ตอนที่ ๗ อังกฤษครอบครองหัวเมืองไทยใหญ่

การจัดราชการในหัวเมืองเงี้ยวฤๅไทยใหญ่นั้น รัฐบาลอังกฤษใม่มีเวลาที่จะกระตือรือร้นเลย แทบจะกล่าวได้ว่า แม้แต่เมื่อได้เมืองพม่าตอนบนแล้วก็ยังทอดธุระเฉยเหมือนจะทิ้งเสียทีเดียว ด้วยมัววุ่นปราบขบถภายในเมืองพม่าเองฉุกละหุกอยู่ ทั้งเชื่อใจว่าฝ่ายจีนฤๅฝ่ายสยาม แลแม้แต่ฝ่ายฝรั่งเศส ไหนเลยจะกล้ายื่นเข้ามาแย่งเกี่ยวข้องในหัวเมืองเงี้ยวซึ่งเคยเปนหัวเมืองขึ้นของพม่ามาแต่ดั้งเดีม เพราะละล้วนได้ใม่เท่าเสียทุกๆประการ เมื่อเช่นนี้ก็เหมือนแร่อยู่ในบ่อของอังกฤษแล้ว มีเวลาจะถลุงเมื่อไรก็ได้ เพราะเหตุเหล่านี้และ รัฐบาลอังกฤษจึงวางอารมณ์เรื่อยอยู่ ใม่อยากจะสอดมือเข้าไปยุ่งเหยีงให้เกีนกำลังหนักแรงในเวลาหนักบ่าพออยู่แล้ว ในหัวเมืองเงี้ยวฤๅไทยใหญ่นั้น ตั้งแต่พระเจ้าเมนดงมินทร์ทิวงคตแล้ว ก็ตกอยู่ในฐานะยุ่งยิ่งจลาจลใม่เปนท่า เหมือนกันกะพระราชอาณาเขตร์ของพระเจ้าธีบอจังหวัดอื่นๆแทบทุกๆแห่งฉนั้น เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงเปนผู้ก่อขบถก่อนคน ด้วยแค้นใจที่พระเจ้าเมนดงมินทร์ทรงตั้งเจ้าฟ้าแสนหวีผู้หนึ่งให้มาครองเมืองเชียงรุ่ง (คือจีหลี) โดยมิได้ปฤกษาหาฤๅเจ้าฟ้าเชียงตุงให้รู้เห็นด้วยบ้างเลย ก็เหมือนถอดถอนเมืองเชียงตุงที่เคยว่าราชการในเมืองเชียงรุ่งฉันท์เมืองขึ้นตรงๆ พระเจ้าธีบอก็ตรัสให้มีท้องตราดำเนีรกระแสรราชโองการอนุมัติตามที่จัดมาแล้วในปลายแผ่นดินก่อน เมื่อการเปนถึงเช่นนี้แล้ว เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงก็เปนขบถจับตัวข้าหลวงพม่าอันมาอยู่ในเมืองเชียงตุงฆ่าเสียพร้อมกับทหารพม่ารักษาข้าหลวงด้วยอิก ๓๐ คน ครั้นแล้วเจ้าฟ้าเชียงตุงก็ยกไปทำลายเมืองหลวงมณฑลเชียงรุ้งเสีย แลตั้งพรรคพวกของเจ้าฟ้าเชียงตุงเองขึ้นเปนเจ้าฟ้าเชียงรุ้ง ซึ่งต่อไปก็ไปยอมขอออกต่อกรุงจีน

พระเจ้าธีบอ ก็สุดหล้าเหลือพระกำลังที่จะปราบปรามข้าขอบขัณฑเสมาที่ตั้งขบถต่อพระเดชานุภาพได้ไหวเสียแล้ว แลดูเหมือนจะทรงพระราชดำริห์เห็นฉลาดกว่า ที่จะทำประหนึ่งใม่รู้ใม่ชี้เสียเลยทีเดียว ดีกว่าที่จะสำแดงพระทุพพลานุภาพให้ปรากฎแก่ตาโลก

การที่พม่ามีท้องตราออกไปเรียกเงินร่ำไปร่ำไป ทำให้เจ้าฟ้าเมืองหน่ายดาลโทโส แลทั้งเห็นเจ้าฟ้าเชียงตุงก่อการขบถสำเร็จล่อหูล่อตาอยู่ ก็เลยตึงตังจับตัวทหารแลข้าหลวงพม่าอันมาตั้งอยู่ในเมืองหน่ายนั้นฆ่าเสียบ้าง ความเอื้อต่อกัน แลการร่วมสัมพันธุวงศ์ในระหว่างเจ้าฟ้าเงี้ยว ทั้งได้ความเจ็บแค้นเดือดร้อนเช่นกัน ชักให้เจ้าฟ้าเมืองลอกสอก แลเมียวซาฤๅเจ้าฟ้าอ่อนเมืองหนอง ไปเข้ากับเจ้าฟ้าเมืองหน่ายด้วย แต่เจ้าฟ้าหัวเมืองข้างตวันตกเหล่านี้ อยู่ใกล้เงื้อมมือพม่ามากไปมาสดวก กองทัพพม่าก็ยกไปปราบปรามเจ้าฟ้าเหล่านั้นๆ ก็ต้องพ่ายหนีข้ามแม่น้ำสัละวีนพันไป พึ่งอาไศรยอยู่กับเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงใน พ,ศ, ๒๔๒๗ ในเมืองเชียงตุงนั้น เจ้าฟ้าขบถซึ่งหนีขึ้นไปอาไศรยพึ่งต่างก็พยายามคิดประทุษร้ายพระราชาพม่า เพื่อจะได้คืนดำรงยศแลอำนาจดังเก่า ฤๅทวียิ่งขึ้น จึ่งคิดอุบายชักชวนกันจะเชีญเจ้าอันเปนราชวงศ์พม่ามาเปนหัวหน้าพวกตน สุดแต่โอกาศจะควรชิงราชสมบัติพระเจ้าธีบอได้ แลตั้งเจ้าหัวหน้าของตนเสวยราชย์แทน ฤๅเพียงตั้งเอกราชให้จังหวัดหัวหน้าของตนเปนมหากษัตริย์ต่างหากขึ้นในหัวเมืองไทยใหญ่ เจ้าพม่าที่พวกเจ้าฟ้าเงี้ยวร่วมคิดกันเลือกจะเชีญมาเปนหัวหน้านั้นคือพระลิมเบงมินทรา พระบุตร์ของเอียนเซมินทร์ (ยุวะราชา) เอียนเซมินทร์นั้นเปนพระอนุชาธิราชของพระเจ้าเมนดงมินทร์ เมื่อเวลายังมีพระชนม์อยู่นั้น ทรงพระปรีชานุภาพเปนที่นิยมนับถือของมหาชนมาก ยากจะหาพระราชวงศ์องค์ใดเสมอเหมือน แต่มาต้องพระภาคินัยพระเมียงคุนมินทรา ซึ่งบัดนี้อยู่ณเมืองไซ่ง่อนนั้นพิฆาฎเสียใน พ.ศ. ๒๔๐๙ พระบุตรนามพระลิมเบงมินทรานั้นหนีลงไปเมืองพม่าตอนล่างขณะเกีดมหาพิฆาฎ เมื่อพระเจ้าธีบอขึ้นทรงราชย์ แลได้ทรงศึกษาในเมืองร่างกุ้ง จนได้รับราชการอังกฤษเปนมยูกกรมการอยู่ก็พักหนึ่ง แต่ต้องถอนจากตำแหน่งราชการเพราะใม่ใคร่จะสามารถ แลทั้งใช้อำนาจในราชการอังกฤษไปพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมรี้พล คิดชิงราชสมบัติในเมืองพม่าตอนบนด้วย ใน พ.ศ. ๒๔๒๘ เสด็จไปอยู่ณเมืองมอลเมียน (มะระแหม่ง) กับกรมการผู้น้อย ที่รัฐบาลอังกฤษให้ชำเลืองๆคุมอยู่เผินๆทูตของเจ้าฟ้าที่หนีไปอาไศรยอยู่ในเมืองเชียงตุง จึ่งลอบตามมาเฝ้าได้ที่นั่น พระลิมเบงมินทราก็รับอัญเชีญ แลลอบออกจากเมืองมะระแหม่งไปในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ก่อนหน้ากองทัพใหญ่อังกฤษยกขึ้นไปเอากรุงมัณฑเลราวเดือนเศษๆ เมื่อพระลิมเบงมินทราขึ้นไปถึงเมืองเชียงตุงแล้ว เจ้าฟ้าที่ร่วมคิดกันก็รวบรวมรี้พล เจ้าฟ้าเชียงตุงก็ช่วยเหลือเกื้อหนุนแข็งแรง ยกกองทัพมาเพื่อจะตีเอาหัวเมืองของเจ้าฟ้าที่สนับสนุนเหล่านั้นคืน ในเวลานี้รัฐบาลพม่าพินาศลง แลเสียพระมหานครมัณฑเลแก่อังกฤษเสียแล้ว กองทัพพม่าซึ่งขึ้นไปตั้งขัดตาทัพอยู่ต่างก็ตกใจรีบถอยลงมาจากหัวเมืองไทยใหญ่ตามกันจนสิ้น ประตูสนามก็เปิดโอกาศให้เจ้าฟ้าเงี้ยวคิดรบร้าฆ่าฟันกันเองชิงกันเปนใหญ่ได้ตามอำเภอใจ

พวกเจ้าฟ้าที่เข้ากันก็ยกพลข้ามแม่น้ำสัละวีนในกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๙ ยกเข้าโจมตีเมืองหน่ายทันที เมืองนี้แลหัวเมืองขึ้นของเมืองนี้ คือเมืองเชียงตอง เมื่อเจ้าฟ้าขุนญี่ ผู้มีกรรมสิทธิ์อันชอบธรรม์หนีไปแล้ว มีพระสงฆ์พึ่งลาสิกขารูปหนึ่งนามตเวตงะลู ผู้ได้แต่งงารกับมารดาเจ้าม่วงอันยังเปนเด็ก ที่รัฐบาลพม่าตั้งให้เปนเจ้าฟ้าเมืองหน่ายแทนขุนญี่นั้น รักษาราชการเมืองอยู่ ขุนญี่ได้พรรคพวกที่เข้ากันช่วยอุดหนุดก็ตเพีดเอาตเวตงะลูพ่ายหนีไปจากเมืองหน่าย แลกลับเข้าครอบครองเมืองหน่ายไปตามเดิม ฝ่ายตเวตงะลูล่าไปตั้งตัวอยู่ในเมืองเชียงตองได้พักหนึ่ง แต่เมียวซาฤๅเจ้าฟ้าอ่อนเมืองหนอง ซึ่งเปนอนุสัมพันธ์ของขุนญี่ ก็กลับมาตั้งอยู่ข้างเหนือตเวตงะลูในทันที เจ้าเวงอันเปนเจ้าฟ้าเมืองลอกสอก ที่ต้องขับไล่ก็กลับได้เข้าครองเมืองเดิมโดยมิต้องลำบาก ในเวลาที่เจ้าเวงใม่อยู่นั้น พระเจ้าพม่ามอบเมืองลอกสอกให้แก่เจ้าฟ้าเมืองยางห้วยรักษาราชการ เจ้าม่วงจึงได้ตั้งอมาตย์โจก (อรรคมหาเสนาบดี) ตน ๑ ให้เปนผู้จัดราชการแทนองค์ การที่จะให้เข้าใจการเกี่ยวดองกันระหว่างหัวเมืองไทยใหญ่ต่างๆในยุค พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งออกจะคลุกคลีกันยุ่งเหยีงอยู่นั้น จำต้องจำไว้ว่า ความมุ่งหมายของเจ้าฟ้าที่เข้าพวกกันครั้งนี้นั้น ใม่ชั่วแต่ประสงค์จะเอาบ้านเมืองเดีมของตนคืนครอบครองเท่านั้น แต่ทั้งปราถนาที่จะสถาปนาเจ้าลิมเบงมินทราขึ้นเปนพระเจ้าแผ่นดินเอกราชในแว่นแคว้นไทยใหญ่อิกด้วย ด้วยเจ้าฟ้าเหล่านั้นมัดใจให้ต้องช่วยเจ้าลิมเบงมินทราด้วยติดคำถวายสัตย์ปัฏิญาณ การที่จะให้แผนอุบายทั้งปวงสำเร็จนั้น ก็เปนการจำเปนต้องคิดให้บรรดาเจ้าฟ้าหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวงเข้าพวกด้วยให้หมดสุดแต่จะเข้าด้วยความเต็มใจจริง ฤๅโดยกดขี่ให้เข้าด้วยคมอาวุธก็ตาม แผนอุบายของพวกนี้ได้เริ่มลงมือก่อนเกีดสงครามระหว่างรัฐบาลอังกฤษแลพม่า แต่ในชั้นแรก พวกที่เข้ากันนี้ก็ยังใม่หวาดหวั่นในเรื่องได้ทราบข่าวว่าราชาธิปตัยพม่าได้โค่นลงเสียพินาศแล้ว ด้วยเจ้าฟ้าเชื่อว่ารัฐบาลอังกฤษ อย่างน้อยที่สุด ก็คงจะมีภาระท่วมเกีนพออยู่พักหนึ่ง ในการจัดราชการในเมืองพม่าตอนบนแท้นั้น ฝ่ายในเมืองไทยใหญ่คงจะมีเพลาพอจัดการตั้งตัวเปนเอกราชได้มั่นคง ใม่ต้องหวาดว่าอังกฤษจะเข้ามาขวางคอ พวกหัวหน้าเจ้าฟ้าที่เข้ากันเปนตัวการอย่างแข็งแรงนั้น ก็ล้วนแต่เปนเจ้าฟ้าหัวเมืองสำคัญๆเช่น เมืองหน่าย เมืองลอกสอก เมืองหมอกใหม่ แลเมืองป่วน แลเจ้าชั้นเจ้าฟ้าอ่อนฤๅเมียวซา เมืองหนอง เมืองสิต เมืองเชียงคำ เมืองปัง เมืองสะโถง เมืองวันยิน เมืองหนองวอน เมืองน้ำโคก แลเมืองหอโป่ง (น่าจะเปนหัวพง) ยังพวกงะเวกุนฮมูจังหวัดเม้ยลัตอิกเปนอันมาก ก็ต่างพากันมาเข้าพวก ด้วยกลัวใม่กล้าทำอย่างไรนอกจากยินยอมตามเพื่อนบ้านอันมีอำนาจ เจ้าที่เปนใหญ่ในหัวเมืองเหล่านี้โดยมากมักเกี่ยวดองกันทางสายโลหิตฤๅทางวิวาห์ มีน้อยเมืองที่ใม่ได้เกี่ยวดองกันเลย ก็รู้ศึกองค์เองว่ารอบล้อมไปด้วยพวกที่เข้ากันเหลือจะเปลี่ยวอยู่เดียวดายไหว ก็ใม่มีอย่างอื่นจะเลือกนอกจากต้องยอมเข้าพวกด้วย เมืองไลขา เมืองกุ้ง แลเมืองเกษีแมนสัม มีข้อบาดหมางด้วยต้องจัดทหารส่งตามคำสั่งจากกรุงมัณฑเลให้ยกไปตีเมืองหน่าย เมื่อคราวขุนญี่จำต้องหนีนั้น กระดากกระเดื่องอยู่ใม่กล้าหวลไปเข้าพวกได้นั้น ก็ถูกพวกที่เข้ากันยกมาตีทันที เหตุที่จริงใจนั้น ถ้าทอดสพานเกลี้ยกล่อมก็คงเข้าด้วย แต่พวกที่เข้ากันนั้นน่าจะใม่อยากให้เข้ามาด้วย เพราะเหตุแค้นที่มารบด้วยกับพม่า ทั้งเพราะเหตุจะพาลหาช่องรบแลริบทรัพย์สมบัติพอแจกจ่ายให้แก่พวกทหารเชียงตุงที่เปนทหารลูกจ้าง แลให้กำลังรี้พลพวกที่เข้ากันนั้นเชีงปล้นสดม พอให้พวกซึ่งถูกขับไล่ทิ้งบ้านช่องไปที่กลับมาได้คืนสัตว์พาหนะ สำหรับไถนาเชีงชิงเอาของคนพวกอื่นนั้นๆ แต่จึงจะเปนอย่างไรก็ตาม ความจริงที่เปนนั้น เมืองไลขาก็ถูกเผาไฟพินาศ ปล้นสดมหึ่งไปแต่สุดโต่งทางโน้นมาสุดโต่งทางนี้ ทั้งเมืองกุ้งแลเมืองเกษีแมนสัม ก็ยับเยินไปตามกันเช่นเมืองไลขานั้น

ฝ่ายเจ้าม่วงเจ้าฟ้าเมืองยางห้วยที่รัฐบาลพม่าบังคับให้รักษาเมืองลอกสอกนั้น แต่พอเจ้าเวงได้กลับคืนเข้านั่งเมืองตามเดิมแล้ว ก็ด่วนตระเตรียมรี้พลยกไปตีเมืองยางห้วยแก้แค้น ส่วนองค์เจ้าม่วงเจ้าฟ้านั้น ลงไปอยู่ในกรุงมัณฑเลณเวลาพม่าเสียกรุงแก่อังกฤษจึ่งรีบกลับขึ้นมาสู่บ้านเมือง แต่พอมาถึงก็พอพวกกองทัพเจ้าเวงยกมาโจมตีเจ้าม่วงต้องอาวุธบาดเจ็บ จึงถอยล่ามายังตำบลตอยิน ใกล้เมืองฮเลียงเดตในแขวงมณฑลเมียกติลา พวกพระลิมเบงมินทราก็ตั้งให้เจ้าชิตสูอันเปนน้องยาต่างชนนีของเจ้าม่วงเปนเจ้าฟ้าครองเมืองยางห้วย แต่ก็ถูกเจ้าโอ่งที่ต้องป้องกันองค์เองต่อสู้เจ้าเวงมิให้บุกรุกไปย่ำยีตีถึงเมืองหนองวอน เมืองวันยิน แลเมืองอื่นๆ ในเวิ้งลำน้ำตำผักอันตั้งอยู่ค่อนข้างตวันออกนั้น ยกมาขับไล่เสียจากเมืองยางห้วย ด้วยเจ้าโอ่งได้อุประการะช่วยเหลือจากเมืองสามกา แลพวกหัวเมืองต่างๆในจังหวัดเม้ยลัตข้างไต้ สมทบกับกำลังที่มีอยู่ก็พอรักษาองค์มั่นอยู่ได้ ลำดับนั้นเจ้าโอ่งยังออกราโชบายหาอำนาจโดยอาสาเข้าไปร่วมมิตระภาพกับรัฐบาลอังกฤษเมื่อเห็นฝรั่งเล่นด้วยก็เลยขอให้ช่วยเหลือติดไป

ฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองสีปอนั้น ก็พอชั่วแต่จะพึ่งกลับตั้งตัวใหม่กะพล่องกะแพล่งด้วยทนความรีดเร่งสร่วยแลหยุกหยิกในแผ่นดินพระเจ้าธีบอใม่ไหว จึ่งจำใจต้องทิ้งบ้านเมืองหนีไปพึ่งอาไศรยอยู่ในเมืองร่างกุ้งของอังกฤษ แต่ไปออกท่าละครแผลงฤทธิ์เดชอุตริขึ้นมา เลยถูกอังกฤษเนรเทศส่งไปเมืองกะเหรี่ยง สอละปอเจ้ากะเหรี่ยงเบื้องตวันออกให้รี้พลอุดหนุน เมื่อกำลังคึกคักเกีดสงครามในระหว่างอังกฤษกับพระเจ้าธีบอกษัตริย์พม่า

พระเจ้าสีปอถือเอาโอกาศเหมาะสามารถยกกลับมาครองนครเก่านั้นได้ เมื่อเห็นเปนเวลาบ้านเมืองจลาจล จึงด่วนชิงโชคนั้นยื่นมือเข้ามาทึ้งเอาผลประโยชน์หัวเมืองข้างเคียงที่มีกำลังอ่อนกว่า เลยตีเอาเมืองชุมสาย เมืองตุงได้ การทำศึกปราบปรามกันเองเหล่านี้เก็บเจ้าฟ้าสีปอไว้ให้ใช้เวลาจนหมดความสามารถ จึงมิได้ไปเกี่ยวข้องกับพวกพระลิมเบงมินทราในทางอย่างใดอย่างหนึ่งเลย

หัวเมืองแคว้นแสนหวีก็กำลังจลาจลใม่หยุดหย่อนมาตลอดชั่วอายุคน จำเดิมแต่แสงไหเปนขบถต่อเจ้าหน่อฟ้าใน พ.ศ. ๒๓๙๙ มา การจลาจลเดีมอย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้น ในแถบแสนหวีข้างไต้นั้นอาการค่อยยังชั่วหน่อย ด้วยพวกกะเหรี่ยงยางแดงคร้ามกองทัพพม่าซึ่งขึ้นมาตั้งขัดตาทัพอยู่ณเมืองแปยะโคน (จำปานคร) ใม่กล้าล่วงล้ำเข้ามาปล้มสดม แต่ครั้นข่าวเสียกรุงมัณฑเลขึ้นมาถึงกองทัพพม่าก็เลีกกลับไป การปล้นสดมตำราเก่าก็จับฮือขึ้นอีกในทันควันระหว่างเมืองใผ่แลหัวเมืองกะเหรี่ยง ใช่แต่เท่านั้น ยังเจ้าชิตสูที่เปนเจ้าฟ้าเมืองยางห้วยอยู่ได้สองสามวันนั้น ก็หนีมาอาไศรยอยู่กับเจ้าฟ้าเมืองไผ่ ฝ่ายเจ้าโอ่งตรองเห็นการจะเกีดลุกลามขึ้นในที่นั่นต่อไป จึ่งคิดยุแยงโปพญาเจ้าเมืองกะเหรี่ยงเบื้องตวันตกให้มาตีเมืองไผ่ ในการที่จะแก้แค้น กองทัพเมืองใผ่ที่ได้ช่วยเหลือจากเมืองลอยหลวงด้วย จึงยกมาตีเมืองอินเดียวโดนอันตั้งอยู่ปลายทเลสาบยางห้วยข้างไต้ ทั้งยกกองโจรลอบไปปล้มสดมในแขวงเม้ยลัต ใม่ว่าตำบลใด สุดแต่เหมาะช่องจะรวบริบทรัพย์สมบัติเพิ่มกำลังได้ ยังเขตร์แคว้นข้างทิศหรดีนั่นเล่า เมืองหมอกใหม่กับเมืองปั่นก็เกิดวิวาทกันขึ้นเปนส่วนตัวต่างรบพุ่งกันอย่างเข้มแข็ง

อาการเปนเช่นนี้และ ใม่ว่าแห่งหนตำบลไหนในหัวเมืองไทยใหญ่เวิ้งแม่น้ำสัละวีนฟากตวันตก มีแต่รบร้าฆ่าฟันกันเปนสัตถันดระกลียุคไปทุกหนทุกแห่ง ใม่ว่าที่ไหนหมู่บ้านก็ถูกเพลิงเผาทรัพย์สมบัติก็ทำลายฤๅริบเอาไปเสีย แขวงตำบลนั้นๆ เลยผู้คนร้างไปหมด ด้วยการที่พวกไทยใหญ่จับอพยพหนีมาก่อนๆนั้นหย่อยๆไปหลายปีมาแล้วนั้น ครั้งนี้กลับเปนทิ้งภูมิลำเนาไปเสียหมดทีเดียว ตกเหลืออยู่ก็แต่พวกพลรบที่ตั้งขับเขี้ยวล้างผลาญกันเองป่วนอยู่เท่านั้น

อันนี้และเปนอาการของหัวเมืองไทยใหญ่ตลอดปี พ.ศ. ๒๔๒๙ เมืองยางห้วยถูกข้าศึกรุมตีทุกๆด้านเว้นแต่ด้านตวันตกเท่านั้น แลการรบกันนั้นก็รบกันอย่างแบบพิไชยสงครามไทยใหญ่ตามเคยๆมาแต่บุรมสมะกัลป์ คือยกพลกรูมาใม่ให้ทันรู้ตัวถ้าโจมตีทันทีใม่ได้ ก็ตั้งค่าย ยกหอรบขึ้นยิงกัน ตั้งล้อมพยายามจะให้คนในเมืองอดเข้า ฤๅคนในเมืองก็พยายามจะให้ข้างศัตรูอดเข้า ฤๅเมื่อเห็นได้ช่อง คนประจำน่าที่เชีงเทีนรักษาเมืองกำลังพากันไปลาดหาอาหาร ก็ยกกรูเข้าปล้นเมือง เข้าเมืองได้ก็ปล้นสดมเอาไฟเผาบ้านเมืองเสียหมด ถ้าเสียทีแตกพ่ายพวกในเมืองก็ตามไล่ฆ่าฟันพล้ากันลงสุดแต่จะทำได้ ทุกหนทุกแห่งใม่ว่าที่ไหน มีแต่ยกมาตีกันข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งป้องกันป่วนกันไปทั่วสาระทิศ

ลุ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ เมื่ออังกฤษได้เมืองพม่าแลเอาเปนสิทธิ์มาปีเศษแล้ว กองทัพอังกฤษมีโคโลเนลสเตตแมนเปนแม่ทัพ (ภายหลังเปนเซอเอดวาร์ดสเตตแมน) จึ่งพึ่งยกขึ้นมาจากเมืองฮเลียงเดต กับมิสเตอ เอ. เอช. ฮิลเดอแบรนด์ สุเปอรินเตนเดนต์ หัวเมืองไทยใหญ่มาด้วย เพื่อจะจัดราชการปกครองหัวเมืองเงี้ยวให้ราบคาบนั้น มีกองทัพไทยใหญ่ตั้งต่อสู้ขัดขวางอยู่กะร่องกะแร่งรายทางขึ้นมาหลายแห่ง แต่ก็อปราชัยอังกฤษทุกแห่งเรื่อยมาจนถึงที่เกียนสะกัน ในท่าไร่ณน้ำคุ้มเชีงเนีนเขาเมืองไทยใหญ่ แลที่กุดโยใม่สู้ไกลจากเมืองสองคญีนักนั้น เจ้าฟ้าเมืองลอกสอกยกมาตั้งค่ายใหญ่รับอยู่ ทหารอังกฤษก็ยกเข้าโจมตีแตกพ่ายถอยไป การที่ต้องต่อยุทธ์เพียงเท่านี้และนับเปนอันว่าอังกฤษต้องรบพุ่งในหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งสิ้น กองทัพอังกฤษไปถึงเมืองยางห้วยในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ แลต่อนั้นไปอิก ๔ วันก็เลือกที่ซึ่งจะตั้งศาลาว่าราชการสุเปอรินเตนเดนต์แลตั้งค่ายเปนสำนักกองทหารอยู่ประจำนั้นได้ ณที่ตำบลบ้านในแขวงเมืองลอกสอกข้างทเลสาบเบื้องตวันออก สถานีนี้ต่อมาปรากฎนามว่า ป้อมสเตตแมน

การที่จะสมานราชการบ้านเมืองให้ราบคาบก็ได้ลงมือจัดในทันที เมื่อเดีนกองทัพขึ้นไป บรรดางะเวกุนฮมูในจังหวัดเม้ยลัตข้างเหนือแลตอนกลาง ต่างพากันอ่อนน้อมต่ออังกฤษด้วยตนเองราบมาตลอดสิ้น ที่เมืองยางห้วยเจ้าฟ้าอ่อนคือเมียวซาเมืองสามกาก็มาผูกไมตรีในทันที ทหารกองน้อยที่แต่งให้ยกไปจากเมืองยางห้วยถึงเมืองใผ่นั้น ก็เดีนไปถึงได้โดยใม่มีกระทำกระเทือนอย่างใดเกีดขึ้นตลอดทางน้ำโกกแลสากอย แลที่เมืองไผ่ ตัวเจ้าฟ้าเองก็มายอมอ่อนน้อมต่อผู้ช่วยสุเปอรินเตนเดนต์อันเปนผู้แทนรัฐบาลอังกฤษโดยราบคาบ ทั้งซ้ำร้องขอให้อังกฤษตั้งกองทหารให้ณเมืองสัมเปนะโคน (จำปานคร) ด้วย

ลำดับนั้นสุเปอรินเตนเดนต์ได้ไปที่เมืองหน่ายแลเมืองปอน ประกาศแก่บรรดาพรรคพวกพระลิมเบงมินทราที่เข้ากันทั้งปวงให้พากันมาอ่อนน้อมต่อรัฐบาลอังกฤษเสียแต่โดยดี แลสงบรบพุ่งกันเองอีกตั้งแต่นี้ต่อไป แต่พวกเหล่านั้นยังหายอมมาอ่อนน้อมทันทีใม่ เปนแต่ถอนทหารไปจากเขตร์เมืองยางห้วย แลเจ้าฟ้าต่างๆก็กลับคืนไปสู่บ้านเมืองของตนตามกัน องค์พระลิมเบงมินทราที่ตั้งค่ายหลวงอยู่ณเมืองวานอินนั้น แรกก็ถอยไปเมืองหอโป่ง (หัวพง) แล้วภายหลังถอยไปเมืองหน่าย เจ้าผู้ผ่านเมืองไลขา เมืองกุ้ง แลเมืองเกษีแมนสัมที่ได้อ่อนน้อมต่ออังกฤษแต่ในกรุงมัณฑเลแล้วนั้น ครั้นบัดนี้ต่างถือเอาประโยชน์แห่งการใม่ตกล่องปล่องชิ้นแน่นอนลงอย่างไหนอันป่วนกันอยู่ในจำพวกเจ้าฟ้าที่เข้าพวกพระลิมเบงมินทรา ริก่อการกำเรีบส้องสุมรี้พลสมทบกันยกไปตีเมืองป่วน ฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองหน่ายนั้นมัววุ่นแต่การขับไล่ตเวตงะลูออกไปจากเมืองเชียงตอง ทำการลุล่วงไปได้ด้วยได้รับความอุดหนุนจากสอละปอ ในบัดนี้ก็ยังตัดสินพระไทยใม่ตกลงว่าควรจะออกแต้มอย่างไรต่อไปดี ข้างเมืองหมอกใหม่ที่ได้ยกมาตีเมืองปั่นนั้น ก็มีไชยมากเรื่อยมาจนกระทั่งขุนหลวงเจ้าฟ้าหมอกใหม่ถูกปืนข้าศึกยิงมาตามบุญตามกรรมชีพตักษัยลง ไพร่พลก็เลยแตกพ่ายกลับคืนไปยังบ้านเมือง ตเวตงะลูแลเจ้าเมืองปั่นทั้งคู่ก็ออกมายอมตัวเปนข้าของรัฐบาลอังกฤษ แลสอละปอ ที่เปนดูกผู้ช่วยขุนญี่ เจ้าฟ้าเมืองหน่ายให้ตั้งองค์มั่นคงได้ แลบุตรีของสอละปอก็ได้วิวาห์กับเจ้าราชภาคีนัยเมืองหน่ายนั้นรู้กันทั่วว่าตั้งหมัดจะเปนศัตรูต่ออังกฤษอย่างใม่คิดชีวิต เพราะฉนั้น อาการทั้งสิ้นก็ยังข้อนจะหนักร่อแร่อยู่

เจ้าเวงอันเปนเจ้าฟ้าเมืองลอกสอกนั้น ยังตั้งหน้ารบร้าฆ่าฟันเข้มแข็งอยู่ เที่ยวรุกรานเจ้าเมืองในจังหวัดเม้ยลัตข้างเหนือ แลลอบแต่งกองโจรไปคอยตีตัดการเดีนหนังสืออังกฤษไปมาระหว่างป้อมสะเตตแมน แลที่ตั้งกองทัพใหญ่ของอังกฤษณเมืองฮเลียงเดตอยู่เนืองๆ การสัญญายกโทษานุโทษแลสำแดงน้ำใจไมตรีกรุณาปรานีฉันใดก็หาประโยชน์ใม่สิ้น เพราะฉนั้นสุเปอรินเตนเดนต์จึ่งยกกองทัพตรงไปเมืองลอกสอก แต่เจ้าฟ้าเปิดหนีไปเสียแล้วแต่ก่อนกองทัพอังกฤษยกไปถึง กองทัพอังกฤษก็เข้าตั้งยืดเมืองลอกสอกไว้ได้โดยใม่มีใครขัดขวาง เจ้าเวงใม่มีกำลังรี้พลไทยใหญ่ติดตามไปด้วย นอกจากทหารลูกจ้างชาวเมืองเชียงตุง เจ้าเวงจึ่งรีบตรงไปยังเมืองหลวงเชียงตุงอาไศรยอยู่นั่นจนเมืองเชียงตุงยอมอ่อนน้อมต่ออังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๓๓ แล้วจึ่งหนีตเพีดไปเมืองเชียงรุ่งอิกต่อหนึ่ง

สุเปอรินเตนเดนต์ เดีนทัพจากเมืองลอกสอกผ่านไปทางเมืองปังสู่เมืองหอโป่ง (หัวพง) เตรียมการนัดแนะเพื่อจะได้พบพระลิมเบงมินทรา แลผู้อุประถัมภ์ตัวสำคัญๆ คือเจ้าฟ้าเมืองป้อน แต่ก็หามาให้พบใม่ เปนแต่เจ้าฟ้าอ่อน (เมียวซา) เมืองหอโป่ง เมืองน้ำโคก แลเมืองหนอกวอนมาอ่อนน้อม เจ้าเมืองทั้ง ๓ นี้ ก็ล้วนเปนพรรคพวกอุดหนุนพระลิมเบงมินทรา แลเจ้าฟ้าอ่อน (เมียวซา) เมืองหนองวอนนั้น เปนน้องชายต่างบิดาของเจ้าฟ้าเมืองป้อนด้วย แก้ตัวว่าเจ้าฟ้าเมืองป้อนกำลังต่อสู้ข้าศึกอยู่จึงมามิได้ ด้วยกองทัพเมืองไลขาแลเมืองอื่นอิกหลายเมืองรวมกันยกไปราวีว่าทำการตามคำสั่งรัฐบาลอังกฤษ เหตุฉนั้นกองทหารอังกฤษจึ่งเลยยกไปณเมืองป้อน ห้ามให้หยุดรบแลไกล่เกลี่ยเจ้าอันเปนหัวหน้าให้ประนีประนอมเลีกแล้วต่อกันสมัคสมานจิตสืบไปแต่โดยดี ในกำลังต่อรบกันอยู่กะต๋องกะแต๋งราวกะดูลครเขาแกล้งรบเล่นๆ

เจ้าฟ้าเมืองป้อนนั้น เปนคนท่าทางแข็งแรง แลน้ำพระไทยบึกบึนมาก เปนตัวการหัวหน้าในพวกเจ้าฟ้า แลเจ้าฟ้าอ่อน (เมียวซา) ที่อุดหนุนพระลิมเบงมินทรา กิริยาพูดจาเจ้าปัญญาโวหารฉะฉาน เมื่อเจ้าฟ้าเมืองป้อนตัวสำคัญเองมายอมอ่อนน้อมต่ออังกฤษแล้ว ใม่ช้าเจ้าผู้ครองเมืองหัวเมืองไทยใหญ่ข้างไต้อื่นๆก็พากันมาอ่อนน้อมตามๆกันหมดทั้งสิ้น จึ่งแต่งให้กับตันวอลเลศคุมทหารแยกยกไปเมืองหน่ายพร้อมกับผู้ช่วยสุเปอรินเตนเดนต์ เจ้าฟ้าเมืองหน่ายก็ออกมายอมอ่อนน้อมแต่โดยดี ทั้งองค์พระลิมเบงมินทราเอง ก็สมัคเสด็จมายอมทอดพระองค์ให้สุดแท้แต่อังกฤษจะกรุณา ยอมส่งทั้งธงไชยสำหรับองค์ให้ด้วย อนึ่งได้แยกแต่งทหารอังกฤษขึ้นไปเยี่ยมเยียนเมืองหมอกใหม่ไปเจอกำลังเจ้าฟ้าโกลัมอันชราภาพพิราไลยอยู่หยกๆแลนายทหารอังกฤษทั้ง ๓ กับทหารซีป่อยที่ไปด้วยก็ได้ประสรบการเคารพรับรองสมเกียรติยศ ตามคำขอร้องของเจ้าฟ้าเมืองหน่ายเองนั้น ธงอังกฤษจึ่งได้ชักขึ้นแขวนณเสาธงเมืองหน่าย ครั้นการทั้งปวงเรียบร้อยแล้วกองทหารอังกฤษทุกแพรกที่แยกกันไปต่างก็กลับคืนมายังปัอมสเตตแมน ส่วนพระลิมเบงมินทรานั้นต้องส่งลงไปอยู่เมืองร่างกุ้ง ภายหลังได้ส่งไปไว้ณเมืองกัลกัตตา ตามพระประสงค์ของเจ้านั้นทรงขอเอง เลยประทับอยู่ที่นั่นโดยได้รับเงินปีอย่างอุดมจากรัฐบาลอังกฤษ

ลุกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๗ แว่นแคว้นหัวเมืองไทยใหญ่ข้างไต้ทั้งสิ้น ก็ล้วนเหนี่ยวมาตกอยู่ไต้อาณาสุเปอรินเตนเดนต์รัฐบาลอังกฤษปราศจากจลาจลหมดทั้งสิ้นทั่วไป

แต่ข้างเหนือนั้น นอกจากมณฑลสีปอแล้วยังตกอยู่ในฐานสัตถันตระกลียุค เจ้าฟ้าสีปอนั้นได้ชิงสวนควันลงไปหาคอมมิชเนอใหญ่ในกรุงมัณฑเล แต่ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๒๙ เพราะเจ้าฟ้าสีปอเปนเจ้าฟ้าไทยใหญ่ในเมืองไทยใหญ่องค์แรก ที่ยอมทอดกายถวายชีวิตมอบในเงื้อมมือรัฐบาลอังกฤษสุดแท้แต่จะกรุณา รัฐบาลอังกฤษจึ่งรับรองอย่างดีสมเกียรติยศอย่างยิ่ง เจ้าฟ้าสีปอได้ไปประชุมในการพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกพระราชินีวิกตอเรีย แลในมงคลสมัยนี้คอเวอเนอเยเนราลมหาอุปราชอินเดียพร้อมด้วยมนตรี จึ่งโปรดยกเงินสร่วยสาอากรในมณฑลสีปอ บรรดาที่จะต้องส่งต่อรัฐบาลอังกฤษถวายเปนบำเหน็จเพื่อให้เปนเครื่องหมายพิเศษแห่งความพอใจ อนึ่งได้ปรองดองยกเมืองหลวงแลเมืองชุมสาย ซึ่งเปนหัวเมืองชายเขตร์แดนกรุงมัณฑเล แลเมืองตุงซึ่งตั้งอยู่ในทิศอาคเณย์แห่งมณฑลสีปอนั้นเพิ่มให้เปนเมืองขึ้นในอาณาเขตร์ของเจ้าฟ้าสีปอสืบไปด้วย เมื่อเจ้าฟ้าสีปอเสด็จกลับคืนนครสีปอ มิสเตอ เช. อี. บริติชคอมมิชะเนอรองกรุงมัณฑเลก็โดยเสด็จขึ้นไปอยู่ในนครสีปอด้วยคราวหนึ่ง พยายามเพื่อจะจัดการสมานราชการมณฑลแสนหวีให้ราบคาบ แต่ราชการในมณฑลแสนหวีนั้นรุนแรง พ้นวิไสยที่พอจะปรองดองได้ที่นั่นได้ นอกจากต้องไปจัดถึงที่ ในกาละก่อนครั้งหนึ่งมณฑลแสนหวีมีหัวเมือง ๔๙ เมือง ต่างเมืองต่างมีเจ้าปกครองเปนประเทศราชขึ้นต่อกรุงไหญ่ นอกจากที่แบ่งภาคหัวเมืองตามชาติภูมิเดีมแล้ว พม่ายังเพิ่มเติมวิธีจัดแบ่งใหม่เปน ๕ ภาค คือ ๑ ภาคเหนือ ๒ ภาคไต้ ๓ ภาคตวันออก ๔ ภาคตวันตก แล ๕ ภาคกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๙ เมื่อเจ้าฟ้าสูงหน่อฟ้ากับแสงไห ซึ่งเปนแม่ทัพบังคับกองทหารมณฑลแสนหวี คราวยกไปช่วยรดมตีกองทัพฝ่ายสยามซึ่งยกขึ้นมาตีเมืองเชีงตุงนั้นเปนขบถ บ้านเมืองก็มีแต่ยิ่งรบร้าฆ่าฟันกันเองมากขึ้นๆ รัฐบาลพม่าก็เอาแต่ถอดแลกลับตั้งเจ้าฟ้าแสนหวี ตั้งเจ้าฟ้าองค์อื่น แลลงราชอาญาจำขัง แล้วก็กลับตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองใหม่เล่า ฤๅส่งหวุ่น สิกแก วินดอฮมู แลโบ่นายทหารพม่าเปลี่ยนตัวทอยกันเนื่องๆไป แต่ก็ใม่สำเร็จเปนผลดีอย่างไร ที่จะปราบจลาจลในแสนหวี ให้สงบเรียบร้อยได้ ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ แสงไหต้องจำถอยล่าไปพ้นแม่น้ำสัละวีน แต่เปลื้องไปได้พักเดียวเท่านั้น ต่อไปเมืองหนอง เมืองเกษีแมนสัมเมืองสูแลเมืองแสง แต่ก่อนเปนหัวเมืองขึ้นของแสนหวีก็กลายแยกเปนหัวเมืองเอกะเทศอันหนึ่ง มีเจ้าผู้เปนใหญ่ครอบครองต่างหาก ทรงยศใหญ่ ขึ้นตรงต่อรัฐบาลพม่าตามพม่านุญาต ใม่ขึ้นต่อแสนหวีอิกต่อไป แลหัวเมืองภาคข้างเหนือก็ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของพวกกะจินเสียประจำทีเดียว ฝ่ายตำบลอแลเลตอันเปนพื้นที่ดินอุดมดีในภาคท่ามกลางมณฑลแสนหวีนั้นเล่า ก็กลับเปนแหล่งจลาจลป่วนไปเสียแล้ว แสงไหสิ้นชีพลง แต่ขุนแสงเมืองต้นโหงก็ขึ้นเปนตัวแทน ขุนแสงต้นโหงนี้เปนคนนักเร่ร่อนเที่ยวมาได้เปนลูกเขยแสงไห เมื่อรับอาสาเปนนายทหารเอกแม่ทัพรบพุ่งเข้มแข็งมาหลายปี แสงไหเห็นใจจึ่งยกลูกสาวให้ ขุนแสงนั้นสันชาติเปนคนชาวเมืองโล้น แต่กล่าวกันว่าเปนเลือดลว้า เมื่อแสงไหสิ้นชีพแล้ว ขุนแสงก็ตั้งตัวเปนใหญ่ ตั้งหน้ารบร้าฆ่าฟันด้วยได้กำลังพวกกะจินช่วยเหลือเกื้อกูล ใน พ.ศ. ๒๔๒๑ ถึงตีเอาเจ้าฟ้าสูงหน่อฟ้าแตกพ่ายลงมาจากมหานคร แลเข้าตั้งมั่นในเวียงใม่ต้องเกรงกลัวสิกแกแลขุนนางพม่าอื่นๆ ด้วยขุนนางพม่าใม่สามารถจะขบให้แตกแลจัดการในแสนหวีภาคกลางแลภาคตวันตกราบคาบอ่อนน้อมได้ ซ้ำถอยไปตั้งที่ว่าราชการอยู่ณเมืองลาเฉียวเอาแต่ตโกนโหวกเหวกบรรชาราชการขึ้นมาในเวลาบ้านเมืองฉุกละหุกจลาจลเช่นนั้นจะสำเร็จได้ที่ไหน บ้านเมืองเหล่านั้นก็ยิ่งปั่นป่วนหนักขึ้นจน พ.ศ. ๒๔๒๔ แสงอออันปรากฎนามว่าโปกโจกก็ตั้งตัวเปนใหญ่ขึ้นที่เมืองไยทรงยศเสมอเจ้าฟ้าแสนหวี ภาคอแลเลตซึ่งเปนอาณาเขตร์แสนหวีเหลือว่าง พวกขบถตั้งปกครองแล้วอยู่เพียงเท่านั้น นอกข้างเหนือไปตกอยู่ในเงื้อมมือขุนแสงต้นโหง แลข้างไต้ก็แตกออกเปนหัวเมืองใหม่ๆตามรัฐบาลพม่าตั้งใหม่ๆ ใม่ขึ้นต่อแสนหวี ขุนนางพม่าที่ขึ้นไปว่าราชการแสนหวีก็ใม่มีอำนาจบังคับบรรชาราชการอย่างใดได้ พ้นจากเวิ้งเมืองลาเฉียวออกไปแลใม่สามารถจะแก้ตัวฟื้นอำนาจได้แด็กๆ อยู่จนตลอดรัชกาลพระเจ้าธีบออย่างดักเดี้ยอยู่กระนั้นเอง

นี่และเปนอาการของบ้านเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือ เมื่อเมืองพม่าตอนบนถูกสมทบเข้าในอินเดียของอังกฤษ เหมือนกะที่อื่นๆ กองทหารพม่าในเมืองลาเฉียวก็ถูกเรียกกลับทันที ฤๅต่างคนต่างเปิดใม่พักต้องมีท้องตราให้หากองทัพกลับ ขุนสูงหน่อฟ้า เตว็ดสักแต่ว่าเจ้าฟ้าเมืองแสนหวีทั้งสิ้นนั้น เวลานี้อยู่ในเมืองสีอันเปนหัวเมืองอันหนึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกะจินเยื้องไปข้างหนอิสาณเวียงฤๅเมียงมาตามพวกพม่าเรียกว่าเปนมหานครที่ขุนแสงต้นโหงตั้งมั่นอยู่ แลโปกโจกนั้นตั้งอยู่ในเมืองไย ล้วนต่างเปนคู่ขันต่อกันหาใช่เปนพวกเดียวกันใม่ เจ้าหน่อเมืองอันเปนราชบุตร์ของหน่อฟ้านั้นถูกขังไว้ในกรุงมัณฑเลเปนนักโทษตลอดแผ่นดินพระเจ้าธีบอ เมื่ออังกฤษได้พระมหานครมัณฑเลแล้วก็ปล่อยให้เปนอิศระ ด้วยทราบว่าหาความผิดอันใดมิได้เลย ออกจากขังได้เจ้าหน่อเมืองก็ตั้งหน้ากลับขึ้นไปยังเมืองแสนหวีทันที เมื่อไปตามทางได้ผ่านค่ายพระเมียนซายมินทราแลค่ายเจ้าสอยันนาย พระบุตร์ของพระเมฆรามินทราไปทั้งสองกองพล ตั้งหน้ามุ่งไปยังหัวเมืองภาคตวันตกแห่งแคว้นอแลเลต ตั้งส้องสุมผู้คนที่นิยมอุดหนุนเข้ามาอาสา ในแถบเมืองบ้านแรกว่าจะได้กำลังรี้พลเพียงพอก็ต่อลุปลายพ.ศ. ๒๔๒๙ เจ้าหน่อเมืองจึงยกพลขึ้นเขาไปยังเวิ้งลาเฉียวปะทะกองทัพขุนแสงแลพวกกะจินสมทบกันได้ต่อรบกันเปนสามารถ ข้างเจ้าหน่อเมืองอปราไชย เบื้องนั้นขุนแสงก็ยกย้อนไปโจมตีกองทัพขุนสูงหน่อฟ้า ซึ่งนัดแนะกันคุมพลยกจากเมืองสีมาช่วยตีขนาบนั้นแตกพ่ายไปด้วยแล้ว ก็เลยเดีนทัพตรงไปอแลเลต ฝ่ายเจ้าสอยันนายที่ตั้งต่อรบกับอังกฤษนั้นถึงเวลานี้อปราชัยพ่ายออกไปใม่ชั่วแต่จากเขตร์แดนกรุงอังวะ แต่ซ้ำต้องล่าหนีจากปะยินอุลวินอันเปนเขตร์หัวเมืองขึ้นถอยไปสู่บ้านแสร ขุนแสงต้นโหงก็กลับซ้ำโจมตีกองทัพเจ้าสอยันนาย เมื่อกำลังเดินขบวนมาแตกกระจายหนีไปยังเมืองลอยหลวง ทองเพ็ง แล้วก็ยกไปโจมตีเอาชัยเจ้าหน่อเมืองแลโปกโจก แสงออ แลพวกขบถที่คิดจะตั้งตัวเปนใหญ่รายน้อยๆ ต่างๆ พ่ายแพ้พินาศไปหมด แต่ความสำเร็จของขุนแสงต้นโหงมาย่นเสียมากด้วยเกีดพวกกองโจรยกจากมณฑลสีปอเข้ามาปล้นสดมเผาบ้านเมืองแคว้นอแลเลตข้างไต้เสียหมด แลลงท้ายก็พินาศบ้านเมืองแคว้นนั้นตำบลอื่นๆเสียแทบทั้งสิ้น ลุสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ โปกโจกแลเจ้าหน่อเมืองก็ต้องแตกล่าจากแสนหวีม้วนต้วนออกไปหมด ขุนแสงก็เข้าตั้งครอบครองเมืองไย โปกโจกแลเจ้าหน่อเมืองหนีรุดไปสู่เมืองหน่ายแลจับสื่อสนกับมิสเตอฮิลเดอแบรนด์ที่ป้อมสเตตแมน ด้วยท่านผู้นี้ได้เปนผู้ว่าราชการหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งข้างเหนือแลข้างไต้หมดสิ้น มิสเตอฮิลเดอแบรนด์ก็จัดแต่งคนสื่อสารไปว่ากล่าวกับขุนแสงต้นโหงณเมืองไย ส่วนกองโจรมณฑลสีปอนั้นก็สั่งให้ถอนออกมาเสียจากเข้าไปปล้นสดมราวี นับเปนครั้งแรกแต่หลายปีดีดักมาแล้ว พึ่งเกีดความสงบขึ้นในด้าวดินหัวเมืองไทยใหญ่ในครั้งนี้ การจลาจลรบร้าผล้าผลาญติดต่อมาช้านานนั้น ใม่เปนอันที่จะมีใจตั้งทำไร่นา ราษฎรต่างพากันยากแค้นขัดสนไปทุกหนทุกแห่งใม่ว่าที่ไหน ใม่เปนเฉภาะแต่ในเขตร์เมืองไลขา ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าตำบลอื่นๆ จนถึงแก่คนเปนอันมากล้มตายด้วยอดหยากไร้อาหารที่จะเยียวยาเลี้ยงชีพน่าสังเวชนัก

ในรดูแล้ง พ,ศ, ๒๔๓๐ มิสเตอฮิลเดอแบรนด์ได้ยกเปนกองทัพข้อนข้างใหญ่ไปเที่ยวเลียบหัวเมืองไทยใหญ่อย่างไกลพอดู ผ่านไปจนทั่วเมืองไทยใหญ่ทั้งปวงภายในแม่น้ำสัละวีนเข้ามา กินเวลากว่า ๕ เดือน แลไปสุดทางลงณกรุงมัณฑเลโดยปราศจากภยันตราย มิต้องยิงปืนฆ่ามนุษย์เลยสักปังเดียว (ฆ่านกเนื้อและว่าใม่ถูก) ตามทางที่เดีนขบวนทัพเลียบเมืองไปนั้น มิสเตอฮิลเดอแบรนด์ได้รับเจ้าฟ้าแลเจ้าฟ้าอ่อน (คือเมียวซา) ทั้งปวงมายอมตัวอ่อนน้อม แลอนุญาตให้เจ้าผู้ครองเมืองเหล่านั้นกลับไปเปนเจ้าครองเมืองขึ้นต่ออังกฤษ ที่เมืองไหนวิวาทกันกะเมืองไหนโดยกรณีเหตุอย่างใด ก็วินิจฉัยเด็ดขาดสุดแต่ให้เลีกแล้วแก่กัน สมานไมตรีฉันท์มิตระภาพ ทั้งต่อรัฐบาลอังกฤษแลต่อกันแลกันโดยราบคาบ กำหนดจำนวนสร่วยที่เจ้าองค์หนึ่งๆจะต้องส่งต่อรัฐบาลอังกฤษปีละเท่าใดๆ ล้วนประดิษฐานเดชานุภาพรัฐบาลอังกฤษปกแผ่คุ้มครองหัวเมืองเหล่านั้นเปนที่พึ่งมั่นคงสืบไป ความสงบราบคาบตั้งแต่นั้นมาก็เรียบร้อยใม่มีลุกลามขึ้นอิก นอกจากการมุทลุบรรดาลโทษะของเจ้าผู้ครองเมืองบางเมืองฤๅการปล้นสดมโดยโลภะเจตนาของพรกโจรผู้ร้ายซึ่งปราบปรามให้สงบลงทันควันมิได้ เว้นไว้แต่แว่นแคว้นนอกกำหนดเขตร์หัวเมืองไทยใหญ่และยังมียุ่งเหยีงอยู่รายๆ

ณเมืองใผ่ได้พยายามไกล่เกลี่ยข้อวิวาทระหว่างเจ้าฟ้าเมืองใผ่กับโปพญาเจ้ากะเหรี่ยงข้างตวันตกตน ๑ จะให้แล้วกันยังใม่ตกลงกันตลอดได้ แต่การเรื่องนี้ครั้นภายหลังได้กลับมาเสนอต่อเซอชาลส์ครอสถเวตในเมืองร่างกุ้ง โดยองค์เจ้าฟ้าเมืองใผ่เองแลบุตร์ของโปพญา ต่างตกลงจะษมาโทษที่เปนมาแล้วแต่หลังให้กันแลกันต่อไปจะใม่วิวาทกันอิก แต่การตกลงกันครั้งนี้ ก็มีราคาน้อยอีก ด้วยสอละปอ อันเปนใหญ่ในกะเหรี่ยงข้างตวันออก ยังอาฆาฎคิดจะทำร้ายต่ออังกฤษอยู่ใม่เหือดหาย ทั้งอังกฤษก็หาได้ปรองดองการอย่างไรต่อเจ้าผู้เปนใหญ่ในเมืองกะเหรี่ยงเบื้องตวันตกอื่นๆ ด้วยใม่

