- คำนำ
- พระราชประวัติสังเขป
- ที่ ๑
- ที่ ๒
- ที่ ๓
- ที่ ๔
- ที่ ๕
- ที่ ๖
- ที่ ๗
- ที่ ๘
- ที่ ๙
- ที่ ๑๐
- ที่ ๑๑
- ที่ ๑๒
- ที่ ๑๓
- ที่ ๑๔
- ที่ ๑๕
- ที่ ๑๖
- ที่ ๑๗
- ที่ ๑๘
- ที่ ๑๙
- ที่ ๒๐
- ที่ ๒๑
- ที่ ๒๒
- ที่ ๒๓
- ที่ ๒๔
- ที่ ๒๕
- ที่ ๒๖
- ที่ ๒๗
- ที่ ๒๘
- ที่ ๒๙
- ที่ ๓๐
- ที่ ๓๑
- ที่ ๓๒
- ที่ ๓๓
- ที่ ๓๔
- ที่ ๓๕
- ที่ ๓๖
- ที่ ๓๗
- ที่ ๓๘
- ที่ ๓๙
- ที่ ๔๐
- ที่ ๔๑
- ที่ ๔๒
- ที่ ๔๓
- ที่ ๔๔
- ที่ ๔๕
- ที่ ๔๖
- ที่ ๔๗
- ที่ ๔๘
- ที่ ๔๙
- ที่ ๕๐
- ที่ ๕๑
- ที่ ๕๒
- ที่ ๕๓
- ที่ ๕๔
- ที่ ๕๕
- ที่ ๕๖
- ที่ ๕๗
- ที่ ๕๘
- ที่ ๕๙
- ที่ ๖๐
- ที่ ๖๑
- ที่ ๖๒
- อธิบายคำ
คำนำ
ด้วยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารพที่จะให้พิมพ์สมุดหนังสือไว้เปนที่รฦกในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงนั้นแล้ว ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ควรจะพิมพ์พระราชหัดถ์เลขาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่งได้ทรงมีพระราชทานมาเปนส่วนเฉพาะพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนารถ ซึ่งสำเร็จราชการแผ่นดินเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรปครั้งแรก ในพระพุทธศักราช ๒๔๔๐ พระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้เปนส่วนพิเศษต่างหาก นอกจากที่ได้ทรงมีมาทางราชการและเปนกระแสพระราชดำริห์ ในการที่ได้ทรงสังเกตเห็นการในบ้านเมืองและบุทคลต่าง ๆ อย่างคนที่ได้ไปเที่ยวเตร่แล้ว มีหนังสือเล่าความตามที่ได้สังเกตเห็นฉนั้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดข้อความในพระราชหัดถ์เลขา ซึ่งกล่าวมาแล้วนี้ ลงพิมพ์แต่เพียงที่มีความสมควรจะพิมพ์ขึ้นได้ในเวลาประจุบันนี้ ส่วนซึ่งมีความกล่าวถึงข้อราชการบ้านเมืองบางอย่างที่มีอยู่บ้างในพระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้ ก็ให้คงมีอยู่บ้าง ให้งดเสียบ้าง ตามที่ยังเปนความลับของแผ่นดินอยู่ ฤๅที่เปนข้อความจะเสียหายมากมายแก่ใครได้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำคำอธิบายหมายเลขเปนที่สังเกตไว้ในนามบุทคล ซึ่งทรงไว้แต่สังเขปตามที่เคยทรงเรียกนั้นให้ทราบชัดเจนอย่างที่เรียกกันในทุกวันนี้ กับศัพท์แผลงที่ทรงใช้อยู่ในพระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้ก็ให้มีคำแปลไว้ด้วยเหมือนกัน
ในพระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้ บางเมืองที่มีเวลาทรงพระราชหัดถ์เลขาได้มาก เพราะไม่มีพระราชกิจสำคัญติดอยู่แล้ว ก็มีความเลอียดพิศดารมาก แต่บางเมืองที่ต้องมีพระราชกิจอยู่มาก ไม่มีเวลาพอที่จะทรงพระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้ได้ ก็มีความแต่สังเขป ไม่เท่ากันไปหมด และบางทีไม่ติดต่อกันไปได้เสมอดังปรากฎในพระกระแสที่มีในพระราชหัดถ์เลขานั้นแล้ว
รวมเปนพระราชหัดถ์เลขาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์ในครั้งนี้ ๖๒ ฉบับ กับสำเนาต่าง ๆ ที่กล่าวอ้างถึงในพระราชหัดถ์เลขานี้อีก ๕ ฉบับ รวมทั้งสิ้น ๖๗ ฉบับ ดังมีแจ้งอยู่ในสารบาญต่อนี้ไปแล้ว
และหวังพระราชหฤทัยว่าหนังสือนี้คงจะเปนที่ชอบใจผู้อ่าน ให้เจริญใจและเจริญความรู้ยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์และความศุขของคนทั้งปวงสืบไปชั่วกาลนาน.
เทวะวงศ์วโรปการ