เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๕๒
วันที่รัชกาล ๗๘๐๑ วัน ๖ ๑ฯ ๕ ค่ำ ปีขานเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๑ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาเช้ามีการเลี้ยงพระสงฆ์ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เจ้าพนักงานได้เชิญพระโกษพระบรมอัฏฐิพระอัฏฐิ มาประดิษฐานบนพระที่นั่งเสวตรฉัตรแลโต๊ะจีน เวลาเช้า ๔ โมงเสศ โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จออกบำเพ็ญพระราชกุศลกาลานุกาลตรุศสุดปี ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการแลทรงศีลแล้ว ทรงประเคนอาหารบิณฑบาตรแก่พระสงฆ์ ๔๙ รูป รับพระราชทานฉันแล้ว ทรงทอดผ้าสบงพระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฏฐิพระอัฏฐิ แล้วทรงทอดผ้าสดับปกรณ์รายร้อยอีก ๕๐๐ รูปเสร็จแล้ว เวลาเที่ยงแล้วสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จขึ้น เจ้าพนักงานเชิญพระโกษพระบรมอัฏฐิพระอัฏฐิกลับไปประดิษฐานตามเดิม วันนี้ โปรดเกล้า ฯ พระราชทานของกาลานุกาลไปสดับปกรณ์ที่พระราชวังบวร แลหอพระนากตามธรรมเนียม.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๒ วัน ๗ ๒ฯ ๕ ค่ำ ปีขานเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๒ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
ด้วยเวลาวันนี้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพได้กราบทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร เสด็จไปพระราชทานรางวัลนักเรียน ณ โรงเรียนสุนันทาลัย เพื่อเปนเกียรติยศของโรงเรียนนั้น แลได้เชิญพระบรมวงษานุวงษข้าราชการทั้งผู้แทนคอเวอนแมนต์ต่างประเทศแลคนชาวยุโรปชายหญิงเปนอันมากไปประชุมที่โรงเรียนนั้นด้วย
ครั้นเวลาบ่าย ๕ โมง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จพระดำเนินโดยกระบวนรถพระที่นั่งไปโรงเรียนสุนันทาลัยครั้นถึงแล้ว กรมหมื่นดำรงราชานุภาพได้เชิญเสด็จพระราชดำเนินขึ้นบนโรงเรียนประทับพระเก้าอี้พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษข้าราชการแลคนต่างประเทศชายหญิง} เป็นอันมาก เจ้าพนักงานนำนักเรียนมาเฝ้าฝ่าลอองพระบาท แล้วมิสเตอแมกฟาแลนด์อาจาริย์ใหญ่กราบบังคมทูลรายงานการสั่งสอนวิชาแล้ว เรียกนักเรียนผู้ที่จะได้รับพระราชทานรางวัลมากล่าวคำภาษาอังกฤษในที่ประชุม ถ้อยคำที่นักเรียนกล่าวนั้นแต่งเองบ้างเปนคำโคลงของเก่าบ้าง แล้วสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนที่สอบไล่ได้โดยลำดับกัน ๒๗ คน รางวัลวิเศษพระราชทานเงินทุนเล่าเรียน ๑๕๐ บาท ชั้นที่ ๒ เงิน ๘๐ บาท ชั้นที่ ๓ เงิน ๔๐ บาท นอกนั้นพระราชทานสิ่งของเปนรางวัลประจำปี การที่สอบไล่คือวิชาเลข วิชาหนังสือ หมั่นเล่าเรียน ลายมือ ครั้นพระราชทานแล้วมีพระดำรัสในที่ประชุม พระราชทานแก่นักเรียนทั้งปวง แล้วเสด็จประทับโต๊ะเสวย พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษข้าราชการแลผู้แทนคอเวอนเมนต์ ครั้นเสวยแล้วเวลาย่ำค่ำแล้วเสด็จพระดำเนินมาทรงรถพระที่นั่งเสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวัง
เวลา ๒ ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่าง ๆ แลทรงจัดตั้งใหม่ จนเวลา ๕ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น แล้วเสด็จออกทางพระทวารพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เสด็จโดยพระราชยานแต่เกยน่าพระทวารเทเวศรักษา พร้อมด้วยข้าราชการนำตามเสด็จออกประตูพิมานไชยศรี ไปประทับเกยน่าประตูวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้านตวันตก แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปประทับในพระอุโบสถ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการ พระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ถวายศีล ทรงศีลแล้วขุนวิจิตรราชสาสนอ่านประกาศเทวดา เรื่องรัตนพิมพ์วงษ์ตำนานพระแก้วมรกฎจบแล้ว พระโพธิวงษาจาวย์ถวายขัดตำนาน พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย} รวม ๓๘ รูป สวดพระพุทธมนต์ทวาทศปริตเมื่ออาลักษณอ่านประกาศเทวดานั้น มหาดเล็กนำดอกไม้ธูปเทียนทูลเกล้า ฯ ถวายทรงจุดนมัสการพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกฏและพระพุทธรูปอื่น ๆ เวลา ๒ ยามเศษเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๓ วัน ๑ ๓ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาเช้า ๕ โมง โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าราชวรวงษเธอกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ กรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จมาเลี้ยงพระสงฆ์ที่สวดมนต์คืนนี้ ที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว พร้อมกันไปประชุมในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาศดาราม
เวลาบ่ายโมงเสศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยพระราชยานแต่เกยน่าพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท พร้อมด้วยข้าทูลลออง นำตามเสด็จออกประตูพิมานไชยศรี ไปประทับเกยน่าประตูวัดพระศรีรัตนสาศดารามด้านตวันตกแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับในพระอุโบสถ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการ พระเจ้าบรมวงษเธอกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ถวายศีลทรงศีลแล้ว มหาดเล็กนำพานทองคำมีดอกไม้ธูปเทียนทูลเกล้าถวาย ทรงจุดนมัสการพระพุทธรัตนปฏิมากรแล้วทรงจุดธูป ๓๔ เทียน ๓๔} เล่ม พระราชทานพระเจ้าราชวรวงษเธอกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ์ ไปบูชาพระพุทธรูป ๓๔ องค์ ณ หอพระราชกรมานุศร พระพุทธรูป ๓๔ องค์นี้ ซึ่งทรงสร้างพระราชอุทิศถวายแลเฉพาะต่อพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งดำรงกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาแลกรุงธน ๓๔ พระองค์ แลธูป ๔ เทียน ๔} เล่ม บูชาพระพุทธรูป ๔ พระองค์ ณ หอพระราชพงษานุสร พระพุทธรูป ๔ องค์นี้ ซึ่งทรงสร้างพระราชอุทิศถวายในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งดำรงกรุงรัตนโกสินทร์ ๔ พระองค์ แล้วพระมหาราชครูพิธีอ่านมนต์โดยคัมภีร์ไสยสาตร ชุบพระแสงศรหรหมมาศ อัคนีวาต ประไลยวาต} ลงในพระขันหยกโดยลำดับทั้ง ๓ องค์แล้วจึ่งอ่านคำแช่งน้ำจบแล้ว พระยาศรีสุนทรโวหารอ่านคำมคธภาษาแลสยามภาษาเปนคำแช่งน้ำจบแล้ว