ตำนานภาษีซุง
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท ไม้ขอนสักนั้นเดิมเปนพนักงานกรมพระคลังในขวา ได้จ่ายจัดซื้อตามช่วงที่ราษฎรซื้อขายครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพนักงานหาไม้จ่ายไม่ทันพระราชประสงค์ จึงโปรดเกล้า ฯ สั่งเจ้าพระยาบดินทรเดชาให้ตั้งเจ้าภาษีเก็บภาษีจัดซื้อไม้ขอนสักส่ง เจ้าพระยาบดินทรเดชากราบทูลให้พระยาศรีสหเทพ เพ็ง เปนเจ้าภาษี เก็บภาษีไม้ขอนสักกับราษฎรผูกช่วงมาซื้อขาย ๑๐ ชัก ๒ พระยาศรีสหเทพตั้งให้นายเข็มเปนที่ขุนจำเริญสมบัติ ขึ้นไปเก็บภาษีอยู่ณเมืองไชยนาท เงินภาษีปีหนึ่งทั้งวังหลวงวังหน้าเปนเงิน ๒๐๐ ชั่ง ถ้าไม้จ่ายราชการไม่พอก็ให้เจ้าภาษีซื้อส่ง แล้วเบิกเงินหลวงให้กับเจ้าภาษีราคา ๒ พิกัด พระยาศรีสหเทพทำภาษีไม้ขอนสักมาได้ประมาณ ๒ ปีหรือ ๓ ปี จีนหงผู้เปนที่พระศรีชัยบานยื่นเรื่องราวประมูลเงินขึ้นอีก เจ้าพระยาบดินทรเดชาตัดสินให้พระยาศรีสหเทพรับประมูลทำทูลเกล้า ฯ ถวาย รวมเงินภาษีไม้ขอนสักปีหนึ่ง เงิน ๒๓๑ ชั่ง ๓ ตำลึง ๑ บาท พระยาศรีสหเทพทำมาจนถึงแก่กรรม โปรดเกล้า ฯ ให้หลวงเสนาภักดี พึ่ง ผู้บุตรพระยาศรีสหเทพทำต่อมาก็ซ้ำไม้เบิกทำการไม่ใคร่จะได้ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยามหาเทพรับทำภาษีต่อมา พระยามหาเทพตั้งให้พระสรรค์เดี๋ยวนี้เปนที่ขุนบำรุงสมบัติขึ้นไปเก็บภาษีณเมืองไชยนาท ทำภาษีเดือน ๑๒ ขึ้น ค่ำ ๑ ปีมะแมนพศก ถึงเดือน ๔ พระยามหาเทพถูกปืนถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์รับทำภาษีต่อมา เจ้าพระยานิกรบดินทร์ตั้งให้หลวงวัฒนสมบัติเดี๋ยวนี้เปนที่ขุนจำเริญสมบัติเก็บภาษีณเมืองไชยนาท เจ้าพระยานิกรบดินทร์ป่วยโปรดให้พระยาราชวรานุกูลทุกวันนี้ยังเปนพระนายศรีสรรักษ์
-
๑. คือเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) ในรัชกาลที่ ๕ เปนบุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ↩