ตำนานอากรสวนใหญ่

หนังสือเจ้าพระยาจักรี มาถึงเจ้าเมืองกรมการ

ด้วยท่านอัคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ๆ ปรึกษาพร้อมกันกราบบังคมทูลพระกรุณา แก่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมราชาธิราชบรมนาถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าแต่ก่อนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแผ่นดินซึ่งล่วงแล้วมา เมื่อเสด็จขึ้นถวัลยราชาภิเษก เสวยสิริราชสมบัติ ครอบครองพระราชอาณาจักรอันนี้ได้ ๓ ปีแล้ว เคยโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งข้าหลวงออกไปรังวัดสวน ตรวจนับต้นไม้ มีผลในสวนของราษฎรจังหวัดกรุงเทพพระนครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยา แลเมืองนนทบุรี เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทปราการ เมืองนครไชยศรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองสาครบุรี เมืองสมุทสงคราม เมืองราชบุรี เมืองเพ็ชรบุรีทำหน้าโฉนดเสียใหม่ เรียกเงินอากรส่งเข้ายังพระคลังมหาสมบัติตามหน้าโฉนดใหม่นั้นเปนราชประเพณีมีมา ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐเสด็จเถลิงถวัลยราชบรมราชาภิเษกสำเร็จบรมราไชศวรยาธิปัติ ครอบครองพระราชอาณาจักรมาถึงปีที่ ๓ ในปีฉลูเบญจศกนี้ เปนกาลอันควรจะแต่งข้าหลวงออกเดินสวนทำหน้าโฉนดใหม่ตามโบราณราชประเพณีนั้น การอันนี้สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรด ฯ

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ดำรัสว่า การ ๒ อย่าง คือการสักเลขหมายหมู่ทำทะเบียนหางว่าวไว้ แล้วเกณฑ์ข้าราชการตามจำนวนหางว่าวอันนั้นไปหลายปี แล้วหักหนีตายเปนแต่คราว ๆ นาน ๆ นั้นอย่างหนึ่ง การเดินสวนเดินนานับต้นไม้ มีผลแลกระทงนาให้แน่นอนแล้ว ทำหน้าโฉนดตราแดงให้ไว้แก่เจ้าของสวนเจ้าของนา แล้วเก็บอากรสวนแลหางเข้าค่านา ตามจำนวนหน้าโฉนดตราแดงฉบับหนึ่งนั้นไปหลายปี จึงเดินสวนเดินนาใหม่ต่อกาลนาน ๆ นั้นอย่างหนึ่ง เห็นจะเปนการบังเกิดเปนอย่างธรรมเนียมมาแต่พระราชบัญญัติของพระมหากษัตริย์พระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ที่ทรงพระสติปรีชาปัญญา แลข้าราชการที่ปรึกษาอันเปนปราชญ์ฉลาดในการที่จะทำนุบำรุงแผ่นดินให้เจริญเรียบร้อยง่ายสดวก แลการสักเลขหมายหมู่มีทะเบียนหางว่าวตัวเลขตายหนีชราพิการหรือบวชเปนภิกษุ เจ้าพนักงานยังไม่หักบาญชีจำหน่าย ก็คงเกณฑ์ราชการอยู่เสมอตามทะเบียนเดิมที่ลูกหมู่รุ่นฉกรรจ์ขึ้นก็มีมาก เจ้าหมู่ยังไม่ได้นำเข้ามาสักคงเหลืออยู่โดยมาก แลนาของราษฎรที่เปนนาคู่โค ข้าหลวงรังวัดแล้วทำตราแดงให้ไว้แก่เจ้าของนาเปนสำคัญ เข้าของนาจะได้ทำแลมิได้ทำก็ดี มีอย่างธรรมเนียมว่าเมื่อถึงปีข้าหลวงเสนาก็คงเรียกหางเข้าค่านาเต็มตามตราแดงที่มีในบาญชี ที่เจ้าของนาเอาตราแดงไปเวรส่งแก่กำนันนายอำเภอแล้ว หรืออพยพทิ้งนาให้ร้างไว้ ถึงภายหลังลางแห่งจะแต่งอุบายให้ญาติพี่น้องเข้าทำในที่นาเวร ข้าหลวงเสนาก็ได้เรียกค่านาแต่ที่ทำได้ หรือแต่ตามตราแดงบาญชีตั้งคง ค่านาตกขาดจากภูมตราแดงโดยมาก

แลสวนของราษฎรนั้นเล่า ลางสวนต้นผลไม้หักโค่นตายเสีย เจ้าของสวนเกียจคร้านหาปลูกซ่อมแซมเพิ่มเติมขึ้นไม่ เจ้าพนักงานก็คงเรียกอากรเต็มหน้าโฉนด ที่ปลูกต้นผลไม้ขึ้นใหม่กว่าหน้าโฉนดเดิมก็มิได้บวกเงินอากรขึ้น การทั้งนี้ที่แท้ก็ควรจะให้เจ้าพนักงานชำระบาญชีไล่ตัวเลขลูกหมู่เข้ามาสักแลหักบาญชีจำหน่ายแล้ว จึงเกณฑ์ข้าราชการตามตัวเลขที่มีตัวจริงทุกคราวเกณฑ์ แลแต่งข้าหลวงออกรังวัดนาเดินสวนของราษฎรให้เสมอทุกปีทุกคราวเก็บอากรสวนแลหางเข้าค่านานั้นจึงจะชอบเปนการเสมอทั่วหน้า แต่ถ้าทำอย่างนั้นก็จะเปนการฟั่นเฝือจะต้องชำระบาญชีเก่าใหม่ซับซ้อนทบทวนมา เมื่อบ้านเมืองมีราชการทัพศึกหรือราชการอื่นใหญ่ ๆ สิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น ก็จะค้างเดินไม่เรียบร้อยง่ายสดวก จะลำบากแก่เจ้าพนักงานนัก จึงมีธรรมเนียมใช้แต่การที่ใกล้ต่อความเสมอสมานดังนั้น แต่ครั้นถ้าการชำระเลขแลเดินนาเดินสวนใหม่นั้นงดเสีย นานไปการที่ใกล้ต่อที่จริงที่เสมอนั้นจะห่างจะไกลไปทุกปี บัดนี้การสักเลขลูกหมู่ฉกรรจ์ขึ้นใหม่ กับชำระตัวเลขที่จะต้องหักบาญชีจำหน่ายนั้น กรมพระสัสดีก็ได้ตั้งการดัดแปลงแลชำระอยู่แล้ว แลการเดินนาเดินสวนนั้นก็ควรให้เปนไปใกล้ความเสมอดุจการสักเลขเหมือนกัน เจ้าของนาเจ้าของสวนจะได้มีความอุตสาหะปลูกต้นไม้มีผลทำไร่นาให้มากขึ้น เปนประโยชน์แก่บ้านเมืองแลเปนคุณแก่แผ่นดิน แลเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีฉลูเอกศก (พ.ศ. ๒๓๗๒) โปรดเกล้า ฯ ให้ข้าหลวงออกเดินสวนครั้งหนึ่ง ครั้นณปีเถาะตรีศก (พ.ศ. ๒๓๗๔). น้ำมากท่วมต้นผลไม้ตายเสียมาก ได้ทรงพระกรุณาแก่ราษฎรเจ้าของสวนจะไม่ให้ได้ความเดือดร้อน ณปีมะโรงจัตวาศก (พ.ศ. ๒๓๗๕) จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เดินสวนอีกครั้งหนึ่ง แต่ปีมะโรงจัตวาศกมานั้นได้ ๒๐ ปีล่วงไปแล้ว ซึ่งเสนาบดีผู้ใหญ่ ๆ ปรึกษาพร้อมกันเห็นว่ากาลนานมา จะขอให้แต่งข้าหลวงออกเดินสวนในปีฉลูเบญจศก (พ.ศ. ๒๓๙๖) นี้นั้นก็ชอบด้วยราชการอยู่แล้ว แต่ซึ่งจะถือเอาเปนธรรมเนียมว่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ได้ ๓ ปีแล้ว จึงให้เดินสวนเดินนาแลชำระสักเลขนั้นไม่ควร เมื่อเหตุมีขึ้นหรือช้านานไปหลายปีแล้ว ก็ควรจะต้องจัดแจงการเสียใหม่ให้ใกล้จริงแลเสมอเข้าครั้งนี้

