กง |
วงกลม เป็นวง |
ก่ง |
โก่ง ทำให้โค้งด้วยกำลัง |
กถาจารย์ |
ตัดศัพท์จากอรรถกถาจารย์ ผู้อธิบายขยายความคัมภีร์พระไตรปิฎก |
กรกฎ |
ปู (สัตว์น้ำชนิดหนึ่ง) |
กรกุณฑพิธี |
ตัดศัพท์จาก กระลากรกุณฑพิธี คือพิธีบูชายัญ |
กรม |
ตามลำดับ |
กรรกง |
ล้อมเป็นวง |
กระกูล ตระกูล |
เชื้อสาย เผ่าพันธุ์ |
กระลอก |
กระลอก กลอก กลิ้งไปมา |
กระลับกระลอก |
กลับกลอก กลับไปกลับมา กลิ้งไปมา |
กระลากรกูณฑ์ |
พิธีบูชาไฟ หรือพิธีบูชายัญ |
กระหม่า |
ประหม่า สะทกสะท้าน พรั่นใจ กระหม่าบ่าใจ ความสะทกสะท้านล้นออกจากใจ |
กระหม่าว |
มีอาการฟั่นเฟือน |
กราน |
ก้มลงกราบ หมอบ คลาน |
กฤดาญภิวันทน์ |
การทำความเคารพอย่างยิ่ง ตัดจากศัพท์ กฤต+อัญชลี+อภิวันทน์ = กฤตาญหลี อภิวันทน์ |
กฤดาทวาบรยุค |
กฤตยุคและทวาบรยุค ยุคที่ ๑ และ ๓ ในยุคทั้ง ๔ |
กลาด |
เกลื่อนไป |
กลียุค |
ยุคร้าย เป็นยุคสุดท้ายใน ๔ ยุค |
กวด |
ขันเกลียวให้แน่น กดลงให้สนิท |
กษณะ |
ขณะ |
กรรมพฤกษ์ กำมพฤกษ์ |
ต้นกัลปพฤกษ์สำหรับอุทิศทาน |
กัมพุช |
กัมพูชา ประเทศกัมพูชา |
กาญจนาภรณ์ |
เครื่องประดับที่ทำด้วยทอง |
กามภูมิ |
ภูมิที่ยังข้องอยู่ในเบญจกามคุณ มี ๑๑ ชั้น คือ ฉกามาพจรภูมิ ๖ มนุสสภูมิ ๑ นรกภูมิ ๑ เปตภูมิ ๑ อสุรกายภูมิ ๑ ติรัจฉานภูมิ ๑ |
การกธรรม |
ผู้ปฏิบัติธรรม |
กาลาคนิรุทร, |
เพลิงกาล ไฟร้ายยิ่ง |
กิเลน |
สัตว์ในนิยาย หัวเป็นมังกร ตัวเป็นกวาง เท้ามีกีบอย่างม้า หางเป็นพวง |
กินมัน |
ตกมัน อาการของช้างเพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์ |
กุณฑ์, กูณฑ์ |
หลุมไฟ หม้อไฟ |
กุณฑล |
ต่างหู ตุ้มหู |
กุน |
ปีกุน ปีสุดท้ายใน ๑๒ นักษัตร |
กุสุม |
ดอกไม้ |
กูมภ์ |
กุมภา จระเข้ |
เกย |
ที่สำหรับประทับราชยาน |
เกาทัณฑ์ |
ธนู |
เกาปิล |
แหวนสำหรับใช้ในพิธีพราหมณ์ |
เกราะ |
เครื่องหุ้มภายป้องกันอันตราย |
แกล้ง |
ตั้งใจ จงใจ |
โกญจนาท |
เสียงช้างร้องดุจเสียงนกกระเรียน |
โกฏิ |
จำนวน ๑๐ ล้าน |
โกฏฐาคาร |
พระคลัง อาคารมียอด |
โกมุท |
ช้างสำคัญตระกูลหนึ่ง กายสีดุจดอกบัวแดง |
โกลาหล |
เสียงกึกก้อง กระฉ่อน เอิกเกริก |
โกสีย์ |
พระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ |
ไกร |
ยิ่ง มาก |
ไกรสรสีห |
ราชสีห์จำพวกหนึ่งมีแผงขนที่คอ |
ไกวัล |
สวรรค์ |
คณ |
คณะ หมู่ พวก |
คณนา |
การนับ การคำนวณ |
คนธมาลา |
ดอกไม้หอม |
ค้น |
