระสงฆ์ในลังกา ซึ่งอุปสมบทสืบมาจากพระไทย จึงเรียกว่าอุปาฬีวงศ์ ฤๅสยามนิกาย และที่ได้อุปสมบทจากพระรามัญ ก็เรียกว่า รามัญวงศ์ ฤๅรามัญนิกาย จนทุกวันนี้

  75. ๗๙. เอเยนต์ คอเวอนเมนต์ เปนตำแหน่งเจ้าเมืองแกนดี ชื่อว่า แอแลนสัน เบลี เห็นจะคล้ายกับหลวงราชรักษา (ฟัก) หมอนวด จึงทรงเรียกว่าราชรักษาในบางแห่ง

  76. ๗๖. ภรรยาเจ้าพระยาอภัยราชา (โรลัง ยัคมินส์) ไปยุโรปกลับมา

  77. ๗๗. นักดวงจักร์ บุตรนักองค์นโรดม เจ้ากรุงกัมพูชา

  78. ๗๘. โรงม้าต้น เปนโรงม้าพระที่นั่งภายในประตูพิมานไชยศรี ริมโรงช้างพระวิมลรัตนกิริณี

  79. ๗๙. ชื่อผู้เปนหัวน่าพนักงานรักษาวิหารพระทันตธาตุ

  80. ๘๐. คือนายท้ายเรือพระที่นั่ง เปนคนอังกฤษ กับตันคัมมิงพามารับราชการพร้อมกัน

  81. ๘๑. จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจีระประวัติวรเดช)

  82. ๘๒. จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ

  83. ๘๓ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระองค์เจ้าเพญพัฒนพงศ์)

  84. ๘๔. พระนางเจ้าพระราชเทวี

  85. ๘๕. จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต

  86. ๘๖. เอมเปอเรอ วิลเลียม ที่ ๒ แห่งเยอรมนี ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๑ เถลิงราช พ.ศ. ๒๔๓๑ ลาออกจากราชสมบัติเมื่อปราไชยในมหาสงคราม พ.ศ. ๒๔๖๑

  87. ๘๗. มีบรรทึกฉบับต่างหากอยู่ต่อไปน่า ๖๖ จน ๖๗

  88. ๘๘. เลบเตอแนนต์ ๓ คนนี้ คือออฟฟิซเซอที่มีชื่อข้างต้น ๓ คน ที่หมายเลข ๓ มาแต่ก่อนแล้ว

  89. ๘๙. มีสำเนาลงต่อไปน่า ๖๘ จน ๗๑

  90. ๙๐. โรงสูบน้ำนี้อยู่ริมท่าขุนนาง สร้างขึ้นตามตัวอย่าง เย. แกรซี เปนนายช่างคิดจะทำโรงทหารฝีพายใน พ.ศ. ๒๔๒๓ แต่เวลานี้รื้อเสียแล้ว

  91. ๙๑. นายพลจัตวา ซี. เอ. คันนิงฮัม กับมิสซิส คันนิงฮัม ภรรยา

  92. ๙๒. พระยาสมุทบุรานุรักษ์ (สิน) ต้นสกุลปริกกัมศิล ได้ขุดบ่อน้ำที่เกาะสีชัง

  93. ๙๓. สมเด็จพระปวเรนทราเมศร์ พระปิ่นเกล้า เคยเสด็จไปประทับที่เขาคอกแขวงสระบุรี

  94. ๙๔. ระยะทางทูตฝรั่งเศสนี้ คือรายงานทูตานุทูตสยามออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกรุงฝรั่งเศสในปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔ เจ้าพระยาแต่ยังเปนพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เปนราชทูต เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ แต่ยังเปนเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (วร บุนนาค) เปนอุปทูตกับพระพรหมภิบาล แต่ยังเปนพระณรงค์วิชิต (จร บุนนาค) เปนตรีทูต แลเปนผู้แต่งรายงานนั้น ได้พิมพ์ในหนังสือมิวเซียมฤๅรัตนโกษ เล่ม ๑ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๒๓๙ พ.ศ. ๒๔๒๐ เปนต้นไป

  95. ๙๕. พระนางเจ้ากวีนวิกตอเรีย ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๒ เถลิงราช พ.ศ. ๒๓๘๐ มฤ พ.ศ ๒๔๔๓

  96. ๙๖. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์

  97. ๙๗. มิสเตอร์ เย. อาร์นอริส กงสุลอังกฤษที่สุเอส

  98. ๙๘. อาห์เมต สิกิปาชา เปนองครักษ์ของเกดิฟ

  99. ๙๙. อับบาส ฮิลมิ ปาชา เกดีฟเจ้าผู้ครองเมืองอียิปต์ ที่ ๗ ในวงศ์มหเมตอาลี ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๗ เปนเจ้าสืบจากบิดา พ.ศ. ๒๔๓๔ ไม่กลับคืนไปเมืองในเวลามหาสงคราม พ.ศ. ๒๔๕๗ ต้องออกจากราชสมบัติ

  100. ๑๐๐. นอนสะตาฟา อิบาติ เบ ผู้ครองเมืองสุเอส

  101. ๑๐๑. มิสเตอร์ ยิ. เอฟ. ยี. เปอร์วิส พนักงานรักษาด่านชายทเล

  102. ๑๐๒. มิสเตอร์ มุร์เร เบ นายเรือไอดา

  103. ๑๐๓. ลอด โครโมร์ เออร์ลออฟโครโมร์คนที่ ๑ ผู้แทนฝ่ายอังกฤษกำกับเมืองอียิปต์

  104. ๑๐๔. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

  105. ๑๐๕. คือ มองซิเออร์ ฟิลเยร์ ผู้อำนวยการ ๑ มองซิเออร์ เคล์เลเนต์ นายช่างใหญ่ ๑ กับมองซิเออร์ เชเวเนต์ พนักงานจัดการคลองสุเอส ๑

  106. ๑๐๖. พระยานิพัทธราชกิจ (อ้น นรพัลลภ) เรียกคำ เยนเตอลแมนว่า เยนตะแมน จึงทรงเรียกชื่อพระยานิพัทธราชกิจ แต่เมื่อเปนนายพินัยราชกิจ ในครั้งนั้นว่า เยนตะแมน

  107. ๑๐๗. มองซิเออร์ คอกอร์ดัง เปนเอเยนต์ แลกงสุลเยเนราลฝรั่งเศสอยู่ที่ไกโร ตั้งแต่ ๒๔๓๗ ภายหลังเลื่อนยศเปนอรรคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มอยู่ที่นั้น

  108. ๑๐๘. เจ้าพระยาอภัยราชา (กุ๊สต๊าฟ โรลัง ยักมินส์) เสนาบดีเก่าของเมืองเบลเยียม

  109. ๑๐๙. เอมเปรสส์ยุเยนี เปนพระมเหษีนะโปเลียนที่ ๓ ซึ่งเปนเอมเปอเรอฝรั่งเศส แต่ พ.ศ. ๒๓๙๔ จน พ.ศ. ๒๔๑๓ เอมเปรสส์นั้นเปนเชื้อขุนนางสเปญ ชื่อ เคานต์เตสส์ เตบะ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๙ พระชนม์เวลานี้ ๙๔ ปี

  110. ๑๑๐. เอมเปรสส์อีลิซาเบต เดิมเปนเจ้าหญิงเมืองบาวเรีย ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๐ อภิเศกกับเอมเปอเรอออสเตรีย พ.ศ. ๒๓๙๗ มฤ ๒๔๔๑

  111. ๑๑๑. มิสเตอร์ อี. บี. กูลด์ นี้เปนพนักงานในกงสุลอังกฤษ อยู่ในกรุงสยามตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๐ จน พ.ศ. ๒๔๓๒ เปนไวซ์กงสุลที่เชียงใหม่คนแรก แล้วไปเปนกงสุลอังกฤษอยู่ที่ปอตเสด

  112. ๑๑๒. ฮุสเซน โอสสิฟ ปาชา ผู้สำเร็จราชการเมืองปอตเสด

  113. ๑๑๓. วิลเลียม เฮนรี นิวแมน เคยเปนพนักงานกงสุลอยู่ในกรุงเทพ ฯ อยู่นานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๑ จน พ.ศ. ๒๔๒๘

  114. ๑๑๔. เครื่องตวงของอังกฤษ กาลัน ๑ เปน ๔ ลิตกึ่ง ฤๅ ๕ กาลัน เปน ๑ ปีบน้ำมันเปโตเลียม คิดเปนราคาปีบละ ๕ แฟรง ฤๅประมาณ ๒๕ แฟรงต่อ ๑ ปอนด์

  115. ๑๑๕. พระยาเพ็ชร์พิไชย (จีน) ต้นตระกูล จารุจินดา เมื่อครั้งไปราชการทูตลอนดอน เปนอุปทูตของเจ้าพระยาภาณุวงศ์ พ.ศ. ๒๔๒๒ ได้เคยเล่าว่าเมืองนอกนั้นมันหนาวเยือกเย็นไม่เห็นพระเห็นเจ้า

  116. ๑๑๖. เปนพวกผู้ซึ่งอยู่ฟากตวันตก คือฟากข้างโน้นคู่กับฟากตวันออก คือฟากข้างนี้ของแม่น้ำเจ้าพระยา

  117. ๑๑๗. พระยาราชวัลภานุสิษฐ (อ๊อด ศุภมิตร) เวลานั้นเปนพระอภิบาลตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลาทรงศึกษาอยู่ในอังกฤษ

  118. ๑๑๘. พระยาเทพอรชุน (อุ่ม อินทรโยธิน) เวลานั้นเปนหลวงสรสิทธยานุการ องครักษ์ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลาทรงศึกษาในอังกฤษ

  119. ๑๑๙. พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เวลานั้นเปนอรรคราชทูตอยู่ปารีส

  120. ๑๒๐. พระยารัตนโกษา (เล็ก สุจริตกุล) เวลานั้นเปนจมื่นจิตรเสน่ห์ เลขานุการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิ์วัฒนวิศิษฐ เวลาเปนทูตพิเศษ ได้เลื่อนขึ้นเปนพระรัตนโกษาในคราวนั้น

  121. ๑๒๑. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เวลานั้นเปนหม่อมเจ้านักเรียน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิ์วัฒนวิศิษฐเลือกคัดออกเปนเลขานุการ

  122. ๑๒๒. พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) เวลานั้นเปนหลวงศัลยุทธวิธีกรร ผู้ช่วยสถานทูตที่เบอร์ลิน วิเอนนา และ โคเปนเฮเกน

  123. ๑๒๓. เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปียมาลากุล ณกรุงเทพ) เวลานั้นเปนพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ เลขานุการสถานราชทูต ณลอนดอน

  124. ๑๒๔. เจ้าธอมะโซแห่งวงศ์ซาวอย ดู๊กออฟเยนัว (พระภาตาของกวีนแมคริตา พระมเหษีพระเจ้าอุมเบอโตกรุงอิตาลี) ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๖ เคยเสด็จมากรุงสยามใน พ.ศ. ๒๔๒๓

  125. ๑๒๕. มิสเตอร์ เอฟ. ดับลยู เวอร์นี เคยรับราชการเปนที่ปฤกษาสถานทูตณลอนดอนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๖ จน พ.ศ. ๒๔๔๙ รวม ๒๓ ปี กับภรรยา

  126. ๑๒๖. มิสเตอร์ ซี. ดอเรลลี เคยรับราชการเปนที่ปฤกษาสถานที่ปารีสแต่พ.ศ. ๒๔๓๘ จน พ.ศ. ๒๔๖๐ รวม ๒๒ ปี

  127. ๑๒๗. นายพันโท ซี. วี. ฮยูม พระอภิบาลในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาอยู่ในอังกฤษ

  128. ๑๒๘. หมอ เอม. เอฟ. ยาร์ เปนแพทย์ประจำพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเวลาทรงศึกษาอยู่ในอังกฤษ

  129. ๑๒๙. เจ้าพระยาฤทธิ์สงคราม (ตนกู อับดุลฮามิด) สุลต่านเมืองไทรบุรี

  130. ๑๓๐. คุณหญิง (ลิ้นจี่ บุนนาค) สุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) แต่คนทั้งปวงเรียกกันว่า คุณหญิงจี่เท่านั้น

  131. ๑๓๑. พระยาบำเรอภักดิ์ (ทองดี สุวรรณศิริ) เวลานั้นเปนหลวงวิสูตรวิรัชเทศ ผู้ช่วยสถานทูตปารีส

  132. ๑๓๒. เจ้านาย ๓ พระองค์นี้คือ กรมหลวงสรรพสาตร์ ๑ กรมพระสมมติอมรพันธ์ ๑ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ๑

  133. ๑๓๓. เจ้าลุอิยีแห่งวงศ์ซาวอย เปนดู๊กออฟอาบรูสซี ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๕ เปนพระโอรสของพระเจ้าอามดิโย พระอนุชาพระเจ้าอุมเบอร์โต ได้เลือกไปเปนพระเจ้าแเผ่นดินสเปญ ได้เคยเข้ามาในกรุงสยามเปนนายเรือรบอิตาลี เมื่อมกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ เปนโอรสที่ ๓ ของเจ้าอามดิโย

  134. ๑๑๔. กวีนมารเคริตา พระธิดาของเจ้าเฟอรดินันโด แห่งวงศ์ซาวอย ดู๊กออฟเยนัวองค์ก่อน ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๔ อภิเศกกับพระเจ้าอุมเบอร์โต แต่ยังเปนเจ้ามอนเตตำแหน่งพระยุพราชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เปนพระมเหษี เมื่อพระสวามีเปนเจ้าเเผ่นดินอิตาลี พ.ศ. ๒๔๒๐ เปนพระพันปีหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ พระชนมายุเวลานี้ ๖๘ ปี

  135. ๑๓๕. ทรงเรียกตามภาษาอิตาลี ฤๅภาษาอังกฤษ เรียกว่าเลซ

  136. ๑๓๖. กวีนมาร์เคริตา เปนพระภคินีของดู๊กออฟเยนัว

  137. ๑๓๗. แกรนด์ดัสเชสส์มารีแอน เจ้าหญิงในวงศ์โปรตุกัล ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๔ อภิเศกกับแกรนด์ดู๊กวิลเฮม เจ้าเมืองลุกเซมเบิก พ.ศ. ๒๔๓๖ มีธิดาด้วยกัน ๖ องค์ ๆ ที่ ๑ ทรงนามว่า แกรนด์ดัชเชสส์มารี ชาตะ พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบิดาคือแกรนด์ดู๊กวิลเฮมนั้น ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๕ มฤ พ.ศ. ๒๔๔๘ พระมารดาเปนริเยนต์ จนพระธิดาองค์ที่ ๑ มีพระชนม์เต็ม ๒๐ ก็เปนเจ้าเมืองลุกเซมเบิกต่อมา

  138. ๑๓๘. คำว่าโค้งนี้เปนศัพท์ที่เจ้านายใช้กันมีความหมายว่า จีน เพราะคำนับอย่างจีนโค้ง ๆ ตัว จึงใช้เรียกจีนว่าโค้ง ไม่ได้มีความหมายว่า งอ ๆ ฤๅโค้งตามศัพท์เดิม เหตุฉนั้นรูปที่เขียนอย่างโค้ง ๆ นี้ก็มีพระราชประสงค์ว่ารูปเขียนอย่างจีนนั้นเอง

  139. ๑๓๙. คำว่ารู้งี้ เปนศัพท์แผลงใช้กันมาจากความว่า รู้อย่างนี้ก็จะไม่ทำฤๅจะไม่มา ตัดอักษรให้สั้นแลพูดเร็วเข้าว่า รู้งี้

  140. ๑๔๐. เจ้าเฮนรีบัวบอง วงศ์บัวบองสายปามา ชาตะ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๙๓ มฤ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ อภิเศกสมรศวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ กับเจ้าหญิงอะเดลกอนเด วงศ์บรากันซา โปรตุเกส ชาตะ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ เจ้าทั้งสององค์นี้ ได้เข้ามายังกรุงสยาม เมื่อวันที่ ๓ มินาคม พ.ศ. ๒๔๓๐

  141. ๑๔๑. คำว่า ร้อยแต้ม นี้เปนศัพท์แผลงใช้กันมาแต่การตรวจโต๊ะลายคราม ซึ่งมีวิธีบัญญัติทำผิดปรับด้วยนับแต้ม ถ้าทำผิดมากก็ต้องปรับตั้งร้อยแต้ม เหตุฉนั้นความหมายของคำนี้ จึงมีว่าทำผิดมากนั้นเอง อีกคำหนึ่งว่า แต้มคู ก็มีความหมายว่าผิดพลั้งฤๅพลาดแพลงอย่างเช่นว่าแต้มคูป่น ก็หมายว่าทำผิดป่นปี้

