ตอนที่ ๒ วิธีนับศุภมาศของไทย

ตามที่สืบปรากฎได้ครั้งดึกดำบรรพ์ที่สุด ไทยใม่ได้นับจำนวนศุภะมาศด้วยศักราชเหมือนทุกวันนี้ แตใช้นับตามกาละจักระมณฑล คือนับวนเปนรอบรอบ รอบน้อย ๑๒ ปี ห้ารอบน้อยเปนรอบใหญ่หนึ่ง ๖๐ ปี เหมือนกรุงจีน เหมือนประเทศอินเดีย แลแม้แต่ชาติชัลเดียนดึกดำบรรพ์โพ้นก็ใช้นับวิธีศุภะมาศอย่างเดียวกันสิ้น แต่พวกไทยใหญ่ในแดนอังกฤษแรกอังกฤษทราบนั้น ใช้นับปีตามศักราชพม่า (คือจุลศักราช) ทั้งในการพระศาสนา แลการบ้านเรือนเสียแล้ว แต่ไทยใหญ่พวกอื่นๆ ยังหาได้ใช้อย่างเช่นว่านี้ทั่วกันไปใม่

ไทยลาวยังคำนวนศุภมาศตามรอบกาละจักร์อยู่ก็มีบ้าง แต่มาถึงชั้นปัตยุบันก็มักใช้ศักราชตามกันหมด

ไทยสยามทุกวันนี้ คำนวนเวลา ตั้งแต่วินาฑี นาฑี โมง ยาม จนถึงวัน ปักษ์ เดือน แลปี ต่อนั้นไปก็นับปีเรียง ๑. ๒. ๓. ๔. ไปตามลำดับถึงร้อยถึงพัน ใม่วกลงเปนรอบอย่างบรรพบุรุษเคยใช้มาแต่เบื้องดึกดำบรรพ์ เรียกว่าศักราช คำว่าศักราชนี้ก็เปนสักแต่พระสมัญญาของพระราชาในประเทศอินเดียพระองค์หนึ่ง นามมหาสักกะเปนผู้ตั้งมหาศักราช จึ่งอนุมานว่าไทยสยามน่าจะเริ่มใช้มหาศักราชก่อน เมื่อเลิกนับขบวนกาละจักร์แล้ว มหาศักราชนี้น้อยกว่าพุทธ์ศักราช ๖๒๑ ปี ไทยสยามคงจะใช้แรกยกมาสู่เวิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาราวีแล้วลงท้ายก็สังสรรค์กับขอม จึ่งเลียนนามปีจากขอมมาใช้พร้อมกับมหาศักราช ซึ่งขอมได้มาจากประเทศอินเดีย ด้วยมีชาวอินเดียสัญจรได้มาอภิเษกด้วยสมเด็จพระนางขอมแลได้เปนเจ้าครองนครอินทปัตร์เขมร ๆ ว่ามหากษัตริย์องค์นั้นทรงนามสมเด็จพระประทุมสุริยะวงศ์มีบุญญาภินิหารอุบัติโดยอุปะปาติกะชาติ (เกีดก็โตมาทีเดียว) นั้น ภายหลังไทยสยามใช้จุลศักราช น่าจะเริ่มครั้งแผ่นดินพระมหาธรรมะราชาเมื่อไทยสยามอ่อนน้อมต่อพระเจ้าหงสาวดีราชาธิราชพม่า ฤๅมาพร้อมกับตำราโหราศาสตร์ เพราะโหราศาสตร์สยามมาจากพม่าแลใช้จุลศักราชเปนองค์มูละคำนวน แท้จริงในหลักสิลาจารึกก่อนตั้งกรุงทวาราวดียังใช้มหาศักราชอยู่ ด้วยจุลศักราชนั้น เป็นศักราชพม่า ลบจากกาลิมะสัมวัตตั้งขึ้นในแผ่นดินพระเจ้ากรุงภุกามทรงพระนามเสนคราชา อันผนวชเปนบรรพชิตปริวัตร์ออกมาก่อการขบถชิงราชสมบัติพม่าได้ อนึ่งการตั้งศกราชนี้ ครั้งโบราณถือกันเปนเกียรติยศยิ่งใหญ่ มหากษัตริย์องค์ใดเชื่อพระองค์ว่าทรงกฤษดิเดชาธิการ จึ่งประมูลกันตั้งศักราชใหม่ใม่หยุดหย่อน ใช่แต่เฉภาะในกรุงพม่า แม้ในกรุงสยาม พญาร่วง ครั้งกรุงศรีสัชนาลัย แลพระเจ้าปราสาททอง ครั้งกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ก็ยังลบแลตั้งศักราชใหม่ตามกัน แต่เมื่อพระเดชานุภาพแลพระคุณสมบัติ ใม่เปนที่นิยมของมหาชนจริงเท่ากะที่พระองค์ทรงพระคำนึงไปพักหนึ่ง ศักราชที่ตั้งใหม่นั้นก็ใช้ไปพักเดียว พอสุดพระเดชานุภาพลงก็กลับหวนไปใช้ศักราชที่พอใจแลถนัดของมหาชนไปตามเดีมๆ เหตุฉนี้ในกรุงจีนจึ่งใช้ศักราชใหม่เปลี่ยนประจำรัชกาลใหม่ทุกๆแผ่นดิน ทำนองเลขทับศกของไทยสยามในชั้นหลังๆ ซึ่งน่าจะเลียนมาจากจีนฉนั้น ด้วยจีนมีวิธีนับศุภะมาศสำหรับชาติ โดยลักษณะนับรอบจักระมณฑล อีกอย่างหนึ่งต่างหาก มาแต่เบื้องดึกดำบรรพ์อย่างชาติไทย แลไทยสยามคงใช้จุลศักราชมาจนรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อจะเปลี่ยนการคณะนาศุภะมาศตามจันทระคตินิยมมาเปนสุริยะคติกาลให้สมแก่สมัยเจริญของบ้านเมือง จึงเลยเปลี่ยนใช้รัตนโกสินทรศก (คือปีจำเดิมแต่สถาปนากรุงเทพอมรรัตนโกสินทร์) มาได้ ๒๔ ศก ก็เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราช (ตามนิยมในสยามประเทศ) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวปัตยุบันนี้ เพื่อให้สดวกแก่การจดหมายเหตุโบราณะคดีเบื้องอดีตกาลด้วย

แท้จริงแต่เบื้องดึกดำบรรพ์ จีน ไทย ขอม ญวน จนชาวอินเดีย ก็คณะนากาละนิยมโดยวิธีนับรอบๆ ด้วยกันทั้งนั้น วิธีนับรอบ ฤๅกาละจักร์นั้น มี ๒ อย่าง คือรอบน้อยฤๅจุลจักร์์ แลรอบใหญ่ฤๅมหาจักร์์ จุลจักร์์นั้นคือรวมรอบ ๑๒ ปีทวาทศจักร์ก็เรียก แลมหาจักร์์นั้นรวมจุลจักร์์ ๕ รอบ เปนรอบใหญ่ ๖๐ ปี มหาสัฏ์ฐีจักร์ก็เรียก มาตระว่าวิธีกาละคณนาอย่างนี้ ค่อยลาลงลาลงทุกๆที จนใม่มีใครค่อยใช้นับศุภะมาศ ถึงพวกไทยเองใม่มีใครค่อยทราบมาช้านานแล้ว ก็ยังใช้จดศุภะมาศในจดหมายเหตุพงศาวดารไทยใหญ่ครั้งดึกดำบรรพ์ไว้โดยมาก เมื่อมาเทียบกันเข้ากับวิธีนับศักราชอย่างพม่าซึ่งง่ายแลสดวกกว่ากันมากนั้น ก็ชักให้ยุ่งเหยิงเข้าใจวันศุภะมาศวิปลาตพลาดผิดกันไปได้มากๆ จึงทำให้พงศาวดารไทยใหญ่ ที่ฝรั่งเก็บรวบรวมมาไว้ได้ชักป่วนปั่นไปหมด