เจ้าพนักงานกรมแสงหอกดาบจึ่งเชิญพระแสงลงจากที่มณฑลส่งให้พระสิทธิไชยบดี ๆ รับมาชุบลงในม่อน้ำ พระแสงนั้นคือ พระแสงขรรคไชยศรี ๑ พระแสงขรรคเนาวโลหะ ๑ พระแสงดาบคาบค่าย ๑ พระแสงดาบใจเพชร ๑ พระแสงเวียด ๑ พระแสงยี่ปุ่นฟันปลา ๑ พระแสงยี่ปุ่นแฝด ๑ พระแสงยี่ปุ่นทรงเติม ๑ พระแสงยี่ปุ่นฝักทองเกลี้ยงเครื่องประดับเพชร ๑ พระแสงตรีเพชร ๑ พระแสงปืนนพรัตน ๑ พระแสงหอกเพชร์รัตน ๑ พระแสงขรรคจีน ๑ ธารพระกรเทวรูป ๑ ธารพระกรศักดิสิทธิ์ ๑ รวม ๑๕ องค์ ขณะเมื่อชุบพระแสงลงในหม้อน้ำนั้น พระสงฆ์พร้อมกันสวดสัจคาถา พราหมณ์ก็เป่าสังข์ พนักงานประโคมฆ้องไชย พิณพาทย์แตรสังข์ขึ้นพร้อมกัน กรมวังนำขุนนางข้าราชการเข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาททีละ ๘ ท่าน นาย} นอกนั้นให้รออยู่ที่ประตูแลเฉลียงน่าพระอุโบสถก่อน ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษศิลปาคม รับสั่งให้ทำเปนรัวกั้นเฉพาะ ๘ คน เพราะแต่ก่อน ๆ เบียดเสียดคับคั่งกันมาก ครั้งนี้จึงได้กั้นเฉพาะเปนการเรียบร้อยดี เมื่อขุนนางผู้ใหญ่เข้าเฝ้านั้น อาลักษณแจกหนังสือพิมพ์คำสาบาลให้อ่านทุกท่านทุกนาย} แล้วคืน พระมหาราชครูพิธีเชิญพระขันหอกไปริมน้ำเจือลงในหม้อเงินทุก ๆ หม้อ แลรินลงในพระถ้วยโมราประดับเพชรแล้วทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วพระสิทธิไชยบดีแลสนมพลเรือนถวายน้ำด้วยขันทองคำแก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแลพระบรมวงษานุวงษ แต่เสนาบดีข้าราชการนั้นเปนถ้วยแก้ว เพราะถ้วยสัมฤทธิที่เคยใช้แค่ก่อนนั้นส่งไปเปนตัวอย่างทำเพิ่มเติมมาอีก เมื่อรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัตยาอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเต้าษิโณทก พระสงฆ์ถวายยะถาสัพพีอติเรกพระพรลากลับ แล้วเสด็จพระราชดำเนินออกทางประตูหลังพระอุโบสถ ที่ท้าวนางฝ่ายในแลภรรยาข้าราชการมาประชุมอยู่นั้น เพื่อจะรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัตยา แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาประทับพระราชยานแต่เกยน่าประตูวัดพระศรีรัตนสาศดารามด้านตวันตก พร้อมด้วยข้าราชการนำตามเสด็จกลับทางเดิมแล้วประทับที่เกยพระทวารเทเวศร์รักษาข้างพระที่นั่งสนามจันทน์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินประทับที่พระที่นั่งสนามจันทน์ เวลานั้นเจ้าพนักงานเปิดพระแกลหอพระบรมอัฏฐิ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการถวายบังคมพระบรมอัฏฐิ พนักงานก็ประโคมมหรธึกแตรสังข์กลองชะนะขึ้นพร้อมกันแล้วเสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ทรงผลัดพระภูษาแลฉลองพระองค์แล้วพระบรมวงษานุวงษเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่สรวมเสื้อครุยนำดอกไม้ธูปเทียนมาจุดถวายบังคมพระบรมอัฐิ เวลาบ่าย ๓ โมงเสศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น
อนึ่ง เมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินกลับจากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาศดารามแล้วนั้น พระมหาราชครูพิธีแลขุนสาราบรรจงอ่านคำแช่งน้ำในที่ประชุมท้าวนางแลภรรยาข้าราชการจบแล้ว ท้าวนางฝ่ายในแลภรรยาข้าราชการ รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัตยาทั่วกันตามเคย
เวลาบ่ายวันนี้ เจ้าพนักงานจัดการที่ตำหนักพระเจ้าลูกเธอประสูตรใหม่เจ้าขอมมารดาอ่อน ในการสมโภชเดือน๑ เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เจ้าพนักงานนำพระสงฆ์ ๑๐ รูป เข้าไปสวดพระพุทธมนต์
อนึ่ง เวลาบ่ายวันนี้ เจ้าพนักงานจัดการที่พระที่นั่งสุทไธยสวรรย์ในการพระราชพิชีคเชนทรัศวสนาน เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงษ์๒ เสด็จไปจุดเทียนนมัสการ ทรงศีลแล้ว หลวงสารประเสริฐอ่านคำประกาศจบแล้ว พระสงฆ์ไทย ๕ พระสงฆ์รามัญ ๕ รวม ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์
เวลา ๒ ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่าง ๆ เวลา ๗ ทุ่มเศษ เสด็จขึ้น.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๔ วัน ๒ ๔ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๔ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาเช้ามีการเลี้ยงพระที่สวดมนต์วานนี้ ที่ตำหนักพระเจ้าลูกเธอประสูตรใหม่เจ้าพนักงานจัดการตามสมควร ครั้เพระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว ได้พระฤกษเจ้าพนักงานเจริญพระเกษาพระเจ้าลูกเธอ แล้วไว้พระเกษาตามธรรมเนียม
อนึ่ง ที่พระที่นั่งสุทไธสวริย์ เจ้าพนักงานจัดการเลี้ยงพระที่สวดมนต์วานนี้ โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรเสด็จไปจุดเทียนเครื่องนมัสการแลทรงศีลแล้ว ทรงประเคนอาหารบิณฑบาตรแก่พระสงฆ์ๆ รับพระราชทานฉัน เจ้าพนักงานนำช้างม้า} รถพลเดินเท้าที่นับว่าเปนจตุรงค์เสนามาผูกยืนที่ปรำน่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ชีพ่อพราหมณ์ก็จัดการพระราชพิธีไปตามเคยเวลาบ่ายเจ้าพนักงานจัดกระบวนแห่คเชนทรัศวสนานตามธรรมเนียม
เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จออกพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ทอดพระเนตรกระบวนแห่คเชนทรัศวสนานแล้วเสด็จกลับ
อนึ่ง ที่ตำหนักพระเจ้าลูกเธอฝ่ายในนั้น เวลาย่ำค่ำแล้วทระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงประทับที่ตำหนักพระเจ้าลูกเธอแล้ว เจ้าพนักงานจัดตั้งบายศรีแก้วเงินทอง} ชีพ่อพราหมณ์ให้แว่นเวียนเทียนสมโภชพระเจ้าลูกเธอพระชันษาครบเดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา
อนึ่ง เมื่อเวลาเสด็จลงประทับที่ตำหนักพระเจ้าลูกเธอนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอแลพระเจ้าน้องยาเธอ สรวมฉลองพระองค์คำประดับเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แลสมโภชพระเจ้าลูกเธอด้วย
วันนี้ไม่ได้เสด็จออกขุนนางไม่มีราชการอันใด.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๕ วัน ๓ ๕ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๕ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาย่ำค่ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่างๆจนเวลายามเศษเสด็จออกขุนนางตามเคย พระมนตรีพจนกิจกรมมหาดไทยนำใบบอกอ่านกราบบังคมทูลพระกรุณา ๘ ฉบับ
ฉบับ ๑ บอกพระประเทศอุไทยทิศปลัด ผู้รักษาเมืองนครเสียมราฐ ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๐๘ ขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงไปเผาศพพระยานุภาพไตรภพ
