- หม่อมบุญ วรวรรณ ณกรุงเทพ
- คำนำ
- ตอนที่ ๑ ชาติไทย
- ตอนที่ ๒ วิธีนับศุภมาศของไทย
- ตอนที่ ๓ พงศาวดารไทยเมาฤๅไทยหลวง
- ตอนที่ ๔ พงศาวดารแสนหวี
- ตอนที่ ๕ เรื่องราชอาณาจักร์ไทยต่างๆ
- ตอนที่ ๖ อาการเลี้ยงชีพ บ้านเมือง แลการปกครองของไทยใหญ่
- ตอนที่ ๗ อังกฤษครอบครองหัวเมืองไทยใหญ่
- ตอนที่ ๘ อังกฤษจัดราชการปกครองหัวเมืองไทยใหญ่
- ตอนที่ ๙ ศาสนาแลอย่างธรรมเนียมไทยใหญ่
- เทียบภาษา
- เทียบคำพูด
ตอนที่ ๑ ชาติไทย
มนุษย์ะชาติไทยในโลกนี้ มีแตกเปนสาขาออกหลายประเภท เที่ยวตั้งภูมิลำเนาผ้านแผ่อยู่ในแหลมสุวรรณะภูมิประเทศ (ฝรั่งเรียกอินโดชีน) ชมพูทวีป (เอเซีย) กว้างขวางกว่าชาติอื่นๆ หมดทั้งสิ้น พ้นที่จะเปนปัณหาสงกาไหว แลยังยอนลึกเข้าไปในด้าวดินดรล้ำแหลมขึ้นไปด้วยซ้ำไปเสียอิก ทั้งความจริง จำนวนก็มากมายอเนกอนันต์กว่าร้อยล้านคน เปนข้อที่แน่แท้ใม่มีใครเถียงได้ มนุษย์ชาติไทยมีตั้งแต่ในเมืองกะแซ (มณีปุระ) ติดต่อมัทธยมะประเทศ (อินเดีย) ไปจนกระทั่งถึงในเมืองจีน แถบมณฑลกวางซี แลแต่กรุงเทพอมรรัตนะโกสินทรไปจนกระทั่งถึงหัวเมืองจีนในประเทศฮุนหนำ (ฝรั่งเรียกยูนนาน) แลดูเหมือนน่าจะเปนได้ ที่ยังอาจจะมีไทยขึ้นไปตั้งอยู่ในเมืองจีนล้ำลึกกว่าที่ว่าไว้นี้อิก
มองซิเออร์บองส์ดังตี กงสุลฝรั่งเศสในเมืองกวางตุ้ง เปนผู้มีโอกาศได้ตรวจตราเรื่องชาติไทยมาก กล่าวว่า “ชาติไทยใม่ชั่วแต่มีในอาณาจักร์จีนเมืองสะซุมัวเท่านั้น มีทั้งในเมืองลุงเชาเมืองน้ำกิ่งแลเมืองวูเชามาแต่ก่อนข้านาน ด้วยภาษาไทยนั้น เปนตัวภาษาของบ้านเมือง ตั้งแต่เมืองลุงเชาขึ้นไป จนเมืองปีแซอันเปนปลายน้ำที่จะเดินเรือได้ ในลำแม่น้ำตวันตก (คือซีเกียง) น่าจะคิดเห็นว่า เมืองฮักกัสอันตั้งอยู่ในเมืองจีนข้างไต้นั้น ถ้าราษฎรใม่ใช่ชาติไทย ก็คงต้องมีโลหิตไทยผสมอยู่ด้วยมากที่สุด แต่มนุษย์พวกหลี อันเปนพลเมืองในหัวเมืองมณฑลไหหลำโดยมากนั้น เปนชาติไทยแท้ทีเดียว ชายแลหญิงพวกไทยนั้น ไว้ผมยาวขมวดเกล้าอย่างชาน (คือไทยใหญ่ที่สยามเรียกเงี้ยว) ทั้งมีหนังสือพวกหลี (ยังใม่ได้ตรวจตราลเอียดลออ) แต่ดูท่าทางผาดๆตามคำพวกจีนข้อนว่า เขียนเหมือนตัวหนอนขยุกขยิกนั้น ก็เข้าเค้าอย่างตัวอักษรไทย คนจำพวกเหล่าที่ว่านี้ ตั้งอยู่ริมชายเทลไหหลำก็มีมาก”
ข้อเหล่านี้ เราก็ยังมีความรู้ถึงแต่เล็กน้อย ทั้งก็อยู่ข้างเปนข้อยากที่จะหาพยานแน่แท้ นอกจากเชื่อแต่ความคิดฤๅวาจา มองซิเออร์บองส์ดังตีไปพลางๆ เพราะจะลงตราฤๅคัดค้านอย่างใดก็น่าที่จะอ้าปากยังใม่ออก แต่การไว้ผมยาวขมวดเกล้านั้นเปนลักษณะของไทย แท้จริงไทยสยามครั้งกรุงศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) ฤๅสุโขไทยราชธานี แลครั้งกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาโบราณขั้นต้นๆ ก็ยังไว้ผมยาวขมวดเกล้าอยู่ด้วยเหมือนกัน น่าที่พึ่งจะมาแปลงเปนผมสั้นหลักแจวคล้ายผมมหาดไทยครั้งกรุงธนบุรี ซึ่งเดากันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งยังดำรงพระยศเปนเจ้าพระยาจักรี จะได้ทรงพระราชดำริห์ขึ้นสำหรับไว้กันแต่เฉภาะคนพวกสังกัดขึ้นกรมมหาดไทย จึ่งเรียกผมมหาดไทยนั้น แต่ใม่ตรงกลางกระหม่อม เยื้องข้อนไปทางท้ายทอยหน่อยเกือบทำนองกะเปาะหางเปียเจ๊กแต่ใม่มีหาง (มีรูปในหนังสือลาลูแบราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามา จำทูลพระราชสาส์นถวายเครื่องมงคลราชบรรณาการ แผ่นดินสมเด็จพระนรายน์มหาราชเปนพยานอยู่) นั้น ราวในปลายแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ฤๅต้นแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อไทยสยามเปนศัตรูคู่ขันกับพม่านั้นก็เปนได้
ไทยมีนามต่างๆกัน แม้ชาติเดียวกัน เมื่อต่างแยกมาสืบเผ่าพันธุ์อยู่ห่างไกลจากกัน ก็เปนธรรมดามักถือเปนแผกพวกกันอยู่เอง สำมะหาอะไร แต่จะนึกถึงเงี้ยวฤๅไทยใหญ่แลลาวเชียงลาวกาว ลาวพวน ที่ถือว่าเปนคนละพวก แต่ไทยบางกอก ชาวลคร ชาวเหนือ ฤๅแม้แต่ชาวบางช้าง เสียงพูดก็แปร่งผิดกัน แลรู้ศึกออกจะจับรานๆจากกันเปนคนละเหล่า ฝรั่งแลพม่าเรียกไทยว่าชาน แต่คำว่า ชานจะเกีดมาจากอะไรแน่ก็ใม่มีใครทราบชัด นอกจากเดาว่ามาจากจีน แม้ไทยสยามเขาก็เรียกว่าชานด้วยเหมือนกัน การที่ไทยมีนามต่างกันแลแปลกกันก็ใม่ทำให้เปนพยานรู้ทางได้ว่าเปนไทยสาขาไหน แต่สิ่งที่ทราบแน่นั้น ก็เพียงข้อที่ไทยชาติเดียวกัน แต่มีนามเรียกแปลกกันหลายอย่างนัก แต่ก็ดีแต่ทำให้ยิ่งทราบก็ยิ่งป่วนปั่นไปเท่านั้น เปนต้นว่า ไทย, ไต, ไปอี, มอย, ม่วง, โถฤๅโด, อ้ายลาว, คำตี่, (เปนชื่อคนเช่นนี้ก็มีมาก เช่นนายคำดี) เหล่านี้เปนชื่อไทยเรียกตัวเอง ยังมีชื่อที่เพื่อนบ้านเรียกก็มี เช่น) ลาว, มลาว, ชาน, ลอ, ลู, คูน, ไทยหลวง, ไทยใหญ่, ไทยน้อย, ไทยเมา, ไทยเหนือ, ไทยมาน, ไทยแข, ไทยลอย, ไทยใต้, ผู้ไทย, ผู้น้อง, ผู้มาน, ผู้ชู, ผู้ไชย, ผู้เอน, ผู้ใหญ่, ผู้ช้อย, พวน, โป, ป่า, ชอย, ฮันฤๅหัว, ไปแชน, ตูแชน, ไปเฮีย, ฤๅไปชาแชน, ฤๅฮวาตุเลา, นุงฤๅลุงแชน, ชแชน, มินเชีย, ชอยเชีย, ชุงเชีย, เงี้ยว, สยาม, แลยังมีอย่างอื่นๆอีกมากกว่ามาก ล้วนเปนชื่อไทยชาติเดียวกันหมดทั้งสิ้น
ใช่แต่นามชาติไทยจะยุ่งอยู่เท่านั้นก็หามิได้ ทั้งหนังสือที่ไทยใช้ ก็ยังมีแผกกันถึง ๘ ชนิด คือ ๑ ไทยสยาม ๒ ไทยลาว (ฝรั่งเรียกชานสยาม) ๓ ไทยลู แลคนที่อังกฤษเรียกว่าตรานสัละวีนชาน (คือไทยที่ตั้งอยู่แถบแม่น้ำสัละวีนฟากตวันออก) ๔ ซีสสัละวีนชาน (คือไทยที่ตั้งอยู่แถบแม่น้ำสัละวีนฟากตวันตก) ผสมกับพวกคนที่อังกฤษเรียกว่าชานอังกฤษ ๕ ไทยเมาฤๅไทยหลวง คือ ไทยใหญ่ (อังกฤษเรียกว่าชานเจ๊ก ไทยเรียกเงี้ยว) ๖ ชานคำตี่ (คือจำพวกไทยที่ตั้งอยู่ข้างตวันตกแห่งแม่น้ำอิระวดี) ๗ ไทยแขฤๅไทยจีน (คือไทยที่อยู่ในเมืองจีนข้างไต้) ๘ ไทยมอยฤๅไทยม่วง (คือไทยที่ตั้งอยู่ในเมืองยวนตังเกี๋ย)
ภาษาที่ไทยใช้พูดกันอยู่นั้น ก็แผกเพี้ยนกันไปมากๆ ตัวอักษรที่เขียนก็ยิ่งชักให้หัวปั่นใช่น้อย ด้วยผิดผันกันไปหลายท่า เสียงในคำๆเดียวกันก็แผกกันไปหลายทำนอง แต่กระนั้นนักปราชญ์ฝรั่งในมิวเซียมอังกฤษ ที่คงแก่ศึกษา ช่ำชองในอักษระเลขายังใม่มีความสงไสยสักน้อย ว่าหนังสือไทยต่างๆ นั้นจะใม่เกิดจากมูละประเภทอย่างเดียวกันนั่นเอง เซอยอชสกอตช์ได้เชิญผู้ดีสยามที่พูดภาษาอังกฤษได้ผู้หนึ่ง ให้สนธนากับชานฤๅไทยใหญ่แลไทยคำตี่คือเงี้ยว ชาวสยามผู้นั้นออกอุทานวาจาว่า ถ้าตั้งใจจะฟังเอาความกันจริงๆแล้ว ท่านอาจจะเข้าใจความตามคำพูดของสาขาญาติอันห่างไกล คือไทยใหญ่แลไทยคำตี่นั้นได้ ดีกว่าจะฟังคำเจรจาของไทยลาว ที่เปนประยูระชาติเพื่อนบ้านอันใกล้เคียงฉนั้น แต่ตัวอักษรไทยสยามกับไทยคำตี่นั้น มีอาการแปลกกันมาก ถ้าใม่พิจารณาให้ลเอียดลออแล้ว ก็เกือบจะทึกทักเอาว่า เปนคนละประเภทกันทีเดียว
อนึ่งเปนธรรมดาใครๆ ก็ต้องคาดว่า ไทยสยามเปนชาติไทยชาติเดียว ที่ยังดำรงมหานครเปนเอกราชอยู่ในโลก นับเปนมหิศระมกุฎของชาติไทยทั้งสิ้น ทั้งได้เจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แลสมบูรณ์อย่างยิ่งยวด กว่าสรรพะชาติไทยทั้งหลายเหล่าอื่นๆ หมดทั้งมวญนั้น น่าจะมีพงศาวดารชาติไทยมาตีแผ่ให้โลกได้รู้ได้เห็นได้อย่างดีทีเดียว แต่ที่ไหน ไทยสยามก็ใม่มีพงศาวดารครั้งดึกดำบรรพ์สงวนสืบต่อมาอวดโลกได้ เหมือนกับชาติไทยเหล่าอื่นๆ ฉนั้นด้วยเช่นกัน บิชอปปัลเลกัวซ์ ครูสอนศาสนาฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงอมรรัตนโกสินทร์ แผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บอกกล่าวแก่ฝรั่งแต่งลงในหนังสือเรื่องชาติไทย กำหนดราชอาณาจักร์ไทยในกรุงสยาม ว่าพึ่งเริ่มยกลงมาตั้งใน พ.ศ. ๑๘๙๓ (แผ่นดินพระรามาธิบดีที่ ๑ (ท้าวอู่ทอง) เมื่อประดิษฐานกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยานั้น) ก่อนนั้นขึ้นไปว่าใม่มีข้อความอย่างใดปรากฎเลย นอกจากนิทานพิลึกพิลั่นเหลือเชื่อ ทั้งใม่ร่วมกับเรื่องราวประเด็น ของสาขาญาติไทยข้างเหนือซ้ำไปเสียอิกด้วย แท้ที่จริง บิชอปปัลเลกัวซ์ก็ข้อนจะพิพากษาตามลำพังความรู้เพียงใดเร็วเกีนไปสักหน่อย จริงอยู่ ไทยสยามใม่ทราบเรื่องชาติไทยครั้งปรากฎชาติภูมิตั้งอยู่ในกลางประเทศจีน ในเวิ้งแม่น้ำยังซีเกียงมณฑลเสฉวน แลตั้งในมณฑลฮุนหนำ (ยูนนาน) แรกทราบปฐมะมหานครไทยก็ในเมืองเชียงแสนเชียงราย ภายหลังมาปรากฎกรุงศรีสัชนาลัยแลสุโขไทยราชธานี เวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาข้างเหนือเปนมหานครสยาม จะเปนพญาอภัยคามินีมาสร้างกรุง ให้เจ้าอรุณราชสุริยวงศ์คือพญาร่วง ตามพงศาวดารเหนือกล่าว ฤๅจะเปนใครก็ตามที แต่ก็คงมีพระมหากษัตริย์ยกจากหริภุญชัยประเทศ มาตั้งครอบครองมไหศวรรย์ณเมืองเหนือ มีพยานได้หล่อพระมหาพุทธปฏิมากรสำคัญ อันเปนศรีพระมหานครสยามปรากฎมาตราบเท่าทุกวันนี้ คือพระพุทธชินราชอันยังประดิษฐานอยู่ณเมืองพิศณุโลก พระพุทธชินสีห์แลพระศรีศาสดาอัญเชีญลงมาประดิษฐานไว้ณวัดบวรนิเวศวิหารกรุงเทพอมรรัตนโกสินทร์ จะเปนพระเจ้าศรีธรรมตรัยปิฎก ฤๅกษัตริย์พระองค์ใดทรงหล่อนั้นยากที่จะยืนยัน แต่คงต้องเปนเจ้าเปนใหญ่ในหมู่มนุษย์มิใช่สามัญะชน จึ่งสามารถทำการใหญ่อย่างวิเศษนั้นสำเร็จได้ ทั้งหล่อเมื่อไรก็ยกไว้ที แต่ในพงศาวดารเหนือยืนยันว่าหล่อใน พ.ศ. เคารบ ๑๕๐๐ พรรษา อนึ่งยังมีเสาสิลาจารึกอักษรโบราณซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้มาจากกรุงสุโขไทยราชธานี ก็บอกเรื่องราวปรากฎชัดอยู่ว่า มีกษัตริย์สยามทรงพระนาม พ่อขุนศรีอินทราฑิตย์ พ่อขุนบาลเมืองราโชรส แลพ่อขุนรามกำแหง ฤๅพระร่วงราชอนุชาเปนต้น ผ่านพิภพณกรุงสุโขไทยธานี ก่อนตั้งกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา อย่างใครเถียงใม่ได้อยู่นั้นชัดเจน ปรากฎมหาศักราชในรัชการพ่อขุนรามกำแหง ๑๒๐๓ ฤๅ พ.ศ. ๑๘๒๔ แลเมื่อจารึกเสาสิลานั้นเล่า ก็ปรากฎว่ามิใช่พึ่งตั้งพระนครใหม่ๆ แต่สืบมาช้านานแล้ว ทั้งยังมีกรุงศรีสัชนาลัยที่ตั้งก่อนนี้ขึ้นไป ก็อิกพระนครหนึ่ง มีถาวระมหาสถานยังปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ หาใช่ไทยพึ่งยกลงมาตั้งณเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ อย่างบิชอปปัลเลกัวซ์กล่าวนั้นใม่