ไทยใหญ่ แลไทยสาขาอื่นๆทั้งหมด แลขอมฤๅเขมรญวน บรรดาเปนมนุษยะชาติในสุวรรณภูมิประเทศ (อินโดจีน) ชมภูทวีป (เอเซีย) นั้น คาดกันว่าคงจะได้เรียนไถ่แบบวิธีคำนวน กาละจักร์มาจากจีน ซึ่งเปนศาสดาใหญ่ผู้เริ่มตั้งต้น ใช้จุลทวาทสจักร์แลมหาสัฏ์ฐีจักร์ มาแต่ก่อนพุทธศักราชถึง ๒๑๕๔ ศก คือปีที่ ๖๑ แห่งรัชกาลพระเจ้าอึงเต้ราชาธิราชกรุงจีน เรียกกาอินฤๅลุชิฮวาเกียซูฤๅกับจี นักปราชญ์ฝรั่งเดาว่า “ดูเหมือนน่าจะได้ตั้งขึ้นตามอำเภอพระไทยพระมหาราชพระองค์นั้นทุกประการ จึ่งใม่เหลือคำอธิบายเหตุผลว่าเพราะหวังคุณประโยชน์อย่างใด พระเจ้าอึงเต้ แลนวาฤๅย่งเสงอรรคมหาโหรามาตย์ของพระองค์จึงได้ริกาละคณะนาอย่างนั้นตั้งขึ้น” แต่ฝรั่งเหนจะพุ่งใส่ความ จีนคงจะตั้งด้วยเหตุผลเหนสมควรแก่ประโยชน์ตามคำแนะนำของโหราจาริย์เปนแน่ หมอวิลเลียมคิดว่า “คงจะมิใช่ไถ่อย่างมาจากวฤหัศปตีจักร์ คือรอบพระพฤหัศบดีของพราหมณ์ในประเทศอินเดีย แต่รวมพราหมณ์แลจีนทั้งคู่คงจะใม่ได้คิดขึ้นใหม่เอง แต่ได้เรียนเค้ามาจากมนุษยะชาติชัลเดียนโบราณ อันใช้มาก่อนแต่เบื้องบูรมสมะกัล์ป” การที่เหมือนกันราวกะแบบเดียวกันฉนี้ ชักให้เหนว่าน่าจะมาจากครูเดียวกันมากกว่าต่างพวกต่างคิดขึ้นเอง ถ้าใม่ใช่เลียนกัน แต่เปนการลึกลับดึกดำบรรพ์มานักหนาเสียแล้ว ความจริงแท้เปนไฉนก็เหลือวิไสยที่จะวินิจฉัยเอาเปนแน่นอนได้ ข้างมิสเตอร์ปรินเสปเหนว่า “ในประเทศอินเดีย พึ่งเอาวิธีวฤหัศปตีจักร์มาใช้ในชั้นหลังๆราว พ.ศ. ๑๕๐๘ นี่เอง” ในแบบของจีนนั้นมีชีกันฤๅเทียนกัน (องคสังหรณ์) อยู่ ๑๐ แลมีชูแอชีฤๅตีชี (องคสาขาปี) อยู่ ๑๒ ซึ่งซ้ำกัน ๕ หน จึงเปนมหาจักร์ ๑ อนึ่งปีทั้ง ๑๒ นั้นมีชื่อสัตว์ต่างๆประจำสาขาทั้ง ๑๒ นักษัตร์ แต่องคสังหรณ์นั้นเปนแต่เครื่องสัมพันธ์ด้วยกันพอเปนตัวชี้สาขาปีทั้ง ๑๒ นักษัตร์นั้นได้ จึงใม่มีนาม มีแต่ตัวเลขที่ ๑, ๒, ๓, ๔ เปนต้น อย่างเอกศก โทศก ตรีศกของไทยสยาม องคสังหรณ์แลองค์สาขาปีทั้งสองอย่างนี้ ใช้คำนวนเปนวินาฑีแลนาฑีเปนโมงเปนวันแลเปนเดือน ตามจันทรคติก็ได้ สุดแต่จะชี้เข็มให้เปนไป แลเปนสิ่งสำคัญในทางพระศาสนา แลโหราศาสตร์ด้วยทุกประการ ในเขมร ในไทยลาว ในไทยใหญ่ ในญวน แลในไทยสยามนั้น องสาขาปีทั้ง ๑๒ ตามวิธีจุลจักร์นั้น ก็ล้วนมีชื่อสัตว์ประจำปีอย่างจีน แต่เซอยอชสกอตช์ว่าใม่เหมือนกันทุกนามปี คือปีกุนจีนว่าชิ่เปนหมี แต่ในจีนคำหลวงว่าห่อยแปลว่าหมูนั่นเอง ทั้งข้างเขมรเซอยอชสกอตช์ก็ว่าเหลื่อมเร็วกว่ากันไปศก ๑ แต่สอบเขมรในปัตยุบันนี้ใม่มีใครทราบว่าเคยมีเหลื่อมกันครั้งไหนด้วยในบัดนี้ตรงกันสิ้น ในนามสัตว์ ๑๒ นักษัตร์ข้างไทยสยามนั้น น่าจะเลียนนามสัตว์ประจำองค์สาขาปีมาจากเขมรอิกต่อ จึ่งใม่ใช่นามปีตามภาษาไทยเหมือนไทยใหญ่ กลับไปใช้ตามภาษาเขมร ฝ่ายไทยใหญ่เล่าเมื่อคำนวนกาละจักร์ะมณฑล ก็ไพล่ไปเลียนนามปีแลนามองคสังหรณ์อย่างไทยลาว หาใช้นามปีของตนเองใม่ แลไทยลาวน่าจะใถ่มาจากแบบจีนอันเปนครูเดีมอิกต่อ แต่คำจะเลื่อนมาอย่างไรจึงหาตรงกันแท้ใม่ เปนแต่มีเค้ารู้ได้ว่าเลียนจีน ต่อไปนี้เปนตรางเทียบนามองคสาขา ๑๒ นักษัตร์ ประจำปีทั้ง ๖ แผนก ดังนี้

ไทยสยาม ไทยใหญ่ ไทยลาว เขมร ญวน จีน
ปี เดือน วัน
ชวด หนู หนู หนู ไจ๊ หนู ชุด หนู ตี้ หนู จี๊ หนู เที่ยงคืนถึง ๘ ทุ่ม
ฉลู งัว วัวกวาย งัว เป้า งัว ฉลูว งัว สูย งัว ซ้า งัว ถึง ๑๐ ทุ่ม
ขาล เสือ เสือ เสือ ยี เสือ ขาล เสือ ยั่น เสือ ยั่น เสือ ถึงย่ำรุ่ง
เถาะ กะต่าย ปังต่าย กะต่าย เม้า กะต่าย ถส กะต่าย แหม่ว กะต่าย เมา กะต่าย ถึงเช้า ๒ โมง
มโรง งูใหญ่ โงก งูใหญ่ สี งูใหญ่ โรง งูใหญ่ เก่น งูใหญ่ ซั่น งูใหญ่ ถึงเช้า ๔ โมง
มเสง งูเล็ก งู งูเล็ก ไซ้ งูเล็ก มสาญ งูเล็ก ตี่ งูเล็ก จี้ งูเล็ก ถึงเที่ยงวัน
มเมีย ม้า ม้า ม้า ซง้า ม้า มมีย ม้า หง่อ ม้า วู ม้า ถึงบ่าย ๒ โมง
มเม แพะ เพะ แพะ เม็ด แพะ มะแม แพะ มุ่ย แพะ   แพะ ถึงบ่าย ๔ โมง
วอก ลิง ลิง ลิง สัน ลิง วก ลิง ข้าง ลิง ซัน ลิง ถึงย่ำค่ำ
รกา ไก่ ไก่ ไก่ เล้า ไก่ รกา ไก่ เหย่า ไก่ เหยา ไก่ ๑๐ ถึง ๒ ทุ่ม
จอ หมา หมา หมา เส็ด หมา จ็ หมา ติ๊ก หมา ซุดะ หมา ๑๑ ถึง ๔ ทุ่ม
กุน หมู สังหมู หมู ไก๊ หมู โก หมู เห่ย หมู ห่อย หมู ๑๒ ถึง เที่ยงคืน

