กัณฑหิมพานต์

  1. พระนางผุสดีเทพกัญญารับพรสิบประการ แล้วจุติไปบังเกิดในตระกูล กษัตริย์มัทราช ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัย ผู้ครองสีวิรัฐ ประสูติพระโอรสทรงพระนามว่าพระเวสสันดร
  2. พระเวสสันดร เสด็จออกบำเพ็ญทานประจำวัน ทรงช้างปัจจัยนาค
  3. ระหว่างทางเสด็จ พราหมณ์ชาวเมืองกลิงคราษฐ์ทูลขอช้างปัจจัยนาค ก็ทรงบริจาคพระราชทานให้

๏ อิติ สา วเร คเหตฺวา ตโต จุตา มทฺทรญฺโ อคฺคมเหสิยา กุจฺฉิมฺหิ นิพฺพตฺตีติ ฯ สา ผุสฺสตี อันว่าสมเด็จสบรรษดี คเหตฺวา ก็รับแล้ว วเร เมาะ ทสวเร ซึ่งพระพรสิบอัน แด่สำนักนิท้าวมัฆวาน จุตา ก็จุติจากดาวดึงษาสวรรค์ ลงมา อคฺคมเหสิยา กุจฺฉิมฺหิ นิพฺพตฺติ ก็เอาปฏิสนธิในพระอุทรแห่งสมเด็จพระอรรคมเหษี แห่งภูมีมัทธราช ทสมาสจฺจเยน ครั้นถ้วนทศมาศสิบเดือน ก็เคลื่อนคลาศ จากพระมาตุโครธร บวรจากครรภ์พระมาดา ชายมานาย จนฺทนจุณฺเณน ก็มีพระกายาประดับประดาไป ดังลูบไล้ลาทาด้วยจุณแก่นจันทน์ เตน วุตฺตํ เหตุดังนั้นพระบวรวงษา จึงมาถวายพระนามตามองค์ ผุสฺสตีนาม นาเมน ทรงพระนามชื่อสบรรษดี เปนศรีสวัสดีจำเริญไป ฯ

๏ สา มหนฺเตน ปริวาเรน โสฬสวสฺสิกกาเล อุตฺตมรูปธรา อโหสิ อันว่า พระสบรรษดีราชธิดาก็จำเริญวัยได้สิบหกปี ก็งามมีศรีโสภา ก็แวดล้อมพร้อมด้วยบริวาร เมื่อนั้น อถ นํ สิวิมหาราชา ปุตฺตสฺส สญฺชยสฺสตฺถาย อาเนตฺวา ในกาลนั้น สมเด็จท้าวสีพิราช จึงให้นางนารถสบรรษดี แล้วอภิเศกกับพระสญไชยเมื่อนั้น ฯ

๏ ตสฺส ฉตฺตํ อุสฺสาเปตวา ตํ โสฬสนฺนํ อิตฺถีสหสฺสานํ เชฏกํ กตฺวา ก็ ยอยกเสวตรฉัตร มอบให้สองกระษัตรครองเมือง เนืองนองด้วยยศบริวารสนมพระกำนัล อคฺคมเหสิฏฺาเน เปสิ ก็ตั้งพระสบรรษดี เปนพระมเหษียิ่งกว่าพระสนมหมื่นหกพันแล้วแล ฯ สา สญฺชยสฺส ปิยา มนาปา สมเด็จนางสบรรษดี ก็เปนที่จำเริญศรีพระสญไชย อถ สกฺโก อาวชฺชมาโน มยา ผุสฺสติยา ทินฺเนสุ วเรสุ นว วรา สมิทฺธาติ ทิสฺวา ในกาลนั้นสมเด็จท้าวโกษี ก็มาเห็นราชสบรรษดี อันมีศรี สัพลักษณเลงเสิศ ประเสริฐสำเร็จด้วยพระพรเก้าประการ ฯ เอโก ปุตฺตวโร น ตาว สมิชฺฌติ ตํปิสฺสา สมิชฺฌาเปสฺสามีติ จินฺเตสิ ยังแต่พรอันนางจะขอพระราชบุตรอันบริสุทธิสืบวงษ์ จำนงปลงใจ ควรเราจะไปอาราธนาพระมหาสัตว์ เสวยสมบัติในดาวดึงษา เมื่อนั้น ฯ อถ สกฺโก ตสฺส สนฺติกํ คนฺตวา มาริส ตฺยา มนสฺสโลกํ คนฺตุํอํ วฏฺฏตีติ ในกาลนั้นท้าวสหัศไนย ก็ไปสู่สำนักนิ สมเด็จจอมจักรภูวนารถ ก็อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เปนเนรทุกข์ จงเปนศุขทุกเมื่อ ขอเชิญเสด็จลงไปแผ่เผื่อโพธิญาณ เปนกาลอันควร แล้วแล ฯ เสสเทวปุตฺตา สฏฺิอิสหสฺสานํ อมจุจานํ เคเหสุ นิพฺพตฺตึสุ ธก็อันเชอญเทพบุตรองค์อื่นได้หกหมื่นองค์ จุติลงมาเอาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเสนาทั้งหลาย เมื่อนั้น มหาสตฺโตปิ ตโต จวิตฺวา ตตฺถุปปนฺโน อันว่าพระโพธิสัตว์ก็รับปฏิญาณ แห่งท้าวมัฆวานแล้ว จวิตฺวา ก็จุติลงมาพลัน ปฏิสนธิในครรภ์พระสบรรษดีด้วยเร็วแล ฯ