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาราชภักดีศรีรัตนราชสมบัติพิริยพาหะ กับพระยาพิพิธโภโคศวรรย์ จมื่นศรีสรรักษ์หัวหมื่นมหาดเล็ก เปนแม่กองใหญ่ชำระความ แลชำระบาญชีต้นไม้ มีผลควรตรงอากรให้เเน่นอน แล้วทำหน้าโฉนดเจกให้แก่ราษฎรเจ้าของสวนแขวงกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร แลหัวเมือง อย่าให้เกิดวิวาทแก่กันขึ้นได้ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งข้าหลวงเดินสวนแขวงกรุงเทพมหานคร แลเมืองนนทบุรี เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทปราการ

ฝั่งเหนือข้าหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระยาศรีหราชเดโชไชย อภัยพิริยปรากรมพาหุ แม่กอง ๑ พระยาราชสงครามจางวางทหารในขวา ๑ พระยาสมบัติยาภิบาลเจ้ากรมพระคลังในขวา ๑ หลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก ๑ หลวงอภิบาลภูวนาถเจ้ากรมรักษาพระองค์ขวา ๑ จมื่นมหาสนิทปลัดกรมพลพันขวา ๑ รวม ๖ พระบวรราชวังนั้น พระยาประเสริฐสาตรธำรงจางวางกรมหมอ ๑ หลวงรัตนรักษาเจ้ากรมแสงในซ้าย ๑ รวม ๒ รวมฝั่งเหนือ ๘

ฝั่งใต้ข้าหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระยาเพ็ชรพิไชยจางวาง ล้อมพระบรมมหาราชวังแม่กอง ๑ พระยาสามภพพ่ายจางวางกรมทหารในซ้าย ๑ พระยากาญจนานุกิจ ๑ จมื่นสรรเพธภักดีหัวหมื่นมหาดเล็ก ๑ จมื่นจงรักษาองค์เจ้ากรมพระตำรวจวังซ้าย ๑ หลวงวิจารณ์ราชารักษ์ ปลัดจางวางรักษาพระองค์ ๑ รวม ๖ พระบวรราชวัง พระยาวิเศษศักดา จางวางทหารปืนใหญ่ ๑ พระจำนงสรไกรปลัดจางวางเกณฑ์หัดปืนแดง ๑ รวม ๒ รวมฝั่งใต้ ๘

เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองสมุทสงคราม เมืองนครไชยศรี เมืองสาครบุรี ข้าหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระเทพาธิบดี เจ้ากรมพระสัสดีซ้าย ๑ พระจันทราทิตย์เจ้ากรมสนมพลเรือนขวา ๑ จมื่นราชาบาลปลัดกรมพระตำรวจนอกซ้าย ๑ หลวงมไหศวรรย์ ๑ หลวงสุวรรณภักดี ๑ หมื่นเสพสวัสดิ์ปลัดกรม ๑ ข้าหลวงในพระบวรราชวัง พระยาอร่ามมณเฑียรจางวางทหารใน ๑ พระฤทธิเดชะเจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย ๑ รวม ๘ รวมทั้งสิ้น ๒๔ นาย แลสวนเมืองฉะเชิงเทรานั้น เดินสวนแขวงกรุงเทพ ฯ เสร็จแล้วจึงให้ข้าหลวง ๘ นายฝั่งเหนือออกไปเดินสวนแขวงเมืองฉะเชิงเทราต่อไป เหมือนอย่างกรุงเทพ ฯ ให้ข้าหลวงมีชื่อแต่งทนายนายละ ๘ คนกำกับกัน ให้นายระวางนำไปรังวัดสวนนับต้นผลไม้ของราษฎรให้สิ้นเชิงจงทุกสวน อย่าให้หลงเหลือเบียดบังไว้ได้เปนอันขาด

แลต้นผลไม้ มีอากร หมาก มะพร้าว พลู มะม่วง มะปราง ทุเรียน มังคุด ลางสาด ๘ สิ่งนี้ หมากเอกสูง ๓ วา ๔ วาเรียกต้นละ ๕๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๓ สลึง ๒๐๐ เบี้ย หมากโทสูง ๕ วา ๖ วาเรียกต้นละ ๔๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟื้อง หมากตรีสูง ๗ วา ๘ วาเรียกต้นละ ๓๐ เบี้ย ๑๐๐ ละสลึงเฟื้อง ๖๐๐ เบี้ย หมากผการายออกดอกประปรายให้เรียกเท่าโทต้นละ ๔๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟื้อง หมาก ๔ รายนี้มีหมากกรอกต้นละ ๑๓ ผล

มะพร้าวเล็กตั้งปล้องสูงศอกหนึ่งขึ้นไป ให้เรียกเท่าเอกต้นละ ๕๐ เบี้ย ปีขาลฉอศกจงจะเรียกเงินอากร แต่หมากกรอกนั้นยังไม่เรียก ต้นสูงคอดคอเรีบวชายเอนให้ยกอากรเสีย สูง ๘ ศอกขึ้นไปเอาเปนใหญ่เรียกต้นละ ๑๐๐ เบี้ย ๘ ต้นเฟื้อง ๑ มีน้ำมันเฉลี่ย ตั้งปล้องสูงศอกหนึ่งขึ้นไปถึง ๗ ศอกเอาเปนปีขาลฉศก จึงเรียกเงินอากรแต่น้ำมันเฉลี่ยนั้นยังไม่เรียก สูงคอดคอเรียวให้ยกเสีย แต่มะพร้าวมูลสีนาฬิเกหงสิบบาทสำหรับของทูลเกล้า ฯ ถวาย แลของกำนันให้ยกอากรเสีย