มิสเตอคาเนียผู้อธิบายเรื่องกาละจักร์นี้ หาได้พรรณนาไว้ใม่ ว่า ๑๒ นักษัตร์นั้น เพราะเหตุใดจึงเฉภาะให้นามสัตว์นั้นๆ ใม่เอาช้างฤๅอูฐมาใช้ แลจะคำนวนอย่างไรจึงจะเข้ารูปกันกะมหาจักร์ ซึ่งมีนามต่างหากอิกถึง ๖๐ อย่าง แต่เซอชอนเบาริงได้กล่าวถึงกาละจักร์ของไทยสยาม ที่ใช้คณะนาศุภะมาศมาแต่เบื้องดึกดำบรรพ์ก่อนใช้มหาศักราช ซึ่งได้ทราบจากพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเธียรมหาราชอันเปนยอดโหราจาริย์ในสยามประเทศนั้นว่า มหาสัฎ์ฐีจักรีนั้น รวมจุลทวาทสจักร์ ๕ รอบ ดังตรางต่อไป ปฐมทสิกะวรรคนั้น เริ่มด้วยปีชวดแลสุดลงด้วยปีรกา ทุติยทสิกะวรรคนั้นเริ่มด้วยปีจอแลสุดลงด้วยปีมแม แลคำนวนวรรคละ ๑๐ ละ ๑๐ ศกลำดับกันไป ๖ วรรค ๕ รอบปีจวบคำรบมหาสัฎ์ฐิจักระมณฑล รอบ ๖๐ ปี องคสังหรณ์คือองค์ของวรรคทั้ง ๑๐ นั้น ไทยสยามเรียกเอกศก โทศก ต่อไปถึงสัมฤทธิศก องค์สาขาก็ชื่อสัตว์ประจำปีทั้ง ๑๒ นักษัตร์ เมื่อออกนามปีแลจำนวนศก ก็รู้ได้ว่าเปนปีที่เท่านั้นในมหาสัฎ์ฐีจักร์นั้นๆใม่มีนามประจำทั้ง ๖๐ ปีเหมือนพฤหัศบดีจักร์ที่ใช้ในประเทศอินเดีย เพราะเปนคนละครู แลใช้นามศุภะมาศว่าบัดนี้เปนปีที่เท่านั้นในมหาสัฎ์ฐีจักร์ที่เท่านั้น เช่นจะคณะนาคฤสตศักราช ๑๙๑๔ ก็ต้องเปนปีที่ ๕๔ แห่งมหาสัฎ์ฐีจักร์ที่ ๓๒ ตกเปนปีมเสงจัตวาศกเพราะถ้าเรียกปีมเสงจัตวาศกแล้วก็ต้องรู้ว่าเปนปีที่ ๕๔ ของมหาจักร์นั้นเปนปีอื่นไปใม่ได้ เพราะตกอยู่ในฉัตถมทสิกะวรรคเลขที่ ๔ แลใน ๖๐ ปีนั้นใม่มีปีใดซ้ำกัน แต่กลับซ้ำอย่างเดียวกันหมดในเมื่อพ้น ๖๐ ปีไปเปนมหาจักร์รอบใหม่แล้ว คงจะเป็นเพราะเหตุนี้ โบราณาจาริย์ซึ่งเอาเกณฑ์ ๖๐ ศกมาตั้งเปนกำหนดมหาจักร์ด้วยพอแก่ไขยอายุคน แลพอแก่การคณะนาในสามัญะกิจ แลแบ่งเจียกเกณฑ์นั้นลงมาจนส่วนน้อยเช่นนาฑี แลวินาฑี เมื่อใช้ศักราชแล้วการออกชื่อปีแลชื่อศกก็ใม่จำเปน ที่คงใช้ชื่อปีชื่อศก แลศักราชด้วยนั้น เปนเพราะติดตัวเคยมาแต่ใช้กาละจักร์โบราณ แต่ก็ยันกันมั่นคงดีอยู่จึงยังคงใช้ในราชการมาจนกาละทุกวันนี้ แต่ศกใช้ตามจุลศักราชจึงหาตรงกับตรางโบราณใม่

ตรางคำนวนปีจุทวาทศจักร์เป็นมหาสัฎฐีจักร์ของไทยสยาม

ปีชวด หนู เอกศก ปฐมวรรค ตรีศก ทุติยวรรค เบญจศก ตติยวรรค สัปตศก จตุตถวรรค นพศก เบญจมวรรค
ปีฉลู วัว โทศก จัตวาศก ฉศก อัฐศก สัมฤทธิศก
ปีขาล เสือ ตรีศก เบญจศก สัปตศก นพศก เอกศก ฉัตถมวรรค
ปีเถาะ กะต่าย จัตวาศก ฉศก อัฐศก สัมฤทธิศก โทศก
ปีมโรง งูใหญ่ เบญจศก สัปตศก นพศก เอกศก เบญจมวรรค ตรีศก
ปีมเสง งูเล็ก ฉศก อัฐศก สัมฤทธิศก โทศก จัตวาศก
ปีมเมีย ม้า สัปตศก นพศก เอกศก จตุตถวรรค ตรีศก เบญจศก
ปีมแม แพะ อัฐศก สัมฤทธิศก โทศก จัตวาศก ฉศก
ปีวอก ลิง นพศก เอกศก ตติยวรรค ตรีศก เบญจศก สัปตศก
ปีรกา ไก่ สัมฤทธิศก โทศก จัตวาศก ฉศก อัฐศก
ปีจอ หมา เอกศก ทุติยวรรค ตรีศก เบญจศก สัปตศก นพศก
ปีกุน หมู โทศก จัตวาศก ฉศก อัฐศก สัมฤทธิศก

ปีนี้เปนปีฉลูไทยสยามเป็นเบญจศก แต่ตามมหาจักระมณฑลเป็นสัมฤทธิศก พุทธศักราชเป็นปีที่ ๕๖ ฤๅสิธะระถิฤๅกัตมุต แห่งมหาจักร์ที่ ๔๑ มหาศักราชเปนปีที่ ๓๕ ฤๅพิลนคพะฤๅโปกมีดแห่งมหาจักร์ที่ ๓๑ จุลศักราชเปนปีที่ ๑๕ ฤๅโพหุธันยะฤๅโปกยีแห่งมหาจักร์ที่ ๒๒ รัตนโกสินทรศกเปนปีที่ ๑๒ ฤๅชุพะฤๅลับเกือแห่งมหาจักร์ที่ ๓ แลคฤสตศักราชเปนปีที่ ๕๓ ฤๅนละฤๅไฮสีแห่งมหาจักร์ที่ ๓๒ ปีข้างจีนในศกนี้นั้นเปนปีที่ ๕๐ ฤๅโปรมะรถิฤๅไกวเซ้า แห่งมหาจักร์ที่ ๗๗ ฤๅปีที่ ๔๖๑๐ จำเดีมตั้งแต่วิธีกาละจักระมณฑลมา ปีแลศกของไทยสยามตามที่ใช้จุลศักราชนั้นถ้าสอบกับตรางนี้ก็พลาดไป ๕ ศกเพราะปีฉลูเบญจศกใม่มี มีแต่ศกคู่ ปีนี้เปนปีฉลูสัมฤทธิศก เปนด้วยแก้ให้ลงกะปลายจุลศักราช

