คำอ่านปัจจุบัน ตำราช้าง ฉบับรัชกาลที่ ๑
ศุภมัสดุ อันนี้
อันว่าพรหมพงศ์นั้นไซร้ ช้างนั้นสงสถานแห่งตัวช้าง มีขนงอกขึ้นเป็นสองเส้นคู่กัน แลขนนั้นยาว มีตนอันน้อย แลยาว มีกระดุจ
อันว่าพิษณุพงศ์นั้นไซร้ มีสงสถานแห่งตัวช้างนั้น มีลักขณะคอนั้นสั้นแลอกใหญ่แลตัวสั้นแลงามใหญ่ มีกระชั้นควาญอันงาม มีเสียงอันคำครึม หูนั้นมีพรรณแดง กระหมวดหัวงามแลใหญ่สมบูรณ์
อันว่าอิศวรพงศ์นั้นไซร้ มีสงสถานตัวช้างนั้นเกลี้ยง แลมิ
อันว่าลักขณะช้างอันชื่ออัคนิพงศ์นั้นไซร้ มีกระอันเล็กเสมอแลงาม มีตาดุจพรรณน้ำผึ้งรวงเส้นขนกลมแลงาม มีพรรณละเอียด หูนั้นแดง ปากแดง งาแดงสำไล่ มีประการดุจไฟป่าและอาจชนะยุทธทุกเมื่อแล
มโหทโร มหากาโย คชพักโตร มหัพพโล นาโค นาคยชโย โหติ ศิวบุตโตร มหิทธิโก คชธโร คชสิทธิ ภวันตุ เต
เอกทันตบรมรังโส นาคาภรณภูสิโต กรรมธาโร กรรมธาโร กรรมสิทธิ ภวันตุ เต
โอม เห เห เห คชลักษเตเชน ชคโชคช สวาหับ
เมื่อถึงคราวให้นึกถึงพระเจ้านี้แล้ว แลอ่านมนตร์นี้
อันนี้อาทิสรรค์ให้เป็นช้างตัวผู้เกิด อันนี้อาทิสรรค์ให้เป็นช้างหนมือขวา ตัวเมียหนมือซ้าย
พระพิฆเนศวรนี้คือพิฆ ชื่อโกญจนาทเนศวร (เป็น) ชื่อ ศิวบุตร
มโหทโร มหากาโย | ศิวบุตโตร มหิทธิโก |
หัตถาธาโร หัตถชโยฉจาหิ | จ บาศธโร |
นาคปาโส นาคพันโธ | คชรักโส จ อาไจ |
สัพพเตช จ ทเวราชา | ตูรียเทวา จ เมสิทธิ |
โอม เห เห ติษจหนยเดเชน อไส สฺวาหาย สฺวาผัด
มนตร์นี้
สิทธิสวัสดิ์ จตุรมุกโข คชภักโตร
อัฏฐเนโตร อัฏฐกรรณา | รักตามภรณสิต |
มหากาโย มหาทโร | คชรักโส มหาพโล |
บุบพธารา นาคชาตา | บุบผวรรณา คชปภา |
เทว อิติ จ ตริเทพดา | มหาเดช จ มุหิทธกา |
กรโกณหัตถิ คชา | ขยา หัตถาจริยา |
ดิพบุตรา มหาเดชา | อิทธิมันโตยสัตสิโส |
คชพันโท คชบาโล | คชพรรณวิกสิโต |
เอเตณ คชเคเชน | คชโสตถิ ภวันตุ เม |
พระศีพกรรมเมื่ออาทิสรรค์ช้าง พญาสองพี่น้องผู้พิไลไปไหว้สิลาบาทที่นั่งพระผู้เป็นเจ้าสหัส
อัญขยมประนมบังคม พฤทธิภักตรสูรยศีพบุตรอุตดมพระจักรี เทพชาประถมดสมนดพยดพแนก พระเทพทันตุ สุโลกบาลราชพลุก
พระอาทิตย์เป็นหัว พระจันทร์เป็นคอ พระอังคารเป็นธุรพาศ พระพุธเป็นชงฆ์ทั้งสี่ พระพฤหัสบดี
จักกล่าวถึงลักษณะช้าง ไตรตรึงษดีราช ซึ่งฤาษีโคดมเรียนมาแต่ฤาษีชีพล ก็สืบมาแก่ฤาษีอัคนีเพศ แลฤาษีหัศบดีมลยะกรุงโรมบาท แลพญาองคดีรักษแลฤาษีสิทธิ์ทั้งหลาย กล่าวมาให้พฤฒิบาศหัษดาจารย์หมอเฒ่า แลหมอทั้งปวงรู้จักลักขณะช้างดั่งนี้จงแท้ให้ปรากฏลักขณะคุณแลลักขณะโทษ จักกล่าวอภิปรายถึงช้างทั้งหลายอันดีแลร้าย แลลักขณะช้างอันดี ซึ่งเกิดในกระกูลพรหมพงศ์แลพิษณุพงศ์ แลอิศวรพงศ์ แลอัคนิพงศ์ อันดีมีกระกูลใหญ่น้อยทั้ง ๔ จำพวก มีพรรณในลักขณะสมบูรณ์
อันว่าช้างดีนั้นท่านจัดออกไว้ ๕ เหล่า ๘๐ ช้างในนี้ เป็นข้างอัฏฐิ