อนึ่ง ในหนังสือลาลูแบร์ราชทูตฝรั่งเศสมาสู่กรุงสยามใน พ.ศ. ๒๒๓๐ แต่งไว้ตามได้ทราบจากบาดหลวงฝรั่งเศสชื่อตาชาต์อันตั้งสอนคฤสตศาสนาอยู่ในกรุงศรีอยุทธยาครั้งนั้น แลได้เปนล่ามออกไปกับคณะราชทูตสยามมีออกพระวิสูตร์สุนทร (โกษาปาล) เปนต้น เจริญทางพระราชไมตรีพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสนั้นกล่าวว่า ปฐมะราชวงศ์กษัตริย์สยามนั้นเดีมเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ ทรงพระนามปฐมสุริยะเทพะนรไทยสุวรรณะบพิตร์ทรงราชย์อยู่ณกรุงไชยบุรีมหานคร (คือเชียงแสน) สืบพระวงศ์มา ๑๐ ชั่วกษัตริย์ จึ่งพระราชาองค์สุดทรงพระนามพญาสุนทรเทศะมะเทพราช ย้ายพระนครมาตั้งใหม่ไกล้ธาตุนครหลวง (ตรงกับพงศาวดารโยนกเรื่องพญาลาวเคียงวงศ์ลาวจักระราช ย้ายจากไชยบุรีเชียงราวมาตั้งเมืองเงินยางฤๅหิรัญะนครใกล้พระธาตดอยตุง เรียกโยนกนครหลวง) สืบพระวงศ์ต่อมาอิก ๑๒ ชั่วกษัตริย์ ถึงพระพนมศิริไชย ยกมาตั้งเมืองนครไทยเมื่อ พ.ศ. ๑๗๓๑ เมืองตั้งริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือพิศณุโลกห่างสุโขไทย แล้วมาตั้งเมืองแปป (คือเมืองไตรตรึงส์) สืบพระวงศ์มา ๔ ชั่วกษัตริย์ถึงพระรามาธิบดีเปนพระองค์ท้าย (พระบิดาทรงพระนามพระเจ้ามหาสิริไชยเชียงแสน (ที่สามัญเรียกตาแสนปม) ย้ายมาตั้งพระนครนามเทพนครแลท้าวอู่ทอง (คือพระรามาธิบดีที่ ๑)ได้อภิเษกด้วยพระขนิษฐภคินีของขุนหลวงพะงัว (ฤๅพ่องั่วเพราะเปนโอรสที่ ๕ ของพระบิดาเจ้า เจ้ามณฑลสุวรรณภูมิ) แลต่อมาได้สถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาใน พ.ศ.๑๘๙๓
แต่พงศาวดารเหนือของไทยที่มีอยู่นั้นเจือเปนนิทานเหลือเชื่อเสียมากจริง แต่ถึงกระนั้น ก็ใม่ผิดทำนองกับพงศาวดารพวกไทยใหญ่ทั้งหลายซึ่งคนในครั้งนั้นนิยมการจดหมายเหตุไว้เช่นนั้น แม้ฉนั้นก็ยังจับเค้าได้เลาๆ เท่ากับพงศาวดารไทยใหญ่ในเวิ้งแม่น้ำอิระวดีตอนบนขึ้นไปใม่ยอมแต้ม
เหตุที่ชื่อของไทยต่างๆ แลราชธานีของไทยต่างๆ มีมากฟั่นเฝือ เหลือจับเอาเปนหลักวางใจลงไปอย่างใรแน่ได้นั้น จึ่งส่อให้เกิดปัณหาข้อมหัศจรรย์ในพงศาวดารไทยใหญ่ ถึงเอาเปนเอาตายขึ้น ๒ ประการ ยั่วให้นักสืบโบราณคะดีสร่ายใจเอาความจริงพิพากษาลงเด็ดขาดใม่ลงคอ ปัณหา ๒ ประการนี้ คือ ๑ เรื่องราชอาณาจักร์โป่งฤๅพง แล ๒ เรื่องเมืองโกชานปญี (คือแปลว่าไทยใหญ่ ๙ เมือง) ราชอาณาจักร์โป่งฤๅพงนั้น ปรากฎขึ้นในคำแปลพงศาวดารไทยใหญ่ที่กับตันเปมเบอต็อนไปได้มาจากเมืองกะแซ (คือมณีปุระ) ในปี พ.ศ.๒๔๓๘ แต่ชื่อราชอาณาจักร์โป่งนั้น พวกไทยใหญ่ใม่มีใครรู้จัก แลใม่เคยได้ยินได้ฟังกันมาเลย แลทั้งเหลือปัญญาจะสืบแสวง๒๓ให้รู้ว่าตั้งอยู่ณภูมิประเทศไหนแน่ เซออาเถอแฟยา ถือว่าเมืองก้องฤๅเมืองฆ้องที่พม่าเรียกโมคองนั่นเอง มิสเตอร์เนอีเลียสว่าเมืองเมาหลวง มิสเตอร์อี.เอช.ปาร์เกอผู้ชำนาญพงศาวดารจีนมากว่าเปนเมืองลุฉวน แต่ก็เปนนามของจีน ทั้งใม่มีตัวนครปรากฎอยู่แล้ว แลตำบลที่เมื่อนครนั้นยังมีอยู่ตั้งอยู่แห่งหนตำบลใดก็ไมได้กล่าวไว้ให้กระจ่างในพงศาวดารจีน จึ่งเปนการสุดวิไสยจะขี้ขาดว่าอยู่ตรงไหนได้ นักกุละอาจจะกล่าวว่าราชอาณาจักร์โป่ง ฤๅพง คือป่าช้าวัดสเกษ ก็ใครจะเถียงเล่า ไหนๆ มูละเหตุที่ทำไมเรียกชาติไทยว่าชานเอง ก็ยังเอาแน่ใม่ได้ว่าเกิดมาจากไหน นอกจากเดาว่าเปนภาษาจีนเช่นกวนอูคำหลวงว่า กวนญี คำว่ากวนกับขุนตรงกัน จึ่งเรียกอย่างไทยว่าขุนอู่ฤๅขุนญี่นั้น เปนชาติชานซี ๆ ก็จีน คำว่าชานน่าจะออกจากนี้ก็ได้ จะนั้นแล้ว ราชอาณาจักร์โป่งหรือพงของไทยใหญ่ก็น่าจะเก็บพักไว้บนหิ้งเสียที จนกว่าเราจะมีพยานให้ความรู้กว้างขวางขึ้นกว่านี้จึงค่อยพูดกันใหม่ดีกว่า สิ่งเปนได้โดยพยานมั่นคงก็กล่าวได้แต่เพียงว่า เบื้องดึกดำบรรพ์เคยมีมหาราชอาณาจักร์ของไทยจังหวัดหนึ่งจริง แต่ใม่มีสักขีอย่างใดจะชี้ให้ทราบชัดได้ว่า มหาราชอาณาจักร์นั้น เรียกนามว่าโป่งฤๅพง แลอยู่ที่ไหน ฤๅมีมนุษย์ชาติไทยใหญ่คนไหนได้เคยรู้จักนามโป่งฤๅพงนั้นมาแต่ปางก่อนเลย
คำว่าโกชานปญี (คือหัวเมืองไทยใหญ่ทั้ง ๙) นั้น ออกจะอธิบายได้ง่ายๆ หนังสือพงศาวดารไทยใหญ่ต่างๆ บรรดาที่มีผู้เคยอ่านๆมา ย่อมเรียกมหานครไทยใหญ่ตามนามมหานครสำคัญในอินเดีย อันปรากฎในพระคัมภีร์พุทธศาสตร์ว่ากรุงโกสัมพี แต่ขุนนางพม่า คุ้นหูในนามเมืองในพระคัมภีร์พุทธศาสนา ทั้งประกอบความเย่อหยิ่งยกชาติตนว่าสูงศักดิ์กว่าสามัญะมนุษย์ร่วมปัจจันตประเทศ สุดจะยอมว่าราชอาณาจักร์ไทยใหญ่มีกรรมสิทธิ์จะใช้นามอันศูงศักดิ์ฉนั้นได้ จึ่งแกล้งแปลงนามโกสัมพีเปนโกชานปญีภาษาพม่าเสีย อาจจะเปนได้จริงที่แปลงมาเช่นนั้น เพราะเหตุว่าหัวเมืองไทยใหญ่ในครั้งนั้นฤๅครั้งใดครั้งหนึ่งมี ๙ จังหวัด เช่นพระนามพระมหากษัตริย์สยามว่า พระเอกาทศรฐ ฤๅพระนาม สยามขัติยะบพิตร์ว่า เจ้าฟ้าเอกะทัศ แปลว่าเปนใหญ่ในหัวเมืองทั้ง ๑๑ มณฑลฉนั้น แต่ในพงศาวดารไทยใหญ่ที่มี ก็ใม่เกื้อหนุนว่าราชธานีไทยใหญ่มี ๙ จังหวัด ฝ่ายข้างพม่าเองก็หามีบาญชีจำนวนหัวเมืองไทยใหญ่ ๙ จังหวัดนั้นปรากฎไว้ใม่ กลับปรากฎแต่ว่าใม่ว่าพม่าไปเกี่ยวข้องกับหัวเมืองไทยใหญ่คราใด ย่อมมีแต่ประสรบนามหัวเมืองนั้นๆ มากกว่า ๙ จังหวัดทุกครั้ง เหตุฉนี้ พม่าก็รื่นรมย์เพียงแต่เรียกเล่นลอยๆ ว่าโกเมียง ฤๅโกกะเยียง (คือ ๙ เมือง แล ๑๐ เกง (กรุง) ฤๅ ๙ เชียง (เวียง) ฤๅสอพวา (คือ เจ้าฟ้า) ชาน (คือไทยใหญ่) ๙๙ องค์ อันพ่ายแพ้พระบรมเดชาธิการเปนข้าเบื้องบทมาลย์ ถวายต้นไม้ทองเงินราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์เจ้าพม่าเท่านั้น
มิสเตอร์เนอีเลียสได้กล่าวไว้ว่า “โกสัมพีเปนแต่นามพระบาฬีจำลองเอามาเรียกเมืองเมาหลวง ซึ่งคงจะมีครั้งใดเปนมหานครรวบรวมหัวเมืองทั้ง ๙ จังหวัดเข้าร่วมเจ้าพิภพเดียวกัน แต่ธรรมดามักมี ๑๐ หัวเมือง แต่พม่าแปลงเปนโกชานปรีฤๅโกชานปญีแปลว่าหัวเมืองชานทั้ง ๙ นั้น เข้าใจผิดแท้” ทั้งมิสเตอร์เนอีเลียสรู้ศึกดีๆว่าคำนั้นชั่วแต่พม่าสนุกนึกขึ้นเล่นลอยๆใม่ใช่ความจริงแล้ว ก็ยังอดพยายามที่จะชี้หัวเมืองไทยใหญ่ทั้ง ๙ จังหวัดนั้นไม่ได้ แต่ก็ไพล่ไปชี้เอาหัวเมืองไทยใหญ่น้อยๆ อันมักปรากฎว่า เปนหัวเมืองไทยใหญ่ของจีนนั้น ว่าเปนโกชานปญี เปนการง่ายกว่าที่ควรจะกล่าวตรงๆว่าโกชานปญี ก็คือ โกสัมพี เปนนามมหานครของไทยใหญ่ ซึ่งชาวมณีปุระ เรียกว่าราชอาณาจักร์โป่งฤๅพง ฝ่ายข้างจีน ตามที่มิสเตอร์ปาร์เกอ พยายามค้นคว้าได้หลักฐานมายืนยันอิกว่า เปนเมืองอ้ายลาวฤๅเมืองน่านเจ้า (คือมณฑลขัณฑละฤทธิ์) ฤๅตะลีฟู
เปนเคราะห์ร้ายที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่เหลือพงศาวดารไทยใหญ่ รอดปากเหยี่ยวปากกา การรบร้าฆ่าฟันกันเอง มาถึงเราผู้เกิดชั้นหลังน้อยที่สุด แลฉบับที่ผรั่งได้มาแปลออกเปนภาษาอังกฤษ ก็กะพล่องกะแพล่งใม่ใคร่ร่วมกัน มีแต่เมืองไหนเขียนก็ยกตนเปนใหญ่กว่าเมืองอื่นจนตรงกันข้าม แต่ละล้วนเอื้อมเอาเมืองของตนว่าเปนกรุงโกสัมพีเสียแทบทั้งนั้น ทั้งหนังสือที่ได้มาเหล่านั้นๆ ก็ใม่มีฉบับเก่าแก่ดึกดำบรรพ์จริงๆ รู้ได้ว่าเขียนขึ้นตามความจิตร์จำ ฤๅนิทานปะรำปะราที่เล่าสืบต่อๆกันมา จนจวนๆจะเปนนิยายเล่าให้เด็กฟังเสียเปนพื้น การยุ่งเหยีงด้วยเรื่องศุภะมาศซึ่งเกิดด้วยครามรู้ใม่ถึงของคนที่รจนาพงศาวดารดึกดำบรรพ์ในชั้นหลังๆ ทั้งความแลใม่เห็นของฝรั่งนักโบราณะคดีในเรื่องกาละจักระมณฑล ยิ่งทำให้ป่วนยิ่งขึ้น วิธีของไทยดึกดำบรรพ์นั้น นับศุภะมาศเปนรอบๆ ใม่ใช้นับเรียงศักราช คงจะได้พรรณนาไว้ต่อไปในตอนที่ ๒ เพราะการยุ่งในข้อจดศุภะมาศฉนี้ จึ่งยิ่งทำให้เปนการยากในทางที่จะเทียบเคียงกันนั้นมาก
จนเร็วๆนี่เอง ความรู้ในเรื่องไทยใหญ่ก็มีแต่ทางพงศาวดารพม่า ฤๅได้จากหนังสือระยะทางที่หมอริชาร์ดสันแลกับตันแมเคลียดแต่งไว้ กับโคโลเนลยูเลแต่งเรื่องเปนทูตไปสู่ราชสำนักกรุงอังวะปี พ,ศ, ๒๓๙๘ เท่านั้น พงศาวดารพม่าก็ยุ่งปนละว่นปนละเกเรี่ยราดแลเอียงกระเท่วางใจใม่ลงแน่วได้ ระยะทางรายลเอียดของฝรั่งนักเที่ยวตรวจตรานั้นและ มีค่ามาก ในการให้รายงารให้เรียงพงศาวดารไทยใหญ่ได้ แต่ก็ใม่ช่วยให้ความรู้ พอจะวินิจฉัยเด็ดขาดได้ ว่าชาติไทยต้องแตกกระจายออกจากกันกลายเปนพวกย่อยๆ นั้นเมื่อใร เพราะเหตุใด แลก่อนแตกกระจายออกไปนั้น ชาติไทยเจริญรุ่งเรืองเปนอย่างไรบ้าง
มิสเตอร์เนอีเลียส ได้กล่าวไว้ว่า ได้พงศาวดารไทยใหญ่มาจากไทยใหญ่เอง ด้วยได้แปลพงศาวดารไทยใหญ่มาไว้หลายฉบับ แล้วได้เอามาเทียบเคียงกับพงศาวดารพม่า แลพงศาวดารไทยใหญ่ที่แปลมาเปนภาษาพม่า จึ่งได้รวบรวมความเหล่านั้น มารจนาขึ้นเปนพงศาวดารไทยใหญ่ แลได้พิมพ์ในเมืองกัลกัตตาเมื่อ พ,ศ, ๒๔๑๙ ผลของพงศาวดารไทยใหญ่ของเนอีเลียสนี้มีค่ามาก แต่ดูเหมือนจะยกย่องไทยเมืองเมามากเกินควรไปถนัด เวิ้งน้ำเมาฤๅชเวลีทั้งสิ้นนั้น เปนด้าวดินที่มีเรือกสวนไร่นา แลมีผู้คนตั้งสำนักอยู่มากพอใช้ มาช้านานแล้ว แต่ยังจำจะต้องชี้ให้เห็นพยานชัดว่า คำว่าไทยเมาหลวงนั้น เปนทางราชการมากกว่าคำสำหรับชาติ คำคัดค้านนั้นอาจจะใช้คัดค้านพงศาวดารแสนหวี ซึ่งได้แปลขึ้นเปนครั้งแรก ดังจะได้กล่าวไว้ในนี้ต่อไปด้วย พงศาวดารทั้งสองประเภทนี้ ยังจะได้ผนวกข้อความซึ่งคัดมาจากพงศาวดารฉบับอื่นๆ ซึ่งเห็นสมควรจะเพิ่มเติมให้สมเรื่องด้วยกัน แต่ถึงจะอย่างไร พงศาวดารไทยใหญ่เหล่านี้ ก็ย่อมมีอาการเหมือนกันกะที่โคโลเนลยูเล ได้กล่าวถึงพงศารดารพม่าว่า “ความปราถนาฑี่จะย้อนถอยหลังขึ้นไปถึงเหตุการดึกดำบรรพ์นั้น การที่ปรากฎราชอาณาจักร์ว่าเปนมหาราชธานีนั้น ก็ชักให้เลือนลงเปนแต่ว่ากันที่แท้ก็สักแต่พงศาวดารของจังหวัดเมืองเจ้าเล็กนายน้อยต่างๆ มีเขตร์แคว้นใหญ่บ้างน้อยบ้างเปลี่ยนแปลงกันไป เอายุตินักมิได้ เหมือนพงศาวดารของเจ้าวงศ์หนึ่งๆ สืบสันตติราชย์ แล้วก็ย้ายนครป่วนกันไปเท่านั้น ใม่ใช่ชาติใหญ่ชาติโต”
พงศาวดารนั้นๆ ก็กล่าวเฉภาะแต่เรื่องในเมืองนั้นๆ แต่มีเรื่องท้าวทอดถึงกันโดยพรรณนาชักให้ข้อความนับเปนพงศาวดารของชาติไทยใหญ่ได้ แต่ก็ไปขาดกะท่อนกะแท่นต้องกล้อมแกล้มประจบประแจง พอให้บรรจบกันกลมกลืนเปนเรื่องราวขึ้นได้ตลอด
พงศาวดารผสมอย่างกล่าวแล้วนั้น คำแปลจากจดหมายเหตุจีนของมิสเตอร์ปาร์เกอ ฉายให้มีแสงสว่างกระจ่างขึ้นได้มาก มิสเตอร์ปาร์เกอออกจะไปสท้านๆ เสียด้วยข้อยุ่งเหยีงเรื่องศุภะมาศกับเนื้อความที่จริง เกีดจากยังใม่ซึมทราบ วิธีรอบปีของไทยใหญ่แลพระพุทธศักราชธรรมดา แต่เมื่อรดับเหตุการที่ร่วมกันต่างๆเข้าด้วยกันแล้ว ทำให้มีความเห็นแจ่มแจ้งดีขึ้นในเรื่องพงศาวดารไทยใหญ่ ทั้งเปนบุญที่ได้ประสรบพงศาวดารฉบับใหม่เข้า ยิ่งทำให้สามารถที่จะเขียนพงศาวดารไทยใหญ่ให้เรียบร้อยดียิ่งขึ้นได้อิกถนัด แม้ยังใม่มีเครื่องมือพอที่จะรจนาให้ดีเต็มที่ได้ แต่ก็พอที่จะแสดงให้เห็นว่า “ในหมู่พุทธศักราช ๑๔๕๐ ปีนั้น เมืองพม่า ถึงจะมีราชอาณาเขตร์ขนาดไหนก็ตาม ว่ากันแต่ส่วนดินแดนเบื้องข้างเหนือแล้ว พม่ามีอำนาจต่ำกว่าราชอาณาจักร์ไทยใหญ่มณฑลตะลีฟู (ขัณฑละฤทธิ์) นั้นมาก ซึ่งในครั้งหนึ่งเกือบจะพิฆาฎราชาธิปตัยจีนวงศ์ถังเสียพินาศใน พ.ศ. ๑๕๐๐ ปฐมราชาธิราชจีนวงศ์ซ้องจึ่งต้องตีเส้นว่า พ้นเขตร์กำหนดนั้นๆออกไปแล้ว ตั้งพระไทยจะใม่ยื่นออกมาเกี่ยวข้องในทางราชการด้วยเลย แลหัวเมืองมณฑลน่านเจ้า บัดนั้นเรียกกันว่าราชอาณาจักร์ตะลี (ฤๅขัณฑละฤทธิ์) เปนครั้งแรกนั้น ก็เปนเอกราชมาจนถึงเวลากองทัพมะหง่ลซึ่งเจ้ากุไบล (ภายหลังเปนกุไบลฃั่น จีนเรียกพระเจ้าหงวนสีโจ๊วบู๊ฮ่องเต้) ยกมาราวี”