เมื่อกองทัพใหญ่เลียบเมืองได้ยกล่วงไปแล้วตเวตงะลูที่ลงมาที่ป้อมสเตตแมนแต่ในน่าฝนเพื่อประจบประแจงขอรับตำแหน่งเปนเจ้าฟ้าเชียงตอง แต่ได้รับตอบว่าใม่ได้เปนอันขาด กลับแค้นอังกฤษ คิดส้องสุมกำลังเกลี้ยกล่อมคนในแถบเมืองเกษีแมนสัม ยกเข้าไปตีปล้นแลเผาเชียงตองเสียพินาศ อังกฤษขอให้เจ้าฟ้าเมืองหน่ายยกไปปราบ ก็ยกล่าถอยไปยังเมืองปั่นเผาเมืองปั่นเสียแล้วก็หลบไปอาไศรยพึ่งอยู่ในแว่นแคว้นเชียงใหม่ของสยาม แลให้สัญญาต่ออาณาพยาบาลว่า จะอาไศรยพึ่งเลี้ยงชีพอยู่โดยสุจริตะภาพ หาคิดจะรบร้าฆ่าฟันใม่ แต่ก็หาจริงใม่ อนึ่งที่เมืองปั่นนั้นมิสเตอฮิลเดอแบรนด์ได้พบกับข้าหลวงสยาม ๔ ท่าน แลไวศกงสุลอังกฤษณเมืองเชียงใหม่ มิสเตอฮิลเดอแบรนด์ได้ให้สัตย์สัญญาว่า จะงดจากการวิวาทรบพุ่งต่อกัน ทั้งฝ่ายสยามก็เช่นกัน เมื่อมีเหตุการโต้เถียงปัณหาอย่างใด ก็จะใช้ทางพิจารณาใต่สวนแลปรองดองตกลงกันฉันท์มิตระภาพ ตัวความต้องการที่ข้าหลวงทั้งสองฝ่ายพบกันครั้งนี้ ก็ประสงค์เพื่อจะโต้เถียงกันด้วยปัณหาเรื่องกรรมสิทธิ์สยามฤๅอังกฤษควรจะเปนเจ้าของหัวเมืองน้อยๆคือ เมืองตวน เมืองหาง เมืองจวต เมืองทา กับเมืองสาต ถูกต้องกว่ากัน ด้วยข้างสยามก็ว่าหัวเมืองเหล่านี้เปนหัวเมืองขึ้นของนครเชียงใหม่มาแต่ดั้งเดีม ข้างอังกฤษก็ว่าหัวเมืองทั้ง ๕ ข้างต้นนั้นเปนหัวเมืองขึ้นของเมืองปั่นมาตั้งแต่ดั้งเดีม พึ่งจะโจทไปขอขึ้นเชียงใหม่เมื่อเกีดวิวาทกันขึ้นระหว่างเมืองหมอกใหม่ แลเมืองปั่น กลัวภัยจะมาถึงจึ่งพึ่งเอาอำนาจเชียงใหม่มาปก แต่การที่ข้าหลวงพบกันครั้งนี้ก็ได้ปรองดองตกลงกันไว้ชั่วคราวเท่านั้น แม้กระนั้นการที่ปฤกษากันครั้งนี้ทำให้เปนโอกาศแก่ตเวตงะลูที่จะเอาตัวรอด เพราะเปนเวลาระหว่างรัฐบาลอังกฤษแลสยามกำลังว่ากล่าวกันถึงข้อที่จะคิดจัดราชการในหัวเมืองเหล่านี้ในภายภาคหน้า บรรดายังเอาเปนยุติมิได้ว่าจะตกเปนของใคร จึ่งได้ตลบเลยเข้าไปทางเชียงใหม่

ออกจากเมืองปั่นมิสเตอฮิลเดอแบรนด์ก็ยกไปทางเมืองหน่าย แลที่นั่นได้มีการพิธีสโมสรซึ่งพวกเงี้ยวคงคิดกันว่า เปนพิธีสมาคมเดอบาร์ในหัวเมืองไทยใหญ่ครั้งแรก การชุมนุมได้เคยมีเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ณป้อมสเตตแมนนั้น มีแต่ชั่วเจ้าผู้ครองเมืองเบื้องตวันตกแลงะเวกุนฮมูในมณฑลเม้ยลัตเท่านั้นมาประชุม แต่ในเมืองหน่ายครั้งนี้ใม่เช่นนั้น นอกจากเจ้าฟ้าหัวเมืองข้างเหนือ แลเจ้าผู้ครองเมืองเบื้องตวันตกเหล่านี้แล้ว บรรดาเจ้าผู้ครองหัวเมืองทั้งปวงต้องมาชุมนุมการสมัคสมานสามัคคีระหว่างเจ้าที่เข้าพวกกันอุดหนุนเจ้าลิมเบงมินทรา แลศัตรูของพวกนี้ก็ได้กลับประนีประนอมกันเรียบร้อย ในการประชุมนี้ ปัณหาข้อใหญ่เรื่องเงินสร่วยที่เจ้าหัวเมืองไทยใหญ่นั้นๆจะต้องส่ง ทั้งปัณหาเล็กน้อยอันเปนข้อวิวาทขัดข้องเฉภาะเมืองก็ได้ว่ากล่าวตกลงกันไปโดยสำเร็จเด็ดขาด ในชั้นแรกเจ้าฟ้าต่างๆให้เจ้าฟ้าเมืองปอ้นอันขยันขันแข็งแลรู้จักเชื่องหทัยชั่งผิดชอบทั้งเปนผู้ช่างพูดเจ้าสำบัดสำนวนตีโวหารเปนทนาย ร้องคัดค้านเงินสร่วยที่คเนกะเอาตามหลักสะสะเมทะ อันเปนวิธีที่ใช้ในรัชกาลพระเจ้าเมนดงมินทร์ สำแดงปราถนาจะใคร่ให้กลับใช้ธรรมเนียมส่งเครื่องราชบรรณาการอันมีค่าไปคำนับพระผู้เปนเจ้าอันเปนผู้ปกครอง เพื่อสำแดงความเปนใหญ่เหนือตน แทนที่จะกำหนดเปนอัตราจำนวนเงินรีดให้ส่งทุกๆปีอย่างที่รัฐบาลพม่าเรียกเอาในชั้นหลังๆนั้น แต่ข้อคัดค้านอันนี้ลงท้ายก็เปนอันอังกฤษใม่ยอม แลอัตราเงินสร่วยนั้นก็ตกลงกันกะเปนอัตรา ๕ ศกกำหนดใหม่ครั้งหนึ่ง จำเดีมแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ เปนต้นไป พันกำหนดไปก็แก้ไขใหม่ได้ เปนอันใม่มีอไรเหลือแก่เจ้าไทยใหญ่เหล่านั้น นอกจากต้องยอมแล้วแต่ไต้เท้ากรุณาเจ้าจะโปรดเถิดเท่านั้นเปนจบความ

สุเปอรินเตนเดนต์ออกจากเมืองหน่ายแล้ว ก็ยาตราขบวนเลียบเมืองผ่านมาทางเมืองไลขา เมืองกุ้ง แลเมืองเกษีแมนสัม สู่เมืองไย ประสมกันกะกองทัพที่ยกไปข้างเหนือ ซึ่งเลียบทางผ่านเมืองทองเพ็ง แลเมืองแสนหวี มีลุเตแนนต์ดาลีเปนเจ้าพนักงารผู้เจรจาความเมือง นอกจากที่เมืองทองเพ็งซึ่งทหารกองหลังถูกลอบยิงแล้ว กองทัพที่ไปทางเหนือนี้ก็สงบราบคาบปราศจากภยันตรายเหมือนกัน ซ้ำดูดเอาขุนแสงต้นโหงเข้ามาสวามิภักดิ์ได้ด้วย ควรจะต้องสำเหนียกไว้หน่อยว่านามขุนแสงต้นโหงซึ่งพม่าให้แก่คนสำคัญผู้นี้ แลอังกฤษก็เรียกตามนั้น พวกไทยใหญ่ใม่มีใครเข้าใจเลยด้วยเรียกเหลวๆใม่ถูกต้อง นามเดิมว่าแสงยอนโก แลเปนชาวบ้านต้นโหง เมื่อโชคดียิ้มรับเพื่อนก็เลยสลัดคำยอนโกทิ้งเสีย แลเพิ่มยศขุนซึ่งเปนมหายศสำหรับแต่เจ้านายผู้ครองแผ่นดินมาผนวกหน้าชื่อเข้าจึ่งเปนขุนแสงต้นโหง ใม่ใช่ว่าขุนแสงชาวบ้านต้นโหงเหมือนกับเราพูดว่าหลวงบรรเทาเกาะใหญ่ ฤๅอีนาคพระโขนง หาได้พูดว่าหลวงบรรเทาชาวบ้านเกาะใหญ่ ฤๅอีนาคชาวบ้านพระโขนงใม่ฉนั้น

เจ้าหน่อเมืองแลโปโจก (ซึ่งดูเหมือนจะเปนคำลว้า ว่าป่าโจก คือเป็นใหญ่ในป่า อาจจะเทียบได้ดังคำพวกน้ำเจ่า ครั้งโบราณเรียกเจ้าเมืองว่าปาชีก็แปลว่าเจ้าป่า) ก็มาเข้าหามิสเตอฮิลเดอแบรนด์แลตามมาจากเมืองหน่าย จึงได้มีการประชุมบรรดาหัวหน้าแลท้าวเมืองในจังหวัดแสนหวีทั้งปวงนั้นพร้อมกันณเมืองไย เมื่อประกอบผลที่ผู้เปนใหญ่ครอบครองแสนหวีใม่มีตัวเสียสิ้นแล้ว หัวเมืองข้างเหนือแลข้างตวันออกจึ่งยกให้แก่ขุนแสงต้นโหงให้ทรงยศเปนเจ้าฟ้าแสนหวีข้างเหนือ แลดินแดนที่เปนแต่โบราณเรียกว่าก้อนกาง (คือก้อนกลาง) หรืออเลเลตนั้น มอบให้แก่เจ้าหน่อเมืองทรงยศเปนเจ้าฟ้าแสนหวีข้างไต้ โปกโจกนั้น ชราทุพลภาพมากแลขี้โรคขี้ไภยนักด้วย จึ่งเปนแต่ให้รับเงินปีเลี้ยงชีพอยู่ปรกติไปในเมืองแสนหวีข้างไต้ ราวสองเดือนเท่านั้น นับแต่วันกองทัพใหญ่ของอังกฤษยกไปแล้ว พรรคพวกของโปกโจกก็คุมกันเข้าเปนขบถจะทำร้ายเจ้าฟ้าหน่อเมือง ๆ ต้องหนีเปิดไปเมืองสีปอ จนลุเตแนนต์ดาลียกกองทัพขึ้นมาช่วยจึ่งได้กลับมาบ้านเมืองได้ ท้าวเมืองโปกโจกนั้นพ้นโทษไปได้ โดยเชิงชิงหนีตายเสียก่อนด้วยโรคลงแดง ลุเตแนนต์ดาลีแลเจ้าฟ้าหน่อเมืองจึ่งให้เรียกตัวหัวหน้าปวกขบถมาโดยดี แลให้จับตัวชำระตัดสินให้จำขังไว้ตามโทษานุโทษน้อยแลมากให้หลาบจำ

ลำดับนั้นสุเปอรินเตนเดนต์ ก็เดีนขบวนทัพเลยลงไปสู่กรุงมัณฑเลรับเจ้าฟ้าเมืองลอยหลวง เมืองทองเพ็ง ที่ยังมิได้เข้าหาลุเตแนนต์ดาลีมาอ่อนน้อมตามทาง

การที่สุเปอรินเตนเดนต์ใม่อยู่เสียนานแลกองทหารอังกฤษโดยมาก ยกจากป้อมสเตตแมนตามไปด้วยนั้น ดูเหมือนจะส่อให้เปนข้อคาดกันว่า ทหารอังกฤษเห็นจะจับถอนไปแล้ว จึ่งในมินาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ สอละปอเจ้ากะเหรี่ยงข้างตวันออก คนที่ใม่ขอยอมที่จะพบปะสมาคมกับสุเปอรินเตนเดนต์ มิใยจะแต่งคนสื่อสาส์นมาเชื้อเชิญให้ไปพบมาหลายเดือนก่อนนั้น แลเปนตัวการที่ได้รวบเอาส่วนเมืองสากอยปลายแดนต่อกันนั้นเปนอาณาเขตร์ของตนเสีย แลยังคุกคามจะตครุบเมืองหมอกใหม่เข้าไว้ในเงื้อมมือเสียด้วยนั้น เปนใจแต่งให้พวกกะเหรี่ยงยางแดงยกเข้ามาตีเมืองหมอกใหม่ เจ้าฟ้าต้องหนีจากเวียงข้ามแม่น้ำสัละวีนไปฝั่งโน้น พวกยางแดงก็ปล้นบ้านเรือนแลจุดไฟเผาเมืองหมอกใหม่เล่นสนุกใจ สอละปอก็ยกมาจับชายผู้หนึ่งนามขุนน้อยแก้ว อันเปนนักเรียนเชื้อวงศ์เมืองหมอกใหม่ตั้งขึ้นเปนเจ้าฟ้าให้ครองเมืองเปนเมืองขึ้นต่อเจ้าผู้เปนใหญ่ในเมืองกะเหรี่ยง เมื่อตเวตงะลูทราบข่าวกะเหรี่ยงทำการใหญ่ถึงปานนั้นสำเร็จได้ ก็มีใจกำเรีบ จึ่งเกลี้ยกล่อมผู้คนลอบหนีจากเมืองเชียงใหม่ยกมาตีได้เมืองปั่น ไล่เจ้าฟ้าตเพีดหนีไปแล้ว ก็เข้าตั้งครอบครัวอยู่ เจ้าฟ้าเมืองหน่ายได้รับคำสั่งมิสเตอฮิลเดอแบรนด์ก็แต่งกองทัพยกไปขับไล่ตเวตงะลู แต่ก็กลับพ่ายแพ้แตกถอยมา ตเวตงะลูยังยกรี้พลไล่ติดตามฆ่าฟันมากระทั่งถึงประตูเมืองหน่ายอย่างกล้าหาญเช่นนี้ ตเวตงะลูจึ่งเปนที่นิยมของคน สามารถจะตั้งตนทรงอำนาจอยู่ในเมืองปั่นได้ ในต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ จนขุนญี่เจ้าฟ้าก็ต้องหนีไปสู่เมืองปอน เหตุฉนี้ผู้ช่วยสุเปอรินเตนเดนต์จึ่งต้องรีบกลับขึ้นมาจากกรุงมัณฑเลในกลางเมษายน ลำดับนั้นการรบพุ่งออกจะข้อนข้างร้ายๆ ยังตึงตังขึ้นระหว่างเมืองเล็กเมืองน้อยในจังหวัดเม้ยลัตข้างไต้ซ้ำเติมอีกด้วย กำเริบขึ้นด้วยเจ้าฟ้ายางห้วยกะทุ้ง เปนด้วยสาเหตุเจ็บแค้นนายทหารอังกฤษที่ป้อมสเตตแมนสั่งพลาดพลั้งฤๅโดยเข้าใจผิดอย่างใดส่อให้เห็นใจว่าเปนอยุติธรรมขึ้น แต่การกำเรีบเหล่านี้ก็ปราบให้กลับราบคาบได้โดยง่าย แลเจ้าต้นเหตุถูกปรับ ๑๐,๐๐๐ รูปีย์ แล้วก็แต่งกองทัพเดีนไปทางตวันออก ทหารม้ากองลุเตแนนต์เฟาเล่อลอบรุกตระหน่ำขึ้นไปมิทันรู้ตัว จับตัวตเวตงะลูตัวลูกสมุนหัวหน้าสำคัญๆได้แทบหมดใน ๗ วัน นับแต่วันพวกขบถห้าวหาญยกมาถึงประตูเมืองหน่าย การข้อนี้เองทำให้การขบถตเวตงะลูที่กำลังแตกตื่นคาดหน้ากันว่าจะลุกลามใหญ่โตต่อไปสงบลง ตัวหัวหน้า ๖ คนต้องประหารชีวิตเมื่อเจ้าฟ้าเมืองหน่ายได้ชำระแล้ว แต่ตัวตเวตงะลูเองนั้นถูกลูกสมุนของตาทิดนั่นเองยิงตาทิดตัวขบถเสีย

กองทัพอังกฤษที่ไปกับผู้ช่วยสุเปอรินเตนเดนต์ เมื่อได้จัดการให้ขุนญี่กลับได้เข้านั่งเมืองตามเดีมแล้วก็เดินไปทางข้างไต้สู่เมืองหมอกใหม่ซึ่งขุนน้อยแก้วแลพวกกะเหรี่ยงพากันทิ้งเมืองหนีไปสิ้นแล้ว ขุนน้อยแก้วหนีไปในพระราชอาณาจักร์สยามแลไมได้หวลกลับมาก่อการร้ายอิกต่อไป พวกกะเหรี่ยงถอยไปสู่บ้านเมืองของตนข้างอังกฤษก็จัดตั้งกองทหารประจำอยู่ณเมืองหมอกใหม่ แลแต่งทหารกองน้อยยกแยกลงไปตั้งณเมืองหน่ายด้วย ถึงกระนั้นในปลายมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๑ สอละปอยังกล้ายกกองทัพมาตีเมืองหมอกใหม่ที่ตั้งเจ้าฟ้าให้ครอบครองแล้วนั้นอิกได้ กองทัพกะเหรี่ยงก็อปราไชยแตกไปง่ายๆ เมื่อฉนั้นลุเตแนนต์เฟาเล่อก็สวนควันจับออกแต้มราวีบ้าง ยกไปตีพวกกะเหรี่ยงยางแดงที่ตั้งทำการอยู่ณตำบลกันตูอ่อน แตกพ่ายกระจัดกระจายไปโดยต้องเสียชีวิตมาก แลในที่สุดเนรเทศกะเหรี่ยงทั้งสิ้นออกไปพันด้าวแดนหมอกใหม่หมด ทหารอังกฤษต่อรบครั้งนั้นน้อยตัวมากเมื่อเทียบกับจำนวนพวกกะเหรี่ยงนั้น ยังสามารถผลาญกะเหรี่ยงเจ็บปวดแสนสาหัศได้ถึงปานนั้น จึ่งเปนข้อครั่นคร้ามแก่พวกกะเหรี่ยง นับเปนอันสุดความลำบากยากเปนในแคว้นแถบนั้นอิกต่อไป