  142. ๑๔๒. คำซึ่งทรงเรียกว่า เคปออฟกุ๊ดโฮปนี้ ไม่ใช่เพราะว่าจะไม่ทรงทราบแผนที่ ฤๅเรียกชื่อผิดเลย เปนเพราะจะทรงพระราชนิพนธ์ให้สาแก่ใจ ที่เดินเรือไปอ้อมแหลมอิตาลียาวกว่าไปทางบก ซึ่งจะไปได้ตรงแลเร็วกว่ากันมาก จึงได้ทรงใช้เปนคำเปรียบว่าเหมือนหนึ่ง เรือเดินทางอ้อม ก่อนมีคลองสุเอส

  143. ๑๔๓. คำซึ่งทรงใช้ว่า ของ นั้นไม่ได้มีความหมายตามศัพท์เดิมหากจะมีความหมายในทางที่เจ้านายทรงใช้กันอยู่เปนทางล้อกันเล่น ในเวลาเมื่อสิ่งไรไม่สู้จะถูกใจผู้พูดแล้ว ก็ว่าสิ่งนั้นเปนของคนอื่นเสีย ไม่ใช่ของตัวเอง ตรงกันกับความหมายที่ใช้ว่าของฉันแล้วก็ว่าเปนของดีกว่าของคนอื่นเท่านั้น

  144. ๑๔๔. คนก้มหน้าหลับนี้ มีความทรงหมายว่า คนที่นั่งไปในรถฤๅเรือหลับเล็กหลับน้อย นั่งคอตกก้มหน้านั้นเอง

  145. ๑๔๕. คำนี้ทรงแกล้ง เขียนตามเสียงที่คนเราเรียกผิด ๆ กันมาตามภาษาที่พูดกัน คำเดิมในภาษามคธว่า สัปปุริส

  146. ๑๔๖. คือพระเจ้าแผ่นดินอิตาลี ในเวลานั้นทรงพระนามว่า อุมเบอร์โต พระราชโอรสของพระเจ้าวิตตอริโอ เอมมันวลที่ ๒ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๖ สืบราชสมบัติ พ.ศ. ๒๔๒๐ มฤ พ.ศ. ๒๔๔๓ แต่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ฮัมเบิต

  147. ๑๔๗. คือพระราชหัถฉบับที่ ๑๓ ซึ่งมาถึงก่อนฉบับนี้แล้ว

  148. ๑๔๘. คำว่า ชิดดิด นี้เปนศัพท์แผลงใช้กัน มีความหมายว่าซ้ำซาก มีมูลที่เกิดคำนี้ขึ้นเพราะพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชิดเชื้อพงศ์ ซึ่งเรียกอย่างสั้นว่าพระองค์ชิด องค์หนึ่ง กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ซึ่งเรียกอย่างสั้นว่า พระองค์ดิษฐ องค์หนึ่ง พระองค์เจ้าสององค์นี้ ถ้าองค์หนึ่งเล่าเรื่องอันใดขึ้นให้เจ้านายเล็ก ๆ ฟังแล้ว อีกองค์หนึ่งคงจะต้องเล่าซ้ำกันอีก ความที่เจ้านายรู้สึกอยู่ว่าเปนเช่นนี้ จึงได้ใช้คำที่ว่าซ้ำซากนั้นว่าชิดดิด แทนเปนศัพท์ที่แผลงพูดกันเล่นสำหรับเข้าใจกันเอง

  149. ๑๔๙. นายเลีย มหาดเล็ก พวกที่เรียกว่าบ๋อยตั้งเครื่องเปนคนกระดีจีน หน้าตาเปนฝรั่งแกมไทย

  150. ๑๕๐. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง

  151. ๑๕๑. ไม่เคยรับคำนี้ เปนศัพท์แผลงใช้กัน มีความหมายว่าไม่เคยได้ ไม่เคยมี

  152. ๑๕๒. เปนศัพท์แผลงใช้กัน มีความหมายว่า เปนสีแดง เขียว เหลือง แลสีอื่นๆ ปะปนกันมากเกินไป เรียกกันว่า นอรอ ๆ มาจากชื่อเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต) ต้นสกุล มานิตยกุล ทำตำหนักฤๅสร้างตึก เรือนแล้ว มักมีสีต่าง ๆ แปลกตามากกว่าแห่งอื่น ๆ

  153. ๑๕๓. เจ้าเอมมันวล แห่งวงศ์ซาวอย ดู๊กออฟอาวออสเตอ ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๑ โอรสที่ ๑ ของเจ้าอามดิโย

  154. ๑๕๔. เจ้าวิตตอริโอ แห่งวงศ์ซาวอย เคานต์ออฟตุริน ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๓ เจ้าองค์นี้ได้เข้ามากรุงสยามเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ เปนโอรสที่ ๒ ของอามดิโย

  155. ๑๕๕. เจ้าอามดิโย แห่งวงศ์ซาวอย ดู๊กออฟอาวออสเตอ พระอนุชาของพระเจ้าอุมเบอร์โต กรุงอิตาลี ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๘ ได้เปนพระเจ้าแผ่นดินสเปญอยู่แต่ พ.ศ. ๒๔๑๓ จน พ.ศ. ๒๔๑๗ ทรงพระนามว่าพระเจ้าอามะดิโย อภิเศกครั้งแรกกับเจ้าหญิงมารีวิตตอริโอ มีโอรส ๓ องค์ อภิเศกครั้งหลังกับเจ้าหญิงมารี ลิติเชีย

  156. ๑๕๖. เจ้าหญิงอีลิซาเบตตา แห่งแซกโซนี ชาตะ พ.ศ. ๒๓๗๒ อภิเศกกับเจ้าเฟอร์ดินันโด แห่งวงศ์ซาวอย ดู๊กออฟเยนัว พ.ศ. ๒๓๙๓ มีพระธิดา ๑ คือกวีนมาร์เคริตา พระมเหษีพระเจ้าแผ่นดินอิตาลีกับพระโอรส ๑ คือเจ้าธอมะโซ ดู๊กออฟเยนัว รวม ๒ องค์

  157. ๑๕๗. เจ้าหญิงอิซาเบลแห่งบาเวเรีย ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๖ อภิเศกกับเจ้าธอมะโซ ดู๊กออฟเยนัว จึงเปนดัสเชสส์ออฟเยนัว พ.ศ. ๒๔๒๖

  158. ๑๕๘. คุณเขียน ราชินิกูล บุตรีพระสุริภักดี (สนิท บุนนาค) แลเปนภรรยานายสนิทยศสถาน (พร้อม) และเปนผู้แต่งหนังสือราชินิกูลบางช้างครั้งที่ ๒

  159. ๑๕๙. เจ้าเฟอร์ดินันโด แห่งอูดิน พระโอรสองค์ที่ ๑ ของดู๊กกับดัสเชสส์ออฟเยนัว ชาตะ พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้เข้ามากรุงสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙

  160. ๑๖๐. งานของกวีนวิกตอเรียครั้งนี้ คืองานฉลองราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ยังดำรงพระยศเปนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จไปเปนผู้แทนพระองค์ฝ่ายสยาม

  161. ๑๖๑. คำว่า ตักหมอน นั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีพระราชดำรัสเล่าว่า ครั้งในรัชกาลที่ ๔ เวลาเจ้านายลูกเธอครั้งนั้นทรงพระวอตามเสด็จแล้ว มักแย่งกันนั่งพิงหมอน โดยหวังว่าจะเปนที่สบายและดูเหมือนมียศใหญ่ เพราะเหตุฉนี้ เมื่อจะใช้ความว่า เข้านั่งที่สำคัญ ฤๅที่สบายมาก ที่เปนใหญ่กว่าที่อื่นแล้ว เจ้านายก็ทรงใช้ว่า ตักหมอน

  162. ๑๖๒. ท้าวอินทรสุริยา (นวม) นี้เปนตำแหน่งนี้มาแต่รัชกาลที่ ๓ จนเกือบตลอดรัชกาลที่ ๔

  163. ๑๖๓. เอี่ยม เจ้าจอมเถ้าแก่ เปนบุษบาในรัชกาลที่ ๒ และที่ ๓ จึงเรียกกันว่า เอี่ยมบุษบา

  164. ๑๖๔. เจ้าหญิงมารีลิติเชีย แห่งวงศ์นโปเลียน โบนาปาต ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๗ อภิเศกกับอามดิโยดู๊กออฟอาวออสเตอ เมื่อออกจากราชสมบัติสเปญแล้ว พ.ศ. ๒๔๓๑

  165. ๑๖๕. เจ้าหญิงคลอติลดามารี แห่งวงศ์ซาวอย พระธิดาพระเจ้าวิตตอริโอ เอมมันวลที่ ๒ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๕ อภิเศกกับเจ้าโยเสฟ ชาลส์ ปอล แห่งวงศ์นโปเลียนฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๐๑ มฤ พ.ศ. ๒๔๕๒ มีโอรส ๒ ธิดา ๑ ซึ่งหมายเลข ๑๖๔

  166. ๑๖๖. เจ้าโยเสฟชาลส์ปอล นโปเลียนออฟฟรานซ์ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๕ เปนโอรสของพระเจ้ายะรมนโปเลียน พระเจ้าแผ่นดินเวสต์ฟาเลีย อภิเศกกับเจ้าหญิงเลข ๑๖๕ มฤ พ.ศ. ๒๔๓๓

  167. ๑๖๗. เจ้าหญิงเฮเลนแห่งวงศ์ออร์เลียนบัวบอง กรุงฝรั่งเศส ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๔ อภิเศกกับเจ้าเอมมันวล แห่งวงศ์ซาวอย ดู๊กออฟอาวออสเตอ เปนดัสเชสออฟอาวออสเตอ พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้เข้ามาในกรุงสยามแต่ลำพังพระองค์ เมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖

  168. ๑๖๘. ฟิลิป เคานต์เดอปารีส ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๑ มฤ พ.ศ. ๒๔๓๗ เปนพระโอรสของเจ้าเฟอร์ดินันด์ดู๊กออฟออร์เลียน พระยุพราชของพระเจ้าหลุยฟิลิป พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส

  169. ๑๖๙. คำว่า เขม นี้ศัพท์แผลงมีความหมายว่า อดนอน ฤๅนอนน้อยอย่างยิ่ง มีมูลมาจากหม่อมเจ้าเขม ในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ หม่อมเจ้าเขมได้เล่าถึงองค์เอง ในการกินอยู่หลับนอนตามธรรมเนียมของเธอ เจ้านายคิดกันดูเห็นว่านอนวัน ๑ น้อยเหลือเกินนัก จนเกือบไม่น่าเชื่อเลย เหตุฉนั้น เมื่อจะกล่าวกันถึงว่านอนน้อยฤๅอดนอนมากก็ใช้คำว่าเขม

  170. ๑๗๐. พระบิดานั้นคือ พระเจ้าวิตตอริโอ เอมมันวลที่ ๒ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๒ สืบราชสมบัติพระชนก เปนเจ้าแผ่นดิน ซาดิเนีย พ.ศ. ๒๓๙๒ แล้วเปนพระเจ้าแผ่นดินอิตาลี อันรวมกัน พ.ศ. ๒๔๐๓ มฤ พ.ศ. ๒๔๒๐

  171. ๑๗๑. แม้น ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

  172. ๑๗๒. สมเด็จพระเทพสุรินทราบรมราชินี

  173. ๑๗๓. ไก๋ นี้มีความหมายว่า ทำเปนไม่รู้ไม่เห็น ฤๅแกล้งทำเปนไม่รู้ไม่เห็น ฤๅไม่รู้ไม่เห็นแล้วถามว่าอะไร มีเหตุเกิดมาจากพระยามหานิเวศน์ (เผือก) ต้นสกุล เศวตนันท์ เมื่อจะทำเปนไม่รู้ไม่เห็น และถามว่าอะไรนั้น ใช้คำพูดว่า ไก๋ ในเมื่อจะแกล้งทำไม่รู้แล้วถามว่าอะไร ฤๅใช้เมื่อแกล้งทำเปนไม่รู้ไม่เห็นกัน

  174. ๑๗๔. พระรูปหมู่นี้ เปนพระรูปเขียนสีแผ่นใหญ่ ซึ่งติดอยู่ในห้องน้ำเงิน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สถานบูรพาภิมุขอย่างเช่นมีรูปถ่ายจำลองอยู่น่าต้นของสมุดนี้

  175. ๑๗๕. โปรเฟสเซอเอดุวารโด เยลลี

  176. ๑๗๖. โปรเฟสเซอ คอรดิยานี

  177. ๑๗๗. คำว่า มวย นั้น มีความหมายว่า ทำท่าทาง ฤๅพูดเล่นไม่ขบขัน มีเหตุเกิดจากเมื่อครั้งมีงานขึ้นพระที่นั่งเวหาศจำรูญ ที่พระราชวังบางปอินนั้น มีลครนอกเล่นน่าพระที่นั่ง มีตลกคนหนึ่งเล่นตลกต่าง ๆ ไม่มีใครเห็นขบขันเลย ตลกคนนั้นไว้ผมมวย จึงได้มีศัพท์แผลงใช้กัน เมื่อจะใช้คำว่า ทำอะไรไม่ขบขันแล้วก็เรียกว่า มวย ไม่ได้หมายความตามศัพท์ของมวยเองนั้นเลย

  178. ๑๗๘. คำว่า นุ่ง นี้มีความหมายในศัพท์แผลงใช้กันอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช้ความหมายเดิม เช่นใช้ว่านุ่งจีบต่อไปนี้ ความหมายที่ว่าคิดจะนุ่งแกนี้ ตามที่ใช้เปนคำแผลงกันว่า คิดจะหลอกจะลวง ฤๅอีกอย่างหนึ่ง หมายว่าโกง มีเหตุมาจากเมื่อครั้งกรมหลวงสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์ ครั้งเปนกรรมการฤๅกอมมิตตีกรมพระนครบาลใน พ.ศ. ๒๔๒๙ นั้น เจ้าพนักงานจับกุมภิกษุอลัชชีไปในคดีอันหนึ่ง รายงานว่าพระทำอย่างนั้น ๆ กรมหลวงสวัสดิ์วัตนวิศิษฐรับสั่งว่า นี่ไม่ใช่พระหากจะเปนแต่คนนุ่งเหลืองต่างหาก เพราะเหตุฉนั้นจึงเกิดมีคำแผลงใช้กัน เมื่อจะหมายความว่า โกง ฤๅหลอกลวงแล้ว ก็ใช้คำว่า นุ่ง

  179. ๑๗๙. กุละ นี้เปนศัพท์แผลงใช้กันหมายความว่า ทำฤๅกล่าวเกินจริงไป ศัพท์นี้มาจากชื่อนายกุหลาบ ตฤษณานนท์ ซึ่งเปนคนแต่งหนังสือตามชอบใจตนเอง ไม่มีความกริ่งเกรงว่าจะเกินจริงไปฤๅจะไม่มีความจริงเลย ตัดชื่อนั้นให้สั้นเข้าใช้ว่า กุละ ฤๅ กุ ก็เข้าใจได้เหมือนกัน

  180. ๑๘๐. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอชั้น ๓ พระองค์เจ้าบันเทิง ชาตะ พ.ศ. ๒๓๗๒ เปนพระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ มีพระองค์เจ้าชายปรีชา ๑ พระองค์เจ้าหญิงศิริ ๑ รวม ๒ องค์ มฤ พ.ศ. ๒๔๒๗ พระชนม์ ๕๕

  181. ๑๘๑. คำว่า เหว ฤๅ ทุ่มเหว นี้มีความหมายว่า ยอ มีเหตุจากความเปรียบกันว่า คนที่ยอขึ้น ฤๅชอบยอนั้นลึกซึ้งประหนึ่งว่าเหว แม้ว่าใครจะเอาศิลาทุ่มลงไปในเหวสักเท่าไรก็ไม่รู้จักเต็มตื้นขึ้นมาได้ฉันใด คนที่รับยอฤๅยอขึ้นแล้ว จะยอสักเท่าใดก็ยอได้ การที่ยอนั้นจึงเรียกใช้กันว่าทุ่มเหว แทนคำว่ายอฤๅยกยอ และเพราะคำว่า เหว นี้อ่านออกได้ ๒ เสียง ๆ หนึ่งตามสังโยควิธาน คือ ตัวสกดแม่เกย อีกเสียงหนึ่งตามวาหนิต คืออักษรสูงนำอักษรต่ำ เปนอักษรสูงได้ จึงใช้กันทั้ง ๒ เสียง ๆ ก่อนนั้นมักใช้ในการที่ไปยอผู้อื่น เสียงหลังนั้นมักใช้ในการที่รับยอ ที่คนอื่นเขามายกยอตัว