เมื่อมิสเตอร์เนอีเลียสเขียนพงศาวดารไทยใหญ่นั้น ได้ลงตรางกาลจักระมณฑลของไทยใหญ่ไว้ด้วย แต่ขาดที่จะบอกว่าได้มาเปนตรางอย่างนี้ทีเดียว ฤๅตรางอย่างนี้มาคิดขึ้นเองใหม่ (ซึ่งน่าจะเดาว่าเปนเช่นนั้น) กล่าวไว้แต่ว่า “ขอให้สำเหนียกเถิดว่านามสัตว์ที่ใช้เปนชื่อปีนั้น เกือบจะเปนชื่อของชานสยามทั้งมวญ หาใช่ชื่อปีของชานหลวงเองใม่” ใม่ได้บอกว่าได้ตรางที่มีนามอย่างนั้นมาแต่ไหน เปนไรใม่ใช้นามปีของไทยใหญ่ที่มีอยู่ลำพังแล้วมาลงในพงศาวดารของไทยใหญ่เองเล่า เปนแต่เดาว่าไทยสยามคือลาวเอามาจากจีนครูเดิมจึงไทยใหญ่ก็ใช้ตามครูเดิมบ้าง

ตรางคำนวนปีจุลทวาทสจักร์เปนมหาสัฎ์ฐีจักร์ ที่มิสเตอเนอีเลียสลงไว้ในพงศาวดารไทยใหญ่ที่แต่งขึ้นนั้นดังนี้ :-

วิธีนับศุภมาศของไทย

  เซือ เปา ยี เมา สี เสือ สะงา มูต สัน เฮา มีต เกือ
กับ   ๕๑   ๔๑   ๓๑   ๒๑   ๑๑  
ลับ     ๕๒   ๔๒   ๓๒   ๒๒   ๑๒
ไฮ ๑๓     ๕๓   ๔๓   ๓๓   ๒๓  
มุง   ๑๔     ๕๔   ๔๔   ๓๔   ๒๔
โปก ๒๕   ๑๕     ๕๕   ๔๕   ๓๕  
กัต   ๒๖   ๑๖     ๕๖   ๔๖   ๓๖
ขุด ๓๗   ๒๗   ๑๗     ๕๗   ๔๗  
ฮุง   ๓๘   ๒๘   ๑๘     ๕๘   ๔๘
ตอ ๔๙   ๓๙   ๒๙   ๑๙     ๕๙  
แก   ๕๐   ๔๐   ๓๐   ๒๐   ๑๐   ๖๐

มิสเตอร์เนอีเลียสกล่าวต่อไปว่า “วิธีจีนฤๅชานนั้น ใม่ต้องสงไสยละคงอย่างเดียวกันกะมหาสัฎ์ฐีจักร์ของอินเดีย ถึงมาตระว่าที่มาจัดเปนวรรคละ ๑๐ ละ ๑๐ แลหมวด ๑๒ นั่นรายไปแต่ ๑ ถึง ๖๐ ทีเดียว แต่รวมจำนวนก็ ๖๐ เท่ากันกะจักรมณฑลที่ชาวอินเดียเรียกว่าวฤหัศปตีจักระ”

มิสเตอร์ปรินเสปได้พรรณนาถึงเรื่องนี้ว่า “น่าเกลียดจริงๆ ช่างไปอ้างได้ว่าจุลทวาทศจักร์นั้นเปนสาขาของจีน ที่แท้นั้น เปนตัวรอบวฤหัศปตีของอินเดียตรงๆ ด้วยรอบ ๑ ของดาวพระเคราะห์พฤหัศบดีนั้นตกราว ๑๑ ปี กับ ๑๐ เดือนเศษ” แต่มิสเตอร์ปรินเสปก็มิได้อธิบายถึงมูละเหตุขององคสังหรณ์ทั้ง ๑๐ ในตรางของมิสเตอร์ปรินเสปนั้น ปีแรกของวฤหัศปตีจักระอินเดียตรงกะปีที่ ๔ ของจีนคือตั้งต้นปีเถาะ แลข้อนี้ความคิดของมิสเตอร์ปรินเสปเดินไปถึงดำริห์จะจัดรเบียบ วิธีทั้งสองอย่างนั้นให้ร่วมทางกันให้ดีขึ้น

อนึ่งเปนการน่าปลาดอยู่ ที่พราหมณ์โหราจาริย์ในกรุงมัณฑเล เมื่อมีฝรั่งไปขอให้อธิบายแบบกาละจักร์ของไทยใหญ่ ตอบโดยใม่ต้องตรองว่าไทยใหญ่ไถ่มาจากแบบวฤหัศปตีจักระของอินเดียตรงๆ แลยื่นตรางที่จะลงต่อไปนี้มาให้ โย้นามของไทยใหญ่ลงเปนจักระมณฑลของพราหมณ์ที่ยังคงใช้อยู่ทุกๆวันในประเทศอินเดีย นามสังสกฤตที่มิสเตอร์เนอีเลียสได้กล่าวไว้ ก็เกือบจะเหมือนกันกะของที่มิสเตอร์ปรินเสปให้ไว้ แต่ชื่อไทยใหญ่ใม่ใช่ของมิสเตอเนอีเลียส แต่เปนชื่อสามัญ ในกาละจักร์มณฑลของไทยใหญ่ตามธรรมดา

เรื่องมหาสัฎ์ฐีจักร์นี้ ถึงสมัยปัตยุบันนี้ ในเขมร ในญวน แลในลาว ใม่ชั่วแต่ใม่ใคร่จักมีใครใช้ แต่ซ้ำจะใม่ใคร่จะมีใครทราบกันด้วย ว่าเคยมีเคยใช้มาแต่บรรพบุรุษซ้ำไปเสียอิก ลาวเรียกฝอยปี องคสังหรณ์นั้นเรียกคู่ปี แต่ก็ฝอยปีไปกระนั้นเอง ใม่ประสาว่ามีคุณประโยชน์สำหรับคำนวนกันอย่างไร น้อยคนแต่มักเปนคนสูงๆที่คงแก่ศึกษาจึ่งจะทราบ แม้แต่ในกรุงสยามเอง ก็เกรงจะหาผู้รู้ได้ใม่มากนัก ผู้เขียนเรื่องนี้ได้ทราบว่าขุนเทพยากร (ทัต) บ้านอยู่บางขุนพรหมที่ถึงแก่กรรมสาบสูญไปเสียแล้ว เคยใช้คำนวนวันฤกษ์แลพยากรณ์เคราะห์โศกด้วยพฤหัศบดีจักร์ คือกาละจักร์อย่างไทยใหญ่นั่นเอง แต่มาทางสาขาอินเดีย น่าจะได้มาทางรามัญ อย่างตำราสุริย์ยาตร์แลสารำนั้นด้วยกัน นับเปนวิธีดึกดำบรรพ์อันสาบสูญแล้วฤๅกำลังจะสรรพะคราธอยู่ ยังคงทราบกันกระเดื่องเฟื่องฟุ้งอยู่แต่ในกรุงจีนแลพราหมณ์ในอินเดีย ที่เขายังคงใช้เปนศุภมาศอยู่บางกิจ ตรางนามปีมหาสัฎฐีจักร์ฤๅพฤหัศบดีจักร์ (เตีมของจีนลาวแลสยามเข้าด้วย)

