ราชประวัติ

กรุงกัมพูชาธิบดี

พระราชกำหนดทำบุญ

พระบรมศพพระกรุณา ในพระบรมราชานุโกษฐ คือ พระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ จอมจักรพงศ พระเจ้ากรุงกัมพุชาธิบดีเปนเจ้าชีวิตเหนือเกล้า

(ราชประวัติ)

ทรงประสูติในพระราชวังมหากษัตริย์เขมรในกรุงบางกอกนครสยาม ณวันอังคารแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๙ พระพุทธศักราช ๒๓๙๓ มหาศักราช ๑๗๖๒ จุลศักราช ๑๒๐๒ ปีชวดโทศก เพลาตรงกับวันเดิอนอูตเซบตอม ค.ศ. ๑๘๔๐

เมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่ ทรงพระนามว่าพระองค์เจ้า (สมโอก) ครั้นพระชันษาได้ ๑๓ ปีณวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวดจัตวาศกตรงกับ ค.ศ. ๑๘๕๑ จัดการพระราชพิธีโสกันต์ แล้วทรงพระนามว่าพระองค์เจ้าศรีสวัสดิ์ ฯ

พระองค์เปนพระราชบุตร์ที่ ๒ ของพระบาทสมเด็จพระหริรักษ์ รามาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) พระเจ้ากรุงกัมพุชาธิบดีในพระบรมโกษฐ พระวรราชบิดาทิวงคตณวันศุกร์ขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๑๒ ปีวอกโทศก พระพุทธศักราช ๒๔๐๔ ค.ศ. ๑๘๕๙ ในพระชันษา ๖๕ ปี เสวยราชได้ ๑๔ ปี สมเด็จพระวรราชินีนาถพระนามเดิม (เพา) เปนพระวรราชมารดา ๆ ถึงแก่พิลาไลยณวันอังคารขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๘ ปีมะโรงสัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับ ค.ศ. ๑๘๖๘ พระชันษาได้ ๔๙ ปี ฯ

พระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ จอมจักรพงศ เมื่อยังดำรงพระยศเปนพระองค์เจ้าอยู่ ได้ทรงผนวชเปนสามเณรคณะมหานิกาย เมื่อยังไม่มีคณะธรรมยุติ อยู่วัดปรางเขตรสำโรงทอง ใกล้กับพระบรมราชวัง กรุงอุดงมีไชยได้ ๑ พระวัสสา ลาจากสิกขาบทพระชันษาได้ ๑๘ ปี ทรงรับพระสุพรรณบัตรเปนเจ้าต่างกรม ทรงพระนามว่าสมเด็จพระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า ฯ ครั้นพระชันษาได้ ๒๔ ปีทรงบรรพชาเปนภิกษุอยู่วัดบวรนิเวศกรุงบางกอกนครสยามในคณะธรรมยุติได้ ๑ พระวัสสา จากสิกขาบท ฯ ทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งสมเด็จพระแก้วฟ้าได้ ๑๓ ปี ฯ

ณวันศุกร์ขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเสงเอกศก พระพุทธศักราช ๒๔๑๓ (๒๘ เม ๑๘๗๐) ทรงได้รับตั้งเปนสมเด็จพระมหาอุปราชบรมบพิตร กรุงกัมพูชาได้ ๓๖ ปี ฯ

เมื่อยังเปนสมเด็จพระแก้วฟ้าฯและเมื่อเปนสมเด็จพระมหาอุปราชฯ ทรงเอาพระทัยใส่ในราชการแผ่นดินอย่างแขงแรง ได้รับอาสาออกไปรบปราบพวกขบถจลาจลเปนหลายคราวนัก ได้กระทำราชการมีคุณต่อพระนครและพระเจ้าแผ่นดินกับกรุงฝรั่งเศสเปนอันมาก กรุงกัมพุชาและอาณาประชาราษฎร์ได้รับความสุขเกษมต่อมา ก็เพราะอาศัยพระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ทรงเหนื่อยยากมาเปนอันมาก ดุจบรรดาท่านอธิบดีราชการปรูติกตูราฝรั่งเศสได้ทราบและได้สรรเสริญตลอดมา ฯ