๏ มหาสตฺเต ปน กุจฺฉิคเต ผุสฺสตี โทหลินี หุตฺวา จตูสุ นครทฺวาเรสุ นครมชฺเฌ จ นิเวสนทฺวาเร จาติ ฯ มหาสตฺเต อันว่า พระมหาสัตว์เมื่ออุบัติในครรภ์ ฯ สา ผุสฺสตี โทหลินี หุตฺวา อันว่า พระสบรรษดี ก็มีพระไทยปราถนาให้ทำ ฉทานศาลาหกแห่ง จตูสุ นครทฺวาเรสุ นครมชฺเฌ ให้ตกแต่งแทบประตูเมือง ท่ามกลาง ในระวางตรอกพ่อค้า วิสชฺเชตฺวา ให้จำหน่ายจ่ายทรัพย์ทั้งหลาย ฉสตสหสฺสานิ โดยมั่นหมายได้หกแสน เทวสิกํ เทวสิกํ กำหนดแม่นเปนนิรันตร์ แลพระสบรรษดีนั้นก็เสด็จไป สตฺต อสฺเส รเถ นิสีทิตฺวา ก็นั่งในราชรถ อัน ปรากฏเทียมยิ่ง ด้วยม้ามิ่งมงคล ฯ มหนฺเตน ปริวาเรน มากเกลื่อนกล่นด้วย บริวาร ฯ สา ผุสฺสตี วีถิยา มชฺฌปฺปตฺเต กาเล ในกาลเมื่อถึง ซึ่งตรอกบมินาน กมฺมชฺชวาตา ลมกามัชวาตก็พัดพานพลัน ให้ไหวหวั่นซึ่งพระครรภ์นางนารถฯ รญฺโ อาโรจยึสุ อันว่าอำมาตย์ทั้งหลายก็ถวายบังคมทูล แด่พระนเรนสูรสญไชย ฯ ตํ สุตฺวา ราชา อันว่าพระมหากระษัตร ก็ตรัสให้พระพลาทอง ไปรองรับพระโอรสา วิชายิตฺวา นางพระยาก็ประสูตรพระโอรส ปรากฏในท่ามกลางทางระวางตรอก มหาสตฺโต มาตุกุจฺฉิโต อกฺขีนิ อุมฺมิเลตฺวา อันว่าพระมหาสัตว์เมื่อออกจากครรภ์พระมาดา ก็ทอดไนยนาลืมพลัน ฯ ปสาเรตฺวา ก็เหยียดพระหัตถ์ ก็ตรัสพระวาจา ฯ อมฺม ข้าแต่พระมาดา ทรัพย์อันใดมีมา ข้าจะขอให้ทานบัดนี้ จงพลันฯ อถสฺส มาตา อชฺฌาสเยน เทหีติ อันว่าพระมาดาเจ้า จึงหยิบเอาทรัพย์พันตำลึง ให้ถึงมือเมื่อนั้น ฯ อถสฺส นามคหณทิวเส เวสฺสวีถิยํ ชาตตฺตา เวสฺสนฺตโรติ อันว่า พระญาติทั้งหลายก็ถวายพระนามตามเหตุ ชื่อพระเพศยันดรดังนั้น ฯ เตน วุตฺตํ เหตุดังนั้น พระเพศยันดรเสด็จบรรธมบรมไสยาศน์ เหนืออาศนก็จินตนาการ เมื่อนั้น ฯ อหํ พาหิรกทานเมว ทมฺมิ ตํ มํ น ปริโตเสติ อชฺฌตฺติกทานํ ทาตุกาโม อันว่าทานภายใน ควรเราจะให้ตามผู้ใดจะมาขอ เราก็จะยอยกให้ตามใจมัน ฯ หทยํ นีหริตฺวา ตสฺส ทเทยฺยํ แม้ผู้ใดจะปราถนา จะมาขอซึ่งดวงใจ เราก็จะให้ดังใจมันฯ สเจ อกฺขีนิ มํ ยาเจยฺยํ ถ้าผู้ใดจะมาอาเพศ ขอไนยเนตรเรา ก็จะเอาให้ดังใจจง ฯ อถวาปิ มํ โกจิ เม ทาโส โหหีติ วาเทยฺยํ ถ้าผู้ใดประสงค์จะมาปลงขอเอา ตัวเราไปเปนทาษ ก็ตามแต่จะปราถนาเอาไป ฯ ชาตทิวเสเยว ปนสฺส เอกา อากาสจาริณี กเรณุกา อภิมงฺคลสมฺมตํ สพฺพเสตํ หตฺถิโปตกํ อาเนตฺวา ในเมื่อวันพระโพธิสัตว์ ออกจากครรภ์พระมาดา ยังมีแม่ช้างตัวหนึ่งพลัน พาเอาลูกนั้นมา โดยเวหาบมินาน กับประดิษฐานไว้ในโรงอันเปนมงคล ฯ มหาสตฺตสฺส ปจฺจยํ กตฺวา จึงพระมหาบุรุษ ให้ฝูงคนสมมุติว่าช้างแก้วปรตยนาท เปนที่ยินดีแก่ราษฎรบ้านเมือง เมื่อนั้น ฯ ตํ สุตฺวา ราชา มม ปุตฺเตน ทินฺนํ พฺรหฺมเทยฺยเมว โหตูติ อันว่าพระมหากระษัตร จึงตรัสให้หาพระนม อันงามสมปรากฏ ด้วยนมรศอันหวาน ก็พระราชทานไปแก่พระองค์ฯ โส สฏฺิอีสหสฺเสหิ ปริวาเรหิ มหนฺเตน ธก็พระราชทานให้บริวารวง อันเกอดร่วมวันทันองค์หกหมื่นตนฯ สหสฺสคฺฆนกํ กุมารํ ปิลนฺธนํ กาเรสิ ธก็ให้ประดับทับทรวงองค์ แด่พระผู้ทรงธรรม เมื่อนั้น ฯ โส จตุปญฺจวสฺสิกกาเล ตํ โอมุญฺจิตวา ธาตีนํ ทตฺวา พระโพธิสัตว์ก็เปลื้องเครื่องประดับทับทรวงองค์ ก็บรรจงปลงให้ทานแด่พระนมทั้งหลายไป เมื่อนั้น ฯ ตํ สุตฺวา ราชา ตํ ปิลนฺธนํ อทาสิ อันว่าพระบิดาก็มาใช้ ให้ช่างทองจำลองพลัน แล้วพระผู้ทรงธรรม์ ก็พระราชทานไปด่งงนี้ ฯ ตสฺเสว สภาวํ สรสจิตฺตํ จินฺเตนฺตสฺส จตุนหุตาธิกทฺวิโยชนสตสหสฺสพหลา อยํ มหาปวี มตฺตวารโณ วิย ตชฺชมานา กมฺปติ ในเมื่อพระแพศยันดรจินตนาในใจ ก็บันดาลไหวหวั่นโดยสำคัญมี พระมหาปัถพีดล ก็รนร้องก้องโกญจนาท พระเมรุราชก็หวาดไหว เมื่อท้าวไทธจินตนา ดังนั้น ฯ ยาว พฺรหฺมโลกา เอกโกลาหลํ อโหสิ อันว่ามหัศจรรย์ ก็บันดาลดลเปนเหตุ ถึง เทเวศรพรหมมินทร์ ได้ฟังยินก็ส้องสาธุการเปนโกลาหลก็มี เมื่อนั้น ฯ