ฉบับ ๒ ว่าได้แต่งให้กรมการคุมเงิน ส่วยแทนขี้ผึ้ง ผลเร่ว} เป็นเงิน ๘ ชั่ง ๒ บาท ๒ สลึง เข้ามาส่งเจ้าพนักงานกรุงเทพ ฯ กับเทศภรรยาพระยานุภาพไตรภพ จัดได้ผ้าไหมสีต่าง ๆ ๘ ผืน ขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย
ฉบับ ๓ บอกพระยาวิเศษฤๅไชยผู้ว่าราชการเมืองฉเชิงเทรา ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ร.ศ. ๑๐๘ ว่า ได้ส่งเงินค่านากับค่าตราจองเปนเงิน ๔๕๐ ชั่งเข้ามายังเจ้าพนักงานกรุงเทพ ฯ แล้ว
ฉบับ ๔ ว่า นายทิมกับราษฎรขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสิมาวัดอรัญญิกาวาศ แขวงเมืองฉเชิงเทรา โดยยาว ๗ วา กว้าง ๕ วา}
ฉบับ ๕ ว่า นายจันกับราษฎร ขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสิมาวัดจันทาวาศ แขวงเมืองฉเชิงเทรา โดยยาว ๗ วา ๒ ศอก กว้าง ๕ วา}
ฉบับ ๖ บอกพระอินทร์ประสิทธิ์ ผู้ว่าราชการเมืองอินทรบุรี ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า โปรดเกล้า ฯ พระราชทานเบี้ยหวัด ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง นั้น พระอินประสิทธิศร ได้นำเงิน ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ออกซื้อจ่ายเครื่องยาแลให้เงินเดือนแก่หมอที่อยู่ในโรงพยาบาล ขอถวายพระราชกุศล
ฉบับ ๗ บอกพระยาไตรเพชร์รัตนสงครามผู้ว่าราชการเมืองนครสวรรค์ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า เจ้าอธิการวัดเทพอาวาศกับราษฎร ขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสิมาวัดเทพอาวาศ แขวงเมืองนครสวรรค์ โดยยาว ๙ วา กว้าง ๗ วา}
ฉบับ ๘ บอกพระยามหาอำมาตย์ข้าหลวง ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า โปรดเกล้า ฯ มีตราพระราชทานแลผ้าไตรบริกขารออกไป อุปสมบทเจ้าราชสัมพันธวงษเมืองนครจำปาศักดิ์นั้น ได้มอบให้เจ้าราชสัมพันธวงษแล้ว กับได้บังคับเจ้านายท้าวพระยารักษาช้างสำคัญไว้แล้ว ต่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๑๐๘ จึ่งจะนำช้างเดินมา ณ กรุงเทพฯ
พระยาสุรินทรามาตย์กรมพระกระลาโหมนำใบบอกอ่านกราบบังคมทูลพระกรุณา ๓ ฉบับ ฉบับ ๑ บอกพระยาศรีธรรมราช ผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช บอกส่งต้นหนังสือพระยาเดชานุชิต พระยาพิพิธภักดี พระโยธีประฎียุทธ พระรัษฎาธิบดีบุตร เมืองกลันตัน ว่าด้วยอาการป่วยพระยาเดชานุชิต
ฉบับ ๒ หนังสือพระยาเดชานุชิตจางวาง ผู้กำกับราชการเมืองกลันตัน กราบเรียนมายัง ฯพณฯ สมุหพระกระลาโหมว่า อาการป่วยครั้งนี้มีความวิตกมาก ถ้าถึงแก่กรรมแล้ว พระยากลันตันผู้บุตรนั้น ขอให้เปนที่พระยาเดชานุชิตแทนพระยาเดชานุชิต พระโยธีประฎียุทธ์รายามุดา ขอให้เปนที่พระยาพิพิธภักดีเจ้าเมืองกลันตัน พระรัษฎาธิบดีบุตรบุรุษย์พิเศษ ขอให้เปนที่พระโยธีประฎียุทธรายามุดา รับราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อไป
ฉบับ ๓ บอกพระยาพิพิธภักดี พระโยธีประฎียุทธ์ พระรัษฎาธิบดีเมืองกลันตัน ว่าพระยาเดชานุชิตจางวาง ผู้กำกับราชการเมืองกลันตัน ป่วยเปนวรรณโรคที่ใต้สดือ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๑๐๘ ได้หาหมอมารักษาพยาบาลอาการแตกปวดค่อยคลายลง ถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ กลับป่วยเปนไข้ ได้หาหมอมารักษาอาการยังทรงอยู่ ครั้นถึงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พระยาเดชานุชิตรับพระราชทานอาหารไม่ได้ จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งพระยานรินทร์ราชเสนีว่า ซึ่งพระยาเดชานุชิตบอกขอเข้ามานั้น แลได้ทรงทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทว่า พระยาเดชานุชิตถึงแก่กรรมแล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้จัดเรือบรรทุกสิ่งของไปพระราชทานในการศพพระยาเดชานุชิตเหมือนอย่างเมืองไทรบุรี
แล้วพระยาศรีสิงหเทพ นำเจ้าราชภาคิไนย ๑ เจ้าคำปาน ๑ เจ้าโฉมลักษณวงษ์ ๑ เจ้าปัญญา ๑ เจ้าสน ๑ พระยานามเสนา ๑ เมืองนครหลวงพระบาง ๖ นาย ซึ่งลงมากับพระยาสุรศักดิ์มนตรี เจ้าบุรีรัตนเมืองนครเชียงใหม่ ๑ ขุนสิงหฬสาคร ซึ่งกลับมาจากเมืองนครเชียงใหม่ ๑ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท เจ้าบุรีรัตนจัดได้งาช้าง ๒ กิ่งหนัก ๓๘ ชั่งจีน หมอน ๓ เหลี่ยมน่าปัก ๒ หมอน ใบเมี่ยง ๔ ไหกระเทียม ผลมักมั่นมาแต่ฮ่อ ๑ กระทอ ขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย
แล้วนำพระกลางราชภักดีศรีเทพสงครามมหาดไทยเมืองนครราชสีมา ๑ ราชบุตรเมืองนครพนม ๑ หลวงพลานุรักษ์เมืองอากาศอำนวย ๑ พระศรีสกุลวงษ์ผู้ช่วยขวา ๑ พระวิชิตพลหาญผู้ช่วยซ้าย ๑ เมืองสกลนครพระอรัญอาษาเจ้าเมืองสุขุมาลมณฑล ๑ พระพิศาลสิมานุรักษ์ เจ้าเมืองโพธิไพศาล ๑ รวม ๗ นาย กราบถวายบังคมลาไปรักษาราชการบ้านเมือง โปรดเกล้า ฯ พระราชทานถาดหมาก คนโท} กาไหล่ทองเปนเครื่องยศแก่พระกลางราชภักดีแลนอกนั้นพระราชทานถาดหมาก คนโท} เงินเปนเครื่องยศแลเสื้อผ้าทั่วกันตามธรรมเนียม
แล้วมีพระราชดำรัสปฏิสันฐานกับแสนท้าวพระยาลาวเมืองนครหลวงพระบางพอสมควร แล้วดำรัสถามเจ้าบุรีรัตน์ เมืองนครเชียงใหม่ว่า การที่ฦๅกันว่าพระยาปราบจะไปพาพวกเงี้ยวเข้ามารบเมืองเชียงใหม่นั้นแปนการจริงเหมือนคำเล่าฦๅฤๅ เจ้าบุรีรัตน์กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เห็นจะเปนการไม่จริงเหมือนคำเล่าฦๅ ดำรัสถามว่า พระยาปราบเมื่อไปนั้นมีคนไปมากน้อยเท่าใด เจ้าบุรีรัตน์กราบบังคมทูลว่า มีแต่พรรคพวกญาตพี่น้องตามไปประมาณ ๕ ๖} คน ดำรัสถามว่า ข่าวเล่าฦๅว่าพระยาปราบจะไปชวนเชียงตุงมาช่วยรบเมืองเชียงใหม่นั้นเปนการจริงฤๅ เจ้าบุรีรัตน์กราบบังคมทูลว่า เห็นจะเปนการไม่จริง ทรงพระราชดำริห์ว่าเชียงตุงก็ระวังตัวเต็มทีอยู่ เห็นจะคิดช่วยใครไม่ได้ แล้วมีพระราชดำรัสต่อไปว่า การที่เก็บภาษีค่าหลังคาเรือนแลเก็บเอารายตัวคนที่คิดยังไม่ตกกันนั้น การสิ่งใดที่ไม่เปนการเดือดร้อนแก่ไพร่บ้านพลเมือง แลพอจะจับจ่ายแก่ราชการแล้ว ก็เห็นว่าสิ่งนั้นเปนการดี
แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีเกียรติยศ มงกุฎสยามชั้นที่ ๑ มหาสุราภรณ์ แก่พระยาสุรศักด์มนตรี (เจิม) จางวางมหาดเล็ก
แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้จ่าเร่งงานรัดรุดกรมพระตำรวจนอกซ้ายเปนพระยาศรีสุริราชวรานุวัตติพิพัฒนพิไชย อภัยภิริยพาหุ ผู้สำเร็จราชการเมืองพิไชยถือศักดินา ๑๐๐๐๐
ให้นายฉาดผู้ว่าที่พระมนตรีรักษาผู้ช่วยราชการเมืองสุโขทัย เปนพพระพรหมสงครามพระพลเมืองสุโขทัย ถือศักดินา ๑๐๐๐