ด้าวดินจีนเบื้องหรดีนั้น เปนบ้านดั้งเดีมของคนไทย ฤๅว่าอิกอย่างหนึ่งเปนแหล่งที่ปรากฎว่า ไทยเปนมนุษยะชาติแผนกหนึ่งฤๅชนิดหนึ่งจากมนุษย์ชาติอื่นๆในโลกนี้มีจีนเปนต้น แต่ครั้งดึกดำบรรพ์กล่าวกันมากว่าไทยได้เคยเกี่ยวข้องกันสนิทกับจีนมาแต่บรมสมะกัล์ปก่อนยกมาตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวน แลบ้านเมืองข้างไต้แม่น้ำยังซี เรื่องราวเลือนๆที่ไทยกับจีนเกี่ยวดองกันนั้น ยังเล่ากันอยู่ในพวกไทยใหญ่ การประสรบข้อสำคัญอย่างยิ่งอย่างหนึ่ง ในเรื่องค้นโบราณะคดีในปัตยุบันสมัย โดยความเพียรแลสามารถของมองซิเออร์เตอเรียน เด็อ ลาคูเปอรีนั้น ก็คือได้โอภาสขึ้นว่า “จีนพึ่งเปนมนุษย์ะชาติใหญ่แลมีอำนาจมากในชั้นหลังๆนี้เอง ด้าวดินเปนอันมาก ในเมืองจีนนั้นเอง ก็ยังใม่เปนของจีนเอง แลเทวะโอรสก็ยังใม่มีอำนาจมากไปกว่าการจำเปนที่จะรวังรักษาศัตรูภายในอันอมหิดคือไทยเหล่านี้ ที่มักเคยทำลายข่ายที่กั้นไว้เปนครั้งเปนคราวเข้าไปราวีร่ำไป พวกไทยพึ่งอนุญาตให้อำนาจทางราชการจีนข้ามแม่น้ำยังซีเกียง ซึ่งแต่ก่อนเกือบจะพรากบ้านเมืองออกเปนสองภาค คือภาคเหนือแลภาคไต้นั้นมาได้ ใม่ก่อนปีพุทธศักราช ๒๖๐ แลว่ากันที่จริงแล้ว อาณาจักร์จีนยังไม่ปกมาได้มั่นคง เพราะในราว พ.ศ. ๑๑๐๙ พระเจ้าราชาธิราช วั่งตี่ข้างเหนือ ยังจำต้องป้องกันหนทางที่จะไปมาจากเวิ้งยังซีเบื้องตวันตกแห่งเมืองอีฉ่าง ด้วยกั้นกำแพง เพื่อจะเกียจกันใม่ให้หมู่มนุษย์อมหิดเหล่านั้น เข้าไปยายี ในราวพุทธศักราช ๑๐๕๐ พระเจ้าราชาธิราชกรุงจีนยังทรงอนุมัติให้เจ้าของชาติปันหุ คือไทยจำพวกหนึ่ง เปนพระราชาครองเมืองเซียมยัง (คือเมืองฮูเป) แลเปนเจ้าเมืองกิ่งเจ้าด้วย ราชสมบัติของกษัตริย์องค์นั้น มีหมู่บ้าน ๘๐,๐๐๐ ผ่านไปในหัวเมืองจีนมัชฌิมะภาคแลแผ่ไปข้างเหนือจนใกล้แม่น้ำเหลือง ในพุทธสัตยุค ๑๘๐๐ นั้น พวกไทยยังครอบครองหัวเมืองในกึ่งบุรพะภาคมณฑลเสฉวน เกียวเจา ฮูเปแลฮุนหนำอยู่ ความรู้อันนี้ เปนเครื่องทำให้เข้าใจ อาการที่รวบรวมชาติจีนนั้นอย่างไร ผิดกันมากกะที่จะตีเส้นระหว่างแผ่ราชอาณาเขตร์ของจีนตามทางราชการสักแต่ว่าอาณาเขตร์จีนกะอำนาจจีนปกไปบังคับบรรชาราชการในอาณาเขตร์นั้นๆได้จริงจัง”
“เจ้าเมืองอันมีอำนาจสิทธิ์ขาดอย่างเปนเจ้าของเมืองจริงๆนั้นๆ กรุงจีนวิสาสะเอาเองว่าเปนขุนนางของจีน แลผนวกยศจีนเพิ่มยศเจ้าเมืองนั้นๆ ตามเพสบ้านเพสเมืองให้อิกชั้นหนึ่ง หัวเมืองไทยต่างชาติเหล่านั้น จีนถือวิสาสะเอาเองว่าเปนราชอาณาจักร์ของจีนเรื่อยมาเช่นนั้นหลายร้อยปี แต่อำนาจจีนก็ยังค่อยเขยีดทวีขึ้นทุกที แลชาติที่อันตระธานกระจัดพลัดพรายเหล่านั้น ยังคงมีอยู่ในหัวเมืองจีนข้างไต้ เปนธุลีของพลเมืองเดีม ที่ปลิวไปใม่หมดติดอยู่ เพราะการขัดขวางในทางทำมาหากินบ้าง เพราะการกดขี่ข่มเหงบีบคั้นของจีนบ้าง ทำให้พวกไทยย้ายจากที่หนึ่งไปในที่อื่นไม่กกรัง แลอพยพทวีมากขึ้นทุกๆที ละล้วนผ้านมาข้างไต้ แลพวกที่มาพ้นจากเขตร์แดนจีนปัตยุบันนั้น ก็ยกเข้าไปตั้งในเขตร์ปัจจันตะประเทศแทบทั่วไป ยกเปนพวกใหญ่ๆ เข้าไปตั้งในที่ว่างอันเปนอู่เข้าอู่น้ำบ้าง ยกเข้าไปตั้งในเมืองร้างแทนชาติเก่าบ้าง ปนชาติเก่าบ้าง ไปตั้งแล้วทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมลงบ้าง ทำให้ดีขึ้นบ้าง ชาติที่อพยพไปเหล่านั้น แต่ละล้วนเปนชาติสำคัญๆ เปนหัวเมืองสำคัญๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยตั้งอยู่ในกรุงจีนเบื้องมัชฌิมะภาคแลภาคไต้” ยิ่งได้ตรวจดูหนังสือสำคัญต่างๆที่เปนหลักฐานบรรดาจะหาได้แล้ว ก็ยิ่งทำให้มองซิเออร์เตอเรียนกล่าวได้เตมปากว่า “ชาติชาน (คือไทย) ที่ยังเหลืออยู่ในกรุงจีนนั้น ตั้งอยู่ณเขากิวลุงเบื้องอุดรแห่งเมืองเสฉวน แลข้างไต้เมืองชานซี” ข้อนี้จะจริงฤๅอย่างไรนั้นยังมีทางที่จะสงไสยได้อยู่ แต่ถึงอย่างไรมีช่องสงไสยได้น้อยที่สุดในเรื่องที่ว่าได้มีชาติไทย จะเปนเงี้ยวเปนปาเปนลาว (มิสเตอร์ปาร์เกอเรียกอ้ายลาว) ฤๅจะเปนสาขาไทยพวกไหนก็ตามที สุดแต่เปนชาติไทยนั้น ได้ยกลงมาตั้งแลมีอำนาจใหญ่อยู่ในมณฑลฮุนหนำ (ยูนนาน) เปนหลายร้อยปี มิสเตอร์ปาร์เกอได้ค้นคว้าสืบสวนแล้วได้ให้พยานดังต่อไปนี้
“พงศาวดารพม่าได้กล่าวว่า มีกองทัพใหญ่พวกตะโยกฤๅตะโรกสองกองยกมาจากมณฑลขัณฑละฤทธิ์ฤๅประเทศฮุนหนำ (ยูนนาน) มาราวีเมืองพม่า กองทัพแรกราว พ.ศ. ๕๔๐ แลกองทัพหลังราว พ.ศ. ๗๘๔ พวกตะโยกเหล่านี้เปนจีนใม่ได้ ด้วยจีนถูกไทยกั้นกางมาถึงเมืองพม่าใม่ได้ จนกุไบลขั่นชิงไชยประเทศฮุนหนำ (ยูนนาน) มีไชยใน พ.ศ.๑๗๙๖ เปนอันจบราชอาณาจักร์น่านเจ้าแล้ว จึ่งเห็นได้ชัดเทียวว่า พวกตะโยกนั้น ต้องเปนพวกไทย เมื่อยังใม่เสียบ้านเมือง แลราชอาณาจักร์ของไทย คืออ้ายลาวฤๅน่านเจ้านั้น ก็อาจจะถือเอาได้ว่าเปนราชอาณาจักร์โป่งฤๅพง คือเมืองโกสัมพี ซึ่งพงศาวดารในชั้นหลังๆเรียก” การข้อนี้อาจจะอธิบายได้ด้วยเหมือนกัน ที่เหตุใรพม่าจึงเอ่ยถึงทหารมะหง่ลว่ามีมนุษย์สองชาติ คือตะโรก (ฤๅตะโยก) แลตะเรต เซออาเถอแฟยากล่าวว่า พม่าเรียกพวกเม่งจูว่าตะเรต แต่มิสเตอปาร์เกอสงไสยว่ากะใรๆอยู่ เซออาเถอแฟยาเอามาแต่ไหน มีอะไรเปนหลัก ความจริงนั้นตะโรกแลตะเรตแปลว่า ๖ แล ๗ แต่จะเอาความว่ากะไรต่อไปอิกก็มิได้ มีอิกอย่างหนึ่งเมืองเตรุ (เมืองไทย) ซึ่งมองซิเออร์เตอเรียนเขียนไว้นั้นจะบ่งเค้าให้ได้บ้างกระมัง เมืองนี้เจรีญราวก่อนพุทธกาล ๕๕๐ ปี “เจริญอย่างรุ่งเรืองมากทีเดียว เท่ากันถ้าใม่สำคัญมากกว่าหัวเมืองอื่นๆทั้งปวงอันเปนหัวเมืองขึ้นของจีนอย่างสำคัญๆ” แต่พวกเมืองเตรุฤๅเตโรต่อมาก็ต้องถูกพระราชาน่านเจ้าตะเพีดออกจากกรุงจีน ใน พ.ศ. ๑๓๒๑ เมื่อยามพระองค์ทำลายหัวเมืองฉวนฝ่ายปัจฉิมภาค ในข้างเหนือเมืองกวางซี มองซิเออร์เตอเรียนว่าคนพวกนี้คือต้นโคตร์ของชาติกะเหรี่ยงที่เรียกว่ากะเรนนี หมอคุชิงกล่าวแน่นอนว่า “ชาติไทยสาขาต่างๆนั้น ที่เชีดหน้าชูตาก็เพราะมีเมืองไทยใหญ่ๆเมืองหนึ่งฤๅมากกว่านั้น อยู่ในเมืองจีนข้างทิศหรดีมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนพงศาวดาร รู้จักเมืองน่านเจ้า ในราว พ.ศ. ๑๒๐๐” มิสเตอปาร์เกอกล่าวว่า “เมืองอันมีอำนาจมากนี้เองคือราชอาณาจักร์ชั้นต้นของพวกอ้ายลาว แลการทุกสิ่งสืบมาจนกาละทุกวันนี้ก็ยังมีหลักอยู่ที่เรียกว่าพวกไปอี พวกมินเชียงหรือพวกอื่นๆ ซึ่งล้วนเปนชาติไทยโดยใม่มีข้อกินแหนง ในเบื้องทักษิณ แลประจิมะทิศ แห่งประเทศฮุนหนำ (ยูนนาน) อันตั้งอยู่แดนต่อแดนกับบ้านดึกดำบรรพ์ของไทยเหล่านั้น” ก็ร่วมเปนพยานอย่างเดียวกัน
มองซิเออร์เตอเรียนยังเบีกพยานอิกข้อหนึ่งเมื่อเขียนเรื่องงายลาวว่า “พวกงายลาวปรากฎขึ้นอีกใน พ.ศ. ๕๙๐ ยกเข้าไปยายีในอาณาเขตร์จีน ล่องแพไม้ไผ่ลงมาตามลำแม่น้ำฮั่นแลยังซีในปี พ.ศ.๖๑๒ ลิ้วมั่วอันเปนแม่ทัพ แลพระราชาของงายลาวยอมออกต่อราชอาณาจักร์จีนพร้อมทั้งเจ้าอันเปนหัวหน้า ๗๗ คนพลเมือง ๕๑.๘๙๐ ครัวรวมเปนจำนวน ๕๕๓,๗๑๑ คน เพราะพวกงายลาวครอบครองดินแดนเสฉวนข้างตวันตกแลข้างไต้ไว้ทั้งสิ้น รัฐบาลจีนจึงจำใจต้องยินยอมรับเปนเมืองออกในเบื้องตวันออกแห่งประเทศฮุนหนำ (ยูนนาน) ใน พ.ศ. ๖๒๑ งายลาวเปนขบถต่อขุนนางจีนที่ตั้งมาอยู่กำกับเมืองขึ้นของจีน ขุนไลลาวราชาของพวกงายลาวอปราไชยในมหายุทธนา จึงทำให้พวกงายลาวร่วมชาติกัน ต้องอพยพหนีไปสู่บ้านเมืองซึ่งเปนหัวเมืองชาน (ฤๅไทยใหญ่) พม่าในปัตยุบันนี้ แต่ใม่ช้าพวกนั้นก็ฟื้นจากยับเยีน แลควบคุมกันเข้าเปนพวกใหญ่ๆกลับตั้งบรรลุความรุ่งเรืองจนใน พ.ศ. ๑๑๗๒ กลายเปนนครใหญ่เรียกนานเจ้า ซึ่งต่อมาแผ่อำนาจออกไปรอบทิศ” เมื่อการเปนเช่นนี้ ก็ชักให้เห็นได้ว่าการที่พวกไทยอปราไชยต่อจีนครั้งนั้น ก็คงเพราะขาดสามัคคีต่อกัน ด้วยชาติไทยังต้องการๆเข้าพวกอย่างเอาเปนเอาตายทีเดียว เห็นพยานได้ว่า เมื่อถูกเจ็บแล้วจึ่งจำ ภายหลังควบคุมกันเปนพวกใหญ่ๆเข้าได้จึ่งได้บรรลุความรุ่งเรืองมาสิ้นกาละนาน ทั้งมีเรื่องราวรุ่งเรืองพอให้เปนที่นิยมชมชื่นไปถึงพวกไทยร่วมชาติ แม้ไปตั้งอยู่ไกลแสนไกลจากกันได้ ใม่ว่าพวกไทยจะแผ่เขตร์แคว้นแยกกันออกไปไกลเพียงใด แลใม่ว่าผลของการร่วมสามัคคีเข้าเปนพวกเดียวกันนั้นจะส่อให้พวกไทยมีอำนาจมากขึ้นในทางราชการเพียงใด
หมอคุชิงกล่าวว่า “พวกไทยที่อพยพไปยังเมืองพม่านั้น น่าจะเริ่มมาแต่ราว ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว” แต่ตำนานของไทยใหญ่แลพม่ากล่าวถึงเรื่องไทยใหญ่ยกมานั้น อ้างว่าก่อนนั้นขึ้นไปอิกหลายร้อยปี ตามพงศาวดารจจีนที่เก็บความได้ก็ดูเหมือนจะท้าวความว่าร่วมเวลากัน ทางที่น่าจะเปนได้นั้น หะแรกก็คงจะอพยพไปแต่ทีละน้อยๆครัว แต่น่าจะไปด้วยฤทธิ์กระเสือกกระสนสรอดสร่ายใม่รู้สงบอันเปนอาการของไทยที่เปนนักรบมากกว่าถูกใครไล่ต้อนให้ไป พวกที่อพยพมาบางเหล่าอาจจะเปนพลรบยกมาเปนกองทัพก็เปนได้ เช่นพวกที่พม่าเรียกว่าตะโยกฤๅตะโรกยกกองทัพมาทำลายกรุงหัสตินะปุระอันเปนมหานครแรกของพม่า ไทยเรียกทุ่งกุ้ง พม่าเรียกตะโก้งนั้น เปนแต่รู้ได้ชัดว่าพวกที่ยกมาตีกรุงตะโก้งครั้งนั้นใม่ใช่จีน แต่เปนไทยฤๅชานเตโรคือกะเหรี่ยง แต่ก็เกือบจะบอกได้ตรงว่าใม่ใช่กระเหรี่ยง แต่ครั้นต่อไปภายหลัง ถึงจะอย่างไร พวกไทยพวกมากขึ้นแลพวกสำคัญยิ่งขึ้น ที่อพยพติดตามกันมานั้น คงต้องเปนด้วยถูกจีนบีบคั้นยกมาราวีชิงไชยโดยมิต้องสงไสย