หา สืบสาว ค้นขึ้นถึงพรหม ขึ้นไปจนถึงพรหมโลก |
คันธกุฎี |
กุฏิสงฆ์ที่สร้างด้วยไม้เนื้อหอม |
ครุบ |
ตะครุบ |
ครรชิต |
บันลือเสียงกึกก้อง |
คระแลง |
เอียง โคลงเคลง ลอยไป |
คระไล |
ไป |
คระหอบคระหิว |
ความหิว ความกระหาย |
คระหิวคระโหย |
หิวโหย กระหาย |
คร่า |
ฉุด ลาก |
คราส |
กิน จับ เช่นจันทรคราส |
คฤหา |
เรือน อาคาร คฤหดาร มณฑปสูงยอดแหลม |
คฤหรัตน |
ปราสาท ที่ประทับของพระราชา |
คลวง |
เรือน ตำหนัก |
คล่าว |
เชือกผูก เชือกขนาดใหญ่ |
คล่ำ |
คลาคล่ำ เต็มไป มากมาย |
คลี |
การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกคลีซึ่งมีลักษณะกลม |
เคลือบ |
ฉาบ ทาไว้ภายนอก ปิดอยู่ชั้นนอก |
ควณ |
คำนวณ คูณ ทำให้เพิ่มขึ้น |
คามภีร |
ลึกซึ้ง |
คามวิธี |
น่าจะตัดศัพท์จาก คามภีรวิธี วิธีอันลึกซึ้ง |
คำนัล |
เฝ้า การเข้าเฝ้าเจ้านาย |
คำรบ |
เคารบ ครบ |
คุง |
ตลอด ตราบเท่าถึง |
คุณางค์ |
คุณ + องค์ องค์แห่งคุณ |
คุโณตโม |
คุณ + อุตม คุโณตโม ผู้อุดมในคุณ |
คุบ |
คุกเข่า ย่อเข่า หมอบลง คุบคั้น ย่อตัวลงเพื่อเตรียมจับอีกฝ่ายหนึ่ง |
เคารพย, เคารพย์ |
เคารพ ความนับถือ |
เคี่ยน |
เคียร คำพูด ใคร่เคี่ยนคำถาม ใคร่จะถามเป็นคำพูด |
ท่ง |
ทุ่ง พื้นที่ราบกว้าง |
ทรัพโยประโภค |
ทรัพย์ + อุประโภค เครื่องใช้สอยที่มีค่า |
ทวน |
อาวุธอย่างหนึ่งคล้ายหอก |
ทวาทศกราศี |
๑๒ ราศี ราศีต่าง ๆ ใน ๑๒ เดือน |
ทวาทศเทวศดนัย |
ทวา + ทศ + เทว + ศต + นัย จำนวน ๒๑๒ |
ทวาทศมาส |
๑๒ เดือน เดือนทั้ง ๑๒ |
ทวาบรยุค |
ยุคที่ ๓ ในยุคทั้ง ๔ |
ทวารก |
เมืองทวารกาของพระกฤษณะ |
ทวารา |
ทวารวดี หมายถึง กรุงศรีอยุธยา |
ทวิชาจริเยนทร์ |
ตัดศัพท์จาก ทวิชาจาริเยนทร์ อาจารย์ผู้เป็นพราหมณ์ |
ทวิเชนทร์ ทวิชชา |
ผู้เกิดสองครั้ง หมายถึงพราหมณ์ |
ทศพล |
ผู้กอปรด้วยกำลัง ๑๐ ประการ หรือผู้มีญาณ ๑๐ ประการคือ ๑. ฐานาฐานญาณ กำหนดรู้การควรและไม่ควร ๒. วิปากญาณ กำหนดรู้ผลแห่งกรรม ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ กำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง ๔. นานาธาตุญาณ กำหนดรู้ธาตุแท้ของสรรพสัตว์ ๕. นานาธิมุตติกญาณ กำหนดรู้อัธยาศัยของสรรพสัตว์ ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ กำหนดรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสรรพสัตว์ ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ กำหนดรู้การเศร้าหมองของธรรมมีฌาน เป็นอาทิ ๘. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ กำหนดรู้ระลึกชาติหนหลังได้ ๙. จุตูปปาตญาณ กำหนดรู้การเกิดดับแห่งสรรพสัตว์ ๑๐. อาสวักขยญาณ กำหนดรู้การทำให้สิ้นอาสวกิเลส. |
