คำประพันธ์ที่ใช้
คำประพันธ์ที่ใช้ในคำฉันท์สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงปราสาททอง
วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดีกำหนด คณะ และคาถาประจำคณะไว้ดังนี้
ั ั ุ ั ุ ุ ุ ั | ุ ุ ั ุ ั ั |
วุตฺตาวสนฺตติลกา | ตภชาชคาโค |
ประกอบด้วยคณะ ต ภ ช ช และ ครุลอย ๒ อักษร
บทหนึ่ง ๑๔ อักษร
๒ กลอน เป็น บาทหนึ่ง
๒ บาท เป็น บทหนึ่ง
ตัวอย่าง
ขอถวายประนมบรมสรร- | เพชญพุทธศาสดา |
ตัดเบญจพิธพลมา- | รมุนินทร เลิศไกร |
ลายลักษณอุดมวรา- | ดุลเรียบระเบียบใน |
บาทาธุลีบรมไตร | ภพโลกยโมลี |
ฉบัง กาพย์ ๑๖
พระมหาราชครูใช้คำประพันธ์ชนิดนี้มากที่สุดในคำฉันท์สรรเสริญพระเกียรติฯ หนังสือจินดามณีเรียกคำประพันธ์ชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่า โคลสิงฆฉันท์ มิได้กำหนด ครุ ลหุ แต่นิยมกลอนฟัด (สัมผัส) อย่างกาพย์
๑ บาท เป็น ๑ บท
๑ บท มี ๓ วรรค
วรรคต้น ๖ อักษร วรรครอง ๔ อักษร และวรรคปลาย ๖ อักษร
ตัวอย่าง
ดาบเขนเสโลยรรยง | หมวดหมายเทียวธง |
รจิตดาษมุดดา | |
ดั้งทองแพนทองโสภา | โสภณรจนา |
พิจิตรหลากหลายพรรณ |
อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑
หนังสือจินดามณีมีคาถาประจำคณะว่า
ั ั ุ ั ั | ุ ุ ั ุ ั ั |
ยานี ธ ภูตา | นิสมาคตานิ |
ประกอบด้วยคณะ ต ต ช และครุลอย ๒ อักษร (ลหุ ปลายบาทนับเป็น ครุ)
บาทหนึ่ง ๑๑ อักษร
๒ กลอน เป็น บาทหนึ่ง
๒ บาท เป็น บทหนึ่ง
ตัวอย่าง
เสด็จหยุดคชาธาร | แลทหารทหมแหน |
หยุดยั้งพลาแสน | ยุพราชโยธา |
พิตเพียลระเมียรสับ | ดสิทานธารา |
ดุจสัปดสินธา- | ดรหว่างพระสุเมรุ |
สุรางคนางค์ กาพย์ ๒๘
คำประพันธ์ลักษณะนี้คัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีตัวอย่างวิสาลวิก ฉันท์ ๒๘ มิได้กำหนด ครุ ลหุ กำหนดแต่กลอนพฟัด (สัมผัส) แต่คาถาประจำบทกำหนด ครุ ลหุ ด้วยคือ
สุราคณา | |
สุโสภณา | รปิรโก |
สมานสิ | ภิวนฺทโน |
สเรนโก | รตฺตินฺทิวํ |
หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี มีตัวอย่างคำประพันธ์สุราคณา ปทุมฉันท์ กลอน ๔ บอกตัวอย่างคาถาประจำบท แต่มิได้อธิบายรายละเอียดใดๆ
สุสารโท | |
มหิทฺธิโก | มหาอิสี |
สุปาทจกฺ | กลกฺขณี |
วราหรี | วรนฺททา |