พงศาวดารไทยใหญ่ข้างเหนือโดยมากมักเอ่ยเรื่องนิทานอย่างยอดนิยมของตนว่า ในราวปี พ.ศ. ๑๑๐๐ ยังมีพระภาดาสององค์ลงมาจากฟ้า เข้าตั้งอยู่ณเมืองแสนหวี ฤๅในเวิ้งน้ำเมา (คือชเวลี) ฤๅแม่น้ำอิระวดี (แม่กิ่วฤๅแม่แก้ว) ฤๅที่นั้นๆ สุดแต่ผู้รจนาจะเย่อหยิ่งชิงเจ้าสองภาดานี้เอาไปไว้ในเมืองของตน ในเมืองที่เข้าอาไศรยอยู่นั้นราษฎรพากันนิยมนับถือ อัญเชิญขึ้นเปนพระราชาของตนโดยพลัน การข้อนี้น่าจะมีมูลเพียงมีพวกไทยอพยพมาจากที่สูงๆ เช่นข้ามเขามาจริงตามพงศาวดารกล่าวต่อไปว่าฝูงไทยก็พากันอพยพข้ามเขาประเทศฮุนหนำ (ยูนนาน) ข้างไต้มาตามๆกันราวใน พ.ศ. ๑๑๕๐ สู่เวิ้งน้ำเมา (ฤๅชเวลี) แลบ้านเมืองติดต่อกันไปนั้นๆ เหตุฉนี้ เวิ้งนั้นจึงกลายเปนไชยภูมิตั้งอำนาจราชาธิปตัยของไทยใหญ่ ตำนานต่างๆ แลเนื้อความตามพงศาวดารไทยใหญ่ต่างๆ บรรดาซึ่งได้พบชั้นหลังๆ มา ล้วนรวมใจความกันว่า เวิ้งน้ำเมา (ฤๅชเวลี) แลดินแดนใกล้เคียง คือเมืองพะโม เมืองมีตแลเมืองแสนหวีนั้น เปนปฐมะคามของพวกไทยใหญ่ในพม่าตอนบน น่าจะเห็นได้ว่าพวกไทยที่อพยพตามกันมาเปนพวกมากๆ นั้น คงจะเอาอย่างเจรีญรอยพวกไทยที่ยกมาตั้งอยู่แล้วแต่ในชั้นก่อนๆ กลับไปเล่าว่า แถบนั้นเปนที่อุดมดี ด้วยพวกที่มาแต่แรกนั้น เปนพวกที่อยู่ใม่สุกเที่ยวแสวงหาที่ตั้งถิ่นฐานอุดมดี จึงมาประสรบแหล่งนี้สมใจเข้า หาใช่มาเพราะประสงค์จะตั้งอำนาจทางราชการใม่ แต่เวิ้งน้าเมานั้น พวกไทยใหญ่แผ่สร้านออกไปทางเบื้องอาคเณย์จนทั่วอเลอหัวเมืองไทยใหญ่ในปัตยุบันนี้ แลข้างเหนือถึงที่ซึ่งพวกไทยคำตี่ตั้งอยู่ทุกวันนี้ แลทางตวันตกแห่งแม่น้ำอิระวดี ถึงบ้านเมืองทั้งปวงบรรดาตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำชินดวินแลเมืองอาซัม ในสัตยุคต่อๆมาอิก พวกไทยกลับยกไปยายีชิงไชยเมืองเวสาลีหลวง คือตัวเมืองอาซัมเอง ใม่ซั่วแต่ตำนานต่างๆ กล่าวว่าพวกไทยใหญ่ในหัวเมืองพม่าตอนบนเหล่านี้เปนสาขาตระกูลไทยชั้นดึกดำบรรพ์เท่านั้น แต่พวกไทยสาขาอื่นๆ ก็ยังเรียกไทยดึกดำบรรพ์นั้นๆ ว่าไทยหลวงฤๅไทยใหญ่ด้วย แต่ไทยสาขาอื่นๆนั้นเรียก ตัวเองว่าไทยน้อย ชื่อไทยเมาสำหรับเรียกพวกไทยที่ตั้งอยู่ในเวิ้งแม่น้ำเมา (ชเวลี) ก็ใช้กันชุม แม้แต่ไทยสยามก็ยังใช้ แต่ออกจะใช้ผิดๆ ด้วยไทยสยามเรียกตัวเองว่าไทยน้อย แลชานสยาม (คือลาว) ที่สยามกล่าวว่าตนสืบสัมพันธุ์ออกมานั้น สยามเรียกว่าไทยใหญ่ แลเรียกไทยหลวงว่าเงี้ยว แต่ข้างลาวเรียกตัวเองว่าไทยน้อย แลยอมเรียกชานคือไทยใหญ่ ข้างตวันออกเมืองพม่าว่าไทยหลวง แลเรียกไทยสยามว่าไทยไต้ พวกไทยจีนที่ยกมาตั้งเมืองตามพวกไทยใหญ่ที่อพยพตามกันมายังเมืองพม่านั้นก็พลอยได้มีชื่อเรียกว่าไทยหลวงด้วยเหมือนกัน ใม่ต้องสงไสยเลยนามไทยหลวงฤๅไทยใหญ่นั้นคงเกิดจากพวกทรงอำนาจทางราชการในชั้นต้นๆ ที่ยกมาตั้งโดยสาขาตระกูลไทยข้างเหนือ ทั้งน่าจะเพิ่มกำลังแข็งแรงขึ้นอิกมากที่สุด เมื่อราชอาณาจักร์น่านเจ้าพินาศลงแล้วยกมาสมทบกัน
พวกไทยที่ยกมาตั้งชั้นแรก แลไทยพวกที่ยกพ่ายมาจากมณฑลฮุนหนำ (ยูนนาน) เหล่านี้ ล้วนค่อยๆลงมาข้างไต้แต่กระเถีดลงมาช้าๆทีละเล็กละน้อย อนึ่งฝรั่งนักพงศาวดารกล่าวถึงไทยสยามว่า “ต่อลุ พ,ศ, ๑๘๙๓ จึ่งได้ยกลงมาตั้งในมหาสันดรแม่น้ำระหว่างกัมพุชแลรามัญะประเทศ น่าจะเห็นได้พอเทียวว่า การที่ไทยรบาตร์มาครั้งท้ายนี้ คงจะต้องยกมาเปนพวกโตๆทรงกำลังแลอำนาจมากๆแลยกมาเพราะผลที่กุไบลชิงไชยราชอาณาจักร์ไทยในมณฑลตะลีฟู (ขัณฑละฤทธิ์) ใน พ,ศ, ๑๗๙๖” แต่ที่จริงไทยสยามยกมาตั้งในเวิ้งแม่นำเจ้าพระยานานกว่านั้นมาก พ.ศ. ๑๘๙๓ นั้นเปนศกที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ประดิษฐานกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา แต่ไทยสยามตั้งณเมืองเหนือกรุงศรีสัชนาลัยแลสุโขทัยราชธานี แลมาตั้งมณฑลสุวรรณภูมิ (คือแถบนครปฐมสุพรรณแลกาญจนบุรี) แลตั้งที่กรุงศรีอยุทธยาเองเรียกว่ารามะบุรีฤๅเสนานคร แลอโยชฌิยา ทั้งมาตั้งณเมืองลโว้ (คือลพบุรี) ตั้งๆเลีกๆหลายพัก ก็ก่อนนั้นขึ้นไปมาก น่าจะใม่ช้ากว่าไทยยกไปตั้งทางพม่าข้างตอนบนมากนัก มีสิ่งน่าคิดอิกอย่าง ก็การหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ แลพระศรีศาสดา พงศาวดารเหนือว่า พ.ศ, ๑๕๐๐ แต่พระเจ้าจันทสุริยะทรงหล่อพระมหาปฏิมากรในกรุงธัญญะวดี (ยะข่ายฤๅอาระกัน) ถวายพระนามพระมหามุณีนั้นใน พ,ศ, ๖๘๙ ผิดกันกะเวลาหล่อพระพุทธชินราชถึง ๘๑๑ ปี น่าจะเห็นว่าจะหล่อใกล้ๆเวลากัน เพราะเปนสมัยนิยมกันอย่างนั้น ก็มักทำตามๆกัน แต่ถึงจะอย่างไรไทยสยามคงต้องลงมาตั้งในเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือ คือกรุงศรีสัชนาลัยแลสุโขทัยราชธานีแลทางตวันออก เช่นสุวรรณภูมิก่อนที่ฝรั่งว่าขึ้นไปนับด้วยร้อยๆปีก่อนตั้งกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา
พงศาวดารไทยใหญ่ชั้นดึกดำบรรพ์ในพม่านั้น อยู่ข้างขาดตกบกพร่องแลเลือนมาก มีเหตุให้สงไสยน้อยทีเดียว ในข้อว่าราชอาณาจักร์ไทยใหญ่อันมีอำนาจมากนั้น เรียกเมืองเมาหลวง อันเจริญขึ้นในดินแดนข้างเหนือแถบแม่น้ำเมา (ฤๅชเวลี) มิสเตอเนอีเลียสพุ่งว่านครเมาโบราณนั้นก็คือที่เมืองเมาเดี๋ยวนี้นั่นเอง ใม่ต้องสงไสยเลยละพุ่งผิดแท้ๆ ที่ตั้งเมืองเมาเดี๋ยวนี้ยังใม่ได้เปนนครมาจนช้านานต่อมาภายหลัง เมื่อราชอาณาจักร์นั้น เจริญขึ้นจนมีอำนาจเต็มที่แล้ว การทุกสิ่งทุกอย่างชี้ให้เห็นความจริงว่า ราชอาณาจักร์นั้นๆ คือที่พวกไทยมาอยู่นั่นเองก็คือพวกไทยที่ตั้งอยู่ตามเวิ้งแม่น้ำเมา (ชเวลี) พระราชาองค์ใหม่มักพอพระไทยเลือกมงคลภูมิสร้างพระนครใหม่อยู่บ่อยๆ นครเหล่านี้ย่อมตั้งอยู่ใกล้ฝั่งน้ำเมา (ชเวลี) แลมิสเตอเนอีเลียสบรรทึกไว้ว่าที่ตั้งพระนครที่ชอบกันนักนั้น ก็ที่เชียลา เกือบจะใม่มีข้อสงไสยคำที่ว่าเชียลานั้นคือแสล้านในปัตยุบันนี้นั่นเอง ราว ๕๒๐ เส้นไปข้างเบื้องบูรพ์แห่งน้ำแม่คำแลใกล้แดนต่อแดน อันยังเปนเวิ้งน้ำเมา (ชเวลี) อยู่ พ้นนั้นไปใม่ไกลนักก็คือเมืองเมาในปัตยุบันนี้
ฝรั่งที่ได้ไปตรวจรายงารไว้ว่า แสล้านในปัตยุบันนี้นั้น เปนแต่หมู่บ้านอันหนึ่ง ขนาดใม่ใหญ่นัก ตั้งอยู่ณเนินสูง ๔๕ วาจากรดับดินราบกว้างยาวราว ๔๐ เส้น เนีนนี้ล้อมรอบไปด้วยคู บางแห่งลึกถึง ๕ วา ๖ วา ๗ วา ก็มี ใม่ต้องสงไสยเลย เมืองนี้คงเคยมีกำแพงครั้งหนึ่งแต่ทำลายหายสูญไปเสียแล้ว ห่างนั้นไปอิกใม่กี่ร้อยเส้นถึงเมืองผังดำ ก็เปนนครพวกไทยเมานครหนึ่งเหมือนกัน ยังมีรอยเทีนแลคูล้อมรอบเขตร์นครอยู่ ข้างเคียงนครนั้น ก็ยังมีเขาเนินแลมีวงเทีนดินล้อมเปนเลา เห็นได้ปรากฎอยู่หลายแห่ง คนที่อยู่ในแถบนั้นว่าเมืองเหล่านั้นเปนของจีนสร้าง แต่เปนของเก่าแก่มากพิจารณาลักษณะที่สร้างทำนองเดียวกันกะนครโบราณอื่นๆที่สร้างไว้ในหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวงทั่วไป จนในเมืองเชียงแสนเชียงราย แลมีโอกาศสงกาน้อยที่สุดว่าจะใม่ใช่มหานครไทยเมาครั้งดึกดำบรรพ์ ถ้านครน่านเจ้ามิใช่เปนกรุงโกสัมพี แลราชอาณาจักรโป่งฤๅพงแล้ว ก็น่าจะเอื้อมเอาว่ามหานครไทยเมานี้เองเปนราชอาณาจักร์นั้น โดยประกอบเหตุผลน่าจะเห็นว่าเปนเช่นนั้นหลายประการ
การที่พงศาวดารพม่าใม่เอ่ยถึงเรื่องอาณาจักร์นี้นั้น น่าปลาดใช่น้อย อธิบายได้แต่นึกเอาว่ามนุษย์ชาติที่พม่าเรียกครั้งนั้นว่าตะโยกนั้น คือไทยแท้ๆ แต่เปลี่ยนชื่อเลือนมาภายหลังนับร้อยๆปี ยังไงกลายเปนเจ๊ก เปนด้วยพม่าใม่รู้จักตัวเจ๊กจริงๆ มาจนราชอาณาจักร์ชานฤๅไทยที่น่านเจ้าพินาศลงแล้ว พงศาวดารไทยใหญ่ยืนยันว่าราชอาณาจักร์เมาได้เริ่มสร้างใน พ,ศ, ๑๒๐๐ เศษ แลตั้งอยู่โดยลำพังอานุภาพไทย เจริญมากบ้าง ทรามลงบ้าง สถาวรมาจนถึงยุคพระเจ้าอโนรธามังฉ่อพระเจ้ากรุงภุกามมีอำนาจขึ้น มหาราชพระองค์นี้ตั้งราชธานีอยู่ในที่ลานท้องทุ่งราบแลรุกรวบเอาดินแดนของพวกไทยใหญ่ที่ตั้งเหลื่อมลงไปในท้องทุ่งเสียแทบสิ้น เหตุฉนี้มิสเตอร์ปาร์เกอจึงเห็นว่า พระเจ้าอโนรธามังฉ่อเปนองค์พระมหากษัตริย์พม่าแท้ในพงศาวดารพม่า แลคิดว่าการที่เชื่อว่าได้กรีฑามหาพยูห์ไปถึงกรุงจีน เพื่อแสวาพระพุทธฑาฐะธาตุนั้น ก็ใม่ไกลกว่านครน่านเจ้าอันเปนเอกราชในครั้งนั้น แลครั้งนั้นน่าที่จะเรียกว่าเมืองตะโยกนั่นเอง
เมื่อขายาตราทัพกลับ พระเจ้าอโนรธาได้อภิเษกด้วยราชธิดาของกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง แต่มิสเตอเนอีเลียสว่าพงศาวดารเมืองเมากล่าวว่า เจ้าฟ้าเมืองเมา “ได้อวยราชธิดาถวายแก่พระเจ้ากรุงภุกาม” แต่พงศาวดารเมืองเมาก็กล่าวไว้ในที่อื่นด้วยเหมือนกันว่า เจ้าฟ้าเมืองเมาใม่เคยเสด็จสู่ราชสำนักกรุงภุกาม อย่างเจ้าหัวเมืองออกของพม่าแท้เคยต้องจำกระทำนั้นเลย” เจ้าเมืองเมาจะได้เปนเมืองออกต่อพระเจ้าอโนรธาแท้ฤๅใม่ก็ตามทีเถิด แต่ได้ความชัดว่าเมื่อรัชกาลของพระมหากษัตริย์องค์นี้สุดลงใน พ,ศ, ๑๕๙๕ นั้น เจ้าฟ้าแห่งราชอาณาจักร์เมายังเปนเอกราชอยู่ แต่ในพงศาวดารเหนือของสยามก็ว่าพระเจ้าอโนรธาได้กรีฑาทัพหลวงไปเหยียบชานกรุงลโว้ แลได้อภิเษกเจ้าฟ้าแก้วประพาฬเชษฐะภคินีของพระมเหษีพระเจ้าจันทโชติจนเกิดพระนเรศวรมอญยกไปยายีกรุงลโว้อิก ในตัวยาซะเวงคญีพม่าว่า พระเจ้าอโนรธาได้อภิเษกราชนารี มองเลา ในมหาราชวงศ์พม่าว่ามองเมา แลสิ่งที่ใม่มีข้อกินแหนงนั้น พระโอรสพระเจ้าอโนรธามังฉ่อที่ได้ทรงราชย์สนององค์พระราชบิดานั้นทรงพระนามจอลู จึงยวนใจให้นึกว่ามองเลาน่าจะเปนเมืองละโว้จอลูก็เปลี่ยนมาจากคำว่า เจ้าลโว้ ราชนารีไทยที่พระเจ้าอโนรธาได้อภิเษกนั้นเป็นเจ้าหญิงเมืองละโว้ไทยสยาม หาใช่เมืองเมาไทยหลวงใม่ ก็เปนได้ เพราะทางที่จะยาตรามหาโยธากลับจากพระนครน่านเจ้าก็มาได้ทั้ง ๒ ทาง แต่ในครั้งนั้นพงศาวดารพม่าใม่ได้กล่าวถึงไทยสยามฤๅไทยหลวงว่าผิดกันอย่างไรเลย ปรากฎแต่ว่าพระเจ้าอโนรธาใม่เคยเหยียบไปในดินแดนหัวเมืองเงี้ยว คือ แดนชานหลวงฤๅไทยใหญ่ข้างเบื้องบูรพ์พม่าตอนบนเลย จึงชักให้เห็นสมว่าถ้าฉนั้นแล้วจะเดินทัพฝ่าลงมาอย่างไรได้ ถ้าราชนารีไทยที่พระเจ้าอโนรธาได้ทรงอภิเษกเปนไทยละโว้จริงเช่นอนุมานตามเหตุผลแล้ว ก็เปนพยานเถียงนักปราชญ์ฝรั่งได้อิกกะทง ๑ ในข้อที่ว่าไทยสยามพึ่งยกลงมาตั้งในเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา (อันเปนดินแดนของขอม) ใน พ,ศ, ๑๘๙๓ เท่านั้นใม่จริง
