ตำราช้าง ฉบับรัชกาลที่ ๑

ตำราช้าง ฉบับรัชกาลที่ ๑ เป็นต้นฉบับหนังสือสมุดไทย ที่เก็บรักษาอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดจำแนกเนื้อหา และลงทะเบียนไว้ในเอกสารโบราณหมวดสัตวศาสตร์เลขที่ ๑๔ มีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับต้นฉบับ ดังนี้

ชื่อเรื่อง ตำราช้างว่าด้วยกำเนิดและลักษณะช้างต่างๆ
ประเภท หนังสือสมุดไทยดำ
ขนาด กร้าง ๑๑.๒ เชนติเมตร ยาว ๓๕.๘ เชนติเมตร หนา ๒.๘ เชนติเมตร
จำนวนหน้า หน้าต้น ๕๖ หน้า หน้าปลาย ๕๕ หน้า รวม ๑๑๑ หน้า
เส้นอักษร เส้นหรดาล และเส้นดินสอ
อักษร ไทย
ภาษา ไทย บาลี และสันสกฤต
เขียนอักษร หน้าละ ๑-๕ บรรทัด
ศักราช พ.ศ.๒๓๒๕ มีข้อความในบานแผนก เขียนไว้ที่หน้าต้นว่า “๏ วัน ๗ + ๑๑ จุลศักราช ๑๑๔๔ ปีขาลจัตวาศกจำลองแล้วทานแล้ว ๛”
สภาพ ต้นฉบับค่อนข้างแข็งแรง มีรอยปรุพรุนบางแห่ง
ประวัติ หอสมุดฯ ซื้อจากหม่อมหลวงแดง สุประดิษฐ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙
เรื่องย่อ กล่าวถึงการกำเนิดของช้างต่าง ๆ ที่พระเป็นเจ้าทั้ง ๔ สร้างขึ้น ๔ ตระกูล ได้แก่ พระพรหมสร้างช้างตระกูล พรหมพงศ์ พระนารายณ์สร้างช้างตระกูล วิษณุพงศ์ พระอิศวรสร้างช้างตระกูล อิศวรพงศ์ และพระเพลิงสร้างช้างตระกูล อัคนิพงศ์ จากนั้นบรรยายรูปร่าง ผิวพรรณ กำลัง และคุณลักษณะของช้างศุภลักษณ์แต่ละตระกูลโดยละเอียด ตั้งแต่พรหมพงศ์ มี ๑๐ หมู่ และช้างประจำทิศ ๘ หมู่ วิษณุพงศ์มี ๘ หมู่ อิศวรพงศ์มี ๘ หมู่ และ อัคนิพงศ์ ๔๒ หมู่ (ในตำราฉบับนี้กล่าวถึงหมู่ที่ ๑ ชื่อพระพัทจักรพาฬ ไปจนถึงหมู่ที่ ๓๑ จตุกุมภ์เท่านั้น น่าจะมีความต่อในเล่ม ๒ แต่ไม่พบต้นฉบับ)

ลักษณะการเขียนต้นฉบับและรูปอักษร

ลักษณะการเขียนต้นฉบับของตำราช้างเล่มนี้ เป็นการเขียนตามแบบแผนการบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในหนังสือสมุดไทย คือ เขียนข้อความเต็มหน้าสมุด ทั้งหน้าต้นและหน้าปลาย โดยเว้นหน้าว่างไว้ ๑ หน้า หลังปกหน้าและบานแผนก และเว้นหน้าว่างไว้ ๑ หน้า หลังปกหลัง การเขียนรูปอักษรส่วนเนื้อหาภายในเล่ม เขียนใต้เส้นบรรทัด หน้าละ ๔ บรรทัด ยกเว้นหน้าสมุดที่มีภาพประกอบเขียนข้อความ ๑-๕ บรรทัด ส่วนหน้าปก หน้าบานแผนก หน้าต้นตอนท้ายที่เขียนคำว่า “กลับ” และหน้าปลายตอนต้นที่เขียนคำว่า “ปลาย” ๔ หน้านี้ เขียนอักษรหน้าละ ๑ บรรทัด