ผลของการวุ่นวายเหล่านี้ ทำให้อังกฤษต้องรีบคิดตั้งเจ้าพนักงารพลเรือนจัดราชการในเมืองหน่ายเอาเอง ราวในเวลาเดียวกันนั้น หัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือก็เปนอันแยกจากข้างไต้ จัดเปนคนละแผนกขาดจากกันทีเดียว

อนึ่งต้องสำเหนียกว่า การขบถเหล่านี้ ล้วนเปนการรบกันเองในจำพวกไทยต่อไทยฤๅกะเหรี่ยงต่อไทย ใม่ใช่พวกไทยแลกะเหรี่ยงรบกะอังกฤษ อาจจะกล่าวได้ว่าหัวเมืองไทยใหญ่เท่านั้น รวมในด้าวแดนทั้งสิ้น นับเปนส่วนพม่าตอนบนที่ว่าง่ายปราบง่ายให้ยอมอ่อนน้อมรับอยู่ในอานุภาพอังกฤษโดยมิได้ตั้งต่อสู้รุนแรง (เหมือนในเมืองพม่าเองที่เล่นเอาอังกฤษกว่าจะฮุบได้ก็เหงื่อตกกีบ) ภายในเวลากว่าปีขึ้นไปใม่มาก จับเดีมแต่วันอังกฤษยกขึ้นมาตั้งครอบงำบ้านเมืองไทยใหญ่ บรรดาเจ้าครองเมืองทุกๆอาณาเขตร์ก็พากันมาอ่อนน้อมต่อสุเปอรินเตนเดนต์ด้วยองค์เอง แลยอมรับเปนเมืองขึ้นของรัฐบาลอังกฤษ สุดแท้แต่จะบังคับให้ทำประการใด ความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษ ก็มีแต่จะปราบให้สงบราบคาบ กับมิให้รบต่ออังกฤษฤๅรบกันเอง แลปล่อยให้เจ้าผู้ครองนครเมืองหนึ่งเมืองหนึ่งเปนประเทศราชทรงอิศระภาพในการที่จะจัดราชการในบ้านเมืองของตนนั้นๆ สุดแต่จะให้หันเข้าหาทางเปนรัฐบาลซิวิไลศ์ได้อย่างดีที่สุดเพียงใด ใม่ชั่วแต่ออกประกาศใต้งๆ แต่ทั้งว่าตั้งใจจริงฉนั้นด้วย การค้าขายก็เริ่มจะกลับคืนคงเกือบจะในทันทีเมื่อบ้านเมืองสงบจลาจลลง บ้านเมืองที่ร้างที่ฉิบหาย ก็กลับมีพลเมืองยกกลับมาตั้ง แลจัดการกลับปลูกสร้าง ฝูงประชาชนก็เริ่มจับทำการงารตามธรรมดาอย่างเคย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ใม่เคยเปนเช่นนี้มานมนานจำเดีมแต่เกีดการวุ่นวายมา นอกจากในหัวเมืองปลายเขตร์ปลายแดน แลถึงมีเหตุร้ายก็มีแต่เพียงคนร้ายปล้นสดมข่มเหงกันเอง ใม่ใช่เพราะพลเมืองเปนขบถจลาจลเหมือนแต่ปางก่อนมา เหตุทั้งนี้ก็เพราะพวกไทยใหญ่เองเหมือนเด็กยังใม่รู้จักผิดจักชอบทางได้เสียพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ไหว ฤๅใม่มีกำลังของตัวเองพอที่จะรักษาตัวเองบำราบกันไว้ให้อยู่มือได้ไหว จึ่งเรียบร้อยได้ด้วยพึ่งอำนาจผู้ใหญ่มาคอยขู่ให้สงบ อย่างเด็กๆต้องพึ่งผู้ใหญ่ปล่อยอยู่ตามลำพังลำลองแต่ตัว เอาความสุขแลความเจริญใม่ไหวเท่านั้น

ในรดูแล้ง พ.ศ. ๒๔๓๑ นั้น รัฐบาลอังกฤษวุ่นแต่เรื่องที่จะบำราบสอละปอเจ้าเมืองกะเหรี่ยงเบื้องตวันออก แต่พอพลของสอละปออปราชัยป่นปี้ไปจากตำบลกันตูอ่อนในแขวงเมืองหมอกใหม่แล้ว น่าที่จะออกรู้ศึกหนักใจอย่างไรขึ้นมาบ้าง สอละปอจึงเขียนศุภะอักษรมายังสุเปอรินเตนเดนต์หัวเมืองไทยใหญ่ พรรณาถึงความเดือดร้อนที่เมืองหมอกใหม่ข่มเหง ขู่ๆยอๆขอให้อังกฤษถอนทหารลงมาเสียจากนั่น อังกฤษใม่ว่ากระไรหมด คืนศุภะอักษรกลับไปเสียเฉยๆ ครั้นในสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ดูเหมือนสอละปอจะออกหวาดว่าอังกฤษจะไปราวีลงโทษตัวโทษที่ยกกองทัพมาตีเมืองหมอกใหม่ก่อน จึ่งได้ทำเรี่ยวแรงแก่กะเหรี่ยงที่กันตูอ่อน จึงมีศุภะอักษรมาถึงสุเปอรินเตนเดนต์หัวเมืองไทยใหญ่อิก ทั้งมีไปถึงข้าหลวงอังกฤษที่เมืองตนาวศรีด้วยก็อิกฉบับ ๑ ความต้องกัน ขอให้รัฐบาลอังกฤษเปนคนกลางตัดสิน ข้อวิวาทระหว่างกะเหรี่ยงแลเจ้าฟ้าเมืองหมอกใหม่ สอละปอเอื้อมจะเอาค่าทำขวัญถึง ๒,๔๐๐,๐๐๐ รูปีย์ ถ้อยคำที่ใช้ในศุภะอักษรนี้ก็ละล้วนเย่อหยิ่งขู่เข็ญ อังกฤษจึงส่งศุภะอักษรกลับคืนให้ทูตผู้ถือมาไปให้สอละปอเฉยๆอีกครั้งหนึ่ง ครั้นในต้นเดือนกันยายน สุเปอรินเตนเดนต์หัวเมืองไทยใหญ่ จึงเตรียมหนังสือคำขาดคิดจะส่งไปให้เจ้ากะเหรี่ยงเบื้องตวันออก ว่าถ้ายังขัดขีนใม่มาเคารพอ่อนน้อมสุเปอรินเตนเดนต์อันเปนผู้แทนรัฐบาลอังกฤษด้วยองค์เองแล้ว เปนต้องได้รับราชทัณฑ์อย่างเจ็บปวด คำเด็ดขาดนี้ต้องการจะขูให้สอละปอมาที่ป้อมสเตตแมนเองทั้งต้องส่งเงินค่าปรับ ๒ หลักรูปีใช้ค่าเสียหายที่กะเหรี่ยงได้ล้างผลาญเมืองหมอกใหม่ แลให้คุ้มค่าที่ต้องส่งทหารขึ้นไปช่วยเมืองนั้น ทั้งต้องยอมส่งปืนเล็กที่คงใช้ได้มาให้อังกฤษ ๕๐๐ กระบอก ทั้งยอมส่งสร่วยประจำปีๆละ ๕๐๐ รูปีย์ แต่ความคิดอันนี้ต้องกระตุกเสียด้วยความเห็นรัฐบาลอังกฤษบังคับมาว่า ให้สุเปอรินเตนเดนต์พยายามใช้อุบายให้สอละปอมาอ่อนน้อมโดยมิต้องปราบขบวนใช้คมอาวุธ คำเด็ดขาดจึงยังส่งไปใม่ได้จนกลางเดือนพฤษจิกายน ครั้นวันที่ ๑๙ ธันวาคม เมื่อเห็นสุดกำลังที่จะพยายามอย่างใดให้สอละปอมายอมอ่อนน้อมโดยสุภาพได้ทุกๆประการแล้ว ในที่สุดจึงตกลงจะต้องแต่งกองทัพยกขึ้นไปปราบตามที่ได้ตระเตรียมไว้พร้อมมือแล้ว

คือส่งกองทัพใหญ่อันเข้มแข็งให้เยเนอราล เอช คอลเลตต์เปนแม่ทัพยกไปจากป้อมสเตตแมนกอง ๑ แลกองทัพที่ ๒ ยกจากพม่าตอนล่างทางแคว้นแม่น้ำสัละวีนซึ่งติดต่อกับแดนกะเหรี่ยงข้างตวันออกทางไต้ ความประสงค์ของกองทัพนั้น ให้ไปปราบเอาชัยใครที่หาญแต่งให้มาต่อสู้ให้พ่ายแพ้แลตีเอาเมืองสอโล้น อันเปนเมืองหลวงของสอละปอให้ได้ แล้วเข้าตั้งมั่นอยู่ ความประสงค์ของกองทัพข้างไต้นั้น เพื่อจะให้ยกหนุนไปช่วยฝ่ายเหนือตีเปนทัพขนาบ ทั้งกันใม่ให้สอละปอหนีลงมาข้างไต้ได้ ทั้งรวังป้องกันแขวงเมืองตามแม่น้ำสัละวีนซึ่งหวาดว่าบางทีกะเหรี่ยงจะแต่งกองโจรลอบมาเที่ยวตีปล้นเผาบ้านเมืองนั้นๆให้ยับเยินเสียหายเสียโดยหาอันใดใม่กะการจำเปน ที่ต้องแต่งกองทัพข้างไต้ขึ้นไปช่วยเปนทัพขนาบนั้น ใม่ทันไรก็เห็นทันตา ด้วยเมื่อณวันที่ ๗ ธันวาคม สองวันก่อนกองทัพฝ่ายไต้ซึ่งโคโลเนลฮาว์เวเปนแม่ทัพจะยกมาถึงเมืองผาปูน (ปะปุน) นั้น สอละปอลงมือแผลงฤทธิ์โผงก่อนเทียว แต่งกองทัพรี้พลมากยกมาตีปล้นบ้านกยอกฮนะยัต อันตั้งอยู่หนอิสาณแห่งเมืองผาปูน (ปะปุน) แถบแม่น้ำสัละวีนที่มีกองโปลิศอังกฤษตั้งรักษาอยู่ด้วยซ้ำไป เมื่อปล้นแลเผาบ้านนั้นพินาศแล้วพวกกะเหรี่ยงก็ถอยไป ก่อนกองทัพอังกฤษซึ่งส่งไปปราบนั้นยกขึ้นไปถึง ณวันที่ ๒๖ ธันวาคม กองทัพโคโลเนลฮาว์เวก็ยกจากเมืองผาปูน (ปะปุน) ไปตีค่ายกะเหรี่ยงณตำบลปซองไต้เมืองบอละแก ได้โดยใม่สู้ยาก แล้วกองทัพอังกฤษก็ตั้งมั่นอยู่ณค่ายตำบลนั้นเพื่อจะระวังเขตร์แดนพม่าตอนล่าง นอกจากได้แต่งกองน้อยยกไปตีปล้นบ้านกะเหรี่ยงสองสามครั้ง โดยใม่มีข้อสำคัญพิเศษอย่างใด แขวงพม่าตอนล่างต่อนี้ก็ใม่เดือดร้อนอิกต่อไป

กองทัพฝ่ายเหนือซึ่งสุเปอรินเตนเดนต์หัวเมืองไทยใหญ่มาด้วยนั้น มีกองทัพกะเหรี่ยงยกมาตั้งรับแลต่อสู้แต่พอเยี่ยมเข้าไปในเขตร์กะเหรี่ยงเบื้องตวันออกณตำบลงะกเยียงใกล้เมืองลอยกอ ในที่ตำบลนี้เองเมื่อวันที่ ๑ มกราคม มีกองทัพกะเหรี่ยงราว ๕๐๐ คนยกมา ข้างอังกฤษก็ให้ลุเตแนนต์ติเฆคุมทหารม้าออกไปลุยพิฆาฎเอาชัย พวกกะเหรี่ยงตายระหว่าง ๑๕๐ แล ๒๐๐ พ่ายหนีไป ข้างอังกฤษตาย ๔ คน ต้องอาวุธบาดเจ็บ ๘ คน ต่อนี้ไปกองทัพที่ยกออกมาต่อสู้ก็ใม่กล้าประจัณบานจังหน้านอกจากลอบซุ่มตามป่ารก ครั้นทหารอังกฤษรุกไปก็แตกหนีหายตัวไปในป่าชัฏหมด กระนั้นกับตันเอน แมนเดอสยังต้องอาวุธเมื่อจวนถึงเมืองสอโล้นอยู่แล้ว เมื่อไปถึงเมืองหลวงก็กลายเปนเมืองร้างใม่เจอผู้คนสักหน้า กองทัพอังกฤษก็ยกเข้าตั้งมั่นณวันที่ ๘ มกราคม สอละปอหนีจากนครของตนไปเสียแล้วแต่ก่อนนั้น อังกฤษพยายามจะติดตามจับตัว ฤๅจะสื่อสาส์นเกลี้ยกล่อมให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาต่อไปอย่างเดีมก็ใม่สำเร็จแต่สักท่า กองทัพอังกฤษตั้งอยู่ ๓ วิก ลุวันที่ ๒๘ มกราคม จึ่งให้ประชุมกะเหรี่ยงหัวหน้าข้าราชการแลคนสำคัญๆในเมืองนั้นเลือกเจ้าเมืองกะเหรี่ยงหัวเมืองเบื้องตวันออกคนใหม่ พวกกะเหรี่ยงตกลงร่วมใจกันเลือก สอละวีภาคินัยแลรัชทายาทของสอละปอขึ้นเปนเจ้า สอละวีก็ยินยอมรับจะรักษาราชการหัวเมืองกะเหรี่ยงฝ่ายตวันออกเปนขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระราชินีเจ้ากรุงอังกฤษ แลเลีกขาดจากการเกี่ยวข้องต่อหัวเมืองต่างประเทศอื่นๆ นอกจากอังกฤษ แลจะส่งเงินค่าปรับ ๓ หลักรูปีย์ผ่อนส่งเปนสามงวด แลรับจะส่งปืนเล็กที่ใช้ได้ ๕๐๐ กระบอกไปก่อนสิ้นเดือนมินาคม ทั้งจะส่งสร่วยประจำปี ๆ ละ ๕๐๐๐ รูปีย์เสมอไป การส่งสร่วยแลส่งปืนนั้น มีเจ้าพนักงารผู้ใหญ่แลพ่อค้าไม้ซุงในกะเหรี่ยงเบื้องตวันออกโดยมากเคยได้ค้าขายตรงต่อเมืองมะระแหม่งนั้นเปนประกันอิกชั้นหนึ่ง

กองทัพอังกฤษซึ่งยกถอยกลับในวันที่ ๓๐ มกราคม ตั้งแต่นั้นมาสอละวีก็ซื่อสัตย์ ทำโดยจริงใจทุกอย่างตามวาจาที่ได้รับไว้กับรัฐบาลอังกฤษ แลรักษาราชการในเขตร์แดนกะเหรี่ยงฝ่ายตวันออกเรียบร้อยราบคาบดีทุกประการ ได้ไปประชุมสโมสร (เดอบาร์) เจ้าผู้ครองหัวเมืองไทยใหญ่ ซึ่งได้มีณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ฝ่ายสอละปอนั้นใม่ช้าก็วนมาอยู่ณตำบลแมนนอ อันเปนบ้านตั้งอยู่กลางย่านระหว่างเมืองสอโล้นแลแม่น้ำสัละวีน ใม่ได้คิดพยายามที่จะคืนมีอำนาจดังเดีม ฤๅเข้ามาขัดขวางตอแยสอละวีอย่างใดเลย อยู่เรื่อยๆมาได้ ๑๘ เดือน ก็ป่วยเปนอหิวาตกะโรคสิ้นชีพ การที่พวกกะเหรี่ยงยางแดงยอมอย่างเต็มที่โดยเรียบร้อยดีผิดคาดเช่นนี้ เปนที่พอใจของอังกฤษหาที่จะเปรียบมิได้ ด้วยตั้งปีๆพวกกะเหรี่ยงยางแดงเอาแต่ก่อการร้ายกาจ เปนที่ตระหนกตื่นเต้นกันไปในหัวเมืองข้างเคียงใม่มีที่สุด ซ้ำแซกไปเที่ยวปล้นสดมไกลจนถึงจังหวัดเม้ยลัตก็มี ลงได้ปล้นแล้วก็ปล้นอย่างร้ายกาจแสนสาหัศ ใม่เอาแต่ทรัพย์สิ่งสิน ซ้ำจับเอาผู้หญิงแลเด็กไปเที่ยวขายเปนทาษให้หัวเมืองลาวฝ่ายสยามอิกด้วย เมื่อขามิสเตอฮิลเดอแบรนด์เดีนทัพกลับมา ได้หยุดตัดสินปักปันเขตร์แดนระหว่างเมืองใผ่แลเมืองน้ำแม่โกน ให้เปนการสำเร็จเด็ดขาดตัดข้อวิวาทถุ้มเถียงกันต่อไปเปนอันยุติ มีข้อสำคัญของเจ้าพนักงารอังกฤษที่ได้กระทำอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ นั้น เจ้าฟ้าเมืองปั่นกลับได้คืนหัวเมืองขึ้นทั้ง ๔ เมือง อันโจทหลุดขาดตอนไปชั่วคราว คือเมืองตวน เมืองหาง เมืองจวด แลเมืองทา ซึ่งฝ่ายรัฐบาลสยามเอื้อมจะเอาว่าเปนเมืองขึ้นของเชียงใหม่นั้นกลับมาครอบครองดังเดีม โดยหวังจะผ่อนผันหันหาประนีประนอมต่อกันฉันท์สัมพันธไมตรีในระหว่างรัฐบาลประเทศสยามแลอังกฤษ เชีงแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ถ้อยทีได้รับประโยชน์โดยสมควรให้เปนที่พอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ในข้างเหนือ อันเปนสนามสัตถันดรกลียุค คลั่งรบพุ่งกันติดต่อมาตั้ง ๓๐ ศกนั้น ย่อมเปนการยากที่จะพึงหมายให้เรียบร้อยฉุบฉับลงในอึดใจมิให้มีข้อวุ่นวายเลยได้ไหว เกีดกำเริบฮือขึ้นเล็กน้อยในแสนหวีข้างไต้ แต่แม้กระนั้นอังกฤษก็ปราบให้สงบได้ในทันที แลชั่วแต่ต้องลำบากลำบนบ้างสักหน่อย ลุเตแนนต์ดาลีก็เกลี้ยกล่อมชักนำให้เมียวซา (เจ้าฟ้าอ่อน) เมืองน้ำคำยินยอมอยู่ไต้อำนาจ เจ้าฟ้าแสนหวีข้างเหนือสำเร็จได้โดยชื่นตา ด้วยเมื่อครั้งมณฑลแสนหวีเกิดรบพุ่งกันเองป่วนไปนั้น เมืองน้ำคำแลเมืองผังคำฤๅแสรล้านกลับกลายเปนเมืองประเทศราชแท้ไปเหมือนเมืองหนองแลเมืองเกษีแมนสัม การที่จะกดให้เมืองลเลีงเคยตัวด้วยผ่าออกไปเปนอิศระแล้ว กลับยอมมาเปนเมืองขึ้นใหม่อิกนั้น ก็เปนธรรมดาต้องต่อสู้คัดง้างโต้เถียงจนสุดกำลังอยู่พักหนึ่งเท่านั้นเอง อนึ่งในศกนี้ขุนสูงหน่อฟ้า นอกตำแหน่งก็เชื่อแนะนำเล้าโลมยอมย้ายจากเมืองลีมาอยู่ร่วมราชสำนักกะโอรสในเมืองไย เมื่อเช่นนี้สาเหตุที่อาจเกีดข้อใม่พอใจกันก่อวิวาทบาดหมางได้ก็เปนอันพ้นทุกข์พ้นร้อนไปที แต่เจ้าฟ้าชราภาพองค์นั้นก็ชีพตักษัยภายในปีนั้นนั่นเอง