ใน พ,ศ, ๑๗๕๓ มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในการสืบราชสมบัติกล่าวไว้ในพงศาวดารแสนหวี แต่พงศาวดารนั้นก็พิลึกกึกกือ คล้ายปีสาจปกรณำว่า แม่นางญีกางคำ (คือใหญ่กลางคำเพราะไทยหลวงพูดอักษรประโยคใม่เปน) ได้ทรงราชย์เปนราชินี แลพงศาวดารเมืองเมาที่มิสเตอร์เนอีเลียสเขียนเรียกว่า “ทุติยูปบัติวัฒนาภินิหารของขุนลูปรากฎพระนามว่า เจ้าอ้ายโมคำเหน่ง ชาติไทยสาขากุนสุ เมืองเกียงนยอง (คือเชียงหนอง)” ความจริงจะเปนอย่างไรก็ตามต่อไปก็คงมีสองภาดาทรงฤทธานุภาพ แผ่พระราชอาณาจักร์เมาไปไกลที่สุดซึ่งชาติไทยหลวงใม่เคยเผยผ้านไปถึงเท่านั้นเลย สองภาดาผู้มีบุญนี้คือ เจ้าเสือขวัญฟ้า แลเจ้าสามหลวงฟ้า พงศาวดารแสนหวีพูดเรื่องเจ้าเสือขวัญฟ้าน่าเชื่อกว่าที่กล่าวในตำนานเมืองเมา แต่จะอย่างใรก็ยกไว้ที อนุชา (ด้วยพงศาวดารแสนหวีว่าสองภาดาคู่นี้เปนฝาแฝด) เจ้าสามหลวงฟ้าได้เปนเจ้าฟ้าเมืองก้อง (พม่าเรียกโมคองไทยเรียกเมืองคัง) จึงได้สร้างนครใหม่แลตั้งเจ้าครองเมืองอันมีอำนาจ เปนเมืองออกแก่เมืองเมาใหม่อิกมากเมือง ต่อไปนั้นอิก ๕ ศก เจ้าเสือขวัญฟ้าจึงได้สืบราชสมบัติถวัลย์รัชในมหานครไทยเมาสนององค์ราชบิดา ใน พ.ศ. ๑๗๖๘ ได้กรีฑาทัพใหญ่ไปชิงไชยมหาธานี ๔ ครั้ง จึงราชอาณาเขตร์ไทยเมาขยายผ้านแผ่ออกไปมาก เจ้าหัวเมืองขึ้นเจ้าเสือขวัญฟ้า เบื้องทักษิณทิศไกลไปถึงเมืองรามะบุรี (คือเมาะลำเลีงฤๅมะระแหม่ง) แลเบื้องบูรพทิศถึงเมืองเชียงรุ้ง ราชอาณาเขตร์ของเจ้าเสือขวัญฟ้าเบื้องประจิมแผ่ไปถึงเมืองยะข่าย กองทัพไทยเมายกไปทำลายมหานครยะข่ายแลไปตีเมืองกะแซ (มณีปุระ) ได้ เมืองอาซัมก็ยอมออกใน พ.ศ. ๑๗๗๒ เปนอันตกมาอยู่ใต้อานุภาพไทย จนต่อไปชาวกะแซเรียกไทยเมาว่าอะฮอม ยังเอื้อมอิกว่า แม้แต่ราชอาณาจักร์ไทยมณฑลตะลี (ขัณฑละฤทธิ์) ก็ยอมอ่อนน้อมเปนสัมพันธไมตรีต่อกษัตริย์ไทยเมามาก่อนเสียนครแก่กุไบลขั่นใน พ.ศ. ๑๗๙๖ (ต้องสังเกตหน่อย นามน่านเจ้านั้น พงศาวดารไทยใหญ่ใม่รู้จักเลยทีเดียว น่าจะเปนคำจีนแท้ แปลว่าเจ้าหนทักษิณจริง) ว่ากันที่จริงน่าจะเปนสาเหตุเพราะไทยเมารุกราษฐ์นี่เอง ชักให้ทหารมะหง่ลยกมาทำลายราชอาณาจักร์นั้น เพราะรู้ศึกว่าไทยมณฑลน่านเจ้านั้นอ่อนแอ แต่หมอคุชิงเห็นว่าน่าเชื่อว่าทางพระราชไมตรีมณฑลตะลี (ขัณฑละฤทธิ์) นั้น เปนฉันท์มิตระภาพมากกว่าเปนเมืองออก ด้วยตั้งแต่กองทัพมะหง่ลยกมาชิงไชยพินาศนครไทยในฮุนหนำ (ยูนนาน) แล้ว ล่วงมาได้เกือบ ๓๐ ศก จีนก็ยกมาตั้งมุงอยู่ตามพรมแดน แลใน พ.ศ.๑๘๒๗ กองทัพมะหง่ลก็ยกมาผลาญกรุงภุกามแลพินาศราชาธิปตัยพม่าเสีย แต่กองทัพมะหง่ลครานี้ดูเหมือนใม่ได้ทำอันตรายอย่างใดแก่ราชอาณาจักร์เมาหลวงเลยทีเดียว ดูเปนการยากที่จะเดีนทัพผ่านลงไปข้างไต้ ถ้ากษัตริย์ไทยนครเมาหลวงตั้งเปนศัตรูต่อมะหง่ล เหตุฉนี้น่าจะอนุมานเอาได้ว่ามะหง่ลคงจะมีความตกลงกันอย่างไร ถ้าใม่มีทางราชไมตรีต่อกันแน่นอน แลการข้อนี้พงศาวดารแสนหวีก็ว่าไทยเมามีทางราชไมตรีกับมะหง่ล บางทีจะเปนเพราะข้อที่มะหง่ลกับไทยเมาร่วมไมตรีกันนี่เอง พม่าจึงได้เอ่ยถึงพระนามตะโรกแลตะเรตสมทบทัพกันมาราวีเปนครั้งแรก เฉภาะร่วมเวลานี้ตรงกันทีเดียว มหานครใหม่เรียกมานมอฤๅบ้านม่อได้ตั้งขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๘ ใกล้ที่ตั้งเมืองพะโมอยู่ในปัตยุบันนี้ แลการข้อนี้ส่อให้เห็นว่าไทยแข่งอำนาจพม่ารุกล่วงลงมาในท้องทุ่ง อันเปนดินแดนของไทยมาก่อน ที่พระเจ้าอโนรธามหารายได้โอบเอาฤๅทำลายเสีย ใช่แต่เท่านั้น การที่อำนาจพม่าเสื่อมทรามลงด้วยเสียกรุงภุกามนั้น ทำให้อำนาจราชาธิปตัยเมาหลวงทวีขึ้นอิกมาก จนถึงอ้างว่าอาณาเขตร์เมาหลวงได้ทวีขึ้นไปชิงไชยถึงในเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาถึงกรุงศรีสัชนาลัย แลเมืองยุนซะลิน (ฤๅรุนชะลิน) แลเมืองทวาย ฝรั่งนักพงศาวดารกล่าวว่า เปนครั้งแรกที่ได้รู้ว่ามีไทยสยามยกลงไปตั้งในเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อไทยเมายกกองทัพไปชิงไชยครานี้ แลรวบเอาเปนส่วนสมะภาคของราชอาณาจักร์เมาเสียทีเดียว น่าที่ไทยสยามจะพึ่งยกมาตั้งใหม่ เมื่อราชอาณาจักร์น่านเจ้าฤๅตะลี (มณฑลขัณฑละฤทธิ์) ณฮุนหนำ (ยูนนาน) พินาศแล้ว แลเปนการเชื่อได้แน่ว่าการทำลายกรุงภุกามพินาศนั้น ก็เพราะผลของกองทัพมะหง่ลที่พินาศไทยในมณฑลฮุนหนำ (ยูนนาน) นั่นเองหาใช่จีนใม่ แต่พวกไทยฮุนหนำ (ยูนนาน) ก็แตกพ่ายกระจัดกระจายพลัดพรายออกจากมหานครเอกราชดึกดำบรรพ์ของตน จึ่งแผ่ผ้านลงมาถึงเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ความจริงหาเปนเช่นนั้นใม่ ไทยยกมาตั้งก่อนนั้นช้านาน แลกองทัพไทยเมาที่ยกมายายีกรุงสุโขไทยราชธานีนั้น ในพงศาวดารเหนือของไทยก็มีเงาปรากฎ แต่เลือนๆไปว่าทรงพระนามพระเจ้าศรีธรรมตรัยปิฎก เจ้านครเชียงแสนยกมาตีกรุงศรีสัชนาลัย ยังใม่ได้พระนคร พระเจ้าพสูจราชโอรสพญาร่วง ถวายพระราชธิดาทรงนามพระนางประทุมเทวีอภิเษก พระเจ้าศรีธรรมตรัยปิฎกก็กรีฑาทัพกลับ ภายหลังเกิด ๒ พระกุมารนามเจ้าไกรสรราชแลเจ้าชาติสาคร พระเจ้าศรีธรรมตรัยปิฎกยกมาสร้างเมืองพิศณุโลก แลหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชิณศรี แลพระศรีศาสดา แลทรงอภิเษกเจ้าไกรสรราช กับนางสุลเทวีราชบุตรีพระเจ้าศรีสัชนาลัยไปครองกรุงละโว้ และพระเจ้าไกรสรราชให้สร้างเมืองเสนานคร (คือกรุงศรีอยุทธยา) ให้เจ้าดวงไกรกฤษณราชราชโอรสไปครอบครองอิกต่อ แต่ศักราชข้างไทยเอื้อมสูงขึ้นไปกว่าข้างไทยใหญ่ว่า แต่ถึงอย่างไรก็เห็นได้ว่าคำที่ฝรั่งว่าไทยสยามพึ่งมาตั้งในเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ นั้นคลอนแคลน เพราะยุคที่ว่านี้ก็ก่อนพุทธสัตยุคที่ ๑๙ ตามที่ว่า
ปัณหาทั้งปวงเหล่านี้ ต้องการความตรวจตราแลหาหลักฐานมาพิศูจน์ให้ถ่องแท้มากกว่าเพียงเท่าที่รู้อยู่แล้วเท่านี้ จึงขอสงบไว้ที แลขอกล่าวต่อไปว่า มิสเตอร์ปาร์เกอได้กล่าวว่า “น่าจะต้องใม่เชื่อเรื่องราวที่ว่ากองทัพมะหง่ลได้เคยลงมาเหยียบถึงกรุงภุกาม ซึ่งครั้งนั้นเปนมหานครพม่า น่าจะเปนแต่พวกไทยใหญ่ที่สมทบกองทัพมะหง่ล ถือเอาโอกาศนั้นยกมาปล้นซ้ำทำลายกรุงภุกามเสีย”
การที่ว่าเช่นนี้น่าจะจริงมาก ด้วยในใม่ช้าพวกไทยใหญ่ก็แบ่งอาณาจักร์พม่ากันเสียเอง เมื่อพระเจ้ากยอสะวาอันเปนปัจฉิมกษัตริย์มหาราชวงศ์พม่าโบราณทิวงคตแล้ว อนึ่งดูท่าทางเจ้าไทยใหญ่ ๓ พี่น้อง ที่แบ่งราชอาณาจักร์พม่าต่อกันนั้น น่าจะเปนพันธุ์วงศ์ตามที่กล่าวในพงศาวดารพม่าว่าเมืองอุนบอง (ธีบอ) แต่เซออาเถอแฟยาว่า “มาจากหัวเมืองชานย่อมๆชื่อภินนะกา” ออกน่าจะเปนแต่เพ้อๆตามตำนานกล่าวกันเลอะเทอะเสียมาก เมื่อได้แปลตำนานนั้นออกดูเหมือนกลับยันว่า คำว่าภินนะกานั้น ออกจากคำแปงทะคา เปนชื่อคนหาใช่ชื่อเมืองย่อมๆใม่ แลบุตร์ของแปงทะคา ๓ คนฤๅบุตร์หลานน่าจะมากกว่านั้นขึ้นไปอิก ได้เปนผู้ครอบครองเมืองสะกาย เมืองปันยา แลเมืองเมียนซาย
ตั้งแต่ยุคนี้ต่อไป เนื้อความในพงศาวดารไทยใหญ่ฉบับต่างๆออกจะร่วมกันมาก แลตั้งแต่นี้ไปออกจะรมัดรวังเหลีงเจี้ง แลกล่าวแต่จำเภาะเหตุการในจังหวัดของไทยใหญ่นั้นเอง ความรุ่งเรืองของอาณาจักร์เมาหลวงเริ่มจะจับหายะนะ เมื่อแผ่อานุภาพไปในด้าวแดนใหญ่โตอย่างยิ่งเสียแล้ว ราวเวลานี้ ราชอาณาจักร์น่านเจ้าก็ล้ม เหตุฉนี้ ความเห็นอาจจะพลุ่งออกไปได้ว่า การที่อ้างถึงมูลราชอาณาจักร์ไทยเอกราชแลอ้างถึงน่านเจ้า โกสัมพี แลราชอาณาจักร์โป่งหรือพงทั้งปวงนั้น น่าจะเปนแห่งเดียวกันนั่นเอง น่าที่เจ้าฟ้าไทยทั้งปวงจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเปนเมืองออก ต่อเจ้าฟ้าใหญ่อันเปนมหาราชาธิปตัยของชาติไทยทั้งปวงสักองค์หนึ่งในมณฑลตะลี (ฤๅขัณฑละฤทธิ์) เมื่อเจ้าฟ้าไทยใหญ่นั้นสิ้นบุญบาระมีเสียแล้ว ชาติไทยจึงแตกกันออกเปนหัวเมืองย่อยๆใม่รวบยอดร่วมเจ้าฤๅราชาธิราชเดียวกัน แลใม่ได้รวบรวมกันเข้าได้ เลยกระจัดกระจายเปนหัวเมืองย่อยๆอยู่จนอวสานะกาล เมื่อเสียเมืองแก่พม่าแล้วในที่สุดก็เสียเมืองแก่อังกฤษอิกต่อ
ความจริงจะเปนเช่นข้อที่คาดนี้ฤๅหาใม่ก็ตาม แต่คงเปนความจริงที่ชาติไทยหลวงหรือชาน ชราภาพเสื่อมทรามลงทุกที สยามแลมลาวอันเปนเมืองออกก็กลายเป็นแยกกันตั้งเป็นประเทศราช ขึ้นอยู่ต่อพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยราชธานี อันเป็นมหานครโบราณของสยามตั้งอยู่ฝ่ายเหนือ การสงครามกับพม่าแลจีนก็ถี่เข้าแลการที่เจ๊กล่วงเข้ามาราวีถึงในด้าวแดนนั้น ส่อให้เกิดความฉิบหายวายร้ายมาก ครั้งหนึ่งพระราชาองค์หนึ่งจะเปนอนุชาเจ้างันฟ้าเมืองเมาหลวงฤๅเจ้าก้อนฟ้าเมืองก้อง (โมคองฤๅเมืองคัง) ใม่แน่ หนีไปกรุงอังวะ แลกองทัพจีนยกติดตามลงไป จึ่งดื่มยาพิษม์พิราไลยลงที่นั่นใน พ.ศ. ๑๙๘๘ เหตุที่จีนทาเกลือตากศพเจ้านั้น แลเอาไปเมืองจีนด้วยนั้น ทำให้เราสามารถเทียบเคียงจารีตแลลักษณะรจนาอักษรทั้งทราบศุภมาศแน่นอนได้ เจ้าแผ่นดินไทยใหญ่พระเคราะห์ร้ายองค์นี้ในพงศาวดารพม่าเรียกโสหันพวา (คือเสือหาญฟ้า) พงศาวดารกะแซ เรียกว่าสุนคำฟ้า แลพงศาวดารจีนเรียกแสนฟ้า ฤๅซะแชนฟ้า เหตุที่สิ้นพระชนม์ลงอย่างน่าพิลึกส่อให้เชีดพระนามปรากฎโด่งดัง ซึ่งใม่เกี่ยวกับอภินิหารสมควรจะเปนเช่นนั้นเลย
ดูอาการน่าในยุดนั้นจะใม่มีอำนาจไทยใหญ่นครใด เปนใหญ่ควบคุมกันเข้าเปนชาติใหญ่ได้เสียแล้ว ถึงถ้ามี การทำสงครามใม่รู้หยุดรู้หย่อนนั้นเองทำให้อ่อนอำนาจลง แลเจ้าไทยต่างเมืองก็เลยตั้งตัวเปนเอกราชไปตามกัน ในหัวเมืองไทยใหญ่เหล่านั้น เมืองก้อง (โมคองทเมืองคัง) อันเปนเมืองที่ตั้งอยู่ไกลกรุงจีนที่สุดนั้น ดูเหมือนจะเปนเมืองมีอำนาจมากกว่าเพื่อน พงศาวดารเมาหลวงของมิสเตอร์เนอีเลียส กล่าวว่า เจ้าร่มฟ้า อันเปนเจ้าฟ้าเมาหลวงองค์ท้ายนั้น ทรงราชย์อยู่ถึง ๘๘ ศก แลพิราไลยใน พ.ศ. ๒๑๔๗ แลราชอาณาจักร์เมาบรรลุวัฒนาการอย่างยิ่งใม่เคยเปนถึงเช่นนั้นมาแต่ปางก่อนเลย แต่การสัมผับปราวาทข้อนี้ ก็สักแต่ว่าเปนความปราถนาจะอวยพรส่งขึ้นสวรรค์ตามธรรมดาของนักเล่านิทานอย่างช่ำชองฉนั้น ด้วยเปนการรู้ยิ่งกว่าแน่ว่าพระเจ้าบุเรงนองอันเปนกษัตริย์ยอดทเยอทยานของพม่า แลเปนมหาราชทำอะไรสำเร็จอย่างยิ่งของกรุงหงสาวดี ได้ยกไปชิงไชยเขตร์แคว้นเมาหลวงใน พ.ศ. ๒๑๐๕ ต่อนั้นมากองทัพจีนก็ยกมายายีใน พ.ศ. ๒๑๒๕ แล พ.ศ. ๒๑๔๗ เลยเปนอันจบเชื้อวงศ์เจ้าฟ้าไทยเมืองเมาหลวงมาตระว่าเมืองก้องยังตั้งตัวเปนเอกราชพล่องแพล่งต่อมาได้จนกระทั่งพระเจ้าอลองพญายกไปชิงไชยเฉียบขาดในต่อมาอิก ๑๕๐ ปี อาจจะกล่าวได้เต็มปากว่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๔๗ พงศาวดารไทยใหญ่ก็รวมลงในพงศาวดารพม่า แลหัวเมืองไทยใหญ่ต่างๆนั้นมาตระว่าไว้ตัวเหมือนเปนเอกราชแลก่อการขบถอยู่บ่อยๆ แลพยายามจะทำสงครามต่อสู้เปนหลายครั้งหลายคราว ก็ใม่เคยสลัดพ้นเงื้อมมือพม่าซึ่งจั้งง่าไว้ได้เลย
ตั้งแต่ยุดนี้ไป ไทยใหญ่กลายเปนพวกเล็กพวกน้อยย่อยกันออกไปทุกที อาการของบ้านเมืองที่ไทยใหญ่อยู่ ทำให้แตกพวกกันได้ง่ายขึ้น แลใม่ต้องสงไสยเลย เพราะบ้านเมืองไกลไปมาถึงกันยากนี่เองช่วยอธิบายให้เห็นชัดว่า ธรรมดาน่าต้องการให้ไทยสามัคคีขมวดเข้ากันให้มากๆ ด้วยอานุภาพชาติเพื่อนบ้านข้างเคียงเขามักคุมกันเข้าเปนพวกโตๆ แลบางชาติก็ยกมาชิงไชย บางพวกก็กลืนชาติไทยพวกน้อยเข้าไปเสีย แลพวกที่มีอำนาจมาข่มเหงย่ำยีไทยได้นั้น แต่ละล้วนขยันขันแข็งแลรู้จักควบคุมกันเข้าเป็นพวกโตๆทั้งนั้น
หมอคุชิง แบ่งพวกไทยออกเปน ๓ เหล่า คือ ๑ ไทยเหนือ ๒ ไทยกลาง แล ๓ ไทยใต้ แลเห็นว่า พวกไทยลูเชียงรุ้ง (รวมไทยจีหลีของจีนแลไทยสิบสองปันนาของเพื่อนบ้านต่างๆ) แลไทยคูนเชียงตุงนั้นเปนไทยกลาง แต่ที่แบ่งเท่านี้ดูยากที่จะพอท่วมชาติไทยหลายสาขาต่างๆ เห็นปรากฎได้ด้วยตัวอักษรที่ใช้ต่างๆกันนั้นได้ ถ้าจะแบ่งไทยทางอานุภาพราชการปกคลุม เช่นจะแบ่งว่าไทยพม่า ไทยจีน แลไทยขอม น่าจะเหมาะกว่า แต่ก็ยังใม่พออยู่นั่นเอง รูปะกายจริยาการ แลรากภาษาใม่ต้องสงไสยเลย ผูกไทยสนิทกับจีนมากอย่างใครเถียงใม่ได้ แต่แม้กระนั้นใม่มีอักษรไทยสักตัวเดียวลม้ายอักษรจีนสักนิด การแบ่งภาคไทยนั้นดูเหมือนทางที่มิสเตอร์ปิลเชอริขึ้นชอบกลกว่าอย่างอื่นคือแบ่งไทยเปน ๔ เหล่า คือ ๑ ไทยพยัพ ๒ ไทยอิสาณ ๓. ไทยตวันออก แล ๔ ไทยใต้ ในจำพวกไทยตวันออกนั้น รวมไทยใหญ่หัวเมืองซิสสัละวีน (คือไทยที่ตั้งตามแม่น้ำสัละวีนฝั่งตวันตก) ตามความรู้ที่เราได้ชั้นหลังๆมาก็ยังใม่พออยู่นั่นเอง แลรวมไทยสยามกับไทยลาว เปนไทยตวันออก แต่ถึงยังใม่พอ ก็ยังพอใช้ถ้าว่าตามความเห็นข้างพม่า