๏ โพธิสตฺโต โสฬสวสฺสิกกาเลเยว สพฺพสิปฺปานํ นิปผตฺตึ ปาปุณึสุ ฯ ภิกฺขเว ดูกรอาริยสงฆ์ผู้ทรงศีลวิสุทธิบวร เมื่อพระเพศยันดร โสฬสวสฺสิกกาเล ในกาลเมื่อได้สิบหกปี สพฺพสิปฺปานํ นิปฺผตฺตึ ปาปุณึสุ พระองค์ทรงศีล เพทวิเสศบริบูรณ์ ราชา สญฺชโย อันว่าพระบาทบิดา อาเนตฺวา จึงให้นำมา ซึ่งนางนารถราชกัญญา มทฺทีนาเมน ชื่อเจ้ามัทรี สาวศรีมัทธราชธิดา เชฏฺกํ กตฺวา อคฺคมเหสิฏฺาเน เปตฺวา ท้าวธก็ให้อภิเศกเปนเอกนารี มหาสตฺตํ รชฺเช อภิสิญฺจิตฺวา ก็ให้พระเพศยันดรบวรบาท เสวยราชสมบัติครองเมือง ฯ มหาสตฺโต รชฺเช ปติฏฺิอิตกาลโต ปฏฺาย เทวสิกํ ฉสตสหสฺสานิ วิสชฺเชนฺโต มหาทานํ ปวตฺเตสิ อันว่าพระมหาสัตว์ทรงธรรม ก็จำหน่ายจ่ายทรัพย์เปนทาน เปนประมาณวารละหกแสน ฯ อปรภาเค มทฺที เทวี ปุตฺตํ วิชายิตฺวา จำเดิมแต่นั้นไป พระราชเทวีก็ประสูตรปรากฏ พระราชโอรสดังนี้ ฯ ตํ กาญฺจนชาเลน สมฺปฏิจฺฉึสุ อันว่าพระนมทั้งหลาย จึงเอาข่ายทองเข้ารองรับพลัน เหตุดังนั้นจึงถวายนามโดยมี ชื่อชาลีกุมาร ฯ ตสฺส ปทสา คมนกาเล สา ธีตรํ วิชายิ ในกาลเมื่อพระชาลีผู้เภาพาล ค่อยวัฒนาการ จำเริญไวย จึ่งนางนารถองค์อรไทย ก็ประสูตรพระราชธิดา เมื่อนั้น ฯ ตํ กณฺหาชิเนน สมฺปฏิจฺฉึสุ เหตุนั้นพระนมทั้งหลาย จึงมาถวายหนังหมี รองรับพระราชกุมารีธิดา จึ่งถวายพระนามปรากฏ จึงกำหนดนามกัณหา ดังนี้ ฯ ตทา กาลิงฺครฏฺเ ทุวฏฺิกา อโหสิ ในกาลนั้น อันว่าเมืองกาลึงคราษฎ์ ก็บมิอาจให้ฝนตกเมืองตน ก็บังเกิดโกลาหล ทุกประการฯ มนุสฺสา ชีวิตุํ อสกฺโกนฺโต โจรกมฺมํ กโรนฺติ อันว่าฝูงคนทั้งหลาย ก็บมิอาจขวนขวายเลี้ยงตน ก็จลาจลโจร เมื่อนั้น ฯ มหาชนา ราชงฺคเณ สนฺนิปติตฺวา อุปกฺโกสึสุ อันว่าฝูงคนชนชาวเมือง ก็ฟุ้งเฟื่องพร้อมกันร้อง ก้องท้องพระตำหนัก พระยาพลัน ฯ อถ ราชา สาธุ ตาตา เทวํ วสฺสาเปสฺสามีติ ในกาลนั้น บ้นนพระบาทสมเด็จกาลึงคราษฎ์ก็รับปฏิญาณ จึ่งสมาทานอุโบสถ ก็บมิอาจปรากฏฝนมิได้แล ฯ

๏ เอส เชตุตฺตรนคเร สญฺชยรญฺโ ปุตฺโต เวสฺสนฺตโร นาม ทานาภิรโต อันว่าชาวเมือง ก็เนื่องทูลโดยอรรถ ว่าพระมหาสัตวบุตรสญไชย ท้าวไทธนั้นศรัทธา มีช้างงาเผือกผ่องมงคล ดังนี้ ฯ โส สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา พฺราหฺมเณ ปกฺโกสาเปตฺวา ท้าวธให้หาพราหมณ์ทั้งหลายแปดตน มีโกณฑัญพราหมณ์เปนประธาน ดังนี้ ฯ คจฺฉถ เวสฺสนฺตรํ หตฺถึ ยาจิตฺวา อาเนถาติ เปเสสิ ดูกรพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเร่งผันผายไป ยังกรุงไกรพิชยเชตอุดร วิงวอนขอช้างแก้วปัตย ท้าวธให้ได้แล้วพามา อถ พฺราหฺมณา อนุปุพฺเพน เชตุตฺตรนครํ ปตฺวา พราหมณ์ทั้งหลายก็ไปมิหึง บันลุถึงเชตุดรนครนั้น ปุนทิวเส ราชานํ หตฺถึ ยาจิตุกามา หุตฺวา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายก็ไปสู่โรงทาน ก็บริโภคอาหารสำเร็จ แล้วก็มานั่งรับเสด็จพระองค์ฯ ราชาปิ เสฺว ทานคฺคํ โอโลเกสฺสามีติ ปาโตว นฺหาตฺวา อันว่าพระมหาบุรุษราชผู้ใจบุญ ครั้นเบิกอรุณรุ่งราง ธก็ประดับด้วยแก้วกัณฐี-มณีกร สรรพาภรณ์วิภูสิต ก็เสวยพระโภชนาหารแล้วแล

อลงฺกริตฺวา หตฺถี ขนฺธวรคโต ปาจีนทฺวารํ อคมาสิ แล้วก็เสด็จเหนือคอ ช้างแก้วปัตยนาท ไปประพาศ ณ โรงทาน โดยพระทวารปาจินทิศาภาคนั้น ฯ พฺราหฺมณา ทกฺขิณหตฺถํ ปสาเรตฺวา ชยตุ ชยตุ เวสฺสนฺตโรติ อาหํสุ จึ่งพราหมณ์ ทั้งหลายแปดคน ก็ถวายชยมงคลแต่สมเด็จพระผู้ทรงธรรมอยู่แล

๏ มหาสตฺโต พฺราหฺมเณ ทิสวา หตฺถึ เตสํ ิตฏฺธาเน เปเสตฺวา หตฺถิขนฺเธ นิสินฺโนว ปมํ คาถมาหฯ ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ปรากฏ เปนพุทธชิโนรสรุ่งเรืองงาม ฯ มหาสตฺโต พฺราหฺมเณ ทิสฺวา สมเด็จพระมหาสัตว์ ตรัสทอดพระนยเนตรเห็นพราหมณ์ เปเสตฺวา หตฺถิขนฺเธ ก็บ่ายพระภักตรมณฑลยังพราหมณ์นั้น ปมํ คาถมาห ธก็ตรัสพระคาถาเปนประถมก่อนแล ฯ

๏ ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา ปงฺกทนฺตา รชสฺสิรา ปคฺคยฺห ทกฺขิณํ พาหุํ กึ มํ ยาจนฺติ พฺราหฺมณา ดูกรพราหมณ์ทั้งหลาย ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา แลมีขนรักแร้ เล็บนั้นแลยาว ปงฺกทนฺตา รชสฺสิรา ฟันก็ขาวล้วน กึ มิ ยาจนฺติ พฺราหฺมณา พราหมณ์ทั้งมวญชวนกันมา เผื้อเหตุการณ์ดังฤๅ ฯ พฺราหฺมณา อาหํสุ อันว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ก็ถวายบังคมทูลดังนี้ ฯ

๏ รตนํ เทว ยาจาม สิวีนํ รฏฺวฑฺฒนํ ททาหิ ปวรํ นาคํ อีสาทนฺตํ อุรุฬฺหวนฺติ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้ผ่านพิภพสีพี ตูข้าทั้งหลายมานี้ จะขอหัตถีรัตนปัตยนาท ขอพระองค์จงประสาทประสิทธิ จงสำเร็จกิจแห่งพระโพธิญาณ เล่าเทอญ ฯ

๏ ตํ สุตฺวา มหาสตฺโต อหํ สีสมาทึ กตฺวา อันว่าพระมหาสัตว ฟังซึ่งอรรถ วัจนแห่งพราหมณ์ จึงทรงพระดำริห์ตริโดยงาม ก็จินตนาการในใจ ว่ากูนี้จักกระทำ อัชฌัตติกทาน บัดนี้หมู่พราหมณ์ตามขอช้าง เปนทางพาหิรกทาน ควรจะให้ตามใจขอ ดังนี้ ฯ

๏ สุคนฺโธทกปูริตํ สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา แล้วท้าวธก็จับเอาเต้าสุวรรณ กมลคนที แล้วก็รดรินวารีหลั่งหล่อต่อมือพราหมณ์ ก็ตรัสด้วยพระคาถา ดังนี้ ฯ

