ว่าด้วยตำแหน่งยศพระราราชาคณุฐานานุกรม

ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆราชาคณะ ครั้งกรุงเทพฯ มหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยาแต่ที่จำได้ ตำแหน่งยศพระราชาคณะฐานานุกรม ฝ่ายอรัญญาวาสี เจ้าคณะกลางนั้น คือพระพุทธาจารย์อยู่วัดโบสถราชเดชะ ๑ พระญาณไตรโลกย์เจ้าคณะรองอยู่วัดโรงธรรม ๑ พระอุบาลีอยู่วัดบางกะจะ ๑ พระญาณโพธิอยู่วัดเจ้ามอญ ๑ พระธรรมโกษา อยู่วัดประดู่ ๑ พระเทพมุนีอยู่วัดกุฎีดาว ๑ พระเทพโมฬีอยู่วัดสมณโกฎ ๑ พระธรรมกิจอยู่วัดมเหยงคณ์ ๑ รวมเป็นพระราชาคณะ ฝ่ายอรัญญาวาสีคณะกลาง ๘ องค์ อนึ่งพระครูฝ่ายวิปัสสนา แล้วพระครูเจ้าคณะรามัญ แลพระครูเจ้าคณะลาว ฤๅพระครูเจ้าคณะเขมรทั้งปวงนั้น ก็ต้องมาขึ้นคณะฝ่ายอรัญวาสีทั้งสิ้น

อนึ่งพระสงฆฝ่ายสมถะวิปัสสนา ซึ่งอยู่ในป่าดอนดงแขวง หัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือก็ต้องมาขึ้นคณะอรัญวาสีทั้งสิ้น แต่พระสงฆมิใช่สมถะวิปัสสนาซึ่งอยู่หัวเมืองต่างๆ ทั้งสิ้นนั้น มิได้มาขึ้นคณะฝ่ายอรัญวาสี พระพุทธาจารย์เจ้าคณะกลางอรัญวาสี ได้เปนอธิบดีสิทธิ์ขาด ในสมณะกิจจานุกิจได้ว่ากล่าวบังคับบัญชา พระสงฆ์ฝ่ายสมถะวิปัสสนาทุกตำบลทั้งสิ้น อนึ่งถ้ามีเสด็จพระราชดำเนินออกจากพระนคร ก็เปนพนักงานพระสงฆ์ราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี ต้องไปตามเสด็จถวายพระพรไชยและพระปริตด้วย ต้องผลัดเปลี่ยนเวรกันตามสมควรแก่กาล

ตำแหน่งยศพระสงฆ์ราชาคณะฝ่ายขวาพระวันรัตน ซึ่งสถิตอยู่วัดป่าแก้ว ในกำแพงกรุงศรีอยุธยา ๑ มีฐานานุกรม ๑๑ รูปสำหรับตำแหน่งยศพระครูอาจารย์ วงษาจารย์ญาณมุนีพระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูพรหมศร ๑ พระครูอมรสัตย์ ๑ พระครูธรรมคุต ๑ พระครูธรรมบาล ๑ พระครูญาณกิจ ๑ พระครูสงฆรักขิตร ๑ พระครูสมุห พระครูใบฎีกาเปน ๑๑ รูป มืพระราชาคณะเปนวัดขึ้น ๑๗ วัด พระธรรมโคดมวัดธรรมมิกราช ๑ พระธรรมไตรโลกย์วัดสุธาสวรรค์ ๑ พระธรรมเจดีย์อยู่วัดสวนหลวงสพสรรค์ ๑ พระโพธิวงศ์อยู่วัดสวนหลวงค้างคาว ๑ พระธรรมวิโรจน์อยู่วัดโพธาราม ๑ พระนารถอยู่วัดดุสิตาราม ๑ พระพุทธโฆษาอยู่วัดพุทธไธสวรรค์ยาวาศ ๑ พระวิเชียรเถรอยู่วัดชัยวัฒนาราม ๑ พระธรรมสารเถรอยู่วัดปราสาท ๑ พระญาณสมโพธิอยู่วัดป่าตอง ๑ พระอริยโคดมอยู่วัดแก้วฟ้า ๑ พระอริยวงศ์มุนีอยู่วัดวรเชษฐาราม ๑ พระอริยมุนีอยู่วัดราชบุรี นอกกำแพงพระนคร ๑ พระนิกรมอยู่วัดธงไชย ๑ พระนิโครธรญาณอยู่วัดลอดช่อง ๑ พระญาณรังษีอยู่วัดสาทติชน ๑ พระอริยธัชะอยู่วัดจงกรม ๑ รวมพระราชาคณะ ๑๑ องค์ ขึ้นเจ้าคณะฝ่ายขวาคามวาสีฯ