ในสาขาข้างเบื้องพยัพนั้น รวมทั้งไทยใหญ่แลไทยพม่าทั้งปวง บรรดาที่ผ้านแผ่อยู่ทั่วไปในพม่าแท้ข้างตอนบน ตั้งแต่เมืองกะแซ (มณีปุระ) แลเมืองอาซัมถึงเมืองพะโมเมืองก้อง (โมคองฤๅเมืองคัง) แลเมืองยาง (โมนยิน) ทั้งคู่นี้ เปนมหานครของหัวเมืองไทยใหญ่ซึ่งเปนเอกราชที่ข้อนจะสำคัญ แลเมืองก้องตามที่ได้เห็นแล้วเปนราชอาณาจักร์ไทยเมาที่ยังเหลืออยู่ภายหลัง อาจจะเอื้อมได้ว่า เปนเมืองตั้งอยู่ได้ตั้ง ๓๕๐ ปี อนึ่งข้อนจะมีเหตุพอกล่าวได้ว่า เวลาที่ชาติไทยใหญ่มีอำนาจแผ่อาณาจักร์มากที่สุดนั้นก็เกีดจากเมืองก้อง ด้วยคงจะเห็นข้อที่อ้างนี้ในพงศาวดารไทยใหญ่ใม่ว่าฉบับไหน ย่อมกล่าวว่าสมัยเมื่อไทยเมาคือเจ้าสามหลวงฟ้ามีอำนาจยิ่งกว่าใครนั้น ก็เปนเจ้าฟ้าเมืองก้ององค์แรกแลเปนจอมพลทหารเมาทั้งมวญแลเอื้อมว่าเจ้าสามหลวงฟ้ามีเจ้าฟ้าอยู่ใต้อานุภาพถึง ๙๙ องค์ ครอบครองดินแดนแผ่ออกไปทั่วหัวเมืองต่างๆ ในมณฑลคำตี่สิงคะลิงคำตี่ริมแม่น้ำชินดวิน เมืองฮูกอง เมืองกุ้ง (พม่าเรียกเมียงกายริมแม่น้ำชินควิน) เมืองยอง เมืองยาง (โมนยิน) ช่องชุบ (พม่าเรียกสองสุดแต่ปรากฎนามไทยว่าสมโชค) กาเลหัวเมืองยอ แลเมืองโมตโฉโบฤๅชเวโบ หัวเมืองอันกว้างขวางเหล่านี้จะเคยอยู่ใต้อำนาจเมืองก้องในเวลาเดียวกันหมดฤๅใม่นั้นน่าจะยังเปนข้อสงไสยอยู่ แต่ข้อที่ว่าในครั้งใดครั้งหนึ่งไทยใหญ่ได้เปนใหญ่ตลอดหัวเมืองตามกำหนดเหล่านี้นั้นใม่มีข้อเถียงได้ แม้แต่พงศาวดารพม่าก็ยอมรับข้อนี้ว่าจริงด้วย เปนแต่เอื้อมว่าพม่าได้แผ่อำนาจไปปกหัวเมืองเหล่านั้นแต่ใน พ.ศ. ๑๙๘๕ แต่ข้อที่ว่าไทยใหญ่ยอมออกต่อพม่านั้นถ้าใม่ปฏิเสธเลย ก็คงชั่วแต่ครั้งหนึ่งคราวหนึ่งเท่านั้น ด้วยใน พ.ศ. ๒๐๖๙ ไทยใหญ่เมืองก้องใม่ชั่วแต่สบัดหลุดจากอำนาจพม่า แต่ยังซ้ำชิงไชยได้กรุงอังวะจนเจ้าฟ้าเมืองยาง (โมนยิน) ได้ตั้งตนเปนกระษัตริย์ แลเจ้าฟ้าเมืองอุนบอง คือเมืองธีบอในปัตยุบันนี้ได้สืบราชสมบัติต่อมา เหตุฉนั้นไทยเมืองก้อง (โมคองฤๅเมืองคัง) ฤๅเมืองยาง (โมยิน) โดยเปนเอกราชแก่ตน ฤๅโดยพึ่งความช่วยเหลือของไทยเมาก็ตาม ก็คงได้ครองกรุงอังวะอยู่ถึง ๓๐ ศก
ข้อที่ว่าด้วยอำนาจไทยมีในจังหวัดเหล่านี้นั้นก็ใม่เปนข้อกังขา ข้อที่น่ากังขานักนั้นคือ นครไทยที่เปนใหญ่แลสำคัญจะมีแต่ชั่วเมืองก้อง เมืองยาง ฤๅเมืองหลวงที่ย้ายกันไปกันมาเท่านั้น ฤๅจะยังมีนครไทยเอกราชตั้งเปนใหญ่อยู่ที่อื่นอิกใม่ขึ้นต่อกันนอกจากความร่วมมือเข้ากันกะเจ้าฟ้าเมืองก้อง เพื่อทำการสงครามเฉภาะครั้งเฉภาะคราวฤๅในกิจสำคัญสำหรับป้องกัน ฤๅเกีดคุณประโยชน์สำหรับชาติไทยด้วยกัน ตามที่น่าจะเห็นว่าจะเปนเช่นนั้นนั้น อยู่ที่ไหนอิก คำวินิจฉัยข้อกังขาที่ว่านี้จะได้รำพรรณไว้ในที่อื่น ในที่นี้ชั่วแต่จำเปนจะกล่าวว่าตัวเมืองก้อง (โมคองฤๅเมืองคัง) เอง มีท่าทางทุกอย่างปรากฎส่อให้เห็นว่า คงจะได้เปนมหาราชธานีอันใหญ่ แลรุ่งเรืองฤทธิเดชานุภาพมาครั้งหนึ่ง ด้วยตัวเมืองเองก็โตกว่าเมืองพะโมมาก แลมีถนนปูอิฐผ้านแผ่ไปหลายร้อยเส้น แต่บ้านเมืองต้องยับยากด้วยทำสงครามกับพม่าในพุทธสัตยุค ๒๓๐๐ แล ๒๔๐๐ แลซ้ำถูกพวกกะจินปล้นใน พ.ศ. ๒๔๒๖ ถ้าอังกฤษใม่สวนเข้าปกครองเสียแล้ว ก็คงจะฉิบหายวายวอดอยู่นิรันดร เมืองก้องอันเปนเมืองอุดมด้วยธัญญาหารในพม่าตอนบนมาช้านาน ใม่มีอะไรจะปรากฎเปนพยานดีขึ้นไปกว่าดูท้องนาอย่างอุดมอันรอบล้อมแผ่ผ้านไปในทิศต่างๆ ข้างไต้ถึงเมืองยาง (โมนยิน) ข้างเหนือถึงเมืองกะมาย แลข้างตวันตกถึงเมืองอินดอคญี มีเค้าว่ามีถนนอย่างดีมาแต่ก่อน ด้วยยังมีทรากสพานอย่างแข็งแรงปะรักหักพังตะโกนอยู่ แต่ตัวเมืองนั้นกลายเปนเมืองร้างไปเสียแล้ว ด้วยพวกกะจินมาก่อความฉิบหายให้มาก เมื่อพม่าได้ทำลายอำนาจไทยพินาศเสียแล้ว ทั้งซ้ำการที่เจ้าฟ้าวุนโส (เวียงเสือ ต้องทราบหน่อยว่า เมื่อครั้งไทยใหญ่ยังมีอานุภาพครอบครองอยู่นั้น เจ้าฟ้าเช่นว่านี้ใม่มี) มาปราบพวกกะจินนั้น ผลก็แปลว่าไล่พลเมืองให้ระบาตร์อพยพหนีไปอื่นหมดเท่านั้น ตามหมู่บ้านใหญ่ๆนั้น แลใม่เห็นอะไรเหลือนอกจากวิหารแลพระเจดีย์ ต้นผลไม้ ไร่ฝ้าย แลต้นไม้ในร่องสวนที่กลายเปนไม้ป่าไปเสียแล้ว แต่ถึงจะอย่างไร สิ่งที่ปรากฎแก่ตาเหล่านี้ พอเปนพยานได้ดีทีเดียวว่า เมืองไทยใหญ่เคยเปนราชอาณาจักร์รุ่งเรืองเจริญ แลมีพลเมืองมาก แลเมืองก้อง (โมคองฤๅเมืองคัง) เคยเปนมหานครชั่วคราวหนึ่ง ถ้าใม่ได้เปนมหานครเสมอมา เหนือเมืองกันตาขึ้นไปกล่าวใม่ได้เลยว่ามีพลเมืองเปนพม่าแท้อยู่ที่ไหน ประชาชนที่เรียกว่าไทยพม่าฤๅกะดุ ฤๅปวอน (ฮปอน) เหล่านี้ น่าจะเห็นว่าเปนไทยมากกว่าเปนพม่า พวกกะจินคงจะล้างผลาญเมืองไทยที่พม่าได้ลงมือผลาญไว้ให้สิ้นแก่นได้ ถ้าอังกฤษใม่เข้ามาขวางปกครองเสีย แลไทยเบื้องทิศพยัพคงจะละลายหายไปหมด เช่นกันกะไทยที่ชาวอาซัมเรียกอะฮอมในเมืองอาซัมฉนั้น
พ้นเมืองก้องขึ้นไปข้างเหนือตั้ง ๔๐๐๐ เส้นก็ยังมีไทยแต่หมู่บ้านใหญ่ๆมีน้อย แม้แต่ในเวิ้งหูกวางฤๅตะในย ซึ่งเปนต้นน้ำแม่น้ำชินดวิน ในเวิ้งนี้แต่ก่อนพวกไทยตั้งอยู่พรืดไปทั้งนั้น แต่ไทยทนพม่าบีบคั้น แลกะจีนปล้นสะดมใม่ไหว ก็เลยหนีไปเสียโดยมาก ไทยคำตี่นั้นยังใม่ใคร่มีใครรู้เรื่องราวนัก ด้วยอังกฤษเองว่าที่จริงก็ยังใม่ได้ยื่นเข้าไปปกครอง แต่พม่าเคยบุกรุกเข้าไปปราบเอาเปนเมืองขึ้นบางครั้งบางคราวใม่ถี่นัก ทั้งพวกกะจีนก็ยังใม่ได้ปล้นสดมร้ายแรง อานุภาพอังกฤษก็ยังใม่ลือเลื่องจนคนพวกนั้นนิยมนัก หัวเมืองน้อยๆของพวกไทยสิงกะลิงคำตี่นั้น ตั้งอยู่เหนือที่เชื่อมแม่น้ำอุย แลแม่น้ำชินดวินขึ้นไปราว ๒๔๐๐ เส้น แลยังมีเจ้าฟ้าครองเมืองอยู่ แต่เจ้าฟ้ามักเปนหัวเมืองขึ้นต่ออำนาจใครที่ได้เมืองก้อง แต่กล่าวใม่ได้เต็มปากว่าพลเมืองมีจารีตอย่างเพสไทยเหมือนไทยเพื่อนบ้านในเมืองก้อง แลเมืองยาง (โมคองแลโมนยิน) พรรณเดียวกับกับไทยช่องซุบ (พม่าเรียกสองสุต) แลพงศาวดารดึกดำบรรพ์ เรียกไทยสมโชค คนจำพวกเหล่านี้สักแต่ว่าเปนตัวหนังของมนุษย์ชาติใหญ่อันหนึ่ง ทำนองเดียวกันกะมอยแลม่วง เมืองกวางตุ้งในมณฑลกวางซี แลมณฑลตังเกี๋ยใม่เอื้อที่จะคิดตั้งตัวฤๅเอาธุระในทางราชการแผ่นดิน หัวเมืองไทยในมณฑลวุนโส (เวียงเสือ) แลกาเล ทั้งเมืองเลง (พม่าเรียกโมฮลาย) เบื้องตวันออก แห่งแม่น้ำอิระวดี ก็สักแต่ว่าขึ้นชื่อว่าเปนเมืองไทย แต่ก่อนอังกฤษได้ปกครอง แลต่อมาเจ้าเมืองผู้ปกครองก็ยังเรียกว่าเจ้าฟ้าตามเคยๆปากมา แต่ที่แท้ก็ใม่มีคนที่ทรงตำแหน่งยศแลทรงอานุภาพเปนเจ้าฟ้าเสียแล้ว บ้านเมืองก็รวบในพม่าตอนบนเช่นเมืองก้องแลเมืองยาง (โมคองแลโมนยิน) เปนการเปนไปตามบุญตามกรรมมากกว่าเพราะจัดให้แผกกันไป ที่เมืองสองสุต (สมโชค) แลเมืองสิงกะลิงคำตี่ยังคงเปนเมืองไทยใหญ่อยู่ด้วยหัวเมืองเหล่าข้างต้นนั้น ใม่เหมือนสองหัวเมืองที่กล่าวนี้ คือใม่เกี่ยวข้องทางราชการ ฤๅคบค้าสมาเพลากับหัวเมืองข้างตวันออกฤๅหัวเมืองไทยด้วยกัน แลน่าจะเปนด้วยคบค้าสมาเพลากับพม่าคุ้นเข้าคุ้นเข้าก็เลยกลายเปนพม่าอย่างเช่นหัวเมืองไทยใหญ่ในมณฑลพะโม ใช้ธรรมเนียมพม่าจนยากที่จะทราบว่าเมืองนั้นเคยเปนหัวเมืองไทยใหญ่มาก่อน
ว่ากันอย่างสั้นๆหัวเมืองไทยใหญ่ เบื้องทิศพยัพฤๅเมืองตวันตกนั้น พม่ากดขี่เอาเปนพม่าเสียราบ จนต่อมาก็กลายเปนพม่าไปจนพม่าเองก็เผลอๆ นึกว่าเมืองเหล่านั้นเปนเมืองพม่าแท้เสียทีเดียว ด้วยเมืองเหล่านั้นตัดขาดความอาทรแลเกี่ยวข้องกับหัวเมืองเงี้ยวต่างๆ กันร่วมชาติเสียช้านาน แม้แต่ผู้หญิงของไทยพวกนี้ก็ใช้เครื่องแต่งตัวอย่างพม่า ใช้ภาษาแลขนบธรรมเนียมพม่า ยังเหลือแต่ตำนานพิลึกพิลั่นข้างไทยเท่านั้น กั้นเงี้ยวพวกเหล่านี้มิให้กลายเปนมนุษย์พวกเดียวกันแท้กับพม่าผู้ชิงไชยตนมาแต่หลายปีดีดักมาแล้ว การเปีดทางรถไฟถึงเมืองก้องนั้น เปนช่องให้อังกฤษได้สังเกต คำพูดภาษาไทยแลอย่างธรรมเนียมไทย ในคนจำพวกเหล่านี้มาเล่าให้เรารู้กระจ่างขึ้นได้ แต่หนังสือไทยของไทยพวกนี้ ก็ใช้แลรู้กันน้อยเข้าน้อยเข้าทุกที น่ากลัวใม่ช้าก็จะพลอยสาบสูญไปเสียสิ้นทุกหนทุกแห่ง นอกจากในเมืองคำตี่หลวงที่อยู่ขึ้นไปข้างเหนือ
พวกไทยใหญ่ข้างตวันตก มีเรื่องราวแรกตั้งบ้านเมืองของตนดังนี้
แต่ช้านานมาแล้ว ยังมีพระเจ้าราชาธิราชกรุงจีนพระองค์หนึ่งทรงพระนามพระเจ้าอุทิพวา พระมเหษีทรงนาม เกียนนะยาเทวี มหาถี (อิตถี) ประสูติพระราชธิดาพระเนตร์บอด ทรงพระนามสอฮลา เมื่อชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ปรากฎชัดว่าพระเนตรคงจะเห็นใม่ได้อิกต่อไปแน่แล้ว ก็ต้องจับลงลอยแพนาคะตา พระชนนีลอบแต่งให้คนสนิทจัดสเบียงอาหารบรรทุกไปให้ด้วย สำหรับเลี้ยงชนมชีพได้ช้านาน ตำนานฉบับหนึ่งกล่าวว่า แพนั้นปล่อยลอยณทเลสาบตะลีพัดมาถึงแม่น้ำหนองแสแล้ว ไหลเรื่อยมาถึงแม่น้ำกิ่ว ฤๅแม่แก้วคือแม่อิระวดี ตำนานฉบับอื่นกล่าวแต่ว่าลอยณแม่น้ำอิระวะดีพัดไหลลงมาถึงเมืองตะโก้ง (คือทุ่งกุ้ง) ฤๅว่าให้ชัดว่า “ถึงหาดที่ปากน้ำแม่ช่องมวกเหนือเมืองสะแปนะโค (คือจัมปานคร)” แพก็ติดอยู่ที่นั่นฤๅแพติดกิ่งไม้ริมน้ำขวางไว้ ราชบุตรีพระเนตร์บอดก็ปีนจากแพขึ้นบกซัดเซพเนจรไป มิช้ามินานก็พบพยัคฆ์ร้ายตัวหนึ่ง (ว่าเปนเสือเผือก) ซึ่ง เปนสามีของแม่นางน้อยนั้น แต่บรรพชาติ บัดนั้นก็เกิดความพิศวาศจึ่งเกี้ยวพาราสีได้กะแม่นางสอฮะลา เกีดบุตร์ด้วยกันถึง ๔ องค์ นามโสกอพวา โสงันพวา โสกยันพวา โสหันพวา แต่นามที่กล่าวนี้เรียกตามเสียงพม่า นามฝ่ายไทยเปน เสือกอฟ้า เสืองันฟ้า เสือยันฟ้า แลเสือหาญฟ้า เสือภาษาไทยใหญ่ก็ตรงกับคำไทยสยาม เมื่อกุมารทั้ง ๔ เจริญขึ้น พระนางชนนีก็ประทานพระธำมะรง อันหาค่ามิได้ เพื่อจะให้เปนเครื่องสำแดงองค์ให้เปนที่เชื่อถือว่ากุมารเหล่านี้คือใคร แลให้กลับไปเฝ้าพระไอยกาคือเจ้าโว่งตี่ (วั่งตี่) แลเล่าความหลังให้ไปกราบทูลเรื่องราวของแม่นางผู้เปนมารดา พระเจ้าราชาธิราชได้ทรงสดับเรื่อง แลทรงจำประวิชได้ก็ทรงรับ ๔ ดรุณกุมารเปนพระหลานขวัญ ดรุณะกุมารทั้ง ๔ ก็อยู่เรียนศิลปศาสตร์วิชาการในกรุงจีนถ้วน ๓ ศกแล้ว กราบถวายบังคมลาพระเจ้าตาจะกลับมาสู่บ้านเมือง เวิ้งแม่กิ่วฤๅแม่แก้ว (คืออิระวะดี) พระไอยกาธิราช ก็พระราชทานฆ้องอัน ๑ แก่พระราชนัดดาองค์ใหญ่ มีดเล่ม ๑ แก่พระราชนัดดาองค์รอง นกยางตัว ๑ แก่พระราชนัดดาที่ ๓ แต่พระราชนัดดาองค์น้อยนั้นตรัสให้ไปขอนครที่จะครอบครองจากพญาพยัคฆ์ราชผู้บิดา ด้วย ๓ องค์นอกนั้นคงจะประดิษฐานนครได้เอง ตามมงคลนิมิตร์ที่พระราชทานไปเปนของขวัญ ลำดับนั้น ๔ ดรุณะกุมารต่างองค์ก็คืนชาติภูมิโดยมรรคนิเทศต่างกัน องค์ใหญ่มาถึงที่ซึ่งตั้งเมืองโมคองฤๅเมืองคังอยู่ณบัดนี้ เกิดมหัศจรรย์ฆ้องที่พระไอยกาธิราชพระราชทานมาก็ลั่นหุ่ยๆขึ้นเอง ๓ ลา กุมารนั้นก็ทราบโดยศุภนิมิตร์ว่าบ้านเมืองนั้นเปนของพระองค์ จึ่งได้ทรงสร้างนครแลครอบครัวบ้านเมืองในมณฑลนั้น ราษฎรทั้งหลายจึงเรียกนามนครนั้น ในชั้นแรกว่า เมียนกองญี เพราะฆ้องได้ลั่นขึ้นก้องกังวาฬอยู่ที่นั่น ครั้นภายหลังก็เปลี่ยนมาเปนเมืองก้อง (พม่าเรียกโมคองสยามเรียกเมืองคัง) คำว่าเมียนดูเหมือนจะเปนภาษาไทยข้างตวันตกว่ามานฤๅวานแปลว่าบ้านนี่เอง ญีแปลว่าใหญ่