ช้างสีเงินยวง ๒ ตัว รูปพระคชลักษณ์องค์นี้ทรงนามชื่อ พญาฉัททันต์ มีฉวีมางษสรรพศิริโส มีกายอันขาวงามบริสุทธิ์ ดั่งสีเงินยวงประกอบด้วยศุภลักษณ์อันบริบูรณ์ มีฤทธิ์เดชมหิมาแม้นจะเหาะไปโดยนพภากาศก็ได้ ถ้าจะไปโดยรัถยาปกติไกลได้สามล้านหกแสนหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์ ไปแต่เพลาอรุโณทัย
อันว่าพญาช้างอันชื่อว่า อุโบสถ ก็ย่อมเอาธิดาทั้งสองอันมีศุภลักษณ์ฉวีวรรณนพคุณ มาให้เป็นภรรยาซ้ายขวา แห่งพญาช้างฉัททันต์ อันว่าพญาช้างฉัททันต์นั้น มีนางช้างเป็นบริวาร ๗ จำพวก คือ เสตหัตถีนางช้างสีขาวบริสุทธิ์ ๑๐๐๐ มีเศษจำพวกหนึ่ง โลหิตหัตถีนางช้างอันแดงดั่งสีโลหิต ๑๐๐๐ มีเศษจำพวกหนึ่ง ปิตหัตถีมีนางช้างอันสีเหลืองแก่นั้น ๑๐๐๐ มีเศษจำพวกหนึ่ง ดามพหัตถีมีนางช้างสีดั่งทองแดง ๑๐๐๐ มีเศษจำพวกหนึ่ง ปิงคลหัตถี มีนางช้างสีเหลืองอ่อนดังสีตาแมว ๑๐๐๐ มีเศษจำนวนหนึ่ง นิลหัตถี มีนางช้างสีเขียว ๑๐๐๐ มีเศษจำพวกหนึ่ง กาลหัตถี มีนางช้างสีดำล้วนบริสุทธิ์ ๑๐๐๐ แลนางช้าง ๗ จำพวกหนึ่ง สิริเป็นนางช้าง ๗๐๐๐ เป็นสนมบริวารแห่งพญาฉัททันต์ แล้วมีหมู่ช้างพลาย หมู่ช้างพังอันลักษณะสีต่างๆ เป็นยศบริวารจะนับมิถ้วน
แม้นว่าพญาฉัททันต์จะไปในสถานที่ใดก็ดีอันว่าช้างชื่อ กาลหัตถี ก็มาปัดแผ้วหนามตอชำระหนทางซึ่งจะไปนั้น เมื่อพญาฉัททันต์ลงอาบน้ำนั้น ฝูงนางช้างทั้งปวงก็เก็บเอาดอกไม้และดอกบัวมาประดับกายพญาฉัททันต์นั้น ๆ ก็ทัดทรงซึ่งดอกอุบลแลดอกบุปผาทั้งปวง แล้วขึ้นมายืนอยู่ยังร่มไม้ไทรอันใหญ่ งามมหึมา
ทีนี้ช้างทอง ๓ ตัว
ทีนี้ช้างสีเหลืองแก่ ๔ ตัว
ทีนี้ช้างสีตัวอังชัน ๕ ตัว
ทีนี้ช้างสีตัวดั่งไม้กฤษณา ๖ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า คันธหัตถี ใหญ่สูงงามสรรพศุภลักษณ์สมบูรณ์ มีสัณฐานสีตัวดั่งไม้กฤษณา กลิ่นตัว มูตรและมูลหอมดั่งกลิ่นสุคนธรสมีฤทธิ์กำลังเดชานุภาพห้าวหาญมหึมา มีหมู่ช้างทั้งหลายเป็นยศบริวารเป็นอันมาก แต่ว่ากำลังน้อยกว่าพญาช้างมงคลหัตถี ต่อถึง ๑๐ ตัวจึ่งเท่ากำลังพญาช้างมงคลหัตถีตัวหนึ่งแล
ทีนี้ช้างสีเหลืองอ่อนดังสีจักษุวิฬาร์ ๗ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า ปิงคัลหัสดินทร์ ใหญ่สูงงาม สรรพศุภลักษณ์สมบูรณ์ มีสัณฐานสีตัวเหลืองอ่อนดั่งสีจักษุวิฬาร์ มีฤทธิ์กำลังเดชานุภาพห้าวหาญมหึมา มีหมู่ช้างทั้ง
ทีนี้ช้างสีทองแดง ๘ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ ดามพหัตถี ใหญ่สูงงามสรรพศุภลักษณ์สมบูรณ์ มีสัณฐานสีดั่งทองแดง มีฤทธิ์กำลังเดชานุภาพห้าวหาญมหึมา มีหมู่ช้างทั้งหลายเป็นยศบริวารเป็นอันมาก แต่ว่ากำลังน้อยกว่าพญาช้างปิงคัลหัตถี ต่อถึง ๑๐ ตัวจึ่งเท่ากำลังปิงคัลหัสดินทร์ตัวหนึ่งแล.
ทีนี้ช้างสีตัวดั่งเขาไกรลาส ๙ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ บัณฑรนาเคนทร์ ใหญ่สูงงาม สรรพศุภลักษณ์สมบูรณ์ มีสัณฐานสีตัวดั่งเขาไกรลาส มีฤทธิ์กำลังเดชานุภาพห้าวหาญมหึมา มีหมู่ช้างทั้งหลายเป็นยศบริวารเป็นอันมาก แต่ว่ากำลังน้อยกว่าพญาช้างดามพหัตถี ต่อถึง ๑๐ ตัวจึ่งเท่ากำลังพญาช้างดามพหัตถีตัวหนึ่งแล
