กฎ เรื่องการรับฟ้องกล่าวโทษตุลาการผู้พิจารณาความไม่เที่ยง

กฎให้แก่พระสุรัศวดีซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกแก่ข้าทูลถออง ฯ ฝ่ายทหารพลเรือน และขุนโรงขุนศาล แต่บรรดาพิจารณาเนื้อความอาณาประชาราษฎรทั้งปวง ด้วยมีพระราชกำหนดกฎหมายไว้แต่ก่อนว่าอาณาประชาราษฎรจะมาร้องฟ้องกล่าวโทษแก่กัน และผู้พิจารณาตุลาการจะไถ่ ถามโจทก์จำเลยนั้น ว่าเสมียนผู้คุมถามความว่ามิได้ทำตามธรรมเนียมความไซร้ ให้ว่าแก่ผู้พิจารณาผู้กำกับให้ตัดสินให้ตามข้อเนื้อความ ถ้าพ้นที่ผู้พิจารณาผู้กำกับจะตัดสินมิได้ไซร้ ก็ให้ไปว่าแก่ลูกขุนตัดสินให้ตามข้อเนื้อความให้สำเร็จ ถ้าโจทก์จำเลยมิได้ว่ากล่าวแก่ผู้พิจารณา ไปร้องฟ้องหาอุทธรณ์แต่เสมียนผู้คุม และมิได้กล่าวโทษผู้พิจารณาผู้กำกับ และจะบัตรหมายมาให้ส่งแต่เสมียน ผู้คุมนั้นอย่าให้ส่ง ถ้าเปนเนื้อความหัวเมือง ถ้ากรมการทำผิดให้ฟ้องแก่ ปลัด ยกระบัตร ปลัด ยกระบัตร ทำผิดให้ฟ้องแก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง ถ้ และมิได้กล่าวโทษผู้รักษาเมือง ปลัด ยกระบัตร ด้วยไซร้ ถ้ามีตราออกไปให้ส่งคู่ความมานั้น อย่าให้ส่งเข้ามา และสืบมาทุกวันนี้ ผู้พิจารณาและตุลาการทั้งปวงละพระราชกำหนดกฎหมายเสีย ผู้มีชื่อจึ่งร้องฟ้องหาอาชญา อุทธรณ์ณะกรุง ฯ กล่าวโทษแต่เสมียนผู้คุม นายพะธำมรงค์ มิได้กล่าวเข้ามาร้องฟ้องอุทธรณ์กล่าวโทษแต่เสมียนผู้คุมนายพะธำมรงค์ มิได้กล่าวโทษผู้รักษาเมือง ปลัดยกระบัตรและกรมการหามิได้ และกลับฟ้องให้บัตรหมายเอาเสมียน ผู้คุม ภูดาษ พะธำมรงค์ และให้มีตราไปให้ส่งขุนศาล ภูดาษ ธำมรงค์ ณะหัวเมืองเข้ามาพิจารณาณะกรุง ๆ ตามข้ออาชญาอุทธรณ์ ก็เอามาพิจารณาไม่สำเร็จ ทำหน่วงเหนี่ยวเนื้อความไว้ และเนื้อความเดิมที่เปนข้อใหญ่นั้น ก็พลอยเริศร้างค้างช้าสูญไปก็มีบ้าง ลางทีเห็นว่าจะทำกลบเกลื่อนมิได้ ก็คิดอ่านให้ร้องฟ้องหาอุทธรณ์ต่อไปถึง ๒ ศาล ๓ ศาลก็มีบ้าง เปนอันมาก เพราะเหตุฉนี้คนชั่วซึ่งเบียดเบียนอาณาประชาราษฎรนั้น เห็นเนื้อความของตัวพิรุธเพลี่ยงพล้ำลงแล้ว ก็คิดอ่านหาอาชญา อุทธรณ์ กล่าวโทษแก่เสมียนผู้คุมบ้าง ลางทีกล่าวโทษแต่เสมียนผู้คุมบ้าง ลางทีกล่าวโทษแต่ขุนศาล ภูดาษ นายพะธำมรงค์บ้าง คิดแต่จะให้เนื้อความเริศร้างค้างสูญไป แต่จะไม่ให้ได้ความผิดของตัวเลย และอาณาประชาราษฎรซึ่งมิรู้สำนวน และหาทรัพย์มิได้นั้น ได้ความเดือดร้อนนัก ครั้นจะให้สืบเอาตัวผู้กระทำผิดนั้นเปนโทษ ตามบทพระอัยการนั้นด้วย ผู้เข้ามารับราชการต่อมาทุกวันนี้เปนคนไม่รู้บ้าง