- คำนำ
- พระศิลปานุจิตรการ (ฉัตร อินทรเสน)
- ประวัติ อำมาตย์ตรี พระศิลปานุจิตรการ (ฉัตร อินทรเสน)
- กฎเรื่องร้องฟ้องความซับซ้อนกันหลายศาล
- กฎว่าด้วยการเรียกสินไหมพินัยคดีความ
- หมายรับสั่งเรื่องความทุกข์ยากของลูกหมู่
- กฎเรื่องลักษณการปกครองหัวเมือง
- กฎเรื่องให้รับน้ำพระพิพัฒนสัจจา
- กฎเรื่องการพิศูจน์เล็บในสำนวนความ
- กฎเรื่องเจ้าหมู่มูลนายเบิกคู่ความไปใช้ราชการ
- กฎเรื่องให้จับกุมคนวิวาททำร้ายกันในที่ต่างๆ
- กฎเรื่องการรับฟ้องตามพระธรรมนูญ
- กฎเรื่องการรับฟ้องต่าง ๆ
- กฎเรื่องการรับฟ้องกล่าวโทษตุลาการผู้พิจารณาความไม่เที่ยง
กฎ เรื่องการพิศูจน์เล็บในสำนวนความ
กฎให้แก่พระสุรัศวดี ซ้าย ขวา ใน นอก ให้กฎหมายบอกเจ้าพระยา และพระยา พระ หลวง เมือง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย และ ตำรวจในซ้าย ขวา ตำรวจนอกซ้าย ขวา กรมวัง กรมล้อมวังซ้าย ขวา กรมมหาดเล็กชาวที่ และกรมพระสนมซ้าย ขวา ฝ่ายทหาร พลเรือน และผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการแขวง จังหวัด นายบ้าน นายอำเภอ ณะหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ และแขวงจังหวัดทั้ง ๔ และผู้มีบรรดาศักดิพิจารณาเนื้อความทั้งปวงจงทั่ว ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า และสุภาตุลาการพิจารณาความมีคู่ทั้งปวงแต่ก่อนนั้น ครั้นถามโจทก์จำเลยเปนสำนวนต่อกันแล้วยอมผูกสำนวนให้แต่โจทก์จำเลยศูจน์เล็บไว้ต่อกัน ครั้นโจทก์จำเลยเห็นถ้อยคำของตัวพิรุธในสำนวนข้อใดข้อหนึ่ง ครั้นตุลาการจะพิจารณาสืบไป ย่อมติดใจว่าแปลกเล็บ และว่าเสมียนผู้คุมดัดแปลงสำนวนเสีย และผู้พิจารณาทั้งปวงจะได้ว่ากล่าวแก่ผู้พิพากษาว่าเข้าด้วยโจทก์ จำเลย ติดใจว่าแปลกเล็บนั้นเนื้อความจะได้พิจารณานั้นศูจน์ยาวไป แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ถ้าและผู้มีอรรถคดีจะร้องฟ้องว่ากล่าวโทษแก่กันณะโรงศาล กรมใด ๆ ก็ดี และตุลาการถามโจทก์จำเลยเปนสำนวนต่อกันแล้วคัดเทียบออก จะเอาสำนวนนั้นผูกให้โจทก์ จำเลย ศูจน์เล็บไว้ให้ตุลาการปิดตราประจำเล็บไว้ด้วย ถ้าและจะเอาโจทก์จำเลยออกมาพิจารณาสืบไปนั้น ฝ่ายโจทก์ติดใจว่าแปลกเล็บ ฝ่ายจำเลยว่าชอบด้วยเล็บ และผู้พิจารณาว่าชอบด้วยดวงตราแล้ว อย่าให้ฟัง ให้ผู้พิจารณาตัดเล็บและดวงตราประจำไว้นั้นรักษาไว้จงดีอย่าให้ทุบต่อยเสีย และให้เร่งพิจารณาว่ากล่าวสืบไป ถึงว่าฝ่ายโจทก์ จำเลย ซึ่งติดใจว่าแปลกเล็บนั้น จะต้องฟ้องกล่าวโทษตุลาการและลูกความก็ดี จะได้เอาเล็บและดวงตราซึ่งตัดออกไว้นั้น จะได้ชันสูตรกับดวงตราซึ่งปิดตราประจำเล็บไว้นั้น ให้ผู้พิจารณาเร่งพิจารณาว่ากล่าวให้สำเร็จ อย่าให้ค้างช้าอยู่พ้นพระราชกำหนดกฎหมาย และให้พระสุรัศวดี หมายบอกแก่ผู้พิจารณาในกรุง ฯ นอกกรุง ฯ และแขวงจังหวัด และผู้รักษาเมือง ผู้รั้ง กรมการ ให้ทำตามกฎนี้
กฎให้ไว้ณะวันอาทิตย์เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๐๑ ปีมะแมเอกศก (พ.ศ. ๒๒๘๒ รัชกาล สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ)
----------------------------