ทีนี้ช้างตัวดั่งอุทกวารี ๑๐ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า คังไคยนาเคนทร์ ใหญ่สูงงาม สรรพศุภลักษณ์สมบูรณ์ มีสัณฐานสีตัวดั่งสีอุทกวารี มีฤทธิ์กำลังเดชานุภาพห้าวหาญมหึมา มีหมู่ช้างทั้งหลายเป็นยศบริวารเป็นอันมาก แต่ว่ากำลังน้อยกว่าพญาช้างบูรณาเคนทร์ต่อถึง ๑๐ ตัวจึ่งเท่ากำลังพญาช้างบูรณาเคนทร์
ทีนี้ช้างคงวุทวารี ๑๑ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า กาลวกะหัตถี
ทีนี้ช้างสีเมฆ ๑๒ ตัว
ทีนี้ช้างอัฏฐทิศ รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ ไอยราพต
ทีนี้ช้างสีดอกบัวหลวงอันขาวบริสุทธิ์ ๑๓ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ บุณฑริก มีพรรณลักษณะสมบูรณ์สงสถาน สีตัวนั้นดุจสีดอกบัวหลวงอันขาวบริสุทธิ์กว่าดุจสีเถ้าไม้หลัวก็ว่า กลิ่นนั้นหอมประดุจดอกสัตตบุษย์เหี่ยวก็ว่า แลมีศีรษะใหญ่แลงาใหญ่งาสั้นดุจสีโคก็ดี ดุจผ้าขาวอันงามบริสุทธิ์ก็ดี เล็บงามแลผนดท้องนั้นดุจฝนครำยวรเมฆ มีทำนองดุจเมฆกำลังห้าวหาญได้ชื่อว่าบุณฑริก อยู่ทิศอาคเนย์แล
ทีนี้ช้างสีตัวดุจดั่งโลหิต ๑๔ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า พราหมณะ
ทีนี้ช้างสีดอกกระมุท ๑๕ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ กุมุท มีพรรณลักษณะสมบูรณ์ สงสถานตนนั้นฆเสรียบสูง แลสีตัวนั้นดุจสีดอกกุมุทอันงามบริสุทธิ์แลมีงางอนดุจวงเดือนขึ้นสามค่ำ แลมีหูอันอ่อน แลเมื่อร้องนั้นเสียงดั่งเสียงแตรห้าวหาญนัก ได้ชื่อว่ากุมุท อยู่ทิศหรดีแล
ทีนี้ช้างสีอังชัน
ทีนี้ช้างสีตัวดั่งสีหงสบาท ๑๗ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า บุษปทันต์
ทีนี้ช้างสีหญ้าแพรกอันอ่อน ๑๘ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า สารวภูม มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานตนนั้นยาวกลมดุจใส่เสื้อ และสีตัวนั้นเขียวงามบริสุทธิ์ ดุจสีหญ้าแพรกอันอ่อน มีหน้านั้นใหญ่ แลสีกระนั้นแดงงามบริสุทธิ์ มีงาอันน้อยยาวงาม ตาดำ เมื่อร้องเสียงดังเสียงนกกระเรียน กล้าหาญนักได้ชื่อว่า สารวภูม อยู่ทิศอุดรแล
ทีนี้ช้างสุประดิษฐ์ดั่งสีเมฆเมื่อสนธยา ๑๙ ช้าง รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่าสุประดิษฐ์ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์สงสถาน สีตัวนั้นประดุจสีดอกบัวหลวงแดงบริสุทธิ์ก็ดี แลผนดท้องดุจดั่งท้องงู แลมีงาอันขาวแลซื่องามดีขึ้นขวา แลมีขนปากอันยาว แลอัณฑโกสอ่อน มีสำเนียงดุจเมฆอาจให้มีชัยชำนะ ชื่อว่าพญาสุประดิษฐ์ อยู่ทิศอีสาน
สิริรูปพระคชลักษณ์อัฏฐีมงคล ซึ่ง