๏ ททามิ น วิกมฺปามิ ยํ มํ ยาจนฺติ พฺราหฺมณา ฯ ดูกรพราหมณ์ อันว่าช้างแก้วปัตย ก็เป็นสวัสดิมีไชยในพระนคร บวรราชสีพี เมืองเรา ฯ ปิฏฺิยํ มุตฺตาชาลํ มณิชาลํ กาญฺจนชาลนฺติ แล้วประกอบด้วยข่ายทองรองรับหลังแลแก้วมณี ศรีรุ่งเรืองรจนา ฯ หตฺถินา สทฺธึ สตฺตอนคฺฆานิ สพฺพานิ พฺราหฺมณานํ อทาสิ อันว่าเครื่องสรรพาภรณ์ แห่งปัตยานาเคนทรประดับ กำหนดนับได้เจ็ดแสน องค์พระยาช้างนั้นแม้นมิได้ปรากฏ กำหนดก็บมี สห ทาเนเนว ปนสฺส เหฏฺา วุตฺตนเยเนว ภูมิกมฺปาทโย อเหสุํ ในเมื่อท้าวธทรงประสาทศรัทธา อันว่าแผ่นพสุธาอันใหญ่หนาก็จลาจล เมื่อพระทศพลญาณ ทรงพระราชทานปัตย เมื่อนั้น ฯ

๏ ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห อันว่าพระสากยมุณีนารถสาศดา เมื่อ พรรณาซึ่งอรรถนั้น ก็กล่าวพระคาถาดังนี้ ตทาสิ ยํ ภึสนกํ ตทาสิ โลมหํสนํ ฯ

ภิกฺขเว ดูกรภิกษุมุนี ผู้มีศีลทรงไตร เมื่อบรมไทธิเบศร์เพศยันดร มาประสาทปัตยนาทบวร พราหมณ์ก็พาเอากุญชร จรจากนครเชตุดรนั้น

ตทาสิ ยํ ภึสนกํ ให้บังเกิดสยองพองทุกเส้นขน ทั้งพสุธาดลก็รนร้อง กึกก้องโกญจนาท พระสุเมรุราชก็หวั่นไหว หตฺถินาเค ปทินฺนมฺหิ ในเมื่อบรมไทธิเบศร์ เพศยันดรพระราชทาน เทพยดาก็บันดาลให้ชาวบ้านเมืองฦๅเลื่อง เฟื้องฟุ้ง ขจรอนันต์ พฺราหฺมณา กิร ทกฺขิณทวาเร อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายก็บ่ายหน้ามายังทักขิณทวาร หมู่คนแลลานอัศจรรย์ อมฺโภ พฺราหฺมณา อมฺหากํ หตฺถึ อภิรุยฺห กุโต โว ลทฺโธ หตฺถีติ อันว่าฝูงนิคมชนบทก็เห็นปรากฏ จึงถามโดยบทบมินาน พราหมณ์ก็ขานบอกแล พฺราหฺมณา อาหํสุ อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย ก็บอก ออกโดยหมาย ก็ขี่ขับปัตยผันผาย ไปสู่กาลึงคราษฎร์บมินาน เล่าแล ฯ

๏ เตน วุตฺตํ เหตุนั้นพระผู้ทรงธรรมบพิตร ก็มีพจนสุภาสิต ด้วยลิลิตพระคาถา ดังนี้ อุคฺคา จ ราชปุตฺตา จ เวสิยานา จ พฺราหฺมณา หตฺถาโรหา อนีกฏฺา รถิกา ปตฺติการกาติ ฯ ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลวรคุณ เมื่อบรมไทใจบุญ มาปลดปลงปัตยนาท จรจากราชเวียงวงษ์ อุคฺคา จ ราชปุตฺตา จ เวสิยานา จ พฺราหฺมณา ก็ดาลดลปรากฏ ทวยทวิบทนานา มีหมู่อำมาตย์ราชปโรหิตฝูงวานิชนองเนือง เมื่อนั้น

หตฺถาโรหา อนีกฏฺา รถิกา ปตฺติการกา ฝูงนิกรคชสิทธิกุญชร หมู่อัศดร ราชยานก็ปรากฏ ทงงหมู่รถบทจรแลล้วน

เกวโล จาปิ นิคโม สิวิโย จาปิ สมาคตา ฝูงชนบทอันมีในบุรีนั้น ก็ชวนกันพรั่งพร้อมล้อมแน่น ทวยทั้งแดนกรุงสีพิราษฎร์นั้น ทิสฺวา นาคํ นิยฺยมานํ เต รญฺโ ปฏิเวทยุํ ยลทชีเผ่ากาลึงคราษฎ์ พาคชลีลาศจากบุรีเรือง ก็ขัดเคืองพิโรธ ก็ร้องอุโฆษประกาศ ไทธิราชสญชยบพิตรนั้น ปุตฺโต เวสฺสนฺตโร ตว กถํ โน หตฺถินํ ทชฺชา ดังฤๅพระเพศยันดรบวรราชโอรส ธมาเปลื้องปลดคชนาทอยราผ่องแท้ นาคํ รฏฺสฺส ปูชิตํ กถํ โน กุญฺชรํ ทชฺชา ก็เปนที่บูชาแก่ชาวเมือง ดังฤๅ พระบุญเรืองบเอื้อ มาก่อเกื้อในทางทาน บมิชอบไส้ ฯ อีสาทนฺตํ อุรุฬฺหวํ เขตฺตญฺญุํ สพฺพยุทฺธานํ หนึ่งอยรางางอน บมิอาจย่อหย่อนอรินทรราช แล้วองอาจรู้จบสงคราม สพฺพเสตํ คชุตฺตมํ ปณฺฑุกมฺพลสญฺฉนฺนํ ช้างแก้วเผือกแผ้วงาม รุ่งเรืองอร่ามด้วยกำพล กายสกลโทรมซับมัน เลิศยิ่งยง ฯ

๏ ปภินฺนํ สตฺตุมทฺทนํ ทนฺตึ สวาลวีชนึ สัณฐานจับกรมลบรรจง พาลวิชนี องอาจ ยํ่ายีหมู่อรินทรราช ได้แล เสตํ เกลาสสทิสํ สเสตจฺฉตฺตํ สุปตฺเถยฺยํ ตนงามสะอาดดังไกรลาศราชบรรพต ทั้งอลงกฏเสวตฉัตร วิจิตรรัตนทองพราย สาถพฺพนํ สหตฺถิปํ อคฺคยานํ ราชวาหึ มีหมอควานบริบาลบำรุงการ เป็นอัคคยานทรงเสด็จทุกที ฯ พฺราหฺมณานํ อทา ทานํ สิวีนํ รฏฺวฑฺฒนนฺติ ธมาจงใจให้ขาดพฤฒาจารย์ ปานครุวนา ดังสามัญทรัพย์อันจำเริญแก่ชาวเมือง เล่าแล ฯ ปุนเอวมาหํสุ ชาวสีพิราษฎร์ จึ่งร้องประกาศสืบไป ดังนี้ ฯ อนฺนํ ปานญฺจ โส ทชฺชา วตฺถเสนาสนานิ จ สมเด็จพระแพศยันดร ธควรจะทรงพระราชศรัทธาโภชนนานา ทั้งวัตถาภรณ์วิภูษิต วิจิตรเครื่องลาด พระบาทควรจะอำนวยด้วยพฤฒา ภิกขาจารชอบแล ฯ กถํ เวสฺสนฺตโร ปุตฺโต ดังฤๅพระแพศยันดรบวรบุตร มาเผด็จ มิ่งมงกุฎ คชสารสุทธเรืองเดช องค์สญชเยศธิปตย วรยลชอบฤานา สเจ ตฺวํ น กริสฺสสิ สิวีนํ วจนํ อิทํ บัดนี้ผิแลพระผู้ผ่านเผ้า บตามคำเราตูข้า จะเป็นมหิศรา บเอื้อเอาคำเราสีพีดังนี้ ฯ มญฺเ ตํ สห ปุตฺเตน สิวิหตฺเถ กริสฺสเรติ ดังเราทั้งมวลจะชวนกันสำคัญ รันพิโรธราวี ทั้งนฤบดีจะพินาศ เพราะข้าบาทในเนื้อมือเราแล ฯ