ท่อน |
ช่วง ตอน ระยะ |
ทะทาย |
ทาย ถือไว้ |
ทัง |
ทั้ง |
ทัด |
เทียบ เปรียบ |
ท่า |
คอย รอ |
ทานพ |
อสูรจำพวกหนึ่ง |
ทาย |
ถือ |
ท่าว |
อ่อนโน้มลง ท่าวทวน อ่อนโน้มขึ้นลง กลับไปกลับมา |
ทำงน |
ภาระ ความยุ่งใจ |
ทำนูล |
ทูล บอก กล่าว ยกขึ้นเหนือหัว |
ทำนวย |
ทวย หมู่ เหล่า |
ทิปิจมหิษ |
เสือเหลือง และกระบือ (ทิปิ เสือเหลือง จ และ มหิษ กระบือ) |
ทิโปปารัง |
ทีป ทวีป ปาร ฝั่งตรงข้าม ข้าม ทิโปปารัง หมายถึงผู้ข้ามล่วงพ้นทวีปทั้งหลาย |
ทิวากโร |
ดวงอาทิตย์ |
ทิศาศานต์ |
ทั่วทุกทิศ ทิศ + อนุต = ทิศานต์ เพิ่มเสียงกลางคำเป็น ทิศาศานต์ เช่นเดียวกับสุมาลย์ เป็น สุมามาลย์ |
ทุติยาเจตร |
วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๕ |
เท้ง |
ทิ้ง เท้งทรวง เอามือตีอก |
เทพาสูร |
เทพ + อสูร เทวดาและอสูร |
เท่อก |
เปิดออก ดุจเท่อกหล้าฟ้าดิน เหมือนกับเปิดแผ่นฟ้าและแผ่นดิน เทียบโคลงกำสรวล อินทรท่านเทอกโฉมเอา สู่ฟ้า เทอก เปิดออก ยกให้สูง |
เทา |
ไป |
เท้า |
เท่า ตราบเท่า |
เทิน |
ยกไว้ข้างบน |
เทียร |
ย่อม แล้วไปด้วย |
เทียว |
ธง |
โทหล |
ทรหน ความลำบาก |
บด |
บัง ปิดไว้ |
บดีการ |
ผู้เป็นใหญ่ในงาน หัวหน้างาน |
บร บรปักษ์ |
ปร ปรปักษ์ ฝ่ายอื่น ศัตรู |
บรมัตถ |
ประโยชน์อย่างยิ่ง ปรมัตถ์ พระอภิธรรมปิฎกหมวดหนึ่ง |
บรเมศ |
ผู้เป็นใหญ่ |
บรรทับ |
ประทับ บรรทับกูญชรชาติ ทรงช้าง |
บรรยงก์ |
บัลลังก์ ที่นั่ง |
บรรไย |
บรรยาย |
บรวาที |
ผู้ตอบ |
บราชย |
ปราชัย พ่ายแพ้ |
บโรหิต |
ปโรหิต ปุโรหิต พราหมณ์ที่ปรึกษาขนบในราชสำนัก |
บัจจิมทิศ |
ปัจจิมทิศ ทิศตะวันตก |
บัญจก |
ปัญจก เบญจก หมวดห้า |
บัญจสุทธาวาส |
พรหมโลกชั้นสุทธาวาส มีห้าชั้น |
บัณฑุกัมพล |
แท่นหินสีดุจผ้ากัมพลเหลือง ทิพอาสน์ของพระอินทร์ |
บัณฑูร |
คำสั่ง |
บัณหา |
ปัญหา |
บัดเดียว |
ครู่หนึ่ง ประเดี๋ยวหนึ่ง |
บัดทุมาลย์ |
ปัทมมาลย์ ดอกบัว |
บาทยุคล |
เท้าทั้งคู่ |
บีฬ์ |
บีฑา ความเบียดเบียน |
บูราทวา |
กรุงทวารวดี หมายถึงกรุงศรีอยุธยา |
บุรุษโสษฏ |
บุรุษผู้ประเสริฐ โสษฏ แผลงจาก สุษฐ = ดี ประเสริฐ |
บุโรปกา |
