ลำดับเหตุการณ์ ในพระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๐๔ (พ.ศ. ๒๔๒๘) ประสูติในพระบรมมหาราชวัง พระนาม พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดา ม.ร.ว. เนื่อง (ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์)

๒๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๐๔ (พ.ศ. ๒๔๒๘) เจ้าจอมมารดา ม.ร.ว.เนื่อง ถึงอนิจกรรม สมเด็จพระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) จึงได้ทรงรับพระองค์ไว้ในพระอุปถัมภ์แต่นั้นมา พร้อมด้วยพระเชษฐภคินีร่วมอุทร ซึ่งมีอยู่พระองค์เดียว คือ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท

๒๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และให้มีการโสกันต์เกศากันต์ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์พร้อมด้วยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธินฤมล กับหม่อมเจ้าอีก ๑๕ องค์

๒๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไชยวัฒนทองคำองค์เล็ก แล้วทรงพระกรุณาโปรดแกล้าฯ ให้เสด็จออกเดินทางไปยุโรปเพื่อการศึกษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ซึ่งได้เสด็จเข้ามากรุงเทพ ฯ ชั่วคราว

ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) เสด็จไปประทับกับศาสตราจารย์เฮลเลอรที่เมืองฮัลเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี

เมษายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยม (Real Gymnasium) ณ เมืองฮัลเบอรสตัด

มีนาคม ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ทรงสำเร็จโรงเรียนมัธยมที่เมืองฮัลเบอรสตัด

๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ทรงเข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเมืองไฮเดลแบร์ก

๑๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) เสด็จถึงกรุงเทพฯ ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปครั้งที่สอง

๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ทรงกราบถวายบังคมลากลับออกไปศึกษาวิชาต่อ เสด็จออกจากพระนครในวันนั้น

๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) เสด็จถึงกรุงเทพฯ โดยเรือมหาจักร ซึ่งออกไปรับเสด็จเจ้านายที่เสด็จเข้ามาถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ทรงรับพระราชทานแต่งตั้งเปนนายร้อยโท ในกรมทหารบก

๑ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี

มิถุนายน ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) เสด็จกลับไปยุโรปเพื่อศึกษาต่อ

๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) ทรงจดทะเบียนสมรสกับ นางสาวเอสิซาเบท ซารนแบรเกอร ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน ตามที่ได้รับพระบรมราชานุญาต

พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เสด็จกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯ และเข้ารับราชการ ประทับที่วังข้างวัดเทพศิรินทร์ ตำบลป้อมปราบฯ

๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ

๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ โอรสองค์ใหญ่ประสูติ (หม่อมเจ้าปิยะรังสิต)

๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ ตั้งเปนกรมหมื่นไชยนาทนเรนทร

๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ โปรดเกล้าฯ ให้เปนนายหมวดโทในกองเสือป่า

๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯ ให้เปนผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย

๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯ ให้เปนนายกองตรี ในกองเสือป่า และเปนผู้บังคับการกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง

๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ โปรดเกล้า ฯ ให้เปนนายกองโท ในกองเสือป่า

๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ โปรดเกล้าฯ ให้เปนอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ซึ่งประดิษฐานขึ้นใหม่

๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ โปรดเกล้าฯ ให้เปนนายกองเอก ในกองเสือป่า

๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ โปรดเกล้าฯ ให้เปนนายพันตรีพิเศษทหารบก

๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ โอรสองค์ที่ ๒ ประสูติ (หม่อมเจ้าสนิธ ประยูรศักดิ์)

๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ โปรดเกล้าฯ ให้เปนอธิบดีกรมสาธารณสุข ซึ่งสถาปนาในวันนั้น

๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเปนกรมขุนไชยนาท นเรนทร

๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เสด็จออกเดินทางไปยุโรป เพื่อตามเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรี ราชสิรินทร

ต้นปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เสด็จกลับจากยุโรป

๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ธิดาประสูติ (หม่อมเจ้าหญิงจารุลักษณกัลยาณี)

๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงขึ้นวังใหม่ เลขที่ ๙๑ ถนนวิทยุ

๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงลาออกจากราชการ เนื่องด้วยพระอนามัยไม่สมบูรณ์

๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ โปรดเกล้าฯให้เปนนายพันโทพิเศษทหารบก

๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ เสด็จออกเดินทางไปยุโรปเพื่อรักษาพระองค์

๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เสด็จกลับจากยุโรปถึงกรุงเทพฯ

ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ถึง ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ทรงเปนที่ปรึกษาราชการของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์)

๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เสด็จออกเดินทางไปยุโรปตามเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรี ราชสิรินทร

เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ

๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ เจ้าหน้าที่ตำรวจเชิญเสด็จมาถึงกรุงเทพฯ จากการประพาสเชียงใหม่และลำปาง แล้วส่งพระองค์ไปคุมขังที่สถานีตำรวจพระราชวัง

๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ศาลพิเศษตัดสินประหารชีวิต แล้วลดเปนจำตลอดชีวิต ส่งเสด็จไปเรือนจำกลางบางขวาง

๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ทรงถูกเพิกถอนจากฐานันดรศักดิ์

๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗ คณะผู้สำเร็จราชการฯ สั่งให้ปล่อยพระองค์เสด็จกลับวัง

๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ตามเดิม และพระราชทานยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เคยได้รับพระราชทานอยู่แต่เดิมทุกประการ

๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕6 ทรงได้รับแต่งตั้งเปนประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ทรงได้รับแต่งตั้งเปนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้เปนประธานองคมนตรี

๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพลเอกนายทหารพิเศษ ประจำกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์

๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาพระยศเปนกรมพระ

๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้เปนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ สิ้นพระชนม์โดยปัจจุบันที่วังถนนวิทยุ ประมาณ ๑ น. ด้วยโรคพระหทัย เปนราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระชนม์ยืนที่สุด (๖๕ ปี ๔ เดือน)

๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ เชิญพระศพมายังพระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม พระโกศทองน้อยทรงพระศพ

๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาพระยศ เปนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา

๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