  182. ๑๘๒. เจ้าหญิง อีลินา เปโตรวิตช์ นิเยคอช แห่งเมืองมอนเตนิโกร ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๕ อภิเศกกับปรินซ์ออฟเนเปิล พ.ศ. ๒๔๓๘ เปนพระมเหษีเมื่อพระสวามีเปนพระเจ้าแผ่นดินอิตาลี พ.ศ. ๒๔๔๓

  183. ๑๘๓. หม่อมเจ้ากระจ่าง ในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมหมื่นกระษัตริยศรีศักดิเดช เปนผู้ซึ่งมีเสียงอะไรดังขลึก ๆ อยู่ในคอ เวลาพูดพลางขลึก ๆ พลาง เจ้านายทรงเรียกว่า ขลึก ก็ทราบกันว่าผู้นี้เอง อีกนัยหนึ่ง คำว่า ขลึก ยังหมายความว่า ขัดข้อง อย่างเช่นขลึกขลักเปนต้น

  184. ๑๘๔. เปนคำซึ่งทรงเรียกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

  185. ๑๘๕. คำว่า โคม นี้มีความหมายตามศัพท์แผลงใช้กันว่า พูดฤๅทำอะไร ไม่กินความกัน ฤๅไม่เข้ากับเรื่อง ฤๅพูดหลงใหลไป ฤๅพูดโดยไม่มีเค้ามูลที่เห็นว่าควรจะพูดอย่างนั้น แต่แรกใช้กันว่า โคมลอย เกิดจากหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่ง ชื่อฟัน มีรูปโคมลอยอยู่ที่ชื่อน่าต้นของหนังสือนั้น และในหนังสือพิมพ์นี้มักมีความซึ่งกล่าวตามอย่างตลก ๆ ในภาษาอังกฤษ ดูไม่ใคร่จะเข้ากับเรื่อง แลไม่เห็นขบขันเหมือนหนังสือพิมพ์ ปันช์ เพราะเหตุฉนั้น เมื่อมีใครกล่าวความที่ไม่เข้าเรื่อง ฤๅไม่กินความกัน ก็ใช้ว่ากันว่า โคมลอย แล้วย่นสั้นลงแต่ว่าโคม ก็ใช้ได้เหมือนกัน ยังมีคำว่า ใบเขื่อง ฤๅใบโต ใช้เหมือนกับคำว่าโคม ฤๅโคมลอยนี้ได้ด้วยเหมือนกัน คำทั้งสองที่ว่ามาข้างหลังนี้ เกิดจากเจ้านายเคยได้ยินได้ฟังคุณเถ้าแก่ เล่าความถึงเรื่องไฟไหม้โรงลคร ครั้งงานโสกันต์ที่พระนครคิรี ที่เพ็ชรบุรี ใน พ.ศ. ๒๔๐๙ นั้นว่า เกิดเหตุเพราะโคมลอยกระดาษ ซึ่งใช้อายร้อน มีถาดทองแดงจุดอัลกอฮอส์ ๆ หกเรี่ยรายไปถูกหลังคาโรงลคร จึงเกิดไฟไหม้ขึ้นในครั้งนั้นแล้ว ทำมือให้เห็นว่าโคมลอยนั้นใบโตจนสุดแขน เจ้านายชอบล้อคุณเถ้าแก่ก็ชวนกันพูดจาล่อให้เล่าเรื่องไฟไหม้นั้นแล้ว ก็ต่างคนผลัดกันถามคุณเถ้าแก่ว่า ใบโตเท่าไหน คุณเถ้าแก่ก็ทำมือกางจนเกือบสุดแขนว่าใบโตเท่านั้น ไม่เลือกว่าคุณเถ้าแก่คนใด ถ้าเปนผู้ซึ่งรู้เรื่องครั้งนั้นแล้ว ก็ไปล้อล่อลวงให้ทำมือกางแขนว่า ใบโตเท่านั้น ๆ ได้ทุกคนแล้ว เปนการสนุกเห็นขันกันมาก จึงได้เกิดคำใบโตใช้แทนคำโคมลอยขึ้น แล้วก็แผลงเปนใบเขื่อง ใช้เข้าใจกันเหมือนกัน

  186. ๑๘๖. ปรินซ์ออฟเนเปิล เปนตำแหน่งพระยุพราช พระราชโอรสพระเจ้าอุมเบอร์โต คือเวลานี้เปนพระเจ้าแผ่นดินอิตาลี มีพระนามว่า วิตตอริโอ เอมมันวลที่ ๓ ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๒ สืบราชสมบัติ พ.ศ. ๒๔๔๓

  187. ๑๘๗. คือพระที่นั่งสมมุติเทวะราชอุปบัติ นามพระที่นั่งนี้ ตามสถานซึ่งปลูกลงในที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงประสูตรณพระตำหนักเดิม ที่นั่นแล้วรื้อสร้างเปนพระที่นั่งเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕

  188. ๑๘๘. เจ้าเมืองยกยาร์ในยาวาประเทศ

  189. ๑๘๙. คำว่า อา นี้ศัพท์แผลงใช้กันหมายความว่า เปนเรื่องวัดตัดทอนคำสั้นลงจากอาราม

  190. ๑๙๐. ห้องบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้านน่า ห้องที่สุดสถานบูรพาภิมุข

  191. ๑๙๑. ไม่เกล้ากระหม่อมเสียเลยนี้ ทรงหมายความตามซึ่งท่านผู้หญิง (เปลี่ยน ชูโต) ภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เคยกราบทูลในเรื่องอะไร ๆ ที่เกี่ยวกับสามีว่า เกล้ากระหม่อมว่าอย่างนั้น ๆ ประหนึ่งเหมือนว่าสามีทำอะไรไม่ได้ ฤๅไม่เปนเลย ท่านผู้หญิงเปลี่ยนคิดและทำทั้งนั้น จึงโปรดที่กวีนไม่ยกพระองค์ข่มพระสวามีเลย

  192. ๑๙๒. คำว่าราชซึ่งทรงใช้ว่า ร่าอา เช่น ราชการ ว่า ร่าอาการ ฤๅพระราชทาน ว่า พระร่าอาทาน นี้เปนการล้อเลียนเล่น ตามเสียงท่านแต่ก่อนหลายคนพูดออกเสียง ราชะ ว่า ร่าอา อย่างนี้ มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศเปนต้น มักใช้คำพูดออกเสียงอย่างนี้ จนที่สุดถึงกับเรียก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้นที่ ๓ กรมขุนราชสีหวิกรม ว่า กรมขุนร่าอาสีห์ ดังเคยมีพระกระแสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเล่าให้เจ้านายฟัง ตามที่ทรงได้ยินเรียกอย่างนั้น เปนการขันกันอยู่มากแล้ว

  193. ๑๙๓. คำว่า ยะ นี้ศัพท์แผลงหมายความว่า เรื่องยศ ไว้ยศ ฤๅยกยศ ตัดสั้นมาจากคำแต่ก่อนใช้ตรงภาษามคธว่า ยะโส แล้วภายหลังสั้นเข้า เหลืออยู่แต่ ยะ เท่านั้น

  194. ๑๙๔. คำว่า อี๋ นี้ศัพท์แผลงมีความหมายว่า ชอบใจมากรักมาก เกิดจากเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ชอบใจ ฤๅถูกใจอันใด ก็หัวเราะเปล่งอุทานว่า อี๋ ๆ ๆ จึงใช้คำนี้ล้อเลียนกันต่อมา

  195. ๑๙๕. นายพลตรี อะเปลิยูศ สมุหราชองครักษ์นี้คือผู้หนึ่งใน ๓ นาย ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินอิตาลีให้ไปรับเสด็จที่สถานรถไฟ เมืองโมดาน อีก ๒ นายนั้น คือ นายพันโทคอตเครปบี ราชองครักษ์ ๑ กับคองเต คีบเสป ตอสโสนี เจ้าพนักงานกรมวัง ๑ รวมเปน ๓ นายด้วยกัน

  196. ๑๙๖. โป๊ปนี้ มีพระนามเดิมว่า โจอาคีโน เปจจิ ชาตะ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๕๒ ได้เลือกขึ้นเปนโป๊ป ทรงนามว่า ลิโอที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๐ มฤ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ชนมายุ ๙๔

  197. ๑๙๗. คำว่า จ๋ามจิบ นี้มีเหตุมาแต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ทรงเล่าว่าชีพจรของพระองค์เจ้ากนิษฐน้อยนารีช้านับได้จ๋ามจิบ คือสามสิบเท่านั้น เจ้านายเปนอันมากเห็นว่า ท่านทรงพระชรามากนัก แท้จริงเมื่อสิ้นพระชนม์ก็มีพระชนมายุยาวนานยิ่งกว่าพระราชวงศานุวงศ์แต่ก่อน ๆ มาถึง ๙๐ ปีกับมีเศษอีกเกือบกึ่งปี จึงคิดเห็นว่า ท่านจะทรงหลงไปก็ได้ เพราะฉนั้นเมื่อจะกล่าวคำที่มีความหมายว่าหลงไหลแล้ว ก็ใช้คำว่า จ๋ามจิบ ฤๅ จ๋าม ให้สั้นเข้าก็ได้

  198. ๑๙๘. สำเนามีต่อท้ายพระราชหัถเลขาฉบับนี้ อยู่น่า ๑๘๕ จน ๑๘๖

  199. ๑๙๙. จ๊อบแจ๊บ นี้มีความหมายว่า พูดจากันเล่นไม่ใคร่หยุดปาก

  200. ๒๐๐. ป.ล. นี้ ทรงใช้ตามอยางพระราชหัถเลขา ในรัชการที่ ๔ ซึ่งละปริยายจากคำ ปัจฉิมลิขิต ตรงกับ ปี เอส ในภาษาฝรั่ง ซึ่งละปริยายคำว่า โปสต์ สคริบตัม มีความหมายว่า เขียนภายหลัง

  201. ๒๐๑. พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  202. ๒๐๒. สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

  203. ๒๐๓. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ

  204. ๒๐๔. เจ้าพระยาสุริยศักดิมนตรี (เจิม แสงชูโต) แต่ยังเปนพระยาอยู่เวลานั้น

  205. ๒๐๕. พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา ณกรุงเทพ) แต่ยังเปนหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก

  206. ๒๐๖. นายปาน ช่างปั้น

  207. ๒๐๗. หม่อมเจ้าสุบรรณ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๑ กรมหมื่นนรงค์หริรักษ เปนช่างหล่อ

  208. ๒๐๘. สมเด็จพระเจ้ามไหยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

  209. ๒๐๙. สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า พระบรมราชเทวี

  210. ๒๑๐. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสิมา ๑ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณอินทราไชย ๑ กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ๑ รวม ๓ พระองค์

  211. ๒๑๑. กวีนหลุยส์แห่งเดนมาร์ก ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๐ อภิเศกสมรส พ.ศ. ๒๓๘๕ มฤ พ.ศ. ๒๔๔๑

  212. ๒๑๒. เออเนสต์ออคุสต์ ที่ ๒ ชาตะ พ.ต. ๒๓๘๘ เปนดู๊กออฟคัมเบอร์แลนด์ แต่ยังถือว่าเปนกิงแฮโนเวอร์ประกาศไปทั่วยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ อภิเศกกับเจ้าหญิงไตราแห่งเดนมาร์ก พ.ศ. ๒๔๒๑

  213. ๒๑๓. ยอชที่ ๕ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๒ เปนกิงแฮโนเวอร์ พ.ศ. ๒๓๙๔ ปรัสเซียแย่งเอาแฮโนเวอร์เสีย พ.ศ. ๒๔๐๙ กลับไปเปนดู๊กออฟคัมเบอร์แลนด์ มฤ พ.ศ. ๒๔๒๑ มีโอรส คือหมายเลขที่ ๒๑๒

  214. ๒๑๔. เออเนสต์ดู๊กออฟคัมเบอร์แลนด์ กิงเออเนสต์แฮโนเวอร์ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๑๔ เปนพระภาตาของดู๊กออฟเกนต์ พระชนกกวีนวิกตอเรีย อภิเศกกับเจ้าหญิงเฟรดริกาออฟเมกเลมเบิกสเตรลิตซ์ ได้เปนกิงแฮโนเวอร์ พ.ศ. ๒๓๘๐ มฤ พ.ศ. ๒๓๙๔ มีโอรสคือหมายเลขที่ ๒๑๓

  215. ๒๑๕. เจ้าหญิงทีราแห่งเดนมาร์ก เปนพระธิดาแห่งพระเจ้าคฤสเตียนที่ ๙ แห่งเดนมาร์ก กับกวีนหลุยส์ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๖ อภิเศกกับดู๊ก เปนดัสเชสส์ออฟคัมเบอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๔๒๑ มีโอรส ๒ ธิดา ๓ รวม ๕

  216. ๒๑๖. เจ้าหญิงอาเลกซานดราออฟเดนมาร์ก ชาตะ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ อภิเศกสมรส วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ กับปรินซ์อัลเบิตเอดเวอดออฟเวลส์ ภายหลังเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓ พระราชสามีเปนพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษก็เปนกวีนอาเลกซานดรา แล้วเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระราชโอรสคือกิงยอชที่ ๕ ขึ้นครองราชสมบัติก็เปนพระพันปีหลวงจนทุกวันนี้

  217. ๒๑๗. เจ้าหญิงดัคมาออฟเดนมาร์ก ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๐ อภิเศกกับแกรนด์ดู๊กอาเลกซานเดอร์ อาเลกซานโดรวิตช์ มีพระนามว่าแกรนด์ดัสเชสส์มาเรียฟิโอโดรอฟนา พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้วเปนพระมเหษี เมื่อพระสวามีเปนพระเจ้าอาเลกซานเดอร์ที่ ๓ เปนพระพันปีหลวง เมื่อพระสวามีทิวงคต แลพระราชโอรสได้เปนพระเจ้านิโคลาสที่ ๒

  218. ๒๑๘. พระเจ้านิโคลาสที่ ๒ พระราชโอรสพระเจ้าอาเลกซานเดอร์ที่ ๓ กับเอมเปรสส์มารีฟิโอโดรอฟนา ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้เสด็จมากรุงสยาม พ.ศ. ๒๔๓๒ อภิเศกกับเจ้าหญิงอาลิกซ์ออฟเฮส ทรงพระนามว่า เอมเปรสส์อาเลกซานดราฟิโอโดรอฟนา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ขบกทำร้าย พ.ศ. ๒๔๖๑

  219. ๒๑๙. โอรสแสธิดาดู๊กกับดัสเชสส์ออฟคัมเบอแลนด์ ๕ องค์นั้นคือ (๑) เจ้าหญิงมารีหลุยส์ ชาตะ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๒ อภิเศกสมรสวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ กับเจ้าแมกซมิลเลียนแห่งบาเดน (๒) เจ้าชายยอชวิลเฮลม์ ชาตะ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ มฤ พ.ศ. ๒๔๕๕ (๓) เจ้าหญิงอาเลกซานดรา ชาตะ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๕ อภิเศกสมรสวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๗ กับเฟรเดริกฟรานซ์แกรนด์ดู๊กแมกเลมเบิกชเวริน (๔) เจ้าหญิงโอลกา ชาตะ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ (๕) เจ้าชายเออเนสต์ออคุสต์ ชาตะ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐ อภิเศกสมรสกับเจ้าหญิงวิกตอเรียหลุยส์ออฟโฮเฮนโซลเลอนธิดาเอมเปอเรอเยอรมัน เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

  220. ๒๒๐. เจ้าหญิงมาลีออฟเซกซ์ออลเตนเบิก ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๑ อภิเศกกับกิงยอชออฟแฮโนเวอร์ พ.ศ. ๒๓๘๔ มีโอรส ๑ ธิดา ๑ รวม ๒ มฤ พ.ศ. ๒๔๔๙

  221. ๒๒๑. พระเจ้าคฤสเตียนที่ ๙ แห่งเดนมาร์ก ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๑ อภิเศกกับเจ้าหญิงหลุยส์ออฟเฮสแกสเซล พ.ศ. ๒๓๘๕ เถลิงราช พ.ศ. ๒๔๐๖ มฤ พ.ศ. ๒๔๔๔