เมื่อสมเด็จพระมหาอุปราชศรีสวัสดิ์พระชันษาได้ ๖๕ ปี ทรงได้รับราชสมบัติครองกรงกัมพุชาธิบดี ตั้งแต่ณวันอาทิตย์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๖ พระพุทธศักราช ๒๔๔๗ มหาศักราช ๑๘๒๖ จุลศักราช ๑๒๖๖ ปีมะโรงฉศก ตรงกับวันที่ ๒๔ เดือนอาวริล ค.ศ. ๑๙๐๔ โดยราชเสวกามาตย์กรมชุมนุมใหญ่สำหรับพระนคร ชุมนุมพร้อมแล้วราชการคูแวรเนอมองเดอลารีปุปลิคฝรั่งเศส ทมีปรูติกตูราทำนุบำรุงกรุงกัมพุชาธิบดี ยอมอนุญาตถวายให้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแทนพระบาทสมเด็จพระนโรดมผู้เปนพระเชษฐา ๆ เสวยราชสมบัติตั้งแต่พระชันษา ๒๔ ๒๕ } ปี อยู่ในราชสมบัติ ๔๕ ปี พระชันษาได้ ๗๐ ปี สุรคตณเวลาบ่าย ๕ โมง ๕ นาที ในวันที่พระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์จอมจักรพงศผู้เปนพระราชอนุชาขึ้นเสวยราชสมบัติดุจพรรณนามาแล้วข้างตันนี้ ฯ

ครั้งทำบุญถวายพระเพลิงสมเด็จพระเชษฐาเสร็จแล้ว ราชการเขมรได้ชุมนุมพร้อมกับราชการปรูติกตูราฝรั่งเศสแล้วได้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกถวายพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ จอมจักรพงศ หริราชปรมินทร์ภูวนัย ไกรแก้วฟ้าสุลาไลย พระเจ้ากรุงกัมพุชาธิบดี ประทับอยู่ในพระบรมราชวังจตุรมุขกรุงภนมเพ็ญ ฯ พระราชพิธีราชาภิเษกได้จัดแต่ณวันจันทร์ขึ้นค่ำ ๑ เดือน ๖ ปีมะเมียอัฐศก พระพุทธศักราช ๒๔๕๐ (๒๓ อาวริล) จนถึงวันเสาร์ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๖ (๒๘ อาวริล ค.ศ. ๑๙๐๖)

ในระหว่างแผ่นดินอันประเสริฐนี้ ได้เกิดผลประโยชน์อย่างอัศจรรย์สำหรับพระนครกรงกัมพูชาธิบดี ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นและบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติก็เพราะอาศัยพระเดชพระคุณกรุงฝรั่งเศสช่วยอุปถัมภ์โดยสุจริต และเพราะบุญพระบารมีพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ จอมจักรพงศทรงประกอบด้วยทศพิธราชธรรม พระราชหฤทัยเย็นดีอย่างที่สุด ดุจเปนพระบิดาแห่งบรรดาราษฎรทั้งหมด ราษฎรเหล่านั้นก็รักพระองค์เหมือนอย่างบิดา ฯ การงารที่ได้จัดสำเร็จในรัชกาลนี้คือ ได้ทรงอนุญาตให้บรรดาชนทั้งปวงทุก ๆ คนขอที่ดินถือเปนกรรมสิทธิ์ของตนให้อุส่าห์กระทำให้เจริญขึ้น ฯ และได้เขตรพระตบอง เขตรเสียมราบที่มีปราสาทโบราณทำด้วยศิลาอย่างดีในโลกนี้หามิได้ และเขตรสทึงแตรง เขตรเกาะกงมาขึ้นแก่กรุงกันพูชาอีก ฯ ได้จัดราชการรัฐบาลราชการตุลาการและขนบธรรมเนียมให้ถูกต้องขึ้น ทั้งส่วยสาอากรและระเบียบศึกษาเจริญวิชาทุกอย่าง กับระเบียบพิธีต่าง ๆ ตามสมัยใหม่ดุจนครใหญ่อื่น ๆ ที่เจริญรุ่งเรือง ฯ