อนึ่งเกีดการใม่สู้ดีขึ้นมากๆ ในเมืองชุมสายแลเมืองหลวงซึ่งยกไปเปนเมืองขึ้นต่อเจ้าฟ้าสีปอใหม่นั้น ด้วยผู้ที่เจ้าฟ้าสีปอตั้งให้มาว่าราชการรักษาเมืองนั้นเปนคนหาสู้จะสมควรแก่น่าที่ใม่ ข้อนี้ด้วย ฃ้อภูมิประเทศเมืองนั้นติดกะท้องทุ่งด้วย ส่อให้กลายเปนรังอาไศรยของพวกโจรผู้ร้ายคนพาลต่างๆ เปนบ่อเกีดความเดือดร้อน จึ่งพลเมืองทั้งสองเมือง นับวันมีแต่จะลดน้อยถอยลงหาอยู่สุขเหมือนบ้านอื่นเมืองอื่นโดยมากนั้นๆ ใม่ เมืองทองเพ็ง เมืองลอยหลวง แลเมืองมีตเล่า ก็บริบูรณไปด้วยเครื่องส่อจลาจลด้วยเจ้าสอยันนายที่ตั้งตัวเปนเจ้าจะกู้ชาติพม่าชเงื้อมเข้ามาตั้งอยู่ใกล้เขตร์แดนมิหนำ ยังซ้ำโบชัยะคำแล่งแลหัวหน้ามหาโจรอื่นๆ ก็มารายรกะอยู่เกลื่อนไป ทั้งในเมืองมีตก็มีแต่ข้อวิวาทรบพุ่งกันหยุกหยิกอยู่ใม่วาย แต่แม้กระนั้น เมื่อกล่าวรวบยอดก็ยังต้องว่าความเจรีญในหัวเมืองไทยใหญ่ นับวันก็มีแต่รุ่งเรืองทวีขึ้น แลความวางใจของเจ้าฟ้าผู้ครองเมืองหัวเมืองนั้นๆในรัฐบาลอังกฤษนับวันก็ยิ่งมีแต่แน่นแฟ้นแข็งแรงขึ้นทุกที

ในปีต่อไปแสนหวีข้างไต้ใม่มีการสดุ้งสเทือนเลย แต่ในธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ หัวเมืองข้างเหนือกลายเปนแหล่งผงกหัวขึ้นอิกแล้ว ก่อเหตุด้วยน้องเขย เจ้าฟ้าขุนญี่อนุเปนบุตร์แสงไห ที่เจ้าฟ้าพี่เมียตั้งพระไทยจะทรงชุบเลี้ยงให้เปนถึงรัชทายาทแท้ๆ นั้นเกีดกระเห่อใม่ทันใจขึ้น แต่ขุนญี่ต้องเสียพระชีพเสียก่อนการเรื่องนั้นถึงเปนข้อร้ายแรง แต่ต่อนั้นมาเมื่อปลายปี ก็เกีดวุ่นวายขึ้นอิกจนได้ ด้วยพวกท้าวเมืองอมาตย์ของเจ้าฟ้านั้นวิวาทกันขึ้นกับพวกกะจินข้างเหนือเมืองแสนหวีนั้นอีก แต่การเรื่องนี้ก็ไกล่เกลี่ยให้สงบลงได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่พวกกะจินใม่พอใจ แลสาเหตุนี้และเริ่มจะเปนต้นเหตุความบาดหมางต่อกันซึ่งกลายเปนผลร้ายในต่อไปข้างหน้าอิก ๓ ศก หัวเมืองข้างเหนือนอกนี้ก็ใม่วุ่นวายอันใด แต่อาการเมืองหลวง ที่เปนรังอาไศรยของผู้ร้ายนั้นก็ยังเปนที่ใม่พอใจมากๆ แลเมืองซุมสายก็ยังคงร่วงโรย พลเมืองมีแต่ลดน้อยถอยลงทุกๆที ความจำเรีญเปนอันมากเกีดขึ้นเห็นได้ทันตาในการสร้างถนนทางเกวียนจากกรุงมัณฑเล ถึงเมืองเนเมียว แลเมืองสีปอ แลจากเมืองเมียกติลาไปทางที่ว่าการหัวเมืองไทยใหญ่ข้างไต้ แลทางหลวงทั้งสองสายนี้พวกโคต่างแลเกวียนเริ่มจะจับใช้กันมากขึ้นมากขึ้นทุกๆ ที

ในหัวเมืองข้างไต้ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ นั้น เหตุสำคัญที่สุดก็คืองารที่ข้าหลวงฝ่ายสยามแลอังกฤษได้ร่วมใจกันทำ ทั้งการที่หัวเมืองใหญ่ในตรานสัละวีนอื่น (คือสัละวีนฟากบูรพ์) คือเชียงตุงมายอมอ่อนน้อมโดยดี ด้วยข้างอังกฤษตั้งพิธีเกลี้ยกล่อมเกี้ยวมาตั้งแต่แรก จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๓๓ ตั้งแต่มีหนังสือถึงไปเถิดใม่เปนผลอย่างไรเลย พึ่งจะได้ฤกษ์ถึงโชคลาภอังกฤษเข้าในศกนี้

ในเวลาเมื่ออังกฤษยกกองทัพไปปราบกะเหรี่ยงข้างตวันออกใน พ,ศ, ๒๔๓๑-๓๒ ซึ่งเปนผลถึงถอดสอละปอ แลอนุมัติให้ภาคินัยของสอละปอนามสอละวีเปนเจ้าเมืองกะเหรี่ยงต่อไปนั้นอังกฤษว่า ทหารสยามแลคนที่เกณฑ์มาจากแคว้นเหล่านั้นเองยกมาตั้งครอบงำอยู่ในดินแดนข้างตวันออกแม่น้ำสัละวีน ซึ่งข้างอังกฤษว่าพวกกะเหรี่ยงข้างตวันออกได้เคยมาตั้งอยู่แต่หลายปีดีดักมาแล้วนั้นไว้เสียเปนอันมาก เขตร์แดนเหล่านี้รัฐบาลสยามเอื้อมว่าเปนส่วนอาณาเขตร์ของเชียงใหม่ นอกจากที่เขตร์แดนเหล่านี้รัฐบาลสยามยังเอื้อมจะเอาดินแดนตรานสัละวีน (สัละวีนฟากตวันออก) แคว้นเมืองเมี้ยว แลเมืองแม่สะกุนซึ่งข้างอังกฤษถือว่าเปนเขตร์แดนของเมืองหมอกใหม่นั้นเพิ่มอิก ทั้งยังคงเอื้อมจะเอาหัวเมืองน้อยๆ ทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวแล้ว คือเมืองตวน เมืองหาง เมืองจวต แลเมืองทา ซึ่งอังกฤษได้อำนวยให้แก่เจ้าฟ้าเมืองปั่นไปแล้วแต่ในธันวาคม พ,ศ, ๒๔๓๑ เพื่อความประสงค์ที่จะให้ทราบความเรื่องเขตร์แดนที่รัฐบาลสยามเอื้อมว่าเปนของฝ่ายสยาม แลข้อที่สอละวีร้องทุกข์กล่าวโทษต่างๆ ในเรื่องที่หาว่าอำนาจฝ่ายสยามทำรุกรานเช่นนั้นๆ ในดินแดนที่ราษฎรกะเหรี่ยงได้เคยตั้งอยู่พ้นแม่น้ำสัละวีนข้ามไปได้ถ่องแท้ โดยทางใต่สวนเอาความเท็จจริงนั้น รัฐบาลอินเดียจึงตั้งข้าหลวงผู้หนึ่งให้ไปเยี่ยมเขตร์แดนที่โต้เถียงกันอยู่นี้ ในรดูแล้ง พ.ศ. ๒๔๓๒ แลให้ตรวจตราทำแผนที่แลรายงารตามปัณหาข้อที่แก่งแย่งกันให้ชัดเจนมาเสนอ เดีมนั้นตั้งใจว่าในข้อที่เถียงกันนั้นสมควรที่ข้าหลวงทั้งสองราชอาณาจักร์ คือข้าหลวงที่รัฐบาลอังกฤษในอินเดีย แลรัฐบาลสยามต่างตั้งมาจะร่วมงารพร้อมกันไปพิจารณาใต่สวนด้วยกัน แต่อังกฤษว่ามาตระว่ารัฐบาลสยามได้ตั้งข้าหลวงมาแล้ว ในเวลาท้ายจะถึงคราวใต่สวนเข้าจริง อย่างไรรัฐบาลสยามใม่ยอมที่จะร่วมในทางที่มาพร้อมกันใต่สวนด้วยกัน เหตุฉนั้นรัฐบาลอังกฤษจึงได้ไปใต่สวนฝ่ายเดียว (เมื่อฟังเพียงเท่านี้บางทีก็จะชักเข้าใจว่ารัฐบาลสยามมิตกรุมตกรามสุ่มเอาเขตร์แดนที่มิใช่เขตร์แดนของเชียงใหม่ฝ่ายสยามจริงฤๅ จึ่งใม่ยอมมาใต่สวนพร้อมกันกับข้าหลวงอังกฤษ เพราะกลัวความจะแดงเข้าแก้ตัวใม่หลุด เหตุฉนี้จึ่งต้องกล่าวต่อไว้อิกหน่อย เหตุที่รัฐบาลสยามตั้งข้าหลวงมาแล้ว แต่ห้ามเสียมิให้ไปใต่สวนร่วมกับข้าหลวงอังกฤษนั้น เพราะกลัวจริง แต่หาใช่กลัวจะแดงขึ้นว่าเขตร์แดนเหล่านั้นหาใช่ของเชียงใหม่หลงตู่เอาเปล่าๆใม่ แต่เพราะได้คิดกลัวจะบาดหมางทางพระราชไมตรีต่อกันรำคาญใจเปล่าๆโดยมิพอที่ ด้วยที่ดินแดนเหล่านั้นแม้เปนของเชียงใหม่จริงก็ใม่มีคุณมีค่ากระไรนัก เมื่อได้ประกันกะข้าหลวงอังกฤษรู้ฤทธิ์รู้เดชพอเข้าใจเชีงแล้ว ทั้งฟังข้อกล่าวโทษว่าข้างสยามทำล่วงเกีนท่านั้นท่านี้สำมาร่ำไป ซึ่งใครจะรู้ดีกว่าตัวรู้ตัวเองว่าได้ทำจริงฤๅใม่นั้นๆ ใม่ได้ ฉนั้นแล้ว มาหวนนึกถึงกำลังรัฐบาลอังกฤษกับสยามเทียบกันขึ้นชั่งกับดินแดนที่ด้าวปลายเขตร์แดนอันใม่สู้มีคุณมีค่ากระไรนักเหล่านี้โดยฉลาดเข้าเมื่อไร เมื่อนั้นรัฐบาลสยามย่อมสิ้นอยากที่จะให้ข้าหลวงฝ่ายสยามไป พร้อมกันใต่สวนในด้าวแดนไกลสุดหล้าฟ้าเขียวกับข้าหลวงอังกฤษประๆกันฉนั้น มิสเตอเนอีเลียสเปนข้าหลวงซึ่งรัฐบาลอังกฤษอินเดียตั้งมาก็ไปตรวจแต่ข้างเดียว) แลไปที่เขตร์แดนตรานสัละวีน ซึ่งรัฐบาลสยามแลเจ้ากะเหรี่ยงฝ่ายตวันออกต่างเอื้อมว่าเปนของตนไปถึงเขตร์แขวงเมืองเมี้ยว แลเมืองแม่สกุน แลเมืองตวนเมืองหางเมืองจวตเมืองทาที่ว่าเปนเมืองขึ้นของเมืองปั่น ในเขตร์แดนที่อังกฤษว่าเปนของกะเหรี่ยงที่เถียงกันอยู่นั้น ข้าหลวงอังกฤษว่าได้ใต่สวนถึงสืบพยานคนในฐานที่แลได้ทำแผนที่บ้านเมืองอเลอเหล่านั้นทั่วหมดอย่างชัดเจน แต่ปล่อยให้ฝ่ายสยามตั้งครอบครองไว้ตามอำเภอ ในเมืองเมี้ยวแลเมืองแม่สะกุนนั้นเล่าก็ยังมีทหารสยามตั้งครอบครองอยู่ แต่มิสเตอร์เนอีเลียสข้าหลวงอังกฤษมอบให้เจ้าฟ้าเมืองหมอกใหม่รับไปว่ากล่าวปกครองทั้งสองเมือง อนึ่งเมืองตวนนั้นข้าหลวงอังกฤษก็พบทหารไทยตั้งครอบครองอยู่ จึ่งขอให้ยกถอนกลับไปเสีย มิสเตอเนอีเลียสมอบการจัดราชการเมืองตวน เมืองหาง เมืองจวด แลเมืองทา ทั้ง ๔ หัวเมืองนั้นให้แก่ขุนโพนอันเปนภาคินัยของเจ้าฟ้าเมืองปั่นบงการปกครอง แต่มาเกีดขลุกขลักเปนความยากขึ้นแก่ข้าหลวงอังกฤษในเรื่องที่จัดการเช่นนี้ ขุนโพนจึ่งคงได้บงการราชการแต่จำเภาะเมืองตวนเมืองเดียว อิก ๓ เมืองนั้นมอบให้ลุงของขุนโพนคือเจ้าฟ้าเมืองปั่นปกครองตรงทีเดียว การที่ขุนโพนเปนใข้ทรพิษม์สิ้นชีพลงในต่อนั้นไปใม่ช้านั้น ทำให้เปนอันจบข้อวิวาทบาดหมางในระหว่างลุงกะภาคินัยในเรื่องเมืองเหล่านี้ได้สนิท เราจะเรียกมิสเตอเนอีเลียสว่าฃ้าหลวงผู้มาไต่สวน แล้วทำรายงารไปเสนอต่อรัฐบาลอินเดียตามคำที่รัฐบาลอังกฤษในอินเดียสั่ง ฤๅจะเรียกว่าเปนทูตสวรรค์ผู้สำเร็จราชการวินิจฉัยชี้ขาดในการปักปันเขตร์แดน มอบหมายเมืองใม่เฉภาะแต่ในระหว่างเจ้าฟ้าไทยใหญ่อันเปนข้าของอังกฤษเองด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่ซ้ำระหว่างไทยสยามกับอังกฤษอิกด้วยตามอำเภอใจ อย่างไหนถูกเล่า ในที่สุดเมื่อรัฐบาลสยามกับอังกฤษได้ปฤกษาหารือกัน ก็เปนอันตกลงกันได้ โดยดวงภักตร์ลักษณายิ้มแย้มต่อกันแต่ในน้ำใจจะนึกอย่างไรเราจะแลเห็นได้ฤๅ แม้ฝ่ายสยามจะใม่ได้คืนหัวเมืองเหล่านั้นก็ยังได้แถมฤๅได้แลกเมืองเชียงแข็งมาเกีนปลงใจเสียอีก