เวลา ๔ ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๖ วัน ๔ ๖ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๖ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาย่ำค่ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท องค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่าง ๆ จนเวลายามเศษเสด็จออกขุนนาง ประทับบนพระแท่นแล้ว พระมนตรีพจนกิจ กรมมหาดไทย นำใบบอกอ่านกราบบังคมทูลพระกรุณา ๘ ฉบับ
ฉบับ ๑ บอกพระยาคทาธรธรณินทร์๓ ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๐๘ ท้าวสุริยวงษ์ผู้น้องราชวงษ์เมืองสุวรรณภูมิ ทำเรื่องราวยื่นต่อพระภักดีสมบัติเมืองมงคลบุรีว่า ณ วัน ๖ ๖ฯ ๒ ค่ำปีจออัฐศก อีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๕๐ คน เข้าตีปล้นราชวงษ์บ้านเตราแขวงเมืองสุวรรณภูมิ อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงราชวงษ์ ๑ หลวงศรีกรมการ ๑ สามเณรรูป ๑ ตาย แล้วอ้ายผู้ร้ายเก็บเอาทรัพย์สิ่งของกับต้อนโคกระบือไป พระภักดีสมบัติได้เอาตัวอ้ายหรุ่นถาม ให้การรับสารภาพเปนสัตย์ซัดอ้ายมีชื่อพวกเพื่อน ๕๐ คน พระภักดีสมบัติได้ออกสืบจับได้ผู้ร้าย ๕ คน เอาตัวมาถามให้การรับสารภาพเปนสัตย์ บังคับให้อ้ายผู้ร้ายนำกระบือกลางได้ ๕ กระบือ แต่อ้ายผู้ร้ายนอกนั้นยังหลบหลีกหนีไป
ฉบับ ๒ บอกพระยาสุนทรสงครามผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๐๘ ว่า วันที่ ๕ พฤศจิกายน อำเภอบ้านคลองโมงแขวงเมืองสุพรรณบุรี มาแจ้งความว่า เวลาดึกประมาณ ๒ ยามเศษ มีอ้ายผู้ร้ายปล้นเรือนจีนหู อ้ายผู้ร้ายฟันแทงจีนหูกับบุตรตกน้ำตาย แล้วเก็บเอาทรัพย์สิ่งของไป ได้สืบจับอ้ายผู้ร้ายแลบนชาวบ้านจับเปนเงินสามชั่ง ยังหาได้ตัวไม่
ฉบับ ๓ ว่า เจ้าอธิการปั้นกับราษฎรขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสีมาวัดตึกมดแดงแขวงเมืองสุพรรณบุรี โดยยาว ๑๒ วา กว้าง ๖ วา}
ฉบับ ๔ บอกพระยาไกรเพชร์รัตนสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครสวรรค์ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๐๘ ว่า วันที่ ๒๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๐๘ เวลาเช้าโมงเศษ มีอ้ายผู้ร้าย ๓๐ คน ปล้นเรือจีนทับ แขวงเมืองนครสวรรค์ อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงจีนอิ่มบุตรจีนทับตายคน ๑ จีนทับเอาปืนยิงอ้ายผู้ร้ายเจ็บป่วยหลายคน จับได้คน ๑ ชื่ออ้ายต่วน ได้เอาตัวมาถามให้การรับเป็นสัตย์ซัดพวกอีก ๓๐ คน ครั้นเวลาบ่าย ๓ โมงเศษ อ้ายต่วนขาดใจตาย ได้แต่งให้กรมการออกสืบจับอ้ายผู้ร้ายต่อไปยังหาตัวไม่
ฉบับ ๕ บอกหลวงสัจพันธคิรีผู้ว่าราชการเมืองพระพุทธบาท ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ร.ศ. ๑๐๘ ส่งสำเนาคำให้การอ้ายพันผู้ทำเงินแดงว่า หลวงสัจพันคิรีเห็นราษฎรใช้เงินแดงชุกชุม จึ่งได้บนพธำมรงคนมีชื่อออกสืบจับได้ตัวอ้ายพันอำแดงนันบ้านคอนแขวงเมืองพระพุทธบาท กับเครื่องมือ คือทั่งเหล็ก แบบเทเงินเหรียญ เหล็กขาคีมแบบเงินเหรียญ เหล็กฟันปลาสำหรับตีข้างเงินเหรียญ เหล็กพดด้วงกลักยาซัดเงินแดง เงินตราแดง ๑๘ บาท แล้วผู้มีชื่อรับสินบนนำจับได้ตัวสมีตันกับเงินตรา ๓ ตำลึง กำไลเงินทองแคง ๓ คู่ ได้นำตัวสมีตันกับของกลางมามอบพระครูเจ้าวัดพระพุทธบาทไว้แล้ว เอาตัวอ้ายพันมาถามให้การรับเปนสัตย์ซัดพวกเพื่อนแลครูทำเงินแดงอีกหลายคนยังหาได้ตัวไม่
ฉบับ ๑ บอกพระยาสุรบดินทร์ ผู้ว่าราชการเมืองไชยนาท ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๐๘ เจ้าอธิการท้วมวัดศรีเมืองกับราษฎรขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสิมาวัดท่าโพธิ์ แขวงเมืองไชยนาทโดยยาว ๑๐ วา กว้าง ๗ วา}
ฉบับ ๗ บอกพระพิเรนทรเทพข้าหลวงเมืองนครราชสีมา ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า จีนเกิดอำแดงสายบัวกับบุตรหลาน ขอรับพระราชทานที่ผูกพัทธสิมา วัดทุ่งสว่าง แขวงเมืองนครราชสีมาโดยยาว ๑๐ วา ๓ ศอก กว้าง ๗ วา ศอกคืบ}
ฉบับ ๘ บอกพระวิชิตพลหาญผู้ช่วยเมืองกาลสิน ลงวัน ๕ ๑๓ฯ ๘ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศกว่า มีตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ขึ้นไปให้ท้าวทองคำ ผู้ว่าที่พระประทุมวิเศษเจ้าเมืองหลวงศรีสงคราม ผู้ว่าที่ราชวงษ์ ขึ้นไปว่าราชการรักษาเมืองกันธวิไชย ครั้น ณ ปีกุนนพศก อุปฮาดราชบุตรเมืองกันธวิไชย ขึ้นไปรับราชการกับพระยามหาอำมาตย์ อุปฮาดราชบุตรป่วยถึงแก่กรรม พระยามหาอำมาตย์มีตรามาให้ท้าวราชกิจภักดีว่าที่อุปฮาด พระวิชิตพลหาญเห็นว่าท้าวราชกิจเปนคนสูบฝิ่น แลเก็บเงินส่วยของหลวงได้เอาไปใช้สอยเปนอาณาประโยชน์ พระวิชิตพลหาญขอรับพระราชทานท้าวทองคำเปนที่พระประทุมวิเศษเจ้าเมือง หลวงศรีสงครามเปนอุปฮาด ท้าวขัตติยะเปนราชวงษ์ หลวงจำนงภักดีเปนราชบุตร ท้าวศรีเปนหลวงจำนงภักดีผู้ช่วยราชการต่อไป
แล้วพระมนตรีพจนกิจนำท้าวทองคำผู้ว่าที่พระประทุมวิเศษเจ้าเมืองกันธวิไชย เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ทูลเกล้า ฯ ถวายทองคำทรายหนัก ๑ ตำลึง ขี้ผึ้งหนัก ๕๐ ชั่ง
พระสุรินทรามาตย์กรมพระกลาโหม นำใบบอกอ่านกราบบังคมทูลพระกรุณา ๓ ฉบับ
ฉบับ ๑ บอกพระยาเสนานุชิตผู้ว่าราชการเมืองตกั่วป่า ว่าได้จัดต้นไม้เงิน ทอง} กับเครื่องราชบรรณาการ คือเทียนพนมหนักต้นละบาทพันเล่ม อำพันหนัก ๔ ตำลึง จีนส่งเงินแทนตำลึงละ ๕ เหรียญเปนเงิน ๒๐ เหรียญ ผลจันทน์เทศหนัก ๒๐ ชั่งจีน อำพันแดงหนัก ๓๐ ชั่งจีน เสื่อทอร้อยผืน แล้วพระยาเสนานุชิตจัดสิ่งของนอกจากเครื่องราชบรรณาการ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ทับผ้าแดงเทศ ๕๐ พับ ผ้าลายย่ามหวาด ๒๐๐ ผืน เข้าทูลเกล้า ฯ ถวาย
ฉบับ ๒ บอกพระยาบริรักษภูธรผู้ว่าราชการเมืองพังงาว่า พระอุปัชฌาย (พุด) เจ้าอธิการ (แก่น) เจ้าอธิการ (คำ) เจ้าอธิการแก้ว ๔ รูปนี้เปนไข้พิศม์ถึงแก่มรณภาพ ในรัตนโกสินทร๒๒ศก ๑๐๘ ซึ่งกุลบุตรจะอุปสมบทเปนภิกษุ หามีพระอุปัชฌาย์ต่อไปไม่
ฉบับ ๓ บอกพระยาบริรักษภูธร ขอถวายพระราชกุศลในการเฉลิมพระชนม์พรรษา
จึ่งมีพระราชดำรัสถามพระยาวุฒิการบดีว่า เมืองพังงาแลเมืองตกั่วป่านั้นมีพระครูฤๅเปล่า พระยาวุฒิการบดีกราบบังคมทูลว่า ยังหาได้มีไม่ แล้วดำรัสสั่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมพระธรรมการว่า พระสงฆ์ที่จะเปนอุปัชฌาย์แก่กุลบุตรในเมืองพังงาแลเมืองตกั่วป่านั้นขอให้มียศเปนพระครูตามสมควร