บุร + อุปการ ประโยชน์เบื้องต้น |
บูร |
เมือง บูรไร กำแพงเมือง |
บูรณ์จันทร์ |
พระจันทร์เต็มดวง จันทร์เพ็ญ |
เบญจกกุธ |
เบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องสูงอันแสดงถึงความเป็นพระราชา ประกอบด้วยมหามกุฎ พระแสงขรรค์ พัดวาลวิชนี ธารพระกร และฉลองพระบาท |
เบญจพิธพลมาร |
มารทั้งห้า คือขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร เทวบุตรมาร และมัจจุมาร |
เบาราณ, เบารา |
โบราณ |
พณิพก |
วณิพก คนขอทาน |
พนวา |
ป่า |
พยากรณำ |
ทำนาย พยากรณ์ |
พยาเทศ |
วิ + อาเทศ ชี้แจง แนะนำ บอกเล่า น่าจะมาจาก ลัทธยาเทศ หมายถึงได้รับพุทธพยากรณ์ |
พระวรญาณ |
พระพุทธเจ้า |
พรึบ |
พร้อมกัน ทันทีทันใด |
พฤกพลม |
พิลึกน่าเกรงขาม สง่างาม |
พฤนทามาตย์ |
คณะอมาตย์ อมาตย์จำนวนมาก |
พลพฤนท์ |
กองทัพ กองทหาร |
พลุก |
เขี้ยว งา พลุกสุกร เขี้ยวหมู |
พ่วงพี |
อ้วน ล่ำสัน |
พวย |
พุ่งไปโดยเร็ว |
พหู |
จำนวนมาก พหูทุกขา มีความทุกข์มาก |
พหูกถา |
เรื่องราวเป็นอันมาก |
พันตา |
สหัสนัยน์ หมายถึง พระอินทร์ |
พัว |
ติดกัน เกี่ยวเนื่องกัน |
พาธา |
ความทุกข์ ความเบียดเบียน |
พาร |
วัน |
พ่าห์ |
พาหนะ ผู้แบก ผู้ทรงไว้ |
พาหุรัด |
เครื่องประดับต้นแขน |
พิจิตร |
งาม น่าดู หลากหลาย |
พิด |
เพ็ด ทูลพิด เพ็ดทูล กราบทูลเจ้านาย |
พิทยุต |
สายฟ้า |
พิธาน |
การจัดแจง |
พิรพล |
มีกำลังกล้าหาญ |
พิรางสูตร |
สูตรในตำราโหราศาสตร์ |
พิตเพียล |
มองดู มาจาก พิตพิล ในภาษาเขมร แปลว่า เมียงมอง |
พิหค |
วิหค ผู้ไปในอากาศ คือนก |
พุทธนุวงศ์ |
ตัดศัพท์จาก พุทธ + อนุวงศ์ หมายถึงผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหน้า |
พุทธบุตร |
พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า |
พุทธพิสัย |
วิสัยของพระพุทธเจ้า |
พุทธวิหาร |
วิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป |
พุทธางกูร |
หน่อเนื้อพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ |
แพ่ง |
แรง, กำลัง |
แพว |
แผ้วพานทำให้เป็นรอย เทียบเสภาขุนช้างขุนแผน แม่เลี้ยงไว้มิให้อันใดแพว แต่แนวไม้เปรียะหนึ่งไม่ต้องตัว |
โพรงพราย |
งามระยิบระยับ |
มนทีร มณฑีร |
มนเทียร ปราสาทราชวัง |
มยูร |
นกยูง ความในบท กนกมยูรเรืองไร กลิ้งแลกลดไสว มยูรในที่นี้น่าจะหมายถึงฉัตรที่ทำด้วยหางนกยูง หรือ มยุรฉัตร |
มลังเมลิง |
มลังเมลือง สุกใส อร่ามเรือง |
มลาก |