พระองค์มีพระชันษามากก็จริง แต่ยังมีพระกายพลแขงแรง พระรูปสุภาพละออมุข สมควรเปนที่รักและเคารพปฏิบัติอย่างยิ่ง เมื่อพระชันษาครบ ๖๗ ปี มีพระกายพลสามารถเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร์กรุงฝรั่งเศสได้ เมื่อพระพุทธศักราช ๒๔๔๙ ปีมะเมียอัฐศก ตรงกับ ค.ศ. ๑๙๐๖ ข้าราชการและมหาชนทั้งหลายในกรุงฝรั่งเศสได้ต้อนรับพระองค์โดยความนับถือเปนไมตรีสนิทหาที่เปรียบมิได้ เปนที่ยังพระนครทั้งสองให้ร่วมสัมพันธมิตร์มั่นคงขึ้น ฯ ตั้งแต่เสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากกรุงปารีสก็ได้ทรงรับราชการแผ่นดินโดยความพยายามเปนนิตย์ แนะนำให้เกิดความเจริญบริบูรณ์ทุกอย่างในพระนครให้เจริญทวีขึ้นเปนอเนก ฯ พระรูปพระสติและพระจริตก็ยังดีตลอดมา ชนทั้งปวงเชื่อว่าพระองค์จะทรงพระชนมายุยืนยาวกว่า ๑๐๐ ปีเสียอีก ฯ มิควรเลยเพียงแต่ทรงพระประชวรพระชราพระพิษโรคครุ่น หมดพระกำลังลงทีละน้อย ๆ แต่ไม่เคยครวญครางให้เห็นว่าทรงพระประชวรอะไร ๆ ให้แน่ชัด พระโรคจับตั้งแต่วันศุกร์แรม ๘ ค่ำเดือน ๘ ตลอดมาจนถึงวันอังคารขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีเถาะนพศก คือวันที่ ๒๒ เดือนซูเยต มาถึงวันที่ ๙ เดือนอูต ค.ศ. ๑๙๒๗ รวม ๑๙ วัน แพทย์ฝรั่งเศสได้ประกอบพระโอสถถวายจนเต็มความสามารถ พระอาการก็มีแต่ทรงกับทรุดก็สุรคตในพระที่นั่งมหามนทีร์ ณวันอังคารขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๙ พระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ปีเถาะนพศก ตรงกับวันที่ ๙ เดือนอูต ค.ศ. ๑๙๒๗ เวลา ๑๖ นาฬิกา คือบ่าย ๔ โมง พระสติไม่ฟั่นเฟือนจนถึงวันสุรคต เมื่อจะสุรคตก็ค่อย ๆ ดับไปทีละน้อย ๆ ดุจประทีปที่ดับโดยสดวก ฉนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ ๘๘ ปี ครองราชสมบัติถึงปีที่คำรบ ๒๔ คิดตั้งแต่ปีมะโรงฉศก พระพุทธศักราช ๒๔๔๗ มาถึงปีเถาะนพศก พระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ฯ

ในเวลาที่ทรงพระประชวรนั้น พระราชวงศานุวงศฝ่ายหน้าฝ่ายในและเสนาบดีนาหมื่นสรรพมุขมนตรี ข้าราชการชายหญิงข้างนอกข้างในเปนอันมาก ได้ไปเฝ้ารักษาพระโรคอยูใกล้พระองค์ พร้อมด้วยแพทย์ฝรั่งแพทย์เขมร ทั้งกลางวันกลางคืนมิได้ขาด ด้วยความรักบุญพระบารมีโดยสุจริตฯ พระองค์มีพระอาการฟื้นขึ้นหลายหน ฝ่ายทางราชการคิดว่าคงจะหายจริง ๆ จึงได้คิดจะบำเพ็ญพระราชกุศลตั้งโต๊ะเฉลิมพระชันษาครบ ๘๘ ปี แต่กลับประชวรหนักลงไปอีก ฯ