  222. ๒๒๒. คำว่า โก๋ นี้เปนศัพท์แผลงมีความหมายว่า เข้าใจผิดฤๅเข้าใจไปคนละทาง ฤๅหลง คำนี้มีเหตุเกิดมาใช้กัน ด้วยเดิมพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ มีมหาดเล็กใช้ติดพระองค์อยู่คนหนึ่งชื่อว่า โก๋ จะต้องพระประสงค์สิ่งใด ๆ มีหมากบุหรี่ ฤๅจะใช้ไปไหนก็เรียก โก๋ คนเดียว ถึงจะมีคนอื่นๆ ที่จะทรงใช้ได้ ดังเช่นพนักงานกรมม้าซึ่งทรงว่ากรมนั้นอยู่ก็ไม่ใคร่เรียกใช้ ในที่สุดจนนายโก๋ไม่อยู่ที่นั้นก็ยังทรงเรียก โก๋ อยู่ได้ดังนี้ จึงได้ใช้คำว่า โก๋ นี้หมายความว่าอย่างกล่าวมาข้างต้น

  223. ๒๒๓. ท้าววรคณานันต์ (มาลัย) นี้เปนท้าววรจันท์มาแต่รัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลที่ ๕ และได้เปนท้าววรคณานันต์คนแรก ฤๅคนที่หนึ่งซึ่งได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีชื่อท้าวตำแหน่งนี้ขึ้น และมีรูปร่างหน้าตากิริยาเมื่อชราแล้ว ยังมีคนเห็นว่าเมื่อยังเปนสาวคงจะเปนคนสวยมาก

  224. ๒๒๔. พระราชนิพนธ์ซึ่งทรงว่า ราคาชีพจรยังมากกว่า จ๋ามจิบ ในที่นี้มีความหมายว่ายังไม่ถึงแก่หลงไหล

  225. ๒๒๕. คำว่า เมื่อกระนั้น นี้มีความหมายในศัพท์แผลงว่า การเก่าๆ ฤๅโบราณกาล เพราะเหตุที่ท่านผู้มีอายุสูง ๆ จะเล่าเรื่องอะไร ฤๅจะพูดอะไรมักจะกล่าวแต่ถึงกาลแต่ก่อน ๆ มาเปนพื้น โดยยกคำนี้ขึ้นกล่าวว่า เมื่อกระนั้น เปนอย่างนั้น ๆ ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ เพราะเหตุฉนี้จึงได้ใช้คำว่า เมื่อกระนั้น หมายว่าการเก่า ๆ ก่อน ๆ

  226. ๒๒๖. คำว่า โฮกปี๊บ นี้มีความหมายว่า เปนลักษณของหมอยา เกิดแต่ที่คิดเห็นว่าอาการของหมอยาเปนอันมากนั้น มักนับถือยา จะเปนอะไรสักเล็กน้อยก็ต้องใช้ยา คำว่า โฮกปี๊บนี้ผสมกันสองคำ ๆ หนึ่งว่าโฮก ตามเสียงไอฤๅอ้วกปนกัน อันแสดงว่าลมขึ้นไม่สบายนั้นคำหนึ่ง กับอีกคำหนึ่งที่เคยใช้กันมาแต่ก่อนว่า ปี๊บช๊อก มีความหมายว่าหมดกำลัง ฤๅอ่อนเพลียคำหนึ่ง เอาคำโฮกกับปี๊บควบกันเปนโฮกปี๊บหมายความว่าอ่อนกำลัง มีแต่โฮกฤๅอ้วก เปนลักษณของหมอที่ใช้ยามากอยู่เสมอ ทั้งตัวหมอและคนอื่นที่หมอคิดรักษา เพราะฉนั้น ที่มีพระราชนิพนธ์ว่า ทรงพระโฮกปี๊บ นี้ก็มีความหมายว่า ทรงประกอบด้วยลักษณของหมอ

  227. ๒๒๗. พระยาสุรพลพิพิธนี้ คือตนกูยะขบ น้องชายที่ ๒ ของเจ้าพระยาฤทธิ์สงคราม คือ ตนกูมหมัด เจ้าพระยาไทรบุรี ในรัชกาลที่ ๔ และ ที่ ๕ พระยาสุรพลพิพิธนี้ เปนคนแรกที่รับตำแหน่งชื่อนี้

  228. ๒๒๘. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๓ พระองค์เจ้ากินรี ชาตะ พ.ศ. ๒๓๖๒ มฤ พ.ศ. ๒๔๓๗ วัย ๗๖ ปี.

  229. ๒๒๙. คำว่า หนืด นี้มีความว่า ติดอยู่กับที่ ฤๅไม่ใคร่เคลื่อนที่ ดังเช่นใช้อีกอย่างหนึ่งว่า เหนียวหนืด หมายว่า เหนียวติดแน่นจะดึงสักเท่าไรก็ไม่ออกไม่ขยับเขยื้อนได้.

  230. ๒๓๐. คำว่า หรับ ๆ นี้หมายความว่า ไม่ได้อยู่กับที่ อย่างเช่นใช้อีกอย่างหนึ่งว่า เต้นหรับ ๆ คือเที่ยวพูดไปกับคนนั้นคนนี้ไม่หยุด.

  231. ๒๓๑. ออกเวลส์ ๆ นี้มีพระราชประสงค์ ว่า หน้าตาออกจะคล้ายพวกโอรสธิดาปรินซ์ออฟเวลส์ในครั้งนั้น.

  232. ๒๓๒. คำว่า พื้น นี้มีความหมายว่าน้ำใจในขณะนั้น ฤๅว่าใจคอก็ได้ พื้นไม่ดี พื้นเปนไฟ พื้นเสีย พื้นเก่า ฤๅเก่า หมายความว่าใจคอหงุดหงิดงุ่นง่านชวนจะโกรธฤๅท่าเคืองใจ พื้นดี พื้นใหม่ พื้นเย็น เย็นเปนน้ำเย็น ฤๅน้ำ หมายความว่า ไม่ขุ่นข้องไม่มีโกรธเคืองเลยใจดีแท้ คำว่า พื้น นี้เกิดจากคำที่นักเรียนกลับมาจากยุโรปเก่าก่อน อธิบายว่า ทเลแดงที่ร้อนนั้นเพราะมีทรายแดงเปนพื้นในทเลนั้น จึงขับแสงแดดขึ้นมาร้อนจัดในทเลนั้น เพราะโกรธเปนไฟเปนเครื่องร้อนอย่างหนึ่ง จึงใช้คำว่าพื้นทเลแดง เปนความโกรธเครื่องร้อน คู่กับนอทโปลที่หนาวเย็นที่สุด เปนใจดี และใช้คำสั้นเข้าจึงเหลือแต่พื้น ไฟ กับน้ำ หมายว่าโกรธและไม่โกรธด้วย.

  233. ๒๓๓. คำว่า ตำ นี้มีความหมายว่า พูดพุ่งไปแต่พอแล้ว อย่างเดียวกับคำว่า พุ่ง ก็ใช้มีความหมายเหมือนกัน.

  234. ๒๓๔. พระยานนท์ นี้คือ พระยาไกรโกษา (ทัด สิงหเสนี) แต่ยังเปนพระยานนทบุรีศรีเกษตราราม อรรคราชทูตอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน.

  235. ๒๓๕. เอมเปอเรอฟรานซ์โยเสฟ พระเจ้ากรุงออสเตรีย และฮังการี ชาตะ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๗๓ เปนพระโอรสของอาชดู๊กฟรานซ์กาล กับเจ้าหญิงโซฟี แห่งบาวเรีย ได้สืบราชสมบัติจากเอมเปอเรอเฟอร์ดินันด์ ที่ ๑ ซึ่งเปนพระปิตุลา เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ มฤ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ พระชนม์ ๘๖ ปี ครองราชสมบัติ ๖๘ ปี.

  236. ๒๓๖. อาชดู๊กสามคนนี้คือ (๑) อาชดู๊ก ลุดวิกวิกตอร์ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๕ เปนพระอนุชาของเอมเปอเรอฟรานซ์โยเสฟ (๒) อาชดู๊กอตโต ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๘ มฤ พ.ศ. ๒๔๔๙ (๓) อาชดู๊กยูยิน ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๖ ทั้งสององค์นี้เปนพระราชภาคินัย ของเอมเปอเรอฟรานซ์โยเสฟ.

  237. ๒๓๗. เกงเก้เกงเกะ ศัพท์นี้มีความหมายว่า ไม่เข้าเรื่องฤๅไม่เรียบร้อย กระทำให้เห็นว่า ผิดที่ผิดทางที่ควรเปนทำนองเดียวกับคำที่ว่ากงโก้กงโกะนั้น.

  238. ๒๓๘. บือ นี้มีความหมายว่า มีสีหน้าเฉยเมยไม่ยิ้มไม่จับตาคน.

  239. ๒๓๙. สวนเต่านั้น แต่ก่อนเรียกว่า สวนขวา คือเปนที่สวนมีสระน้ำใหญ่ในครั้งรัชกาลที่ ๒ ครั้นมาในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ สร้างหมู่พระที่นั่งซึ่งเรียกรวมกันว่า อภิเนาว์นิเวศน์ มีพระที่นั่งอนันตสมาคมเก่าเปนต้น และมีสวนหลังพระที่นั่งนงคราญมีสระเล็กเลี้ยงเต่า จึงเรียกกันว่าสวนเต่า สระนี้ยังคงอยู่ในสวนริมพระที่นั่งศิวาลัยอยู่ทุกวันนี้.

  240. ๒๔๐. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์.

  241. ๒๔๑. อาชดุ๊ก รูดอลฟ์ มกุฎราชกุมารกรุงออสเตรียฮังการี พระราชโอรสเอมเปอเรอฟรานซ์โยเสฟ กับเอมเปรสส์อีลิซาเบท ชาตะ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๑ มฤวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๑.

  242. ๒๔๒. เอมเปรสส์มาเรียตเรซา พระธิดาของเอมเปอเรอเยอรมัน แต่ครั้งยังรวมอยู่ในออสเตรีย ทรงพระนามว่าชาลส์ ที่ ๖ และได้สืบต่อราชสมบัติของพระบิดา เปนกวีนฮังการีและโบฮิเมีย พ.ศ. ๒๒๘๓. ชาตะวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๒๖๐ มฤวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๒๓.

  243. ๒๔๓. นโปเลียนโยเสฟ ฤๅนโปเลียนที่ ๒ ก็เรียกโอรสของนโปเลียนที่ ๑ ชาตะ วันที่ ๒๐ มินาคม พ.ศ. ๒๓๕๓ มฤ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๕.

  244. ๒๔๔. เอมเปรสส์มาเรียลุยซา แห่งกรุงออสเตรีย อภิเศกกับนโปเลียนที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๕๓ ชาตะ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๔ มฤ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๐

  245. ๒๔๕. นโปเลียนโบนะปาต ฤๅนโปเลียน ที่ ๑ เอมเปอเรอฝรั่งเศส ชาตะ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๑๒ เปนประธานาธิบดีกรุงฝรั่งเศส ในครั้งนั้นเรียกว่า กงสุล เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๔๒ เอมเปอเรอ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ออกจากราชสมบัติครั้งแรกไปอยู่เกาะเอลบา วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๕๗ กลับเข้าครองราชสมบัติในฝรั่งเศสอีก เมื่อวันที่ ๑ มินาคม พ.ศ. ๒๓๕๗ แตกทัพที่วอเตอร์ลู วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๕๘ ลาออกจากราชสมบัติเพื่อให้พระโอรสที่ยังเยาว์ทรงนามว่า นโปเลียนที่ ๒ ทรงครองแทน แต่ก็ไม่ได้ครอง นโปเลียนที่ ๑ ต้องเนรเทศไปขังอยู่เกาะเซนต์เฮลินา แล้วมฤที่นั้นวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๖๔

  246. ๒๔๖. เอมเปอเรอเมกซ์มิลเลียน พระอนุชาเอมเปอเรอฟรานซ์โยเสฟ ชาตะ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ รับเชิญไปครองราชสมบัติเมืองแมกซิโค วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๗ เกิดขบถถูกยิง มฤวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๐

  247. ๒๔๗. พระชนกเอมเปอเรอออสเตรีย และเอมเปอเรอแมกซิโคทรงนามว่าอาชดู๊ก ฟรานซ์กาล ชาตะวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๔๕ มฤวันที่ ๘ มินาคม พ.ศ. ๒๔๒๐

  248. ๒๔๘. อาชดัสเชสส์ มาเรียตเรซา แห่งกรุงโปรตุเกส ชาตะวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๘ อภิเศกสมรสกับอาชดู๊กกาลลุดวิคพระอนุชาเอมเปอเรอฟรานซ์โยเสฟ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ มีโอรสคือ อาชดู๊ก ฟรานซ์เฟอร์ดินันด์ รัชทายาทกรุงออสเตรีย ซึ่งถูกยิงเมื่อเกิดมหาสงครามในยุโรปครั้งนี้ ที่กล่าวไว้ในเลข ๒๕๐ ต่อไปนี้.

  249. ๒๔๙. เจ้าหญิง อะเดลคอนเด ภคินีของ ที่หมายเลข ๒๔๘ เปนนัดาของเจ้ามิเคล กรุงโปรตุเกส ชาตะวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ อภิเศกสมรสกับเจ้าเฮนรี บัวบอง วงศ์ปามาเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ เคยมาในกรุงสยามกับพระสวามีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐

  250. ๒๕๐. อาชดู๊กฟรานซ์เฟอร์ดินันด์ ชาตะ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๖ เปนรัชทายาทออสเตรีย สืบต่ออาชดู๊กรูดอลฟ์ ต้องคนร้ายประหาร มฤ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๗.

  251. ๒๕๑. เจ้าอันเฟรดมอนตินูโว ชาตะ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๗ เคยเข้ามาในกรุงสยาม.

  252. ๒๕๒. เจ้าเฮนรี ลิชเตนสไตน์ ชาตะวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เคยเข้ามากรุงสยามพร้อมกันกับเจ้าอัลเฟรดมอนตินูโวครั้งหนึ่ง แล้วภายหลังมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ อีกครั้งหนึ่ง.

  253. ๒๕๓. พระราชหัถเลขาลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๖ พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งมีสำเนาอยู่ในสมุดนี้น่า ๒๐๒ ถึง ๒๐๕

  254. ๒๕๔. ดู๊กออฟยอกนี้ คือ พระเจ้ายอชที่ ๕ พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในเวลานี้ พระราชโอรสของพระเจ้าเอดเวอด ที่ ๗ กับกวีนอาเลกซานดรา ชาตะ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๘ ได้สืบราชสมบัติต่อพระบิดาวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ อภิเศกสมรสเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ กับกวีนมารี ชาตะ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ มีพระโอรส ๔ พระธิดา ๑ รวม ๕ องค์.