เลขที่ นามจีนหลวง นามสังสกฤตของพราหมณ์ นามไทยใหญ่ว่าอย่างมลาว นามไทยลาวคงเรียก นามไทยสยามอย่างขอม
กั๊บ จี๊ ริก์ตัก์ขะ กับ เซือ กัด ไจ๊ ชวด เอกศก
ยั่ด เซ้า ครุธนะ ลับ เปา กด เป้า ฉลู โทศก
เป๋ง ยั่น อขยะยะ ไฮ ยี ลอง ยี ขาล ตรีศก
เต็ง เมา ประภวะ มุง เมา เต่า เม้า เถาะ จัตวาศก
มู ซั่น พิภวะ โปก สี ก้า สี มโรง เบญจศก
กี จี้ สกละ กัต เสือ กาบ ไซ้ มเสง ฉศก
เกง วู โปรมุธัต ขุด สะงา ตับ ซะง้า มเมีย สับตศก
ฃัน ไม โปรชุปติ ฮุง มุต รวาย เม็ด มแม อัฐศก
ยัม ซัน อันคีระ ตอ สัน เมิง สัน วอก นพศก
๑๐ ไกว เหยา สริมุขะ แก เฮา เปิก เล้า รกา สัมฤทธิศก
๑๑ กั๊บ ซุด ภวะ กับ มีต กัด เล็ด จอ เอกศก
๑๒ ยั่ด ห่อย ชุพะ ลับ เกือ กด ไก๊ กุน โทศก
๑๓ เป๋ง จี๊ ธัตตฤ ไฮ เซือ ลอง ไจ๊ ชวด ตรีศก
๑๔ เต็ง เซ้า อิศวระ มุง เปา เต่า เป้า ฉลู จัตวาศก
๑๕ มู ยั่น โพหุธันยะ โปก ยี ก้า ยี ขาล เบญจศก
๑๖ กี เมา โปรมุถิ กัต เมา กาบ เม้า เถาะ ฉศก
๑๗ เกง ซั่น วิกระมะ ขุด สี ดับ สี มโรง สับตศก
๑๘ ซัน จี้ พฤสพะ ฮุง เสือ รวาย ไซ้ มเสง อัฐศก
๑๙ ยัม วู จิตระภนุ ตอ สะงา เมีง ชะง้า มเมีย นพศก
๒๐ ไกว ไม ศุภนุ แก มุต เปิก เม็ด มแม สัมฤทธิศก
๒๑ กั๊บ ซัน ทะโรนะ กับ สัน กัด สัน วอก เอกศก
๒๒ ยั่ด เหยา ประถิพะ ลับ เฮา กด เล้า รกา โทศก
๒๓ เป๋ง ซุด พยะยะ ไฮ มีต ลอง เล็ด จอ ตรีศก  
๒๔ เต็ง ห่อย สระชิตะ มุง เกือ เต่า ไก๊ กุน สัตวาศก
๒๕ มู จี๊ สระวธะริ โปก เซือ ถ้า ไจ๊ ชวด เบญจศก
๒๖ กี เซ้า วิรุธิ กัด เปา กาบ เป้า ฉลู ฉศก
๒๗ เกง ยั่น พิกฤตะ ขุด ยี ดับ ยี ขาล สับตศก
๒๘ ซัน เมา โขระ ฮุง เมา รวาย เม้า เถาะ อัฐศก
๒๙ ยัม ซั่น นนคโทนะ ตอ สี เมีง สี มโรง นพศก
๓๐ ไกว จี้ วิชะยะ แก เสือ เปีก ไซ้ มเสง สัมฤทธิศก
๓๑ กั๊บ วู ชะยะ กับ สงา กัด ซะง้า มเมีย เอกศก
๓๒ ยั่ด โม มนุมุถะ ลับ มุต กด เม็ด มแม โทศก
๓๓ เป๋ง ซัน ทุระมุขะ ไฮ สัน ลอง สัน วอก ตรีศก
๓๔ เต็ง เหยา หิมลนคพะ มุง เฮา เต่า เล้า รกา จัตวาศก
๓๕ มู ซุด พิลนคพะ โปก มีต ก้า เล็ด จอ เบญจศก
๓๖ กี ห่อย วิกะลิ กัต เกือ กาบ ไก๊ กุน ฉศก
๓๗ เก็ง จี๊ สระพฤ ขุด เซือ ดับ ไจ๊ ชวด สับตศก
๓๘ ซัน เซ้า ปละวะ ฮุง เปา รวาย เป้า ฉลู อัฐศก
๓๙ ยัม ยั่น ศุภกฤตะ ตอ ยี เมีง ยี ขาร นพศก
๔๐ ไกว เมา ศุภะนะ แก เมา เปีก เม้า เถาะ สัมฤทธิศก
๔๑ กั๊บ ซัน กรุธิ กับ สี กัด สี มโรง เอกศก
๔๒ ยั่ด จี้ พิศะวะพสุ ลับ เสือ กด ไซ้ มเสง โทศก
๔๓ เป๋ง วู โปรภวะ ไฮ สงา ลอง ซะงา มเมีย ตรีศก
๔๔ เต็ง ไม ปละพันคะ มุง มุต เต่า เม็ด มแม จัตวาศก
๔๕ มู ซัน กิโลกะ โปก สัน ก้า สัน วอก เบญจศก
๔๖ กี เหยา สอุมยะ กัต เฮา กาบ เล้า รกา ฉศก
๔๗ เกง ซุด สธะโรนะ ขุด มีต ดับ เล็ด จอ สับตศก
๔๘ ซัน ห่อย วิรุธิกฤตะ ฮุง เกือ รวาย ไก๊ กุน อัฐศก
๔๙ ยัม จี๊ ปริธะรพิ ตอ เซือ เมีง ไจ๊ ชวด นพศก
๕๐ ไกว เซ้า โปรมะรถิ แก เปา เปีก เป้า ฉลู สัมฤทธิศก
๕๑ กั๊บ ยั่น นนอคทา กับ ยี กัด ยี ขาร เอกศก
๕๒ ยั่ด เมา รัก์ขโยสะ ลับ เมา กด เม้า เถาะ โทศก
๕๓ เป๋ง ซั่น นละ ไฮ สี ลอง สี มโรง ตรีศก
๕๔ เต็ง จี้ ปิน์คละ มุง สเอ เต่า ไซ้ มเสง จัตวาศก
๕๕ มู วู กัลยุกตะ โปก สะงา ก้า ซะง้า มเมีย เบญจศก
๕๖ กี ไม สิธะรถิ กัต มุต กาบ เม็ด มแม ฉศก
๕๗ เกง ซัน รุทระ ขุด สัน ดับ สัน วอก สับตศก
๕๘ ซัน เหยา ทุระโมติ ฮุง เฮา รวาย เล้า รกา อัฐศก
๕๙ ยัม ซุด ทุนะธุภิ ตอ มีต เมีง เล็ด จอ นพศก
๖๐ ไกว ห่อย รุธิรุค์คริ แก เกือ เปีก ไก๊ กุน สัมฤทธิศก