มาก ดี งาม |
มฤคา |
กวาง |
มล |
มลทิน ราคี |
มล้าง |
ล้าง ผลาญ ฆ่า |
มหานดาธยาศัย |
มหันต + อัธยาศัย มีอัธยาศัยอันยิ่ง |
มโหรสพ |
มหรสพ การเล่นรื่นเริง |
มาน |
มี |
มารค |
หนทาง |
มาริสะ |
ผู้นฤทุกข์, ผู้ปราศจากทุกข์ |
มาส |
เดือน |
มุดดา |
มุกดา แก้วรัตนชาติชนิดหนึ่ง |
มุขเด็จ |
มุขที่ยื่นออกมาจากหน้ามุขใหญ่ |
มุนินทร |
จอมปราชญ์ พระพุทธเจ้า |
มุ่น |
มุดเข้าไป |
มุล |
มุล - มูล - มวล ทั้งหมด ทั้งปวง |
มุลทิน |
มลทิน ความด่างพร้อย |
เมตไตรย, เมตไตย |
นามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในกาลอนาคต |
เมรุไกลาส |
เขาพระสุเมรุ และเขาไกรลาส |
เมิลเมียง |
มองดู (เมิล = มอง, เมียง = มอง) |
เมือ |
ไป |
เมืองวังคลังนา |
จตุสดมภ์ ทั้งสี่ คือ เวียง วัง คลัง นา หลักในการแบ่งส่วนราชการ |
แมน |
เทวดา |
แมลบ |
แลบ แมลบเหลืองเรืองรอบ ฟ้าแลบเห็นเป็นสีเหลืองสว่างไปโดยรอบ |
โมกข์ |
ความหลุดพ้น นิพพาน |
โมงครุ่ม |
มหรสพอย่างหนึ่งในงานหลวง |
โมรมาศ |
นกยูงทอง |
ศรมณ์ |
สมณะ นักบวช พระภิกษุ |
ศรับท์ |
ศัพท์ เสียง |
ศราพก |
สาวก |
ศรียโศธร |
พระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิมว่า พระที่นั่งศรียโศธรมหาพิมานบรรยงก์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ |
ศรีสรรเพชญ์ |
อาวาสสถาน บรมศรีสรรเพชญ์ หมายถึงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา |
ศรีสัตนาคนหุต |
เมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านช้าง |
ศัลย์ |
ความโศก ความปวดร้าวทรมาน |
ศิขร ศิขรี |
ภูเขา |
ศิรสาร |
ศีรษะ |
ศิวาลัย |
ที่อยู่อันประเสริฐ สถานที่พิเศษ |
ศิวาคม |
ศิว + อาคม มนตร์ของพระผู้เป็นเจ้า อาคมอันประเสริฐ |
ศิโวงการย |
ศิโวงการ ศิว + โองการ วาจาอันยิ่ง |
ศิโวตโม |
ศิว + อุตม ความอุดมอย่างยิ่ง |
ศิษยวโรโคดม |
ศิษย์ของพระโคตมพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ |
ศุลี |
พระผู้เป็นเจ้า |
เศวตกุญชร |
ช้างเผือก |
สกัจการ |
การเคารพ การบูชา |
สัตรัตนะ |
แก้ว ๗ ประการ |
สัตตสดกมหาทาน |
การให้ทานอันยิ่งใหญ่ด้วย ของ ๗ สิ่ง สิ่งละ ๑๐๐ |
สตังมุขา |
มีปาก ๑๐๐ ปาก |
สตัปกรุณา |
สัตต + ปกรณ์ พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ |
สนวน |
ฉนวน ทางเดินมีเครื่องกำบังสำหรับเจ้านายฝ่ายในเสด็จออก |
สบ |