พิจารณาจากคาถาประจำบทข้างบนนี้จะเห็นว่าแต่ละวรรคมีลักษณะของคำหนักเบา หรือ ครุ ลหุ อยู่ด้วยในทุกวรรค คือ ุ ั ุ ั อันเป็นกำหนดคณะของสุรางคนางค์ ฉันท์ ๒๘ คำฉันท์สรรเสริญพระเกียรติฯ มีคำประพันธ์ที่กำกับตัวเลขหน้าบทเป็น “๒๘” ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็น วิสาลวิก ฉันท์ ๒๘ หรือ สุรางคณา ๒๘ ปทุมฉันท์ กลอน ๔ คำประพันธ์ลักษณะดังกล่าวเรียกกันในปัจจุบันว่า กาพย์สุรางคนางค์หรือสุรางคนางค์ กาพย์ ๒๘
ตัวอย่าง
เข้าขึ้นถึงบน | |
พิมานไพชยนต์ | เทียรธารตั่งเตียง |
เพดานดาดดัด | อร่ามเมิลเมียง |
ดุจดารกเรียง | แหล่ล้อมบูรณ์จันทร์ |
มุ้งม่านเขนยขนาด | |
สุนทรวรอาสน์ | เสร็จสรรพฉับพลัน |
แล้วเทียบภาสูร | ประดับฉบับบรรพ์ |
ไว้สัตตสิทัน- | ดรหลั่งหลามสินธุ์ |
โตฎก ฉันท์ ๑๒
หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี และตำราฉันท์วรรณพฤติของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส บอกคาถาประจำคณะไว้ดังนี้
ุ ุ ั ุ ุ ั | ุ ุ ั ุ ุ ั |
อิธโตฎกมมฺ | พุธิเสหิมิตํ |
ประกอบด้วยคณะ ส ส ส ส
บาทหนึ่ง ๑๒ อักษร
๒ กลอน เป็น บาทหนึ่ง
๒ บาท เป็น บทหนึ่ง
ในจินดามณีเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปฐมํ ฉันท์ ๑๒ ชื่อโตฎกฉันท์ กลอน ๖
ตัวอย่าง
จึ่งจะตั้งพุทธมง- | คลสูตรปริตร |
วรสงฆประสิทธิ์ | วรมนตรมุนี |
แล้วก็ชุมวรวา- | จริเยนทร์ธิบดี |
คุณคามวิธี | อธิภาศก็โหม |
มาลินี ฉันท์ ๑๕
ฉันท์ชนิดนี้ในหนังสือจินดามณีเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ชินวรฉันท์ กำหนดคณะและคาถาประจำคณะไว้ดังนี้
ุ ุ ุ ุ ุ ุ ั ั | ั ุ ั ั ุ ั ั |
น น ม ย ย ยุตายํ | มาลินีโภคิสีหิ |
ประกอบด้วยคณะ น น ม ย ย (ลหุปลายบาทนับเป็น ครุ)
บาทหนึ่ง ๑๕ อักษร
๓ กลอน เป็น บาทหนึ่ง
บาทหนึ่ง เป็น บทหนึ่ง
ตัวอย่าง
อมรนิกรเฉิดฉาย | ดูพะรายพราย | ทังแดนไตร |
กนกมยูรเรืองไร | กลิ้งแลกลดไสว | ประดับดาษ |
ปทุมกุสุมกล้ากลาด | เต็มทังอากาศ | คือห่าฝน |
สัทธรา ฉันท์ ๒๑
หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี กำหนดคณะและคาถาประจำคณะไว้ดังนี้
ั ั ั ั ุ ั ั | ุ ุ ุ ุ ุ ุ ั | ั ุ ั ั ุ ั ั |
มฺราภฺนาโยโยตฺรเยนตฺ | ติมุนิยติยุตา | สทฺธรากิตฺติตายํ |
ประกอบด้วยคณะม ร ภ น ย ย ย
บาทหนึ่ง ๒๑ อักษร
๓ กลอน เป็น บาทหนึ่ง
บาทหนึ่ง เป็น บทหนึ่ง
ตัวอย่าง
ลอดบ่วงหน่วงตาวระเบ็งบรรพ์ | ธนูศรจรจรัล |
เหล้นเลบงฉัน- | ทภาษา |
คิดแล้วปิ่นเกล้าอยุธยา | ภิมตรสรสา |
โสภณากา- | รเปรมปรีดิ์ |