ตรางอย่างนี้ก็อย่างตรางคำนวนซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเซอยอนเบาริงไปนั่นเอง แปลกแต่มีนามสังสกฤตของพราหมณ์ แลนามจีน ไทยใหญ่ ไทยลาว เพิ่มเข้าด้วยเท่านั้น ศกที่สำหรับไทยใช้บอกวรรคมหาจักร์ซึ่งลาวเรียกคู่ปีนั้น บัดนี้เอามาใช้เปนปลายจุลศักราชเสียแทนจึ่งพลาดกันไป เพราะในปีฉลูเบญจศกจุลศักราช ๑๒๗๕ ปีนี้ ในตรางปีฉลูเบญจศกมีใม่ได้เมื่อลองสรวมศักราชดู ใม่มีศักราชอย่างไหนจะใช้ร่วมกับตรางมหาจักร์ได้นอกจากศักราชลุชิฮวาเกียซูของจีนที่ตั้งมหาจักระมณฑลนี้เอง จึ่งสัณนิฎ์ฐานได้ชัดว่า ตำรามหาสัฎ์ฐีจักร์ของไทยนี้มาจากจีนเปนครูเดิม เมื่อเช่นนี้ศกนี้ (คือ พ.ศ. ๒๔๕๖) ก็ต้องเปนปีฉลูสัมฤทธิศกจึ่งจะถูก ถ้าเราจะใช้ศก เพราะถ้าใช้จุลศักราชแล้วก็ใม่จำเปนต้องมีศกฤๅแม้แต่นามนักษัตร์ด้วยซ้ำไป ผู้เขียนเรื่องนี้ยังตรองใม่เห็นว่าเหตุใดโบราณาจาริย์ จึ่งใช้ศกในปลายจุลศักราช ซึ่งใม่มีประโยชน์แลใม่ตรงกับตรางมหาสัฎฺฐีจักร์ด้วย แลแม้จะบอกเศษทสิกของจุลศักราชก็วอดแวดนักเพียง ๑๐ ปีเท่านั้น ถ้าจะถือว่าลงไว้เหลวๆกันเยือกเย็นเพราะเคยใช้มาแต่โบราณนั่นและว่าใม่ถูก

เค้าเงื่อนจำนวนกาละจักร์ ๖๐ ปีนั้น แม้แต่ในจดหมายเหตุจีนก็ยังใม่มีปรากฎว่าเหตุใดจึ่งจำเพาะเลือกจำนวน ๒๐ มาเปนเกณฑ์ฉนี้แล้ว ก็หนักนักไปที่จะหวังให้พงศาวดารไทยใหญ่ ที่บรรลุความเจริญน้อยกว่าจีน อธิบายให้ทราบสาเหตุได้ ถ้าเราใม่ได้ทราบจากเซอยอนเบาริงผู้ได้รับพระบรมราชาธิบาย ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าจำนวน ๖๐ เปนเกณฑ์ ๕ รอบทวาทสจักร์คำนวนทสิกวรรคใม่ซ้ำกันฉนั้นแล้ว ก็ต้องเดาเอาว่าเห็นจะเปนเกณฑ์อายุคนสามัญฤๅกระไร แลยุค ๖๐ ปีนี้ข้างจีนนับถือเปนอุกฤษฐ์สมัยสำคัญนัก แม้แต่ใครดำรงชีพอยู่ได้ครบ ๖๐ ปีก็ยังฉลองวันเกิดอย่างเปนงารสำคัญ

ข้อที่ใม่ได้จดจำนวนของมหาจักร์ไว้กำกับนามนักษัตร์ด้วยเช่นจดแต่ปีฉลูสัมฤทธิศกไว้เท่านั้นใม่จดว่ามหาจักร์ที่ ๗๖ ไว้ด้วยกัน ทำให้เข้าใจยาก แลถึงใม่เข้าใจแก่ผู้ที่เกีดภายหลังทั้งใม่ชำนาญใช้แลใม่มีตรางคำนวนสอบ จึงให้ช่องความพลาดพลั้งในการคำนวนศุภะมาศในพงศาวดารไทยใหญ่มาก จนมิสเตอร์ปาร์เกอจับพลาดในพงศาวดารพม่า ซึ่งเซออาเถอแฟยารจนาขึ้นไว้นั้นได้ถนัด เหตุฉนั้นก่อนที่จะจดศุภะมาศอย่างใดจากพงศาวดารไทยใหญ่ลงจารึกไว้นั้น เปนการจำเปนต้องพิจารณาเหตุผล คเณให้สมแก่กาละจักร์ตรงกับศักราชที่เรานิยมใช้กันนั้นเอาเอง แต่เปนบุญที่พเอินมีเหตุการอื่นๆยันกัน เสมอจับมือให้เราคลำล้วงเอาวันจริงจากพงศาวดารไทยใหญ่ที่เคลือบคลุมนั้นออกมาได้ เหตุการสำคัญๆที่มิสเตอร์เนอีเลียสคาดคะเณกาล เห็นว่าพออนุมานเอาเปนยุติได้แน่นอนสมประสงค์นั้น มิสเตอร์ปาร์เกอยังจับพลาดได้ว่า “พงศาวดารมณีปุระผิดไปร้อยปีตรง ๆ” แลเซออาเถอแฟยาเล่าเรื่องนั้นไว้ในพงศาวดารพม่าอิก ภายหลัง จึ่งแก้ศกลดลงมาเสีย ๑๐๐ ปี ข้อนี้คือเรื่องที่เจ้าฟ้าไทยใหญ่ (ฤๅเงี้ยว) หนีจีน มิสเตอร์เนอีเลียสเรียกว่าเจ้างานฟ้า เจ้าฟ้าเมืองเมาหลวง เซออาเถอแฟยาเรียกว่าโสงันพวา ฤๅสอพวา (คือเจ้าฟ้า) เมืองก้อง (คือโมคองฤๅเมืองคัง) แต่มิสเตอปาร์เกอเรียกว่าซะแซนฟ้า (ก็เจ้าฟ้านั่นเอง) เมืองลูฉวน ถ้าว่าตามแบบไทยใหญ่แล้ว ต้องเปนเจ้างันฟ้า เจ้าฟ้าองค์นี้รบกับเจ๊กแต่ต้องอปราไชย จึ่งหนีมาพึ่งกรุงอังวะ จีนยกกองทัพติดตามมา ขอให้พม่าส่งตัวให้ แต่ก่อนที่จะได้ส่งตัว เจ้าฟ้านั้นกลืนยาพิษผลาญชีพพระองค์เองเสียแล้ว ส่งได้แต่ศพให้แก่แม่ทัพจีนๆเอาเกลือทาตากแดดแห้งแล้วพากลับไปเมืองยูนนานด้วย นี่แหละเรื่องเดียวกันนี้ เล่าครั้งแรกในพงศาวดารเมืองเมาหลวงที่มิสเตอร์เนอีเลียสเรียบเรียง ลงศุภะมาศเจ้างานฟ้าสิ้นชีพไว้เปนปีนั้นๆ ในกาละจักร์ ซึ่งมีแต่นามปีแลองคสังหรณ์ หาได้มีจำนวนว่าเปนมหาจักร์ที่เท่าใดใม่ ที่สองในมหาราชวงศ์พม่ากล่าวว่า เหตุนี้มีขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๘๗ ที่สามในพงศาวดารจีนที่เดเมนลาเขียน เหตุอันเดียวกันนี้ มีจดหมายเหตุว่าได้เปนใน พ.ศ. ๑๙๙๑ แลในครั้งที่สุด มิสเตอร์ปาร์เกอแต่งเรื่องที่แปลจากพงศาวดารเมืองโมเมียนเล่าเรื่องอันเดียวกันนี้เหมือนกัน แต่ใม่กล้าลงปีเด็ดขาด นอกจากกล่าวรวมๆ ว่า “เรื่องราวทั้งปวงนี้เกีดในระหว่างเวลา พ.ศ.๑๙๗ แล ๑๙๙๓”