ทุกอย่าง ทุกชนิด สบสัตว์ สัตว์ทุกชนิด |
สมมณาคตา |
สมณะ + อาคตา การมาของนักบวช การดำเนินชีวิตในสมณเพศ |
สรน |
สรลน สลอน แน่น |
สยมภูวญาณ |
ผู้มีญาณรู้แจ้งด้วยตนเอง |
สรรเพชญ์ |
ผู้รู้ทั่ว ความเป็นพระพุทธเจ้า |
สระพรั่ง |
สะพรั่ง พร้อม มากมาย |
สฤษดิสังหาร |
หมายถึงพระนารายณ์ |
สวร |
เสียง |
สวามี, สวามินทร์ |
ผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน |
สห |
กับ ด้วย |
สหัสธารา |
เครื่องโปรยน้ำให้เป็นฝอย ใช้ในพระราชพิธีอภิเษก |
สักกวา |
สักกวาที ผู้ถาม |
สังข์ทักขิณาวัฏ |
สังข์ที่มีเกลียววนไปทางขวา |
สังขยา |
จำนวนนับ |
สังวรรณนา |
ร่วมกันชี้แจง ประชุมกันบอกกล่าว |
สังหรณ์ |
ยึดไว้ ติดอยู่กับที่ |
สังหาร |
นำไป นำไปพร้อม |
สัตชิวหา |
มีลิ้น ๑๐๐ ลิ้น |
สัตตสิทันดร |
ทะเล ๗ ชั้น อยู่ระหว่างเขาสัตตบริภัณฑ์ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ |
สับดสิทานธารา |
ดูที่ สัตตสิทันดร |
สับดสินธาดร |
ดูที่ สัตตสิทันดร |
สัสดี |
เจ้าหน้าที่รวบรวมบัญชีคน |
สาภิมต |
ส + อภิมต ร่วมตกลงกัน |
สามรรถ |
สามารถ มีคุณสมบัติอันยิ่ง |
สาร |
ช้าง |
สารถี |
คนขับรถ คนบังคับม้า |
สารัมภ์ สารำ |
เริ่ม |
สารานุสาร |
ถ้อยคำ สาร + อนุสาร เนื้อหาน้อยใหญ่ |
ส่ำ |
หมู่ เหล่า |
สำรอก |
ทำสิ่งที่ไม่ต้องการให้หลุดออกมา |
สัมเรทเสร็จธิศก |
สัมฤทธิศก จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๐ |
สีทันดร |
ทะเลระหว่างเขาสัตตบริภัณฑ์ ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ |
สุคต |
พระพุทธเจ้า |
สุต |
ได้ยิน ได้ฟัง |
สุธา สุธามฤต |
น้ำอมฤต น้ำทิพย์ |
สุบรรณ |
ครุฑ |
สูรภาพ |
สุรภาพ ความกล้าหาญ ความองอาจ |
สูรสังกัลป์ |
อมาตย์ หัวหน้าอมาตย์ |
เสนางค์ |
ส่วนแห่งกองทัพ |
เสริด |
หลีกหนี |
เสโล |
โล่ เครื่องป้องกันอาวุธ |
เสวะ |
พบ |
เสาวนีย์ |
คำสั่งของท้าวพญา |
แสน |
มากเกินกว่าจะกำหนดได้ |
โสภณาการ |
อาการอันงาม |
โสรม |
ทอง |
โสษฏ |
สุษฐ ดี ประเสริฐ |
โสฬส |
จำนวน ๑๖ โสฬสเมืองพรหม หมายถึงรูปภูมิพรหม ๑๖ ชั้น |
อจนา |
อัจจนา การบูชา |
อธิภาส |
อธิ + ภาส สว่างอย่างยิ่ง หมายถึงการโหมกุณฑ์ หรือโหมเพลิงในพิธีบูชา |
อนธการ |
ความมืด มองไม่เห็น |
อนนต์, อนันต์ |
มาก ไม่มีที่สุด |
อนาคโตทศพุทธ |
พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งจะตรัสรู้ในอนาคต เป็นองค์ที่ ๑๐ |