เส้นที่ใช้เขียนอักษรเป็นเส้นหรดาลเกือบตลอดตั้งเล่ม ทั้งที่เป็นรูปอักษร และภาพลายเส้น ยกเว้นหน้าที่พบว่าใช้เส้นดินสอขาว เขียนข้อความเรื่องอื่นแทรกไว้ ในหน้าปลายที่ ๑ (หน้าที่เขียนคำว่า “ปลาย”) เป็นเรื่องตำราซัดนาก และสูตรทำทอง ลายมือที่เขียนค่อนข้างหวัด ตัวอักษรมีขนาดเล็กมาก เขียนข้อความในหนึ่งหน้าสมุดไว้ถึง ๖ บรรทัด ต่างจากลายมือที่เขียนเรื่อง “ตำราช้าง” ซึ่งเขียนรูปอักษรตัวบรรจง เป็นระเบียบงดงามตามแบบลายมืออาลักษณ์ คือผู้เขียนเป็นผู้มีความรู้ฝึกหัดการเขียนจากข้าราชการในกรมอาลักษณ์ หรือ จากผู้รู้หลัก เช่น พระราชาคณะ หรือ มหาเปรียญ เป็นต้น ตัวอักษรมีขนาดค่อนข้างใหญ่อ่านได้ชัดเจนกระจ่างตา

รูปอักษรที่ใช้เขียนต้นฉบับซึ่งมีข้อความทั้งภาษาไทย บาลี และสันสกฤต เป็นอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จัดเป็นแบบอักษรที่มีวิวัฒนาการสืบต่อมาจากอักษรไทยสมัยอยุธยา ลักษณะแนวเส้นอักษรเอียงไปทางขวา ทำมุมประมาณ ๕๐-๖๐ องศา

อักขรวิธีที่ใช้ในต้นฉบับ

ตำราช้าง ฉบับรัชกาลที่ ๑ นี้ เป็นบันทึกความรู้เรื่องเกี่ยวกับช้าง ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ นับถึงปัจจุบัน มีอายุเก่าถึง ๒๑๙ ปี มาแล้ว อักขรวิธีที่ใช้ในต้นฉบับ จึงมีความแตกต่างจากอักขรวิธีที่ใช้เขียนในปัจจุบันอยู่หลายประการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและความนิยมของวิธีการเขียนในรัชกาลที่ ๑ ทั้งนี้แม้ว่าจะเป็นเพียงข้อมูลที่ปรากฏใช้ในหนังสือสมุดไทยเพียงเล่มเดียว แต่ก็สามารถแสดงถึงรูปแบบของอักขรวิธีร่วมสมัย และรวบรวมเกณฑ์การเขียนได้ ดังนี้

๑. รูปอักษรที่เป็นตัวเชื่อม หรือควบกัน ซึ่งมีทั้งการเขียนพยัญชนะควบพยัญชนะและพยัญชนะควบสระ เขียนเชื่อมต่อกันเป็นเส้นเดียวต่อเนื่องไปโดยไม่ยกเครื่องเขียน เช่น

  พระ
  พญา
  สารพางค์
  ปี
  เปือก

ในกรณีที่เขียนสระควบต่อกับพยัญชนะบางตัวซึ่งเส้นหลังของตัวอักษรยาว หรือมีหางอักษร จะเขียนสระเชื่อมกับเส้นหลังของพยัญชนะที่ระยะครึ่งตัวอักษร แล้วจึงเขียนเส้นอักษรหรือหางอักษรเพิ่มเติมทีหลัง เช่น