เมื่อเรื่องอันเดียวในพงศาวดารอันเดียวกัน อันมีคนที่เปนเอกระเขียนหลายคนโดยได้ความมาจากที่หลายสถานพเอินมามีเหตุประจวบกันเข้าฉนี้ ส่อให้เกิดความเห็นได้เช่นว่านี้ ก็พอจะอนุมานคลำกะชื่อปี ชื่อองคสังหรณ์ให้เหมาะกับจำนวนปีที่เท่าใดของมหาจักร์ไทยใหญ่ที่เท่าใดได้ เมื่อกะลงได้ฉนี้เรื่องหนึ่งแล้ว ก็เหมือนเจาะหัวข้อที่จะดำเนีรไปให้โล่งได้ถนัดตลอด แลอุประเท่ห์นี้พอที่จะจูงแนะนำเราให้เทียบเคียงทั้งนามแลเหตุการข้างไทยใหญ่กับทางข้างจีน ข้างพม่า ฤๅข้างเมืองไหนๆข้างเคียง บรรดาจะสามารถคุ้ยคืบเอาความจริงจนได้ ทำให้ค่อยสว่างใจที่จะเขียนพงศาวดารไทยใหญ่ขึ้นอโข เช่นนามราชอาณาจักร์โป่งฤๅพง ซึ่งใม่ตกล่องปล่องชิ้นว่าอยู่ที่ไหนแน่นี้เปนต้นก็รู้ได้ว่า เราต้องการรู้เมืองที่รุ่งเรืองเจริญที่สุดในยุคที่อ้างนั้น มากกว่าอยากฟังคำคนพุ้ยบุ้ยบอกว่าอยู่ที่โน่นที่นี่ เพราะเราควรจะอนุมานใจรู้ได้แน่ว่า ในสมัยที่ร่วมความกันอ้างถึงนั้น มหานครไทยใหญ่เมืองไหนมีอานุภาพมากที่สุด แลรุ่งเรืองเจริญมากที่สุด มหานครนั้นก็ต้องเปนนครโป่งฤๅพงนั่นเอง ใม่ต้องระแวงหวั่นถึงนามเมืองนั้นว่าจะเรียกชื่อว่าอไร

มิสเตอร์เนอีเลียสก็คิดร่วมกับความเห็นข้อนี้ ขบวนกำหนดศุภะมาศ โดยกล่าวถึงเรื่องไทยใหญ่ตีเมืองเวสาลีหลวง คือเมืองอาซัมตอนบน ครั้งเจ้าสามหลวงฟ้า อันพรรณนาไว้ในพงศารดารเรื่องเมืองเมาหลวง แลเมืองก้อง (โมคองฤๅคัง) ที่มิสเตอร์เนอีเลียสรจนาไว้ เจ้าไทยใหญ่องค์นี้ คือขุนสามหลวงฟ้าของพงศาวดารแสนหวี แลเปนราชอนุชาของเจ้าฟ้า ขุนเสือขวัญฟ้า ที่มิสเตอร์เนอีเลียสเรียกว่า ขวัมฟ้า (คือขวัญฟ้า) แลมิสเตอร์เปมเบอต็อนเรียกว่าสูนคำฟ้า ศุภะมาศตามกาละจักร์ที่เจ้าสามหลวงฟ้าชิงไชยเมืองอาซัมนั้น ได้บอกไว้ในพงศาวดารไทยใหญ่ ต่อนั้นมาอีก ๔ ฤๅ ๕ ศก พระญาติวงศ์องค์หนึ่งนามเจ้ากาฟ้า (เจ้ากา) ได้ตั้งไว้เปนเจ้าฟ้าองค์แรกในราชอาณาจักร์ที่ชิงไชยได้ใหม่ มิสเตอร์เนอีเลียสกล่าวว่า “เรารู้ทางชาวอาซัมอันเปนเอกระว่า ศุภะมาศที่เจ้ากาฟ้าผ่านพิภพนั้นเปนปี พ.ศ. ๑๗๗๒ น่าจะถูกฤๅใกล้จะถูก ผิดก็ใม่มากกว่า ๑ ปี ฤๅ ๒ ปีเท่านั้น” ข้อนี้ใม่ชั่วแต่เปนเหตุสำคัญอย่างยิ่ง ในพงศาวดารเมืองเมาหลวง แลหัวเมืองประเทศราชในราชอาณาจักร์เมาหลวง แลเมืองก้องนั้น แต่เปนเหตุสุดสำคัญของเมืองอาซัมด้วย ด้วยทำให้เกิดนามอะฮอม (ชาวอาซัมสมมุติเรียกพวกไทยใหญ่ที่ไปอยู่ปกครองตนในเมืองอาซัม) ขึ้นในเมืองอาซัม เปนเหตุแปลกปรากฎขึ้นในพงศาวดารของชาติอาซัม ด้วยพวกไทยใหญ่เหล่านั้นบุกรุกเข้าไปเหยียบย่ำเมืองอาซัมเปนครั้งแรก ชาวอาซัมจะลืมเหตุที่เจ้าสามหลวงฟ้าเข้าไปชิงไชยใม่ได้เปนอันขาด แม้แต่ต่อนั้นมาพวกอะฮอม (คือไทยใหญ่ที่ชาวอาซัมเรียก) จะสาบสูญไปฤๅปนเข้าไปในพลเมืองแขกฮินดู่ ที่ยกมาชิงไชยภายหลังก็ใม่ทำอันตรธานอันใดแก่พงศาวดารอันเปนเหตุสุดสำคัญนั้นไหว ตราบเท่าถึงรัชกาลพระเจ้าคอรินัถสิงห์ (พ.ศ. ๒๓๒๓ ถึง ๒๓๓๘) พงศาวดารอาซัมออกจะสงวนกันใม่เรียบร้อย แต่พระราชาองค์นั้นตรัสแต่งโหราจาริย์ราชครู อันมีนามว่าโนรากับนักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ผู้มีความรู้อื่นๆ ให้เปนข้าหลวงมาสู่เมืองก้อง (โมคองฤๅเมืองคัง) เพื่อได้สำรวจพงศาวดารชาติอาซัมที่พระสงฆเจ้าไทยใหญ่ได้รักษาไว้มีบริบูรณ์อยู่ แลขอลอกคัดสรรพหนังสือ (ตำนานพงศาวดาร) ที่เจ้ากาฟ้าพามาสู่เมืองไทยใหญ่ การตรวจตราลอกคัดก็สำเร็จดังราชประสงค์ ข้าหลวงสำรับนี้กลับเขียนพงศาวดารอะฮอม (ไทยใหญ่) ลงเปนภาษาอาซัมแลทวนถอยหลังขึ้นไป จำเดีมแต่เจ้าสามหลวงฟ้าชิงไชยเมืองอาซัม จนตราบเท่าถึงตั้งมหานครไทยใหญ่ครั้งแรกในเวิ้งแม่น้ำเมา (ชเวลี) แลในการที่แปลเช่นนั้น ทำให้เกิดคุณประโยชน์สองสถาน ละล้วนให้รู้ทั้งเรื่องราวเจ้างันฟ้า แลส่อให้ทราบกาละจักร์เปนช่องอนุมานต่อไปได้ด้วย คือข้อแรกนั้น พวกโหราจาริย์ราชครูแลราชบัณฑิตย์อื่นๆ ได้คำนวนศุภะมาศ ฯลฯ ทราบว่าตัวสงะ (คือนามมหาสัฎ์ฐีจักร์ที่ไทยใหญ่เรียก) ที่ ๑๑ ได้ล่วงไปแล้วระหว่างพระผู้สร้างมหานครเวิ้งแม่น้ำเมา (ชเวลี) ลงมาจากฟ้าจนถึงเวลาเจ้ากาฟ้าได้เถลีงราชย์ในเมืองอาซัมตอนบน ข้อที่ ๒ มีข้อคำพเอีนกล่าวไว้ว่า พม่าเริ่มศักราชพม่าขึ้นในรัชกาลเจ้าฟ้าเมืองเมาหลวง ทรงพระนามขุนอ้ายเทียบแสดฟ้า ตานี้ถ้าจะเอาตัวสงะที่ ๑๑ คือ ๖๖๐ ปีมาหักจาก ๑๗๗๒ ปี คือปีที่เจ้ากาฟ้าเสวยราชย์ในเมืองอาซัมลงก็เหลือเศษเปน พ.ศ. ๑๑๑๒ อนึงรัชกาลเจ้าฟ้าขุนเทียบแสดฟ้านั้น ข้างไทยใหญ่กล่าวว่า ได้เริ่มในปีที่ ๗๐ จำเดีมแต่ได้สถาปนาเมืองรีเมืองราม (คือเมืองฮีแลเมืองฮามณเวิ้งแม่น้ำโขงตามพงศาวดารแสนหวี) ซึ่งเมื่อตั้ง พ.ศ. ๑๑๑๒ แลบวกอีก ๗๐ เข้า ก็คงเปน พ.ศ. ๑๑๘๒ ตรงกันกะปีแรกที่ตั้งศักราชพม่า (คือที่ไทยสยามเรียกว่าจุลศักราช) นั้นตรงตัว