อนุชาที่สอง เดินทางมาจนวันหนึ่ง มีดที่พระไอยกาธิราชพระราชทานถือมาก็ลุดจากหัดถ์ไปปักดินอยู่เห็นมหัศจรรย์ จึงได้สร้างมหานครลงตรงนั้น เรียกนามว่า เมียนมีดญี คือบ้านมีดใหญ่ฤๅเมืองมีต แลในปัตยุบันนี้ ปรากฎนามว่าเมืองมีต (พม่าเรียกโมเมียก)
องค์ที่ ๓ อุ้มนกยางมาถึงทุ่งนาฟางลอย นกยางก็ส่งเสียงร้องขึ้นก้องกัมปนาท พระกุมารก็สร้างพระนครที่นั้น จึงเรียกชื่อในชั้นแรกว่า เมืองยางญี ฤๅบ้านยางใหญ่ ภายหลังกลายนามมาเปนเมืองยาง (พม่าเรียกโมนยิน)
ดรุณะกุมารองค์น้อย ก็มาหาพญาเสือเผือกผู้บิดาๆก็สร้างมหานครให้ จึงเรียกนามว่าเมียนเสือญี ฤๅบ้านเสือใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนเปนเวียงเสือ (พม่าเรียกวุนโส)
โอรสแม่นางสอฮะลาต่างเปนเจ้าครองนครด้วยประการฉนี้ ราชสันตติวงศ์ของพระราชาทั้งสี่พระองค์ก็ครองราไชศวรรย์สืบมาหลายชั่วกษัตริย์ แรกสถาปนานครทั้ง ๔ นั้น ในตำนานไทยใหญ่ตวันตกกล่าวว่า พ.ศ.๑๔๘๑ ๑๔๘๒ ๑๕๕๓ แล ๑๔๘๔
เมื่อร่อนเอาความจริงตามตำนาน ก็คงได้ความชัดว่าไทยใหญ่ที่ยกมาจากกรุงน่านเจ้าประเทศยูนนาน ได้ยกมาตั้งครอบครองบ้านเมืองณเวิ้งแม่อิระวะดี แต่ก่อนกุไบลขั่นชิงไชยพินาศกรุงน่านเจ้า นามเสือๆ นี้ ในพงศาวดารแสนหวีก็มีชุม แลนามพระโอรสทั้ง ๔ นี้ก็เปนสามัญะยศนามของขัติยวงศ์ไทยใหญ่ การที่ออกนามถึงทะเลสาบตะลีแลหนองแส (คือยูนนานเซน ฤๅทะเลสาบแส) ก็มีจริง แลนามอุทิพวาฤๅวั่งตี่ (คือฮ่องเต้) นั้นเล่า ก็ใม่ต้องสงไสยเลย คงใม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินจีน แต่คงเปนเจ้าแผ่นดินประเทศฮุนหนำ (ยูนนาน) นั่นเอง
พวกไทยใหญ่ที่ท่านปิลเช่อให้นามว่าชานอิสานนั้น ก็คือไทยตะโยก ฤๅไทยจีน ตั้งครอบครองด้าวดินประเทศฮุนหนำ (ยูนนาน) ข้างตวันตกมาทางแม่น้ำอิระวะดี บัดนี้พวกของไทยนี้ตกเปนพลเมืองจีน แต่ยกมาตั้งอยู่ในน้ำคำแลแสล้านแลในอาณาเขตร์หัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือทั้งปวง ก็มีมากทางแดนต่อแดนอังกฤษกับจีนในชั้นหลัง เมื่ออังกฤษได้เมืองพม่าแล้วนี้ใม่น่าสงไสยเลย ว่ากันที่แท้ คงจะเปนตัวราชอาณาจักร์ไทยเมาแลมหานครต่างๆของราชอาณาจักร์นั้น ดูเหมือนจะได้ตั้งอยู่ใกล้เส้นแดนซึ่งห่างไปหน่อยก็ถึงแม่น้ำเมา (ฤๅชเวลี) ตัวเมืองใหญ่ๆโดยมาก ดูเหมือนจะตั้งอยู่ข้างแดนข้างอังกฤษ แต่น่าปลาดพอ ที่ชื่อโกชานปญี ฤๅโกสัมพีไปตกอยู่แก่หัวเมืองจีน แต่มิสเตอร์ปิลเช่อก็ดิ้นขลุกขลักอิหลักอิเหลื่อชี้ว่าอยู่ตรงไหนใม่ได้ เหลือข้อสงกาแต่เล็กน้อยว่าคงจะเปนตัวพวกไทยหลวงฤๅไทยใหญ่แท้ แลพวกนี้ (แม้ใม่เรียกว่าไทยจีน) ควรจะเรียกว่าไทยแสนหวีแลไทยธีบอ รวมทั้งไทยของอังกฤษหัวเมืองข้างเหนือรวมกับพวกไทยเมืองมีตด้วย ว่าตามภูมิประเทศแล้ว เมืองเลง (พม่าเรียกโมฮลาย) ก็ควรจะรวมเข้าด้วย แต่ตามที่กล่าวแล้วว่าพลเมืองเหล่านั้นมักเอาเพสพม่าเสียแล้ว เหมือนพวกไทยเบื้องตวันตกแห่งแม่น้ำอิระวะดี เปนใม่มีข้อเถียง เมื่อพูดขบวนภาษาที่ไทยพูดกันแล้ว ย่อมผิดกันระหว่างหัวเมืองข้างเหนือแลข้างไต้ ผิดกันมากกว่าระหว่างไทยแสนหวี แลไทยแท้คือไทยแขฤๅไทยจีนนั้น วินิจฉัยขบวนพงศาวดารแล้ว ไทยเหล่านี้ก็ดูเหมือนจะเปนสาขาพวกเดียวกันทั้งสิ้น บ้านเมืองทั้งปวงเหล่านั้น แต่ปางก่อนมักเปลี่ยนมือกันเนืองๆในระหว่างจีนกับพม่า แลทางเขตร์แดนในปัตยุบันนี้เล่า ก็พึ่งปักปัน เมื่อไทยเหล่านั้นใม่มีอำนาจเปนเจ้าของเสียแล้ว แต่ไทยเจ๊กดูผาดๆก็เหมือนจะเห็นว่าเปนจีน จนไทยสยามเรียกว่าเงี้ยว ก็แปลว่างิ้วคือเจ๊ก แต่ชั้นหลังๆเลอะเทอะเรียกลงมาจนไทยใหญ่ข้างไต้ว่าเงี้ยวด้วย เปนด้วยไทยสยามใม่ใคร่ได้สังสรรค์กะไทยใหญ่ แลขาดความรู้ทางพงศาวดารจึงชักเลือนมา ที่แท้เงี้ยวหมายว่าไทยจีน ไทยใหญ่หมายไทยหลวง แต่ตัวอักษรที่ไทยใช้ใม่คล้ายคลึงกะจีนเสียเลยทีเดียว น่าจะเห็นว่าพวกไทยได้จากพม่า หรือพม่าได้จากไทย บางคนก็ว่ามาจากขอมอันเปนเจ้าของด้าวแดนมาก่อน แต่ไทยใม่ใช่แต่แพร่ไปทางพม่าถ่ายเดียว แต่อักษรเค้าเดียวกันหมด เหตุฉนี้ ใม่มีอย่างอื่นจะตัดสินได้ดีกว่าว่าไทยใม่ใช่จีน แลหนังสือไทยเปนของไทยเองมาแต่ดั้งเดิม เปนแต่แก้ไขเพิ่มเตีมเอาอย่างชาติที่มาสมาคมชั้นหลัง เช่นไทยสยามเขียนเพิ่มตัว ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ มาจากอักษรมคธ แล ษ ศ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ มาจากสังสกฤตเปนต้น เครื่องแต่งกายไทยจีนนั้นอยู่ข้างแปลก แต่เมื่อพิจารณาไปก็แปลกแต่ศรีมากกว่าแปลกรูปหรือแบบอย่าง ไทยอังกฤษแต่งกายเกือบจะแปลกแต่ชั่วศรีขาวแลสีต่างๆอ่อนๆ แต่ไทยจีนเปนสีคราม เครื่องแต่งกายผู้หญิงดูยิ่งแปลกกันมาก แต่ก็แปลกแต่แบบอย่างแลแปลกในเชิงเครื่องปักประดับประดาเสื้อ ซึ่งใม่ต้องสงไสยเลยคงจะเอาอย่างเสื้อพม่า ใม่มีผู้หญิงไทยแข (คือเงี้ยว) คนใดใช้ผ้ารัดอก นอกนั้นนอกจากศรีแลแบบอย่างที่ใช้กันตามธรรมดาแล้วก็คงพรรณเดียวกันทั้งสิ้น ข้อที่ผิดกันสำคัญนั้นก็ผ้าโพกศีร์ศะผู้หญิงไทยใหญ่ข้างไต้ ธรรมดาก็ใช้อย่างผ้าโพกศีร์ศะผู้หญิงพม่า คือผ้าผืนน้อยวงเกล้า ทางไทยจีนมักชอบโพกผ้าเขียวคราม แลโพกใหญ่มากขนาดราวเท่าแขกซิกห์หัวโต ในเมืองนันเตียน เมืองวัน เมืองกันงาย แลหัวเมืองข้างเคียงแถบนั้นโพกเรียวขึ้นไปข้างยอด เปนชดาสูงราวคืบกว่าๆ ข้างตวันออกแม่น้ำสัละวีนโพกโตเปนกะพุ้งออกมาข้าง ๆแลเชีดชายขึ้นไปอย่างเขาโค เบื้องตวันออกแห่งแม่โขงกลับโพกผ้าผืนน้อยวงเกล้าใม่พอกโตเบ้เหะ ชอบใช้ห่วงฅอวงโตๆขนาดต่างๆกันอย่างชุม ไทยจีนผู้เปนเจ้าเมืองล้วนพูดภาษาจีนกันแทบทั้งนั้น แต่พลเมืองทั่วไป ยังพูดภาษาไทยแท้ๆ แต่สำเนียงแลถ้อยคำฟังเพี้ยนไปใม่เหมือนที่ยังพูดกัน ในเบื้องตวันตกแม่น้ำอิระวะดีฤๅในหัวเมืองไทยใหญ่ข้างไต้ใกล้ๆพม่า แต่ข้างแสนหวีนั้น คล้ายไทยจีน
ไทยข้างตวันออกนั้น เปนพวกที่ฝรั่งซึมทราบเรียกกันว่าชาติไทย ฤๅชานแท้ แต่คำว่าชานมาแต่ไหน ก็ยังใม่มีใครทราบแน่นอกจากเดาว่ามาแต่จีน เรารู้ชัดว่าพม่าในชั้นแรกเรียกไทยว่าตะโรกฤๅตะเรต อาจจะเปนได้ ภายหลังมาพม่าได้ยินคำว่า “ฮันแฟน” ที่จีนเรียกตัวพม่าเอง พม่าเลยพุ่งเรียกฮันเปนพวกไทย แลเลื่อนมาเปนชานฤๅคำว่า “ชานซี” ที่จีนเรียกแสร้กวนอูจีนถือว่าเปนชาติจีนเอง พม่าเอามาเปนชื่อไทยก็เปนได้อีก บ้างก็ว่าออกจากคำจามฤๅซยามคือสยาม แต่นี่ก็สักแต่ว่าความคิดเดา แต่นอกจากนี้ก็ใม่มีข้ออธิบายอย่างไรอีกว่าโลกทำไมจึงพากันเรียกไทยว่าชาน พวกชานเองก็ใม่รู้เท่ากันกะพวกพม่าฤๅฝรั่ง ที่เรียกว่าชานๆอยู่จนติดปาก
ชื่อสยามนั้นที่ถูกนั้นก็ไทยนั่นเอง คำว่าสยามนั้นบางนักปราชญ์ก็ว่าเกิดจากภาษาฝรั่งโปรตุเกสฤๅอิตาเลียนเรียกก่อนโดยคำว่า ไซแอ๋ม แปลว่าคนร้ายกาจ ฤๅเกิดจากภาษามลายูว่าซะยามแปลว่าคนสีม่วง ฤๅภาษาสังสกฤตสยาม ว่าเหลืองว่าศรีทอง ออกจากภาษาบาฬีสามะ ก็ว่าศรีทองแต่อย่างไรก็ใม่ใช่คำสำหรับชาติไทยเรียกตัวเอง เปนคำชาวต่างประเทศร้องเรียกไทยแท้ๆ แต่ก็น่าพิลึกอยู่ ที่ไทยแลลาวเรียกชานอังกฤษว่าเงี้ยว เงี้ยวก็แปลว่างิ้วฤๅแปลว่าจีน น่าจะเรียกแต่ชานจีน นี่รวมเรียกหมดใม่ว่าซานจีนฤๅชานเหนือชานไต้ชานตวันตก สุดแต่ชานแล้วเปนเรียกว่าเงี้ยวสิ้น ทั้งนี้ก็น่าจะเปนเพราะใม่ทราบว่าประเภทแผกกันอย่างไร จีนคอเซียนโก คิดว่าคำว่าสยามเกิดจากคำเรียกขอมว่า จัมปาฤๅจัมป์คือซยามเพราะไทยผสมพันธุ์กับขอมมาก ทั้งกรุงสยามก็เปนด้าวแดนของขอมมาก่อน พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม) ว่าคำสยามๆคือชานนั่นเอง แต่ก็เห็นจะใม่ถูกนอกจากเดาเท่านั้น ที่ถูกน่าจะออกจากคำสังสกฤตแปลว่าคนเหลืองนั่นเอง แต่ก็น่าขันถ้าคำสยามเปนนามชาวต่างประเทศเขาเรียกเราแล้ว เปนไรเราจึงฮุบเอานามนี้มาเปนภาษาราชการ ใช้ในพระราชสาสน์แลหนังสือทางราชการ มีหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีเปนต้น บางทีจะเห็นเพราะแลเห็นสูงโดยเปนภาษาสังสกฤตที่อนุโลมในมัชฌิมะประเทศ เนื่องด้วยพุทธศาสนา ทั้งใม่รู้คำแปลชัด แต่ที่จริงมักจะพึ่งใช้ชุมในกรุงรัตนโกสินทร์เรานี้เองเปนพื้น ด้วยฝรั่งเรียกไทยว่าสยาม แท้ที่จริงคำว่าไทยศรัพท์ก็ใช่จะใม่เพราะ ทั้งความแปลก็ใช่จะใม่ดี ๆ มากน่าชาติมนุษย์ที่ทรงศักดิ์เปนไทยแก่ตัวจะเปนเช่นนามนั้น ชื่อชาติฝรั่งเศสคือฟรานศ์ ก็แปลความว่าเปนไทยอย่างชื่อไทย แต่ก็ว่าใม่ได้บางทีจะมีเวลาเปลี่ยนแปลงด้วยสมัยใหม่นี้เปนเวลาหาทางที่ถูกทางนิยมอย่างโบราณอันมีหลักฐานที่ชอบ ยิ่งกว่านิยมแต่จะเอาเยี่ยงต่างประเทศถ่ายเดียวที่เรามักใช้คำว่าโซด แต่ตัวผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้ อยากเปนไทยมากกว่าอยากเปนสยามแม้ศรีทองเปนพระสังข์ ทั้งเห็นเพราะ แลรักความทั้งคู่ ถึงพ้องกะไทยพวกอื่นเราก็ไทยร่วมชาติร่วมสายโลหิตสืบจากบรรพะบุรุษมาด้วยกันจริงๆ จะไปรังเกียจรังกลเปนลูกหลานจีน รังเกียจเปนจีนเอาสมบัติธิบัติอะไร เว้นไว้แต่จะมีความจริงอย่างอื่นที่ผู้เขียนเรื่องนี้ใม่รู้ว่าสยามเปนภาษาของเราเองยกย่องขึ้น ใม่ใช่ชาวต่างประเทศแกล้งเรียกว่าคนร้ายกาจฤๅคนม่วงคนเหลืองอย่างจีนเรียกฝรั่งว่าอั้งหมอ ฤๅอ้ายผมแดงฉนั้น แท้จริงนามสยามย่อมกระเดื่องแพร่หลายไปทั่วโลก เปนนามะศรัพท์ สำหรับไทยปรากฎเสียแล้ว แต่แท้ที่จริงนามไทยฤๅสยามนี้ ก็พึ่งจะปรากฎไปในทวีปยุโรปโด่งดังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปิยะมหาราชเรานี้เอง อยากจะว่าสาเหตุอันหนึ่ง เพราะเสด็จพระราชดำเนิรประพาศทวีปยุโรป สำแดงพระคุณาอภินิหารให้ปรากฎแก่ตาโลกเฉลีมศักดิ์ไทย ทั้งฝรั่งก็ใม่รู้ว่าคำว่าสยามแปลว่ากระไร เกิดมาจากไหนกันโดยมาก เมื่อฉนี้ต้องเปลี่ยนแปลงไป ก็ออกจะใม่จำเปนเหมือนศักราชสำหรับชาติดอกกระมัง