ทีนี้ช้างพัง ๒๐ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า สังขทันต์ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์สงสถานสีตัวนั้นเหลืองงามบริสุทธิ์ ดุจดั่งสีทองคำเนื้อนพคุณนั้น แลมีงาอันน้อยขาวงามบริสุทธิ์งอนขึ้นเบื้องขวา แลเมื่อร้องนั้นเสียงดุจไก่ขันก็ดี ดุจเสียงอึ่ง ดุจเสียงเวสันปัดก็ดี ได้ชื่อว่าสังขทันต์ อยู่กลางทิศแล
ทีนี้ช้างสีทองแดง ๒๑ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า ดามพหัสดินทร์ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานสีตัวนั้นแดงงามบริสุทธิ์ ดุจสีทองแดง ห้าวหาญนัก ได้ชื่อว่า ดามพหัสดินทร์แล
ทีนี้ช้างชมลบ
ทีนี้ช้างลบชม
ทีนี้ครบกระจอก ๒๐ เล็บ ๒๔ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ ครบกระจอก มีพรรณสมบูรณ์สงสถานกีบแลเล็บนั้นมีเท้า แล ๕ เล็บทั้ง ๔ เท้าครบเป็น ๒๐ เล็บ หูหางงามสรรพชื่อว่าครบกระจอกแล
ทีนี้ช้างพลุกสดำ
ทีนี้ช้างสังขทันต์งาขวา
ทีนี้ช้างโคบุตรหางกลม ๒๗ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า พญาโคบุตร มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ เป็นอำนวยแห่งนางโค ๆ นั้นใหญ่สูง ๔ ศอก ไปรับพระราชทานเชือกเขาหัตถีลัดดาที่ช้างเผือกอยู่นั้นมิได้ขาด อยู่มานางโคนั้นประเทืองอยู่สามปีจึงตกอำนวยเป็นช้าง ได้นามชื่อโคบุตร ๆ นั้น สงสถานหางนั้นกลมประดุจหางโคมีโรมจามรอบ สมประกอบมีงาอันงอน มีผิวหนังอันเหลือง มีเสียงดังโคอุสุภราชผู้ เป็นอันไพเราะนักแลช้างนั้นมีฤทธานุภาพห้าวหาญ เป็นมหามงคลอาจผจญจังไร
สิริรูปคชลักษณ์อัฏฐี เหล่าหนึ่ง ๘ ช้าง รูปคชลักษณ์อัฏฐีคชาธาร ซึ่งเกิดในตระกูลอิศวรพงศ์อันดีเหล่าหนึ่ง ๘ ช้าง
ทีนี้ช้างงาอ้อมงวงงาข้างซ้ายสั้น ๒๘ ช้าง รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อว่า อ้อมจักรพาล มีพรรณสงสถานสมบูรณ์ งาข้างขวานั้นยาวอ้อมงวงไปทับปลายงาข้างซ้ายน้อยหนึ่ง แลงาข้างซ้ายนั้นสั้นชื่อว่าอ้อมจักรพาลและกล้าหาญนักแล
ทีนี้ช้างงาสองข้างกอดงวง
ทีนี้ช้างเอกทันต์งาเดียว ๓๐ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า เอกทันต์ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานมีแต่งาเดียว งอกออกจากเพดานใต้งวงมาแต่กำเนิด ถ้ายกงวงไปข้างซ้ายงามาอยู่ข้างขวา ถ้ายกงวงไปข้างขวางามาอยู่ข้างซ้าย ช้างนั้นอยู่ในป่าวรรณวิหาร แลเทวดาชื่อคชนาถ เอาไปไว้ ณ ป่านั้น เหตุดังนี้จึ่งมิได้มาถึงเมืองมนุษย์นี้ ด้วยว่ามีฤทธิ์เดชนัก แลกำลังช้างทั้งปวง ๑๐๐ จึ่งจะเท่ากำลังเอกทันต์ตัวหนึ่ง แลกำลังช้างเอกทันต์ ๑๐๐๐ หนึ่งจึ่งเท่ากำลังช้างเอราวัณตัวหนึ่งแล
ทีนี้ช้างสีนิล ๓๑ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อว่า กาลหัตถีก็ว่า ชื่อกาลาวกะก็ว่า มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานตนนั้นนิลงามบริสุทธิ์ทั่วสรรพางค์ ห้าวหาญปราบศัตรูราบปลอดภัยทั้งปวง ชื่อพญากาลหัตถีแล