พลูค้างทองหลางสูง ๗ ศอก ๘ ศอกขึ้นไปให้เอาเปนใหญ่ ๔ ค้างเฟื้อง ๑ ร้อยละ ๓ บาทเฟื้อง สูง ๕ ศอก ๖ ศอกเอาเปนเล็ก ปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

ทุเรียน มะม่วง วัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูง ๓ ศอกยืนขึ้นไปเพียงตาโอบรอบ ๓ กำเอาเปนใหญ่ ทุเรียนต้นละ ๑ บาท มะม่วงต้นละเฟื้อง ใหญ่รอบไม่ถึง ๓ กำลงมาจนถึง ๒ กำเอาเปนเล็ก ปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

มังคุด ลางสาด วัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูงศอกคืบนั่งยองเพียงตาโอบรอบ ๒ กำเอาเปนใหญ่ เรียกต้นละเฟื้อง ใหญ่รอบไม่ถึง ๒ กำลงมาจนกำหนึ่งเอาเปนเล็กปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

มะปราง วัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูง ๓ ศอกยืนเพียงตา โอบรอบ ๓ กำเอาเปนใหญ่ ๒ ต้นเฟื้อง โอบรอบ ๒ กำเอาเปนเล็กปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

แต่ส้มโอ ส้มแก้ว ส้มเกลี้ยง ส้มเทพรส ส้มมะแป้น ส้มจุก ส้มเปลือกบาง ๗ สิ่งนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้ยกไม่ให้เรียกอากร แลต้นทุเรียน มะม่วง มังคุด ลางสาด มะปราง ๕ สิ่งนี้ ถ้าต้นเปนโพรงยอดตายมีแต่กิ่ง ๑ สองกิ่งให้ตั้งเปนโคนหาอากรมิได้ ถ้าโคนต้น ๒ ต้น ๓ ต้นเคียงชิดกันให้เอาแต่ต้นหนึ่ง ถ้าห่างกันตัวโคลอดได้ให้เรียกเรียงต้น ถ้าแลสวนผู้จับทำสร้างขึ้นใหม่ หาต้นผลไม้มิได้ก็ดี แลต้นไม้เก่ามีอยู่อากรต่ำกว่าเดิมจอง ให้เรียกแต่ปีเดิมจองเปนหลวง ปีละสลึง ๖๐๐ เบี้ย ให้หน้าโฉนดตราแดงไว้

อนึ่งราษฎรรู้ว่าข้าหลวงจะเดินสวน แลราษฎรยังอาจลักตัดต้นผลไม้มีอากร ซึ่งนายระวางประกาศห้ามแล้วให้ขาดอากรของหลวงไปให้ปรับไหมอากรต้นหนึ่งเปน ๓ ต้น สักหลังไว้ในโฉนดเปนไหมโทษ แล้วอย่าให้หักสิบลดให้กับราษฎรผู้กระทำผิดนั้นเลย ให้ผูกอากรกับไม้ใหญ่สืบไปอย่าให้ดูเยี่ยงอย่างกัน แล้วห้ามอย่าให้เรียกเอาค่าฤชาตลาการแก่ราษฎรผู้ลักตัดต้นผลไม้นั้นเลย

แลห้ามอย่าให้ข้าหลวงกองเดินเอาเนื้อความแฝงอาญาอุทธรณ์นครบาลซึ่งเปนสินไหมพินัย ไว้พิจารณาว่ากล่าวเปนอันขาดทีเดียว

แลให้ข้าหลวงลงเส้นเชือกรังวัดสวนของราษฎร ให้รู้ว่ากว้างยาวลงไว้ในหน้าโฉนดจงทุกสวน

แลเมื่อแรกวันจะลงมือรังวัดสวน ให้ราษฎรทำบายศรีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่สำรับหนึ่ง กรุงพาลีสำรับหนึ่ง ศีร์ษะสุกรคู่หนึ่งราคา ๕ สลึง เสื่ออ่อนผืนหนึ่งราคาเฟื้องหนึ่ง ผ้าขาวผืนหนึ่งราคาเฟื้องหนึ่ง รองเชือกรังวัดขันล้างหน้าใบหนึ่งราคาเฟื้องหนึ่งสำหรับเสกน้ำประพรมที่สวน ค่าเสกน้ำเฟื้องหนึ่ง ค่ารังวัดหัวเชือกสลึง หางเชือกเฟื้อง รวม ๒ บาทสลึงเฟื้อง แต่แรกลงมือแขวงกรุงเทพฯ สวนหนึ่ง เมืองนนทบุรีสวนหนึ่ง แลเมืองนครเขื่อนขันธ์สวนหนึ่ง เมืองสมุทปราการสวนหนึ่ง เมืองนครไชยศรีสวนหนึ่ง เมืองสาครบุรีสวนหนึ่ง เมืองฉะเชิงเทราสวนหนึ่ง เมืองเพ็ชรบุรีสวนหนึ่ง เมืองราชบุรีสวนหนึ่ง เมืองสมุทสงครามสวนหนึ่งแต่เท่านี้

แลเงินของซึ่งราษฎรเสียไปกับข้าหลวงนั้น ให้นายระวางหักเงินอากรของหลวง ซึ่งจะเรียกในสวนนั้นหักให้แก่ราษฎรผู้เสียของแลเงิน คิดเบ็ดเสร็จเงิน ๒ บาทสลึงเฟื้องนั้นแต่ปีเดียว

ถ้าข้าหลวงนับได้ไม้ใหญ่ไม้เล็ก สวนพระคลังสวนวัดได้เท่าใด ให้แม่กองเดินผู้ใหญ่เขียนหน้าโฉนดป่าปิดตราประจำต้นผลไม้ให้ไว้เปนคู่มือของราษฎรจงทุกสวน อย่าให้เรียกเงินค่าโฉนดป่าแก่ราษฎร ให้เรียกแต่มะพร้าว ๒ คู่ พลู ๒ กลุ่ม หมากทลาย ๑ คิดเปนเงินสลึงเฟื้องเปนหัวมือจงทุกสวน แล้วให้ราษฎรเจ้าของสวนแลนายระวางเอาโฉนดมาส่งแก่แม่กองให้ผู้ชำระ จะได้สอบสวนจำนวนต้นผลไม้ให้ถูกตามบาญชี จะได้ทำโฉนดใหญ่ปิดตราให้ไว้กับเจ้าของสวนเปนสำคัญ

แต่ก่อนนั้นข้าหลวงได้เดินสวน ๕ ครั้งแล้ว แลเมื่อข้าหลวงเดินสวนนั้นเปนสวนของผู้ใด ให้ราษฎรเจ้าของสวนคิดให้เงินค่าหัวมือสวนละสลึงเฟื้อง เบี้ยเลี้ยงสวนละ ๒ สลึง สวนหนึ่งเปนเงิน ๓ สลึงเฟื้องได้แก่ข้าหลวงนั้น ให้ข้าหลวงเดินสวนทำตามข้าหลวงเดินสวนมาแต่ก่อน