แล้วพระสุรินทรามาตย์นำพระนิโครธาภิโยคกราบถวายบังคมลากลับไปรักษาราชการบ้านเมืองโปรดเกล้า ฯ พระราชทานถาดหมาก คนโท} เงินเปนเครื่องยศแลเสื้อผ้าตามธรรมเนียม แล้วนำพระสุนทรวรนารถภักดีผู้ช่วยราชการเมืองตกั่วป่า นายนุ้ยมหาดเล็กบุตรพระสมบัตยานุรักษ์ เฝ้าทูลลองธุลีพระบาท พระสุนทรทูลเกล้า ฯ ถวายพิมเสนหนัก ๑๕ ตำลึง น้ำหอมฝรั่ง ๑๒ ขวด ผ้าผืนสีต่าง ๆ ๑๐๐ ผืน นายนุ้ยทูลเกล้า ฯ ถวายโคมไขลาน ๖ โคม จึ่งมีพระราชดำรัสถามเจ้าพระยาพลเทพที่สมุหพระกระลาโหมว่า คนทั้งสองนี้เข้ามาผูกภาษีอากรฤๅมีราชการอันใด เจ้าพระยาพลเทพกราบบังคมทูลว่า เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทขอรับพระราชทานตำแหน่งยศ
แล้วพระยาศรีสิงหเทพนำนายร้อยเอก ๓ คือนายควง นายเพิ่ม นายเจริญ นายร้อยโท ๕ คือ นายพลอย นายเจ็ก นายนาก นายหรุ่น ขุนปริวัตรวิจิตร นายร้อยตรี ๒ คือ หม่อมราชวงษ์เล็ก นายป่า รวม ๑๐ นาย ซึ่งขึ้นไปราชการทัพกับพระยาสุรศักดิ์มนตรีกลับลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท จึ่งมีพระราชดำรัสปฏิสัณฐารถึงความทุกข์ศุขแลป่วยไข้พอสมควร
แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ ๗ นาย ให้
หลวงศรีราชอาศน์เจ้ากรมขาวที่บรรธม เปนพระสถานพิทักษ์จางวางกรมวังนอก ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ถือศักดินา ๑๕๐๐
ให้ขุนอนุรักษ์ราชา ปลัดกรมชาวที่พระบรรธมเปนหลวงศรีราชอาศน์ เจ้ากรมชาวที่พระบรรธม ฝ่ายพระราชวังบวร ฯ ถือศักดินา ๕๐๐
ให้ขุนประเสริฐอักษรนายงานกรมวัง เปนขุนสกลมณเฑียร ปลัดกรมวังนอกซ้าย ฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา ๓๐๐
ให้ขุนสัมพาหะแพทย์ เปนขุนวาตาพินาศ ปลัดกรมหมอนวดขวา ฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา ๔๐๐
ให้หลวงรามสิทธิศรยกรบัตร เปนพระนครพราหมณ์ปลัดเมืองลพบุรี ถือศักดินา ๖๐๐
ให้หลวงมหาดไทย เปนหลวงคีรีพิทักษผู้ช่วยราชการเมืองกาญจนบุรี ถือศักดินา ๔๐๐
ให้จีนกอยุซินบุตรพระยารัตนเศรษฐี เปนหลวงพิไชยชินเขตร ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ถือศักดินา ๔๐๐
เวลา ๔ ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๗ วัน ๕ ๗ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๗ มีนาคม รัตนโกสินครศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาบ่าย เจ้าพนักงานจัดการในพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ตั้งราชบัลลังก์เหนือพระแท่นน่าพระที่นั่งเสวตรฉัตร แลเชิญพระแสงง้าวทอดประจำซ้าย ขวา} แลตั้งโต๊ะเบื้องขวารองพระขันหมากพระสุพรรณศรีไม้สิบสอง เบื้องซ้ายรองพระมณฑปไม้สิบสอง พระสุพรรณราชลงยานั้นตั้งที่เชิงราชบัลลังก์ข้างซ้าย แลนำต้นไม้ทอง เงิน} กับเครื่องราชบรรณาการเข้ามาตั้งน่าพระที่นั่ง
เวลาย่ำค่ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทางพระทวารเทวราชมเหศร์ ประทับเหนือราชบังลังก์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย} เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทโดยลำดับ เจ้าพนักงานประโคมมหรธึกแตรสังข์แตรฝรั่งตามธรรมเนียม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานนำแสนท้าวพระยาลาวเมืองนครลำปาง แพร่} เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท พระยาศรีสิงหเทพ นำศุภอักษรเมืองนครลำปาง ฉบับ ๑ ใบบอกเมืองแพร่ ฉบับ ๑ อ่านกราบบังคมทูลพระกรุณา
ศุภอักษรนั้น ลงวันที่ ๕ มกราคม ร.ศ. ๑๐๘ ความว่า เจ้านครลำปางแลเจ้านายบุตรหลานพระยาลาวท้าวแสนเมืองนครลำปาง จัดได้ต้นไม้ทองสูง ๒ ศอกคืบ ๕ ชั้น มีดอก ๑๐๖ ดอกทองหนัก ๖ ตำลึง ๒ บาท ต้น ๑ ต้นไม้เงินสูงสองศอกคืบมีชั้น ๕ ชั้น ดอก ๑๐๙ ดอก เงินหนักหนึ่ง ๑ ชั่ง ต้น ๑ กับเครื่องราชบรรณาการคืองาช้าง ๒ กิ่งหนัก ๕๐ ชั่งจีน หมอน ๓ เหลี่ยม ๕ หมอน เสื่อตอง ๕ ผืน จำนวนปีกุนนพศก แต่งให้นายหนานบุญทวงษ์บุตรเจ้าอุปราช ๑ นายน้อยแก้วเมืองมูลบุตรเจ้าราชวงษ ๑ คุมลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย จำนวนคนนายไพร่}ที่คุมเครื่องราชบรรณาการลงมารวม ๘๕ คน
ใบบอก พระเมืองราชา พระไชยราชา พระวิเศษราชา พระไชยสงคราม พระอินทรราชา พระสุริยแสนท้าวเมืองแพร่ ลงวันที่ ๒ มกราคม ร.ศ. ๑๐๘ ความว่า พระยาพิมพิศาลราชาเจ้าเมืองป่วยถึงแก่กรรม โปรดเกล้า ฯ พระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงแลสิ่งของต่าง ๆ ขึ้นไปทำการเผาศพพระยาพิมพิศาลราชาเสร็จแล้ว ขอถวายพระราชกุศล แลท้าวพระยาผู้ใหญ่ผู้น้อย}ปฤกษาเห็นพร้อมกันว่า พระยาอุปราชเปนบุตรพระยาพิมพิศาลราชา สมควรจะได้รับราชการรักษาบ้านเมืองต่อไป จึ่งได้จัดต้นไม้ทองสูง ๓ ศอก ๕ ชั้น มีดอก ๙๒ ดอก ทองหนัก ๓ ตำลึง ต้นไม้เงินสูงต่ำเท่าต้นไม้ทอง มีดอก ๙๒ ดอก เงินหนัก ๕ ตำลึง ให้พระยาอุปราชคุมลงมาทูลเกล้า ฯ ถวายขอรับพระราชทานพระยาอุปราชเปนที่พระยาพิมพิศาลราชาเจ้าเมืองต่อไป กับพระยาอุปราชจัดได้งาช้าง ๒ กิ่ง หนัก ๕๐ ชั่งจีน หมอน ๓ เหลี่ยมหมอน ๑ เบาะนั่งปักไหมทองเบาะ ๑ ขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวาย แลคนที่คุมเครื่องราชบรรณาการ รวมนายไพร่} ๑๐๑ คน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสแสดงความยินดีในการที่เจ้านครลำปางแลเจ้านายพระยาลาวได้มีความสวามิภักดิ์ จัดต้นไม้ทองเงิน} แลเครื่องบรรณาการลงมา เปนเครื่องแสดงความสุจริต แลมีพระราชดำรัสแก่พระยาอุปราชว่า ซึ่งแสนท้าวพระยาลาวปฤกษาเห็นพร้อมกันที่จะให้พระยาอุปราชเป็นผู้รักษาราชการบ้านเมืองต่อไปนั้น เปนการตกลงที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาอุปราชเป็นเจ้าเมืองแพร่ต่อไป เวลาทุ่มเศษเสด็จขึ้น เจ้าพนักงานประโคมตามธรรมเนียม.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๘ วัน ๖ ๘ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๘ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาย่ำค่ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่าง ๆ จนเวลายามเศษ แล้วเสด็จออกมาประทับเก้าอี้ที่มุขกระสรรด้านตวันตกที่เสด็จออกขุนนาง ทรงพระราชดำริห์ในการที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปเมืองฝ่ายทเลตวันตกเป็นต้น พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมติอมรพันธ์ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าไชยันตมงคล ๑ เปนการตกลงที่จะเสด็จพระราชดำเนิน วันที่ ๑๖ เดือนเมษายน ประทับอยู่จนเวลา ๗ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น.