ในวันที่จะสุรคตนั้น ได้ยกพระองค์ออกจากหอเครื่องเข้ามาประทับในพระที่นั่งมหามนทีร์ ซึ่งติดกับพระที่นั่งเทวาวินิจฉัยในเวลา ๑๓ นาฬิกา ๓๐ นาที คือบ่าย ๑ โมง ๓๐ นาที

เมื่อพระองค์มีพระกำลังน้อยถอยลงไปมากนั้น ได้บันทมเหนือพระแท่นหันพระเศียรไปสู่ทิศบูรพาใต้เศวตฉัตร์ที่กางกั้นอยู่บนพระบัลลังก์อันเปนที่รับพระราชวงศานุวงศฝ่ายในและพระสนมท้าวนาง ในโอกาสพิธีบำเพ็ญพระกุศล และตรงกลางด้านตวันออกของพระแท่นนั้นแขวนพระบทรูปพระจุฬามณีเจดีย์ และตั้งโต๊ะเครื่องพุทธบูชา ไว้สองข้างพระบัลลังก์ พระบัลลังก์นั้นอยู่ด้านตวันออกของพระแท่นฯ บนพระแท่นที่สุรคตนั้นมีเพดานดาดด้วยผ้าขาวและมีรูปพระจุฬามณีเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาพระพุทธองค์ณตรัยตรึงส์หรือดาวดึงส์ ซึ่งพระอินทราธิราชเปนอธิบดี เพื่อให้ได้ทรงตั้งพระวิญญาณฉะเพาะไปยังสถานที่นั้น ฯ ได้นิมนต์พระสงฆ์ ๘ รูปมาสวดพระพุทธคุณ พระราชวงศานุวงศฝ่ายหน้าฝ่ายใน และชนทั้งหลายที่มาประชุมณที่นั้นก็สวดพระพุทธคุณถวาย เพื่อจะให้ทรงได้ยินแต่เสียงสวดพระธรรม ฯ

ท่านเลอเรซิดัง สุเปริเยอร์เลอฟูล ได้อันเชิญมาอยู่ประจำดูพระอาการพร้อมกับแพทย์บูเวจางวางราชการแพทย์ แพทย์ม้ากจางวางรักษาโรคจักษุสมเด็จกรมพระพระแก้วฟ้าศรีสวัสดิมณีวงศเปนพระราชบุตร์ที่ ๑ กรมพระนโรดมภาณุวงศทอัครมหาเสนาธิบดี ออกญาวังวรเวยงไชย (จวน) ออกญาจักรีธีบดีกุญชร (ปุน) ออกญายมราช เซินเดี๊ยบ กรมหลวงศรีสวัสดิ์สุภานุวงศที่กระลาโหม กับพระราชวงศานุวงศฝ่ายหน้าฝ่ายใน และข้าราชการทั้งหมดก็ได้มาเฝ้าฟังพระอาการอยู่พร้อมกัน ฯ และมีอาจารย์ ๒ คนนั่งอยู่ข้างพระแท่นคนละข้าง สวดพระธรรมถวายและคอยสังเกตพระวาโยต่าง ๆ คือ

๑ ลมหายใจภวังคบาต คือลมกระสับกระส่ายมาก คำธรรมดาเรียกว่า ไฟธาตุแตก ฯ

๒ ลมหายใจภวังคจะละนะ คือลมเย็นครึ่งองค์ตอนล่าง ฯ

๓ ภวังคุปัจเฉท คือลมเกือบสุด

เมื่ออาจารย์เหล่านั้นทราบแน่ว่าถึงวาโยภวังคบาตแล้ว ก็จุดเทียนกัลสำหรับมรณภาพ ๑, ๒ หรือ ๓ เล่มติดไว้ที่พานฯ เทียนกัลนั้นฟั่นด้วยขี้ผึ้งหนัก ๑๑ แกรม ๒๕ เซ็นติแกรม ฯ

  1. ๑. ไทยเรียกเชียงแตง

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