ในชั้นแรกอังกฤษตั้งใจว่าข้าหลวงไทยแลอังกฤษควรจะพร้อมกันไปที่เมืองเชียงตุง แต่ภายหลังอังกฤษกลับหวลเห็นตรงกันข้าม เพราะฉนั้นสุเปอรินเตนเดนต์หัวเมืองไทยใหญ่ซึ่งแต่งให้กับตัน เอฟ.เช.ปัง ไปกับทหารแขกสิป่อย ๒๐ คนยกแยกจากกองข้าหลวงไปเยี่ยมเมืองเชียงตุง ไปถึงในมินาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ การเจรจาความเมืองออกอยู่ข้างจะกระท่ำกระเทือนอยู่มากๆ เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงเปนใจให้ฆ่าคนดูแลสัตว์พาหนะของเจ้าพนักงารอังกฤษ แลทำร้ายอิกคนหนึ่งบาดเจ็บ แต่พอพวกข้าหลวงยกไปถึง แต่เจ้าฟ้ายอมขอษมาทั้งทำขวัญให้เปนที่พอใจ แก่ข้างอังกฤษ จึ่งกลมกลืนเอาเปนแล้วกันไปที เปนอันยอมรับความอ่อนน้อมเมืองเชียงตุงเปนเมืองออกต่ออังกฤษ รัฐบาลอินเดียตกลงให้เมืองเชียงตุงดำรงศักดิ์เปนเมืองราชไมตรีกับรัฐบาลอังกฤษอย่างย่อมแต้มรองลงไปหน่อย สงวนเอกราชของเชียงตุงในข้อที่จะจัดราชการภายในบ้านเมืองได้โดยลำพังเจ้าฟ้าเมืองนั้นเอง แต่เจ้าฟ้าสัญญาว่าจะใม่คบค้าสมาเพลาฤๅใช้ราโชบายเกี่ยวดองกะชาติต่างประเทศอย่างใด นอกจากทำตามคำแนะนำของสุเปอรินเตนเดนต์ หัวเมืองไทยใหญ่ อนึ่งอังกฤษอนุญาตสะนัดให้แก่เจ้าฟ้าเปนเครื่องหมายรัฐบาลอังกฤษนับถือ ฉันท์เปนเจ้าเปนใหญ่ของบ้านเมืองประเทศเอกราชอันหนึ่ง ตามข้อสัญญาที่ตกลงกันอย่างกล่าวแล้ว เมืองเชียงตุงเปนหัวเมืองมีอานุภาพมากในหัวเมืองแถบตรานสัละวีน แลมีอาณาเขตร์กว้างใหญ่เกือบจะสองเท่าดินแดนหัวเมืองเวลของอังกฤษเองในเกาะอังกฤษ ทั้งเหนือแลใต้เพราะฉนั้นการที่เชียงตุงยอมอ่อนน้อมอย่างสนิทฉนี้ ออกจะเปนข้อสำคัญเครื่องอุประถัมภ์ความสงบในหัวเมืองไทยใหญ่อยู่มากๆ

ในมินาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ คอมมิชะเนอใหญ่เซอชาลส์ครอสถเวตได้ขึ้นมาเยี่ยมหัวเมืองไทยใหญ่เปนครั้งแรก แลได้มีการซุมนุม (เดอบาร์) เจ้าผู้ครองเมืองไทยใหญ่ณป้อมสเตตแมน บรรดาเจ้าผู้ครองเมืองในซิสสัละวีน (คือสัละวีนฟากตวันตก) ทั้งปวงพร้อมกับคนสำคัญๆในบ้านเมืองนั้นเปนบริวารเกือบจะได้มาประชุมพร้อมกันหมด เจ้าฟ้าเมืองหน่ายแลเมืองยางห้วยได้รับเครื่องราชอิศริยาภรณ์ให้เปนเกียรติยศเฉลีมยศจากไวศรอยแลคอเวอเนอเยเนอราลคอมมิชะเน่อใหญ่ได้กล่าวสุนทรพจน์ประกาศในท่ามกลางที่ประชุม ชี้แจงต่อเจ้าผู้ครองเมืองแลคนสำคัญๆ ทั้งปวงบรรดาที่มาสันนิบาตอยู่ณที่นั่น ให้เห็นคุณประโยชน์ ที่เกีดจากการโน้มเอากฎหมายแลความสงบเรียบร้อยเข้ามาประดิษฐานในบ้านเมืองของตนๆ อธิบายถึงน่าที่ แลความรับผิดชอบของผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ผู้ปกครองไพร่ฟ้าประชากร ทั้งน่าที่อาณาประชาชนจำเปนควรจะต้องเคารพต่อเจ้าอย่างไร แลสำแดงความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษในการที่จะเคารพนับถือหัวเมืองไทยใหญ่ให้ปรากฎ อนึ่งในปีนี้อังกฤษได้ออกประกาศลดหย่อนผ่อนกฎหมายที่เปนอย่างธรรมเนียมของหัวเมืองไทยใหญ่ในเรื่องการลงโทษานุโทษแก่คนที่กระทำผิดทางอาญาต่างๆ แลแก้ไขวิธีพิจารณาคดีอาญาต่างๆ บ้างด้วย แต่ฃ้อแก้ไขนี้เรียงย่อ ๆ สั้นๆ อย่างง่ายๆ ที่พอวิไสยที่จะชักเอาทางซิวิไลศ์ให้มาปลูกลงแลค่อยงอกงามไพบูลย์ทวีขึ้น แก่เจ้านายชั้นผู้ปกครองแลอาณาประชาราษฎรทั่วไปทีละเล็กละน้อยค่อยเจริญค่อยไป

ในระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๓ แล ๒๔๓๔ นั้น เวลาโดยมากเปลืองไปในเรื่องที่จะจัดการ สืบสวนจำนวนแลกิจการของพลเมือง วิธีแลอัตราเก็บภาษีอากรในบ้านเมืองๆนั้นๆ แลสุเปอรินเทนเดนต์ก็ได้เปนธุระในเรื่องการปันเขตร์แดนและโดยมาก เกีดวุ่นวายขึ้นบ้าง ด้วยพวกกะจินก่อเหตุขึ้นในแสนหวีข้างเหนือ ได้ลองพยายามที่จะให้พวกแมงโล้นข้างตวันตกอ่อนน้อมก็ใม่สำเร็จ ที่หัวเมืองข้างตวันตกแห่งแม่น้ำสัละวีนที่ใม่ยอมรับอานุภาพอังกฤษปกครอง แลก่อการยายีบีฑาในปลายเขตร์แดนระหว่างเมืองเชียงตุงแลสยามอยู่เนืองๆ จนถึงส่อให้เกีดเหตุผลาญชีวิตเจ้าพนักงารตรวจทำแผนที่ฝ่ายสยาม (คือนายถัดกรมแผนที่พี่ชายพระยามหาอมาตย์ (เสง) ขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๔ จนตราบเท่าถึงสิ้นศก ๑๒๓๔ เจ้าณหัวเมืองกะเหรี่ยงเบื้องตวันตกจึ่งได้มายอมอ่อนน้อมต่ออังกฤษ เมื่อก่อนนั้นขึ้นไปพวกกะเหรี่ยงวางตัวประหนึ่งเปนมนุษย์ชาติเอกราชใม่ขึ้นต่อใคร กะเหรี่ยงวิวาทกันเอง แลวิวาทกับหัวเมืองข้างเคียง สุเปอรินเตนเดนต์ก็ใม่มีอำนาจพออาจที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยวินิจฉัยข้อถุ้งเถียงกันนั้นได้ แม้บัดนี้รัฐบาลอังกฤษก็อนุญาตสะนัดให้ส่งสร่วยเล็กๆน้อยๆพอเปนเครื่องหมายให้รู้ศึกการอยู่ในอานุภาพอังกฤษ บัดนี้จับเขยิบแต่งเจ้าพนักงารอังกฤษเข้าไปตั้งอยู่ณเมืองลอยกอเพื่อได้จัดการไต่สวนวินิจฉัยข้อวิวาทต่างๆแต่เก่าแก่มาให้สำเร็จเด็ดขาดเลีกแล้วแก่กันโดยฉันท์สมัคสมานทางมิตรภาพต่อกันสืบไป

ในปีต่อไป พ.ศ. ๒๔๓๕-๓๖ การปักปันเขตร์แดนระหว่างหัวเมืองไทยใหญ่ข้างไต้แลสยามก็เปนการสำเร็จเด็ดขาด เปนเครื่องมั่นคงแห่งหัวเมืองเหล่านี้ การปักปันนั้นจับตั้งแต่แม่น้ำสัละวีนไปถึงแม่น้ำโขงเรื่อยไป ตามทางที่เลือกชอบด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ข้าหลวงฝ่ายสยามทำงารอย่างดีสมัครักพร้อมร่วมใจกันกับมิสเตอฮิลเดอแบรนด์ แลมิสเตอเลเวสัน ต่อไปสุเปอรินเตนเดนต์ก็ไปเยี่ยมเมืองเชียงตุง แลปรองดองข้อขัดข้องในเมืองนั้นเปนหลายประการบรรดาที่ยังติดขัดอยู่ ข้อสำคัญก็เรื่องอากรตอไม้แลเงินสร่วยในหัวเมืองขึ้นต่างๆ เช่นเมืองสาต เมืองแสนยอด แลเมืองแสนเมือง จัดให้เปนกำหนดส่งไปกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ มิสเตอเลเวสันได้กลับให้สอละวีเจ้ากะเหรี่ยงข้างตวันออกได้ครอบครองดินแดนฟากสัละวีนเบื้องบูรพ์ที่เรียกดรานสัละวีนซึ่งได้คืนมาจากสยามที่อ้างว่าเปนของกะเหรี่ยงแต่ตกไปอยู่แก่สยามมาแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ นั้นไปตามเดีม

การมั่นคงที่ปักปันเขตร์แดนกันลงเปนหลักฐาน เปนเครื่องปีติแก่ชาวไทยใหญ่นั้น กลับมาสดุ้งสเทือนด้วยเกีดเรื่องเตียกตินเมียด ผู้ตั้งตนเปนคนมีบุญ มาโผล่ขึ้นเมื่อปลายปีในเขตร์แขวงเมืองปั่นก่อวุ่นวายอิก เจ้าปลอมนี้มาจากเชียงใหม่ โดยตั้งใจจะเกลี้ยกล่อมส้องสุมกำลังรี้พลตั้งเปนขบถต่ออำนาจอังกฤษ เจ้าฟ้าเมืองปั่นก็รีบจับตัวเตียกตินเมียดขังไว้เสียทันท่วงที ใม่ทันก่อการลุกลามไปได้ เมื่อชำระใต่สวนต่อไปคงได้ความว่า เปนคนเบาเต็ง เหตุที่กล้ายกตนว่าเปนเจ้าพม่าทรงยศมินทรานั้น เพราะพระสงฆ์ในเชียงใหม่อันเปนอาจาริย์แนะอุบายให้ การปราบขบถให้สงบลงทันควันฉนี้ดีมาก เมื่อเทียบกับการปล่อยหละหลวมไว้ให้ลเลีง เหมือนขบถมินลองในเมืองกะเหรี่ยงเมื่อปลายปีก่อนนี้ จึ่งถึงแก่กล้าหาญยกเข้ามาตีกองทหารอังกฤษที่ออกไปตั้งอยู่ณเมืองลอยกอ อันตรายมือย่างเดียวก็แต่ต้องเสียชีวิตแลทรัพย์บ้าง โดยใม่พอที่จะเปนเท่านั้น ที่จะก่อภยันตรายร้ายแรงถึงให้เปนที่สดุ้งสเทือนหวาดไหวต่อรัฐบาลอังกฤษนั้น ถึงเวลานี้เปนไปใม่ได้เสียหมดแล้ว ผลของการปักปันเขตร์แดนเด็ดขาดนั้น บัดนี้ทำให้เกีดโอกาศให้เจ้าผู้ครองเมืองไทยใหญ่ทั่วไปสำแดงความซื่อสัตย์สวามิภักดิ์ ต่อรัฐบาลอังกฤษ อ้างเปนเกียรติยศนิยมชมชื่นสรรเสรีญศักดานุภาพ แต่โดยจริงใจฤๅโดยเสแสร้งว่าก็ยังดีแก่อังกฤษทั้งสองประการ

ในหัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือยังมีการวุ่นวายอยู่มาก พวกกะจินก่อข้อเดือดร้อนในแสนหวีข้างเหนือมาแทบตลอดเวลา กำลังแลปรีชาจัดการปกครองบ้านเมืองฤๅปราบปรามเหล่าร้าย ที่พวกกะจินมีแต่นับวันยิ่งทวีอพยพกันมาตั้งอยู่มากๆขึ้นทุกทีนั้น ดูเปนการเหลือบ่ากว่าแรง เจ้าฟ้าไทยใหญ่จะบำราบให้อยู่มือได้แท้ๆ อนึ่งพวกกะจินถือใจโดยถูกบ้างว่า เจ้าฟ้าไทยใหญ่จะตั้งองค์ได้ก็เพราะพวกเขาช่วยเหลือ เมื่อเจ้าพนักงารผู้น้อยตามรั้วแขวงของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ไปกรรโชกกดขี่พวกกะจิน ก็ส่อให้เกีดความรู้สึกน้อยเนื้อตามใจคั่งแค้นขึ้นในจำพวกคนที่ร้ายกาจ จนถึงก่อให้เกีดการราวียกเข้ามาตีเอาเวียงแสนหวีได้ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ครั้นวันที่ ๑๕ มิสเตอดับลยู. เอ. เครแฮม เจ้าพนักงารคลังในเมืองลาเฉียวขึ้นไปแสนหวีพร้อมทหารโปลิศเปนกำลังรักษาตัว แลขับพวกกะจินขบถออกไปนอกเมือง พวกกะจินยอมโดยดีแลร้องฎีกากล่าวโทษเจ้าฟ้ายอมขอให้อังกฤษพิจารณาตัดสิน แต่แม้กระนั้นต่อไปการวุ่นวายที่โน่นที่นี่ก็ยังเกีดร่ำไปเรื่อยไป แต่พวกกะจินใม่ว่าที่ไหนโฆษนาว่า เปนขบถต่ออำนาจขุนแสงต้นโหง หาได้ขบถต่ออานุภาพรัฐบาลอังกฤษใม่ มีแต่ชั่วทางปลายแดนเบื้องทิศอาคเณย์ใกล้ตำบลน้ำคำเท่านั้น จึงพอกล่าวได้ว่าความประสงค์ที่มาตีคิดจะทำร้ายทหารอังกฤษตรงๆ แต่ที่นั่นการวุ่นวายลุกลามมากด้วยเกี่ยวลามถึงการขบถในเขตร์เมืองพะโมด้วย แลติดต่อกันมาจากพวกจลาจลในเมืองพม่าอันพ่ายยกออกไปตั้งอยู่พ้นออกไปทางเขตร์แดนจีน คนพวกนี้ตั้งอยู่ในบ้านทางเบื้องอิสาณะทิศแห่งเมืองแสรล้านออกไปใม่กี่ร้อยเส้น ซึ่งมีกองทหารอังกฤษไปตั้งอยู่พักหนึ่ง แลต่อนั้นมาก็มีแต่แขกสิป่อยตั้งอยู่บ้าง เพราะฉนั้นอังกฤษจึ่งยกมาตีบ้านหางได้ค่ายพวกขบถเปนหลายค่าย พวกกะจินก็แตกพ่ายออกไปสิ้น แต่เมื่อจะสงบรบลงพเอีนลุเตแนนต์วิลเลียม นายทหารอังกฤษที่ไปกับพวกแขกแลไทยใหญ่ต้องเสียชีวิต พวกทหารซิป่อยก็แตกกลับมายังเมืองแสรล้าน

เมื่อเกิดเหตุขึ้นเช่นนั้นกองทหารอังกฤษจึ่งรีบยกขึ้นไปจากเมืองพะโม แต่เมื่อได้เผาบ้านหางแล้วก็ใม่เจออะไร ด้วยพวกขบถถอยไปเสียในเขตร์แดนจีนไหนๆมิรู้แล้ว แต่แม้กระนั้นใม่ทันไรพวกกะจินขบถก็แล่นออกมาเผาเมืองโกวินาศเสียอีก พอรู้ว่ากองทัพอังกฤษรุกมาก็เปิดลิ่วเข้าเขตร์จีน

เวลาเกีดเหตุเหล่านี้วุ่นเหวอยู่นั้น สุเปอรินเตนเดนต์กำลังไปจัดปรองดองราชการอยู่ในเมืองโล้น แลไปถึงเมืองโล้นก่อนเกีดเหตุทางนี้ขึ้น เมื่อเวลาอังกฤษรวบเอาเมืองพม่าเข้าเปนอาณาจักร์อังกฤษนั้น เมืองโล้นแบ่งกันเปนสองอาณาเขตร์ คือฝ่ายตวันออกแลฝ่ายตวันตกแม่น้ำสัละวีน หัวเมืองข้างฝ่ายตวันตกนั้นเจ้ามหาเปนน้องยาต่างชนนีของเจ้าฟ้าหัวเมืองไทยใหญ่เบื้องตวันออกนั้นครอบครองอยู่ เจ้ามหาได้มีศุภอักษรสื่อสาส์นไปมากับลุเตแนนต์ดาลี แต่ใม่ยอมที่จะมาพบปะ แลศุภอักษรที่ส่งมาก็มิได้ยอมอยู่ไต้อานุภาพรัฐบาลอังกฤษ อาการเช่นนี้เปนอยู่ถึง ๖ ปี จำเดีมแต่เสียเมืองพม่าแล้ว แลจนหัวเมืองไทยใหญ่ต่างๆแถบซิสสัละวีนยอมอ่อนน้อมต่ออานุภาพสุเปอรินเตนเดนต์หมดแล้ว ก็ยังขืนตั้งขัดแข็งโดดเดี่ยวอยู่อีกเปน ๕ ปี เพราะฉนั้นใน พ.ศ. ๒๔๓๕ อังกฤษจึ่งให้ต้นแสงเจ้าเบื้องตวันออกว่าหัวเมืองทั้งสองฟากแม่น้ำสัละวีนแต่ผู้เดียว ในรดูฝน เจ้ามหาได้กำลังอุดหนุนจากเจ้าลว้าเมืองเล็กเมืองน้อยเปนหลายอเลอ จึ่งยกกลับมาตั้งตนในเมืองนาลาวข้างแม่น้ำฟากตวันตก แลข้ามไปเผาบ้านข้างเมืองโล้นฟากตวันออกเสียหลายหมู่ ด้วยสหายสำคัญชื่อเงกถึงแลลอยโล้นอุดหนุน ครั้นสุเปอรินเตนเดนต์ยกกองทัพรุกไป เจ้ามหาก็เปีดสูญไปอีก สุเปอรินเตนเดนต์ก็เดีนทัพผ่านไปในเมืองลว้าโดยมาก รวมเขตร์แดนลว้าป่าด้วย เพื่อจะให้มนุษย์ะชาติป่าเถื่อนเหล่านั้นตระหนักความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษ ประสงค์จะปราบให้ราบคาบ แลจะห้ามมิให้พวกเหล่านั้นช่วยเหลือเจ้ามหาอิกต่อไป ตั้งแต่นั้นมาเมืองโล้นเบื้องตวันตกก็สงบเรียบร้อยดี แต่ข้างตวันออกเสียอีกกลับยังมีวุ่นวายอยู่เปนหลายครั้ง ด้วยพวกเจ้ามหาตัวการแลพวกคนฉกาจเก่งสำคัญๆอื่นๆในเขตร์แดนจีนลอบยกเข้ามา