๏ ตํ สุตฺวา ราชา กามํ ชนปโท มาสิ รฏฺญฺจาปิ วินสฺสตุ นาหํ สิวีนํวจนา อันว่ากรุงสญชยราช ฟังประกาศฝูงสีพีพลัน ท้าวธนั้นมั่นหมายสำคัญ ว่าพระลูกนั้นจะวินาศ จึงตรัสประภาศแก่สีพีราษฎร์ทั้งหลาย ว่าแม้นบุรีวินาศ สูประกาสห่อนฟัง ได้รา ฯ ราชปุตฺตํ อทูสกํ ปพฺพาเชยฺยํ สกา รฏฺา พระลูกเรานี้ โสด บมีโทษสักอัน ดังฤๅจะเกียดกันจากสมบัติ พลัดนิเวศจรไกลฯ ปุตฺโต หิ มม อตฺรโช น จาหํ ตสฺมึ ทุพฺเภยฺยํ พระลูกก็เกิดกับตนกูผู้บิตุราช และจะปองพินาศบุตรเราเยียไรได้

อริยสีลวโต หิ โส อสิโลโกปิ เม อสฺส พระลูกเราแลแท้ทางสัปรุษ ศีล บริสุทธเสพบรรจง แม้จะมาปลงชีพบุตรา ฝูงโลกยจะมาสงไสย ฯ ปาปญฺจ ปสเว พหุํ กถํ เวสฺสนฺตรํ ปุตฺตํ กรรมนั้นไปจะให้รึงรัง ทนทุกขังจิรังกาล ดังฤๅ จะผลาญเจ้าผู้บุตร ด้วยอาวุธทั้งหลาย บมิชอบไส้ฯ ตํ สุตฺวา สิวิโย อโวจุํ ฝูงนครสีพิราษฎร์ ก็ร้องประกาศแก่ท้าวไท ดังนี้ มา นิ ฑณฺเฑน สตฺเถน น หิ โส พนฺธนารโห ข้าแต่พระบาท พระโอรสราชบควรบีทา แม้นจะผูกพันธ์มั่นรึงตรึงตรา ควรแก่ราชาธิเบศร์องค์อร ดังนี้ ฯ ปพฺพาเชหิ จ นํ รฏฺา วงฺเก วสตุ ปพฺพเต ขับเสียจำจาก วิบัติพลัดพราก องค์พระแพศยันดร จรยังบรรพต วงกฏสิงขร เชิญองค์บวร ตามราชหฤไทย ฯ ตํ สุตฺวา ราชา อาห จึงพระภูเบศร์ กรุงสญชเยศ ดำรัสเอาใจ ซึ่งจักบัพพา ตามอัธยาไศรย กูบขัดได้ ตามแต่ท่านรา อิมํ โส วสตุ รตฺตึ กาเม จ ปริภุญฺชตุ บัดนี้ เราขอทุเลาท่าน ในราตรีกาลบมิควร จักชักชวนเชยชม กับนารถภิรมย์มเหษี ก่อนแล

ตโต รตฺยา วิวสเน สุริยสฺสุคฺคมนํ ปติ สมคฺคา สิวิโย หุตฺวา ในกาลเมื่อรุ่งแสงสว่างศรี ชาวเจ้าทั้งนี้จงมาสพรั่งพร้อม ล้อมบัพพาชนิยจำกัด ให้กระษัตริย์ โอรสเรา นิราศจากบุรี ฯ อุฏฺเหิ กตฺเต ตรมาโน เหวยนักการเอ๋ย เร่งรุกเร็วบัดนี้ พลัน คนฺตวา เวสฺสนฺตรํ วท จงแสดงทุกข์แห่งโอรส ให้ปรากฏโดยคดี สิวิโย เทว เต กุทฺธา ว่าบัดนี้หมู่สีพีลงโทษ โกรธจอมธรรม์ ฯ

ส กตฺตา ตรมาโนว นักการรับสารด้วยพลัน หนแล่นตระบัดเร็วไว กตฺตา เวสฺสนฺตรํ พฺรวิ นักการลุถึงบัดดล แจ้งกิจฝูงคน ทูลแด่ทรงธรรม ทุกฺขนฺเต เวทยิสฺสามิ ข้าแต่ปิ่นภพนาถา ข้อยจักพรรณา ทุกข์พลันอันมี ฯ มา เม กุชฺฌ รเถสภ ข้าแต่พระผู้ประเสริฐ โทษอันใดเกิด ขออย่ามีแก่ข้าเลย ฯ วนฺทิตฺวา โรทมาโน โส ประนมไหว้ ไห้พลางทางเฉลย ฯ สิวิโย เทว เต กุทฺธา ข้าแต่ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเอ๋ย บัดนี้สีพีเขาคุมเคียด เกียดจักกระทำโทษพระองค์ อสฺมา รตฺยา วิวสเน สุริยสฺสุคฺคมนํ ปติ เมื่อได้สว่างแจ้งแสงสุริยง จึงพระองค์จะแรมร้างนิราศ จากปรางมาศเวียงไกร ฯ สมคฺคาสิวิโย หุตฺวา รฏฺา ปพฺพาชยนฺติ ตนฺติ พระองค์ นฤศุข เสวยทุกขัง ปิ่นเกล้าเจ้าจงฟังแจ้งรา ฯ

มหาสตฺโต อาห กษณะนั้นจอมกระษัตริย์ แจ้งยุบลอุบัติจึงตรัสถามตามยิน กิสฺมึ เม สิวิโย กุทฺธา เพื่อใดสีพีพร้องจอง ภยรี จะให้เรานิราศร้างแรมเมือง ฯโย น ปสฺสามิ ทุกฺกฏํ เราก็บเห็นเปนขุ่นเคือง ดังฤๅชาวเมืองยอโทษเรา ฯ ตํ เม กตฺเต วิยาจิกฺข กสฺมา ปพฺพาชยนฺติ มํ เหตุใดจงแสดงซึ่งเหตุแห่งเราอย่านาน เขาปองบัพพาชนิยการ จากนิเวศเหตุดังฤๅ ฯ กตฺตา อาห นักการก้มเกล้าทูลไท เขาพิโรธเข็ญไภย ด้วยให้ปัตยมิ่งมงคลเล่าแล ฯ มหาสตฺโต อาห ปางนั้นพระบรมวงษ์ องค์พระแพศยันดร ตรัสว่าแฮนักการ เราเบิกบานสำราญใจ ด้วยเรามาให้ช้างแก้ว แล้วบัดนี้ยังแต่อัชฌัตติกทานเล่าแล ฯ