มิสเตอร์ปิลเช่อจับไทยสยามรวบเข้าเปนหมวด เรียกว่าชานเบื้องตวันออกนั้น คือไทยทั้งปวงบรรดาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในระหว่างดินแดนแม่น้ำอิระวดี แลแม่น้ำโขง การที่ทำเช่นนี้เปนการสดวกแก่ทางราชการ แลทางภูมินิเทศ แต่ย่อมใม่เปนที่พอใจในทางภาษาที่ไทยเหล่านั้นสังสรรค์ต่อกัน ทางเมืองตวันออกไกลไปเพียงแม่น้ำสัละวีนนั้น หัวเมืองไทยต่างๆ ยอมขึ้นแก่พม่าใม่มากก็น้อยมาหลายปีดีดัก บางทีตั้งร้อยๆปี แลความนิยมข้างพม่าก็ชอนเข้าไป แม้จะใม่เหมือนไทยใหญ่พวกข้างตวันตกแห่งแม่น้ำอิระวะดี นอกจากหัวเมืองปลายเชีงเขา ก็เอาอย่างพม่าเข้าไปสิงเสียพอใช้แล้ว ข้ามเขตร์แม่น้ำสัละวีนที่พม่าปกครองแล้ว ไปทางตวันออกนั้น แม้อย่างธรรมเนียมจารีตอย่างไทยจะยังคงอยู่ ก็ดูออกจะใม่สู้แข็งแรง แลประพฤติเปนจรัญญาอย่างเรี่ยวแรง ข้อที่สังเกตสำคัญนั้นคือ ทั้งภาษาที่พูดกันแลตัวอักษรที่เขียนอ่านกันนั้นแผกเพี้ยนกันมาก ระหว่างไทยตวันออกแลไทยตวันตกแห่งแม่น้ำสัละวีน แปลกกันมากระหว่างไทยข้างไต้ และไทยข้างเหนือในเวิ้งแม่อิระวดี เมื่อใดถ้าเราได้พงศาวดารไทยที่ชัดเจนยิ่งขึ้นไปกว่าเท่าที่ได้ไว้แล้วนี้มาใหม่ เราจึงอาจวินิจฉัยได้ว่าชาติไทยในปัตยุบันนี้ พวกไหนเอาอย่างพวกต่างชาติภายนอกมากกว่ากัน ถ้าการที่เชื่อว่าราชอาณาจักร์ไทยเอกราชมณฑลตะลี (ขัณฑละฤทธิ์) นั้นเปนการถูกต้องถ่องแท้แล้ว ไทยคูน แลไทยลู พวกเมืองเชียงตุง ก็ควรจะเปนไทยพวกนั้นแท้ แต่คำพูดแลตัวอักษรที่ใช้ใกล้กันกะไทยลาวโยนกฤๅไทยสยามมากกว่าไทยใหญ่เบื้องตวันตก แม่น้ำสัละวีน แต่ที่ใม่เหมือนไทยลาวเล็กน้อย ที่อาจจะเปนเพราะใถ่อย่างเขมรมาโดยทางตรง ฤๅทางไทยสยามที่คลุกอย่างเขมรเสียแทบจะเท่ากะจารีตเดีมของไทย ทั้งเผ่าพันธุ์ แลอย่างธรรมเนียมภาษาแลอักษร อาการของพม่าผู้เปนใหญ่ในบ้านเมืองเหล่านั้นทิ้งไว้เหลือน้อยที่สุดจนแทบจะสังเกตเห็นมิใคร่ได้ จีนก็ส่งเยี่ยงมาให้ไทยพวกนั้นเรียนน้อยที่สุด พวกไทยคูนนั้น ดูน้อยกว่าคาดหน้าครั้งหนึ่งว่าจะมีมากกว่านั้นมาก แลนอกจากเปนพลเมืองอยู่ในมหามณฑลเชียงตุงแล้ว ก็ดูเหมือนยิ่งจะมีน้อยนักน้อยหนาฑี่ตั้งอยู่ตามท้องที่อื่นๆ พวกพลเมืองชาติไทย นอกจากพวกคูนเรียกตัวเองว่าไทยลู คำพูดของไทยคูนนั้นดูเหมือนจะปนกะละว้า ซึ่งในครั้งหนึ่งได้เคยเปนเจ้าของดินแดนลงมาทางเชียงใหม่คือลานนาไทยทั้งสิ้นที่ครั้งมิสเตอร์แมเคลียดว่ามี “ราว ๖ หมู่บ้านลว้าตั้งอยู่ข้างเหนือ นอกนั้นยังมีตั้งอยู่ข้างเมืองเนื่องๆกันไป ลว้านอกนั้นพากันหนีกระเจีดกระเจีงตะเพีดขึ้นเขารอบโอบเมืองเชียงตุง ซึ่งแต่ก่อนก็เปนบ้านเมืองของลว้านั้นหลบไปสุ้มซ่อนอาไศรยอยู่” การข้อนี้ทำให้เปนเครื่องรลึกในพิธีราชาภิเษกอย่างปลาดในเมืองเชียงตุงต้องมีรูปลว้ามาปรากฎด้วยอย่างน้อยก็สองตนเปนสิริมงคล เหตุฉนี้อาจจะกล่าวได้ว่าไทยคูนเปนแต่สาขาของไทยลูจำพวกหนึ่ง แต่พงศาวดารเชียงตุงก็ใม่ได้เอ่ยถึงพงศาวดารชาติไทย แลใม่ได้อ้างเกี่ยวข้องถึงพงศาวดารไทยสาขาอื่น เพราะฉนั้นเราจึงหวลจะไปแคะไค้เรื่องราวจากไทยลู แต่ที่ไหนเล่า ยังใม่เคยมีมนุษย์ผู้ใดเคยได้พบเคยเห็นพงศาวดารไทยลูว่ามีเลย ไทยลูมีรูปะกายแผกกว่าไทยหลวงคือไทยใหญ่นั้นมาก แลแม้แต่เกี่ยวดองกันน้อยจากซิสสัละวีนชานก็ดูเหมือนถ้าเราอยากรู้โคตร์ตำนานพงศาวดารของชาติไทยจริงก็ต้องคุ้ยค้นเอาที่นั่น ไทยพวกนี้ดูเหมือนจะใกล้กันกะพวกไทยไปอี แลพวกไทยมินเชียง ที่ใม่ใช่ไทยฮุนหนำ (ยูนนาน) แลใม่ใช่สาขาไทยมอยไทยโถฤๅโด แลไทยม่วงมณฑลตังเกี๋ยแลมณฑลกวางซี ความรู้เรื่องชาติไทยที่พอจะสืบทราบ น่าจะได้ดีกว่าไทยแถบแม่น้ำสัละวีนทั้งสองฟาก ใช่แต่เท่านั้น ไทยลูพวกนี้ใม่ใคร่คบค้าสมาเพลากับไทยสาขาอื่นๆ ที่เขาเรียกว่าคนข้างตวันตก แม่สัละวีน ทั้งไทยแขคือไทยจีนก็ใม่อยากสมาคมด้วยเช่นกัน ด้วยมีพวกไทยแขรบาดมาตั้งภูมิลำเนาอยู่กับไทยลุถมไป แต่ก็ตั้งบ้านอยู่ห่างๆกัน แลใม่แผ่พันธุ์ฤๅแผ่การเกี่ยวข้องอย่างไรต่อกันเลย ไทยพวกนี้ หมอคุชิงกล่าวว่าเรียกตัวว่าเปนชาติลูคูนแลเลม แต่ชื่อไทยนั้นเปนนามคนอื่นเรียกคนชาตินั้น เรารู้ได้จากพม่า พวกไทยเลมนั้นตามตำนานของคนพวกนั้น พม่าว่าเปนพวกอพยพจากเวิ้งน้ำเมา มาอาไศรยอยู่ที่นั่น หาใช่รกรากเดิมใม่ ใช้อาการกิริยาไทยเมามาก แต่หนังสือนั้นอักษรไทยลูก็ใช้ อนึ่งชักให้ยุ่งยากแก่ทางวินิจฉัยด้วยในที่เหล่านั้น พวกไทยลาวก็มาตั้งปะปนอยู่ด้วยมาก แต่ล้วนใช้คัมภีร์พระศาสนาของลาว กิริยาอาการของไทยสยามอยู่ปรากฎ มาตระว่ากองทัพไทยสยามใม่เคยได้ยกเฉียดมาใกล้เชียงรุ่งฤๅเมืองเลมมาแต่ก่อนเลย การที่เปนเช่นกล่าวแล้วนี้ เห็นได้ว่าเพราะไทยพวกนี้ ตั้งอยู่ลับเข้ามาเปนหว่างกลาง ใม่ประสรบสมาคมกับจีน เขมร แลพม่า เข้ามายายีรบกวนนัก น่าจะเชื่อว่าจะยังคงดำรงเชื้อชาติเดิมไว้แน่นแฟ้น ทั้งประกอบด้วยกิริยาอาการที่มิใคร่พอใจคบหาเกี่ยวข้องกะใครด้วย
ใครเปนผู้มาตั้งในดินแดน ซึ่งในบัดนี้เรียกหัวเมืองไทยใหญ่ฝ่ายไต้ก่อนคนนั้นยังเปนการใม่แน่นอนอย่างยิ่ง แต่เปนการหมดข้อเถียง ที่ไทยมาตั้งที่นั่นทีหลังมากกว่า ที่พวกไทยขึ้นมาตั้งในด้าวแดนภาคข้างเหนือ อนึ่งพม่าได้แผ่อานุภาพไปถึงดินแดนนั้นก่อนไทยมาก แลเกือบจะมากเหมือนไทยพึ่งยกมาตั้งที่นั่นครั้งแรก ชั่วแต่เมื่อราชอาณาจักร์น่านเจ้าพินาศแล้วเท่านั้น คือราวเวลาเดียวกันกะที่ฝรั่งคาดว่าแรกเกิดราชอาณาจักร์สยามในเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาใน พ.ศ.๑๘๒๖ ก่อนประดิษฐานกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ๖๗ ปีเท่านั้น ถ้าเปนเช่นว่าก็น่าจะเปนพวกพระเจ้าเชียงรายเชื้อพระเจ้าพรหมราช ปฐมวงศ์ของพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้ตั้งกรุงทวาราวดี ซึ่งว่ายกมาจากเมืองเชียงรายใหม่โดยพ่ายแพ้พระเจ้าสะตอง (ตะโถงมอญ) ปะลาตมาตั้งกรุงไตรตรึงส์ณเมืองแปบแขวงกำแพงเพ็ชร์ พระเจ้ามหาสิริไชยเชียงแสนอันเปนราชบุตร์เขยเชื้อวงศ์พระเจ้าเชียงรายชนกนารถพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนาเทพนครใน พ.ศ. ๑๘๖๒ นั้นแหละว่าใม่ถูก หาใช่พวกวงศ์กรุงศรีสัชนาลัยแลกรุงสุโขไทยเมืองเหนือซึ่งตั้งมาแล้วช้านาน น่าจะก่อน พ.ศ. ๑๕๐๐ ขึ้นไปนั้นใม่ เพราะถ้าพึ่งแรกยกมาตั้งภายใน ๖๗ ปีแล้ว ถาวรสถานในกรุงศรีสัชนาลัยแลสุโขทัยราชธานีที่ปรากฎมาจนทราบเท่าทุกวันนี้จะบริบูรณ์เช่นนั้นใม่ได้ เหตุฉนี้คำที่ฝรั่งตัดสินว่าไทยสยามพึ่งมีเมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ ลงมานั้นผิดแท้ อนึ่งพงศาวดารเมืองลอกสอกแลไลขาเท่านั้น เปนพงศาวดารไทยข้างไต้ที่พอจะหาได้ในสมัยนี้ แต่ก็เขียนตามความเห็นของพม่าเสียทั้งเรื่อง แต่แม้กระนั้นก็ดูเหมือนจะยังสำแดงให้เห็นได้ว่าหัวเมืองไทยใหญ่ข้างไต้พึ่งกลับเปนเมืองสำคัญขึ้น แลเริ่มจะมีพงศาวดารก็เมื่อไทยเมาทรงมหิทธยานุภาพปราบพม่าข้างเหนืออปราชัย
เมื่อใม่จำเปนจะต้องกล่าวถึงไทยใหญ่จำพวกข้างไต้มากมายต่อไปอิกนัก เพราะใม่มีอไรน่ากล่าว จะกล่าวถึงไทยสาขาอื่น ตามความเห็นที่จะจัดจำพวกไทยตามน่าจะเปนจำพวกๆฉนั้น ไทยลาวฤๅไทยสยามนั้น น่าจะควบเข้ากับพวกไทยลูแลไทยคูนแต่ว่าตามทางราชการไทย สองจำพวกนี้ใม่เกี่ยวแลใม่เคยปรากฎว่าเกี่ยวกันเลย ไทยลาวจะเปนบรรพบุรุษของไทยสยามฤๅหาใม่นั้น นักโบราณะคดีฝรั่งก็เห็นเปนปัณหาอย่างหนึ่ง ไทยสยามตั้งตัวทรงอำนาจมาก แลอุดมสมบัติมากอยู่ในเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยานั้นอาจจะยกมาตั้งตนเองสาขาหนึ่งต่างหากจากไทยลาว แลเมื่อไทยสยามทรงพลังแลรุ่งเรืองเจรีญมากณมงคลภูมิใกล้ฝั่งทเลแล้ว กลับแผ่อานุภาพทวนถอยหลังขึ้นไป ตามมรรคาเดิมที่ยกอพยพมาไว้เยี่ยงอย่างปลูกจารีตให้แก่ไทยลาวให้ประพฤติลม้ายอย่างธรรมเนียมไทยสยามก็เปนได้ เพราะการที่ไทยสยามแลไทยลาวร่วมสายโลหิตกันนั้นเปนใม่ต้องสงไสย แม้ถึงจะมีจารีตแลภาษาอักษรแผกเพี้ยนกันหลายประการ แต่ปัณหาข้อนี้ข้างไทยเราใม่มีข้อสงไสยว่าไทยสยามจะใม่เกิดฤๅใม่สืบเชื้อมาจากไทยลาวโยนก เพราะทั้งทางพงศาวดารเหนือก็ว่าพญาอภัยคามินียกจากกรุงหริภุญชัยมาสร้างกรุงศรีสัชนาลัยให้เจ้าอรุณราชสุริยวงศ์ฤๅพญาร่วงณเมืองเหนือเวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา แลเชื้อพระเจ้าพรหมราชต้นวงศ์กรุงทวาราวดี ก็ยกมาจากเชียงรายหริภุญชัยประเทศเหมือนกัน แม้วงศ์สุวรรณภูมิเล่า ก็น่าจะเห็นว่าสืบสันตติวงศ์มาจากไทยโยนกด้วยเหมือนกัน เพราะมิฉนั้นไฉนเลยจะอำนวยราชธิดาให้ท้าวอู่ทองฤๅพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนากรุงเทพทวาราวดีอภิเษกด้วยเล่า
ไทยไปอี่ ไทยโถฤๅโด ไทยเฟาเต ไทยมอย แลไทยม่วง อาจจะให้ข่าวคราวอะไรเรื่องชาติไทยให้กระจ่างขึ้นอิกได้บ้างฤๅใม่ แต่เราก็ใม่ใคร่จะรู้จักมักคุ้นไทยสาขานี้นัก แม้แต่นามก็ยังฟังแปลกหู ครั้นใต่สวนก็ใม่ใคร่ได้เรื่องราวกะไรนัก เมืองสะซุมัวนั้นบ้านเมืองทั้งมณฑล ล้วนมีเจ้าเมืองไทยเปนผู้ปกครอง ฝ่ายจีนนั้นมีแต่ในตัวเมือง แลเฉภาะ แต่ในเมืองสำคัญของหัวเมืองสำคัญของเมืองเหล่านี้ซ้ำไป จีนแบ่งไทยออกเปนสองจำพวก คือ พวกฮันไปอี จำพวกไทยที่อยู่บนดรดินแข็งฤๅเขาเขีน แลจำพวกชวยไปอี่ คือ ที่อยู่ตามริมน้ำฤๅในที่ลุ่มตามภูมิประเทศที่ไทยตั้งอยู่ถิ่นเขาเขีนฤๅในเวิ้งน้ำ อนึ่งจีนปันสาขาไทยโดยภาษาที่พูด คือแหไปอี ชานดำ แลหัวไปอี่ ชานพล้อยศรีต่างๆชื่อนี้ออกจากแต่งตัวต่างๆ เช่นเราเรียกลาวทรงดำเปนต้น นักปราชญ์พงศาวดารฝรั่งเศสจดหมายบรรทึกไว้ว่า ไทยไปอี่มณฑลสซุมัวนั้น เข้าใจคำพูดของไทย โถฤๅโด ที่อยู่แคว้นลุงเชาได้ดี อนึ่งฝรั่งเศสคนนั้นทราบแน่ ว่าไทยไปอี่เข้าใจภาษาไทยลูเมืองเชียงรุ้ง พูดกันได้ดี ไทยไปอี่มีตัวอักษรสำหรับจดหมาย แต่ตัวอักษรจะลม้ายกันกะหนังสือไทยลูฤๅไทยเมา ฤๅจะแปลกกันไปอีกอย่างอื่นหาได้กล่าววินิฉัยไว้ในบรรทึกนั้นด้วยใม่ แต่ท่านผู้นั้นทราบแต่ว่าไทยโถฤๅโดแลไทยม่วงมีอักษร แต่จะเปนอย่างไรก็ใม่ได้วินิจอัยไว้เหมือนกัน เปนแต่กล่าวว่าหนังสือไทยโถฤๅโดในเมืองฮุงฮัวมณฑลตังเกี๋ยนั้น มีอักษร ๓๖ ตัว (อย่าง ก ข้ เล็กของไทยกระมัง) ตัวอักษรเขียนไว้จังหวะเปนคำๆเหมือนฝรั่ง แต่ตัวอักษรตรงๆเขียนบนลงหาล่าง แลได้ลองจดคำพูดภาษาไทยโถในตังเกี๋ยบางคำไว้ ทำนองเปนลาวๆดังนี้
โพ่มิี่ แปลว่า พ่อแม่
กินงาย แปลว่า กินเข้า
กินนำ แปลว่า กินน้ำ
มีดอ มีฟา โบ่มีฟอ แปลว่า มีพลู มีหมาก ใม่มีปูน
มีฟุก มีพา โป่มีคอนอน แปลว่า มีฟูก มีผ้า ใม่มีคนนอน
เมื่อใคร่ครวญมาถึงเพียงนี้ เราพอได้ฉายาความเห็นเปนเงาๆกระจ่างพอใช้แล้ว ว่ามนุษย์ะชาติไทยทั้งสิ้นนั้นเปนคนชนิดไร เปนอย่างไร แลอาไศรยอยู่ในภาคพิภพอเลอไหนบ้าง ต่อไปนี้ ควรที่จะคืบพิจารณาถึงพงศารดาร แลตำนานของไทยเหล่านั้นตามที่แสดงไว้ในพงศาวดารไทยสาขานั้นๆ สุดแต่จะได้พบเห็นมาสู่ญาณ แต่ก่อนที่จะทำเช่นว่า สมควรจะต้องพิจารณาถึงวิธีนับเวลา อันเปนศุภะมาศของพวกไทย ซึ่งเปนวิธีโบราณใม่เหมือนกันกะความเข้าใจของเราผู้เปนเผ่าพันธุ์สืบมา ใช้กันอยู่ในกาละทุกวันนี้ ทั้งไมใช่ง่ายที่จะรู้มูลเหตุของวิธีวาระคณะนานั้น