บทมนตร์คัดเชิง

เรียบเรียงใหม่ตามฉันทลักษณ์

๏ มโหทโร มหากาโย คชพกฺโตฺร มหพฺพโล
นาโค นาคยชโย โหติ ศิวปุตฺโต มหิทฺธิโก
คชธโร (คชธโร) คชสิทฺธิ ภวนฺตุ เต
เอกทนฺตปรมรํโส นาคภรณภูสิโต
กมฺมธาโร กมฺมธาโร กมฺมสิทฺธิ ภวนฺตุ เต

๏ โอม เห เห เห คชลกฺข (ณ) เตเชน คชฺโช คชสฺวาห

คำแปล

ช้างรูปร่างสูงใหญ่และท้องใหญ่ ยืนสง่างามน่าเกรงขาม มีกำลังมาก เป็นบุตรของพระศิวะ มีฤทธิ์มาก งาข้างหนึ่งเปล่งรัศมี ประดับด้วยกระพัดลยาง (เครื่องประดับช้าง) เป็นช้างที่สามารถนำชัยชนะมาให้ในการสู้รบ ขอความสำเร็จในการทำคชกรรมพิธีครั้งนี้ จงมีแก่ท่าน

โอม เห เห เห คช สวาหะ

  1. ๑. นายเกษียร มะปะโม นักภาษาโบราณ ๘ ว. เรียบเรียงตามฉันทลักษณ์ แปล และอธิบายศัพท์

  2. ๒. ต้นฉบับท่านใช้ว่า.....ภกฺโตร เมื่อพิจารณาดูรากศัพท์ ภกฺโตร นี้น่าจะมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตที่ว่า วกฺตฺร แปลง ว เป็น พ จึงเป็น พกฺตฺร แปลว่า หน้า เมื่อนำมาต่อกับศัพท์ว่า คช จึงเป็น คชพกฺตฺร แล้วนำไปประกอบวิภัติปัจจัยตามหลักภาษาบาลี จึงเป็น “คชพกฺโตฺร” ความหมายของคำว่า “หน้า” นี้น่าจะสัมพันธ์กับศัพท์อื่น ๆ เช่น มโหทโร มหากาโย ที่ท่านผู้ประพันธ์นำมาเรียงไว้ในประโยคเดียวกัน การที่ท่านนำศัพท์บาลีกับสันสกฤตมาต่อเชื่อมในลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นทั่วไป

  3. ๓. เติมเข้ามาเพื่อให้เป็นเต็มบาทตามข้อกำหนดของฉันท์

  4. ๔. ที่ถูกน่าจะเป็น.....สิทฺธี เพราะข้อบังคับของปัฐยาวัตรฉันท์ห้ามนำ ส และ น คณะมาใช้ในคำที่ ๒ - ๓ - ๔ ในบาทคู่ แต่ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะโบราณท่านอาจจะเขียน อี เป็น อิ หรือ อิ เป็น อี ก็ได้ ซึ่งมีตัวอย่างปรากฏทั้งในหนังสือสมุดไทยและใบลานทั่วไป

  5. ๕. ที่ถูกน่าจะเป็น.....สิทฺธี เพราะข้อบังคับของปัฐยาวัตรฉันท์ห้ามนำ ส และ น คณะมาใช้ในคำที่ ๒ - ๓ - ๔ ในบาทคู่ แต่ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะโบราณท่านอาจจะเขียน อี เป็น อิ หรือ อิ เป็น อี ก็ได้ ซึ่งมีตัวอย่างปรากฏทั้งในหนังสือสมุดไทยและใบลานทั่วไป

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