  255. ๒๕๕. ดู๊กออฟโคเบิก คือเจ้าอัลเฟรดดู๊กออฟเอดินบระ พระอนุชากิงเอดเวอด ชาตะวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ อภิเศกสมรสกับแกรนด์ดัชเชสส์ มารี พระธิดาเอมเปอเรออาเลกซานเดอร์ ที่ ๒ กรุงรัสเซีย เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๖ แล้วได้ไปครองเมืองโคเบิกโคธา เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ มฤวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๓

  256. ๒๕๖. ดู๊กออฟคอนนอท พระอนุชากิงเอดเวอด ชาตะ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๓ อภิเศกสมรสกับเจ้าหลุยซาแห่งกรุงปรัสเซีย มีพระธิดา ๒ โอรส ๑

  257. ๒๕๗. ปรินซ์ ยูยิน ออฟสวิเดน นี้เปนพระอนุชาพระเจ้ากุสต๊าฟ กรุงสวิเดน ชาตะวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๘

  258. ๒๕๘. ปรินซ์วัลดิมา ออฟเดนมาร์ก พระโอรสของพระเจ้าคฤสเตียน ที่ ๙ กรุงเดนมาร์ก เปนพระปิตุลาของพระเจ้าคฤสเตียนที่ ๑๐ พระเจ้ากรุงเดนมาร์กในประจุบันนี้ ชาตะวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๑ อภิเศกสมรสกับเจ้าหญิงมารีแห่งวงศ์ออเลียน เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๘

  259. ๒๕๙. แกรนด์ดู๊ก เสีชออฟรัสเซีย พระปิตุลา เอมเปอเรอ นิคอลาส ที่ ๒ กรุงรัสเซีย ชาตะวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ เปนผู้รักษาเมืองมอสโคว์ ถูกบอม มฤวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๘

  260. ๒๖๐. ปรินซ์อัลเฟรดออฟเซกซ์โคเบิก โอรสดู๊กอัลเฟรดกับแกรนด์ดัชเชสส์มารี ชาตะวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ มฤวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๑

  261. ๒๖๑. ปรินซ์ชาลส์ออฟเดนมาร์ก พระอนุชาพระเจ้าคฤสเตียนที่ ๑๐ กรุงเดนมาร์ก ชาตะวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๕ อภิเศกสมรสเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ กับปรินซ์เซสส์มอดแห่งกรุงอังกฤษ ชาตะ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๒ รับเชิญเปนพระเจ้าแผ่นดินนอร์เว ทรงพระนามว่า ฮอกอน ที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘

  262. ๒๖๒. ปรินซ์ ตเกฮิโต ที่ ๑๐ แห่งตระกูลอาริสุงาวา ซึ่งแรกตั้งขึ้นจากปรินซ์ชิโกโต โอรสของเอมเปอเรอ ที่ ๑๐๖ แห่งกรุงญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๖ จน พ.ศ. ๒๑๘๑ เจ้าตเกฮิโต นี้มฤ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ไม่มีโอรสสืบตระกูล เอมเปอเรอมีรับสั่งให้เจ้าโนบุฮิโต พระราชโอรสที่ ๓ ของพระองค์ไปเปนผู้สืบตระกูลนี้

  263. ๒๖๓. เอมเปรสส์เฟรเดอริก พระธิดาองค์แรกของกวีนวิกตอเรีย ชาตะ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๘๓ อภิเศกสมรสเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๐ กับเอมเปอเรอเฟรเดอริก ที่ ๓ แต่เมื่อยังเปนรัชทายาทกรุงปรัสเซีย เปนพระมารดาเอมเปอเรอวิลเลียม ที่ ๒ แห่งเยอรมนี มฤวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๘

  264. ๒๖๔. แกรนด์ดัชเชสส์ออฟเฮส มีนามว่าวิกตอเรีย ธิดาของดู๊กเอดินบระ แห่งกรุงอังกฤษ แล้วเปนดู๊กอัลเฟรด ออฟเซกซ์โคเบิก ชาตะวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๙ อภิเศกสมรสเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๗ กับเออเนสต์แกรนด์ดู๊กออฟเฮส แล้วอย่ากันเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔

  265. ๒๖๕. ดัชเชสส์ออฟเซกซ์โคเบิก พระธิดาเอมเปอเรออาเลกซานเดอร์ ที่ ๒ แห่งกรุงรัสเซีย มีพระนามว่ามารี ชาตะ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ อภิเศกกับอัลเฟรด ดู๊กเอดินบระ ภายหลังเปนดู๊กออฟเซกซ์โคเบิก วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๖

  266. ๒๖๖. แกรนด์ดัชเชสเสิช นามเดิมว่า อีลิซาเบทออฟเฮส ธิดาแกรนด์ดู๊กหลุยส์ออฟเฮส กับปรินเซสส์เอลิศแห่งกรุงอังกฤษ ชาตะ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ อภิเศกสมรสวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗ กับแกรนด์ดู๊กเสิชแห่งรัสเซีย

  267. ๒๖๗. ร้านเบนสัน นี้เปนห้างขายเครื่องเพ็ชร์พลอย ครั้งทูตไทยไปลอนดอน พ.ศ. ๒๔๐๐ เคยถูกเชิญไปห้างนี้แล้วก็ติดตามส่งของมายังกรุงสยามจนตัวนายห้างที่เปนบุตร์นายห้าง ครั้งนั้นก็ได้เข้ามากรุงสยามในรัชกาลที่ ๕ และได้รับสัญญาบัตร์เปนหลวงรัตนานุกิจ.

  268. ๒๖๘. ฉุนเละ นี้เปนศัพท์มีความหมายจากที่ใช้ว่า ฉุนโกรธ และฉุนเฉียว ฤๅโกรธแรงกล้า เมื่อควบกันเข้าฉุนเละแล้วมีความหมายว่าโกรธจนเลอะเทอะไปไม่เปนชิ้นเปนอัน.

  269. ๒๖๙. คำ ทึ่ง นี้มีความหมายว่าอยากรู้ อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเปน เกิดจากนกกระจอกเทศอย่างหนึ่ง ซึ่งมาแต่ออสเตรเลีย ชื่อว่านกอีมิว เคยปล่อยเลี้ยงอยู่น่าพระที่นั่งจักรี ถ้านกนั้นอยากกินสิ่งไร ฤๅเห็นสิ่งไรว่าเปนอาหารได้ ก็เข้าไปใกล้คนที่ถือฤๅมีของนั้น และออกเสียงในคอดัง ทึ่งๆๆๆ เพราะฉนั้นเมื่อใครอยากดูอยากรู้อะไรจับขึ้นดู ในเวลาที่ไม่ควรจะจับจะดูแล้ว ก็เรียกกันว่า ทึ่งๆ.

  270. ๒๗๐. ชาร์ละมาญ ฤๅชาลส์ที่ ๑ ฤๅชาลส์มหาราชก็เรียก เปนเจ้าแผ่นดินใหญ่ของเยอรมัน เปนเอมเปอเรอกรุงโรม ชาตะวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๑๒๗๕ มฤวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๑๓๔๖.

  271. ๒๗๑. เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร ณกรุงเทพ).

  272. ๒๗๒. พระเจ้าปู่นี้คือ เอมเปอเรอ อาเลกซานเดอร์ที่ ๒ ชาตะวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๖๑ เสวยราชสมบัติสืบต่อเอมเปอเรอนีโคลาสที่ ๑ พระบิดา พ.ศ. ๒๓๙๘ มฤวันที่ ๑ มินาคม พ.ศ. ๒๔๒๓

  273. ๒๗๓. เอมเปอเรอองค์นี้คือ เอมเปอเรออาเลกซานเดอร์ที่ ๓ เปนพระราชโอรสเอมเปอเรออาเลกซานเดอร์ที่ ๒ และเปนพระชนกเอมเปอเรอนิโคลาสที่ ๒ ชาตะวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๘๗ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๙ กับปรินเซสส์แดคมาออฟเดนมาร์ก ครั้นเมื่อพระราชสามีสืบต่อราชสมบัติ เปนเอมเปอเรอเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงนามว่าเอมเปรสมาเรีย ฟิโอโดรอฟนา เอมเปอเรอ มฤวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๗

  274. ๒๗๔. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

  275. ๒๗๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์

  276. ๒๗๖. คำว่า แตกหัก เปนศัพท์แผลงมีความหมายว่า รูปร่างใหญ่โตมาก

  277. ๒๗๗. ร่ม เปนศัพท์ซึ่งมีความหมายว่า ดึงดัน ฤๅดื้อดึง ฤๅถือทิฐิมานะ ฤๅไม่เห็นตามไม่ยอมตาม บางทีใช้ว่า กางร่ม หมายความว่า ดึงดันฤๅดื้อดึง ตามใจตนอยู่ และถ้าว่า หุบร่ม ก็หมายความว่า ลดลาลง ยอมตาม

  278. ๒๗๘. พระยาชลยุทธโยธินทร์ แอดมิราล เอ เดอริเซลิว และภรรยา

  279. ๒๗๙. โก้หร่านนั้นมีความหมายว่า ธรรมเนียมยุโรป เกิดจากการที่พวกแขกในกรุงสยามไปเมืองเมกกะ ฤๅที่แขกสมมุตเรียกกันว่า เมืองกระบิลพัดแล้ว ก็ได้เปนโต๊ะต่วน หะยี แต่ก่อนมีศัพท์ใช้โดยเปรียบเทียบว่า ถ้าใครได้ไปเมืองยุโรปกลับมาแล้ว ก็เรียกกันว่าเปนโต๊ะ เสมอเหมือนอย่างแขกที่ได้ไปเมืองเมกกะกลับมา และผู้ที่ไปยุโรปนั้นย่อมจะกล่าวอ้างถึงธรรมเนียมนอก เขาเปนเช่นนั้นเช่นนี้ เหมือนพวกแขก มักอ้างคัมภีร์โก้หร่านอยู่เนือง ๆ ถ้าใครอ้างธรรมเนียมยุโรปแล้ว ก็มักพูดว่า อ้างคัมภีร์โก้หร่าน โดยในความเปรียบ ต่อมาคำว่า โก้หร่าน ฤๅย่นใช้แต่คำน่าว่า โก้ ดังนี้จึงมีความหมายว่า ธรรมเนียมยุโรป ฤๅอย่างฝรั่ง ฤๅฝรั่งจัด ยังมีคำว่า โซ๊ดอีกคำหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับโก้หร่าน แต่ตรงกับคำหมายว่า ฝรั่งจัดแท้

  280. ๒๘๐. คำว่า พัด นี้เปนศัพท์แผลงมีความว่า รบเร้า ฤๅรบกวน ฤๅรีดรัด ศัพท์นี้เกิดจากพระยาไชยยศ (ฉ่ำ) เปนผู้ถือพัดด้ามจิ้วติดมืออยู่เสมอ เมื่อมีกิจธุระจะใคร่ทราบความอันใดในออฟฟิศหลวงเข้าไปเฝ้ากรมพระสมมติอมรพันธุ์ที่นั้นแล้ว ทูลพลางพัดไปพลาง ไม่ได้หยุดจนกว่าจะสิ้นธุระ จึงเกิดศัพท์นี้ขึ้นใช้ในเวลาที่รบเร้าฤๅรบกวน ฤๅรีดรัดอะไรนั้นก็เรียกว่าพัดกัน

  281. ๒๘๑. เจ้าเมืองในที่นี้ คือ ปรินซ์อิมาริเตนสกี เกาวนาเยเนราลเมืองวอซอนั้น

  282. ๒๘๒. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธกัณฑ์

  283. ๒๘๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา แต่ยังเปนกรมหมื่น

  284. ๒๘๔. เอมเปรสส์อาเลกซานดรา ฟิโอโดรอฟนา พระนามเดีมว่า แอลิกซ์ แห่งเมืองเฮส เปนพระธิดาแกรนด์ดู๊กหลุยออฟเฮส กับเจ้าหญิงแอลิซกรุงอังกฤษ ชาตะวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๕ เข้ารีดถือศาสนารัสเซียเปนแกรนด์ดัสเชสส์วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ อภิเศกสมรสวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๗ กับเอมเปอเรอนิโคลาส ที่ ๒ แห่งกรุงรัสเซีย มีพระธิดา ๔ พระโอรส ๑ รวม ๕ พวกขบถปลงพระชนม์เสียพร้อมกับพระราชสามี และพระโอรสธิดา ใน พ.ศ. ๒๔๖๑

  285. ๒๘๕. ไมเคล นิกอลายวิช เคาน์ มูราเวียฟ เปนบุตรของเคานต์นิกอลาส มูราเวียฟ เจ้าเมืองครอดโน และเปนหลานของเคานต์ไมเคล มูราเวียฟ ผู้มีชื่อเสียงใหญ่ในการปราบขบถเมืองโปแลนด์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ชาตะ ๑๙ เมษายน ๒๓๘๘ ได้ศึกษาโรงเรียนเมืองโปลตะวา และในวิทยาลัยที่ไฮเคลเบิก ได้เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย พ.ศ. ๒๔๐๗ แล้วได้ไปเปนพนักงานทูตและเปนทูตอยู่หลายเมือง มีในเมืองโคเปนเฮเคนเปนที่สุด จึงได้มีโอกาศเฝ้าแหนสนิทชิดชมกับเจ้านายในพระราชวงศ์รัสเซียมาก ครั้นปรินซ์โลบานอฟ เสนาบดีว่าการต่างประเทศฝ่ายรัสเซีย มฤ พ.ศ. ๒๔๔๐ เอมเปอเรอจึงโปรดตั้งเปนเสนาบดีว่าการต่างประเทศ อยู่ต่อมาจนมฤ วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๔๓

  286. ๒๘๖. ดู๊กยอน แมกเลนเบิค ฤๅเรียกตามเสียงเยอรมันว่า โยฮันอัลเบรกต์ แห่งแมกเลมเบิคชเวริน ชาตะวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ เคยเข้ามาในกรุงสยามครั้งแรก ในพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ เวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรปครั้งแรกนี้ ได้เปนริเยนต์อยู่ที่เมืองบรัสซวิก และได้เข้ามากรุงสยามครั้งที่ ๒ พร้อมกับพระชายา ดัสเชสส์อีลิซาเบท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ มฤในกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๒

  287. ๒๘๗. ปรินซ์ยอช ออฟกรีซ ชาตะวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๒ เคยเข้ามากรุงสยามพร้อมกับเอมเปอเรอนิโคลาส ที่ ๒ แห่งกรุงรัสเซีย แต่เมื่อยังเปนซารวิตย์ พ.ศ. ๒๔๓๒

  288. ๒๘๘. เปรี้ยว นี้เปนศัพท์แผลงมีความหมายว่า ไม่ชอบพอกัน ฤๅชังกัน

  289. ๒๘๙. ปรินซ์ฮันออฟเดนมาร์ก ชาตะวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๖๘ มฤวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔

  290. ๒๙๐. พระเจ้าออสคาร์ ที่ ๒ พระเจ้าแผ่นดินสวิเดน นอร์เว ชาตะ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๑ อภิเศกสมรสวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๐ กับพระนางเจ้าโสเฟีย แห่งวงศ์นัสเซา เสวยราชสมบัติวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๕ มฤวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ วัย ๗๙ ครองราชสมบัติ ๓๕ ปี

  291. ๒๙๑. แกรนด์ดัสเชสส์เซเนีย พระภคินีของเอมเปอเรอนิโคลาสที่ ๒ ชาตะวันที่ ๒๕ มินาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ กับแกรนด์ดู๊กอาเลกซานเดอร์

  292. ๒๙๒. แกรนด์ดู๊กอาเลกซานเดอร์ มิคายโลวิตช์ ชาตะ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๙ อภิเศกสมรสกับแกรนด์ดัชเชสเซเนีย วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๗

  293. ๒๙๓. ฟู้ มีความหมายว่า วิกลจริต ทำนองเดียวกับคำว่า มีดีกรี ฤๅมีเปอร์เซนต์ ฤๅมีบ้า อยู่บ้าง แต่ยังไม่แรงเสมอเหมือนคำว่า ครบร้อยดีกรีถ้วน ฤๅย่น ใช้แต่คำเดียวว่า ครบ นั้นหมายความว่าเสียจริต ฤๅเปนบ้าทีเดียว คำว่ามีเปอร์เซนต์นั้น เจ้านายทรงใช้มีความหมายว่า มีบ้าอย่างเดียว ไม่ได้มีความหมายว่าเมาสุราอย่างเช่นคนพวกอื่น ๆ ใช้ผิดกันมาในภายหลัง

  294. ๒๙๔. โกกฮาฤๅบางที่ใช้ว่า โปกฮา มีความหมายว่า สนทนากันเล่นอย่างครื้นเครง เหมือนคนเล่นหมากรุกกัน รุกดังโกกแล้วก็ฮากันฉนั้น

  295. ๒๙๕. พระเจ้าลิโอโปลด์ที่ ๒ เปนพระเจ้าแผ่นดินเบลเยียม ชาตะ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๓๗๘ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ กับกวีนมารีเฮนริเอตตา เดิมเปนอาชดัสเชสส์แห่งออสเตรีย เสวยราชสมบัติวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ มฤวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

  296. ๒๙๖. พระยาพิพัฒโกษา (เสพ ต้นสกุล สุรนันท์) ในรัชกาลที่ ๔ บิดาพระยาราชสัมภารกร (เลื่อน) ในรัชกาลที่ ๕ เปนหลวงอินทรโกษา ในรัชกาลที่ ๔

  297. ๒๙๗. เคราน์ปรินซ์เวลานั้น คือ พระเจ้าคุสตาฟ ที่ ๕ พระเจ้าแผ่นดินสวิเดน ชาตะวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๑ อภิเศกสมรสกับกวีนวิกตอเรีย เจ้าแห่งเมืองบาเดน เสวยราชสมบัติสืบต่อพระบิดา วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๐

  298. ๒๙๘. ปรินซ์ออสคาร์ พระอนุชาพระเจ้าแผ่นดินสวิเดนประจุบันนี้ ชาตะวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ เคยเข้ามาในกรุงสยาม พ.ศ. ๒๔๒๗ ภายหลังเปลี่ยนพระนามเรียกตามตระกูลว่า เบอร์นาดอต