ทีนี้ช้างสี่งา ๓๒ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อว่า จัตุรศก
ทีนี้ช้างงาฝั้น ๓๓ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ พระทันตรมภาร
ทีนี้ช้างเท้าหน้าสูง ๓๔ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ สิงหะชงค์
ทีนี้ช้างจุมประสาท ๓๕ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า จุมปราสาท มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานมีปลายงาซ้ายขวานั้นแดงดุจแสงแก้ว มีเดโชชัยสรรพสิทธิ์ ชื่อจุมประสาทแล
สิริรูปคชลักษณ์อัฏฐีคชาธาร ซึ่งเกิดในอิศวรพงศ์อันดี ๘ ช้าง
รูปคชลักษณ์ชื่อศุภลักษณ์มงคล ซึ่งเกิดในกระกูลอัคนิพงศ์เหล่าหนึ่ง ๔๒ ช้าง
ทีนี้ช้างยกงวงเดิน ๓๖ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า พระพัทจักรพาฬ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานเมื่อเดินย่อมชูงวงเดิน เรียกว่า บังเมฆ ชื่อพระพัทจักรพาฬแล
ทีนี้ช้างอกใหญ่ ๓๗ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ พระอุธรดุม
ทีนี้ช้างปลายงาติดกัน ๓๘ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า รัตนกุมพล มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานปลายงาซ้ายขวานั้นเข้าจดประสานกัน ปลายงาข้างขวาขึ้นทับปลายงาซ้ายน้อยหนึ่ง ถ้าจะคล้องช้างบาปลักษณะโทษถึง ๑๐๐๐ ตัวก็ดี ครั้นคล้องถูกรัตนกุมพลก็บำบัดโทษร้ายสังหารสิ้นแล แต่ประสมโขลงแก้โทษได้ ๑๐๐๐ หนึ่ง ถ้าขี่รัตนกุมพลคล้องช้างบาปลักษณะหาโทษภัยจังไรมิได้เลย จะเกิดสรรพสมบัติทุกเมื่อ แลควรเป็นช้างทรงจักรพัตราธิราชเจ้าผลาญศัตรูใต้หล้าหมู่พวกไพรีแล
รูปพระคชลักษณ์เผือก ๓ ประการ ๓ ช้างในนี้
ทีนี้ช้างเผือกสีสังข์อัน (ขาว)
ทีนี้ช้างเผือกโท ๔๐ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ ประทุมหัตถี มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานสีตัวนั้นดุจสีดอกบัวหลวงแดงโรยงามบริสุทธิ์นักเป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างเผือกตรี ๔๑ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า เศวตพระคชราช มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานสีตัวดั่งสีใบตองอ่อนอันแห้ง งามบริสุทธิ์ จะว่าขาวกลับมิขาว จะว่าแดงกลับมิแดง แลชายเหลืองเป็นช้างมงคลแล
สิริรูปพระคชลักษณ์ช้างเผือก ๓ ประการ ๓ ช้าง
รูปพระคชลักษณ์ช้างเนียม ๓ ประการ ๓ ช้าง ในนี้
ทีนี้ช้างเนียม ๔๒ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า มณีจักรราชาเนียมเอก มีพรรณลักษณะ สงสถานตนนั้นสั้นก็สั้นกว่าเนียมโท และงานั้นเป็นจาวมะพร้าว ยารแต่สองนิ้วเข้ามาจนไพรปาก กล้าหาญนักทรงเสด็จราชา ชนะศัตรูทุกทิศแล