๏ หทยํ จกฺขุมฺปหํ ทชฺชํ กึ เม พาหิรกํ ธนํ หิรญฺํ วา สุวณฺณํ วา หัทยมังษะ โลหิตพระเกษไนยเนตรแห่งเราก็จะยอ คนขอโดยมั่นหมายเงินทองของ นอกกายบยินแล

มุตฺตา เวฬุริยา มณิ ทกฺขิณํ วามหํ พาหุํ แก้วมุกดา ไพรฑูริย์ แสงใส ให้ไม่อิ่มองค์ศรัทธา ทั้งทักขิณพาหาเราก็จะตัดให้ไปเล่าแล ฯ ทิสฺวา ยาจกมาคเต ทเทยฺยํ น วิกมฺเปยฺยํ แม้เราแลเห็นยาจกมาแท้ เราชื่นชม ในอารมณ์บหวั่นไหว ฯ ทาเน เม รมตี มโน กานํ มํ สิวิโย สพฺเพ เรายอยินให้สิ้นสุดทานบารมี แม้ทวย ชนสีพีจะมาฆ่าตีรัน ฤๅ บัพพาชนิยเรานั้นก็ตามใจเล่าแล ฯ เนว ทานา วิรมิสฺสํ กามํ ฉินฺทนฺตุ สตฺตธาติ แม้จะปราถนาออกปาก จะแบ่งบั่นหั่นเจ็ดภาค เราบเหนื่อยทาน โสดแล ฯ

โส เทวตาวิคฺคหิโต หุตฺวา กเถสิ กษณะนั้นบั้นเทพบันดาล ให้นักการไขบอกแล ฯ เอวนฺตํ สิวิโย อาหุ เนคนา จ สมาคตา ข้าแต่พระบาท สีพิราษฎร์มาปลงใจ ดังนี้ ฯ โกนฺติมาราย ตีเรน คิริมารญฺชรํ ปติ จักให้พระองค์ สู่พนัศแดนดง ทางท่าน้ำตรงแทบฝั่งโกนติมารา เฉพาะน่าคิรีนั้น เยน ปพฺพชิตา ยนฺติ เตน คจฺฉตุ สพฺพโตติ อันกระษัตริย์มีโทษ ปัพพาศชยสันโดษ โดยมีแล้วแล ฯ โพธิสตฺโต อาห อันว่าพระมหาสัตว์ ตรัสทุกถ้วนชน ว่าท่านผ่อนปรนงดเราฯ ยาว ทานํ ททามิหนฺติ แต่พอเรายอยก สัตตสดกมหาทาน ธก็ให้ตรัสจัดแจงการ ทั้งช้างม้ารถาจารข้าหญิงชาย โภชนทั้งหลายสิ่งละเจ็ดร้อยครบครัน แล้วเสด็จไปพระตำหนักนิเวศเทพีเมื่อนั้น ฯ

๏ ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห ฯ ยํ อตฺถํ อันว่าอรรถอันใด อปากฏํ ยังมิได้ปรากฏ สตฺถา อันว่าพระศาสดา ปกาเสนฺโต เมื่อจะแสดงซึ่งอรรถ ก็มีพุทธ ฎีกาตรัสเปนพระคาถา ดังนี้ ฯ

๏ อามนฺตยิตฺถ ราชา นํ มทฺทึ สพฺพงฺคโสภนึ ฯ ภิกฺขเว ดูกรภิกษุผู้มีศีลาจาร เมื่อหน่อโพธิญาณผู้อารี ตรัสเรียกพระมเหษีมัทรี ผู้มีศุภลักษณ์ลํ้าเลิศ ฯ ยํ เต กิญฺจิ มยา ทินฺนํ ทรัพย์อันใดประเสริฐ อันเกิดแก่นุชนารถ ยญฺจ เต เปตฺติกํ ธนนฺติ หนึ่งทรัพย์แห่งบิตุราช ให้แก่น้องนารถนารี จงเก็บไว้ให้ดีพ้นภัย เล่า เทอญ ฯ

๏ ตมพฺรวิ ราชปุตฺติ มทฺที สพฺพงฺคโสภนา สมเด็จพระมัทรีศรีสวัสดิ์ มัทธราชนารี จึ่งมีพระเสาวนีประนมรับ