  299. ๒๙๙. หม่อมเจ้าประวิช ฤๅต๋ง ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม

  300. ๓๐๐. ปรินซ์ชาลส์ ฤๅกาล แห่งสวิเดน เปนพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินสวิเดน ชาตะ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ กบเจ้าหญิงอิงเคอร์บอคแห่งเดนมาร์ก ชาตะวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๑

  301. ๓๐๑. เคราน์ปรินเซสส์เวลานั้น คือ กวีนวิกตอเรีย แห่งสวิเดนในประจุบันนี้ เดิมเปนเจ้าหญิงแห่งบาเดน ชาตะวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ อภิเศกสมรสกับพระเจ้าคุสตาฟ ที่ ๕ แห่งสวิเดน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๔ มีพระโอรส ๓ พระองค์ พระองค์ที่ ๒ มีพระนามว่า วิลเลียม ดู๊กออฟสุเดอมานี ชาตะวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗ ผู้ซึ่งเข้ามาแทนพระองค์พระเจ้าแผ่นดินเมื่องานบรมราชาภิเศกสมโภช พ.ศ. ๒๔๕๔

  302. ๓๐๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ แต่ยังเปนกรมหมื่น

  303. ๓๐๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา (กรมสมเด็จพระ แต่ภายหลังมาเรียกว่า) กรมพระยาบำราบปรปักษ์

  304. ๓๐๔. ตี๋ ศัพท์นี้มีความหมายเหมือนว่า ผู้ใหญ่เอ็ดตโรเด็กว่า ถ้าขืนทำอย่างนั้นจะต้องถูกตี ฤๅมีความหมายว่า ถูกขนาบ ถูกเอ็ด

  305. ๓๐๕. เฟรเดอริก พระราชโอรสที่ ๑ ของพระเจ้าคฤสเตียนที่ ๙ พระเจ้าแผ่นดินเดนมาร์ก ชาตะวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๘๖ อภิเศกสมรสเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๒ กับเคราน์ปรินเซสส์หลุยส์ พระราชธิดาของพระเจ้าชาลส์ที่ ๑๕ พระเจ้าแผ่นดินสวิเดน ได้สืบราชสมบัติของพระชนก เปนพระเจ้าแผ่นดินเดนมาร์ก วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเฟรเดอริกที่ ๘ มฤ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๕

  306. ๓๐๖. ปรินซ์คฤสเตียนพระราชโอรสของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ ๘ กับกวีนหลุยส์ ชาตะวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๓ อภิเศกสมรสเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๑ กับดัชเชสส์อาเลกซานดรินแห่งเมกเลมเบีก ได้สืบราชสมบัติพระชนกเปนพระเจ้าแผ่นดินเดนมาร์กอยู่ในประจุบันนี้ ทรงพระนามว่า พระเจ้าคฤสเตียนที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๕

  307. ๓๐๗. ปรินซ์ฮาโรลด์ พระอนุชาพระเจ้าคฤสเตียนที่ ๑๐ ชาตะวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ อภิเศกสมรสเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ กับปรินเซสส์เฮเลนแห่ง ชเลสวิค โฮลส์ไตน์ ซอนเดอร์เบีก คลุกสเบีก

  308. ๓๐๘. ปรินเซสส์มารีออฟออร์เลียนส์ พระธิดาของดู๊กรอแบต์เดอชาตร์ส์ ซึ่งเปนพระราชโอรสของพระเจ้าหลุยส์ฟีลิป พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ชาตะวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๗ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ กับปรินซ์วัลดิมาร์ ออฟเดนมาร์ก มฤวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๒

  309. ๓๐๙. ปรินซ์เฮนรีออฟออร์เลียนส์ ชาตะวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ มฤวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ เจ้าองค์นี้ได้เข้ามายังกรุงสยามทางเมืองตังเกี๋ย ถึงหลวงพระบางเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๔ มาทางปากลายอุตรดิฐ ถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม แล้ววันที่ ๑๖ พฤษภาคม ออกไปเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทที่เกาะสีชัง แล้วกราบถวายบังคมลาลงเรือกลับไปนอกในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔

  310. ๓๑๐. ปรินซ์ยอนออฟออร์เลียนส์ ชาตะ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๗ อภิเศกสมรสวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ กับเจ้าหญิงอิซาเบล พระธิดาเคานต์เดอปารีส

  311. ๓๑๑. กัด คำนี้เปนศัพท์แผลงมีความหมายว่า คิดร้าย ฤๅคิดวิวาท ดังเช่นใช้ว่ากัดกัน หมายว่าวิวาทกัน

  312. ๓๑๒. เข้าเวร นี้มีความหมายในศัพท์แผลงว่า ต้องทำการที่ไม่พึงปราถนาจะทำ เหมือนอยู่เวร เฝ้าเวรอันใด เปนการต้องเกนให้ไปอยู่ และยังมีใช้อีกอย่างหนึ่งว่า เวรเข้า นั้นหมายว่า ถูกกริ้ว ฤๅถูกโกรธ คำว่าออกเวร ก็มีความหมายว่า พ้นจากที่ต้องถูกเกนให้ทำ ฤๅพ้นจากที่กังวล ฤๅพ้นจากที่อยู่ในบังคับ

  313. ๓๑๓. คำว่าแป้น นี้มีความหมายว่า นบนอบ ฤๅเอาใจใส่อย่างที่สุด เกิดจากคำที่ใช้กันว่า หมอบราบจนก้นแป้น นั้นย่อลงคงแต่คำปลายเท่านั้น

  314. ๓๑๔. เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้านกลาง สนิทวงศ์ ณกรุงเทพ) เวลานั้นยังเปนนักเรียนทหาร อยู่ที่โคเปนเฮเคน

  315. ๓๑๕. เคราน์ปรินเซสส์หลุยส์ พระราชธิดาของพระเจ้าชาลส์ ที่ ๑๕ แห่งกรุงสวิเดน ชาตะ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๒ กับเคราน์ปรินซ์เฟรเดอริก ภายหลังเปนพระเจ้าเฟรเดอริก ที่ ๘ แห่งกรุงเดนมาร์ก จึงเปนกวีนหลุยส์เมื่อพระราชสามีเปนพระเจ้าแผ่นดิน วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ และเปนพระพันปีหลวง เมื่อพระราชโอรสได้สืบต่อราชสมบัติของพระชนก เปนพระเจ้าคฤสเตียน ที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๕

  316. ๓๑๖. ปรินเซสส์ทีรา พระราชภคินีของพระเจ้าคฤสเตียนที่ ๑๐ ชาตะ วันที่ ๑๔ มินาคม พ.ศ. ๒๔๒๒

  317. ๓๑๗. คื๊ก ศัพท์นี้มีความหมายว่า หัวเราะชอบใจ อีกนัยหนึ่งหมายว่าหัวเราะเยาะก็ได้ มาจากเสียงหัวเราะคื๊ก ๆ ต่างกันกับอีกคำหนึ่งซึ่งว่า เก้อกก้าก นั้นหมายว่า ร่าเริงฤๅรื่นเริงกันเปนอันมาก

  318. ๓๑๘. คุณพ่อ นี้มีความหมายตามศัพท์แผลงอีกอย่างหนึ่ง ว่าเปนผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ไม่พอใจวุ่นวายกับใคร

  319. ๓๒๐. โต๋ นี้มีความหมายเปนคำปลอบฤๅคำสงสาร เหมือนอย่างผู้ใหญ่ปลอบเด็กที่ร้องไห้ มักว่าพุทโธ แต่ออกเสียงว่า ผุตโถ แล้วพูดสั้นเข้าว่า โถ ฤๅ โต๋ เปนเสียงยาว ๆ จึงได้ใช้หมายในเวลาแสดงความสงสาร ฤๅปลอบโยนกัน

  320. ๓๒๐. หยอดกันพลุ่ง ศัพท์นี้มีความหมายว่า ชอบใจกัน ฤๅรักกันมาก มาแต่คำที่มีขุนนางผู้ใหญ่ผู้หนึ่ง ชอบใจสิ่งใดแล้วพรรณาว่าสิ่งนั้นลเอียดจนถึงหยอดเข้าไปในตาก็ได้ ไม่เคืองระคาย คำว่าหยอดตาใช้หมายว่า ชอบใจ ฤๅรักมากแล้ว ตัดสั้นเข้าว่าหยอด ก็เข้าใจกันได้ หยอดกันพลุ่ง ฤๅหยอดกันขลุก มีความหมายว่าพากันชอบใจ ฤๅรักใคร่มาก

  321. ๓๒๑. พระเจ้าคฤสเตียนที่ ๔ พระราชโอรสของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ ๒ ชาตะ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๑๒๐ เปนพระเจ้าแผ่นดินเดนมาร์กกับทั้งนอร์เว เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๑ เสวยราชอยู่ถึง ๖๐ ปี มฤวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๑๙๐

  322. ๓๒๒. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีย์ภิรมย์ กรมขุนสุธาศินีนารถ

  323. ๓๒๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์

  324. ๓๒๔. กิงกาลกัว พระเจ้าแผ่นดินฮาวาย เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน กลับออกไปวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ เดิมกงสุลฮาวายที่ฮ่องกงและสิงคโปร์บอกมายังกรมท่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเรือนฤเบนทร์บุตรี มีพระยาพิพัฒโกษา (ทับ) ๑ พระองค์เจ้า (แต่ยังเปนหม่อมเจ้า) ปฤษฎางค์ ๑ พระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด แต่ยังเปนพระศรีธรรมสาส์น) ๑ พระยาอภัยรณฤทธิ์ (บุศ บุญยรัตพันธ์ แต่ยังเปนจมื่นสุรฤทธิ์พฤฒิไกร) ราชองครักษ์ ๑ รวม ๔ ลงไปรับ กิงกาลกัว กับนายพลโท อามสตรอง และนายพันเอก ยัดซ์ ผู้ตามเสด็จจากเรือเมล์มาจากฮ่องกง ที่เมืองสมุทปราการ เวลา ๒ นาฬิกา ล.ท. มีสลุด ที่ป้อมเสือส้อนเล็บ ๒๑ นัดแล้ว เวลา ๕ นาฬิกา ล.ท. มาขึ้นณท่าศาลต่างประเทศ ฤๅท่าเตียน ขึ้นรถไปวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ จัดเปนที่พักในที่นั้นมีเจ้าของวัง ๑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา (แต่ยังเปนกรมหลวง) ภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ๑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ (แต่ยังเปนพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร) ราชองครักษ์ ๑ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) กับข้าราชการอื่น ๆ คอยรับอยู่ที่นั้นด้วย วันที่ ๒๘ เมษายน เวลา ๔ นาฬิกา ล.ท. เข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ณพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร เจ้านายข้าราชการแต่งเต็มยศสรวมเสื้อเยียรบับ ครั้นออกจากที่เฝ้าทูลลออง ฯ แล้ว ไปเฝ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย วันที่ ๒๙ เมษายน เวลา ๑๐ นาฬิกาก.ท. จน ๑ นาฬิกา ล.ท. เจ้าพนักงานนำไปดูหอพิพิธภัณฑ์ (แต่ยังตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง หลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วัดพระศรีรัตนศาสดารามแลพระยาช้างกับสิ่งอื่นๆ ในพระบรมมหาราชวัง เวลา ๔ นาฬิกา ล.ท. พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แลกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พร้อมด้วยเจ้านายข้าราชการแต่งเต็มยศ ตามเสด็จพระราชดำเนินไปวิสิตตอบกิงกาลกัว ณที่พักวังกรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ครั้นเวลา ๘ นาฬิกา ล.ท. เจ้าพระยาภาณุวงศ์ เลี้ยงดินเนอณจวนรวม ๓๔ รุ่งขึ้นวันที่ ๓๐ เมษายน เวลา ๘ นาฬิกา ล.ท. พระราชทานเลี้ยงในพระบรมมหาราชวังแล้ว กราบถวายบังคมลากลับไปนอกในคืนนั้น รุ่งขึ้นวันที่ ๑ พฤษภาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ก.ท. ผู้ที่ไปรับ ๔ เติมนายประจนณรงค์ฤทธิ์ (ชื่น) นายทหารมหาดเล็กอีกนาย ๑ รวมเปน ๕ ขึ้นรถจากวังที่พักไปลงเรือเก๋งพระที่นั่งรองที่ท่าเตียน ลงไปส่งเรือกลไฟบางกอก ทอดน่าวัดสัมพันธวงศ์ ครั้นเวลา ๑๑ นาฬิกา ก.ท. เรือบางกอกออกไปสิงคโปร์ มีสลุดที่ป้อมเสือส้อนเล็บ ๒๑ นัด

  325. ๓๒๕. พวกลูกเด็กของปรินซ์เซสส์มารีกับปรินซ์วัลดิมานี้ คือ- (๑) ปรินซ์ออเค ชาตะวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๐ (๒) ปรินซ์อักเซล ชาตะวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ (๓) ปรินซ์เอรีก ชาตะวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๓ (๔) ปรินซ์วิกโก ชาตะวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ (๕) ปรินซ์เซสส์มาเคริตา ชาตะวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๗ ข้างต้น ๓ องค์นี้ได้เข้ามากรุงสยามกับพระบิดาในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเศกสมโภช พ.ศ. ๒๔๕๔ ภายหลังองค์ที่ ๓ ได้เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง

  326. ๓๒๖. ซี. เดอ ฮอลก์ ในประจุบันนี้เปนอุปทูตเดนมาร์กอยู่ในกรุงเทพ ฯ

  327. ๓๒๗. ดัสเชสส์อาเลกซานดรินออฟเมกเลมเบีก ชาตะวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๒ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๑ กับคฤสเตียนภายหลังเปนพระเจ้าคริสเตียนที่ ๑๐ พระเจ้าแผ่นดินเดนมาร์กในประจุบันนี้ เปนกวีนเมื่อพระราชสามีเปนพระเจ้าแผ่นดิน วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๕

  328. ๓๒๘. เหาะ ศัพท์นี้มีความหมายตามคำเดิมว่า เลิศลอยฟ้าไปทางดีวิเศษมาก

  329. ๓๒๙. ปอล์ ปิกกินแป๊ก นี้แต่ก่อนเปนนายห้างอยู่ในกรุงสยาม เรียกว่า ปิกกินแป๊ก ธีสกำปะนี ภายหลังเปลี่ยนชื่อห้างเปนวินด์เซอเรดลิกกำปะนี และวินด์เซอกำปะนี ในที่สุดนี้ตามชื่อนายห้างที่เปลี่ยนต่อกันมา แต่ตัวปอล์ปิกกินแป๊กกลับไปอยู่เมืองนอกแล้ว ก็ได้รับตำแหน่งเปนกงสุลเยเนราลฝ่ายสยามอยู่ที่เมืองฮัมเบีก

  330. ๓๓๐. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี

  331. ๓๓๑. แมง ศัพท์นี้มีความหมายว่า ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่คน หากว่าเปนแต่แมลงอะไรตัวหนึ่ง

  332. ๓๓๒. ดู๊กออฟปอตแลนด์ ที่ ๖ นี้ นามเดิมว่า วิลเลียม แคฟเวนดิชเบนติง ชาตะ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ได้เปนสมุหเทศาภิบาลอยู่หลายมณฑล เวลานั้นได้รับตำแหน่ง เปนมาสเตอร์ออฟธีฮอส (เหมือนกับอธิบดีกรมม้าพระที่นั่ง) เปนผู้สืบตระกูลขุนนางอังกฤษมาแต่ดู๊กคนแรกมีขึ้นใน พ.ศ. ๒๒๕๙

  333. ๓๓๓. ยอช ดู๊กออฟเคมบริดช์ ชาตะ วันที่ ๒๖ มินาคม พ.ศ. ๒๓๖๑ จอมพลผู้บังคับบัญชาการทหารอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๙ จน พ.ศ. ๒๔๓๘ มฤ วันที่ ๒๗ มินาคม พ.ศ. ๒๔๔๖

  334. ๓๓๔. ฟรานซีส ดู๊กออฟเต็ก ชาตะ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ อภิเศกสมรส วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๙ กับปรินเซสส์มารี เอเดเลค แห่งกรุงอังกฤษ ชาตะ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๖ เปนชนกชนนีของกวีนมารี แห่งกรุงอังกฤษในประจุบันนี้ ดู๊กมฤ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ดัสเซสส์ มฤ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐

  335. ๓๓๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงนิเวศน์ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๕๙ มฤ พ.ศ. ๒๔๔๒