ได้รู้บ้าง และยังไม่ทั่วกัน และสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทุกวันนี้ ทรงพระกรุณาแก่อาณาประชาราษฎร เพื่อจะบำรุงมิให้พระราชกำหนดกฎหมายฟั่นเฟือนไปได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งแก่ ออกญาธรมาธิบดี ศรีรัตนมนเทียรบาล ให้แต่งพระราชกำหนดกฎหมายแจกชำระไว้ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าอาณาประชาราษฎรจะร้องฟ้องกล่าวโทษแก่กันด้วยเนื้อความประการใด ๆ ก็ดี ผู้พิจารณาตุลาการจะพิจารณาไถ่ถามโจทก์จำเลย สักขีพยานณะกรุง ฯ นั้น ถ้าโจทก์ จำเลย เห็นว่าเสมียน ผู้คุม ภูดาษ นายพะธำมรงค์ ถามความผิดด้วยพระราชกำหนด กฎหมายให้โจทก์ จำเลย ว่าแก่ผู้พิจารณาผู้กำกับให้ตัดสินให้ ถ้าพ้นที่ผู้พิจารณาผู้กำกับตัดสินมิได้ ก็ให้พากันไปให้ลูกขุนปรึกษาตัดสิ้นให้ตามข้อเนื้อความสืบไป ถ้าเปนเนื้อความหัวเมือง ถ้าภูดาษนายพะธำมรงค์ทำผิดให้ว่าแก่ขุนศาล ขุนศาลทำผิดให้ฟ้องแก่ปลัด ยกระบัตร และกรมการซึ่งมิได้ต้องในฟ้อง ถ้าและปลัด ยกระบัตร กรมการ มิรับฟ้อง จึ่งให้ฟ้องแก่ผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง ถ้าและผู้รักษาเมือง ผู้รั้งมิรับ และผู้รักษาเมือง ปลัด ยกระบัตร กรมการ ทำผิดด้วยแล้ว จึ่งให้เข้ามาฟ้องณะกรุง ฯ ตามพระราชกำหนดกฎหมายแต่ก่อน ถ้าผู้ใดมิฟังจะมาร้องฟ้องหาอาชญา อุทธรณ์ เสมียน ผู้คุม พะธำมรงค์ ซึ่งได้พิจารณาว่าความ และมิได้กล่าวโทษผู้พิจารณา ผู้กำกับ และผู้มีชื่ออยู่หัวเมืองเข้ามาร้องฟ้องณะกรุง ฯ หาอาชญา อุทธรณ์ กรมการหัวเมือง มิได้กล่าวโทษผู้รักษาเมือง ปลัด ยกระบัตร ไซร้ อย่าให้รับฟ้องไว้ว่ากล่าวเปนอันขาดทีเดียว ให้ผู้รับฟ้องนั้นสลักหลังส่งฟ้องคืนให้แก่ผู้ฟ้องว่ากล่าวตามพระราชกำหนดกฎหมาย และให้ข้าทูลลออง ฯ ฝ่ายทหาร พลเรือน และขุนโรงขุนศาล ผู้บรรดาได้พิจารณาเนื้อความณะกรุง ฯ และผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการณะหัวเมืองทั้งปวง ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายให้นี้จงทุกประการ ถ้าผู้ใดมิได้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายแต่ข้อหนึ่งข้อใดไซร้ จะเอาตัวผู้นั้นเปนโทษตามโทษานุโทษ

กฎให้ไว้ณะวันศุกรเดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๔ ปีมะเมีย จัตวาศก (พ.ศ. ๒๓๐๕ รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร)

----------------------------

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