วันที่รัชกาล ๗๘๐๙ วัน ๗ ๙ฯ ๕ ค่ำ ปีขาน ยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๒๙ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาย่ำค่ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่างๆจนเวลายามเศษเสด็จออกขุนนาง ประทับเหนือพระแท่นแล้ว เจ้าพนักงานประโคมแตรแลมหรธึกตามเคยเมื่อสุดเสียงลง พระมนตรีพจนกิจกรมมหาดไทยนำศุภอักษรเจ้านครลำปาง ๑ ใบบอก ๖ รวม ๗ ฉบับ อ่านกราบบังคมทูลพระกรุณา
ศุภอักษรเจ้าพรหมาภิพงษ์ธาดา เจ้านายบุตรหลานพระยาลาวท้าวแสนเมืองนครลำปางลงวันที่ ๕ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ ว่าตำแหน่งที่เจ้าราชสัมพันธวงษ์ เจ้าราชภาคินัยว่างอยู่ ขอรับพระราชทานนายหนานบุญทวงษบุตรเจ้าอุปราช เป็นที่เจ้าราชสัมพันธวงษ์ นายน้อยแก้วเมืองมูลบุตรเจ้าราชวงษ์ เป็นที่เจ้าราชภาคินัย รับราชการฉลองพระเดชพระคุณ} ต่อไป
ฉบับ ๒ บอกหลวงนากรมการผู้รักษาเมืองนครนายก ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า มีตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ออกไปให้สืบเสาะจับผู้ร้ายรายปล้นจีนหงี จีนเจง} ให้จงได้นั้น หลวงนากรมการผู้รักษาเมืองได้แต่งให้กำนัลอำเภอออกสืบจับยังหาได้ตัวไม่
ฉบับ ๓ ส่งสำเนาคำตราสินนายร้อยแก้ว ว่าวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๐๘ เวลาดึกประมาณ ๒ ยามเศษมีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๓๐ คน ถือเครื่องสาตราวุธครบมือกันพูดจาสำเนียงเปนลาว เข้าตีปล้นเรือนนายร้อยแก้วบ้านนายหินลาดแขวงเมืองนครนายก อ้ายผู้ร้ายตีเจ้าของทรัพย์มีบาดแผลหลายแห่ง เก็บเอาทรัพย์สิ่งของไป คิดรวมเปนเงิน ๕ ชั่ง ๑๙ ตำลึง ๓ สลึง หลวงนากรมการได้แต่งให้กำนัลอำเภอออกสืบจับยังหาได้ตัวไม่
ฉบับ ๔ ว่า วันที่ ๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๐๘ เวลาดึกประมาณ ๒ ยามเศษ มีอ้ายผู้ร้าย ๘ คน ถือเครื่องสาตราวุธครบมือกันยิงปืน ๘ นัดโห่ร้องเข้าปล้นเรือนอำแดงอ่วมบ้านท่าช้าง แขวงเมืองนครนายก อ้ายผู้ร้ายเก็บเอาทรัพย์สิ่งของกับเงินชั่ง ๑ ไป หลวงนากับกรมการได้แต่งคนมีชื่อออกบนบาลแลสืบจับยังหาได้ตัวไม่
ฉบับ ๕ ว่า วันที่ ๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๐๘ เวลาเช้าจีนแซบิดาจีนเมี้ยงบุตร หาบสินค้ามีผ้าพรรณนุ่งห่มไปขายบ้านตกุตรังแขวงเมืองนครนายก อ้ายผู้ร้าย ๕ คน เข้าตีฟันจีนแซจีนเมี้ยงมีบาดแผลแกรรจ์หลายแห่ง แย่งเอาทรัพย์สิ่งของไป กรมการกับนายเทศราษฎรจับตัวได้ อ้ายพรหมผู้ร้ายกับผ้าพรรณนุ่งห่มของกลางมาส่งที่ศาลากลาง ได้ถามอ้ายพรหมให้การรับสารภาพเปนสัตย์ ซัดถึงอ้ายมีชื่ออีก ๔ คนอยูบ้านกระดูกเขาใหญ่แขวงเมืองนครราชสีมา แต่สำนักอาศรัยอยู่ที่บ้านอำแดงชัง ได้แต่งให้ผู้มีชื่อออกจับได้ตัวมาทั้ง ๔ คน ถามให้การรับสารภาพเปนสัตย์ แต่จีนแซนั้นป่วยบาดแผลอยู่ได้ ๑๖ วันตาย กรมการยังสืบจับพวกเพื่อนอ้ายผู้ร้ายต่อไป
ฉบับ ๖ ส่งสำเนาคำตราสินจีนยี่สุ่นกับคำให้การอ้ายคำผู้ร้ายว่าวันที่ ๑๐ มกราคม ร.ศ. ๑๐๘ เวลาเช้ามีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๖๐ คน เข้าปล้นเรือนจีนยี่สุ่นบ้านบางอ้อแขวงเมืองนครนายก อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงถูกนายสินพวกเจ้าของทรัพย์ตายคน ๑ ป่วย ๓ คน แล้วอ้ายผู้ร้ายเก็บเอาทรัพย์สิ่งของกับเงินตรา ๓๗ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ๑ บาท ของจีนยี่สุ่นไป จีนยี่สุ่นจับอ้ายคำผู้ร้ายได้คน ๑ เอาตัวมาถามให้การสารภาพรับเปนสัตย์ซัดถึงพวกเพื่อน ๖๐ คน แต่อยู่ต่างเมืองกัน อ้ายคำผู้ร้ายอยู่ได้ ๕ ชั่วโมง ขาดใจตาย หลวงนาผู้รักษาเมืองกรมการจะติดตามจับผู้ร้ายต่างเมืองเหลือสติกำลังจึ่งรออยู่
ฉบับ ๗ บอกพระพยุหาธิบาลผู้ว่าราชการเมืองพยุหคิรี ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ร.ศ. ๑๐๘ ว่า วันที่ ๙ กรกฎาคม เวลาดึก ๒ ยามเศษ มีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๓๐ คน ถือปืนครบมือกันเข้าไปตีปล้นเรือปากเตา บ้านท่าน้ำอ้อย แขวงเมืองพยุหคิรี อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงถูกจีนมีชื่อเจ็บป่วยคน ๑ ถูกเด็กอายุ ๕ ขวบตายคน ๑ อ้ายผู้ร้ายเก็บเอาทรัพย์สิ่งของไป
รายหนึ่งวันที่ ๑๔ กันยายน เวลาดึก ๒ ยามเศษ มีอ้ายผู้ร้ายประมาณ ๓๐ คน เข้าตีปล้นเรือนจีนหลี แขวงเมืองพยุหคิรี อ้ายผู้ร้ายเอาปืนยิงเจ้าของทรัพย์หนีไป แล้วเก็บเอาทรัพย์สิ่งของคิดเป็นเงิน ๑๓ ชั่ง ๖ ตำลึง บาทเฟื้อง จีนหลีเจ้าของทรัพย์เห็นอ้ายผู้ร้ายสักขาคำพูดสำเนียงเป็นลาว มีขวดน้ำมันกระดึงผูกคอทุกคน ผู้รักษาเมืองกรมการได้แต่งให้กำนัลอำเภอออกสืบจับยังหาได้ตัวไม่
แล้วนำข้อความของพระยาอุปราชเมืองแพร่กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระยาอุปราชขอรับพระราชทานพระไชยราชาเปนพระบุรีรัตน์ นายน้อยอินตะบุตรพระยาแพร่อินทวิไชยเปนที่พระไชยราชา รับราชการฉลองพระเดชพระคุณ} ต่อไป
แล้วพระสุรินทรามาตย์กรมพระกระลาโหมนำใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณา ๓ ฉบับ
ฉบับ ๑ บอกพระยาอมรินทรฦๅไชยผู้ว่าราชการเมืองราชบุรี ว่าเงินค่านาจำนวนปีมเสงตรีศก เงิน ๒๘๘ ชั่ง ๑๔ บาท สองสลึงเฟื้อง พระยาอมรินทรฤๅไชยได้ส่งเข้ามา ๒ ครั้งเงิน ๘๑ ชั่ง ครั้งนี้ได้ส่งอีกเงิน ๑๙๘ ชั่ง ๑๖ ตำลึงกึ่งสลึงเสร็จจำนวนแล้ว
ฉบับ ๒ บอกพระยาประสิทธิสงครามผู้ว่าราชการเมืองกาญจนบุรีมีความว่า ในจำนวนปีกุนนพศกจีน ๑๒๘ คนเก็บเงินส่วยแทนไม้ซี่เขื่อนคนละ ๖ บาท เงิน ๙ ชั่ง ๑๒ ตำลึง หัก ๑๐ ลดพระราชทาน นายกอง ๑๐ ชัก ๒ คงส่ง ๗ ชั่ง ๑๓ ตำลึงกึ่งสลึงได้ส่งเงินเสร็จแล้ว
ฉบับ ๓ ว่า มีตราพระคชสีห์โปรดเกล้า ฯ ออกไปว่า ซึ่งพระยาประสิทธิสงครามมีบอกเข้าไปว่า ขุนสุนทรภาษาขอรับเช่าทำไม้ขอนสักตำบลลำแม่กระษัตริย์ แขวงเมืองสังขละบุรีล่องไปขายเมืองมรแมนแห่ง ๑ ตำบลลำปิลอกแขวงเมืองท้องผาภูมล่องลงมาขายกรุงเทพ ฯ แห่ง ๑ ให้พระยาประสิทธิสงครามหาตัวขุนสุนทรภาษามาทำหนังสือสัญญาเช่า รับทำป่าไม้ขอนสักตามแบบอย่าง แล้วส่งเข้ามายังกรุงเทพ ฯ นั้น ผู้รักษาเมืองกรมการได้หาตัวขุนสุนทรภาษามารับทำสัญญา แลได้มอบหนังสือสัญญาให้หลวงกลางกรมการนำมาส่งแล้ว เมื่อกราบบังคมทูลใบบอกแล้ว จึงมีพระราชดำรัสถามพระยานครศรีธรรมราชว่า ช้างที่เมืองนครศรีธรรมราชมีมากน้อยเท่าใด พระยานคร กราบบังคมพระกรุณาว่า มีอยู่ ๑๐๐ ช้าง ดำรัสว่าช้างที่จะเป็นช้างพระที่นั่งได้มีอยู่กี่ช้าง กราบบังคมทูลว่า มีอยู่ ๒ ช้าง จึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชออกไปจัดช้างมาคอยรับเสด็จที่เมืองชุมพร
อนึ่งเจ้าพระยาพลเทพ๔ที่สมุหพระกลาโหมเข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทในที่เสด็จออกขุนนาง เวลานั้นเปนลมให้วิงเวียนศีศะ ต้องกราบถวายบังคมลาออกจากที่เฝ้า จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันต์มงคลเสด็จมาช่วยพยาบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นจากขุนนางแล้ว ดำรัสสั่งให้เรียกหมอนวดแลทรงนำน้ำหอมมาพระราชทานต่อพระหัดถ์แล้วดำรัสว่าเหงื่อออกโทรมหน้าทีเดียว โปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์เจ้าไชยันตมงคลช่วยประทับที่น่าขา เวลา ๕ ทุ่มเศษเจ้าพระยาพลเทพค่อยคลายสบายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น
เสด็จประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย.