มีหัวเมืองปักใต้ขึ้นเจ้าคณะฝ่ายขวา ๔๗ เมืองคือเมืองสุพรรณบุรี ๑ เมืองนครไชยศรี ๑ เมืองสาครบุรี ๑ เมืองนครนายก ๑ เมืองปราจิณบุรี ๑ เมืองฉะเชิงเทรา ๑ เมืองสมุทรสงคราม ๑ เมืองราชบุรี ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ เมืองศรีสวัสดิ์ ๑ เมืองไชยโยค ๑ เมืองสมุทรปราการ ๑ เมืองชลบุรี ๑ เมืองบางละมุง ๑ เมืองระยอง ๑ เมืองระแส ๑ เมืองตราด ๑ เมืองทุ่งใหญ่ ๑ เมืองจันทรบุรี ๑ เมืองเพ็ชรบุรี ๑ เมืองชะอำ ๑ เมืองกุย ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองอุทุมพร ๑ เมืองสวี ๑ เมืองประทิว ๑ เมืองบางสน ๑ เมืองไชยา ๑ เมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองสงขลา ๑ เมืองพัทลุง ๑ เมืองตะกั่วทุ่ง ๑ เมืองตะกั่วป่า ๑ เมืองถลาง ๑ เมืองตระ ๑ เมืองตะนาวศรี ๑ เมืองมฤท ๑ เมืองสิงขร ๑ หลังเมืองสวน ๑ กรุงกำภูชาธบดี ๑ เมืองจอมปะ ๑ เมืองโขง ๑ เมืองขุขันธ์ ๑ เมืองป่าดงยาว ๑ เมืองสังข์ ๑ เมืองสุรินทร์ ๑ เมืองนครพนม ๑ รวม ๔๗ เมืองขึ้นแก่คณะฝ่ายขวา ซึ่งเรียกว่าเจ้าคณะใต้นั้น ก็ได้พระราชาคณะฝ่ายคามวาสี

เจ้าคณะเหนือฝ่ายซ้ายนั้น สมเด็จพระอริยวงศ์สังฆราชาธิบดีมีเครื่องยศ ตาลปัดแฉกพื้นตาดเทศสีทองยอดเปนรูปหน้าพรหม ๑ พาน พระศรีถมปัตเหลือง ๑ พระเต้าน้ำถมปัต ๑ บ้วนพระโอฐถมปัต ๑ ถาดสรงพระพักตร์ถมปัต ๑ บาตรแก้วฝาแลเท้าก็เปนแก้ว ๑ ถ้าถลกบาตรพื้นกำมะหยี่ลายทองหักทองขวาง ๑ ย่ามกำมะหยี่หักทองขวาง ๑ ไตรผ้าครองโปร่งปักไหม ๑ คานหามวอช่อฟ้า ๑ ม่านแพร ๑ พระกรดคันสั้นชุบสีผึ้ง ๑ เรือพระที่นั่งศรีเขียนทองพื้นแดง ลำ ๑ เรือพระที่นั่งเก๋งพังประพาษลำหนึ่ง มีฐานานุกรม ๔ รูป คือพระครูสดำมหันตปิฎกดิลกโลกาอาจารย์ญาณมุนี ๑ พระครูปลัดใหญ่ขวา ๑ พระครูเฉวียงปลัดซ้ายหนึ่ง ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูเมธังกร ๑ พระวรวงษาพระครูสมุห ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๘ รูป

พระพิมลธรรมอยู่วัดรามาวาส ๑ พระเทพกวีอยู่วัดพระราม ๑ พระพรหมมุนีอยู่วัดราชประดิษฐาน ๑ พระราชมุนีอยู่วัดภูเขาทอง ๑ พระปรากรมอยู่วัดหน้าพระเมรุ ๑ พระราชกวีอยู่วัดบวรโพธิ์ ๑ พระศรีสมโพธิ์อยู่วัดฉัตรทันต ๑ พระภากุลเถรอยู่วัดศรีอโยธยา ๑ พระญาณสิทธิอยู่วัดสังฆวาส ๑ พระอนุรุทธอยู่วัดท่าทราย ๑ พระโชติบาลอยู่วัดรากแค ๑ พระศรีสัจญาณมุนีอยู่วัดพระยาแมน ๑ พระธรรมวิโรจน์อยู่วัดกระษัตราวาส ๑ พระอภัยสารทอยู่วัดป่าใน ๑ พระอภัยสารอยู่วัดป่าฝ้าย ๑ พระญาณรักขิตรอยู่วัดสังกะทา ๑ พระไตรสะระณะธัชอยู่วัดตองปุ ๑ รวม ๑๗ ขึ้นคณะซ้าย

เจ้าคณะซ้ายมีเมืองฝ่ายเหนือขึ้น ๔๙ เมือง ตามพระวัดฝ่ายเหนือนั้น คือ เมืองธนบุรี ๑ เมืองนนทบุรี ๑ เมืองสามโคก คือ เมืองบัวทอง ๑ เมืองวิเศษไชยชาญ คือ เมืองอ่างทอง ๑ เมืองลพบุรี ๑ เมืองพรหมบุรี ๑ เมืองอินทบุรี ๑ เมืองสิงห์บุรี ๑ เมืองสรรค์บุรี ๑ เมืองชัยนาท ๑ เมืองอุทัยธานี ๑ เมืองมโนรมย์ ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ เมืองนครชุม ๑ เมืองบัวชุม ๑ เมืองกำพราน ๑ เมืองไชยบาดาล ๑ เมืองสระบุรี ๑ เมืองท่าโรง ๑ เมืองนครราชสีมา ๑ เมืองนางรอง ๑ เมืองพิมาย ๑ เมืองศรีเทพ ๑ เมืองเพชร์บูรณ์ ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองหล่ม ๑ เมืองนครไทย ๑ เมืองษารการ ๑ เมืองพิษณุโลก ๑ เมืองพิชัย ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองบางโพ ๑ เมืองทุ่งยั้ง ๑ เมืองสวางคบุรี ๑ เมืองลับแล ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองระแหง ๑ เมืองตาก ๑ เมืองเชียงทอง ๑ เมืองเชียงเงิน ๑ เมืองเกิน ๑ เมืองจอมทอง ๑ เมืองนครลำปาง ๑ เมืองนครลำพูนไชย ๑ เมืองนครเชียงใหม่ ๑ เมืองหอก ๑ เมืองแพร่ ๑ เมืองน่าน ๑ รวม ๔๙ เมืองขึ้นคณะซ้าย ตำแหน่งยศพระสงฆ์ราชาคณะพระครูฐานานุกรม จำได้เท่านี้

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