  ปาก
  ฟ้า
  หัดฐา (หัฏฐา)
  ปิงคัล
  ช้าง
  ชำนะ
  สำไล่

๒. รูปอักษรที่ใช้อักษรขอมเขียนประกอบเป็นตัวเชิง เช่น

  สฺวาหาย
  สฺวาหับ
  หัฏฺฐาจารย์

๓. ใช้รูปพยัญชนะตัวเดียวแทนสองตัว คือเป็นทั้งตัวสะกดของพยางค์แรก และเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์หลัง เช่น

  จัฏฐี
  อันนี้
  หัตถี
  ประเสริฐศรี

๔. รูปพยัญชนะที่ประสมสระ อะ และสะกดด้วยมาตราแม่ กง มีที่ใช้ทั้งรูป -งง และรูป -ั ง คำที่ใช้รูป “-งง” พบใช้เขียนคำเพียง ๒ คำ คือ

  ทั้ง
  ดัง หรือ ดั่ง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้รูปนี้ แต่มีใช้รูป
  คำละ ๑ แห่ง เท่านั้น

นอกจาก ๒ คำ ข้างต้นนี้ คำอื่นๆ ใช้รูป “-ัง” ทั้งหมด เช่น

  บังเกิด
  นั่ง

และมีคำที่พบใช้ทั้งสองรูปแบบ เช่น

  หลัง
  คังไคย

พบรูปคำ “ดัง” เขียนรูปคำเป็น อยู่แห่งหนึ่ง ทำให้สันนิษฐานได้ว่า การเขียนรูปคำที่ประสมสระอะ มีตัวสะกดมาตราแม่กง อยู่ในช่วงระยะที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูป “-ัง”

๕. รูปคำที่ปัจจุบันเขียนด้วยสระเสียงสั้น พบว่านิยมเขียนเป็นสระเสียงยาว เช่น

  เป็น
  กิน
  ดุจ
  พิไล

๖. รูปคำที่ปัจจุบันเขียนด้วยสระเสียงยาว พบว่านิยมเขียนเป็นสระเสียงสั้น เช่น

  เขียว
  ละเอียด

๗. ใช้รูปสระเสียงสั้น และสระเสียงยาวปะปนกัน พบว่าคำเดียวกัน บางแห่งเขียนรูปคำประสมสระเสียงสั้น บางแห่งเขียนประสมสระเสียงยาว เช่น ประสมรูปสระอิ หรือสระอี

  บังเกิด
  มี
  มิ
  สิทธิ
  เดิน
  เนียม

ประสมรูปสระอุ หรือ สระอู

  สมบูรณ์

ประสมรูปสระเอะ หรือ สระเอ

  เล็บ

(คำนี้บางแห่งเขียนรูปคำ )

๕. ใช้รูปสระอึ สระอี และสระอิ ปะปนกัน เช่น

  เบื้อง
  เหลือง
  เผือก

๙. ใช้รูปอักษรพยัญชนะตัวเดียว เขียนคำโดยละรูปสระไว้ เช่น

  จะว่า จะมา จะไป
  ก็ดี ก็มี
  บ่มิ

๑๐. รูปคำที่เป็นเสียงสระ “ไอ” ส่วนใหญ่ประสมด้วยรูปสระไอไม้มลาย “ไ” และ ไม้ม้วน “ใ” ตรงตามรูปคำในอักขรวิธีปัจจุบัน เช่น

  ใน (เขียน อยู่ ๑ แห่ง)
  ให้ (เขียน อยู่ ๑ แห่ง)
  ไป
  ได้

พบคำที่ปัจจุบันเขียนด้วย รูปสระใอไม้ม้วน เขียนเป็น รูปสระไอ ไม้มลาย ได้แก่

  ใหญ่
  ใกล้

๑๑. เครื่องหมายปีกกา รูป นี้ พบใช้เขียนคลุมคำ ที่มีคำ หรือ วลี หน้า/หลัง ซ้ำกัน เช่น

