บทสวดบูชาในพิธีคชกรรม

เรียบเรียงใหม่ตามฉันทลักษณ์

๏ สิทธิสวัสดิ์ฯ  
จตุมุโข คชพกฺโตร ฉพาโห จตุปโท
อฏฐเนตฺโต อฏฐกณฺณา รกฺข ตามฺพาภรณ (ภู)สิ(โ)ต
มหากาโย มโหทโร คชรกฺขโส มหาพโล
ปุพฺพธารา นาคชาตา ปุปฺผวณฺณา คชปภา
เทวอิติ จ ติเทวดา มหาเตชา จ มหิทฺธิกา
กรโกณ หตฺ คชา ขฺยา หตฺถาจริยา
ทิพปุตฺตา มหาเตชา อิทฺธิมนฺโต ยสสฺสิโน
คชพนฺโธ คชาปาโล คชวณฺณวิกสิโต
เอเตน คชเตเชน คชโสตฺ๑๐ ภวนฺตุ เม

คำแปล

ผู้ดูแลช้างสี่หน้าสง่างาม น่าเกรงขาม มีหกมือ สี่เท้า แปดตา แปดหู ร่างสูงใหญ่ ท้องใหญ่ มีกำลังมาก ประดับด้วยอาภรณ์แดงตามอย่างผู้ดูแลช้าง มีรัศมีเปล่งประกาย

ควาญช้างผู้รู้คชลักษณ์เป็นอย่างดี เป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์เดชมากและผู้เลี้ยงช้างซึ่งเป็นบุตรเทพเจ้ามีฤทธิ์ มีเดชมาก มียศยิ่ง มีหน้าเบิกบาน

ด้วยอำนาจแห่งคชกรรมพิธีครั้งนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า

  1. 1. นายเกษียร มะปะโม นักภาษาโบราณ ๘ ว. เรียบเรียงตามฉันทลักษณ์ แปล และอธิบายศัพท์

  2. 2. ต้นฉบับเป็น “คชภักไตรย” เขียนเป็นภาษาไทย เมื่อพิจารณาจัดให้เป็นภาษาบาลี ควรเป็น “คชพกฺตฺร” เป็นการนำศัพท์บาลีมาต่อกับศัพท์สันสกฤต ประกอบวิภัติปัจจัยตามหลักภาษาบาลีจึงเป็นอย่างนี้

  3. 3. ต้นฉบับเป็น จคุปโท ถ้าพิจารณาดูตามรูปศัพท์นี้แล้วน่าจะเป็นการถ่ายถอดจากอักษรขอม เพราะอักษรขอม ตัวอักษร ต กับ ค คนโบราณท่านจะขมวด หัวอักษรตัว ต กับตัว ค คล้ายๆ กัน คนถ่ายถอดเข้าใจว่าเป็นตัว ค จึงเขียนเป็น จคุปโท ซึ่งไม่ได้ความหมายเหมือนคำว่า จตุปโท

  4. 4. คำที่ถูกต้องจะต้องเติมคำในวงเล็บเข้ามา

  5. 5. ต้นฉบับเป็น “กรโกน” ที่ถูกควรเป็น “กรโกณ” ซึ่งแปลว่าปลายงวง

  6. 6. ต้นฉบับเป็น “หฏาจภิริยา” น่าจะเป็น “หตฺถาจริยา” ซึ่งแปลว่าผู้ฝึกช้าง หรือหมอช้าง

  7. 7. ต้นฉบับเป็น ติพปุตฺตา ที่ถูกควรเป็น “ทิพปุตฺตา ซึ่งแปลว่าเทพบุตร

  8. 8. ต้นฉบับเป็น “ยสัสสิโส” ที่ถูกควรเป็น “ยสสฺสิโน” ซึ่งเป็นปฐมวิภัติ พหูพจน์ แปลว่ามียศ

  9. 9. ที่ถูกน่าจะเป็น “คชปาโส”

  10. 10. ที่ถูกน่าจะเป็น “คชโสตฺถี”

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