อรรถกถา |
คัมภีร์ที่แต่งขยายความจากพระไตรปิฎก |
อลงกต |
ประดับตกแต่งอย่างงาม |
อวกาส |
โอกาส |
อวร |
อุระ อุร แผลง สระอุ เป็น ว |
อักนิษฐ์ |
พรหมชั้นสูงสุดในรูปภูมิพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น |
อังจล |
อจล แผลงเป็น อังจล ไม่หวั่นไหว มั่นคง |
อัญชัน |
ช้างมงคลจำพวกหนึ่ง สีกายดังดอกอัญชัน |
อัฐคชชาธาร, อัฐคช |
ช้างที่พระเป็นเจ้าสร้างขึ้นประจำทิศทั้ง ๘ แบ่งเป็น ๘ จำพวก |
อับ |
ไม่โปร่ง ไม่สว่าง โชดิอับแสงสูรย์ หมายถึงสว่าง รุ่งเรืองกว่าแสงอาทิตย์ |
อัปสร |
นางฟ้า |
อัศวนิกร |
กองทัพม้า |
อัสดินทร์ |
อัสดร ม้า |
อากาสา |
อรูปภูมิพรหมชั้น อากาสานัญจายตนะ |
อากิญจัญญานา |
อรูปภูมิพรหมชั้น อากิญจัญญายตนะ |
อากิรณ์ |
อาเกียรณ์ มากมาย เกลื่อนกล่น |
อาคไนย |
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ |
อางขนาง |
ขวยเขิน |
อางวะ |
กรุงอังวะ หรือกรุงรัตนบุรอังวะ ราชธานีของพม่า |
อาชาไนย |
ม้า |
อาดม |
อาตม - อาตมา ตนเอง สรรพนามบุรุษที่ ๑ |
อาทิ |
เบื้องต้น แรก เป็นต้น |
อาน |
เบาะรองนั่งบนหลังสัตว์พาหนะ |
อาย |
กลิ่น |
อาศรม |
ที่อยู่ของนักบวช |
อาหุดิ |
การบวงสรวง |
อ่ำ |
มืดครึ้ม |
อำนวยวงศ์ |
ช้างมงคลที่เกิดจากการผสมระหว่างต่างตระกูล |
อำพัน อำพาน |
อัพภันตร ในท่ามกลาง อำพัน อัมพร หรือ อำพานอัมพร ในท่ามกลางท้องฟ้า |
อำไพรุ |
อำไพ งาม ไพรุ ไพรู งามรุ่งเรือง |
อินทรเภรี |
ชื่อกลองที่ใช้ในพระราชพิธี |
อินทราภิเษก |
พระราชพิธีอย่างหนึ่ง |
อึกอึง |
อื้ออึง |
อึงอุดม์ |
เสียงอื้ออึง |
อุจพล |
อุจ = สูง พล = กำลัง วันที่มีกำลังวันสูงตามตำราโหราศาสตร์ |
อุทุมพรัด |
มะเดื่อ บุปผาอุทุมพรัด คือดอกมะเดื่อ ตามปกติมะเดื่อจะไม่มีดอก จะมีผลผุดออกมาจากกิ่ง หรือลำต้น การได้พบดอกมะเดื่อจึงยากนัก |
อุปการ |
ผู้รับผิดชอบในงาน |
อุปไมยปมา |
อุปไมย + อุปมา ความเปรียบ |
เอกศก |
จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข |
เอง |
ตนเอง |
เอมอร |
ความยินดี เอม = ชื่นใจ, อร (เขมร) = ยินดี |
เอาฬาร |
โอฬาร |
แอก |
ส่วนของพาหนะ บางชนิดเป็นไม้พาดขวางบนคอสัตว์พาหนะหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ให้ลากไป |
โอน |
น้อมลง |
โอฬาธิการ |
โอฬาร์ + อธิการ มีอำนาจ มีบุญมาก |
ไอยราพต |
ชื่อช้างพาหนะของพระอินทร์ |
ไอศูรย์ |
สมบัติแห่งพระเจ้าแผ่นดิน |