กุหึ เทว นิทหามิ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับ ซึ่งให้หอมยับทรัพย์หนใด ฯ สีลวนฺเตสุ ทชฺเชสิ ทานํ มทฺทิ ยถารหํ ดูกรพระน้องนารถอรไทย เจ้าอย่าสยมเก็บอบรมทางทาน แก่สมณาจาริย์ท่านผู้มีศีล น หิ ทานา ปรํ อตฺถิ ปติฏฺา สพฺพปาณินนฺติ สิ่งใดบห่อนไปเปนที่พึ่ง บเทียมถึง เท่าทานทั่วไป โย จ ตํ ภตฺตา มญฺเยฺย สกฺกจฺจนฺตํ อุปฏฺเห แม้กษัตรองค์ใด มีพระไทยประดิพัทธ กำหนัดเปนภรรดา ท้าวน้องจงมาบำรุงรักษ์ ภักดีอย่าทรงโศกวิโยคตรอมใจ จงมีไชยสวัสดิ์บัดนี้หนาเจ้า ฯ อถ นํ มทฺที กึ นุ โข เอส เอวรูปํ วจนํ ภณตีติ จินฺเตตฺวา จึ่งศรีสวัสดิ์มัทรีนงเยาว์ ฟังอรรถหน่อเหน้าเจ้าเจษฎา ระทกทอนหทยให้กังขา ดังฤๅพระภรรดามาตรัสผิดที่เล่าแล ฯ กสฺมา อยุตฺตํ กถํ กเถสีติ ปุจฺฉิ อันว่าพระมัทรี จึ่งมีพระเสาวนีโอนเกล้า พระผู้ผ่านเผ้าเจ้าจงไข เหตุใดปิ่นเกล้าแสดงดังฤๅ ฯ ภทฺเท มยา หตฺถิสฺส ทินฺนตฺตา สิวิโย กุทฺธา ดูกรพระน้องนารถยุพาน บัดนี้ให้พี่ให้ปัตยเปนทาน ให้บันดาลคงเคียด ชาวสีพีกัน เกียดพิโรธโกรธขับไกล ฯ สฺวาหํ สตฺตสตกมหาทานํ ทตฺวา พี่นี้ทุเลาไว้ แต่พอได้ ให้สัตตสดกมหาทาน อหํ หิ วนํ คจฺฉามิ โฆรํ วาฬมิคายุตํ พี่จักบทจรไพรสาณฑ์ กันดารพาฬมฤคกึกก้องราวี ฯ สํสโย ชีวิตํ มยฺหํ อันชีวิตรแห่งเรานี้เปนที่สงไสย ฯ เอกกสฺส พฺรหาวเน แต่ผู้เดียวสันโดษไป กันดารไภยในป่า เคยวัฒนาสุขุมาไลย แต่ก่อนแล ฯ ตมพฺรวิ ราชปุตฺตี มทฺที สพฺพงฺคโสภนา อันว่าพระมัทรี ศรีมัทราช มีพจนาทบัณฑูร ดังนี้ อภุมฺเม กถํ นุ ภณสิ ปาปกํ วต ภาสสิ ดังฤๅ พระนรินทร์ น้องบเคยยิน เล่าเลย ฯ เนส ธมฺโม มหาราช ยํ ตฺวํ คจฺเฉยฺย เอกโก จะให้พระองค์ จรแต่ในดงผู้เดียว เสด็จเปลี่ยวผิดไป อหํปิ เตน คจฺฉามิ เยน คจฺฉสิ ขตฺติย เสด็จบทจรทางใด ข้าบาทจักไปตามองค์ มรณํ วา ตยา สทฺธึ ชีวิตํ วา ตยา วินา ข้าข้อยขอตามติด เสียชีวิตรบมิคิดองค์ ตเทว มรณํ เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว ตยา วินา แม้พลัดพรากจากพระองค์ ชีพม้วยมอดลงประเสริฐกว่ายัง ฯ ตเทว มรณํ เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว ตยา วินา แม้ม้วยด้วยอัคคี ประเสริฐดีกว่ามีชนม์ แม้จากจุมพล ทุกข์ล้นพ้นประมาณ ฯ ยถา อรญฺกํ นาคํ ทนฺตึ อเนฺวติ หตฺถินี พังนารถบวร ตามติดกุญชร พลายพงษ์ ฯ เชสฺสนตํ คิริทุคฺเคสุ สเมสุ วิสเมสุ จ ในพนัศแดนดงพื้นคีรีทั้งปวง ฯ เอวนฺตํ อนุคจฺฉามิ ปุตเต อาทาย ปจฺฉโต แลมีฉันใด ข้านี้ใซ้จักไปตามเสด็จพระบาท จะอุ้มองค์โอรสราช ไปภายหลังจอมธรรม เล่าแล ฯ เอวํ วตฺวา ปุน สา ทิฏปุพพํ วิย หิมวนฺตปเทสํ วณฺเณนฺตี อาห สมเด็จพระมัทรีวรราชธิดา จึ่งพรรณาป่าพระหิมพานต์ ดุจดังนางคราญเจ้าเคยเห็นมา จึ่งเล่าถวายพระภัศดา ก็กล่าวเปนพระคาถาดังนี้ ฯ อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต ข้าแต่พระบาทไทธิราชสามี ธจะด้นดงพงพี พระภูมีจะเห็นแต่พระลูกรักราชทั้งสอง เล่าแล ฯ มญฺชุเก ปิยภาณิเน สองเจ้าจำนรรจา เปนที่เสนหาพึงใจ นี้ ณ ท้าว ฯ อาสิเน วนคุมพสฺมึ เจ้าก็จะเนาในไพรพฤกษา ทั้งสองจำเจรจาไป เล่าแล ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์ผู้บิตุราช จักประพาศพิศวง จะปลื้มปลดปลงลืมภาราเที่ยงแล ฯ อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต หนึ่งโสด พระบรมจักราธิราช จักประพาศเภาพังงาทั้งสององค์ ฯ มญฺชุเก ปิยภาณิเน สองเจ้าเขาพลอดพลาง เปนที่สว่างพระบิดา กีฬนุเต วนคุมฺพสฺมึ เจ้าจักคนองปองเล่น หยุดอยู่เย็นร่มรุกขา ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ แท้จริงพระองค์เจ้า ไหนเลยเล่าจะรฦกเวียงวัง อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต หนึ่งโสดจักได้ชมเชย สองทรามเสบยจอมขวัญทั้งสองเล่าแล ฯ มญฺชุเก ปิยภาณิเน ซร้องศัพท์ดังกันร้อง พระพี่น้องต้องจับใจ พระพ่อฮาฯ อสฺสเม รมณียมฺหิ จักเนาในอรัญญิกาศรม มโนรมย์ชมชื่นใจ ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์จักหลงลืมปลื้มฤไทย บอาไลยถึงเวียงวังรา ฯ อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต หนึ่ง โสดพระผู้ผ่านเผ้า ชมลูกเต้าเจ้าทั้งสองตรุณโอรสา ฯ มญฺชุเก ปิยภาณิเน เจ้าเปนที่รักร่วมพระไทย สองเสด็จไปตามองค์ ฯ กีฬนฺเต อสฺสเม รมฺเม จักชื่นชูอยู่อาศรม อภิรมย์มโนใน ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ สมเด็จท้าวไทจักได้ฟัง ศัพทประดังไพเราะ เพริดเพราเพราะจับใจฯ อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต สมเด็จจอมกษัตรอุดม สองทรามชมชูหรรษา ฯ มาลธารี อลงฺกเต สองเจ้าทั้งสององค์ จักทัดทรงดงดวงพฤกษ์ ดูพิฦกมาไลย ฯ อสฺสเม รมณียมฺหิ จักรื่นชื่นพระไทย วนาไลยประเทศในรมเมศหิมวา น รชฺชสฺส สริสฺสสิ ท้าวธจักทรงไพรต่างไอสวรรย์ พระจอมขวัญบอาไลย ฯ อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต จักปราไสสองทรามรัก เล็งพระภักตร์แล้วชมเชย มาลธารี อลงฺกเต สององค์จักทรง พวงบุษปมาศ ในพนาวาศดงดร อสฺสเม รมณียมฺหิ ในวนาศรมอภิรมย์ร่วมรัก ชมชวนชักชื่นชูใจ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์ผู้เปนใหญ่ในกรุงศรี บยินดีดูคืน เล่าแล ฯ ยทา ทกฺขสิ นจฺจนฺเต ในกาลใด สองหน่อไททั้งคู่ ระรื่นรศเรณูกลิ่น เอาใจขับรํ่าร้อง กุมาเร มาลธาริเน สองเจ้าจักทัดทรงขนอง ทอดกลับกลายลบองรำ กีฬนฺเต อสฺสเม รมฺเม ฟ้อนเล่นในอาศรม ร่วมภิรมย์ภักดี น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์พิศเพ่งเล็งลืม จักปลอบปลื้มละบุรี ยทา ทกฺขสิ มาตงฺคํ หนึ่งโสดจอมจักรพาฬ จักยลสารเชื้อมาตังค์ กุญฺชรํ สฏฺิ หายนํ เปนช้างชาติเชื้อมาตังค์ มีกำลังหกสิบสาร เอกํ อรญฺเ วิจรนฺตํ ตัวเดียวท่องเที่ยวไพร สันโดษไกลพนสาณฑ์ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์จะหลงลืมคชาธาร ในราชสถานบุรีรมย์ ยทา ทกฺขสิ มาตงฺคํ กุญฺชรํ สฏฺิหายนํ เปนช้างกุญชรเชี่ยวชาญ มีสัณฐานสมบูรณ์มี ดังวัฒกีแกล้งบรรจง ยิ่งแล ฯ

สายํ ปาโต วิจรนฺตํ เช้าเย็นเปนเพลา สัญจรมาในท้องธาร น รชฺชสฺส สริสฺสสิ โอโอะจอมกษัตร จักกำหนัดยินดี จักลืมพระบูรีที่เสวย เล่าแล ฯ ยทา กเรณุสงฺฆสฺส ทั้งฝูงอดิเรกมากมาย พังแลพลายเนาในดง ยูถสฺส ปุรโต วชํ ท่องเที่ยวลงในดงหลวง เนินในห้วงห้วยเหวไพร โกญฺจํ กาหติ มาตงฺโค ก็ร้อง ก้องโกญจนาท เป็นเชื้อชาติกุญชร ลีลาก่อนคชทั้งหลาย กุญฺชโร สฏฺิหายโน ช้างชาติมาตังค์ มีกำลังหกสิบสาร พลเชิงชำนาญสนั่นไพร พฤกษ์นั้น ฯ ตสฺส ตํ นทโต สุตวา มงคลมกุฏราช ยินคชนาทหวาดหวั่นไหว เมื่อนั้น