  336. ๓๓๖. โรเบิต มาร์ควิส (ที่ ๓) ออฟสอลสบรี อรรคมหาเสนาบดีเมืองอังกฤษ ชาตะ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๗๒ มฤ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๖

  337. ๓๓๗. ยอช เออล์เคอซัน (คนแรกตั้งใน พ.ศ. ๒๔๕๔) ไวซรอยอินเดีย และเปนเสนาบดีว่าการต่างประเทศของอังกฤษในประจุบันนี้ ชาตะ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๑

  338. ๓๓๘. แฮร์ ฟอน ซัลเดอเนก อรรคราชทูตเยอรมันคนนี้ เปนคนมีกิริยาอัทธยาไศรยดีนัก เปนคนโปรดมากกว่าทูตเยอรมันคนก่อน ๆ แต่มาอยู่ได้ ประมาณปีเศษ เปนวรรณโรคในตับ ออกไปผ่าที่ชวาก็ถึงแก่กรรมเสียที่นั่น

  339. ๓๓๙. พระยาไกรโกษา (เทศ ภูมิรัตน)

  340. ๓๔๐. แฮร์ เกมเปอร์มัน ราชทูตเยอรมันคนก่อน แฮร์ ฟอน ซันเดอเนก

  341. ๓๔๑. ภรรยา แฮร์ เกมเปอร์มัน หน้าตาเหมือนพระนมแสง จึงทรงเรียกว่า ยายนมแสง เจ้านายก็เรียกรู้จักกันตามชื่อนี้

  342. ๓๔๒. กวีนรีเยนต์ คือ กวีนเอมมา พระพันปีหลวงกรุงนิเทอร์แลนด์ ชาตะ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๑ อภิเศกสมรส วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๑ กับพระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ แห่งกรุงนิเทอร์แลนด์

  343. ๓๔๓. กวีน วิลเลียมิมา แห่งกรุงนิเทอร์แลนด์ พระราชธิดาพระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ กับกวีนเอมมา ชาตะ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ สืบราชสมบัติพระชนก วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๓ อภิเศกสมรส วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ กับดู๊กเฮนรี ออฟเมกเลมเบิคเวริน ชาตะ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๙ แปลงชาติเปนเจ้าฮอล์ลันดา วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๓ พระราชธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่า เจ้าหญิง ยุเลียนา ชาตะ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒

  344. ๓๔๔. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าวลัยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

  345. ๓๔๕. ม. เฟลิกซ์โฟร์, ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๔ เปนสมาชิกของเมืองฮาฟ ในเชมเบอร์ เดปุเตส์ พ.ศ. ๒๔๒๔ เปนรองเสนาบดีว่าการโกโลนีในแคบิเนตของ ม. เฟร์รี พ.ศ. ๒๔๒๕ จน พ.ศ. ๒๔๒๘ เปนเสนาบดีในแคบิเนตของ ม. ติราด์ พ.ศ. ๒๔๓๑ เปนรองประธานในเชมเบอร์ พ.ศ. ๒๔๓๖ เปนเสนาบดีว่าการโกโลนีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ในแคบิเนตของ ม.ดุปุย ครั้นเมื่อ ม. แคสมีร์เปเรียเปนประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๗ และลาออกในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ แล้ว ม. เฟลิกซ์โพร์ได้เปนประธานาธิบดีริปับลิกฝรั่งเศสอยู่ ๕ ปี จน มฤ พ.ศ. ๒๔๔๒ อายุ ๕๘ ได้เปนผู้สำแดงการผูกพันธ์กันกับรัสเซีย รับเสด็จเอมเปอเรอนิคอลาสที่ ๒ ที่ปารีส ในตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ และได้ไปเฝ้าเอมเปอเรอที่รัสเซีย ในสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ในเวลาที่เปนประธานาธิบดีอยู่นั้น ได้เปลี่ยนเสนาบดีสภา ฤๅแคบิเนต ๕ คราว ๆ ที่ ๑ ม, ริโบต์เปนหัวหน้าใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ที่ ๒ ม, บัวร์ชวา ในศกเดียวกัน ที่ ๓ ม, เมลินใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ที่ ๔ ม, บริสซอง ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ และที่ ๕ ม, ดุปุยในศกเดียวกันนั้น

  346. ๓๔๖. ม. คาเบรียล ฮาโนโตซ์ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๖ เปนผู้ช่วยในกองเก็บหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. ๒๔๒๒ เปนเลขานุการสถานทูตฝรั่งเศสที่คอนสแตนติโนเปิล พ.ศ. ๒๔๒๘ และเปนอุปทูตที่นั้น พ.ศ. ๒๔๒๙ เปนสมาชิกมณฑลเอนในเชมเบอร์ พ.ศ. ๒๔๒๙ แล้ว กลับได้เปนสมาชิกอีก ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ มีตำแหน่งเปนอรรคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มเมื่อเปนเจ้ากรมกองกงสุลในกระทรวงการต่างประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ เปนเสนาบดีว่าการต่างประเทศใน พ.ศ. ๒๔๓๗ แล้ว กลับเข้าเปนตำแหน่งนี้อีก ในแคบิเนต ม. เมลีน แต่ พ.ศ. ๒๔๓๙ จน พ.ศ. ๒๔๔๑ เปนผู้แต่งหนังสือพงศาวดารหลายเรื่อง

  347. ๓๔๗. ม. เฟลิกซ์ ยูลร์ เมลีน ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๑ เปนสมาชิกของมณฑลโวสด์ในเชมเบอร์ พ.ศ. ๒๔๑๕ เปนรองเสนาบดียุติธรรม พ.ศ. ๒๔๒๑ เปนเสนาบดีเกษตราธิการ ในแคปิเนต ม. เฟร์รี พ.ศ. ๒๔๒๖ จน พ.ศ. ๒๔๒๘ เปนประธานในเชมเบอร์เดเดปุเต พ.ศ. ๒๔๓๑ เปนประธานเสนาบดีสภา เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ จนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๑

  348. ๓๔๘. ม. อันเดร เลอบอง ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๐ เปนเลขาธิการของผู้เปนประธานในสิเนต แต่ พ.ศ. ๒๔๒๕ จน พ.ศ. ๒๔๓๖ เปนสมาชิกของเมืองปาเทเนในเชมเบอร์ พ.ศ. ๒๔๓๖ เปนรองเสนาบดีว่าการโกโลนี ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ เปนเสนาบดีพานิชการในแคบิเนต ม. รีโบต์ แต่มกราคม จนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๗-๘ เปนเสนาบดีว่าการโกโลนี ในแคบิเนต ม. เมลีน แต่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ จน ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๑ เปนผู้แต่งหนังสือดีหลายเรื่อง

  349. ๓๔๙. แกรนด์ดู๊ก เฟรเดอริก ที่ ๑ ออฟบาเดน ชาตะวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๙ ได้เปนรีเยนต์ของพระเชษฐา วันที่ ๒๔ พถุศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๕ และได้เปนแกรนด์ดู๊กสืบต่อมา วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๙ อภิเศกสมรส วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๙ กับแกรนด์ดัสเชสส์ หลุยส์มารี อิลีซาเบต พระธิดาเอมเปอเรอวิลเลียม ที่ ๑ แห่งเยอรมัน ชาตะวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๑ แกรนด์ดู๊ก มฤวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๐

  350. ๓๕๐. พระเจ้าอัลฟองโซ ที่ ๑๒ แห่งกรุงสเปญ พระราชโอรสกวีนอีซาเบล ชาตะวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๐ เปนพระเจ้าแผ่นดินสเปญวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๒ กับกวีนมารีคฤสตีนา มฤวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘

  351. ๓๕๑. กวีนมารี คฤสตีนาพระธิดาของอาชดู๊ก กาล เฟอร์ดินันด์ออฟออสเตรีย ชาตะวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๑ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๒ กับพระเจ้าอัลฟองโซ ที่ ๑๒

  352. ๓๕๒. คุณเสงี่ยม เปนตำแหน่งที่คุณปลัดน้อย

  353. ๓๕๓. พระเจ้าอัลฟองโซ ที่ ๑๓ แห่งกรุงสเปญ พระราชโอรสของพระเจ้าอัลฟองโซที่ ๑๒ กับกวีนมารี คฤสตีนา ชาตะวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ เปนพระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่วันประสูตร์ พระชนนีเปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจนมีพระชนม์เต็มบริบูรณ อภิเศกสมรส วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ กับกวีนวิกตอเรีย ยูยีเนีย เจ้าหญิงแห่ง แบตเตนเบีก ชาตะ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ เปนพระเจ้าแผ่นดินสเปญอยู่ในประจุบันนี้

  354. ๓๕๔. มิศเตอร์อาลเบิตนี้ เปนพนักงานผู้หนึ่งอยู่ในสถานราชทูตสยามที่กรุงเบอร์ลิน เวลานั้นตามเสด็จพระราชดำเนินไปด้วย

  355. ๓๕๕. พระเจ้ากาลสที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินโปรตุกัล พระราชโอรสของพระเจ้าดอมหลุยส์กับกวีนมาเรียเปีย ชาตะวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๖ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ กับกวีนมารีอาเมเลีย มฤวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐

  356. ๓๕๖. กวีนมารีอาเมเลีย พระธิดาของเคานต์เดอปารีส ชาตะ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๘ อภิเศกสมรสวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ กับพระเจ้ากาลสที่ ๑

  357. ๓๕๗. ปรินซ์มหมัดอาลี ปาชา อนุชาเกดีฟ อาบบาส ที่ ๒ ฮิลมี ชาตะ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๘

  358. ๓๕๘. ถ่ายรูป นี้เปนศัพท์แผลง มีความหมายว่า พูดทักทายปราสัยอย่างเวลารับแขก ถ้าใช้ว่าถ่ายรูปหมู่ก็หมายความว่า พูดจาปราสัยผู้ที่มาหานั้นรวมกันทั้งหมด ถ้าใช้ว่า ถ่ายรูปเรียงตัว ฤๅรายตัว ฤๅถ่ายรูปเดี่ยว แล้วมีความหมายว่า พูดจาปราสัยทีละคน

  359. ๓๕๙. ปรินซ์บิสมาร์ก นี้นามเดิมว่า โอทอน เอดเวอด ลิโอโปลด์ ฟอน บิสมาร์ก ชาตะ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๕๘ เปนเคานต์ ฟอน บิสมาร์ก ชอนเฮาเซน วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๘ เปนข้าแผ่นดินผู้หนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงปรากฎโด่งดังว่า เปนผู้ก่อสร้างการสามัคคีของเยอรมันซึ่งแตกแยกอยู่ให้รวมเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน เปนสมาชิกที่ปฤกษาในที่ชุมนุมแลนด์ตาคของเยอรมันอันรวมกันเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๐ และเปนสมาชิกของที่ชุมนุมที่สองของปรัสเซียนไดต์ แต่ พ.ศ. ๒๓๙๒ และ พ.ศ. ๒๓๙๓ แล้วได้ไปเปนเอกอรรคราชทูตอยู่ในรัสเซียและในฝรั่งเศส ได้เปนเสนาบดีว่าการต่างประเทศของกรุงปรัสเซีย เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ และใน พ.ศ. ๒๔๑๐ เปนอุปราชของประเทศเยอรมันอันรวมกับฝ่ายเหนือ และใน พ.ศ. ๒๔๑๓ เปนอุปราชของเยอรมันเอมไปร์เลื่อนยศเปนปรินซ์ ฟอน บิสมาร์ก เมื่อวันที่ ๒๑ มินาคม พ.ศ. ๒๔๑๓ และเปนดู๊ก เลาเอนเบิก เมื่อลาออกจากตำแหน่งอุปราช ในมินาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ มฤวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๑

  360. ๓๖๐. เอ นี้เปนศัพท์แผลงมีความหมายว่า โคลง ฤๅแคลง เหมือนอย่างเปลไกว มาจากเสียงกล่อมเมื่อไกวเปลเด็กดัง เอ นั้นเอง เมื่อใช้ว่าคลื่นเอ ก็มีความหมายว่า คลื่นที่แรงพอให้เรือโคลงฤๅแคลง

  361. ๓๖๑. นายเกดนี้ เปนบ๋อยทหารเรือตั้งแต่ครั้งเรือพระที่นั่งเวสาตรี ภายหลังได้รับสัญญาบัตร์เปนขุนและได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว

  362. ๓๖๒. คำว่า กรุด นี้มีความหมายว่า ทำเทียม ฤๅทำแทนของจริง ฤๅตบแต่งขึ้น คำนี้มาจากชื่ออำแดงกรุด ผู้หนึ่งอยู่แขวงบางปอิน เคยได้เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทในรัชกาลที่ ๕ และกราบบังคมทูลพระกรุณาเชิญเสด็จพระราชดำเนินประพาศที่ทุ่งนาของอำแดงกรุด ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเห็นดอกบัวมีมาก แต่เหี่ยวแห้งต่อหยิบขึ้นแล้วจึงเห็นว่า เปนของหามาจากที่อื่น ๆ แล้ว วางไว้ด้วยความตั้งใจดีที่จะรับเสด็จให้มีดอกบัวมาก ๆ เพราะเหตุนั้นจึงเกิดมีคำนี้ขึ้น

  363. ๓๖๓. พระราชนิพนธ์ เรื่องพระทันตธาตุนี้ ได้ลงพิมพ์ไว้แล้ว อยู่ในหนังสือวชิรญาณเล่ม ๖ ตอน ๓๓ เดือนมิถุนายน ร.ศ. ๑๑๖ ตั้งแต่น่า ๓๒๔๕ จนน่า ๓๒๘๐