ครั้นถึงวันพระ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ให้ข้าหลวงมีชื่อกองเดินเอาบาญชีเดินทุ่งมาส่งให้กองบาญชี แล้วให้กองเดินกองบาญชีแลทนายผู้นับต้นผลไม้พร้อมด้วยแม่กองใหญ่ เข้าไปณอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สาบาลตัวฉะเพาะพระพักตรพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต แลพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่าจะนับต้นผลไม้ของราษฎรแลบาญชีแต่ตามสัจตามจริง อย่าให้เอาของหลวงเปนของราษฎร ๆ มาเปนของหลวงมากเปนน้อย ๆ เปนมาก ไม้ใหญ่ว่าเล็ก ๆ ว่าใหญ่ และเบียดบังเอาสินจ้างสินบลเปนอาณาประโยชน์ตนเปนอันขาดทีเดียว

แลให้กองบาญชีคิดอากรไม้ใหญ่แลหมากกรอกซึ่งมากขึ้นกว่าเดิม ให้นายระวางเรียกเงินอากรค่าหมากกรอกซึ่งขึ้นใหม่ในจำนวนปีฉลูเบญจศกส่งเข้ายังพระคลังมหาสมบัติ ถ้าต่นผลไม้ชำรุดต่ำลงกว่าเดิมให้หักเงินอากรแลหมากกรอกลงเสีย ยังคงไม้ใหญ่แลไม้เล็กเท่าใด หักสิบลดหนึ่งพระราชทานให้แก่ราษฎรเจ้าของสวน คงนายระวางเรียกอากรไม้ใหญ่ไม้เล็กหมากกรอกได้เท่าไร ให้นายระวางเรียกส่งพระคลังสวน ๆ ส่งเข้าไปยังพระคลังมหาสมบัติ จำนวนปีขาลฉศกตามหน้าโฉนดสืบไป

ให้กองบาญชีเขียนโฉนดขึ้นกระดาษรายต้นผลไม้ จำนวนเงินเปนอักษร อย่าให้บุบฉลายปิดตราข้าหลวง ๘ นายไว้จงทุกสวน ครั้นเดินสวนเสร็จแล้ว ให้ราษฎรเอาโฉนดป่ามาสอบทานกับโฉนดใหญ่ต้องกันแล้ว ให้กองบาญชีเอาโฉนดป่าเก็บไว้ส่งโฉนดใหญ่ให้แก่ราษฎร แล้วให้นายระวางเรียกเงินค่าโฉนดไว้ใบละ ๑ บาท ๒ สลึงจงทุกสวนแต่ปีเดียว แลเงิน ๑ บาท ๒ สลึงนั้นให้แก่นายระวางเปนค่าสมุด ค่ากระดาษ ค่าดินสอสำหรับทำบาญชีในการเดินสวน ๑ สลึง ให้แก่ผู้ทำบาญชีคู่โฉนด ๑ เฟื้อง ให้แก่ผู้เขียนโฉนดเฟื้อง ๑ ยกเปนค่าตรา ๑ บาท แล้วให้กองบาญชีทำบาญชีจำนวนสวนจำนวนไม้ จำนวนเงิน จำนวนหมากกรอกยื่นให้แม่กองใหญ่ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา แล้วให้เจ้าพนักงานรักษาไว้ในพระคลังมหาสมบัติ

อนึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ไม้ ๓ จำพวกคือไม้มะเกลือ เปนไม้ดำ ๑ ไม้ลมุดสีดาเปนไม้แดงเนื้อละเอียด ๑ ไม้จันทน์เปนไม้ขาวเนื้อเลอียด ๑ ไม้ ๓ จำพวกนิ้ถึงมีผลราษฎรซื้อขายกันได้บ้าง ก็ไม่ได้เรียกอากรมาแต่ก่อน ครั้งนี้ต้องพระราชประสงค์จะใคร่ทรงทราบจำนวนไว้ แลเมื่อต้นหักโค่นประการใดจะต้องพระราชประสงค์แก่นมาเลื่อยจักตัดออกใช้ราชการ เพราะดังนั้นเดินสวนครั้งนี้ให้ข้าหลวงแลเจ้าพนักงานนับไม้ ๓ จำพวกคือ ไม้มะเกลือ ไม้ลมุด ไม้จันทน์ ให้รู้จำนวนตามเล็กแลใหญ่ใส่หน้าโฉนดไว้แต่อย่าให้เรียกเอาค่าธรรมเนียมเมื่อนับแลทำบาญชีต้นไม้ ๓ อย่างนี้เปนอันขาดทีเดียว เปนแต่ให้ประกาศมอบหมายแก่เจ้าของสวน แลผู้รับหน้าโฉนดไว้ว่า ถ้าต้นมะเกลือแลต้นลมุดต้นจันทน์ที่มีแก่นแล้วจะล้มซวนเอง หรือคร่ำคร่าเจ้าของจะใคร่ฟันเสียก็ให้มาบอกแก่เจ้าจำนวนก่อนแล้วจึงตัดฟัน แล้วนำเอาลำไม้มีแก่นมามอบให้เจ้าจำนวนนำมาทูลเกล้า ฯ ถวาย จะพระราชทานราคาให้ตามราคาไม้แก่นเสงเพรงโดยสมควรราชการ แล้วมอบไม้ให้รักษาไว้ในพระคลังในขวาสำหรับใช้ ถ้าเจ้าต่างกรมยังไม่มีกรมแลขุนนางเจ้าขุนมุลนายของชาวสวน จะใคร่ตัดเอาไม้ ๓ อย่างนี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งไปใช้ราชการ ถ้าเจ้าของสวนจะยอมให้ตัดก็ให้ตัดแล้วเอามามอบแก่เจ้าพนักงานก่อนแล้วจึงมารับไป เมื่อเจ้าพนักงานได้รู้เห็นด้วยดังนี้แล้ว ก็ให้สลักหลังหน้าโฉนดลดบาญชีลง แต่ต้นเล็กน้อยยังไม่มีแก่นนั้น ถ้าล้มตายก็ให้เจ้าของปลูกซ่อมแซมขึ้นใหม่ล่วงหน้า ๑๐ ปีหรือ ๒๐ ปีจะบวกเปนไม้ใหญ่

ห้ามอย่าให้ข้าหลวงมีชื่อเสมียนทนายบ่าวไพร่ซึ่งไปด้วยกันนั้นทำข่มเหงแก่ราษฎรชาวสวน ขึ้นเก็บเอาผลไม้แลสิ่งของในสวนแลเครื่องอัญมณีต่าง ๆ กระทำให้ราษฎรได้ความยากแค้นเดือดร้อนแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปนอันขาดทีเดียว ถ้าผู้ใดมิฟังกระทำให้ผิดด้วยพระราชบัญญัตนี้ มีผู้มาร้องฟ้องว่ากล่าวพิจารณาเปนสัจ จะเอานายแลไพร่ผู้กระทำผิดเปนโทษโดยโทษานุโทษ แลให้ข้าหลวง เจ้าเมือง กรมการ ทำตามท้องตราแลรับสั่งมานี้จงทุกประการ

หนังสือมาณวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก (พ.ศ. ๒๓๙๖)