เมื่อจับหัวใจอันเปนหลักศุภะมาศที่จะดำเนีรต่อไปได้มั่นคงฉนี้แล้ว ศุภะมาศก็กำหนดได้โดยง่าย ด้วยจำนวนรัชกาลเจ้าฟ้าองค์หนึ่งองค์หนึ่ง ได้กล่าวไว้ในพงศาวดารไทยใหญ่แจ่มแจ้ง เปนตัวเข็มชี้ศุภมาศให้ทราบได้ตระหนัก การเทียบเคียงกับปฏิทินพม่าก็น่าจำเปนทางช่วยเหลือได้มาก เหมือนกันกะสอบศุภะมาศทางข้างจดหมายเหตุจีน มาตระว่าศุภมาศพม่าเอาแน่นักใม่ใคร่ได้ ด้วยพระมหากษัตริย์พม่าหลายพระองค์ พอพระไทยอุตริเข้ามารังแกปฏิทิน โดยฤทธิ์ทเยอทยานอยากจะหาพระเกียรติยศฤๅให้ขลังศักดิ์สิทธิ์นอกคอกใม่เข้าเรื่อง ในเรื่องยักย้ายตั้งศักราชใหม่ ซึ่งใม่มีพระองค์ไหนจะสำเร็จตลอดไปได้ นอกจากพระองค์แรก แลการสอบข้างพงศาวดารจีนเล่าก็ลำบากยากเย็น เพราะธรรมเนียมเย่อหยิ่งไว้ยศนอกคอกใม่เข้าเรื่องของจีน จีนใม่รู้จักตำแหน่งยศถาศักดิ์ของพม่าแลไทยใหญ่ ก็สุ่มใช้นามเดีมที่ทราบงูๆปลาๆเลยพุ่งนึกนามสกูลเอาเอง ละล้วนใม่มี แลใม่มีใครเคยได้ยินได้ฟังในเมืองพม่าฤๅเมืองไทยใหญ่เลย พระเจ้าราชาธิราชกรุงจีน ก็พอพระไทยปกปิดพระนามเดิม ให้ใช้พระนามาภิธัยที่เฉลีมราชสมบัติอย่างเดียว ล้วนส่อผลให้เชื่อว่า ผู้ที่เขียนศุภอักษรจากหัวเมืองขึ้น (จีนฝันว่าโลกทั้งสิ้นควรจะเปนหัวเมืองขึ้นของจีนหมด ถ้ารวมเมืองสวรรค์ด้วยได้ก็เห็นจะใม่ละ บางทีก็แทบจะฮุบเมืองนรกด้วยอีกซ้ำไป) นั้น ควรจะใช้แต่ชั่วนามสกุล ฤๅนามเดิม ใม่กล้าแลใม่ยอมให้ใช้นามะยศะสมยาเทียมพระผู้เปนเจ้าเปนใหญ่อันเปนเทวะโอรส ถ้าในกรุงจีนทราบนามสกุลฤๅนามเดิมฤๅนามเมืองก็ใช้นามเหล่านั้นตามแต่ใจจะเลือกเอาอย่างไหน เช่นฉีนพยูชิน (พระเจ้าช้างเผือก) ก็ใช้ว่า แมงวูน คือหมายความว่า เมืองเวียงแลตายาวดี (คือสาราวดี) ก็ใช้ว่า แมงแคง คือเมืองขิน แลยิ่งถ้าเมืองจีนใม่รู้จัก ก็ใม่ปราถนาจะสืบถามใคร นึกพุ่งตั้งเอาเองตามใจอย่างใม่เปนรศ จึ่งชักให้จดหมายเหตุจีนอันสำคัญเมื่อเกี่ยวถึงหัวเมืองต่างประเทศเข้าแล้ว ก็ปั่นป่วนไปเสียมากๆ

ปฏิทินจักรมณฑลของไทยใหญ่ ฤๅแฝวัน (ลาวเรียกฝอยปี) นั้น เปนอันเลิกใม่ใช้กันในหัวเมืองไทยใหญ่ของอังกฤษเสียทั่วแล้ว ยังปรากฎแต่ในพงศาวดารเก่าแก่ของเมืองแสนหวี แลหัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือๆ แต่พงศาวดารในหัวเมืองข้างไต้ก็ใม่ใช้ ในหัวเมืองไทยใหญ่ของจีนอาจจะยังใช้กันอยู่ แต่ก็มืดๆสืบเอาความจริงแน่แท้ยังใม่ได้ แต่ขบวนที่จะคำนวนหาฤกษ์ในจำพวกโหรแลหมอดู ยังใช้ตัวสงะ (คือกาละจักร์) อย่างเก่า ทั้งในหัวเมืองไทยใหญ่ข้างเหนือข้างไต้แลข้างจีนทั่วกัน แต่ไทยสยามใช้คำนวนตามสุริย์ยาตร์อย่างพม่าแลมอญ ด้วยตำราสุริย์ยาตร์รามัญยังแพร่หลายอยู่ในพวกโหราจารย์ไทยสยามจนปัตยุบันนี้ แต่ตำราพฤหัศบดีจักร์ ฤๅตัวสงะของไทยใหญ่อันเปนตำราดั้งเดิมของไทยนั้น นับเปนอันสาบสูญเสียแล้วจากโหรในกรุงสยามทั้งชั้นเก่าแลชั้นใหม่ ด้วยชั้นใหม่ก็ใช้ปฏิทินฝรั่งซึ่งคำนวนทางสุริยคติเหมือนกัน สอบง่ายกว่าทางพฤหัศบดี ก็เปนธรรมดาโลกะวิไสยสิ่งใดมั่นคงกว่าง่ายแลสดวกกว่า สิ่งนั้นก็ย่อมชะนะแลเปนที่นิยมของคนฉลาดที่เฟื่องศึกษาอยู่เอง

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