ทีนี้ช้างเนียมโท ๔๓ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า มณีจักรราชาเนียมโท มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานตนนั้นสั้นก็สั้นพร้อม สั้นกว่าเนียมตรี แลงานั้นเป็นรูปไข่ยาวพ้นไพรปากแต่ห้านิ้วเข้ามาจนสองนิ้ว กล้าหาญนักทรงเสด็จราชามีชัยชนะมากแล
ทีนี้ช้างเนียมตรี ๔๔ ตัวแล รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า มณีจักรราชาเนียมตรีเนียมเขม มีพรรณลักษณะสมบูรณ์ สงสถานตนนั้นสั้นก็สั้นพร้อมกว่าช้างทั้งปวง แลงานั้นเป็นรูปปลีกล้วย ยาวแต่หน้างวงเข้ามาห้านิ้ว กล้าหาญนัก ทรงเสด็จราชา ชนะแก่ราชศัตรูทุกเมื่อแล ถ้างายาวพ้นหน้างวงออกไป ๒ นิ้ว ออกไป ๔ นิ้วไซร้ มิได้ชื่อว่าเป็นช้างเนียมเลย
สิริรูปพระคชลักษณ์เนียม ๓ ประการ ๓ ช้าง
ทีนี้ช้างเก้าเท้า ๔๕ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า นพสุบรรณ
ทีนี้ช้างตัวเหลือง ๔๖ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า ปิตหัสดินทร์ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานคือตนนั้นเหลืองงามบริสุทธิ์ แลมีงาอันขาวบริสุทธิ์ขึ้นเบื้องขวางามนักเป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างงาเดียว ๔๗ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ หักกรมเทพาพระมหาวิเนก มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สัณฐานมีแต่งาเดียวข้างขวามาแต่กำเนิดเรียกว่า ทอก ได้นามชื่อว่า พระมหาวิเนก ถ้าตาขาวหางดอกด้วย ได้นามชื่อว่า มหาไพทูรย์ มีแต่งาเดียวฉะนี้เป็นเอกทันต์หนึ่งเดียว มีอานุภาพนัก ทรงเสด็จราชาถึงว่าศัตรูจะมาเป็นอันมากแลช้างประมาณ ๑๐๐๐ หนึ่งก็ดี เอกทันต์มีตัวหนึ่งก็มีชัยชนะแก่ราชศัตรู แลช้างนั้นจะให้ครอบครอง
ทีนี้ช้างงาเดียวซ้าย ๔๘ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า พระพิฆเนศวรมหาวินาย มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานหน้าแลงวงนั้นดุจพระพักตร์พระมหาวินาย มีแต่งาข้างเดียวมาแต่กำเนิดเรียกว่า ทอกซ้าย นั้น ได้เป็นเอกทันต์หนึ่งเดียว มีอานุภาพมากนัก ทรงเสด็จราชาถึงว่าศัตรูจะมาคนอันมากแลช้างประมาณ ๑๐๐๐ หนึ่งก็ดี เอกทันต์นี้ตัวหนึ่งก็มีชัยชนะแก่ราชศัตรู แลช้างนั้นจะให้ครอบครองแผ่นพิภพ ทั่วสารนุทิศจะให้จำเริญชนมายุสม์ จะบำบัดอันตรายทั้งปวงควรให้ไว้หน้าพระที่นั่ง ครั้นรุ่งเช้าควรทอดพระเนตรจงเป็นนิจกาลทุกวัน เป็นช้างศุภมงคลอันดีแล
ทีนี้ช้างงาดำ ๔๙ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า นิลทันต์ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานงาซ้ายขวานั้นดำนิลงามบริสุทธิ์ทั้งสองข้าง กล้าหาญนักแล
ทีนี้ช้างตัวดำงาขาว ๕๐ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า นิลจักษุ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานตัวนั้นดำนิลงามบริสุทธิ์ทั้งสองข้าง กล้าหาญนักเป็นมงคลแล
ทีนี้ช้าง (๕๑ ตัว) รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อว่า นิลนขา