----------------------------

หนังสือเจ้าพระยาจักรี มาถึงเจ้าเมืองกรมการ

ด้วยท่านอัคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ๆ ปรึกษาพร้อมกันกราบบังคมทูลพระกรุณา แก่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมราชาธิราชบรมนาถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าแต่ก่อนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแผ่นดินซึ่งล่วงแล้วมา เมื่อเสด็จขึ้นถวัลยราชาภิเษก เสวยสิริราชสมบัติ ครอบครองพระราชอาณาจักรอันนี้ได้ ๓ ปีแล้ว เคยโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งข้าหลวงออกไปรังวัดสวน ตรวจนับต้นไม้ มีผลในสวนของราษฎรจังหวัดกรุงเทพพระนครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยา แลเมืองนนทบุรี เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทปราการ เมืองนครไชยศรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองสาครบุรี เมืองสมุทสงคราม เมืองราชบุรี เมืองเพ็ชรบุรีทำหน้าโฉนดเสียใหม่ เรียกเงินอากรส่งเข้ายังพระคลังมหาสมบัติตามหน้าโฉนดใหม่นั้นเปนราชประเพณีมีมา ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐเสด็จเถลิงถวัลยราชบรมราชาภิเษกสำเร็จบรมราไชศวรยาธิปัติ ครอบครองพระราชอาณาจักรมาถึงปีที่ ๓ ในปีฉลูเบญจศกนี้ เปนกาลอันควรจะแต่งข้าหลวงออกเดินสวนทำหน้าโฉนดใหม่ตามโบราณราชประเพณีนั้น การอันนี้สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรด ฯ

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ดำรัสว่า การ ๒ อย่าง คือการสักเลขหมายหมู่ทำทะเบียนหางว่าวไว้ แล้วเกณฑ์ข้าราชการตามจำนวนหางว่าวอันนั้นไปหลายปี แล้วหักหนีตายเปนแต่คราว ๆ นาน ๆ นั้นอย่างหนึ่ง การเดินสวนเดินนานับต้นไม้ มีผลแลกระทงนาให้แน่นอนแล้ว ทำหน้าโฉนดตราแดงให้ไว้แก่เจ้าของสวนเจ้าของนา แล้วเก็บอากรสวนแลหางเข้าค่านา ตามจำนวนหน้าโฉนดตราแดงฉบับหนึ่งนั้นไปหลายปี จึงเดินสวนเดินนาใหม่ต่อกาลนาน ๆ นั้นอย่างหนึ่ง เห็นจะเปนการบังเกิดเปนอย่างธรรมเนียมมาแต่พระราชบัญญัติของพระมหากษัตริย์พระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ที่ทรงพระสติปรีชาปัญญา แลข้าราชการที่ปรึกษาอันเปนปราชญ์ฉลาดในการที่จะทำนุบำรุงแผ่นดินให้เจริญเรียบร้อยง่ายสดวก แลการสักเลขหมายหมู่มีทะเบียนหางว่าวตัวเลขตายหนีชราพิการหรือบวชเปนภิกษุ เจ้าพนักงานยังไม่หักบาญชีจำหน่าย ก็คงเกณฑ์ราชการอยู่เสมอตามทะเบียนเดิมที่ลูกหมู่รุ่นฉกรรจ์ขึ้นก็มีมาก เจ้าหมู่ยังไม่ได้นำเข้ามาสักคงเหลืออยู่โดยมาก แลนาของราษฎรที่เปนนาคู่โค ข้าหลวงรังวัดแล้วทำตราแดงให้ไว้แก่เจ้าของนาเปนสำคัญ เข้าของนาจะได้ทำแลมิได้ทำก็ดี มีอย่างธรรมเนียมว่าเมื่อถึงปีข้าหลวงเสนาก็คงเรียกหางเข้าค่านาเต็มตามตราแดงที่มีในบาญชี ที่เจ้าของนาเอาตราแดงไปเวรส่งแก่กำนันนายอำเภอแล้ว หรืออพยพทิ้งนาให้ร้างไว้ ถึงภายหลังลางแห่งจะแต่งอุบายให้ญาติพี่น้องเข้าทำในที่นาเวร ข้าหลวงเสนาก็ได้เรียกค่านาแต่ที่ทำได้ หรือแต่ตามตราแดงบาญชีตั้งคง ค่านาตกขาดจากภูมตราแดงโดยมาก

แลสวนของราษฎรนั้นเล่า ลางสวนต้นผลไม้หักโค่นตายเสีย เจ้าของสวนเกียจคร้านหาปลูกซ่อมแซมเพิ่มเติมขึ้นไม่ เจ้าพนักงานก็คงเรียกอากรเต็มหน้าโฉนด ที่ปลูกต้นผลไม้ขึ้นใหม่กว่าหน้าโฉนดเดิมก็มิได้บวกเงินอากรขึ้น การทั้งนี้ที่แท้ก็ควรจะให้เจ้าพนักงานชำระบาญชีไล่ตัวเลขลูกหมู่เข้ามาสักแลหักบาญชีจำหน่ายแล้ว จึงเกณฑ์ข้าราชการตามตัวเลขที่มีตัวจริงทุกคราวเกณฑ์ แลแต่งข้าหลวงออกรังวัดนาเดินสวนของราษฎรให้เสมอทุกปีทุกคราวเก็บอากรสวนแลหางเข้าค่านานั้นจึงจะชอบเปนการเสมอทั่วหน้า แต่ถ้าทำอย่างนั้นก็จะเปนการฟั่นเฝือจะต้องชำระบาญชีเก่าใหม่ซับซ้อนทบทวนมา เมื่อบ้านเมืองมีราชการทัพศึกหรือราชการอื่นใหญ่ ๆ สิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น ก็จะค้างเดินไม่เรียบร้อยง่ายสดวก จะลำบากแก่เจ้าพนักงานนัก จึงมีธรรมเนียมใช้แต่การที่ใกล้ต่อความเสมอสมานดังนั้น แต่ครั้นถ้าการชำระเลขแลเดินนาเดินสวนใหม่นั้นงดเสีย นานไปการที่ใกล้ต่อที่จริงที่เสมอนั้นจะห่างจะไกลไปทุกปี บัดนี้การสักเลขลูกหมู่ฉกรรจ์ขึ้นใหม่ กับชำระตัวเลขที่จะต้องหักบาญชีจำหน่ายนั้น กรมพระสัสดีก็ได้ตั้งการดัดแปลงแลชำระอยู่แล้ว แลการเดินนาเดินสวนนั้นก็ควรให้เปนไปใกล้ความเสมอดุจการสักเลขเหมือนกัน เจ้าของนาเจ้าของสวนจะได้มีความอุตสาหะปลูกต้นไม้มีผลทำไร่นาให้มากขึ้น เปนประโยชน์แก่บ้านเมืองแลเปนคุณแก่แผ่นดิน แลเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีฉลูเอกศก (พ.ศ. ๒๓๗๒) โปรดเกล้า ฯ ให้ข้าหลวงออกเดินสวนครั้งหนึ่ง ครั้นณปีเถาะตรีศก (พ.ศ. ๒๓๗๔). น้ำมากท่วมต้นผลไม้ตายเสียมาก ได้ทรงพระกรุณาแก่ราษฎรเจ้าของสวนจะไม่ให้ได้ความเดือดร้อน ณปีมะโรงจัตวาศก (พ.ศ. ๒๓๗๕) จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เดินสวนอีกครั้งหนึ่ง แต่ปีมะโรงจัตวาศกมานั้นได้ ๒๐ ปีล่วงไปแล้ว ซึ่งเสนาบดีผู้ใหญ่ ๆ ปรึกษาพร้อมกันเห็นว่ากาลนานมา จะขอให้แต่งข้าหลวงออกเดินสวนในปีฉลูเบญจศก (พ.ศ. ๒๓๙๖) นี้นั้นก็ชอบด้วยราชการอยู่แล้ว แต่ซึ่งจะถือเอาเปนธรรมเนียมว่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ได้ ๓ ปีแล้ว จึงให้เดินสวนเดินนาแลชำระสักเลขนั้นไม่ควร เมื่อเหตุมีขึ้นหรือช้านานไปหลายปีแล้ว ก็ควรจะต้องจัดแจงการเสียใหม่ให้ใกล้จริงแลเสมอเข้าครั้งนี้