ถ้างายาวพันหน้างวงออกไป ๒ ๔} นิ้วไซร้

อ่านว่า ถ้างายาวพ้นหน้างวงออกไป ๒ นิ้ว ออกไป ๕ นิ้ว ไซร้

มีหมู่ช้าง พลาย พัง}

อ่านว่า มีหมู่ช้างพลาย หมู่ช้างพัง

๑๒. วิธีใช้เขียนมาตราวัดขนาด พบใช้เพียงแห่งเดียว ในข้อความว่า

นางโคนั้นใหญ่ สูง ๕ ๐ ๐

อ่านว่า นางโคนั้นใหญ่ สูง ๕ ศอก (ในที่นี้ ตัวเลขบรรทัดบน มีหน่วยเป็นศอก บรรทัดที่สอง มีหน่วยเป็นคืบ และบรรทัดที่สาม มีหน่วยเป็นนิ้ว และเนื่องจากบรรทัดที่สองและสาม เป็นเลข ๐ จึงไม่ต้องอ่านค่าหน่วย)

๑๓. เครื่องหมายกากบาท รูป + ใช้เขียนประกอบตัวเลขบอกวัน ปักษ์ขึ้น แรม และเดือน มีรูปแบบการเขียน ดังนี้

๑๓.๑ ตัวเลขใช้แทนชื่อวันทั้ง ๗ ในสัปดาห์ เขียนไว้หน้า เครื่องหมาย + เลขทั้ง ๗ มีความหมายตามวัน ดังนี้

เลข ๑ หมายถึง วันอาทิตย์
เลข ๒ หมายถึง จันจันทร์
เลข ๓ หมายถึง วันอังคาร
เลข ๔ หมายถึง วันพุธ
เลข ๕ หมายถึง วันพฤหัสบดี
เลข ๖ หมายถึง วันศุกร์
เลข ๗ หมายถึง วันเสาร์

๑๓.๒ ตัวเลขบอกปักษ์ ขึ้น แรม ได้แก่ ตัวเลขที่เขียนบนเครื่องหมาย + บอกปักษ์ข้างขึ้น เช่น + หมายถึง ขึ้น ๑ ค่ำ ตัวเลขที่เขียนใต้ เครื่องหมาย + บอกปักษ์ข้างแรม เช่น + หมายถึง แรม ๑ ค่ำ

๑๓.๓ ตัวเลขบอกลำดับเดือน เขียนไว้ที่หลังเครื่องหมาย + ได้แก่

เลข ๑ คือ เดือนอ้าย เลข ๗ คือ เดือนเจ็ด
เลข ๒ คือ เดือนยี่ เลข ๘ คือ เดือนแปด
เลข ๓ คือ เดือนสาม เลข ๙ คือ เดือนเก้า
เลข ๔ คือ เดือนสี่ เลข ๑๐ คือ เดือนสิบ
เลข ๕ คือ เดือนห้า เลข ๑๑ คือ เดือนสิบเอ็ด
เลข ๖ คือ เดือนหก เลข ๑๒ คือ เดือนสิบสอง

ข้อความในต้นฉบับหน้าแรก เขียนไว้ดังนี้ ๏ วัน ๗ ๑๑+ ๔ ค่ำ

อ่านว่า ๏ วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ

๑๔. คำที่ใช้พยัญชนะซ้อน ๒ ตัว แทนไม้หันอากาศเมื่ออยู่สุดบรรทัด หากกระดาษหมดไม่สามารถเขียนคำนั้นๆ ได้เต็มรูปคำ จะตัดพยัญชนะนั้นออก ๑ ตัว และใช้ไม้หันอากาศแทน พบใช้ ๒ แห่ง และเป็นคำเดียวกัน คือ

คำว่า “พรรณ” เขียนตัดรูปอักษร เป็น

๑๕. การใช้รูปวรรณยุกต์เอก และวรรณยุกต์โท ไม่เคร่งครัดในการเขียนกำกับคำทุกคำ บางคำก็ละไว้ ไม่ได้กำกับรูปวรรณยุกต์ใด แต่ผู้อ่านสามารถเข้าใจคำนั้นๆ ได้จากบริบท เช่น