ทีนี้ช้างงาเหลือง ๕๒ ตัว รูปพระคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ เหมทันต์ มีพรรณลักษณะสมบูรณ์ สงสถานงาทั้งสองนั้นเหลืองงามบริสุทธิ์เป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างตาเหลือง ๕๓ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ เหมจักษุ มีพรรณลักษณะสมบูรณ์ สงสถานตาทั้งสองข้างนั้นเหลืองงามบริสุทธิ์เป็นมงคล
ทีนี้ช้างเล็บเหลือง ๕๔ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้ นามชื่อ เหมนขา มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานเล็บทั้ง ๔ เท้านั้นเหลืองงามบริสุทธิ์เป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างแดง ๕๕ ตัว รูปคชลักษณ์นามชื่อ รัตจักษุ
ทีนี้ช้างเล็บขาว ๕๖ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้ นามชื่อ รัตนนขา มีพรรณลักษณะสมบูรณ์ สงสถานเล็บทั้ง ๔ เท้านั้น ขาวบริสุทธิ์ดุจแก้วอันขาวเป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างเล็บแดง ๕๗ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ รัตนขา
ที่นี้ช้างงาขาวทั้งสอง ๕๘ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ เศวตทันต์ มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานงาทั้งสองข้างนั้นขาวบริสุทธิ์ดุจสีสังข์อันขาวเป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างตาขาว ๕๙ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้มีนามชื่อ เศวตจักขุ
ทีนี้ช้างเล็บขาว ๖๐ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ เศวตนขา มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานเล็บนั้นขาวบริสุทธิ์ดุจดั่งสีสังข์เป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างสีเขาเขียว ๖๑ ช้าง รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ เทพคีรี มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานสีตนนั้นดั่งภูเขาเขียวงามนักเป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างสีดั่งเขาขาว ๖๒ ตัว รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ จันทคีรี มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานสีตัวนั้นสีดั่งภูเขาอันขาวเป็นมงคลแล
ทีนี้ช้างสีดอกสามหาว
ทีนี้ช้างปากดั่งปากนกแขกเต้า ๖๔ ช้าง รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ สุวโรจ
ทีนี้ช้างห่มเสื้อ ๖๕ ช้าง รูปคชลักษณ์ตัวนี้นามชื่อ ดำผงถนิม มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานตนนั้นดุจห่มเสื้อ เป็นมงคลแล
รูปคชลักษณ์ตัวนี้ ทีนี้กระ ๖๖ นาม ชื่อ สมผงถนิม มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานตนนั้นกระทั้งตัว เป็นกระกูลแห่งช้างเผือก เป็นมงคลแล