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาราชภักดีศรีรัตนราชสมบัติพิริยพาหะ กับพระยาพิพิธโภโคศวรรย์ จมื่นศรีสรรักษ์หัวหมื่นมหาดเล็ก เปนแม่กองใหญ่ชำระความ แลชำระบาญชีต้นไม้ มีผลควรตรงอากรให้เเน่นอน แล้วทำหน้าโฉนดเจกให้แก่ราษฎรเจ้าของสวนแขวงกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร แลหัวเมือง อย่าให้เกิดวิวาทแก่กันขึ้นได้ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งข้าหลวงเดินสวนแขวงกรุงเทพมหานคร แลเมืองนนทบุรี เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองสมุทปราการ

ฝั่งเหนือข้าหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระยาศรีหราชเดโชไชย อภัยพิริยปรากรมพาหุ แม่กอง ๑ พระยาราชสงครามจางวางทหารในขวา ๑ พระยาสมบัติยาภิบาลเจ้ากรมพระคลังในขวา ๑ หลวงศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก ๑ หลวงอภิบาลภูวนาถเจ้ากรมรักษาพระองค์ขวา ๑ จมื่นมหาสนิทปลัดกรมพลพันขวา ๑ รวม ๖ พระบวรราชวังนั้น พระยาประเสริฐสาตรธำรงจางวางกรมหมอ ๑ หลวงรัตนรักษาเจ้ากรมแสงในซ้าย ๑ รวม ๒ รวมฝั่งเหนือ ๘

ฝั่งใต้ข้าหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระยาเพ็ชรพิไชยจางวาง ล้อมพระบรมมหาราชวังแม่กอง ๑ พระยาสามภพพ่ายจางวางกรมทหารในซ้าย ๑ พระยากาญจนานุกิจ ๑ จมื่นสรรเพธภักดีหัวหมื่นมหาดเล็ก ๑ จมื่นจงรักษาองค์เจ้ากรมพระตำรวจวังซ้าย ๑ หลวงวิจารณ์ราชารักษ์ ปลัดจางวางรักษาพระองค์ ๑ รวม ๖ พระบวรราชวัง พระยาวิเศษศักดา จางวางทหารปืนใหญ่ ๑ พระจำนงสรไกรปลัดจางวางเกณฑ์หัดปืนแดง ๑ รวม ๒ รวมฝั่งใต้ ๘

เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองสมุทสงคราม เมืองนครไชยศรี เมืองสาครบุรี ข้าหลวงในพระบรมมหาราชวัง พระเทพาธิบดี เจ้ากรมพระสัสดีซ้าย ๑ พระจันทราทิตย์เจ้ากรมสนมพลเรือนขวา ๑ จมื่นราชาบาลปลัดกรมพระตำรวจนอกซ้าย ๑ หลวงมไหศวรรย์ ๑ หลวงสุวรรณภักดี ๑ หมื่นเสพสวัสดิ์ปลัดกรม ๑ ข้าหลวงในพระบวรราชวัง พระยาอร่ามมณเฑียรจางวางทหารใน ๑ พระฤทธิเดชะเจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย ๑ รวม ๘ รวมทั้งสิ้น ๒๔ นาย แลสวนเมืองฉะเชิงเทรานั้น เดินสวนแขวงกรุงเทพ ฯ เสร็จแล้วจึงให้ข้าหลวง ๘ นายฝั่งเหนือออกไปเดินสวนแขวงเมืองฉะเชิงเทราต่อไป เหมือนอย่างกรุงเทพ ฯ ให้ข้าหลวงมีชื่อแต่งทนายนายละ ๘ คนกำกับกัน ให้นายระวางนำไปรังวัดสวนนับต้นผลไม้ของราษฎรให้สิ้นเชิงจงทุกสวน อย่าให้หลงเหลือเบียดบังไว้ได้เปนอันขาด

แลต้นผลไม้ มีอากร หมาก มะพร้าว พลู มะม่วง มะปราง ทุเรียน มังคุด ลางสาด ๘ สิ่งนี้ หมากเอกสูง ๓ วา ๔ วาเรียกต้นละ ๕๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๓ สลึง ๒๐๐ เบี้ย หมากโทสูง ๕ วา ๖ วาเรียกต้นละ ๔๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟื้อง หมากตรีสูง ๗ วา ๘ วาเรียกต้นละ ๓๐ เบี้ย ๑๐๐ ละสลึงเฟื้อง ๖๐๐ เบี้ย หมากผการายออกดอกประปรายให้เรียกเท่าโทต้นละ ๔๐ เบี้ย ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟื้อง หมาก ๔ รายนี้มีหมากกรอกต้นละ ๑๓ ผล

มะพร้าวเล็กตั้งปล้องสูงศอกหนึ่งขึ้นไป ให้เรียกเท่าเอกต้นละ ๕๐ เบี้ย ปีขาลฉอศกจงจะเรียกเงินอากร แต่หมากกรอกนั้นยังไม่เรียก ต้นสูงคอดคอเรีบวชายเอนให้ยกอากรเสีย สูง ๘ ศอกขึ้นไปเอาเปนใหญ่เรียกต้นละ ๑๐๐ เบี้ย ๘ ต้นเฟื้อง ๑ มีน้ำมันเฉลี่ย ตั้งปล้องสูงศอกหนึ่งขึ้นไปถึง ๗ ศอกเอาเปนปีขาลฉศก จึงเรียกเงินอากรแต่น้ำมันเฉลี่ยนั้นยังไม่เรียก สูงคอดคอเรียวให้ยกเสีย แต่มะพร้าวมูลสีนาฬิเกหงสิบบาทสำหรับของทูลเกล้า ฯ ถวาย แลของกำนันให้ยกอากรเสีย