เมื่อสุเปอรินเตนเดนต์กลับมาแคว้นสัละวีนข้างตวันตก พวกกะจินก็ละล้วนวางอาวุธอย่างราบคาบ ด้วยสุเปอรินเตนเดนต์รับจะใต่สวนตัดสินความทุกข์ร้อนของพวกกะจินให้โดยยุติธรรม อาการร้ายที่สุดก็ที่พังตับใกล้อาณาเขตร์จีน ถึงมีคนลอบยิงสุเปอรินเตนเดนต์แต่ก็หาเปนอันตรายใม่ บ้านนั้นก็ถูกเผา แลคนที่เกี่ยวข้องในการตีบ้านหาง (ที่ถูกสงไสยว่ายิงนั่นเอง) ก็ถูกฆ่า ผลของการใต่สวนที่ฐานที่และที่ลาเฉียวนั้น ทำให้ตั้งเจ้าพนักงารผู้ช่วยทางราชการประจำอยู่ในแสนหวีข้างเหนือ เพื่อบรรเทาแลวินิจฉัยข้อวิวาทระหว่างเจ้าฟ้า แลราษฎรกะจินของเจ้าฟ้า หน้าที่พนักงารผู้นี้นั้น สำหรับให้เก็บสร่วยจากพวกกะจินแทนเจ้าฟ้า สำหรับตัดสินข้อวิวาทร้องทุกข์ แลสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเมืองที่พวกกะจินตั้งอยู่ ในเมืองใดใม่ว่าที่ไหนที่พวกกะจินแลพวกไทยอยู่ด้วยกันในจังหวัดเดียวกันแล้ว หมู่บ้านพวกกะจินเปนตั้งแยกอยู่ต่างหากใม่ปะปนกับเหล่าบ้านพวกไทย ต่างบ้านต่างมีเถ้าบ้านเปนหัวหน้าของตนเอง แลแม้แต่มนุษย์ชาติอื่นๆ ที่แปลกเข้าไปอยู่ในจังหวัดนั้น พวกกะจินก็แยกต่างหากใม่ปะปนกะใครทุกแห่งหน ผลที่จัดนี้เห็นความเรียบร้อยขึ้นทันตาเหมาะแก่เวลามาก แลตั้งแต่นั้นมาแม้การวุ่นวายจะเกีดขึ้นบ้างก็เปนแต่วิวาทกันเองในหมู่จังหวัดนั้น ๆ ฤๅจำพวกคนร้ายที่โผล่ออกมาจากแดนจีนเพราะเหตุที่ยังใม่ได้ปักปันเขตร์แดนต่อจีนให้เปนแน่นอนเท่านั้น

ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ มา ความสงบแลความรุ่งเรืองก็ทวีขึ้นในหัวมืองไทยใหญ่ แต่ข้อเดือดร้อนก็คงมีก็มีที่ปลายๆเขตร์แดน จำเดีมแต่แรกไทยใหญ่ตกอยู่ไต้อานุภาพอังกฤษโดยจริงใจ มีการวุ่นวายเกีดขึ้นน้อยราย สาเหตุที่เกีดก็มักเปนด้วยช่วงชิงราชสมบัติแก่กันบ้าง เปนด้วยชาวเขาเขีนที่พอใจกลียุคมาเสียจนเคยตัวก่อขึ้นบ้าง แลเปนด้วยคำยุยงของพวกพม่าจลาจลที่เจ็บแค้น คิดจะกำจัดอังกฤษแตกพ่ายจากเมืองพม่ามาเที่ยวหลบส้อนเพ่นพ่านอยู่แถบหัวเมืองเงี้ยวบ้าง กองทหารอังกฤษในหัวเมืองไทยใหญ่น้อยนักน้อยหนามาเสมอ จำนวนค่ายอังกฤษที่แยกยกออกไปตั้งณที่ต่างๆ แม้จนบัดนี้ก็ใส่คแนนด้วยนิ้วมือถ้วน แม้กะนั้นจำนวนเหตุการจลาจลใหญ่โตก็ยังน้อยกว่าในเมืองพม่าหลายสิบหลายร้อยเท่า ทั้งมีแต่จะลดน้อยถอยลงทุกที เว้นไว้แต่ที่ไหนที่พลเมืองหลงเชื่อฟังยุแยงพม่า การที่เปนเช่นนี้ก็น่าพิศวงมากๆ อยู่ ด้วยดินแดนอาณาเขตร์หัวเมืองไทยใหญ่กว้างขวางใหญ่โตทั้งจะไปมาถึงกันก็แสนลำบาก นับตั้งแต่อังกฤษยกขึ้นมาปกครองอยู่กว่า ๑๐ ปีแล้ว ก็ยังมีเขตร์แคว้นที่ยังใม่เคยมีเจ้าพนักงารอังกฤษใม่ว่าผู้ใดๆ ย่างท้าวเหยียบไปถึงอิกหลายตำบล

คงจะพอเพียงหมายเหตุ เหตุการสำคัญๆในปีหนึ่งๆ แต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ มา เมื่อเมืองหนึ่งๆจะได้ส่งสร่วยตามที่กะสำหรับกำหนด ๕ ปี ครั้งที่ ๒ จำนวนเงินสร่วยที่เรียกเอานั้นอังกฤษตั้งใจจะกะให้น้อย ด้วยประสงค์จะช่วยให้บ้านเมืองนั้นเจรีญแลพลเมืองกลับทวีมากขึ้น เพราะมูลประสงค์ฉนั้น จึงได้บังคับให้เจ้าฟ้าทุกนครส่งงบประมาณหยาบๆ ยื่นต่อสุเปอรินเตนเดนต์ สำแดงจำนวนเงินที่คเนว่าจะได้รับ แลจะได้จ่ายในปีหน้า

ในมกราคมแลกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๖ มิสเตอเลเวสันยกกองทัพไปเลียบเมืองแพร่ แลเมืองปะตองซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเขากะเหรี่ยง แขวงเมืองตองอูแลหัวเมืองกะเหรี่ยงเบื้องตวันตก การที่ต้องยกทัพไปครั้งนี้เพราะเกีดปล้นที่ตำบลโลกะถะแช อันเปนหมู่บ้านต่างอยู่ปลายแดนเขตร์เขากะเหรี่ยงทางทิศตวันออกเฉียงเหนือ ก่อนยกทัพไปครั้งนี้ได้ทราบกันน้อยนักถึงอาการบ้านเมือง ๆ แพร่แลเมืองปะดอง นอกจากได้ข่าวเล่าลือว่าคนแถบนั้นวุ่นวายกันอยู่ใม่ได้หยุด ครั้นไปถึงก็ได้ทราบชัดว่าคนที่นั่นเต็มไปด้วยพวกพาลผู้ร้ายยายี หมู่บ้านต่างๆ มีไทยใหญ่หรือกะเหรี่ยงเปนหัวหน้าปกครองว่ากล่าว แลหัวหน้าก็ว่ากล่าวอะไรกันใม่ได้ ทั้งเหลือกำลังที่จะปกครองไหว เพราะฉนั้นจึงเปนอันจำเปนต้องมอบหมู่บ้านเหล่านั้นให้เจ้าพนักงารพลเรือน ณเมืองลอยกอบังคับบรรชาเพื่อเปนประโยชน์มากแก่หมู่บ้านนั้นเอง แลเพื่อนบ้านข้างเคียงด้วย

กองทัพอิกกองหนึ่งมีมิสเตอสเตอลิงเปนใหญ่ ก็ยกไปเลียบตามเขตร์แคว้นเมืองเชียงตุง ในปีเดียวกันนั้น ทำให้รัฐบาลอังกฤษรู้จักมักคุ้นกันกะมนุษย์เปรียวเพสเถื่อนป่าที่อยู่ตามเขา นอกจากชาติไทยใหญ่ ทั้งวินิจฉัยปัณหาที่ถุ้งเถียงกันเรื่องเขตร์แดนแคว้นต่างๆ ให้เปนอันตกล่องปล่องชิ้นกันด้วย

ในหัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือนั้น งานสำคัญก็คือเรื่องที่มิสเตอร์ดับยลู. เอ เครแฮมบำราบพวกกะจินเมืองแสนหวี แลประดิษฐานความเรียบร้อยในบ้านเมืองเขาเขีน ในแดนที่จรดกันกับเมืองทองเพ็ง ลอยหลวง แลหัวเมืองในจังหวัดสีปอ กับแขวงบ่อทับทิม โดยตั้งกองทหารขึ้นไว้ใหม่ที่เมืองงอ ความใม่สมารถแลออกโกงๆของเจ้าพนักงารที่จัดราชการในปลายแดนเมืองชุมสายแลเมืองหลวงอันเปนเมืองขึ้นจังหวัดสีปอนั้น เปนอย่างสำคัญที่สุดในการให้ก่อยุ่งเหยิงในที่ตำบลเหล่านี้ องค์เจ้าฟ้าสีปอได้เสด็จไปเยี่ยมเมืองอังกฤษอยู่ตลอดปี เพื่อจะรักษาโรคพระเนตร์ซึ่งจวนจะแลใม่เห็น แลได้เฝ้าสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียก่อนเสด็จกลับ การนครนั้นพระราชบุตร์องค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าสีปอนามเจ้าแขได้เคยไปอยู่ณเมืองอังกฤษเรียนวิชาช่างกลนั้นจัดราชการ แต่มีมหาอมาตย์โจกจัดการภาษีอากร ทำให้การคลังใม่เรียบร้อยยุ่งเหยีงมาก จนรัฐบาลอังกฤษต้องปฤกษากับเจ้าฟ้าเมื่อจำต้องทรงเห็นชอบแล้ว ผู้แนะนำทางราชการก็ส่งให้ไปอยู่มณฑลสีปอ กับตัน อี. ยู. มาเรต เปนเจ้าพนักงารคนแรกไปรับตำแหน่งนี้ ได้ผลเปนที่พอใจแก่รัฐบาลอังกฤษมาก การรวบริบศัสตราวุธในบ้านเมืองที่ได้จับลงมือเริ่มมาแล้วนั้นบัดนี้ก็จัดทั่วไปทั่วเขตร์แคว้น ภาษีผู้กขาดต่างๆก็ให้เลีก แลจำนวนเจ้าพนักงารที่รับราชการในตำแหน่งแลน่าที่ใม่จำเปนนั้นๆก็ให้เลีกถอนลดลงมาก เมียวซาฤๅเจ้าฟ้าอ่อนเมืองหลวงแลเมืองชุมสายก็ได้ย้ายไปตำบลที่เดือดร้อนที่สุด ซึ่งอังกฤษเรียกว่ากิงล็อกแลกิงสตอกทั้งสองแขวงนั้น แต่นั้นมาก็ทวีความเจรีญแลมีพลเมืองมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีโจรผู้ร้ายปล้นสดมประทุษร้ายอยู่บ้างห่างๆ ในเหตุร้ายเหล่านั้นคือฆ่ามิสเตอแลมเบอตครูสอนศาสนาอเมริกันตายในเวิ้งสีปัอ แต่ไทยชาวมณฑลสีปอนอกนั้นโดยมาก มักนิยมประพฤติทางซิวิไลศ์กันมากกว่านิยมการร้ายกาจเกกมะเหรกดังแต่ก่อน

อนึ่งราวในเวลานี้เมืองเชียงตุงอันตั้งอยู่ข้างตรานสัละวีน (ฟากสัละวีนเบื้องบูรพ์) นั้น รัฐบาลอังกฤษกลับประกาศลดยศลงให้เปนเหมือนๆกันกับหัวเมืองไทยใหญ่ต่างๆในซิสสัละวีน (ฟากสัละวีนเบื้องปัจจิม) ซึ่งแต่ก่อนประกาศยกย่องให้เปนประเทศราชมีสัมพันธไมตรีต่ออังกฤษโดยอนุกรม แลซ้ำส่งกองทหารใม่มากนักยกไปตั้งณเมืองหลวงเมืองเชียงตุง ทั้งตั้งฝรั่งผู้ช่วยเจ้าพนักงารทางราชการไปอยู่แนะนำทางราชการด้วย ตามธรรมดารัฐโนบายปัญญาของอังกฤษ เมื่อใครตกเข้ามาในเงื้อมมือหะแรกยังคร้ามอยู่ก็พ่อเจ้าพ่อคุณจนกว่าจะคุ้นแลรู้ไส้ ก็ค่อยงัวกินหญ้าหมากินสลัดได รัดเข้ารัดเข้าทุกที สุดจะให้ค่อยเปนค่อยไปได้จนกว่าจะสังข์ศิลป์ชัยขมิ้นเหลืองอ่อนปฏิม่อลงหม้อแกงกันเท่านั้นเอง

เจ้าผู้ปกครอง แลคนสำคัญๆเปนอันมากในเมืองป้อนข้างไต้ แลแสนหวีข้างไต้ฝ่ายเหนือ เริ่มจะออกทำงารดีๆในการแต่งทางไปมาในหัวเมืองของตนๆให้สดวกแก่พลเมือง แลในคราวมหาสโมสร (เดอบาร์) ที่เซอเฟเดอริกแฟยาให้มีในพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ นั้น เจ้าผู้ครองเมืองต่าง ๆในแคว้นซิสสัละวีนตรานสัละวีนแลกะเหรี่ยงมาชุมนุมพร้อมกันเปนครั้งแรก การสมาคมนี้น่าสำเหนียกนัก ด้วยในน่าแล้งที่แล้วมา เมืองเชียงตุงอยู่ข้างเฟื่องมาก ด้วยมีข้าหลวงอังกฤษแลฝรั่งเศสไปประชุมพร้อมกันที่นั่น เพื่อจะปฤกษาปันเขตร์แดนเบื้องตวันออกต่อกัน เพราะฝรั่งเศสปันเขตร์แดนใหม่กับกรุงสยาม เมื่อรัฐบาลอังกฤษได้ปรองดองกับฝรั่งเศสเรียบร้อยแล้ว แขวงซิสแม่โขงแห่งเมืองเชียงแข็งที่อังกฤษยกให้แก่สยามๆยกให้ฝรั่งเศสๆกลับยกให้แก่อังกฤษนั้น อังกฤษก็มอบให้แก่เมืองเชียงตุง แลเมืองหลวงของเชียงตุงเลยจัดเปนที่ว่าราชการตั้งกองทหารแลเจ้าพนักงารของอังกฤษ มิสเตอร์ ซี. บี. สเตอลิง ผู้ซึ่งเปนพวกข้าหลวงฝ่ายอังกฤษนั้นได้รับตำแหน่งนี้คนแรก

ความสงบศึกสงบเขญแลความเจรีญได้รุ่งเรืองขึ้นเห็นทันตาจนเกีดข้อจำเปน ต้องการความช่วยเปลื้องสินค้าที่สืบสร้างขึ้นเหลือเฝือเหลือกำลังจะขนไปเผื่อแผ่ต่อผู้ต้องการใช้ในที่ไกลๆตำบลอื่นๆได้ แลการสร้างทางรถไฟกรุงมัณฑเลกุนโลนจึ่งได้เริ่มขึ้น การข้อนี้ต้องเปนเครื่องหมายข้ออนุกูลสำคัญแก่บ้านเมืองในพงศาวดารของชาติไทยใหญ่ เมื่อสาขาทางรถไฟยอนมาถึงท่ามกลางเมืองไทยใหญ่แล้วเมื่อใด ความเจรีญไพบูลย์จะทวีขึ้นจนแทบจะเหลือคาดเหลือเดาว่าจะเปนได้ แม้แต่ถนนที่ใม่ได้ถมสิลาซึ่งมีอยู่เพียงเท่านั้น ยังทำให้หัวเมืองไทยใหญ่ทางตวันออกอย่างใกล้เพียงเมืองหน่ายสามารถจะเผื่อแผ่เข้าลงมาเลี้ยงถึงเมืองพม่าได้ เปนครั้งแรกในพงศาวดารของไทยใหญ่ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ หัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือนั้น เปนด้วยเปนบ้านเมืองเปนเขาเขีนบ้าง เปนด้วยคนป่าเถื่อนอยู่มากบ้าง ทั้งเขตร์แดนซึ่งเปนเครื่องทำให้เบาใจยังใม่แน่นอนลงบ้าง แลเปนด้วยการจลาจลที่สงบอยู่ยังใม่เปนที่วางใจแท้บ้าง จึงยังเจริญสู้ตอนไต้ใม่ไหว ทั้งใน พ.ศ. ๒๔๓๙ แล ๒๔๔๐ ทั้งคู่ปี ก็เกิดมีการรบพุ่งกันขึ้นกับพวกลว้าเมืองเล็กๆน้อยๆ ทำให้เปนเครื่องตระหนกตกใจกันน้อยเปนมาก ว่าพวกลว้าเปนผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนทั้ง ๒ ครั้ง แต่ถึงอย่างไร การรบพุ่งกันตอนนี้ก็หาได้ทำให้ความสงบในหัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือกำเริบเหมือนแต่ก่อนใม่ รัฐโนบายที่จะทำแก่หัวเมืองลว้าอย่างไรแน่ต่อไปข้างหน้านั้น รัฐบาลอินเดียก็ยังใม่ตัดสินตกลงสั่งมาเด็ดขาด เมื่อฉนี้ เมื่อพวกลว้าใม่ได้ตกรุมตกรามเข้ามายายีถึงในเมืองโล้นตราบใด อังกฤษก็ทำเมีลๆเสียปล่อยให้พ่อแผลงฤทธิ์เดชตามอำเภอใจไปพลางๆก่อน (เพราะยังใม่ถึงฤกษ์ที่จะเชิญเสด็จพ่อลงม่อแกง) ก็ปะหงุบปะหงับบ้าง ขู่ฮึมๆบ้าง อลุ่มอล่วยกะพ่อบ้างไปพลาง

----------------------------

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