รูปคชลักษณ์ตัวนี้ ทีนี้ช้างกระหมวดสูง ๖๗ นามชื่อ กุมประสาท มีพรรณลักขณะสมบูรณ์ สงสถานขมวดศีรษะนั้นสูงงามนักเป็นมงคลแล
รูปคชลักษณ์ตัวนี้ ทีนี้ช้างแขนกลม ๖๘ นามชื่อ จตุรัมภา
-
1. นางสาวเอมอร เชาวน์สวน นักภาษาโบราณ ๕ จัดทำคำอ่านปัจจุบัน ↩
-
2. ดูเพิ่มเติมในคำอธิบายศัพท์ ↩
-
3. คำ อันนี้ ต้นฉบับเขียนเป็น อนี้ ทุกแห่ง ↩
-
4. คำ ดุจ ต้นฉบับใช้ ดูจ ทุกแห่ง ↩
-
5. ต้นฉบับใช้ สมบรรณ ↩
-
6. คำ มิ ต้นฉบับใช้ หมิ หรือ หมี ทุกแห่ง ↩
-
7. ที่ถูกควรเป็น สวาหัม หรือสวาหูม ↩
-
8. บทมนตร์คัดเชิง ดูเพิ่มเติมที่ หน้า ๖๔ ↩
-
9. ต้นฉบับเขียนเรียงประโยคเป็น พระพิฆเนศวรนี้ ตัวเมียหนมือซ้าย คือ พิฆ ชื่อโกญจนาทเนศวร ชื่อ ศิวบุตร ↩
-
10. บทมนตร์คัดบาศ ดูเพิ่มเติมที่หน้า ๖๕ ↩
-
11. ต้นฉบับใช้ ภักไตรย ↩
-
12. บทสวดบูชาในพิธีคชกรรม ดูเพิ่มเติมที่หน้า ๖๖ ↩
-
13. ต้นฉบับใช้ สหัสร เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หนึ่งพัน ↩
-
14. ต้นฉบับเขียนคลาดเคลื่อนเป็น งอง ↩
-
15. ต้นฉบับเขียน ท้งง ทุกแห่ง ↩
-
16. ต้นฉบับเขียน พระหัษบดี ↩
-
17. ต้นฉบับใช้ กูลี ↩
-
18. ต้นฉบับเขียน สมบรรณ ↩
-
19. ต้นฉบับใช้ เดจ ↩
-
20. ต้นฉบับเขียน ช้างโคบุตรฉ ↩
-
21. ต้นฉบับเขียน ดงง ↩
-
22. ต้นฉบับเขียน อัฏิ ↩
-
23. ต้นฉบับเขียนเป็น อนุโรไทย ↩
-
24. ต้นฉบับใช้ งามหึมา คือเขียน ม ตัวเดียวเป็นทั้งพยัญชนะตัวสะกดและพยัญชนะต้น ↩
-
25. ต้นฉบับใช้ ชาวทองตัว ๓ ↩
-
26. ต้นฉบับใช้ ตัว ๔ ↩
-
27. ต้นฉบับใช้ ตัว ๕ ↩
-
28. น่าจะเขียนตกไป ที่ถูกควรเป็น ทั้งหลาย ↩
-
29. ตรงนี้ ต้นฉบับเขียนบุรรณาเคนทร ↩
-
30. ต้นฉบับเขียน กาลาวหถี จักรวาฬทีปนีใช้ว่า กาฬาวกหัตถี ↩
-
31. จักรวาลทีปนีใช้ว่า เอราวัณ ↩
-
32. ต้นฉบับเป็น ทิศบูรรณ ↩
-
33. ข้อความในต้นฉบับ จบหน้าต้น และต่อจากนี้ขึ้นต้นหน้าปลาย ↩
-
34. จักรวาฬทีปนี ใช้ว่า วามนะ ↩
-
35. ต้นฉบับใช้ ภาหล ↩
-
36. บางฉบับใช้อัญชัน ↩
-
37. จักรวาฬทีปนี ใช้ว่า อัญชนะ ↩
-
38. จักรวาฬทีปนี ใช้ว่า ปุปผทนต์ ↩
-
39. ต้นฉบับ เขียน ชื่อ ↩
-
40. ต้นฉบับ เขียน ชมลพ ๒ แห่ง ↩
-
41. ต้นฉบับเขียน ลพชม ๒ แห่ง ↩
-
42. สดำ ภาษาเขมร แปลว่า ขวา ↩
-
43. ที่ถูกน่าจะเป็น ขาว ↩
-
44. ต้นฉบับใช้ รังไร ↩
-
45. ต้นฉบับใช้ ที่นี้ช้างงากอดงวงสองช้าง ↩
-
46. ต้นฉบับใช้ จัตรศก ↩
-
47. ต้นฉบับใช้ พทันตระการ ↩
-
48. ในหนังสือ ตำราลักษณะช้างคำโคลงใช้ สีหชงค์ ↩
-
49. ต้นฉบับใช้ อธรดุม ↩
-
50. ต้นฉบับใช้ ศรีสังขอัน ↩
-
51. ต้นฉบับใช้ นพสบรร ↩
-
52. ต้นฉบับเขียนตกตัว ง เป็นครอบครอ ↩
-
53. ต้นฉบับใช้ นักขา ทุกที่ ↩
-
54. ต้นฉบับเขียนเป็น รัตนจักษุ ↩
-
55. ต้นฉบับเขียนเป็น รัตนนักขา ↩
-
56. ต้นฉบับใช้ เสวจักข ↩
-
57. ต้นฉบับใช้ สำหาว ทุกที่ ↩
-
58. ต้นฉบับใช้ สูวโรด ↩
-
59. ต้นฉบับใช้ จัตุรภมุพ ↩