พลูค้างทองหลางสูง ๗ ศอก ๘ ศอกขึ้นไปให้เอาเปนใหญ่ ๔ ค้างเฟื้อง ๑ ร้อยละ ๓ บาทเฟื้อง สูง ๕ ศอก ๖ ศอกเอาเปนเล็ก ปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

ทุเรียน มะม่วง วัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูง ๓ ศอกยืนขึ้นไปเพียงตาโอบรอบ ๓ กำเอาเปนใหญ่ ทุเรียนต้นละ ๑ บาท มะม่วงต้นละเฟื้อง ใหญ่รอบไม่ถึง ๓ กำลงมาจนถึง ๒ กำเอาเปนเล็ก ปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

มังคุด ลางสาด วัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูงศอกคืบนั่งยองเพียงตาโอบรอบ ๒ กำเอาเปนใหญ่ เรียกต้นละเฟื้อง ใหญ่รอบไม่ถึง ๒ กำลงมาจนกำหนึ่งเอาเปนเล็กปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

มะปราง วัดแต่โคนต้นขึ้นไปสูง ๓ ศอกยืนเพียงตา โอบรอบ ๓ กำเอาเปนใหญ่ ๒ ต้นเฟื้อง โอบรอบ ๒ กำเอาเปนเล็กปีขาลฉศกจึงจะเรียกเงินอากร

แต่ส้มโอ ส้มแก้ว ส้มเกลี้ยง ส้มเทพรส ส้มมะแป้น ส้มจุก ส้มเปลือกบาง ๗ สิ่งนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้ยกไม่ให้เรียกอากร แลต้นทุเรียน มะม่วง มังคุด ลางสาด มะปราง ๕ สิ่งนี้ ถ้าต้นเปนโพรงยอดตายมีแต่กิ่ง ๑ สองกิ่งให้ตั้งเปนโคนหาอากรมิได้ ถ้าโคนต้น ๒ ต้น ๓ ต้นเคียงชิดกันให้เอาแต่ต้นหนึ่ง ถ้าห่างกันตัวโคลอดได้ให้เรียกเรียงต้น ถ้าแลสวนผู้จับทำสร้างขึ้นใหม่ หาต้นผลไม้มิได้ก็ดี แลต้นไม้เก่ามีอยู่อากรต่ำกว่าเดิมจอง ให้เรียกแต่ปีเดิมจองเปนหลวง ปีละสลึง ๖๐๐ เบี้ย ให้หน้าโฉนดตราแดงไว้

อนึ่งราษฎรรู้ว่าข้าหลวงจะเดินสวน แลราษฎรยังอาจลักตัดต้นผลไม้มีอากร ซึ่งนายระวางประกาศห้ามแล้วให้ขาดอากรของหลวงไปให้ปรับไหมอากรต้นหนึ่งเปน ๓ ต้น สักหลังไว้ในโฉนดเปนไหมโทษ แล้วอย่าให้หักสิบลดให้กับราษฎรผู้กระทำผิดนั้นเลย ให้ผูกอากรกับไม้ใหญ่สืบไปอย่าให้ดูเยี่ยงอย่างกัน แล้วห้ามอย่าให้เรียกเอาค่าฤชาตลาการแก่ราษฎรผู้ลักตัดต้นผลไม้นั้นเลย

แลห้ามอย่าให้ข้าหลวงกองเดินเอาเนื้อความแฝงอาญาอุทธรณ์นครบาลซึ่งเปนสินไหมพินัย ไว้พิจารณาว่ากล่าวเปนอันขาดทีเดียว

แลให้ข้าหลวงลงเส้นเชือกรังวัดสวนของราษฎร ให้รู้ว่ากว้างยาวลงไว้ในหน้าโฉนดจงทุกสวน

แลเมื่อแรกวันจะลงมือรังวัดสวน ให้ราษฎรทำบายศรีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่สำรับหนึ่ง กรุงพาลีสำรับหนึ่ง ศีร์ษะสุกรคู่หนึ่งราคา ๕ สลึง เสื่ออ่อนผืนหนึ่งราคาเฟื้องหนึ่ง ผ้าขาวผืนหนึ่งราคาเฟื้องหนึ่ง รองเชือกรังวัดขันล้างหน้าใบหนึ่งราคาเฟื้องหนึ่งสำหรับเสกน้ำประพรมที่สวน ค่าเสกน้ำเฟื้องหนึ่ง ค่ารังวัดหัวเชือกสลึง หางเชือกเฟื้อง รวม ๒ บาทสลึงเฟื้อง แต่แรกลงมือแขวงกรุงเทพฯ สวนหนึ่ง เมืองนนทบุรีสวนหนึ่ง แลเมืองนครเขื่อนขันธ์สวนหนึ่ง เมืองสมุทปราการสวนหนึ่ง เมืองนครไชยศรีสวนหนึ่ง เมืองสาครบุรีสวนหนึ่ง เมืองฉะเชิงเทราสวนหนึ่ง เมืองเพ็ชรบุรีสวนหนึ่ง เมืองราชบุรีสวนหนึ่ง เมืองสมุทสงครามสวนหนึ่งแต่เท่านี้

แลเงินของซึ่งราษฎรเสียไปกับข้าหลวงนั้น ให้นายระวางหักเงินอากรของหลวง ซึ่งจะเรียกในสวนนั้นหักให้แก่ราษฎรผู้เสียของแลเงิน คิดเบ็ดเสร็จเงิน ๒ บาทสลึงเฟื้องนั้นแต่ปีเดียว

ถ้าข้าหลวงนับได้ไม้ใหญ่ไม้เล็ก สวนพระคลังสวนวัดได้เท่าใด ให้แม่กองเดินผู้ใหญ่เขียนหน้าโฉนดป่าปิดตราประจำต้นผลไม้ให้ไว้เปนคู่มือของราษฎรจงทุกสวน อย่าให้เรียกเงินค่าโฉนดป่าแก่ราษฎร ให้เรียกแต่มะพร้าว ๒ คู่ พลู ๒ กลุ่ม หมากทลาย ๑ คิดเปนเงินสลึงเฟื้องเปนหัวมือจงทุกสวน แล้วให้ราษฎรเจ้าของสวนแลนายระวางเอาโฉนดมาส่งแก่แม่กองให้ผู้ชำระ จะได้สอบสวนจำนวนต้นผลไม้ให้ถูกตามบาญชี จะได้ทำโฉนดใหญ่ปิดตราให้ไว้กับเจ้าของสวนเปนสำคัญ

แต่ก่อนนั้นข้าหลวงได้เดินสวน ๕ ครั้งแล้ว แลเมื่อข้าหลวงเดินสวนนั้นเปนสวนของผู้ใด ให้ราษฎรเจ้าของสวนคิดให้เงินค่าหัวมือสวนละสลึงเฟื้อง เบี้ยเลี้ยงสวนละ ๒ สลึง สวนหนึ่งเปนเงิน ๓ สลึงเฟื้องได้แก่ข้าหลวงนั้น ให้ข้าหลวงเดินสวนทำตามข้าหลวงเดินสวนมาแต่ก่อน