วันที่รัชกาล ๗๘๑๐ วัน ๑ ๑๐ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเปนเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๓๐ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาทุ่มเศษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่าง ๆ จนเวลายามเศษเสด็จออกขุนนางประทับเหนือพระแท่นแล้ว พระมนตรีพจนกิจกรมมหาดไทย นำใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณา ๙ ฉบับ
ฉบับ ๑ บอกพระยาสุโขไทยข้าหลวงเมืองพิไชย ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๐๘ ว่า พระศรีพิไชยสงครามปลัดซ้ายป่วยถึงแก่กรรม ขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงขึ้นไปเผาศพกับได้ส่งถาดหมาก คนโท เงินเครื่องยศพระพิไชยสงครามปลัดซ้ายลงมาด้วยแล้ว
ฉบับ ๒ ว่า นายร้อยโทนายพริ้ง นายร้อยตรีนายปิด} กับไพร่พลทหาร เชิญตราพระราชสีห์แลคุมเงิน ปืน} กระสุนดินดำสิ่งของต่าง ๆ ขึ้นไปส่งพระยาสุรศักดิ์มนตรี ณ เมืองหลวงพระบาง ให้พระยาศุโขไทยข้าหลวงเกณฑ์ช้างส่งนายร้อยโทนายพริ้ง นายร้อยตรีนายปิด} ให้ถึงบ้านปากลายนั้น ได้เกณฑ์ช้าง เรือ คน} ส่งนายแลไพร่ไปเมืองอุทัยธานีแล้ว กับได้จัดเข้าลำเลียงไปขึ้นฉางเมืองอุทัยธานี เมืองน้ำปาด} ไว้สำหรับจ่ายแลได้แต่งกรมการผลัดเปลี่ยนกันรักษาฉางเข้า กับได้ให้พระตรอนตรีศิลป์ไปเกณฑ์ช้างบรรทุกสายโทรเลขพร้อมด้วยขุนชำนาญภักดีอยู่ ณ เมืองอุตรดิฐ พระตรอนตรีศิลป์มีหนังสือมาว่า ได้จัดช้างบรรทุกสายโทรเลขวางตามระยะทางจนถึงเมืองอุไทยธานีแล้ว
ฉบับ ๓ ว่า พระศรีพนมมาศเจ้าเมืองทุ่งยั้งเมืองขึ้นเมืองพิไชยป่วยถึงแก่กรรมขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงขึ้นไปเผาศพ
ฉบับ ๔ บอกพระยาไชยวิชิตผู้รักษากรุงเก่า ลงวันที่ ๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า ได้จัดเกวียนส่งหลวงธรรมาภิมณฑ์กับสิ่งของขึ้นไปบูชาพระพุทธบาทแล้ว แลได้รับสิ่งของ ๆ หลวงที่หลวงธรรมาภิมณฑ์บูชาพระพระพุทธรูปวัดพนัญเชิง วัดสุวรรณ์ดาราราม} พระเจดีย์วัดศรีสรรเพ็ธแล้ว
ฉบับ ๕ บอกหลวงสัจพันธ์คีรีผู้รักษาการพระพุทธบาท ลงวันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า ได้พร้อมกับหลวงธรรมาภิมณฑ์อาราธนาพระมงคลเทพกับถานานุกรมรวม ๕ รูปเจริญพระพุทธมนต์ แลได้จัดสิ่งของ ๆ หลวงบูชาพระพุทธบาท พระพุทธในถ้ำประทุน ถ้ำวิมานจักรกรี} เสร็จแล้ว
ฉบับ ๖ บอกหลวงแพ่ง หลวงนา} กรมการเมืองสระบุรี ลงวันที่ ๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า จ่าแรงรับราชการข้าหลวง พระสยามลาวบดีปลัดไปราชการหาอยู่ไม่ หลวงแพ่ง หลวงนา} กรมการได้จัดเกวียนบันทุกสิ่งของ ๆ หลวง จัดให้หลวงวังกรมการคุมขึ้นไปบูชาพระพุทธฉายาลักษณ์พร้อมด้วยหลวงธรรมาภิมณฑ์ แลได้รับหลวงธรรมาภิมณฑ์มาถึงท่าเรือบ้านอ้อยแล้ว
ฉบับ ๗ ว่า พระครูศีลวิสุทธิญาณมุนี วัดเขาแก้ว อาพาธเปนไข้อหิวาตะกะโรคถึงแก่มรณภาพ ขอรับพระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงขึ้นไปเผาศพ พระครูศีลวิสุทธิญาณมุนี
ฉบับ ๘ บอกพระอินทรประสิทธิศรผู้ว่าราชการเมืองอินทรบุรี ลงวันที่ ๑๓ มินาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า โรงพยาบาลที่เมืองอินทรบุรี จำนวนเดือน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ } ร.ศ. ๑๐๘ หมอได้ให้ยาแก่พระสงฆ์สามเณรแลราษฎรข้าราชการขึ้นล่อง ๓ เดือน เปนคน ๕๖๘ คน ขอถวายพระราชกุศล
ฉบับ ๙ บอกพระยาสุจริตรักษาผู้ว่าราชการเมืองตาก ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๐๘ ว่า พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าพระสวัสดิโสภณ เสด็จขึ้นไปประทับแรมอยู่ ณ เมืองตาก ๗ ราตรี ได้จัดให้พระศักดาเรืองฤทธิ์ปลัดกรมการนายไพร่ ๕๐ คน กับช้าง ๑๘ ช้าง ส่งเสด็จขึ้นไปเมืองนครลำปาง นครเชียงใหม่ } แล้ว เสด็จกลับมาทางเรือประทับแรมอยู่ที่เมืองตาก ได้จัดเรือ คน} ส่งเสด็จถึงเรือกลไฟ ณ เมืองนครสวรรค์แล้ว
พระสุรินทรามาตย์กรมพระกระลาโหมนำใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณา ๔ ฉบับ
ฉบับ ๑ บอกหลวงราชเสนีข้าหลวงเมืองราชบุรีว่า วันที่ ๙ กันยายน ร.ศ. ๑๐๘ ได้เชิญท้องตราวางต่อพระยาอมรินทร์ฦๅไชย ๆ ได้จัดให้พระสุนทรบริรักษผู้ช่วยมอบให้หลวงราชเสนีข้าหลวง ครั้นวันที่ ๒๔ กันยายน นายบุญไลน์แมนนายช่างพร้อมด้วยพระสุนทรบริรักษ์เสมียนตัวเลขไปตรวจเสาสายโทรเลขเปลี่ยนแลแต่งใหม่ ตำบลคลองบางตาจ่าบ้านวัดโคกบ้านทุ่งกระถิน จนถึงมุมพระราชวัง วันที่ ๓๐ กันยายน หลวงราชเสนีนายบุญไลน์แมน พระสุนทรบริรักษกรมการขุนหมื่นคุมเลข ๔๑ คน กับม้าแลเกวียน ๒๘ เกวียน บรรทุกเครื่องสายโทรเลขไปตรวจเปลี่ยนแต่งใหม่ ตั้งแต่มุมกำแพงพระราชวังไปถึงตำบลห้วยอ่างทอง บ้านหนองบัว บ้านบางเค็ม จนถึงพรมแดนสิ้นเขตรเมืองราชบุรี หลวงราชเสนีกับผู้รักษาเมืองกรมการเห็นว่า ที่จะตั้งโรงสเตแช่นสำหรับเจ้าพนักงานแลผู้ที่จะรักษาตรวจเสาสายโทรเลขพักอยู่นั้น ที่บางนกแขวกฝั่งตวันตกหลัง ๑ ออฟฟิศน่าเมืองราชบุรีหลัง ๑ ห้วยชินสีหลัง ๑ ห้วยโรงหลัง ๑ รวมเปนเสา ๕๑๖ ต้น ระยะทาง ๑๐๓๒ เส้น ออฟฟิศ ๑ โรงสเตแช่น ๓ โรง กับหลวงราชเสนีข้าหลวง นายบุญไลน์แมนนายช่าง กราบถวายบังคมลาไปรับราชการ ณ เมืองเพ็ชร์บุรีต่อไป
ฉบับ ๒ บอกพระยาอมรินทรฦๅไชยผู้ว่าราชการเมืองราชบุรีว่า ได้เกณฑ์เลขไพร่สมกองเจ้าเมืองกรมการ ๕๐ คน แลขอแรงเกวียนโคราษฎรชาวบ้าน ๒๘ เกวียน ให้หลวงราชเสนีข้าหลวง นายบุญไลน์แมน พร้อมด้วยพระสุนทรบริรักษ์ผู้ช่วยไปตรวจทางปักเสาพาดสายโทรเลขซึ่งชำรุดในแขวงเมืองราชบุรีแล้ว กับที่เมืองราชบุรีจะโปรดเกล้า ฯ ให้เกณฑ์เลขสมกรมการกองด่านแลเลขส่วยเงิน เสา} ส่วย ฝาง ปาน} รักษาสายโทรเลขประการใด แล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ฉบับ ๓ ว่า วันที่ ๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๐๘ จีนไล้ จีนแจ้ว จีนโห้ มาแจ้งความว่า จะสูบถลุงแร่ดีบุก พระยาอมรินทรฦๅไชย จัดให้หลวงอินทรสงครามกองด่านไปตรวจดูได้เนื้อดีบุกพันสามร้อยชั่งไทย แลได้ชักสิบลด ๑ ไว้เปนหลวง ได้เนื้อดีบุกร้อยสามสิบชั่งไทยมอบให้ขุนจันทรบุรี กรมการคุมเข้ามาส่งแล้ว