  แลงานั้นเป็นรูปปลีกล้วย
  ครั้นรุ่งเช้า
  พญาผู้พี่ใคร่ปรารถนา
  สามล้านหกแสนหมื่นสามร้อยห้าสิบ

๑๖. เครื่องหมายวรรคตอน ที่ปรากฏใช้ในต้นฉบับตำราช้างเล่มนี้ ได้แก่

๑๖.๑ เครื่องหมายฟองมัน หรือตาไก่ ใช้เขียนขึ้นต้นข้อความ พบเขียน ๒ รูป คือ

๑๖.๒ เครื่องหมายที่ใช้เขียนคั่นเมื่อจบประโยค หรือข้อความ ใช้รูป เครื่องหมาย ๓ แบบ คือ

- เครื่องหมายอังคั่น เขียนเป็นรูป  
- เครื่องหมายอังคั่นคู่ เขียนเป็นรูป  
- เครื่องหมายอังคั่นคู่วิสรรชนีย์ เขียนเป็นรูป  

๑๒.๓ เครื่องหมายที่ใช้เมื่อจบเรื่อง หรือ จบตอน ใช้รูปเครื่องหมาย ๒ แบบ คือ

- เครื่องหมายโคมูตร เขียนเป็นรูป  
- เครื่องหมายอังคั่นคู่โคมูตร เขียนเป็นรูป  
  1. ๑. หนังสือต้นฉบับซึ่งมีรูปลักษณะต่างจากหนังสือฉบับพิมพ์ทั่วๆ ไป ทำด้วยกระดาษแผ่นยาวๆ แผ่นเดียว พับกลับไปกลับมา ใช้เขียนหนังสือได้ทั้ง ๒ ด้าน หนังสือสมุดไทยมี ๒ สี สีดำ เรียกว่า หนังสือสมุดไทยดำ และสีขาว เรียกว่า หนังสือสมุดไทยขาว

  2. ๒. หนังสือสมุดไทยมี ๒ ด้าน ด้านแรกที่เริ่มเขียนตัวหนังสือเป็นด้านหน้า เรียกว่า หน้าต้น และเมื่อเขียนจบหน้าต้นแล้วเขียนขึ้นใหม่ที่ด้านหลัง เรียกว่า หน้าปลาย

  3. ๓. หนังสือสมุดไทยไม่มีเลขหน้า เมื่อจะนับหน้า ใช้นับจากฝาของหน้าสมุด (ระหว่างรอยพับหนึ่งไปอีกรอยพับหนึ่ง) ๑ ฝา นับเป็น ๑ หน้าสมุด

  4. ๔. เขียนด้วยน้ำหมึกสีเหลือง ที่ได้มาจากส่วนผสมของรงกับหรดาล รงเป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง มีสีเหลือง ส่วนหรดาลที่ใช้ทำหมึกนี้ใช้หรดาลกลีบทองซึ่งเป็นแร่ชนิดหนึ่ง

  5. ๕. เขียนด้วยดินสอขาว ที่ได้มาจากหินดินสอ เป็นดินชนิดหนึ่งที่มีเนื้อละเอียดแข็ง ลักษณะเหมือนหินก้อนใหญ่ๆ มีอยู่ตามภูเขา เมื่อจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเขียน ต้องเลื่อยให้เป็นแท่งเล็ก ดินสอขาวชนิดดี เป็นดินเนื้อละเอียดสีขาวจัด พบมากในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช

  6. ๖. ก่องแก้ว วีระประจักษ์, รายงานผลการวิจัยเรื่อง วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นฉบับตัวเขียนวรรณกรรมสุนทรภู่, ทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาวิจัยและประมวลผลงานสุนทรภู่เพื่อจัดพิมพ์ ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการฉลอง ๒๐๐ ปี กวีเอกสุนทรภู่ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๒๙, หน้า ๒๓.

  7. ๗. เรื่องเดิม, หน้า ๒๓๖.

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