ครั้นถึงวันพระ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ให้ข้าหลวงมีชื่อกองเดินเอาบาญชีเดินทุ่งมาส่งให้กองบาญชี แล้วให้กองเดินกองบาญชีแลทนายผู้นับต้นผลไม้พร้อมด้วยแม่กองใหญ่ เข้าไปณอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สาบาลตัวฉะเพาะพระพักตรพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต แลพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่าจะนับต้นผลไม้ของราษฎรแลบาญชีแต่ตามสัจตามจริง อย่าให้เอาของหลวงเปนของราษฎร ๆ มาเปนของหลวงมากเปนน้อย ๆ เปนมาก ไม้ใหญ่ว่าเล็ก ๆ ว่าใหญ่ และเบียดบังเอาสินจ้างสินบลเปนอาณาประโยชน์ตนเปนอันขาดทีเดียว

แลให้กองบาญชีคิดอากรไม้ใหญ่แลหมากกรอกซึ่งมากขึ้นกว่าเดิม ให้นายระวางเรียกเงินอากรค่าหมากกรอกซึ่งขึ้นใหม่ในจำนวนปีฉลูเบญจศกส่งเข้ายังพระคลังมหาสมบัติ ถ้าต่นผลไม้ชำรุดต่ำลงกว่าเดิมให้หักเงินอากรแลหมากกรอกลงเสีย ยังคงไม้ใหญ่แลไม้เล็กเท่าใด หักสิบลดหนึ่งพระราชทานให้แก่ราษฎรเจ้าของสวน คงนายระวางเรียกอากรไม้ใหญ่ไม้เล็กหมากกรอกได้เท่าไร ให้นายระวางเรียกส่งพระคลังสวน ๆ ส่งเข้าไปยังพระคลังมหาสมบัติ จำนวนปีขาลฉศกตามหน้าโฉนดสืบไป

ให้กองบาญชีเขียนโฉนดขึ้นกระดาษรายต้นผลไม้ จำนวนเงินเปนอักษร อย่าให้บุบฉลายปิดตราข้าหลวง ๘ นายไว้จงทุกสวน ครั้นเดินสวนเสร็จแล้ว ให้ราษฎรเอาโฉนดป่ามาสอบทานกับโฉนดใหญ่ต้องกันแล้ว ให้กองบาญชีเอาโฉนดป่าเก็บไว้ส่งโฉนดใหญ่ให้แก่ราษฎร แล้วให้นายระวางเรียกเงินค่าโฉนดไว้ใบละ ๑ บาท ๒ สลึงจงทุกสวนแต่ปีเดียว แลเงิน ๑ บาท ๒ สลึงนั้นให้แก่นายระวางเปนค่าสมุด ค่ากระดาษ ค่าดินสอสำหรับทำบาญชีในการเดินสวน ๑ สลึง ให้แก่ผู้ทำบาญชีคู่โฉนด ๑ เฟื้อง ให้แก่ผู้เขียนโฉนดเฟื้อง ๑ ยกเปนค่าตรา ๑ บาท แล้วให้กองบาญชีทำบาญชีจำนวนสวนจำนวนไม้ จำนวนเงิน จำนวนหมากกรอกยื่นให้แม่กองใหญ่ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา แล้วให้เจ้าพนักงานรักษาไว้ในพระคลังมหาสมบัติ

อนึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ไม้ ๓ จำพวกคือไม้มะเกลือ เปนไม้ดำ ๑ ไม้ลมุดสีดาเปนไม้แดงเนื้อละเอียด ๑ ไม้จันทน์เปนไม้ขาวเนื้อเลอียด ๑ ไม้ ๓ จำพวกนิ้ถึงมีผลราษฎรซื้อขายกันได้บ้าง ก็ไม่ได้เรียกอากรมาแต่ก่อน ครั้งนี้ต้องพระราชประสงค์จะใคร่ทรงทราบจำนวนไว้ แลเมื่อต้นหักโค่นประการใดจะต้องพระราชประสงค์แก่นมาเลื่อยจักตัดออกใช้ราชการ เพราะดังนั้นเดินสวนครั้งนี้ให้ข้าหลวงแลเจ้าพนักงานนับไม้ ๓ จำพวกคือ ไม้มะเกลือ ไม้ลมุด ไม้จันทน์ ให้รู้จำนวนตามเล็กแลใหญ่ใส่หน้าโฉนดไว้แต่อย่าให้เรียกเอาค่าธรรมเนียมเมื่อนับแลทำบาญชีต้นไม้ ๓ อย่างนี้เปนอันขาดทีเดียว เปนแต่ให้ประกาศมอบหมายแก่เจ้าของสวน แลผู้รับหน้าโฉนดไว้ว่า ถ้าต้นมะเกลือแลต้นลมุดต้นจันทน์ที่มีแก่นแล้วจะล้มซวนเอง หรือคร่ำคร่าเจ้าของจะใคร่ฟันเสียก็ให้มาบอกแก่เจ้าจำนวนก่อนแล้วจึงตัดฟัน แล้วนำเอาลำไม้มีแก่นมามอบให้เจ้าจำนวนนำมาทูลเกล้า ฯ ถวาย จะพระราชทานราคาให้ตามราคาไม้แก่นเสงเพรงโดยสมควรราชการ แล้วมอบไม้ให้รักษาไว้ในพระคลังในขวาสำหรับใช้ ถ้าเจ้าต่างกรมยังไม่มีกรมแลขุนนางเจ้าขุนมุลนายของชาวสวน จะใคร่ตัดเอาไม้ ๓ อย่างนี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งไปใช้ราชการ ถ้าเจ้าของสวนจะยอมให้ตัดก็ให้ตัดแล้วเอามามอบแก่เจ้าพนักงานก่อนแล้วจึงมารับไป เมื่อเจ้าพนักงานได้รู้เห็นด้วยดังนี้แล้ว ก็ให้สลักหลังหน้าโฉนดลดบาญชีลง แต่ต้นเล็กน้อยยังไม่มีแก่นนั้น ถ้าล้มตายก็ให้เจ้าของปลูกซ่อมแซมขึ้นใหม่ล่วงหน้า ๑๐ ปีหรือ ๒๐ ปีจะบวกเปนไม้ใหญ่

ห้ามอย่าให้ข้าหลวงมีชื่อเสมียนทนายบ่าวไพร่ซึ่งไปด้วยกันนั้นทำข่มเหงแก่ราษฎรชาวสวน ขึ้นเก็บเอาผลไม้แลสิ่งของในสวนแลเครื่องอัญมณีต่าง ๆ กระทำให้ราษฎรได้ความยากแค้นเดือดร้อนแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปนอันขาดทีเดียว ถ้าผู้ใดมิฟังกระทำให้ผิดด้วยพระราชบัญญัตนี้ มีผู้มาร้องฟ้องว่ากล่าวพิจารณาเปนสัจ จะเอานายแลไพร่ผู้กระทำผิดเปนโทษโดยโทษานุโทษ แลให้ข้าหลวง เจ้าเมือง กรมการ ทำตามท้องตราแลรับสั่งมานี้จงทุกประการ

หนังสือมาณวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก (พ.ศ. ๒๓๙๖)

----------------------------

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