ฉบับ ๔ บอกพระยาบริรักษภูธรผู้ว่าราชการเมืองพังงาว่า ได้จัดเงินอากรดีบุก ซึ่งขึ้นฝ่ายพระราชวังบวร จำนวนปีวอกฉ๑๗ศก ๒๐ ชั่ง ปีรกาสัปต๑๘ศก ๒๐ ชั่ง} รวม ๒ จำนวน เปนเงิน ๔๐ ชั่ง คิดชั่งละ ๔๘ เหรียญ เปนเงิน ๑๙๒๐ เหรียญ ได้ให้ ขุนสนิทภักดี หมื่นนรินทรโยธา } กรมการคุมเข้ามาส่งแล้ว
พระยานรินทรราชเสนีนำ หลวงพิไชยชินเขตรผู้ช่วยราชการเมืองระนอง กราบถวายบังคมลาไปรักษาราชการบ้านเมือง แลจะได้ตามเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ออกไปตรวจทางที่จะได้เสด็จพระราชดำเนินไปถึงเมืองรนองครั้งนี้ด้วย แล้วพระราชทานเสื้อผ้าสำรับ ๑ ตามธรรมเนียม
แล้วโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพานทองคำใหญ่มีเครื่องพร้อม ๑ กระโถนทองคำ ๑ คนโททองคำ ๑ เปนเครื่องยศแก่พระยาไกรโกษา๕ ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้ออกไปเปนอรรคราชทูต ณ เมืองฝรั่งเศสนั้นกลับเข้ามา จึงมีพระราชดำรัสปฏิสัณฐารว่า ซึ่งได้ออกไปราชการครั้งนี้เปนการลำบากเหน็ดเหนื่อยมากอยู่ แต่เปนการราชการแผ่นดิน เวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น
วันนี้มีประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย.
วันที่รัชกาล ๗๘๑๑ วัน ๒ ๑๑ฯ ๕ ค่ำ ปีขานยังเป็นเอก๒๒ศก ๑๒๕๑
วันที่ ๓๑ มีนาคม รัตนโกสินพรศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒)
เวลาบ่ายวันนี้ เจ้าพนักงานจัดการที่จะได้สวดมนต์ ณ โรงเลี้ยงเด็ก ที่ตำบลสวนมลิริมถนนบำรุงเมือง แลจะได้เปิด ณ วันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์๒๓ศก ๑๐๙ นี้ เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแลพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีกิรม เสด็จออกประทับรถพระที่นั่งแต่เกยพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจทหารขี่ม้านำตามเสด็จ ออกประตูพิมานไชยศรีวิเศษไชยศรี เลี้ยวป้อมเผด็จดัษกรไปทางถนนบำรุงเมืองออกประตูยอด ไปประทับ ณ โรงเลี้ยงเด็กแล้ว เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับพระราชบัลลังก์ เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเปนประธานเสด็จมาพร้อมอยู่ที่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระอรรคชาธาเธอ ทรงประเคนผ้าไตรยแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์ครองไตรเสร็จแล้ว มานั่งที่ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสถวายศีลทรงศีลแล้ว พระอริยมุนีถวายขัดตำนานพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์สัตปริต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรในโรงเลี้ยงเด็กแลบริเวณทั่วแล้ว เสด็จมาประทับที่พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบแล้ว ถวายอติเรกแล้วกลับไป เวลาทุ่มเศษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระอรรคชายาเธอ เสด็จกลับทางเดิมเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง แล้วประทับที่พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทองค์กลาง ทอดพระเนตรเครื่องโต๊ะลายครามต่าง ๆ จนเวลา ๔ ทุ่มเศษเสด็จขึ้น
วันนี้ มีการประชุมปฤกษาราชการข้างในด้วย
อนึ่ง โรงเลี้ยงเด็กที่ได้จัดทำขึ้นใหม่นี้ ด้วยพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรม๖ มีพระประสงค์จะบำเพ็ญพระกุศลให้เปนการถาวรวัตถุเปนที่ระลึก แลอุทิศส่วนพระกุศลประทานแก่พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรีพระธิดา ซึ่งสิ้นพระชนม์ล่วงไปนั้น จึงทรงพระดำริห์เห็นว่าการทำนุบำรุงทารกแลเด็กชายหญิง ซึ่งเปนบุตรของคนยากจนให้พ้นอันตรายแลพ้นทางทุจริตต่าง ๆ ย่อมจะเปนการกุศลทานมัยบุญกิริยาวัตถุอันประเสริฐแลเปนการสมควรอย่างยิ่ง เพราะยังมิได้มีผู้ใดจัดขึ้นให้ปรากฏในพระราชอาณาเขตรมาแต่ก่อน จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลแลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๆ ก็ทรงพระโสมนัสอนุโมทนาในพระกุศลเจตนาอันพิเศษนี้ แลจะทรงพระราชธุระช่วยอุปการบำรุงด้วยพระบรมราชานุภาพให้การสำเร็จตลอดไปตามประสงค์ทุกประการ
พระอรรคชายาเธอ จึ่งได้ทรงบริจาคทรัพย์เปนอันมาก ซื้อทั้งที่ดินแลที่ตึกเรือนโรงต่าง ๆ ซ่อมแซมก่อสร้างบริเวณแลเครื่องใช้เครื่องแต่งทั้งปวงบริบูรณ์พร้อมเสร็จ จัดเปนโรงสำหรับเลี้ยงเด็กขึ้นที่ได้กล่าวแล้ว เพื่อจัดการบำรุงเลี้ยงทารกแลเด็กชายหญิงบุตรคนยากจนต่อไป
โรงเลี้ยงเด็กนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดให้เรียกชื่อว่า “โรงเลี้ยงเด็กของพระอรรคชายาเธอ” เพราะอรรคชายาเธอได้ทรงพระดำริห์แลบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น ทั้งจะทรงทำนุบำรุงโดยพิเศษส่วนพระองค์เองต่อไปเปนนิตย์.๗
-
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา ↩
-
2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ↩
-
3. พระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ ↩
-
4. เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยันต์) ภายหลังเป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ↩
-
5. พระยาไกรโกษา (เทด) ↩
-
6. พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในรัชกาลที่ ๗ ↩
-
7. เรื่องโรงเลี้ยงเด็กมีกล่าวอย่างพิสดารในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗ หน้า ๗ ร.ศ. ๑๐๙ และในหนังสือตำนานโรงเลี้ยงเด็ก พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ↩