น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระผู้หน่อบวรวงษ์ จักหลงลืมปลื้มราชหฤทัย จักเพลินไปบได้คำนึง ถึงนิกรพลหัตถี เล่าแล ฯ อุภโต วนวิกาเส ทั้งพฤกษาชาติ อันมี เขียวขจีเปนทิวทางกลางไพร น รชฺชสฺส สริสฺสสิ หนึ่งโสดกามัทราชจักประพาศยลราชี ตามวิถีแถวแนวไพรไม้ระเรียง ฯ

๏ วเน วาฬมิคากิณฺเณ จักอาเกียรณเดียรดาษ ฝูงมฤคชาติครามครัน เต้าตามกันแทบอารัญ มุจลินท์ ฯ มิคํ ทิสฺวาน สายณฺหํ ฝูงมฤคินนั้นมหันต์ลีลา เล็มพฤกษาเมื่อสายันต์ในทิวดง ฯ ปญฺจมาลินมาคตํ ฝูงสัตว์ท่องเที่ยวมุจลินท์ ตามกันกินรศวารี มากแล ฯ

๏ กึปุริเส จ นจฺจนฺเต หนึ่งโสดนาฏกินรกินรี สโมสรยินดีรำฟ้อน บ้าง เร่ร่อนร้องระงมไพร ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระผู้ปิ่นเกล้าเจ้าธรณี ได้ทฤษดีลืมวัง เล่าแล ฯ ยทา โสสฺสสิ นิคฺโฆสํ พระองค์จักทรงฟังชลหลั่งไหล ในแนวไพรท่อธาร สนฺทมานาย สินฺธุยา เสียงชลาไลยไหลลง ครคฤกดงตรงกระแสนที บมิขาดแล ฯ คีตํ กึปุริสานญฺจ พระองค์จะได้เสาวนานาฏกินรี อันร่ำรี่ร้องระเรื่อย เสียงฉะเฉื่อยจับใจ ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์จักเชยชมชูชื่น จักเต็มตื้นติดต้องใจ สนมกรมในบร้างท้าวอนุษรเล่าแล ฯ ยทา โสสฺสสิ นิคฺโฆสํ ประการหนึ่ง พระองค์จะได้ฟัง เสียงประดับสกุณนานาเล่าแล ฯ คิริคพฺภจาริโน อันกึกก้องใน ท้องคิรีภูผา เปนที่อาไศรย วสฺสมานสฺสุลูกสฺส คือ ฝูงนกเค้ากู่ คูขานประสานร้อง พิฦกกึกก้องสยบแสยง ฯ ยทา สีหสฺส พฺยคฺฆสฺส สิงหราชผาดผันผยอง พยัคฆร้ายร้องเริงแรง ขคฺคสฺส ควยสฺส จ ระมาดผาดแผง แรดรายเรียง ศับทสำเนียงเปรี้ยงในดง วเน โสสฺส พาลานํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ ฝูงสัตว์ร้องอยู่คคฤก เสียงพิฤกในดงแดนแม้นพระองค์ได้ธรงฟัง บเหลียวหลังลืมพารา ยทา โมเรหิ ปริกิณฺณํ ฝูงมยุรปักษาเร่ร่อน บริวารว่อนงามสะอาด ปักษาตติราชโมรา วรหินํ มตฺถกาสินํ จับจอมภูผาผรรผยอง รรีบร้องเรียงราย โมรํ ทกฺขสิ นจฺจนฺตํ ปีกปกอย่างวรกราย หางลํ้าลวดลายวิจิตรเลขา น รชฺชสฺส สริสฺสสิ ท้าวธจักได้ทัศนา จักลืมภาราบุรีรมย์ ฯ ยทา จิตฺรปกฺขินํ โมรํ ขนข้าง ปีกหางน่าชม บริสุทธอุดดม ด้วยรำแลฟ้อน ฯ โมรํ ทกฺขสิ นจฺจนฺตํ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ สายัณห์ ยามเย็นอยู่รอนรอน พื้นพงดงดรรำฟ้อน เนานอนคีรี ฯ ยทา ทกฺขสิ เหมนฺเต ครั้นถึงเหมันต์พฤกษ์นั้นมีศรี ใสสดเขียวขจีมีพรรณ ปุปฺผิเต ธรณีรุเห บานแบ่ง บุบผาผุดผัน แย้มผกาพลันรับสุริยา สุรภิสมฺปวายนฺเต เรณูรื่นรวยชวยมา พระพายพัดพา ฟุ้งตระหลบอบใจ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ ท้าวธจักทัศนาอาไลย นครกรุงไกรบได้จักเล็งแล ฯ

๏ ยทา เหมนฺติเก มาเส เมื่อถึงเหมันต์ พฤกษ์นั้นบผันแปร พระจักเล็ง แลดู เต็มตา หริตํ ทกฺขสิ เมทนึ หญ้าแพรกผุดพื้นไพรษา เขียวขลับระยับตา โมราเทียมทัน ฯ อินฺทโคปกสญฺฉนฺนํ ดาษพร้อม ค่อมทองเวียรวัน ภุมรินผินผัน รับรศเรณู ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์ผู้จอมจักร ตรัสทายทักชมชู กรุงไกรบ ได้ดู บอยู่เนาในมไหสวรรย์ ยทา ทกฺขสิ เหมนฺเต ปุปฺผิเต ธรณีรุเห ช้องแมวเกด แก้วมูกมัน ดอกดวงพวงพรรณ เหมันตกุสุมชุมผกา ฯ ปุปฺผิตํ โลทฺทปทฺมกํ ไม้ โลทธ์บัวบก เกษรตกโรยรา หอมฟุ้งวนา หิมเวศอรัญ ฯ ยทา เหมนฺติเก มาเส วนํ ทกฺขสิ ปุปฺผิตํ รุกขชาติบุบผา แย้มถลาเฉิดฉัน มีสัณฐานพรรณ วิจิตรเรณู ฯ โอปุปฺผานิ จ ปทฺมานิ บัวหลวงรศร่วงพรั่งพรู อายอบชื่นชู เย็นอยู่ดวงใจ ฯ น รชฺชสฺส สริสฺสสิ พระองค์ปรีดิ์เปรม เกษมชมไพร สมบัติเวียงไชย ราศร้างห่างพระองค์ เจ้าแล ฯ เอวํ มทฺที หิมวนฺตวาสินี วิย หิมวนฺตํ วณฺเณสิ ดูกรสงฆ์ อันว่าพงษ์มัทธราชกัญญา ฯ หิมวนฺติ วณฺเณสิ ก็พรรณาป่าหิมพานต์ หิมวนฺตวาสินี วิย ดุจนางคราญเจ้าเคยเห็น จึ่งนำมาเล่าถวายพระราชสามี เอวํ เมาะ เอตฺตกาหิ คาถาหิ โดยพรรณาเปนพระคาถาเท่านี้ ฯ

หิมวนฺตวณฺณนา นิฏฺิตา จตุตึสสตคาถาปฏิมณฺฑิตา

ก็ประดับด้วยพระคาถา อันมีร้อยสามสิบสี่ บทบาทบาฬี

สิ้นแล

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