  364. ๓๖๔. พระราชนิพนธ์โคลงนิราศ ซึ่งทรงอ้างในพระราชหัถเลขานี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภคัดสำเนาไว้แล้ว ต้นฉบับพระราชหัถเลขาโคลงนั้นพระราชทานแด่สมเด็จพระบรมราชินีนารถ เปนโคลง ๔๔ บท ทรงค้างอยู่เพียงถึงสิงคโปร์ มีสำเนาดังนี้ ๑. พรายพรายสุริเยศเยื้อง เยี่ยมพโยม พร่างพร่างจับพรรณโฉม นิ่มน้อง พราวพราวดรุณโสม ส่องค่ำ พรุ่งพรุ่งพาระจากห้อง จักช้า เห็นโฉม ๒. โทมนัสอัดอกอึ้ง อาวรณ์ จำจิตรจำจากสมร หม่นใหม้ อยู่เดียวแต่มารดร จักปลอบ ไฉนจะปลดเปลื้องให้ สุดสิ้น กรรแสง ๓. แรงรักภูวนารถเกล้า กะษัตรีย์ หวังสืบสิ่งสวัสดี แด่เจ้า จึงเรียมนิราศศรี เสาวภาคย์ พี่เอย โดยเสด็จดำเนินเข้า สู่ด้าว อัษฎงค์ต ๔. ยลอนงค์กำสรดเสร้า โสกสะยบ เรียมหวั่นว่าอรสลบ เกลือกม้วย ไปทางหว่างอรรณพ นับโยชน์ กลับบเห็นหน้าสร้วย พี่สิ้น สุดปราณ ๕. สงสารสายสวาสดิ์แก้ว กลอยใจ พี่เอย สุขและทุกข์คือใคร คู่พร้อง อยู่เทอญพี่จำใกล จงสวัสดิ์ ขอเทพพิทักษ์น้อง ห่างพ้น ภัยพาล ๖. พุธวารเมษมาสขึ้น เขตรศรี สวัสดิ์เอย ศุภฤกษ์ดลดิถี เจดถ้วน โกสินทร์รัตนศกปี ร้อยสิบ หกแฮ งายกึ่งถึงบ่ายล้วน โชคชี้ ไชยเฉลิม ๗. เหิมโสกจำหักเสร้า สั่งสมร แม่ฮา ยกย่างพลางใจจร จากเจ้า เหลียวลับทับทุกข์ถอน ใจใหญ่ เดินแต่กายใจเฝ้า อยู่ห้อง แหนนวล ๘. จวนจวบพระฤกษ์เร้า เสียงสังข์ แตรเฮย บันเฑาะว์ดุริยประดัง พาทย์ฆ้อง โสตร์สดับประดุจพัง เพิกอก พี่นา นับแต่วันจักต้อง แต่ร้าง แรมสถาน ๙. เตรียมการตกแต่งเสื้อ สนับเพลา ยสเอย ลายปักทองงามเงา ใช่น้อย ประคตคาดกระบี่เฉลา ฉลุล่าม สายแฮ ตราติดอุระพร่างพร้อย หมวกพร้อม เพราตา ๑๐. มาคอยรับเสด็จเจ้า จอมปราณ ฝ่ายน่าห้าโมงนาน เสด็จคล้อย ขึ้นสู่พระราชยาน แหนแห่ ตัวพี่ตามเสด็จด้อย ส่วนด้าว ปฤษฎางค์ ๑๑. ขุนนางคอยเฝ้าแน่น น่าฉาน มีพระราชโองการ โปรดเกล้า ดำรัสปราไศรยสาส์น สั่งกิจ การนา ทูตและกงสุลเฝ้า พรั่งพร้อม แหล่หลาย ๑๒. ฝ่ายในยืนเนื่องหน้า ท้าวนาง อีกท่านผู้หญิงพลาง นอบน้อม เรียมเมิลกระมลหมาง พาหม่นหมองแฮ ใครต่อใครมาพร้อม ขาดน้อง นางเดียว ๑๓. เสียวเสียวสมรตึกเต้น เต็มหัก ใจแฮ โดยเสด็จจากตำหนัก ท่าน้ำ เสียงสลุดดุจปืนปัก อกทุก นัดนา พระสวดปริตล้ำ เลิศเอื้อ อวยไชย ๑๔. เดชะไตรรัตน์ป้อง ภัยขจัด เดชะเทพย์ทุกจังหวัด ช่วยคุ้ม เดชะผลพิสุทธิสัตย์ สอนจิตร เจ้านา เดชะรักสุจริตหุ้ม ห่อน้อง นฤภัย ๑๕. เรียมไกลนุชนาฏนี้ เกือบปี ไปแม่ อยู่แต่กับชนนี หนึ่งนั้น สุภาสิตท่านมี คำกล่าว ไว้นา นึกนึกหนักอกอั้น อุส่าห์สู้ สกดฝืน ๑๖. ชนยืนสพรั่งพร้อม ถวายพร เรือมหาจักรีจร แล่นคว้าง ตั้งเศียรสู่อุดร โดยนะ ทีนา จวนจวบถึงที่กว้าง ส่องคล้อยครรไลย ๑๗. บัดใจมาจวบพ้อง วังสถาน งามสง่าปราการ กอบกั้ง ปราสาทส่องแสงฉาน ฉายสอด ผสานนา แค้นแต่บังเรือนรั้ง บ่ให้ เรียมเหน ๑๘. ผิวเปนเทวราชผู้ เรืองฤทธิ์ พี่จักมานฤมิต น่านน้ำ ใหลอ้อมนิเวศน์ชิด เฉียดน่า เรือนแฮ พอพี่ยลนุชซ้ำ สั่งแล้ว ลาสมร ๑๙. เรือจรประดุจลิ่วฟ้า โดยลม เสียงราษฎร์สองฝั่งขรม เรียกร้อง เริงรื่นชื่นเชยชม ขบวนเสด็จ บ้างก็ยอกรพร้อง เกษก้ม ถวายไชย ๒๐. ใครใครบานเบิกหน้า ตาเฉย ไฉนพี่บ่มีเสบย สักน้อย เขารักบ่เปนเลย ฤๅซ่อน โสกนา บานแต่นอกใจลห้อย แม่นแม้น ทรวงเรา ๒๑. ลำเนาตำแหน่งข้าง มรรคา ห่อนแปลงห่อนแปลกตา แต่กี้ ป่วยคำร่ำพรรณา เปลืองกระดาษ ขาดนุชนั่งชวนชี้ ชืดชื้อ เกียจชม ๒๒. รบมกายอายแดดกล้า แผดเผา ทรวงบ่สร่างสำเรา รุ่มร้อน ล่วงลุถิ่นลำเนา เมืองสมุท เรืออยุดยามเยนสะท้อน ทุกข์ล้ำ คำไข ๒๓. เรือไฟอรรคเรศร์รั้ง รอรับ สมเด็จราชินีกลับ พรั่งพร้อม พระราชประยูรกับ ข้าราช การนา ต่างประนตนอบน้อม ต่างเอื้อ อาไลย ๒๔. ผู้ไปยืนส่งผู้ อยู่กรุง ต่างมัวเปนหมู่มุง ดาษฟ้า สดับโห่ยิ่งลรรลุง ใจป่วน จริงแฮ ต่างกระพือโบกผ้า เพื่อแจ้ง ใจจง ๒๕. เรือวงแล่นแวดอ้อม อดิศวร ทรงฤๅ เสียงแต่โห่เทียวทวน มากครั้ง มหาจักรีจวน ใช้จักร พี่ประนมหัถตั้ง จิตรไหว้ เจดีย์ ๒๖. ขอตรีรัตนคุ้ม เกรงตน ขอคู่ศัตรูผจญ จุ่งแพ้ ขอคุณพระปกมณ ฑลเทศ สยามแฮ ขอเดชพระเกียงแก้ เกลื่อนร้อน ผ่อนเกษม ๒๗. เปรมปรีดิ์ปราโมทย์น้อม นมัสการ ใจหนึ่งลรรลุงลาน สวาสดิใหม้ นึกหน้ายุพาพาล เพียงชีพ พี่เอย ไฉนบ่มาส่งให้ พี่ซ้ำ อำลา ๒๘. นาวาใช้จักรคล้อย ครรไลย จำพี่เดดดวงใจ จากเจ้า ป่านฉนี้จักเปนไฉน นุชนาฏ พี่เอย รอยจะค่อนอุระเร้า ร่ำร้อง นองไนย ๒๙. หักใจจำชื่นกลั้น อสุชล หัวร่อต่อเพื่อนตน ต่างพร้อง ลุป้อมนอกบัดดล เขาสลุด ดูดั่งหนึ่งคำน้อง กล่าวถ้อย สั่งเสีย ๓๐. ละเหี่ยละห้อยห่อน สำราญ เลยฮา มาลุร่องลึกสถาน ที่นี้ น้ำหย่อนหยุดอยู่นาน ตราบมืด ดูดั่งจักช่วยชี้ ช่องให้ ใจหวล ๓๑. ไป่ควรด่วนรีบร้อน เร็วคลา ไคลเอย คิดใคร่เร็วคืนหา เพื่อนเคล้า รถไฟจะรีบพา เรียมกลับ บ้านฤๅ จักละพระเปนเจ้า เช่นนั้น ไป่ควร ๓๒. แต่ครวญตราบค่ำคุ้ง ราษตรี สองทุ่มครึ่งชลธี ทั่งท้น ยามควรเคลื่อนนาวี ออกอ่าว ข้ามเขตรสันดอนพ้น ผ่านตื้น ตกชเล ๓๓. เวลาพักโภชนตั้ง โต๊ะประจำ สองทุ่มเสวยเย็นกำ หนดรู้ กาแฟหนึ่งโมงสำ เหนียกแน่ เครื่องใหญ่สามโมงผู้ จัดตั้ง รวังการ ๓๔. สุริย์ฉานบ่ายเคลื่อนคล้อย นาฬิกา หนึ่งนา ตั้งเครื่องกลางวันหา ถี่ถ้วน ห้าโมงบ่ายน้ำชา ขนมและ เนยแฮ ผู้ที่ตามเสด็จล้วน ร่วมพร้อม โต๊ะหลวง ๓๕. นับปวงแต่ผู้ที่ บรรดา มาเฮย สามราชภราดา ร่วมไร้ สี่ราชโอรสา ตามเสด็จ ข้าราชกิจนับไว้ เจดตั้ง จำนวน ๓๖. ยังส่วนนอกนั้นอีก สี่นาย เหล่านักเรียนแหล่หลาย สิบห้า หมอหนึ่งเครื่องต้นถวาย โอสถ หนึ่งนา ไทยฝ่ายนายเรือกล้า กลั่นแกล้ว มีสอง ๓๗. ทั้งผองไทยพวกผู้ เดินนา วาเฮย นายแปดกะลาสี นอกนั้น สองร้อยเศษไตรตรา เก้าสิบ สี่แฮ ฝรั่งสิบห้าคนชั้น ใหญ่น้อย นายเรือ ๓๘. เหลือสุขสรรพ์สิ่งสิ้น จัดสรร ห้องหับประดับพรรณ เพริศแพร้ว ห้องนอนพิจิตรบรร จงแต่ง ขาดสิ่งเดียวแต่แก้ว เนตรน้อง นางไกล ๓๙. มาในอรรณพนี้ แสนสบาย แม่เฮย แต่ละลอกฤๅพราย พร่างพร้อย คลื่นราบบรางระคาย เรือกลอก แคลงเลย ยังสดับฤดีสร้อย สติตั้ง ไป่คง ๔๐. โฉมยงยุพนาฏน้อย นวลฉวี พี่เอย แม้นแม่มาจักมี สุขล้ำ นั่งแนบแอบพัดวี วายว่าง ร้อนนา นอนแต่เดียวเปลี่ยวปล้ำ โสกสร้าน แสนทวี ๔๑. ราตรีกรมอกอั้น อิงเขนย คิดขนิษฐเคียงเคย ขาดเคล้า จักหลับมิหลับเลย หลายทุ่ม ยามนา ตราบอรุณรุ่งเร้า เร่งร้อน ทรวงกระศัลย์ ๔๒. สี่วันเรียมจากเจ้า เยาวมาลย์ แม่เอย ยลแต่ท้องคคณานต์ กับน้ำ เกาะแก่งแห่งละหาร เหนห่าง ห่างแฮ แลบ่ชัดสนัดซ้ำ เบื่อสิ้น สบสถาน ๔๓. ระวิวาลุเขตรแคว้น สิงคโปร์ ถิ่นท่านาวาโต เติมตั้ง เปนเมืองมั่งคั่งโภ คาเขตร ค้าแฮ อังกฤษสถิตย์ยั้ง อยู่เฝ้า แหนหวง ๔๔. ปวงเรือและป้อมต่าง คำนับ ธงเฮย โดยสลุดนรินทร์รับ ตอบแล้ว เจ้าเมืองปลัดกับ เอดดิ กงนา ต่างสู่เรือไฟแคล้ว คลาศเฝ้า บาทบงษ์ ฯ

  365. ๓๖๕. เข้าหอพราหมณ์ คำนี้มีความหมายว่า หลีกไปเข้าซ่อนเร้นเสีย ฤๅว่าหลบไปรำงับอารมณ์ไม่ให้ใครรบกวนได้ คำนี้เกิดใช้กันขึ้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาศเพ็ชร์บุรี ประทับอยู่ณพระนครคิรี พ.ศ. ๒๔๒๙ ครั้งนั้นเจ้านายฝ่ายน่าที่ตามเสด็จพระราชดำเนินพักกันอยู่ที่ตึกหมู่หอจตุเวทปริตพรต ในหมู่นี้มีหอพิธีพราหมณ์หลัง ๑ ซึ่งเปนที่สำหรับพระครูพราหมณ์ ทำพิธีอันจะมีขึ้นในเวลาที่ประทับอยู่พระนครคิรี แต่ในคราวที่ว่านี้ไม่เปนเวลามีพิธี กรมพระสมมติอมรพันธุ์จึงเสด็จพักอยู่ที่หอนั้น ครั้นเมื่อเสด็จอยู่ข้างนอก มีคนรบกวน ฤๅไม่พอพระหฤทัยด้วยเหตุใด ๆ ก็เสด็จเข้าหอพราหมณ์ ปิดประตูอยู่ในนั้นพระองค์เดียว เพราะเหตุนี้เจ้านายจึงทรงใช้คำว่า เข้าหอพราหมณ์ดังว่ามาข้างต้นแล้ว

  366. ๓๖๖. พลวก คำนี้มีความหมายเหมือนคำภาษามคธว่า โลมหังสนะ ซึ่งแปลไว้ในอภิธานัปปทีปิกา ฤๅพจนานุกรม เปนภาษาไทยว่า ขนชูชัน แต่หาได้มีความหมายว่า ขนลุกขนพองไม่ หากจะมีความหมายว่า ความสดุ้งจิตร์ โดยมีความประหลาดใจก็ดีโดยความเกลียดกลัว ฤๅความรักใคร่ก็ด้วยเหมือนกัน คล้ายกันกับน้ำตาไหลด้วยความเสียใจ ฤๅความดีใจฉนั้น คำนี้เกิดจากเสียงซึ่งคล้ายกับอ้วก เปนด้วยเกิดลมจากกระเพาะดันขึ้นมาดังพลวก บางทีก็มีแต่ลมออกเปล่า ๆ บางทีถึงอาเจียนด้วย อาการอย่างนี้ เคยมีอยู่แก่เจ้านายองค์หนึ่งฤๅสององค์ และมักจะเปนในเวลาที่สดุ้งพระหฤทัย ฤๅหวั่นไหวเช่นว่ามาแล้ว จึงเกิดมีคำนี้ใช้กัน

  367. ๓๖๗. มิเลจะ คำนี้เปนคำซึ่งเรียกตามภาษาสันสกฤตที่เขียนว่า มเลจฉะ ตรงกันกับคำภาษามคธว่า มิลักขุ มีความหมายตามศัพท์เดิมว่า ต่างประเทศจากอริยะประเทศฤๅชาวป่าเถื่อน อย่างเรียกตามภาษาอังกฤษว่า บาเบเรียน แต่ใช้มีความหมายไปถึงว่าโง่เขลา ไม่รู้จักอะไรด้วย บางทีใช้ตามภาษามคธว่า มิลักขู ฤๅย่นเข้าว่า ลักขู ก็ใช้ได้เหมือนกัน

  368. ๓๖๘. เปรสิเดนต์ แห่ง สวิส คอนเฟเดอเรชั่น นี้ชื่อว่าอาดอลฟ์ ดูเชอ ชาตะ พ.ศ. ๒๓๘๔ ได้เคยเปนเปรสิเดนต์ แต่ก่อนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ ปีหนึ่งคราวหนึ่ง กับใน พ.ศ. ๒๔๔๐ อีกคราวหนึ่ง ปีหนึ่ง ตามกฏหมายอันเปนธรรมเนียมประเพณีของเมืองสวิตเซอแลนด์ ไวซเปรสิเดนต์นั้น ชื่อว่า ยูยีน รูฟฟี ชาตะ พ.ศ. ๒๓๙๗ ต่อไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้เปนเปรสิเดนต์ ชานเซลเลีย แห่ง สวิส คอนเฟเดอเรชั่น ซึ่งมีตำแหน่งเสมอกับเสนาบดีผู้ใหญ่ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น มีชื่อว่า ยี. ริงเคีย

  369. ๓๖๙. พระรูปถ่ายองค์นี้ พิมพ์ไว้ในสมุดนี้ ที่พระราชหัถ ฉบับที่ ๓๑ ตรงน่า ๒๐๖

  370. ๓๗๐. พระรูปถ่ายองค์นี้ พิมพ์ไว้ในสมุดนี้ ที่พระราชหัถ ฉบับที่ ๕๙ ตรงน่า ๒๙๙

  371. ๓๗๑. พาว คำนี้มีความหมายว่า พูดกระซิบกระซาบ ฤๅพูดจากันจะไม่ให้ใครได้ยิน ฤๅว่าเปนเหมือนความลับ ศัพท์นี้เกิดจากที่เจ้านายทรงสังเกตเห็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ทรงรับสั่งอะไรกับเจ้านาย ฤๅขุนนาง มักจะรับสั่งด้วยเสียงเบา ๆ ดังพาว ๆ จึงเกิดใช้คำ พาว ฤๅพาว ๆ นี้ใช้เปนความหมายว่ากระซิบกระซาบ ฤๅพูดเปนความลับกัน ฤๅว่าเสียงพูดเบา ๆ ไม่ให้ใครได้ยิน ก็ได้เหมือนกัน

  372. ๓๗๒. เขียว คำนี้เปนศัพท์แผลงมีความหมายว่า โกรธ ฤๅเกรี้ยว มาจากคำที่พูดกันอยู่ว่า เสียงเขียว เปนเสียงที่โกรธขึ้งมาก ฤๅเสียงขู่อย่างโกรธเคืองมาก คำว่าเขียวนี้ คล้ายกับคำ เก่า ซึ่งหมายว่า พื้นไม่ดี และโกรธ แต่คำว่า เก่า นั้นไม่แรงถึงเขียว ที่เปนอย่างดุร้ายแรงมาก คำว่าเก่านั้น เปนแต่โกรธขุ่น ๆ ในใจ ไม่ใคร่เปนการที่ให้ปรากฎไปถึงผู้อื่นต้องถูกต้องด้วยความโกรธนั้น

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